ผู้เขียน หัวข้อ: มหันตภัย 30 บาทรักษาทุกโรค(5) ตอน ภัยต่อคุณภาพมาตรฐานการแพทย์และสาธารณสุข  (อ่าน 2665 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9779
    • ดูรายละเอียด
ผู้เขียนได้เขียนถึง มหัตภัยของระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคมา 4 ตอนแล้ว คือเริ่มจากภัยต่อประชาชน ภัยต่อบุคลากรสาธารณสุข ภัยต่อระบบบริการสาธารณสุขและงบประมาณ และภัยต่อระบบการประกันสุขภาพ

 ในตอนนี้ผู้เขียนจะขอเขียนถึงภัยของระบบ 30 บาทที่มีต่อคุณภาพมาตรฐานทางการแพทย์ ซึ่งมีความหมายที่ครอบคลุมถึงมหันตภัยของระบบ 30 บาทในการที่จะทำให้เกิดการขาดคุณภาพ มาตรฐานในทางการแพทย์และสาธารณสุข หรือการขาดคุณภาพมาตรฐานของการบริการสาธารณสุข หรือขาดคุณภาพของ การดูแลรักษาสุขภาพ (Quality of healthcare)

   ก่อนอื่นผู้เขียนขอทำความเข้าใจก่อนว่า การดูแลรักษาสุขภาพนั้น ผู้เขียนต้องการสื่อความหมายว่า มีความหมายครอบคลุมการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างครบวงจร โดยครอบคลุมตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ตรวจคัดกรองก่อนเกิดโรค การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค/ความเจ็บป่วยและการฟื้นฟูสมรรถภาพ

การดูแลรักษาสุขภาพ จึงควรเป็น “ความรับผิดชอบของตนเอง ร่วมกับการไปรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข” ซึ่งอาจเป็นบริการสาธารณะหรือไม่ก็ได้

สำหรับระบบ 30บาทนั้น การดูแลสุขภาพของตนเองไม่ถูกบัญญัติให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบ มีแต่การโฆษณาประชาสัมพันธ์ตลอดมาว่า “30 บาทรักษาทุกโรค” โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว สปสช.กำหนดขีดจำกัดในการรักษาหรือการให้บริการสาธารณสุขมากมายหลายประการ แต่สปสช.ไม่ได้บอกความจริงให้ประชาชนทราบ ทำให้ประชาชนมีความคาดหวังสูงในการมารับการบริการ เมื่อไม่ได้อย่างที่คาดหวังก็กล่าวโทษบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การบริการรักษาเท่านั้น ไม่ได้คิดว่าบุคลากรสาธารณสุขโยเฉพาะอย่างยิ่งคือแพทย์มีข้อจำกัดในการรักษาเนื่องจากการกำหนดกฎเกณฑ์ของสปสช.

 การไม่กำหนดให้ประชาชนมีหน้าที่ดูแลรักษาสุขภาพทำให้ประชาชนไม่ตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค อีกทั้งผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขและผู้บริหารในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มิได้ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการดูแลรักษาสุขภาพอย่างครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริหารหรือผู้กำหนดนโยบายในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักว่า ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบดูแลรักษาสุขภาพเบื้องต้นของตนเอง และกระทรวงสาธารณสุขไม่ส่งเสริมให้ประชาชนมี “ความสามารถ” ที่จะดูแลรักษาสุขภาพเบื้องต้นของตนเองและครอบครัวได้

     ซึ่งการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคนี้ ประชาชนสามารถ “ทำได้เอง” โดยการมีพฤติกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค/อุบัติเหตุ สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นของตนเองและครอบครัวได้ และรู้ว่าเมื่อไรควรจะรีบไปหาหมอเพื่อให้ตรวจรักษาเพราะถ้ามัวแต่รักษาเองจะเป็นอันตราย  และเมื่อไปพบแพทย์แล้ว ก็ควรจะถามแพทย์ให้เข้าใจว่าตนเอง ควรจะปฏิบัติตัวเช่นไร กินยาอย่างไร งดเว้นพฤติกรรมที่เสี่ยงอันตรายต่อความเจ็บป่วยอย่างไร ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะได้หายป่วยและมีสุขภาพดีดังเดิม พร้อมทั้งรู้ว่าจะฟื้นฟูสมรรถภาพที่สูญเสียไปอย่างไร
แต่งบประมาณที่จัดสรรไปในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคส่วนใหญ่ ถูกจัดสรรไปให้องค์กรนอกเหนือกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาล กล่าวคือไปอยู่ที่สสส.คือกองทุนสนับสนุนและสร้างเสริมสุขภาพ ที่มีงบประมาณมากมาย มากกว่างบประมาณส่งเสริมสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข แต่ก็ไม่สามารถที่จะทำให้ประชาชนไทยตระหนักว่า จะส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอย่างไร

   ทั้งนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ประชาชนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและอุบัติเหตุ อัตราการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ไม่สวมหมวกกันน็อก เมาแล้วขับ ทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการจราจรยังไม่สามารถลดลงได้อย่างน่าพอใจ อัตราการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็ไม่เพิ่มขึ้น

   ประกอบกับรัฐบาลเอง ก็ยังไม่สามารถควบคุมและกำจัดมลภาวะในอากาศ น้ำและอาหาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชนล้มป่วยจากสาเหตุของสารพิษในอากาศ น้ำ และอาหาร ได้แก่ มะเร็งต่างๆ ที่มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากมายตลอดเวลา

 ประกอบกับสปสช.ก็โฆษณาทุกวันว่า รักษาฟรีหรือ 30 บาทรักษาทุกโรค ประชาชนก็เลยไม่สนใจที่จะดูแลรักษาสุขภาพของตน ไม่สร้างสุขภาพ ไม่ป้องกันโรค โดยไม่เลิกพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพ ฉะนั้นความเจ็บป่วยก็จะมีมากขึ้น
แต่เมื่อเจ็บป่วยแล้วประชาชนก็ไม่ต้อง “กังวล” เรื่องค่ารักษา รู้สึกว่า “ป่วย”เมื่อไรก็ไปโรงพยาบาล เพราะได้รับการ”รับรอง” ว่ารักษาฟรีทุกโรค ถ้ากินยาไม่หมดยังเอายาที่ได้มาฟรีๆนั้นไปแลกไข่มากินได้อีก

 และถ้าประชาชนไม่พอใจผลการรักษาก็สามารถไปเรียกร้องขอเงินช่วยเหลือได้สูงสุดถึง 400,000 บาท
แต่เมื่อประชาชนป่วยมากขึ้น ไปรับบริการที่โรงพยาบาลมากขึ้น ทำให้แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์มีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบมากเกินไป ภาระงาน “เกินที่จะให้การดูแลรักษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานทางการแพทย์”ได้  โดยที่กระทรวงสาธารณสุขและสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ ก็ไม่ได้สะท้อนปัญหาการบริการทางการแพทย์ที่ขาดคุณภาพมาตรฐานให้แก่รัฐบาล ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขและผู้บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ตระหนักถึงปัญหาการขาดคุณภาพมาตรฐานในการให้บริการทางการแพทย์ ปล่อยให้ประชาชนได้รับความเสี่ยงต่ออันตรายต่อสุขภาพ และก็พยายามที่จะออกกฎหมายมา”ให้เงินชดเชยแก่ประชาชนที่ได้รับความเสียหาย” แล้วเท่านั้น

  ทั้งนี้ การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.นั้น เกิดขึ้นตามพ.ร.บ.เฉพาะ คือพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ซึ่งการบริหารกองทุนนี้จะต้องถูกประเมินโดยกพร.(ตามมติครม.เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2547) แต่กพร.ก็ไม่เคยทำการประเมินตามหน้าที่ ส่วนสปสช.ก็เอาเงินไปจ้างองค์กรเอกชน(TRIS) ให้มาประเมินผลงานว่า สปสช.บริหารกองทุนดีเด่นทุกปี  น่าจะถือได้ว่ากพร.ได้ละเลยการปฏิบัติหน้าที่(ในการประเมินผลงานของสปสช.) และสปสช. ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ(ในการใช้งบประมาณแผ่นดินไปจ้างองค์กรเอกชนให้มาประเมินผลงานของตน)
การที่ผู้เขียนกล่าวว่า คุณภาพมาตรฐานการบริการทางแพทย์ไม่ดีนั้น ก็ต้องดูว่าเราควรจะประเมินการบริการทางการแพทย์และโรงพยาบาลอย่างไรจึงจะเหมาะสม

 ในการประเมินผลงานและคุณภาพมาตรฐานการรักษาสุขภาพในระบบการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขนั้น ควรจะประเมินจากอะไรบ้าง เพื่อจะรู้ว่า ประชาชนจะได้รับการบริการดูแลรักษาสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐานหรือไม่?
การประเมินคุณภาพในการรักษาผู้ป่วยแต่ละคน ก็ให้ความสำคัญกับ “ความปลอดภัยของผู้ป่วย”เป็น อันดับแรก แต่ถ้าจะประเมินคุณภาพระบบบริการทางการแพทย์แล้ว ก็จะมีการประเมินในหลากหลายมิติ

   ทั้งนี้ถ้าเราไปดูวิธีการประเมินคุณภาพของการบริการทางการแพทย์ (Healthcare quality) ของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งมีการพัฒนาคุณภาพของการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศสมาชิกให้มีคุณภาพทัดเทียมกัน เพื่อจะได้ให้ประชาชนที่เดินทางท่องเที่ยวหรือทำธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้านในสหภาพยุโรป มีความมั่นใจว่า ถ้าเจ็บป่วยในระหว่างเดินทาง ก็จะได้รับการบริการรักษาสุขภาพอย่างมีคุณภาพมาตรฐานเหมือนๆกันในแต่ละประเทศ ซึ่งการประเมินคุณภาพการบริการนั้น ควรประเมินหรือวัดผลการดำเนินงานทั้งสิ้น 3 เรื่องคือ

   1.ทรัพยากรในการทำงาน
   2. กระบวนการทำงาน
   3. ผลการทำงาน
ซึ่งถ้าเราจะนำหลักการประเมินผลงานนี้ มาประเมินคุณภาพมาตรฐานระบบบริการสาธารณสุขในระบบ 30 บาท ก็จะได้ผลการประเมินดังนี้

   1.ทรัพยากรในการให้บริการสาธารณสุข มีความไม่เพียงพอของทรัพยากร  ซึ่งไม่ได้รับการแก้ไข ได้แก่

1.1 ขาดงบประมาณในการจัดซื้อหรือพัฒนาโรงพยาบาลที่จะต้องให้การบริการสาธารณสุขแก่ประชาชน งบประมาณในการซื้อยาและเวชภัณฑ์ ครุภัณฑ์ ละเทคโนโลยีที่จำเป็นในการรักษาผู้ป่วย โดยที่สำรักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจัดสรรงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยเองในบางเรื่องที่อยากทำ(ทั้งๆที่ไม่ใช่หน้าที่ของสปสช.) ได้แก่การจัดทำโครงการพิเศษต่างๆ  ในขณะที่สปสช.จ่ายเงินให้แก่โรงพยาบาลที่ต้องรักษาโรคทั่วไปน้อยลง ถือว่าไม่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน คือเลือกปฏิบัติตาช่อประชาชนและโรงพยาบาล ไม่เหมือนกัน และไม่มีความชอบธรรม ต่อประชาชน คือคนจนหรือไม่จนก็ไม่ต้องจ่ายเงิน ในขณะที่ประชาชนในกลุ่มประกันสังคมต้องจ่ายเงินในการรักษาตนเอง
 
1.2 ขาดอาคารสถานที่ เตียงที่จะรองรับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ไม่มีการจัดสรรงบประมาณให้แก่โรงพยาบาลเพื่อที่จะขยายอาคารสถานที่ จัดหาเตียง อุปกรณ์ทางการแพทย์ วัสดุครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ ให้เพียงพอต่อการรองรับผู้ป่วย ทำให้เห็นผู้ป่วยต้องนอนตามเตียงเสริมเตียงแทรกหน้าห้องน้ำ หน้าบันได ที่ระเบียงหรือปูเสื่อนอนกันมากมาย ในขณะที่มีการจัดสรรงบประมาณในการบริหารสำนักงานสปสช.จนล้นเหลือ มีอาคารสถานที่กว้างขวางใหญ่โต

1.3 ขาดบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข   ในจำนวนที่เพียงพอต่อการดูแลรักษาและให้บริการประชาชน และไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างค่าตอบแทนแก่บุคลากรที่ทำงานตรวจรักษาประชาชนอย่างเหมาะสมคุ้มค่า ทำให้บุคลากรลาออกจากระบบอย่างต่อเนื่อง บุคลากรที่อดทนทำงานอยู่จึงต้อง ทำงานหนัก มีความเสี่ยงต่อความผิดพลาด ในขณะที่อัตราเงินเดือนและค่าตอบแทนพนักงานของสปสช.ซึ่งทำหน้าที่บริหารการเงิน เพื่อส่งต่อให้โรงพยาบาล กลับมีอัตราค่าจ้าง ค่าตอบแทน และเงินประจำตำแหน่งสูงมาก ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ลาออกจากกระทรวงสาธารณสุข มารับงานที่สปสช. ที่งานสบาย ค่าตอบแทนสูง
ถือว่าเป็นการจัดสรรงบประมาณที่ไม่ประหยัด และไม่เป็นธรรม

   2.กระบวนการทำงาน ในการให้บริการรักษาสุขภาพ โดยการประเมินคุณภาพกระบวนการทำงานในการให้บริการสาธารณสุขนั้น ควรประเมินอย่างไรบ้าง ซึ่งตัวอย่างจากสหภาพยุโรป ได้ประเมินกระบวนการให้บริการสุขภาพดังนี้คือ

1.   Effectiveness (ประสิทธิผล) หมายความว่า การให้บริการด้านสุขภาพหรือการบริการสาธารณสุขนั้น ผลตอบสนองหรือไม่?
2.   Efficiency (ประสิทธิภาพ) หมายความว่า การให้บริการนั้น ได้รับผลการรักษาที่ดี แต่เสียค่าใช้จ่าย และใช้เวลาในการรักษาน้อยที่สุด ไม่ใช่ประหยัดงบประมาณค่ายา แต่ทำให้ผู้ป่วยดื้อยาและรักษาไม่หาย เหมือนที่สปสช.ทำอยู่
3.    Access(การเข้าถึงบริการ) ประชาชนที่ต้องการการบริการนั้นมีความสามารถมาใช้บริการได้หรือไม่ เข่น การส่งผู้ป่วยจากรพ.เล็กไปยังรพ.ที่มีขีดความสามารถสูงนั้นสะดวกรวดเร็ว ทันเหตุการณ์เพื่อช่วยผู้ป่วยให้รอดชีวิต หรือล่าช้าจนทำให้ผู้ป่วยตายระหว่างทาง
4.   Safety การบริการนั้นมีความปลอดภัยหรือไม่? มีการป้องกันความเสี่ยงอันตรายซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการรักษาผู้ป่วยหรือไม่? ซึ่งได้แก่การให้การรักษาที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยคนที่ต้องการการรักษานั้น  อย่างรวดเร็วในเวลาที่ควรทำและให้การรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่แรก Doing the right thing (What),to the right patient(to whom), at the right time(when) and doing thing right first time) ซึ่งจะเห็นได้ว่าในระบบ 30 บาท ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการได้รับการรักษาที่อาจไม่เหมาะสม เพราะข้อจำกัดเรื่องยาและการกำหนดวิธีรักษา และอาจต้องรอนานจนเกิดอันตราย และอาจไม่ได้รับความปลอดภัย จากข้อจำกัดในการเริ่มให้การรักษาครั้งแรก เช่นในรายรักษาผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย โดย CAPD-first ทำให้ผู้ป่วยตายไปถึง 40 %
5.   Equity การบริการนั้นทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ต้องมารับบริการหรือไม่? ในระบบ 30 บาท เกิดความไม่เป็นธรรม เพราะคนไม่จน มาแย่งใช้ทรัพยากรอันจำกัด ทำให้ระบบเกิดความขาดแคลนมากขึ้น
6.   Appropriateness การบริการนั้นมีความเหมาะสมต่ออาการป่วย หรือเรียกว่า Evidenced-based practice หรือไม่?  หรือต้องทำตามระเบียบและข้อจำกัดของสปสช. เช่น การบังคับให้ผู้ป่วยบัตรทองต้องเริ่มล้างไตทางหน้าท้องเป็นครั้งแรก ถ้าใครไม่ยอมรับการรักษาแบบที่สปสช.กำหนดไว้นี้ ก็ต้องไปจ่ายเงินเอง แต่ผู้ป่วยไม่ได้รับการบอกเล่าว่า การรักษาเช่นนี้จะ เหมาะสมกับตนเองหรือเหมาะสมกับผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายทุกคนหรือไม่? หรือทำให้ผู้ป่วยตายหมดในเวลาที่ยังไม่สมควรตาย?
7.   Acceptability ดูแลผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้ผู้ป่วยสบายใจ พึงพอใจ มั่นใจ และเต็มใจมาใช้บริการ
8.   Responsiveness (patient-centeredness) การบริการนั้นได้ตอบสนองโดยตรงต่อความจำเป็นด้านสุขภาพในการรักษาของผู้ป่วยแต่ละคนหรือไม่  เช่นผู้ป่วยได้รับการรักษาต่อเนื่องครบวงจรหรือไม่
9.   Satisfaction ประชาชนที่มารับบริการมีความพึงพอใจในบริการ และผลการรักษาและสถานะสุขภาพหลังการรักษาดีขึ้นตามที่คาดหวังหรือไม่
10.   Health improvement ผลจากการรับบริการทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น
11.   Continuity ผู้ป่วยได้รับการบริการอย่างต่อเนื่องจนหมดความจำเป็นที่จะได้รับบริการหรือไม่?
12.   Availability การบริการมีอยู่ทั่วไปหรือไม่?
13.   Preventive/early detection มีการบริการที่ครอบคลุมไปถึงการป้องกันโรคและตรวจคัดกรองความเจ็บป่วยในกลุ่มเสี่ยงแต่เนิ่นๆหรือไม่
14.   Public/patient information มีการประชาสัมพันธ์ในแง่สุจริต ถูกต้อง ตรงกับความจริงทั้งหมด  โปร่งใส ตรงไปตรงมา (transparency)  และเชื่อถือได้(Accountability)
ซึ่งสปสช.ไม่เคยประเมินตามหลักการนี้แต่อย่างใด เห็นประเมินแต่เพียงว่า การประกันสุขภาพในประเทศไทยมีความครอบคลุมเกือบ 100% โดยรวมเอาการประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการเข้าไปด้วย นอกจากนี้ก็ประเมินแต่ว่าประชาชนได้รับความพึงพอใจมากกว่า 90%

 แต่ผู้เขียนคิดว่า การประเมิน ความพึงพอใจนั้น อาจไม่แสดงถึงความพึงพอใจต่อ “ผลการรักษา” เนื่องจากถ้าประชาชนพึงพอใจผลการรักษาจริง ก็คงไม่มีกรณีฟ้องร้องแพทย์มากขึ้นทุกปี ประชาชนคงพึงพอใจเพราะไม่ต้องจ่ายเงินตนเองเท่านั้น แต่ไม่พึงพอใจผลการรักษาเพิ่มมากขึ้นทุกปี

   และการฟ้องร้องนั้นก็อาจจะเกิดขึ้นมาก เพราะประชาชนได้รับความเสียหายหรือประชาชนรู้สึกว่าตนเองไม่มีความปลอดภัยจากการไปรับบริการสาธารณสุขมากขึ้น

   ส่วนสถานะสุขภาพประชาชนไทยนั้น ก็มีการประเมินจากรายงานของนพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์แล้วว่า  การกำหนดงบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพแบบปลายปิด โดยใช้หลักเกณฑ์เหมาจ่ายรายหัวต่อปี ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น มีข้อดีคือสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้แต่ประชาชนอาจจะมีความเสี่ยงต่อบริการ ที่ไม่มีคุณภาพ

โดยได้ยกตัวอย่างจากยุโรปและอเมริกา ว่างบประมาณปลายปิดจะเสี่ยงต่อการรักษาที่ล่าช้า ผู้ป่วยที่อาการรุนแรง/มีความเสี่ยงสูงอาจไม่ได้รับการรักษา และจะไม่ถูกส่งต่อไปหา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ (เพราะเกรงว่าจะต้องใช้เงินในการรักษามากเกินงบประมาณ)

โรงพยาบาลต้องคลำกระเป๋าเงินไปด้วย ว่าจะมีเงินพอใช้หรือไม่ในการรักษาผู้ป่วย ในขณะที่คิดหาวิธีจะรักษาผู้ป่วยให้เหมาะสมกับจำนวนเงินในกระเป๋า

***** นอกจากนี้ นพ.จิรุตม์ ยังได้อ้างถึง ผล การวิเคราะห์ข้อมูล ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปีพ.ศ. 2547 เปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพหือ 30 บาท กับระบบประกันสังคมและระบบสวัสดิการข้าราชการ ว่าอัตราตายของผู้ป่วยในแต่ละโรค (adjusted CFR ปรับตามอายุแล้ว) ในระบบบัตรทองสูงสุดเมื่อเทียบกับอีก 2 ระบบ และอัตรตาย (SMR) ของระบบบัตรทองก็สูงสุดเช่นเดียวกัน

  นอกจากนั้น สปสช.ก็ไม่ได้ส่งเสริมให้มีการป้องกันโรคและไม่ได้ส่งเสริมการตรวจคัดกรองก่อนเกิดโรคอย่างจริงจัง และไม่ได้ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันโรค เช่นพอมีข่าวว่าจะให้ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ก็มีกลุ่มประชาชนกลุ่มสตรีออกมาคัดค้านไม่ให้ดำเนินการเพราะกลัวว่าคนซื้อวัคซีนจะได้รับผลประโยชน์จากบริษัทวัคซีน

3. ผลของการให้บริการสาธารณสุข   ในการวัดผลที่เกิดจากการให้บริการสาธารณสุขในระบบ30 บาทนั้น สปสช.จะวัดเพียงแต่ความครอบคลุม “จำนวน” ประชาชนที่ได้รับบริการเท่านั้น  ไม่ได้วัดว่าประชาชนที่มีสิทธ์ในระบบ 30 บาทนั้น มีสถานะสุขภาพเป็นอย่างไร ผลการรักษาดีหรือไม่ และประชาชนหรือบุคลากรผู้ให้บริการนั้นมีความสุขและความพึงพอใจในระบบ 30 บาทหรือไม่นั่นคือจะต้องวัดสิ่งต่างๆดังนี้

3.1 Population health หมายถึงภาพรวมของสถานะสุขภาพของประชาชน ซึ่งวัดจากอัตราป่วย อัตราตาย ที่ลดลง แต่สำหรับประเทศไทยหลังมีระบบ 30 บาท ทั้งอัตราป่วย อัตราตาย อัตราทารกตายกลับเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นมากว่าผู้ป่วยในระบบอื่นๆดังกล่าวแล้ว

3.2 Clinical outcome หมายถึงผลของการรักษาทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเป็นที่น่าพอใจหรือไม่ ซึ่งจะเห็นว่าระบบ 30 บาท ทำให้ประชาชนไม่พอในผลการรักษามากขึ้น มีการกล่าวหาฟ้องร้องบุคลากรมากขึ้น นับว่าระบบ 30บาทก่อความไม่พึงพอใจผลการรักษามากขึ้น

3.3 Meeting expectations of public and workforce หมายถึงว่าระบบการบริการสาธารณสุขนั้น ได้ผลตามความคาดหมายหรือตามความคาดหวังของประชาชนผู้รับบริการและบุคลากรผู้ให้บริการแก่ประชาชนหรือไม่ ซึ่งสปสช.ไม่เคยรับฟังความเห็นของบุคลากรเลย และไม่เคยรับฟังว่าประชาชนไม่พอใจ สปสช.ก็ไม่รับผิดชอบ โยนให้เป็นความผิดของโรงงพยาบาลและบุคลากร โดยตลอด ไม่หันหน้ามาให้ความร่วมมือกับบุคลากรที่ทำงานให้บริการประชาชน ทำให้ผลการดูแลรักษาประชาชนมีปัญหามาก แต่ประชาชนไม่รับรู้ เพราะความไม่โปร่งใส ไม่ตรงไปตรงมาของสปสช.ที่เป็นมาตลอดเวล 10 ปีที่มีระบบ 30 บาท

   โดยสรุป ระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค ก่อให้เกิดมหันตภัยต่อคุณภาพมาตรฐานการบริการสาธารณสุข ทำให้โรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ไม่สามารถรักษามาตรฐานในการทำงาน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณภาพการบริการสาธารณสุขในทุกมิติ และการขาดคุณภาพในการบริการทำให้เกิดความเสียหายแก่สุขภาพประชาชนต่อไป

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

เอกสารอ้างอิง   
1.   http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=03-01-2011&group=7&gbl
2.   http://thaipublica.org/2012/03/sutham-evaluation10-years-nhso/

mildkoid

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 9
    • ดูรายละเอียด
คาสิโนกับวิถีชีวิตคนไทย
การพนันนั้นอยู่คู่กับวิถีชีวิตคนไทยมาแต่ช้านาน ในสมัยก่อนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร ทำไร่ ทำนา ทำสวน โดยอาศัยพื้นที่บรรพบุรุษของปู่ย่าตาทวดที่ตกทอดสู่กันมาทั้งอาชีพวิถีชีวิตและพื้นที่ทำมาหากินโดยส่วนใหญ่จะทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์เพื่อเลี้ยงชีพตนเองและเพื่อการค้าขาย แต่เมื่อความเจริญทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท เช่นการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ สร้างโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จึงทำให้วิถีชีวิตของคนไทยนั้นเปลี่ยนไปจากเดิมมากขึ้นเมื่อมีโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาหลายคนจึงละทิ้งวิถีชีวิตเดิมๆเพื่อมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองหลวงหรือแหล่งอุตสาหกรรมมาขายแรงงาน นอกจากนี้ในหลายๆธุรกิจยังนำเอาเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยนี้ไปใช้ในด้านต่างๆเช่น การเปิดร้านอินเตอร์เน็ต การเปิดเว็บคาสิโนออนไลน์ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงของลูกค้าจนเกิดเป็นแหล่งบริการคาสิโนออนไลน์ โดยที่บรรดาผู้เล่นเพียงแค่ใช้งานคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานเป็นและมีการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็สามารถเล่นเกมคาสิโนออนไลน์ได้หรือพบความบันเทิงใจจากการเล่นเกม Gclub Online ได้แล้ว เพราะปัจจุบันแทบทุกบ้านจะมีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเพราะเหตุนี้ลูกค้าของเว็บคาสิโน Gclub จึงมีหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นลูกค้าวัยทำงาน ตลอดจนลูกค้าที่เป็นนิสิตนักศึกษาโดยแต่ก่อนการเล่นการพนันนั้นเป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศไทย แต่ยังคงมีการแอบเปิดบ่อนไพ่ป๊อกเด้ง หรือบ่อนคาสิโนต่างๆ ซึ่งการเล่นที่บ่อนในประไทยนี้ เสี่ยงต่อการโดนจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงมีนักลงทุนคนไทยบางกลุ่ม ไปเปิดบ่อนคาสิโนหรือบ่อนบาคาร่านี้ ที่ประเทศเพื่อนบ้าน คือกัมพูชา หรืออีกชื่อที่เรียกกันว่า ปอยเปต ชื่อที่นักเสี่ยงโชคหลายๆคนรู้จักกันเป็นอย่างดี  ซึ่งแต่เดิมนั้นการเล่นเกมเดิมพันอย่างคาสิโนจำเป็นต้องเดินทางไกลถึงต่างแดนอย่างแถบชายแดนกัมพูชาแหล่งคาสิโนในปอยเปต แต่ปัจจุบันมีความก้าวหน้าในเทคโนโลยี จึงได้มีการสร้างเกมส์พนันออนไลน์ขึ้นมา เพื่อให้สะดวกแก่การเล่นของลูกค้าส่วนใหญ่ และนี้ก็คือตัวอย่างเกมส์พนันของแต่ละค่าย เช่น เกมเล่นสล็อต , Gclub , Baccarat , Baccarat Online , บาคาร่าออนไลน์ , ป๊อกเด้งออนไลน์ , G club Online, G club และด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทุกวันจึงสามารถเล่นเกม G club ผ่านทาง GclubIphone , Gclub iphone ได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยแต่ละค่ายจะมีเกมการเล่นทั้งที่เหมือนกันและไม่เหมือนกัน ตามสไตล์ของแต่ละที่ เพื่อให้ลูกค้าเลือกได้ตามความชอบ

ขอขอบคุณ  http://www.thaihospital.org  ที่ให้ความกรุณาในการเผยแพร่

thailand

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 25
    • ดูรายละเอียด
กรมบัญชีกลางจะตัดสิทธิ์ จนพวกเราคนธรรมดาจะไม่มีสิทธิ์แล้ว ยังมาเข้มงวดในการใช้ยา ในการรักษาของแพทย์อีก

ถ้าเราไม่ช่วยเหลือกัน แล้วใครเล่าจะช่วยเหลือเรา

แพทย์ ข้าราชการ ประชาชน  เราต้องรวมตัวกันซะที เพื่อแสดงจุดยืนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ที่.....


https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99/252362108219014