ผู้เขียน หัวข้อ: มหันตภัย 30 บาทรักษาทุกโรค ตอนภัยต่อระบบบริการสาธารณสุขและงบประมาณแผ่นดิน  (อ่าน 2657 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9779
    • ดูรายละเอียด
ผู้เขียนได้เขียนเรื่องมหันตภัยหรือภัยอันร้ายแรงของระบบ 30 บาทที่มีต่อประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ไปแล้ว
วันนี้จะเขียนต่อถึงมหันตภัยของระบบ 30 บาทที่มีต่อระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขและภัยต่องบประมาณแผ่นดิน
ซึ่งน่าจะต้องมองก่อนว่า ระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคนั้นเกิดความเปลี่ยนแปลอะไรต่อระบบสาธารณสุขไทยบ้าง ดังต่อไปนี้

1.   กระทรวงสาธารณสุขไม่มีอำนาจในการบริหารงบประมาณในการดำเนินงานตามภาระรับผิดชอบของตนเองอีกต่อไป
เนื่องจากงบประมาณส่วนใหญ่ถูกส่งไปให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสปสช.ทำให้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขขาดการพัฒนา
2.   โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขมีภาระงานในการดูแลรักษาผู้ป่วยมากเกินไป
3.   มาตรฐานการแพทย์ในระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขมีปัญหา
4.   สุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนไม่ดีขึ้น
5.   งบประมาณแผ่นดินถูกใช้ไปอย่างไม่คุ้มค่า/สมเหตุผล
6.   อวสานของกระทรวงสาธารณสุข
เนื่องจากการขาดเอกภาพในการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขของประเทศ
ซึ่งจะขอกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดมหันตภัยต่อระบบบริการสาธารณสุขดังนี้

1.กระทรวงสาธารณสุขไม่มีอำนาจในการบริหารงบประมาณในการดำเนินงานตามภาระรับผิดชอบของตนเองอีกต่อไป

เนื่องจากงบประมาณส่วนใหญ่ถูกส่งไปให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสปสช.ทำให้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขขาดการพัฒนา ทั้งนี้ บทบัญญัติในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ม. 5ได้กำหนดให้บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพโดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอาจกำหนดให้บุคคลที่เข้ารับการบริการสาธารณสุขต้องร่วมจ่ายค่าบริการในอัตราที่กำหนดให้แก่หน่วยบริการในแต่ละครั้งที่เข้ารับการบริการ
เว้นแต่ผู้ยากไร้หรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไม่ต้องจ่ายค่าบริการ ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่บุคคลจะมีสิทธิได้รับให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดและในมาตรา 38 กำหนดให้มีการจัดตั้ง "กองทุนหลักประกันสุภาพแห่งชาติ"มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ และในมาตรา 41
ให้คณะกรรมการกันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้แก่หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ
โดยหาผู้กระทำผิดมิได้หรือหาผู้กระทำผิดได้แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด และมาตรา 46 กำหนดว่าหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการและหน่วยบริการที่รับการส่งต่อผู้รับบริการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเป็นประจำทุกปีตามม.18(13)

  ฉะนั้นเมื่อมีการมอบงบประมาณแผ่นดินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในกาบริการสาธารณสุขแก่ประชาชนในระบบ 30 บาทแล้ว รัฐบาลก็ไม่ได้จ่ายงบประมาณให้แก่กระทรวงสาธารณสุขโดยตรงอีกต่อไป กระทรวงสาธารณสุขมีช่องทางเดียวที่จะบอกให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทราบว่ามีเงินเพียงพอต่อการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนหรือไม่ โดยการเสนอความคิดเห็นในการประชุมประจำปีที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะต้องจัดตามหน้าที่ในม.18(13)

  แต่ปรากฏว่าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เคยจัดประชุมเลยและไม่เคยรับฟังความคิดเห็นว่าหน่วยบริการสาธารณสุขประสบกับปัญหาการขาดงบประมาณที่จะใช้จ่ายในการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน แต่ปรากฏว่าสปสช.กล่าวหาว่ารพ.กระทรวงสาธารณสุขมีกำไรด้วยซ้ำไป!

 นอกจากนั้นคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติยังไม่ได้ทำหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในม.18(3) ในการกำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตแต่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ให้สปสช.โฆษณาประชาสัมพันธ์ไปทั่วประเทศว่า 30 บาทรักษาทุกโรคต่อมาก็ประกาศว่ารักษาฟรีอย่างมีคุณภาพใช้บัตรประชาชนใบเดียวไปรักษาได้ทุกโรงพยาบาล หรือในปัจจุบันก็ประกาศว่า 30 บาทเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริการโดยไม่ต้องพักเที่ยง และยกเว้นไม่ต้องจ่ายอีก 20ประเภท และประเภทที่ 21ไม่ต้องการจ่ายก็ได้สิทธิ์นั้นทันที

   การโฆษณาประชาสัมพันธ์เช่นนี้ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าจะต้องได้รับการบริการสาธารณสุขอย่างดีที่สุด แต่ในเมื่อโรงพยาบาลไม่มีงบประมาณที่พอเพียงและคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯก็ไม่รับฟังความคิดเห็นเรื่องการขาดงบประมาณที่เหมาะสมจากหน่วยบริการและไม่แก้ไขการขาดแคลนนั้นจึงเป็นอุปสรรคสำคัญที่กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถที่จะพัฒนาอาคารสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ และไม่มีเงินจ้างบุคลากร เพิ่มให้พอรองรับจำนวนผู้ป่วย จนมีปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล ผู้ป่วยต้องนอนเตียงเสริมเตียงแทรกตามระเบียง หรือปูเสื่อนอนตามพื้น และต้องเสียเวลารอคอยเป็นครึ่งค่อนวัน
กว่าจะได้รับการตรวจรักษาแต่ละครั้ง

ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค นั้น กระทรวงสาธารณสุขจะได้รับงบประมาณแผ่นดินในการบริหารจัดการในการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนโดยที่กระทรวงสาธารณสุขสามารถจัดสรรให้แก่โรงพยาบาลตามความจำเป็นและเหมาะสม
นอกจากนั้น โรงพยาบาลยังได้รับเงิน  "ค่าบริการสาธารณสุข"จากผู้ป่วยที่ไปรับบริการสาธารณสุข เรียกว่า "เงินบำรุง"โรงพยาบาลซึ่งผู้อำนวยการมีอำนาจที่จะใช้เงินบำรุงในขอบเขตที่กำหนด เพื่อที่จะพัฒนาและปรับปรุงอาคารสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์การแพทย์รวมทั้งจ้างเจ้าหน้าที่และบุคลากรสาธารณสุขมาเพิ่มจากอัตราข้าราชการและลูกจ้างประจำเพื่อให้สามารถให้บริการที่สะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว แก่ผู้ป่วยได้

แต่เมื่อเริ่มมีระบบ 30 บาทกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้รับงบประมาณแผ่นดินที่จะจัดสรรให้แก่โรงพยาบาลเลยและโรงพยาบาลก็เก็บเงินค่าบริการได้เพียงครั้งละ 30 บาทและต่อมาก็เก็บไม่ได้เลย ทำให้โรงพยาบาลขาดทั้งเงินงบประมาณแผ่นดิน และขาดเงินบำรุงโรงพยาบาล ทำให้โรงพยาบาลไม่มีเงินพัฒนาและปรับปรุงใดๆรวมทั้งไม่มีเงินจ้างบุคลากรที่ขาดแคลนอีกด้วยทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวก และไม่มีความปลอดภัยในการไปรับบริการมากขึ้น

2.โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขมีภาระงานในการดูแลรักษาผู้ป่วยมากเกินไป

โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขเป็นโรงพยาบาลส่วนใหญ่ที่ต้องรับภาระในการดูแลรักษาหรือให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศและประชาชนส่วนใหญ่ของระบบ30 บาท เพราะเป็นภาระหน้าที่โดยตรงของกระทรวงสาธารณสุข ส่วนโรงพยาบาลเอกชนที่มีอยู่นั้น ตอนแรกเมื่อเริ่มโครงการ 30 บาทก็เข้าร่วมให้บริการแก่ผู้ป่วยในระบบ 30 บาทด้วย
แต่ในระยะต่อมารพ.เอกชนส่วนใหญ่ก็ถอนตัวออกจากการร่วมโครงการนี้ ทำให้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขต้องรับภาระดูแลรับผิดชอบผู้ป่วยมากขึ้นหลายเท่าตัวมีผู้ป่วยไปรับบริการสูงถึง 200 ล้านครั้ง/ปีในปัจจุบัน แต่บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีไม่พอเพียง อาคารสถานที่ก็คับแคบ และจำนวนผู้ป่วยก็มากขึ้น ทำให้มีสภาพผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลผู้ป่วยต้องเสียเวลาในการไปโรงพยาบาลเกือบทั้งวัน เพื่อจะมีเวลาได้พบหน้าแพทย์เพียง 2- 4 นาทีทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อความเสียหายหรือความเข้าใจผิดในสาระสำคัญที่แพทย์อธิบาย ผู้ป่วยขาดความเชื่อมั่นในการรักษา ได้ยาไปกินแล้วสองสามวันไม่หายก็เปลี่ยนโรงพยาบาล ไปรักษาที่อื่น ทำให้จำนวนผู้ป่วยยิ่งมากขึ้นและภาระงานของโรงพยาบาลก็มากขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด

3.มาตรฐานการแพทย์ในระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขมีปัญหา

จากการที่สปสช.จ่ายเงิน "ค่าบริการสาธารณสุข"ให้แก่หน่วยบริการ หรือโรงพยาบาลต่างๆไม่เพียงพอ แต่สปสช.กลับเอาเงินที่ควรจะส่งให้รพ.ไปทำโครงการในการรักษาโรคบางอย่างเองโดยไม่ใช่หน้าที่ของสปสช.เช่นโครงการผ่าตัดต้อกระจก และโครงการอื่นๆอีกมากทำให้สปสช.จ่ายเงินค่ารักษาโรคทั่วไปน้อยลง และสปสช.จำกัดรายการยาและรายการรักษา
ทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่รักษาโรคที่ยุ่งยากซับซ้อนไม่สามารถเลือกใช้ยาที่เหมาะสมที่สุดให้แก่ผู้ป่วยได้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานที่เหมาะสมและทันสมัยและในปัจจุบันนี้การจำกัดรายการยาแบบนี้กำลังจะถูกกรมบัญชีกลางนำไปใช้ในระบบสวัสดิการข้าราชการเพิ่มอีกด้วย การจำกัดรายการยาโดยอาศัยเพียงข้อจำกัดของงบประมาณจะทำให้ไม่มีการพัฒนาวิชาการทางการแพทย์ในระบบโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขอีกต่อไปทำให้ประชาชนที่พอมีเงิน ต้องหันไปรับบริการจากโรงพยาบาลเอกชนมากขึ้น จนมีรายงานในตลาดหลักทรัพย์ว่ากลุ่มโรงพยาบาลเอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 60% แต่โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุขตกต่ำ ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายมากขึ้นทำให้ประชาชนขาดความเชื่อถือ และมีผลไปจนถึงการผลักดันให้มีการออกกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข แทนที่จะป้องกันการเสียหาย โดยการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริการเพื่อทำให้ประชาชนปลอดภัยและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้น การเกิดความเสียหายก็เป็นภัยต่ประชาชนส่วนการออกพ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายฯก็ทำให้เกิดการต่อต้านจากบุคลากร เพราะเกรงว่าจะทำให้เสี่ยงภัยจากการถูกฟ้องร้องมากขึ้นไปอีก

4.สุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนไม่ดีขึ้น
ถึงแม้ว่าประชาชนจะ "เข้าถึง"บริการมากขึ้น แต่ความจำกัดเรื่องงบประมาณต่างๆดังกล่าว ประกอบกับประชาชนไม่ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบอะไรเลยไม่มีการกำหนดกฎกติกา ว่าจะไปรับบริการสาธารณสุขได้ปีละกี่ครั้งจะไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ปีละกี่ครั้ง
จะต้องไปพบแพทย์ทั่วไปก่อนจึงจะไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ จะต้องมีหน้าที่สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอย่างไรถ้าเจ็บป่วยเพราะพฤติกรรมไม่ดี เช่นดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ทำให้ป่วยบ่อยต้องไปรพ.มากกว่าปีละกี่ครั้งจะต้องจ่ายเงินค่ายาในการรักษาด้วย
ถ้าไม่ป่วยเลยในปีนั้นๆก็อาจจะได้รางวัลหรือประกาศเกียรติคุณกันบ้างและควรให้ผู้ป่วยที่ไม่ยากจนต้องจ่ายค่ายยาตามอัตราส่วนเช่น10-20%ของมูลค่ายา ไม่ใช่ไม่จ่ายเลยหรือจ่ายแค่ครั้งละ 30 บาทซึ่งเป็นราคาที่ถูกมาก การที่ให้ประชาชนร่วมจ่ายค่ายาก็เพื่อให้ตระหนักใน"มูลค่า"ที่ต้องจ่ายไปในการที่จะได้ยาเพราะคนไทยมักจะมองว่าของที่รัฐบาลให้นั้นมันฟรีไม่ได้คิดให้ลึกซึ้งว่ามันก็มาจากเงินภาษีของทุกคนจึงใช้ของฟรีอย่างทิ้งๆขว้างๆโดยรัฐมนตรีก็ส่งเสริมการใช้ยาแบบทิ้งๆขว้างๆโดยการเอายามาแลกไข่ไปกินได้อีก (โดยยาที่แลกมาก็ต้องทิ้งไปเพราะไม่แน่ใจในชนิดและคุณภาพของยา)แต่สำหรับประชาชนที่ยากไร้และสมควรได้รับการช่วยเหลือเกื้อกูล(เช่นพิการ)ก็ควรจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายเงิน

5.งบประมาณแผ่นดินถูกใช้ไปอย่างไม่เหมาะสม และเป็นภาระหนักแก่งบประมาณแผ่นดิน

การจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทำให้มีการตั้งสำนักงาน มีกรรมการ อนุกรรมการและบุคลากรประจำสำนักงานสปสช.มากมาย และไปประจำทุกพื้นที่ของประเทศ มีการจัดสรรงบประมาณบริหารสำนักงาน
เงินเดือน เบี้ยเลี้ยงแก่บุคลากร กรรมการและอนุกรรมการมากมายทั้งๆที่มีหน้าที่เพียงแค่ บริหารกองทุน แต่ทำให้ต้องจ่ายเงินจ้างบุคลากรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากมายมหาศาลและกรรมการส่วนหนึ่งก็เป็นข้าราชการประจำที่ได้รับเงินเดือนประจำอยู่แล้ว
ก็มารับเงินเบี้ยประชุมอีกทำให้งบประมาณแผ่นดินถูกจ่ายซ้ำซ้อนและสิ้นเปลือง โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุข แต่เป็นกรรมการจากกลุ่มเอกชน ที่มีความใกล้ชิดกับสปสช.
และเรียกร้องสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนรัฐบาลก็พยายามจำกัดงบประมาณ แต่ไม่กล้าที่จะบอกประชาชนว่าคุณภาพที่ดีๆนั้นหาไม่ได้จากราคาถูกๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพทย์ปัจจุบันก้าวหน้าไปทุกเวลา แต่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะบังคับให้ใช้แต่ยาเดิมๆซึ่งไม่สามารถรักษาโรคร้ายแรงบางอย่างได้

  นอกจากนั้น คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯยังไม่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอย่างแท้จริง
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการดูแลรักษาสุขภาพก็แยกออกไปเป็นองค์กรอิสระนอกเหนือการควบคุมของนักการเมืองและราชการ
แต่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน ในการทำงานโดยมีอำนาจการบริหารจากคณะกรรมการในรูปแบบเดียวกับสปสช. และบุคคลในกลุ่มเดียวกันซึ่งน่าจะเป็นการมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง   ในการเป็นคณะกรรมการในองค์กรต่างๆเหล่านี้ เช่น สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)ซึ่งมีองค์กรลูกอีกมากมายหลายองค์กร เช่น สรพ.(สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล)
สพตร.(คณะกรรมการพัฒนาการตรวจสอบระบบการรักษาพยาบาล) ซึ่งสพตร.นี้ก็ไปตรวจสอบการสั่งยาของแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆและระบุว่าแพทย์"ยิงยา"กล่าวคือสั่งยาโดยไม่ถูกต้องเพราะมีประโยชน์จากบริษัทยา พร้อมทั้งส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ตรวจสอบ  ซึ่งก็พบว่าส่วนใหญ่แล้วก็ไม่มีการทุจริตแต่อย่างใดกลายเป็นว่าสพตร.ที่มีแพทย์เพียงคนเดียว ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทุกโรคกลับไปเป็นผู้ตรวจสอบการทำงานของผู้เชี่ยวชาญแบบนี้ สมควรหรือไม่?) ซึ่งสำนักงานต่างๆเหล่านี้ ต่างก็ตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.เฉพาะได้รับงบประมาณแผ่นดินในการบริหารงาน แต่การดำเนินการต่างๆไม่ได้รับการตรวจสอบจากรัฐบาลว่าได้ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าหรือไม่

6.อวสานกระทรวงสาธารณสุข

เนื่องจากการบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขนั้นขาดเอกภาพ กล่าวคือมีแต่ภาระงาน  ไม่มีงบประมาณ ไม่สามารถทำตามนโยบายใดๆได้ต้องทำตามคำสั่งและมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุกอย่างตลอดไปจนการสั่งยาของแพทย์
จึงเท่ากับว่าไม่มีอำนาจใดๆในการทำงาน ต้องตกเป็น "เมืองขึ้น"ของสปสช. ที่เป็นผู้ผลักดันให้เกิดองค์กรตระกูลส.ต่างดังกล่าวแล้ว ได้แก่สวรส.(และองค์กรลูกอีก 6 องค์กร) สสส. สช. และสปสช. ได้มองว่าการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขของประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขนั้นไม่จำเป็นอีกต่อไป เนื่องจากเขาได้บอกว่า ในอนาคตนั้น "ระบบสุขภาพ"นั้นจะไม่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐบาล(รัฐมนตรี)และระบบราชการส่วนกลาง(ปลัดกระทรวง)เลย เพราะเขาบอกว่า สช.จะเป็นฝ่ายกำหนดนโยบายผ่านการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติและรัฐบาลต้องทำตามเพราะบัญญัติไว้แล้วในพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550

 สสส.จะเป็นผู้จัดการให้ความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพ สปสช.จะเป็นฝ่ายควบคุมการบริหารงบประมาณ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดจะเป็นผู้จัดบริการสาธารณสุข ข้อสุดท้ายนี้ ก็คือมหันตภัยอันยิ่งใหญ่ต่อระบบบริการสาธารณสุข
และกระทรวงสาธารณสุขจะถึงกาลอวสาน  (ไม่ต้องมีอยู่อีกต่อไป)

   พร้อมกับการอวสานของการบริหารราชการแผ่นดินโดยผู้แทนราษฎร(สส) และอวสานของมาตรฐานการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขเพราะกลุ่มองค์กรอิสระเหล่านี้ อ้างผลประโยชน์ประชาชนบังหน้า แต่แท้ที่จริงแล้ว จำกัดงบประมาณในการรักษาทำให้จำกัดมาตรฐานการบริการแต่ใช้งบประมาณตอบแทนพวกพ้องจนร่ำรวยไปตามๆกัน

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)
4 กันยายน 2555

mildkoid

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 9
    • ดูรายละเอียด
ประวัติบาคาร่าในฝรั่งเศส

แม้ว่าต้นกำเนิดที่แท้จริงของบาคาร่าจะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่แต่เป็นที่ แน่ชัดแล้วว่ารูปแบบและลักษณะของเกมบาคาร่าที่ใช้เล่นในปัจจุบันมีต้นกำเนิด มาจากประเทศฝรั่งเศส บาคาร่านั้นเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ชนชั้นสูงของฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ 16 – 17 จากนั้นก็เริ่มแพร่กระจายอย่างรวดเร็วมีการเล่น บาคาร่า ทั้งในบ้านและราชวัง ในช่วงการปกครองของพระเจ้านโปเลียน (Napoleon) มีการเล่นบาคาร่าในคลับการพนันนอกกฎหมายหลายแห่ง แต่ในปัจจุบันการเล่นบาคาร่าในบ่อน คาสิโน กลายเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมายไปแล้วที่ประเทศกัมพูชา มีเกมต่างๆที่ได้รับความนิยมแนะนำให้ผู้เล่นได้เลือกเล่นมากมายและด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยผู้เล่นสามารถเล่นผ่านออนไลน์หรือผ่านทาง GclubIphone ได้ที่ Gclub iphone มีเกม คาสิโนออนไลน์ ที่พร้อมให้เล่นได้ตลอด 24 ชม. มีทั้งเกม บาคาร่าออนไลน์แบ่งเป็น Baccarat และ Baccarat Online ที่มีกติกาการเล่นคล้ายกับเกม ป๊อกเด้งออนไลน์ เกม Gclub Online แม้ว่าผู้เล่นจะพิมพ์คำว่า Gclub  ,G club, G club Online ก็สามารถเล่นGclub ได้เพราะเป็นเกมเดียวกัน แต่อาจจะมีเป็นบางครั้งที่ เล่นสล็อตไม่ได้ผู้เล่นก็สามารถเปลี่ยนมาเล่น เกม คาสิโนออนไลน์ แบบอื่นๆแทนได้ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 บาคาร่าเป็นเกม G club ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในคาสิโนเมืองริเวียร่า (Riviera) ของฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีเกมบาคาร่าด้วยกันสองรูปแบบ คือ เชอแมงเดอเฟร์ (ChemindeFer) และ บาคาร่าอันบาค (En-Banque) ข้อแตกต่างของบาคาร่าทั้งสองรูปแบบอยู่ที่ผู้แจกไพ่และจำนวนผู้เล่นในเกม ในบาคาร่าแบบ เชอแมงเดอเฟร์ ผู้เล่นที่วางเดิมพันสูงสุดจะเป็นผู้แจกไพ่และเป็นเจ้ามือ ผู้เล่นที่วางเดิมพันสูงสุดรองลงมาจะเป็นตัวแทนของผู้เล่นที่เหลือในการเล่น แข่งขันกับเจ้ามือ ส่วนในบาคาร่าอันบาค บ่อนจะเป็นเจ้ามือเองและมีดีลเลอร์ทำหน้าที่แจกไพ่ให้ผู้เล่น ลักษณะของโต๊ะเล่นบาคาร่าจะเป็นโต๊ะคู่ที่ออกแบบให้มีที่นั่งสำหรับผู้เล่น ด้านซ้ายและด้านขวาของเจ้ามือฝั่งละห้าคน ผู้เล่นหนึ่งคนจากฝั่งซ้ายและอีกหนึ่งคนจากฝั่งขวาจะเป็นตัวแทนผู้เล่นแต่ละ ฝั่งที่จะเล่นแข่งกับเจ้ามือ  กฎการเรียกไพ่และการอยู่ แต้มทั้งฝ่ายเจ้ามือและผู้เล่นจะเหมือนกันในเกมบาคาร่าทั้งสองแบบ

ขอขอบคุณ http://www.thaihospital.org ที่ให้ความกรุณาในการเผยแพร่

thailand

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 25
    • ดูรายละเอียด
กรมบัญชีกลางจะตัดสิทธิ์ จนพวกเราคนธรรมดาจะไม่มีสิทธิ์แล้ว ยังมาเข้มงวดในการใช้ยา ในการรักษาของแพทย์อีก

ถ้าเราไม่ช่วยเหลือกัน แล้วใครเล่าจะช่วยเหลือเรา

แพทย์ ข้าราชการ ประชาชน  เราต้องรวมตัวกันซะที เพื่อแสดงจุดยืนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ที่.....


https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99/252362108219014