ผู้เขียน หัวข้อ: ฝรั่งสลดใจ เห็นกรุงศรีอยุธยายุคพระเจ้าท้ายสระ หลัง “ห่าลง” บ้านเมืองเหมือนป่าไร้  (อ่าน 12 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
ฝรั่งสลดใจ เห็นกรุงศรีอยุธยายุค พระเจ้าท้ายสระ หลัง “ห่าลง” บ้านเมืองเหมือนป่าไร้ผู้คน

คำว่า “โรคห่า” สุจิตต์ วงษ์เทศ อธิบายว่า เป็นคำที่หมายความถึง โรคระบาด ที่ทำให้มีคนตายคราวละมาก ๆ ซึ่งอาจเกิดจากฝีดาษ (ไข้ทรพิษ) อหิวาต์ หรือกาฬโรคก็ได้

ใน จดหมายของมองเซนเยอร์เดอบูร์ ถึงมองซิเออร์เตเซีย วันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1713 หรือ พ.ศ. 2256 ตรงกับรัชสมัย พระเจ้าท้ายสระ จาก ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ 22 องค์การค้าของคุรุสภา พ.ศ. 2511 มองเซนเยอร์เดอบูร์ ได้พรรณนาถึงกรุงศรีอยุธยาที่ได้พบเจอหลัง “ห่าลง” ในสมัยนั้นความว่า

“พวกข้าพเจ้าได้มาถึงเมืองไทยโดยสวัสดิภาพเมื่อวันที่ 1 เดือนมีนาคม มองเซนเยอร์เดอซาบูร์ ได้จัดการอย่างดีเหลือที่ข้าพเจ้าจะพรรณาได้ ข้าพเจ้ามีความประหลาดใจมากที่ได้เห็นบ้านเมืองร่วงโรยลงไปมากทั่วพระราชอาณาเขต เมืองไทยเวลานี้ไม่เหมือนกับเมืองไทยเมื่อครั้ง 50 ปีที่ล่วงมาแล้ว ซึ่งเป็นเวลาที่พวกเราได้มาเห็นเป็นครั้งแรก ในเวลานี้ไม่ได้มีเรือต่างประเทศจำนวนมากมายหรือเรือไทยไปมาค้าขายดังแต่ก่อนแล้ว ถ้าจะเทียบกับเมืองไทยในเวลานี้เท่ากับเป็นป่าที่ไม่มีคนอยู่ ด้วยราษฎรพลเมืองมีจำนวนน้อยลงกว่าครึ่งหนึ่ง

เมื่อต้นปีนี้ได้เกิดไข้ทรพิษขึ้น ซึ่งกระทำให้พลเมืองล้มตายไปครึ่งหนึ่ง ทั้งการที่ข้าวยากหมากแพงก็ทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมาก ตามปกติในปีก่อน ๆ ข้าวที่เคยซื้อกันได้ราคา 1 เหรียญนั้น บัดนี้ 10 เหรียญ ก็ยังหาซื้อเกือบไม่ได้ การที่ข้าพเจ้ามาครั้งนี้ได้ทำให้มองเซนเยอร์เดอซาบูร์ ได้รับความลำบากขึ้นมาก เพราะต้องหาเลี้ยงผู้คนจำนวนมากขึ้น

การนี้ข้าพเจ้าก็ไม่ได้มีเจตนาอย่างใดที่จะทำให้ท่านสังฆราชได้รับความลำบาก เพราะไปเข้าใจเสียว่าการที่ข้าพเจ้าได้พาชาวตังเกี๋ยหนุ่มมา 20 คนนั้นจะไม่เดือดร้อนอะไร เพราะเข้าใจว่าเมืองไทยเคยเป็นเมืองที่บริบูรณ์ทั้งข้าวของก็ถูก ดังได้เคยเห็นมาแต่ก่อน ๆ ด้วย แต่การที่ข้าพเจ้าไปเข้าใจเช่นนี้ เป็นการเข้าใจผิดโดยแท้”

ทั้งนี้ ผู้จัดพิมพ์ได้ใส่หมายเหตุไว้ว่า มองเซนเยอร์เดอบูร์ เคยเป็น “วิแกอาปอศตอลิก (vicar apostolic ตำแหน่งของบาทหลวงระดับบิชอป) ที่เมืองตังเกี๋ยฝ่ายตะวันตก และเป็นผู้ที่ถูกไล่ออกจากเมืองนั้นแล้ว”

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 28 มกราคม 2560
เว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม