ผู้เขียน หัวข้อ: ท่านนายกฯต้องตัดสินใจ  (อ่าน 1907 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
ท่านนายกฯต้องตัดสินใจ
« เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2010, 00:42:57 »
โรงพยาบาลสงขลา    สงขลา
                                                                              20  กรกฎาคม   พ.ศ. 2553
เรื่อง  ขอโปรดพิจารณาร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ อย่างรอบคอบ
กราบเรียน ฯ พณ ฯ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ

     ตามที่กำลังจะมีการนำร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เข้าพิจารณาในสภาผู้แทนฯ  ทางผู้ให้บริการทางการแพทย์ โดยมีวิชาชีพแพทย์เป็นแกนนำในการค้านร่าง พรบ.ดังกล่าว  ซึ่งมีจุดอ่อนดังที่ตัวแทนคงได้นำเสนอให้ทราบไปบ้างแล้วนั้น   ในที่นี้อยากเปรียบเทียบกับสังคมการเมือง  ที่ยุคหนึ่งสังคมไม่ไว้ใจนักการเมือง  จนนำไปสู่การเกิดรัฐธรรมนูญปี 50 

ผลกระทบที่ตามมาคือทำให้นักการเมืองไม่สามารถทำงานการเมืองได้อย่างสมบูรณ์  เพราะมีบทลงโทษเช่น  การยุบพรรค การเว้นวรรคทางการเมือง  แม้แต่ขนาดอดีตนายกฯสมัคร สุนทรเวชเอง  ยังสามารถถูกถอดออกจากตำแหน่งได้ โดยเพียงแค่การไปเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์เท่านั้นเอง  แสดงถึงตัวอย่างของจุดอ่อนของกฎหมาย  สถานการณ์ที่มีกฎหมายบังคับนักการเมืองเช่นนี้จนเป็นที่เดือดร้อนและขอเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ  เหตุการณ์แบบเดียวกันนี้กำลังจะเกิดขึ้น
กับแวดวงสาธารณสุขถ้าร่าง พรบ.ฉบับนี้ถูกบังคับใช้ ทำให้พฤติกรรมการทำงานของแพทย์และบุคลาการอื่นๆเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน  ทั้งนี้เพราะการหวังผลในการรักษาไม่มีทางที่จะได้ถึงหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์      แม้แต่โรคที่ดูแรกๆอาการน้อยสุดท้ายก็สามารถดำเนินโรครุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้  เมื่อเป็นเช่นนี้ร่วมกับร่าง พรบ.ฉบับนี้ สามารถชี้ความเสียหายจากการรักษาได้โดยง่าย   เพราะไม่ใช้การตัดสินบนพื้นฐานทางการแพทย์  เนื่องจากไม่กำหนดคณะกรรมการที่มาจากวิชาชีพแพทย์และไม่กำหนดหลักพิจารณาความเสียหายบนพื้นฐานทางการแพทย์  เหตุผลเหล่านี้แพทย์ย่อมมีความกังวลและไม่มั่นใจ  เพราะการตัดสินใจการรักษาใดๆของแพทย์นอกจากใช้ความรู้  ความสามารถแล้ว     แพทย์ต้องอาศัยความเชื่อมั่นในตนเองอีกด้วย  แต่ร่าง พรบ.นี้จะบั่นทอนความมั่นใจเนื่องจากความกังวลกับการพิจารณาความเสียหายได้ง่าย  สุดท้ายแพทย์ต้องหาทางออกโดยการใช้เวลาและวิธีการตรวจสอบที่มากกว่าปกติต่อคนไข้  จนอาจเกินจำเป็นทำให้ระบบการรักษาผิดเพี้ยนและบั่นทอนเวลาการตรวจผู้ป่วยมากขึ้นจนรบกวนการหมุนเวียนผู้ป่วยในการตรวจรักษา  ในขณะที่นโยบายบัตรทองเน้นให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงการรักษาโดยง่าย   มาใช้บริการมากขึ้นแต่ร่าง พรบ.ฉบับนี้กลับบีบบังคับให้แพทย์ตรวจรักษาผู้ป่วยอย่างละเอียดมากขึ้น  ซึ่งสภาพแบบนี้เป็นการสวนทางกันอย่างรุนแรง  กลายเป็นแรงกดดันอย่างหนักต่อแพทย์และบุคลากรผู้ให้บริการโดยตรง  จึงอยากให้ท่านนายกฯโปรดพิจารณาด้วยใจเป็นธรรมและเหตุผลว่าเป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นหรือไม่  ในขณะที่ผู้เสนอและสนับสนุนร่าง พรบ.ฉบับนี้ได้แสดงความเห็นส่วนหนึ่งอยู่แล้วว่าร่าง พรบ.ฉบับนี้จะทำให้แพทย์เพิ่มความระมัดระวังขึ้น  แสดงให้เห็นโดยนัยแล้วว่ายอมรับว่าร่าง พรบ.ฉบับนี้มีเนื้อหาบีบบังคับแพทย์ตามที่วิชาชีพแพทย์ได้วิเคราะห์จริง 
 
    ดังนั้นตัวแทนทางการแพทย์จึงขอให้ถอนร่าง พรบ.ดังกล่าวออกจากการพิจารณาของสภาผู้แทนฯ  เพราะเป็นที่รู้แน่นอนอยู่แล้วว่า ส.ส ส่วนใหญ่ไม่มีความเข้าใจระบบบริการทางการแพทย์  อีกทั้ง ส.ส ทุกท่านยังไม่เคยมีโอกาสรับรู้ข้อมูลจากทางฝ่ายวิชาชีพแพทย์เลย  การพิจารณาในสภาไม่มีเวลาเพียงพอที่จะเข้าใจและตัดสินได้  ถือเป็นความเสี่ยงอย่างมากที่จะถูกพิจารณาให้ผ่านอย่างผิดพลาดได้ง่าย  แม้กระทั่งกฤษฎีกายังผ่านร่าง พรบ.ฉบับนี้ทั้งๆที่มีจุดอ่อนเพราะด้วยเหตุผลเดียวกันคือ  กฤษฎีกาเองก็ไม่มีความเข้าใจระบบบริการทางการแพทย์ด้วยเช่นกัน

     ในโอกาสนี้อยากกล่าวถึงความรู้สึกครั้งแรกที่ทราบว่า  ท่านนายกฯมารับตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของประเทศ  บุคลากรทุกฝ่ายในกระทรวงสาธารณสุขรู้สึกยินดีเป็นอย่างมาก  เพราะทราบอยู่เดิมว่าท่านนายกฯมีบิดาเป็นบรมครูทางการแพทย์ที่สำคัญของประเทศ  ซึ่งทราบปัญหาและความเป็นไปของแวดวงสาธารณสุขเป็นอย่างดี  พวกเรารู้สึกดีใจและมีความหวังว่า วงการสาธารณสุขของเราจะเจริญงอกงามเพราะเราได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากพื้นฐานครอบครัวของแพทย์  แต่มาบัดนี้  ถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ท่านนายกฯต้องตัดสินใจ  เพราะถ้าหายนะเกิดขึ้นจริงจากร่าง พรบ.ฉบับนี้อันมีคณะ ครม. ของท่านเป็นผู้ผ่านร่าง  ความล่มสลายของระบบการรักษาและระบบสาธารณสุขก็จะตราตรึงในใจของบุคลาการสาธารณสุขและประชาชนอย่างแน่นอน

              จึงเรียนมาเพิ่อโปรดพิจารณา
                                                        ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง



                                                                                                       
                                                    ( นพ.เพิ่มบุญ   จิรยศบุญยศักดิ์ )
                                     กรรมการกลางสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท. แห่งประเทศไทย

Dr716

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: ท่านนายกฯต้องตัดสินใจ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2010, 00:49:43 »
สนับสนุน และ เห็นด้วยครับ

แต่นายกคงไม่มีบารมีพอทำได้แน่ๆ

กม.นี้เลยไปถึง สภาผู้แทนแล้ว มี NGO จ้อง

เล่นงานนายกที่ห่วงพรรคการเมืองในฐานะหัวหน้าพรรค ที่กำลังจะต้องลงเลือกตั้งใหม่

การยกมือถอนในสภา ไม่เป็นมติลับ สส.ทุกคนที่ช่วยเราจะเสียคะแนนนิยม หากชาวบ้านไม่เข้าใจ

ทางที่ทำได้คือต้องให้ประชาชนเข้าใจข้อเสียของ พรบ.นี้ก่อนครับ

แล้วจึงจะมีคนสนับสนุนให้ถอนอย่างสบายๆ

โดยเขาต้องเข้าใจ เนื้อหา พรบ.ไม่ใช่วัตถุประสงค์เท่านั้น..

ทั้ง 50 มาตราครับ

เราต้องช่วยกัน educate สังคมครับ.. :)  :)

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
Re: ท่านนายกฯต้องตัดสินใจ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2010, 13:35:13 »
เป็นกำลังใจให้ อ.เพิ่มบุญ และสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท. แห่งประเทศไทย