ผู้เขียน หัวข้อ: "สปสช."เดิน5แผน ลดใช้ยาฟุ่มเฟือย-ไทยโพสต์-28เมย2553  (อ่าน 1889 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
สปสช.เดินหน้า 5 แผนทำคนไทยเข้าถึงยา เน้นเพียงพอ ความต้องการ และมีระบบกำกับตรวจสอบติดตามที่เคร่งครัด หวัง ลดภาระการคลังจัดหางบประมาณในอนาคต เผยคนไทยใช้ยาฟุ่มเฟือยสัด ส่วนโตนำโด่ง สวนกระแสระดับนานาชาติ

     นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สถานการณ์ค่าใช้จ่ายด้านยาในประเทศไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี คิดเป็น 35% ของค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข ซึ่งระหว่างปี 2543-2548 อัตรา การค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้น 13-20% ขณะที่ช่วงเวลาเดียวกันเศรษฐกิจมีการขยายตัวเพียง 2.2-7.1% ซึ่ง การเพิ่มขึ้นของการใช้ยาในประเทศไทยเป็นไปในทิศทางที่ขัดแย้งกับตลาดยาใน ระดับนานาชาติ  ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจากหรือเพิ่มขึ้น 11.7% ในปี 2543 และเพิ่มขึ้น 6.8% ในปี 2548 สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยมีการใช้ยาเกินความจำเป็น และจะกลายเป็นภาระในระบบการเงินการคลังสำหรับประเทศไทยในอนาคต

     ดัง นั้น สปสช.จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านยา 5 ประเด็น คือ 1.การเตรียมพัฒนานโยบายการจัดหาและกระจายยา เวชภัณฑ์ และวัคซีนที่จำเป็นให้กับผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เช่น ยาพ่น สำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด การจัดหาและกระจาย ยาในโครงการเอดส์และวัณโรค และการกระจายวัคซีนด้วยระบบ VMI 2.ต้อง เร่งพัฒนาระบบข้อมูลด้านยาเพื่อเอื้อต่อการกำกับและติดตามการใช้ยาอย่าง เหมาะสม เช่น การพัฒนารหัสยาให้ครอบคลุมยาทุก ประเภท สนับสนุนการจัดทำข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านยาเพื่อคำนวณต้น ทุนที่เหมาะสมของการให้บริการ

    3.สนับสนุนการประกันคุณภาพยา การ สั่งใช้ยา สนับสนุนการใช้ยาสามัญ และการใช้ยา ปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล นำร่องก่อนใน 3 โรค คือ ท้องร่วงเฉียบพลัน แผลเลือดออก และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ และ 4.สร้าง การมีส่วนร่วมของภาคส่วนอื่นในการบริหารจัดการระบบยา และ 5.ต้อง เร่งเสริมสร้างประสิทธิภาพและความเป็นธรรมในการจัดหาและจ่ายชดเชยค่ายา เช่น จัดทำมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับยา เช่น ราคากลาง คุณลักษณะของยาร่วมกับกองทุนอื่นๆ

     "การที่ สปสช.กำหนดยุทธศาสตร์ด้านยาทั้ง 5 ประเด็น เพื่อบริหารยาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ ประชาชนเข้าถึงยาที่จำเป็นอย่างทั่วถึง เป็นส่วนหนึ่งในการ ช่วยลดอัตราการใช้ยาของคนไทยที่เพิ่มขึ้นทุกปี และส่งผลให้เป็นภาระทางการคลังในอนาคต" เลขาธิการ สปสช.กล่าว.