ผู้เขียน หัวข้อ: สักวันเราคงโคลน “แมมมอธ” สำเร็จด้วยแม่อุ้มบุญ “ช้างเอเชีย”  (อ่าน 1217 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด

นักวิทยาศาสตร์ชี้โคลน “ช้างแมมมอธ” ไม่ยากอย่างที่คิด แต่อาจต้องใช้เวลานานหลายสิบปี ไม่ใช่เวลาแค่ 5 ปีเหมือนที่นักวิจัยรัสเซีย-ญี่ปุ่นซึ่งมีโครงการคืนชีพช้างโบราณนี้อ้างว่าจะทำได้สำเร็จ โดยช้างเอเชียจะเป็น “แม่อุ้มบุญ” ที่ดีที่สุดเพราะมีสายสัมพันธ์ใกล้เคียงกัน
       
       ทั้งนี้ ช้างแมมมอธหรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า แมมมูทัส ไพรมิจีเนียส (Mammuthus primigenius) ได้ใช้ชีวิตท่องไปบนโลกใบนี้เป็นเวลากว่าล้านปี โดยครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่ยุโรป เอเชียไปจนถึงอเมริกาเหนือ แต่ช้างโบราณก็หายไปจากไซบีเรียเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อน แม้ว่ายังมีแมมมอธแคระเหลือรอดอยู่บนเกาะแรงเกล (Wrangel Island) ในทะเลอาร์กติกมาจนกระทั่งเมื่อ 3,700 ปีก่อนก็ตาม
       
       ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับดีเอ็นเอของช้างโบราณที่มีขนหนาปุกปุยนี้อยู่แล้ว ซึ่งพวกเขาได้สกัดเอาสารพันธุกรรมจากทั้งงา กระดูก และฟันของแมมมอธ ซึ่งเมื่อมีสารพันธุกรรมเหล่านี้แล้วไลฟ์ไซน์แจงว่าก็มีความเป็นไปได้ที่เราจะโคลนช้างแมมมอธขึ้นมาได้ในสักวัน
       
       เฮนดริก พอยนาร์ (Hendrik Poinar) นักพันธุศาสตร์ด้านวิวัฒนาการ จากมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ (McMaster University) ในแฮมิลตัน แคนาดา ให้ความเห็นแก่ไลฟ์ไซน์ว่า การคืนชีพสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วด้วยวิธีโคลนนิงนั้นเป็นสิ่งที่เคยทำกันมาแล้วแต่ยังไม่สำเร็จ โดยนักวิทยาศาสตร์ในสเปนได้โคลนแพะไอเบกซ์ไพเรเนียน (Pyrenean ibex) ซึ่งเป็นชนิดย่อยหรือซับสปีชีส์ (subspecies) ของแพะป่าซึ่งรู้จักในชื่อ “บูคาร์โด” (bucardo) ซึ่งแพะชนิดนี้ได้สูญพันธุ์ไปเมื่อปี 2000
       
       แพะบูคาร์โดตัวสุดท้ายซึ่งเป็นตัวเมียตายเนื่องจากกิ่งไม้หล่นมาใส่หัว อย่างไรก็ตาม นักวิจัยได้จัดการนำเอาดีเอ็นเอจากตัวอย่างผิวหนังของแพะตัวนี้ และพวกเขาได้ฉีดดีเอ็นเอดังกล่าวเข้าไปในไข่ของแพะตัวรับที่ได้นำเอาสารพันธุกรรมออกหมดแล้ว เพื่อสร้างตัวอ่อนขึ้นมาใหม่ แต่แพะโคลนก็ตายในเวลาไม่นานหลังจากเกิดมา เนื่องจากมีอาการติดเชื้อที่ปอด
       
       อาการผิดปกติกลายเป็นเรื่องปกติในการโคลน โดยความผิดพลาดอาจค่อยๆ เกิดขึ้นระหว่างการสร้างชุดคำสั่งทางเคมีในปริมาณมากๆ เพื่อเปลี่ยนดีเอ็นเอกลับไปเป็นระยะตัวอ่อนใหม่ หรือเกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาของตัวอ่อน หรืออาจเป็นไปได้ว่าสิ่งแวดล้อมในระหว่างที่ตัวอ่อนกำลังพัฒนาขึ้นนั้นไม่ใกล้เคียงกับที่ควรจะเป็น ก็อาจทำให้เกิดปัญหาในระยะตั้งท้องได้
       
       ทั้งนี้ ไลฟ์ไซน์ระบุว่า เราอาจคืนชีพให้ยีนของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วในบางครั้งเมื่อนำไปฝากไว้กับสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น สารพันธุกรรมที่สกัดออกมาจากเสือทัสมาเนียที่สูญพันธุ์ไปแล้วนั้นยังสามารถทำงานได้ดีในหนู ส่วนแมมมอธนั้นเราก็มีดีเอ็นเอมากพอที่จะสร้างสัตว์โคลนขึ้นมาได้ เนื่องจากเราค้นพบร่างของแมมมอธจำนวนมาก
       
       ท่ามกลางแมมมอธจำนวนมากที่ถูกค้นพบนั้นยังมีที่ส่วนที่เนื้อถูกแช่แข็งอยู่ในกระดูก ซึ่งสร้างความเป็นไปได้ที่จะได้สารพันธุกรรมอันบริสุทธิเพียงพอให้นำไปโคลนได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้มากกว่า เมื่อเทียบกับสารพันธุกรรมจากฟอสซิลไดโนเสาร์ ซึ่งแก่เกินไปและทำลายความหวังในการโคลนสัตว์เลื้อยคลายยักษ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว กลับขึ้นมาใหม่
       
       แล้วมี “แม่อุ้มบุญ” เพียงพอสำหรับให้กำเนิดแมมมอธโคลนหรือไม่ ซึ่งพอยนาร์อธิบายว่า ช้างแอฟริกาละช้างเอเชียนั้นสามารถผสมข้ามสายพันธุ์ได้ โดยช้างทั้งสองสายพันธุ์แยกสายวิวัฒนาการกันเมื่อ 5-6 ล้านปีก่อน ซึ่งช้างเอเชียนั้นถือว่ามีความใกล้ชิกกับช้างแมมมอธมากที่สุด เพราะช้างแมมอธนั้นแยกสายวิวัฒนาการมาจากช้างเอเย หลังจากที่ช้างเอเชียได้แยกสายวิวัฒนาการจากช้างแอฟริกาแล้ว ดังนั้น การที่ช้างซึ่งยังำม่สูญพันธุ์สามารถผสมข้างสายพันธุ์ได้ ก็เป็นไปได้ว่าช้างเอเชียจะอุ้มบุญตัวอ่อนของแมมมอธได้
       
       ล่าสุดเพิ่งมีรายงานข่าวว่านักวิทยาศาสตร์รัสเซียและญี่ปุ่น ประกาศวางแผนที่ตะสกัดนิวเคลียสจอกไขกระดูกจากกระดูกต้นขาแมมมอธ แม้จะมีเสียงแสดงความเป็นห่วงว่าไขกระดูกที่จะใช้นั้นต้องเป็นเซลล์ที่สมบูรณ์ หลังจากนั้นพวกเขาระบุว่าจะแทรกนิวเคลียสที่สกัดได้เข้าในไข่ของช้างในปัจจุบัน ซึ่งจึงถึงบัดนี้ก็มีหลายวิธีที่จะทำการโคลนนิงในลักษณะดังกล่าว
       
       “หากว่าหรือเพียงแต่พวกเขาได้พบเซลล์ที่ไม่เสียหาย พวกเขาก็อาจจะมีโชคที่จะทำสำเร็จได้ภายใน 5-10 ปี แต่ผมก็ยังสงสัยพวกเขาจะหาเซลล์ที่ไม่ยังบุบสลายได้หรือไม่” พอยนาร์ให้ความเห็น
       
       ความพยายามในการฟื้นคืนชีพช้างแมมมอธนั้นก็คล้ายการถักทอชิ้นส่วนเล็กๆ ของดีเอ็นเอเข้าไปในโครโมโซมประดิษฐ์ ทั้งนี้โครโมโซมซึ่งอยู่ในนิวเคลียสทั้งของพืชและของสัตว์นั้นจะมีสายโมเลกุลยาวๆ ของดีเอ็นเออยู่ ซึ่งพอยนาร์บอกว่าช้างนั้นมีโครโมโซมถึง 50-60 โครโมโซม ซึ่งมากกว่าโครโมโซมของคนเรา ทั้งนั้นการสำเนาโครโมโซมเหล่านี้จึงเป็นความท้าทาย ซึ่งเขากล่าวอย่างมั่นใจว่าความพยายามดังกล่าวต้องใช้เวลาถึง 20-50 ปี
       
       นอกจากนี้จะมีความกังวลในแง่จริยธรรมอีกด้วย ซึ่งแม้ว่านักวิยาศาสตร์จะประสบความสำเร็จในการโคลนแมมมอธแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาได้ฟื้นคืนความหลากหลายทางสายพันธุ์ หากสัตว์ที่โคลนได้มีประชากรน้อยเกินไป กลุ่มพันธุกรรมที่มีอยู่น้อยนิดก็จะอ่อนแอต่อโรคและปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่นอีกได้
       
       “มันไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ดีพอที่จะนำสัตว์ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วกลับมาอีก ทำไมต้องนำพวกมันกลับมาอีก? เพื่อจะเอาไปไว้ในสวนสนุกงั้นเหรอ? มันดูไม่ค่อยเป็นการใช้เงินภาษีที่ดีสำหรับผมเลย การศึกษาวิวัฒนาการของพวกมันอย่าเรียบๆ ซึ่งทำได้จากการศึกษากระดูกฟอสซิลโบราณนั้นสร้างความพึงพอใจให้ผมได้มากกว่า แต่นั่นก็เป็นแค่ความเห็นผมนะ” พอยนาร์ให้ความเห็น
       “บางคนกำลังทำเรื่องนี้โดยไม่สนว่าจะถูกจริยธรรมหรือไม่ และมันก็อาจจะแพงมากในการทดลองและโคลนแมมมอธ แต่จะมีสักกี่คนที่ไปสวนสัตว์เพื่อดูสิ่งนี้” พพอยนาร์ยังคงให้ความเห็นต่อการโคลนแมมมอธ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    13 ธันวาคม 2554