ผู้เขียน หัวข้อ: “หมอประเวศ” แนะใช้ประชาธิปไตยสุนทรียสนทนา แก้ปัญหา “หมอรัชตะ” ควบ 2 ตำแหน่ง  (อ่าน 464 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
 “หมอประเวศ” ชี้กรณี “หมอรัชตะ” นั่งควบ 2 ตำแหน่ง เกิดจากความขัดแย้งทางกฎหมาย ขณะที่ฝ่ายการเมืองไม่กล้าให้ออกเกรงกระทบรัฐมนตรีคนอื่นที่นั่งควบเช่นกัน แนะหาทางออกด้วยหลักประชาธิปไตยแบบสุนทรียสนทนา เน้นพูดคุยหารือมีสัมมาวาจา และเหตุผล

         
        วันนี้ (17 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณี ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน ดำรงตำแหน่งควบระหว่างอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จนเกิดความขัดแย้งขึ้น โดยเฉพาะในประชาคมมหิดลที่มีอาจารย์และนักศึกษาออกมาคัดค้านการดำรงควบ 2 ตำแหน่งดังกล่าว โดยอยากให้เลือกตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งนั้น ล่าสุด ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ได้เขียนบทความเรื่อง “ทางออกกรณีความขัดแย้งเรื่องหมอรัชตะ” โดยระบุว่าเดิมทีไม่มีกรณีเช่นนี้ เพราะ พ.ร.บ.และข้อบังคับมหาวิทยาลัยกำหนดให้อธิการบดีเป็นผู้ทำงานเต็มเวลา แต่รัฐธรรมนูญ คสช. กำหนดข้อยกเว้นทำให้เกิดความขัดแย้งหลายมิติ ทั้งมิติทางกฎหมาย ความรู้สึกของประชาคมในมหาวิทยาลัยที่คัดค้านการควบตำแหน่ง รวมไปถึงมิติทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลและ คสช. คงไม่ต้องการให้อธิการฯออกจากตำแหน่ง เพราะกลัวเป็นไฟลามทุ่งไปยังรัฐมนตรีอื่นๆ อีกหลายคนที่ควบตำแหน่ง จึงอ้างรัฐธรรมนูญมีฐานะสูงกว่า พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล
       
        ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยคำตอบสำเร็จรูปแบบ Yes หรือ No เพราะไม่ว่าคำตอบใดก็ตามความขัดแย้งยังคงมีอยู่และอาจบานปลายมากขึ้น ส่วนทางออกนั้นในบทความ ศ.นพ.ประเวศ เสนอว่าให้ใช้หลักประชาธิปไตยแบบสุนทรียสนทนา (Deliberative Democracy) คือต้องรู้จักกระบวนการประชาธิปไตยที่ผ่านการพูดคุยปรึกษาหารือกันด้วยวิจารณญาณ ซึ่งมีคุณภาพมากกว่าประชาธิปไตยแบบใช้อำนาจ เพราะเป็นการใช้ปัญญาด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน ใช้สัมมาวาจา ใช้เหตุผล ข้อมูลความรู้ โดยอาจใช้คำของท่านพุทธทาสว่า “สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ” คือใช้ความบริสุทธิ์และปัญญา ร่วมกับเมตตาและขันติ ซึ่งสุดท้ายจะนำไปสู่ทางออกร่วมกัน ซึ่งบอกไม่ได้ล่วงหน้าว่าทางออกจะเป็นอย่างไร แต่กระบวนการนั้นออกมาด้วยหลักโยนิโสมนสิการ

 ASTVผู้จัดการออนไลน์    17 กันยายน 2557