ผู้เขียน หัวข้อ: รพ.จุฬาฯ อวด “หุ่นยนต์” จัดเตรียมหลอดเลือดอัตโนมัติครั้งแรกของไทย  (อ่าน 1588 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
รพ.จุฬาฯ อวดนวัตกรรมหุ่นยนต์จัดเตรียมหลอดเลือดอัตโนมัติ ร่นเวลาตรวจจากเดิม 1 ชม.เหลือ 20 นาที ศักยภาพเยี่ยมตรวจบริการคนได้เร็วขึ้น

วันนี้ (16 ก.ค. ) ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวภายในงานแถลงข่าวนวัตกรรมไทยประดิษฐ์ “หุ่นยนต์จัดเตรียมหลอดเลือดอัตโนมัติ” เครื่องแรกของประเทศไทย ที่ตึก ภปร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ว่า จากสถานการณ์การเข้าใช้บริการภายในโรงพยาบาลจุฬาฯที่มีผู้ป่วยนอกสูงถึงปีละ 1.2 ล้านราย เป็นผู้ป่วยในปีละประมาณ 5-6 หมื่นราย และส่วนใหญ่จะต้องเจาะเลือดเพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ด้วยโรคเบาหวาน จากการบิรการดังกล่าวถ้าเป้นช่วงเวลาเร่งด่วนตั้งแต่ 07.00-09.00 น.จะมีผู้ป่วยรอคิวเจาะเลือดราว 300 ราย จากผู้ป่วยที่เข้าใช้บริการทั้งวันตกประมาณ 2,000 ราย ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการ จากปัญหาที่มีทาง รพ.จุฬาฯ จึงเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว อีกทั้งเพื่อพัฒนา รพ.สู่ความเป็นเลิศระดับโลก ( World Class hospital) และมหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University) ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร รพ.จุฬาฯ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ประสานความร่วมมือกับบริษัท เซนนิเมต (ประเทศไทย) จำกัด สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติพัฒนา หุ่นยนต์จัดเตรียมหลอดเลือดอัตโนมัติ ที่ชื่อราเบลอน (Rabelon) ซึ่งเป็นฝีมือคนไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จและสามารถนำมาใช้บริการใน รพ.จุฬาฯ เพื่อนำร่องและในอนาคตก็อาจจะเผยแพร่นวัตกรรมไปสู่โรงพยาบาลอีกหลายแห่งในประเทศไทย
       
       “ นวัตกรรมที่มีช่วยให้การกระบวนการในการเก็บตัวอย่างเลือดเป็นไปอย่างรวดเร็ว สะดวกและถูกต้อง ลดระยะเวลาในการให้บริการด้วย เพราะหุ่นยนต์ทำช่วยในการลำเลียงหลอดเลือดจากห้องเจาะเลือดไปยังห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วและสะดวก ทำให้ช่วงเวลาเร่งด่วนในการเจาะเลือดลดลงกว่าครึ่ง จากระบบเดิมใช้เวลาตรวจนานถึง 1 ชั่วโมง แต่ถ้าใช้หุ่นยนต์นั้นจะใช้เวลาแค่ 20 นาที และสามารถตรวจคนไข้ได้เพิ่มขึ้นจาก 300 ราย เพิ่มเป็น 600 รายในช่วงเวลาเร่งด่วน ” ศ.นพ.อดิศร กล่าว
       
       ด้าน ศ.นพ.เทวารักษ์ วีรวัฒน์กานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านงานสนับสนุนบริการผู้ป่วย กล่าวว่า ศักยภาพการทำงานของหุ่นยนต์ฯ สามารถจำแนกหลอดเลือดได้ถึง 8 แบบที่เหมาะกับเลือดแต่ละชนิด และเมื่อเจาะเลือดแล้วเสร็จจะลำเลียงไปยังห้องตรวจวิเคราะห์เลือดทันที ซึ่งประโยชน์หลักๆ คือ ช่วยให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น และจากที่ได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพที่ช่วยลดเวลากระบวนการเจาะเลือด พบว่า ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ใช้เวลา 44 นาทีต่อคน เหลือเพียง 20 นาทีต่อคนในเดือนมิถุนายน และหากเวลาไม่เร่งด่วนประมาณ 9.00 น.ขึ้นไป จะเหลือเพียงไม่ถึง 10 นาทีต่อคนเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถจัดเตรียมหลอดเลือดได้ประมาณ 1,440 หลอดต่อชั่วโมง ซึ่งประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนาหุ่นยนต์ลักษณะนี้แล้ว แต่ราคาสูงถึง 15 ล้านบาท ขณะที่ของไทยมีราคาถูกกว่ามากเพียง 4 ล้านบาทเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หุ่นยนต์ดังกล่าวยังเป็นเพียงหุ่นยนต์ลำเลียง ซึ่งการเจาะเลือดยังต้องใช้พยาบาลในการดำเนินการ แต่คาดว่า ในอนาคตอาจมีการพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีศักยภาพในการเจาะเลือดได้เอง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กรกฎาคม 2553