ผู้เขียน หัวข้อ: แนวคิดใหม่ค้าน “ชาร์ลส ดาร์วิน” วิวัฒนาการไม่เกิดจาก “การแข่งขัน”  (อ่าน 1575 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด
“ชาร์ลส ดาร์วิน” อาจไม่ใช่ฝ่ายถูกเมื่อต้องถกเถียงว่า “การแข่งขัน” เป็นแรงขับเคลื่อนหลักของวิวัฒนาการ เขาอาจจินตนาการถึงโลกที่สิ่งมีชีวิตต่างต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความยิ่งใหญ่และ เพียงเพื่อเป็นผู้อยู่รอดที่เหมาะสมที่สุด แต่การศึกษาล่าสุดชี้ว่าการหา “พื้นที่อยู่อาศัย” ได้ง่ายนั้นเป็นปัจจัยสำคัญต่อวิวัฒนาการมากกว่าการแข่งขันเพื่ออยู่รอด
       
       การศึกษานี้บีบีซีนิวส์ระบุว่านำโดย ซาร์ดา ซาห์นีย์ (Sarda Sahney) นักศึกษาปริญญาเอกและคณะจากมหาวิทยาลัยบริสตอล (University of Bristol) สหราชอาณาจักร และได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยลงวารสารไบโอโลจีเลตเตอร์ส (Biology Letters) โดยทีมวิจัยได้ใช้ฟอสซิลเพื่อศึกษารูปแบบวิวัฒนาการตลอด 400 ล้านปีที่ผ่านมา ซึ่งจากการให้ความสนใจสิ่งมีชีวิตบนบก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีก นักวิทยาศาสตร์พบว่าปริมาณความหลากหลายทางชีวภาพนั้นเหมาะพอดีกับการหา “พื้นที่อยู่อาศัย” (living space) ตลอดเวลา
       
       พื้นที่อยู่อาศัยนี้ นักชีววิทยาทราบกันทั่วไปว่าหมายถึง “แนวคิดพื้นที่เหมาะเจาะเชิงนิเวศน์” (ecological niche concept) ซึ่งหมายถึงความต้องการเฉพาะของสิ่งมีชีวิตเพื่อการเจริญเติบโต ในที่นี้รวมถึงปัจจัยอย่างการเข้าถึงอาหารและที่อยู่อาศัยที่อำนวยประโยชน์ ให้ด้วย
       
       การศึกษาใหม่นี้สันนิษฐานว่าการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการครั้งใหญ่จริงๆ นั้นเกิดขึ้นเมื่อสัตว์เคลื่อนย้ายสู่พื้นที่ว่างเปล่าของพื้นที่อยู่อาศัย ซึ่งไม่ได้ถูกจับจองโดยสัตว์ชนิดอื่นก่อน ตัวอย่างเช่น เมื่อนกวิวัฒนาการให้สามารถบินได้นั้นได้เปิดโอกาสใหม่ๆ ที่กว้างขึ้นและสัตว์อื่นไม่ได้รับโอกาสนั้น ฉับพลันท้องฟ้าที่มีข้อจำกัดนั้นกระตุ้นให้เกิดวิวัฒนาการใหม่อย่างพรวดพราด คล้ายกับการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ได้เหลือบริเวณของพื้นที่อยู่อาศัยที่ กว้างขึ้น ซึ่งเปิดโอกาสให้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้วิวัฒนาการอย่างโชคดี
       
       แนวคิดของทีมวิจัยล่าสุดนี้ท้าทายความคิดที่ว่า การแข่งขันอย่างดุเดือดเพื่อทรัพยากรในพื้นที่มีการอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น นั้นเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสำหรับวิวัฒนาการ แต่ ศ.ไมค์ เบนตัน (Prof. Mike Benton) ผู้ร่วมศึกษาในงานวิจัยนี้กล่าวว่า การแข่งขันไม่ได้มีบทบาทหลักต่อรูปแบบวิวัฒนาการทั้งหมด
       
       “ยกตัวอย่างเช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ร่วมกับไดโนเสาร์มาเป็นเวลา 60 ล้านปี แต่ไม่สามารถที่จะแข่งขันเพื่อมีอำนาจเหนือกว่าสัตว์เลื้อยคลานที่ครองแผ่น ดินในยุคก่อนได้ แต่เมื่อไดโนเสารืสูญพันธุ์ไป สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็เข้าเติมเต็มพื้นที่เหมาะการดำรงชีวิตอันว่างเปล่า ได้อย่างรวดเร็ว และกลายเป็นว่าทุกวันนี้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมครองโลกอยู่” ศ.เบนตันให้สัมภาษณ์บีบีซีนิวส์
       
       อย่างไรก็ดี ศ.สตีเฟน สเตรินส์ (Prof. Stephen Stearns) นักชีววิทยาวิวัฒนาการจากมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) สหรัฐฯ บอกแก่บีบีซีนิวส์ว่า เขาพบว่ารูปแบบที่เสนอมานี้น่าสนใจแต่การตีความนั้นยังน่าสงสัย พร้อมทั้งยกตัวอย่างว่า หากสัตว์เลื้อยคลานไม่ได้เป็นผู้แข่งขันที่เหนือกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ระหว่างยุคเมโสโซอิค (Mesozoic) แล้วทำไมสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจึงทำได้เพียงขยายเผ่าพันธุ์หลังจากสัตว์ เลื้อยคลานขนาดใหญ่สูญพันธุ์ไปในปลายยุคเมโสโซอิค
       
       “โดยทั่วไปอะไรคือแรงกระตุ้นเพื่อครอบครองส่วนแบ่งของพื้นที่เชิง นิเวศน์ หากไม่ใช่การหลีกเลี่ยงการแข่งขันกับสิ่งมชีวิตในพื้นที่ซึ่งถูกครอบครอง แล้ว” ศ.สเตรินส์ตั้งคำถาม

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กันยายน 2553