ผู้เขียน หัวข้อ: หายไป 137 ปี “กบเรืองแสง” กลับมาให้เห็นในอินเดียอีกครั้ง  (อ่าน 1512 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด
นักวิจัยพบกบหลายสายพันธุ์ กลับมาให้เห็นในอินเดีย รวมถึงสายพันธุ์ที่ไม่ได้เห็นมานานกว่าศตวรรษ ซึ่งจะเป็นร่องรอยสำคัญในการไขปริศนาว่าสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเหล่านี้อยู่รอดท่ามกลางวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่กำลังทำลายสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตเหล่านี้
       
       นักวิทยาศาสตร์ประมาณการว่า สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมากกว่า 30% กำลังเผชิญกับความเสี่ยงสูญพันธุ์ จากเชื้อราลึกลับที่กระจายไปทั่วโลก ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รวมทั้งแรงกดดันจากการสูญเสียพื้นที่อยู่อาศัยและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ
       
       โรบิน มัวร์ (Robin Moore) ผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มอนุรักษ์สากล (Conservation International) บอกว่า นักวิทยาศาสตร์จะพิจารณาอย่างละเอียดว่า สปีชีส์ที่ค้นพบอีกครั้งนั้นเหลือรอดมาได้อย่างไร
       
       “อาจเป็นไปได้ว่าผู้เหลือรอดเหล่านี้อาจฟื้นตัวขึ้นได้จากโรคที่กวาดล้างสปีชีส์อื่นๆ ไปจำนวนมาก ถ้าไม่เพราะความทนทานของพันธุกรรมก็อาจเป็นได้ว่าพวกมันมีแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในการต่อสู่กับโรค มันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่ามีความแตกต่างและมีบางสปีชีส์ที่สามารถจะยืนยันต่อ ไปได้ ทำให้เรามีหัวข้อที่จะวิจัยมากขึ้น” มัวร์กล่าว
       
       การศึกษาครั้งนี้นำโดยกลุ่มอนุรักษ์สากลและสหภาพสากลเพื่อการ อนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature) และได้ใช้เวลาในการออกสำรวจกว่า 21 ประเทศ เป็นเวลาร่วม 5 เดือน โดยที่อินเดียนั้นทีมวิจัยพบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 5 สปีชีส์ ในพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพเวสเทิร์นกัทส์ (Western Ghats) โดยในจำนวนนั้นเป็น "กบเรืองแสงชาลาซอดส์บับเบิลเนสต์" (Chalazodes Bubble-nest Frog) ที่เคยพบครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1874
       
       เอส ดี บิชู (S.D. Biju) จากมหาวิทยาลัยเดลี (University of Delhi) อินเดีย กล่าวว่า เขารู้สึก “ตื่นเต้น” อย่างมาก เมื่อสายตาเขาเหลือบไปเห็นกบสายพันธุ์นี้เป็นครั้งแรก โดยคาดว่ากบสปีชีส์นี้นะจะอาศัยอยู่ในกอต้นกก
       
       “ผมไม่เคยเห็นที่มีสีสันสดใสเช่นนี้เลยตลอดชีวิตการทำวิจัย 25 ปีของผม” บิชูให้ความเห็น
       
       ส่วนในเอควาดอร์นั้น นักวิจัยพบหลักฐานของคางคกหลากสีที่ชื่อ “คางคกขาทู่ริโคเพสคาโด” (Rio Pescado stubfoot toad) เป็นครั้งแรกนับได้พบครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1995 แต่นักวิทยาศาสตร์ก็กังวลต่ออนาคตของสัตว์คางคกสปีชีส์ซึ่งถูกจำกัดอยู่ใน พื้นที่ซึ่งไม่ได้การปกป้องในพื้นที่ลุ่มของแปซิฟิก
       
       ทั้งนี้ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเหล่านี้มีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศน์ จากการกินแมลงที่เป็นศัตรูต่อพืชเพาะปลูก นอกจากนี้ยังมีความเชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตบนบกและในน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลานและนก
       
       “เราพบว่าในชุมชนอเมริกากลางนั้นเมื่อเราสูญเสียสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเหล่านี้ไป เราก็จะสูญเสียคุณภาพน้ำไปด้วย และยังเพิ่มการเจริญเติบโตผิดปกติของสาหร่ายในน้ำ (algal bloom) และยังมีผลกระทบอีกมากที่เราไม่อาจแน่ใจได้จริงๆ จนกว่าผลกระทบนั้นจะเกิดขึ้น” มัวร์กล่าว
       
       นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังพบกบอีก 6 สปีชีส์ในเฮติที่ไม่ได้เห็นมาเกือบ 20 ปีแล้ว และเมื่อเดือน ก.ย.ปีที่ผ่านมาเอเอฟพีระบุว่า ทางกลุ่มอนุรักษ์นี้ยังได้ประกาศการพบสัตว์อีก 2 สปีชีส์ คือ กบแอฟริกันและซาลาแมนเดอร์เม็กซิกันอีกครั้ง

ASTVผู้จัดการออนไลน์    20 กุมภาพันธ์ 2554