แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 581 582 [583] 584 585 ... 651
8731
 เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ - สื่อรายงานวันนี้(20 ก.ย.)ว่า แพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลในกรุงปักกิ่ง หยุดทำงานประท้วงเมื่อวาน(19 ก.ย.) หลังจากเกิดเหตุคนไข้ทำร้ายร่างกายศัลยแพทย์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
       
       บรรดาแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลถงเหรินในกรุงปักกิ่ง ได้หยุดทำงานในช่วงคนไข้หนาแน่นเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เมื่อวันจันทร์(19 ก.ย.) เพื่อประท้วงเหตุคนไข้ทำร้ายร่างกายศัลยแพทย์ที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
       
       ผู้เห็นเหตุการณ์เผยว่า เมื่อตอน 9.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น แพทย์และนางพยาบาลราว 30 - 40 คน ในแผนก ENT ได้มารวมตัวกัน โดยถือป้ายเรียกร้องให้ดำเนินคดีลงโทษผู้กระทำผิด พร้อมกู่ร้องว่า “เอาศักดิ์ศรีของเราคืนมา” นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จากแผนกอื่นได้เข้าร่วมสมทบเช่นกัน ขณะที่ในระหว่างประท้วงก็มีการเปิดรับบริจาคเงินช่วยเหลือแพทย์ที่ถูกทำร้าย
       
       ในท้ายที่สุดหลังจากเสร็จสิ้นการประท้วง ราว 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น บรรดาแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลดังกล่าว ได้กลับมาทำงานตามปกติ พร้อมทั้งขยายเวลาทำงานทดแทนให้
       
       อย่างไรก็ตาม ทางโรงพยาบาลถงเหริน และสำนักงานสาธารณสุขเทศบาลกรุงปักกิ่ง ได้ปฏิเสธว่าไม่ใช่การชุมนุมประท้วง แต่เป็นการจัดกิจกรรมการบริจาคเท่านั้น
       
       ขณะที่ ดร.สีว์ เหวิน หัวหน้าศัลยแพทย์วัย 43 ปีประจำแผนกหู คอ จมูก(ENT) ของโรงพยาบาลถงเหริน ยังคงพักรักษาตัวอยู่ในห้องไอซียู หลังจากถูกคนไข้ใช้มีดฟันถึง 17 ครั้งเมื่อวันพฤหัส(15 ก.ย.) โดยเธอได้รับบาดแผลรุนแรงที่แขน หน้าผาก คอ หลัง และขาซ้าย อีกทั้งกะโหลกศีรษะและขาแตก หลังเกิดเหตุเธอได้เข้ารับการผ่าตัดรักษาเป็นเวลา 9 ชั่วโมง ทำให้อาการคงตัวขึ้น แต่เธออาจไม่สามารถกลับมาปฏิบัติงานได้อีก
       
       หวัง เปาหลัว นักเขียนพู่กันวัย 54 ปี ผู้ป่วยโรคมะเร็งคอและมีคดีความกับโรงพยาบาลถงเหรินมาเป็นเวลา 3 ปี เป็นคนไข้ผู้ก่อเหตุทำร้ายร่างกายดร.สีว์ โดยหลังก่อเหตุเขาได้รีบหนีไป แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตามจับกุมในวันเดียวกัน
       
       เหล่าแพทย์และคนไข้รายอื่นๆเผยว่า “ดร.สีว์ เป็นแพทย์ที่ขยันทำงานมาก และเป็นผู้อุทิศตัวให้กับอาชีพแพทย์อย่างแท้จริง”
       
       หวัง ได้โพสต์บนบล็อกว่า “ในการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งคอครั้งแรกเมื่อปี 2549 ดร.สีว์ ดำเนินการล้มเหลว ส่งผลให้ต้องใช้เวลารักษานานขึ้นและต้องผ่าเอาชิ้นอวัยวะบางส่วนในช่องคอของผมออก”
       
       ขณะที่โรงพยาบาลถงเหรินได้เผยบันทึกการรักษาของหวังว่า การผ่าตัดครั้งนั้นดำเนินการตามความประสงค์ของหวัง และระบุว่าหวังตระหนักดีถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลฯได้เผยอีกว่าการผ่าตัดของดร.สีว์ เป็นไปตามมาตรฐานและระบุว่าหวังไม่เคารพการปฏิบัติงานของดร.สีว์ อีกทั้งเลื่อนการทำรังสีบำบัดเป็นเวลา 4 เดือน แม้ว่าทางโรงพยาบาลฯได้แจ้งไปแล้วว่าเชื้อมะเร็งอาจแพร่กระจายหนักขึ้น
       
       การประท้วงครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่กระทรวงสาธารณสุขจีนได้ประกาศแถลงการณ์ว่าการทำร้ายร่างกายใช้ความรุนแรงต่อแพทย์ถือเป็นความผิดฐานอาชญากรรมอุกฉกรรจ์ โดยในจีนปีนี้เกิดเหตุคนไข้และญาติครอบครัวทำร้ายแพทย์อย่างน้อย 9 กรณี บางกรณีถึงแก่ชีวิต ทำให้บรรดาแพทย์ต้องออกมาเรียกร้องความเคารพและให้มีการลงโทษขั้นรุนแรงต่อผู้กระทำผิดดังกล่าว
       
       สรุปเหตุการณ์การทำร้ายร่างกายแพทย์ที่เกิดขึ้นในปีนี้
       
       8 ก.ย.ที่ผ่านมา หมู่ ซินหลิน แพทย์โรงพยาบาลประชาชนปักกิ่ง ถูกครอบครัวของคนไข้ทำร้ายทุบตีอย่างรุนแรง ขนทำให้กระดูกสันหลังช่วงคอเคลื่อน
       
       16 ส.ค.ที่ผ่านมา คนไข้ชายจีนวัย 29 ปี ใช้มีดแทงดร.หลิว จงหลิน แพทย์โรงพยาบาลฉังอาน เมืองตงก่วน มณฑลก่วงตง จนถึงแก่ชีวิต ขณะที่อีกกรณี แพทย์ในโรงพยาบาลเดียวกันถูกทำร้ายบาดเจ็บสาหัส เนื่องจากคนไข้ไม่พอใจการรักษา
       
       3 ส.ค.ที่ผ่านมา แพทย์จากศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินเซี่ยงไฮ้ ถูกคนเดินเท้า 2 คนทุบตีระหว่างกำลังพยายามช่วยเหลือผู้สูงอายุที่เป็นลมในตลาด โดยแพทย์คนดังกล่าวได้รับบาดเจ็บหลายแผลและหมดสติ
       
       30 พ.ค.ที่ผ่านมา พ่อชาวจีนคนหนึ่ง ซึ่งทะเลาะวิวาทกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในเมืองซั่งเหรา มณฑลเจียงซี จากเหตุลูกของตนเสียชีวิตหลังรับการรักษา ได้รวมพลชาวบ้านเกือบ 100 คน มาชุมนุมปิดกั้นขวางทางเข้าโรงพยาบาลดังกล่าว
       
       2 เม.ย.ที่ผ่านมา คนไข้ที่ป่วยมีอาการปวดท้องได้ทุบตีแพทย์ 2 คน ในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลมณฑลก่วงตง แพทย์คนหนึ่งได้รับบาดเจ็บที่ดวงตา อีกคนถูกถีบลงไปกองกับพื้น
       
       28 มี.ค.ที่ผ่านมา คนไข้เมาสุราได้ทุบตีแพทย์ประจำของโรงพยาบาลเขตจิ้งอัน เซี่ยงไฮ้ โดยแพทย์ผู้เคราะห์ร้ายคนดังกล่าวต้องเย็บหน้าผาก 5 เข็ม และกระดูกหน้าแตก
       
       31 ม.ค.ที่ผ่านมา ญาติเกือบ 20 คนของผู้ป่วยที่เสียชีวิตที่โรงพยาบาลซินหวา ในเซี่ยงไฮ้ ได้มารวมตัวกันที่โรงพยาบาลฯ และไล่แทงเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ 10 คน โดยมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 6 คน
       
       10 ม.ค.ที่ผ่านมา ศัลยแพทย์ซึ่งกำลังผ่าตัดรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ ถูกญาติของผู้ป่วยคนดังกล่าวปรี่เข้ามาทำร้ายร่างกายถึงห้องผ่าตัดของโรงพยาบาลเมืองชิงเต่า มณฑลซานตง

ASTVผู้จัดการออนไลน์    20 กันยายน 2554

8732
    นายแพทย์ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงษ์ นายแพทย์สาธารณสุขสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ทางโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 560 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารหลังใหม่แบบทันสมัย เป็นอาคารผู้ป่วยใน รองรับผู้ป่วยในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน โดยอาจจะเพิ่มเตียงได้อีกส่วนหนึ่งประมาณ1 พันเตียง จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปีงบประมาณ 2555 แล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปี
    ทั้งนี้โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีจัดเป็นโรงพยาบาลศูนย์ของ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน โดยเป็นโรงพยาบาลประเภทตติยภูมิ สูงสุดในภาคใต้ตอนบน โดยมีแพทย์เฉพาะทางทุกสาขา โดยเฉพาะโรคหัวใจ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึง 3 คน และผู้เชี่ยวชาญโรคไต ที่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนไตได้ที่โรงพยาบาลศูนย์สุราษฎร์ธานี โดยปัจจุบันมีเครื่องมือทางการแพทย์และแพทย์เฉพาะทางพร้อมบริการผู้ป่วยรายยาก ๆ ไม่ต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (มอ.) หรือโรงพยาบาลในกรุงเทพ ฯ แต่ติดขัดตรงที่ไม่มีอาคารรองรับผู้ป่วย ซึ่งในรอบ 10 ปีไม่มีการขยายอาคารรองรับผู้ป่วย ในขณะที่ผู้ป่วยกลับเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว จาก500 เตียงเป็นพันเตียง ทางโรงพยาบาลจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยในนอนใต้บันได หน้าห้องน้ำ หรือตรงทางเดินบ้าง อย่างไรก็ตามเมื่อได้รับงบประมาณดังกล่าวลงมาสามารถลดปัญหาความแออัดลงไปได้อีกมาก

เนชั่นทันข่าว 20 กย. 2554

8733
ที่รัฐสภา นาย​ไพศาล บางชวด นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข พร้อมด้วยสมาชิกชมรม ประมาณ 200 คน ​เข้ายื่นหนังสือต่อ นาย​เจริญ จรรย์​โกมล รองประธานสภา​ผู้​แทนราษฎร คนที่ 1 ​เพื่อ​ให้ผลักดันบรรจุ ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพ​การสาธารณสุข พ.ศ. .... ที่​เสนอ​โดย นางปาริชาติ ชาลี​เครือ ส.ส.ชัยภูมิ พรรค​เพื่อ​ไทย ​เข้าสู่วาระ​การประชุมของสภา​ผู้​แทนราษฎร​โดย​เร็ว ​ซึ่งนาย​ไพศาล​ได้ชี้​ให้​เห็น​ถึง​ความสำคัญของกฎหมายฉบับดังกล่าวว่า บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2550 ​ได้กำหนดกรอบ​เวลา​เพื่อ​การพัฒนาระบบประกันสุขภาพ ​ให้มีคุณภาพ​และ​เป็นธรรม ​แต่ขณะ​เดียวกันกลุ่ม​ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข ​และหมออนามัย ที่​เป็นกลุ่มคนที่สัมผัสกับ​ผู้​เข้ารับบริ​การ​โดยตรง กลับถูกละ​เลย ​และ​ไม่มีกฎหมายวิชาชีพรองรับ​การ​ทำงาน ​ทำ​ให้​เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยัง​ไม่มีมาตรฐานทางวิชาชีพมารองรับ ​จึง​ไม่สามารถประกัน​ได้ว่าบริ​การสาธารณสุขมีมาตรฐาน​และคุณภาพ​ได้ อย่าง​ไร​ก็ตาม หวังว่าจะ​ได้รับสนับสนุนจากรัฐบาล ​และสภาฯ ชุดนี้

ด้าน นาย​เจริญ ​ได้กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า จะนำร่างกฎหมาย​เข้าบรรจุ​ในระ​เบียบวาระ​การประชุมของสภาฯ ​แต่รายละ​เอียดของกฎหมายนี้มีส่วนที่​เกี่ยวกับ​การ​เงิน ดังนั้น ตามระ​เบียบต้อง​ให้นายกรัฐมนตรี ​ให้​การรับรอง​เสียก่อน ​เพราะรัฐบาลจำ​เป็นต้องตั้งงบประมาณ​ไว้รองรับ หลังจากนั้น​จึงจะสามารถนำ​เข้าวาระ​การประชุม​ได้ ​ซึ่งวิธี​การที่รวด​เร็วที่สุดคือ ​ให้ นางปาริชาติ นำ​เสนอ​เรื่องนี้ต่อที่ประชุมพรรค​เพื่อ​ไทย ที่​ทั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ​และ นายวิทยา บูรณศิริ รมว.สาธารณสุข จะ​เข้าร่วมประชุมด้วย ​เมื่อนายกฯ ​ให้​การรับรอง​แล้ว​ก็จะนำ​เข้าสู่​การพิจารณา ​และตั้งกรรมาธิ​การ​เพื่อกลั่นกรองกฎหมายฉบับนี้ต่อ​ไป

แนวหน้า  20 กันยายน 2554

8734
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมวุฒิสภา เช้าวันนี้ (19 ก.ย.) ซึ่งมี พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกหาหรือ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมาองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ได้นำผู้พิการไปกดดันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่กระทรวงเพื่อให้ยืนยันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการสาธาณสุขกลับเข้าสู่การพิจารณาของสภา ตนทราบว่าเรื่องนี้ฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทยเห็นว่าควรยืนยันร่างกฎหมาย เนื่องจากมีร่างของประชาชนรวมอยู่ด้วย
       
       นอกจากนี้ มีความความเห็นจากคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายชุดที่มีนายคณิต ณ นคร ได้เสนอความเห็นว่า ร่างกฎหมายที่เสนอโดยประชาชนที่ค้างการพิจารณาอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรนั้น จำนวน 7 ฉบับสมควรยืนยันให้พิจารณาต่อ มีร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เป็น 1 ใน 7 ฉบับด้วย ดังนั้นโดยหลักการจึงควรยืนยันให้พิจารณาต่อไป
       
       ส่วนในรายละเอียดร่างของคณะรัฐมนตรีและร่าง ส.ส.เป็นร่างของรัฐบาลคนละยุคกับปัจจุบัน ดังนั้นการพิจารณาเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลแล้วควรเปลี่ยนรายละเอียดของข้อกฎหมาย โดยรัฐบาลควรพูดคุยกับสภาวิชาชีพและคณะแพทย์ โดยการพิจารณาเรื่องนี้ไม่ควรรีบเร่งแต่ควรหารือให้ตกผลึกเพื่อให้ร่างกฎหมายได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย จากนั้นจึงค่อยนำเข้าสูการพิจารณาของสภาต่อไป
       
       ด้าน นพ.วิรัช พานิชพงษ์ ส.ว.สรรหา กล่าว่า ขณะนี้มีปัญหาความเดือดร้อนจากผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขจำนวนมากเนื่องจากรัฐบาลจะนำร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการสาธารณสุขกลับมาทบทวน กรณีดังกล่าวมีผลกระทบเพราะมีความขัดแย้งระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพกับผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหาย โดยเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมานาน การให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายปัจจุบันมีวิธีการช่วยเหลือหลานแนวทางทั้งการเจรจาไกล่เกลียชดเชยผู้บริโภค และการฟ้องร้องจาก พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้เสียหายฯ และ พ.ร.บ.องค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภค ไม่นับการฟ้องร้องจากศาลแพ่ง ศาลอาญาที่ต้องมีการไต่สวนไกล่เกลียก่อน ตนจึงเห็นว่า พ.ร.บ.นี้ไม่จำเป็นต้องรีบนำมาใช้ ส่วนหากกังวลเรื่องความยุติธรรมตนเห็นว่ามีสภาวิชาชีพคอยให้ความเป็นธรรมอยู่
       
       นพ.วิรัชกล่าวว่า เมื่อพ.ร.บ.นี้จะออกมาทำให้เกิดความวิตกกังวลอย่างมาก ร่าง พ.ร.บ.นี้จึงไม่เหมาะที่จะออกมาในช่วงเวลานี้ จึงขอเสนอให้เลื่อนการพิจารณาไปก่อนที่จะนำมาใช้


ASTVผู้จัดการออนไลน์    19 กันยายน 2554

8735
ม.ขอน​แก่นทุ่มกว่าพันล้านบาท ผุด​โครง​การสร้าง Medical Hub กว่า 24 ​ไร่ รับ​เปิด​เสรีอา​เซียน พร้อม​เร่งผลิตบุคลากรด้าน​การ​แพทย์ หลัง​เจอปัญหาสมอง​ไหล​เข้า กทม.

ขอน​แก่น/ รศ.ดร.กิตติชัย ​ไตรรัตนศิริชัย อธิบ​การบดีมหาวิทยาลัยขอน​แก่น (มข.) ​เปิด​เผย​ถึง​การ​เตรียม​ความพร้อม​ใน​การ​เป็นศูนย์กลางสุขภาพ​แห่งภูมิภาค ว่า ​เนื่องจากมหาวิทยาลัยขอน​แก่นนั้นมีองค์​ความรู้ด้าน​การ​แพทย์ค่อนข้างสมบูรณ์​แบบ มีคณะที่​เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ 6 คณะด้วยกัน ​ไม่ว่าจะ​เป็นคณะ​แพทยศาสตร์, คณะ​เภสัชศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะ​เทคนิค​การ​แพทย์, คณะ​เทค​โน​โลยีด้านอาหาร ​และคณะสัตว​แพทยศาสตร์ รวม​ทั้ง ​โรงพยาบาลศรีนครินทร์ที่มีศูนย์หัว​ใจสิริกิติ์

นับจากนี้ต่อ​ไป มข.จะ​เปิดศูนย์​ไต ​และศูนย์ตับ รวม​ถึงมี​โครง​การก่อสร้าง Medical Hub จำนวน 24 ​ไร่ ที่​ใกล้ๆ กับ​โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ​และ​ได้รับงบประมาณซื้อ​เครื่องมือ​แพทย์ 1,000 ล้านบาท ​ซึ่ง​เหลือ​เพียงงบสร้างอาคาร​เท่านั้น ​โครง​การนี้​ทำ​ให้​เรามี​ความพร้อมทางด้าน​การ​แพทย์​แบบครบวงจร นอกจากที่ มข.​แล้ว​เรายังมี​โรงพยาบาลขอน​แก่น มี ​โรงพยาบาล​เอกชนอีกหลาย​แห่ง ​ซึ่งมี​ความพร้อม​ในด้าน​การดู​แลรักษา​ผู้ป่วยอยู่​แล้ว ส่วน​ใน​เรื่องของ​ความ​เชี่ยวชาญ ด้าน​การรักษา​โรค​เฉพาะด้าน มข.มีบุคลากรที่มี​ความ​เชี่ยวชาญ​ใน​การวินิจฉัย​โรคติดต่อ​เขตร้อน​ได้ค่อนข้าง​แม่นยำ ​และรวด​เร็วติดอันดับ​โลก​และ​เอ​เชีย ​เนื่องจากมีประสบ​การณ์​ใน​การรักษา ​ผู้ป่วย​ในภาคอีสาน​และประ​เทศ​เพื่อนบ้านมายาวนาน ดังนั้นขอน​แก่น​จึง​เป็นศูนย์กลาง​การ​แพทย์ที่มีชื่อ​เสียงพอสมควร​ใน​เขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ​โขง

รศ.ดร.กิตติชัย กล่าวอีกว่า ประ​เทศ​ไทย​ในอีก​ไม่กี่ปีข้างหน้า​ก็จะ​เป็นประชาคมอา​เซียน ดังนั้น​การ​เคลื่อนย้ายทุกๆ ด้าน​ก็จะ​เสรี รวม​ถึงด้าน​การ​แพทย์ ​และด้านสุขภาพด้วย สำหรับ​การ​เตรียมตัวรองรับ​ผู้ป่วยที่จะ​เพิ่มขึ้น ​เนื่องจาก​ไทยมีชื่อ​เสียง​ในด้าน​การรักษา ทาง​โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ​โรงพยาบาลขอน​แก่น ยังสามารถขยาย​การรองรับ​ผู้ป่วย​ได้อีก ส่วนด้าน​เอกชน ​ได้​แก่ ​โรงพยาบาลขอน​แก่น-ราม ​ได้ขยาย ​โรงพยาบาล​ไป​เรียบร้อย​แล้ว สำหรับ​โรงพยาบาลราชพฤกษ์กำลังจะ​ไปสร้าง​โรงพยาบาลที่​ใหม่พื้นที่ 150 ​ไร่ ​และ ​โรงพยาบาล​เวชธานี​ก็มี​ผู้ป่วย​เข้า​ไปรักษาจำนวนมากขึ้น​เรื่อยๆ ​ซึ่ง​เอกชนยังสามารถขยายตัว​เพื่อรองรับ​ผู้ป่วย​ได้อีก

​แต่ปัญหาของ​โรงพยาบาล​ในขณะนี้ คือ ปัญหาสมอง​ไหล ​เนื่องจาก​โรงพยาบาล​เอกชนที่มีชื่อ​เสียง​ในกรุง​เทพฯ ​ได้มาดึงตัวบุคลากรทางด้าน​การ​แพทย์ที่มีประสบ​การณ์​ไปค่อนข้างมาก ​เพื่อรองรับ​ผู้ป่วยชาวต่างประ​เทศที่ยอมจ่าย​แพงๆ ​ทำ​ให้​เราต้อง​เร่งผลิต​เจ้าหน้าที่ด้านนี้​เพิ่ม ​โดย​การสร้าง​เครือข่าย​ความร่วมมือ​ใน​การ​ทำงาน​ทั้ง​โรงพยาบาลรัฐ​และ​เอกชน รวม​ถึงนักศึกษาคณะ​แพทยศาสตร์ ​เพื่อ​ให้ตระหนัก​ใน​การดู​แล​ผู้ป่วย ส่วนด้านราย​ได้​แน่นอนว่าของ​เราจะ​ไม่​เท่า​เอกชน ​แต่​เราจะพยายามที่จะ​ทำ​ความ​เข้า​ใจกับ​เจ้าหน้าที่ทาง​การ​แพทย์ รวม​ถึงจัดสวัสดิ​การ​ให้​เหมาะสม

บ้าน​เมือง 19 กันยายน 2554

8736
 แพทยสภากร้าว! เล็งเสนอบอร์ด สปสช.ปรับแก้มาตรา 41  พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ  ให้ครอบคลุมคนทั่วประเทศ จวกกม.คุ้มครองคนไข้ไม่ใช่ประเด็นร้อน  ไม่ควรเร่งรีบ
       
       วันนี้ (19  ก.ย.) ศ.(คลินิก) นพ.อำนาจ กุสลานันท์  นายกแพทยสภา กล่าวถึงกรณีการเคลื่อนไหวของเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ มีการเร่งรัดให้ นายวิทยา บุณศิริ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ......ให้เข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.)ในวันพรุ่งนี้ (20 ก.ย.) ว่า แพทยสภาในฐานะคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) นั้น จะเสนอต่อที่ประชุม บอร์ดในครั้งหน้า เพื่อขอปรับแก้ข้อบัญญัติใน เสนอขอแก้ไขมาตรา 41 พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 และร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....โดยให้ขยายเพดานค่าชดเชยความเสียหายใหม่และขยายให้สามารถคุ้มครอง ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากการบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ ไม่จำกัดเฉพาะคนในระบบหลักประกันเท่านั้น  ซึ่งจำเป็นต้องเสนอเข้าที่ประชุมเพื่อให้ รมว.สธ.จะรับทราบและสามารถเสนอต่อ ครม.ได้
       
       “โดยส่วนตัวคิดว่า การขยายเพดานเงินชดเชยนั้น  ถ้าหากเป็นไปได้อยากให้มีการปรับเพดานมากที่สุดราว 1 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือประชาชนอย่างทั่วถึง เนื่องจากปัจจุบันมีเงินเข้ากองทุนสำหรับจ่ายค่าชดเยถึงพันล้านบาท ขณะที่การ่ายจริงมีแค่ หลักร้อยล้านเท่านั้น ทั้งนี้หากการแก้ไขมารตรา 41 นั้นใช้ไม่ได้ผลก็ค่อยปรับปรุงร่างกฎหมายใหม่ที่เหมาะสมต่อไป” ศ.(คลินิก) นพ.อำนาจ กล่าว
                 
       ด้าน นพ.สัมพันธ์  คมฤทธิ์   เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า  หลังจากที่ทราบว่ามีการเคลื่อนไหวเรื่องนี้ นั้นคิดว่าเป็นการเร่งรีบเกินไป เพราะเรื่องนี้ยังมีการคัดค้านจาก ทั้งภาคประชาชนบางกลุ่มและภาควิชาชีพ ซึ่งที่ยังไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวก็มีอยู่มาก ดังนั้น จะเร่งรีบไม่ได้  ที่สำคัญขณะนี้มีประชาชนจำนวนมากที่ประสบปัญหาน้ำท่วมรัฐบาลจำเป็นต้องช่วยเหลือด่วนกว่าเรื่องอื่นรวมทั้ง  พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ด้วย อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการชดเชยความเสียหายจากบริการสาธารณสุข นั้น การแก้ไขมาตรา 4ถือเป็นวิธีการลัดและสามารถทำได้เร็วที่สุด แต่ถ้าจำเป็นต้องมี พ.ร.บ.คุ้มครองขึ้นมาจริงๆก็ควรทำประชาพิจารณ์


ASTVผู้จัดการออนไลน์    19 กันยายน 2554

8737
 สธ.ปรับลดราคาวัตถุเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ฯ ที่ใช้ทางการแพทย์จำนวน 20 รายการ  เริ่มใช้ 1 ต.ค.54 นี้ บางตัวลดมากกว่า 50% ช่วยให้สถานพยาบาลประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อยา และประชาชนเข้าถึงยาได้มากขึ้น
       
       นายวิทยา  บุรณศิริ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน โดยมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางการแพทย์อย่างครอบคลุมทุกระดับทั้งในเขตเมืองและชนบท ขณะเดียวกันก็พยายามให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาอย่างทั่วถึง รวมทั้งได้ใช้       ยาดีมีคุณภาพ ในราคาที่ยุติธรรม  ซึ่งในส่วนของวัตถุเสพติดที่ใช้ทางการแพทย์เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งมีกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด ทำหน้าที่ในการจัดหายาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ประเภท 4 และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2 สำหรับใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ได้ประกาศลดราคายาลงเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 2 ปี  เนื่องจากได้มีการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการใหม่ตั้งแต่ปี 2552 โดย อย.ได้เปิดกว้างให้วัตถุเสพติดที่ใช้ทางการแพทย์ที่เป็นยาสามัญ (Generic drug) ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะผู้เชี่ยวชาญแล้วว่ามีสรรพคุณเท่าเทียมกับยาต้นแบบ (Original drug) เข้าแข่งขันประกวดราคาในการจัดซื้อยาได้
       
       ทั้งนี้ ในปัจจุบันมียาสามัญจากหลายประเทศ  เช่น เยอรมนี กรีซ สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพเทียบเท่ายาต้นแบบ สามารถเข้ามาแข่งขันอย่างเสรีในการเข้าร่วมประกวดราคา ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อระบบการบริหารยา ได้ผู้ผลิตใหม่ๆ เข้ามา  ไม่เกิดการผูกขาดที่อาจทำให้เกิดปัญหายาขาดตลาด นอกจากนี้ อย.ยังดำเนินการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้องตามระเบียบพัสดุ โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม รวมทั้งมีนโยบายการจัดซื้อยาครั้งละ 2 ปี แต่แบ่งการส่งยาออกเป็นงวด ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศต้องแข่งขันด้านราคา โดยยาบางตัวที่ผ่านการประกวดราคาแล้วมีราคาลดลงกว่าครึ่ง
       
       ในขณะที่ อย.ยังคงได้ยาที่ดี มีคุณภาพในการรักษา และเกิดความมั่นคงในการบริหารยาคงคลังอีกด้วยสำหรับยาที่ได้ปรับลดราคาลงมี 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มยาแก้ปวด กลุ่มยานำสลบที่ใช้ในการผ่าตัด และกลุ่มยานอนหลับซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป ตัวอย่างยาที่ใช้กันมากและมีราคาลดลงอย่างชัดเจน เช่น ยาเฟนทานิล ชนิดแผ่นแปะผิวหนัง ขนาด 12 ไมโครกรัม/ชั่วโมง สำหรับแก้ปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็ง บรรจุกล่องละ 5 แผ่น ราคาขายปี 2551 กล่องละ 1,060 บาท ลดราคาครั้งที่ 1 ปี 2554 เหลือ 795 บาท (ลดลง 25% เมื่อเทียบกับราคาปี 2551) ลดราคาครั้งที่ 2 ปี 2555 เหลือ 580 บาท (ลดลง 45% เมื่อเทียบกับราคาปี 2551) ยาเฟนทานิล ชนิดแผ่นแปะผิวหนัง ขนาด 25 ไมโครกรัม/ชั่วโมง บรรจุกล่องละ 5 แผ่น ราคาขายปี 2551 กล่องละ1,895 บาท ลดราคาครั้งที่ 1 ปี 2554 เหลือ 1,210 บาท (ลดลง 36% เมื่อเทียบกับราคาปี 2551) ลดราคาครั้งที่ 2 ปี 2555เหลือ 1,000 บาท (ลดลง 47% เมื่อเทียบกับราคาปี 2551) ยาเฟนทานิล ชนิดแผ่นแปะผิวหนัง ขนาด 50 ไมโครกรัม/ชั่วโมง บรรจุกล่องละ 5 แผ่น ราคาขายปี 2551 กล่องละ 3,475 บาท ลดราคาครั้งที่ 1 ปี 2554 เหลือ 2,190 บาท (ลดลง 37% เมื่อเทียบกับราคาปี 2551) ลดราคาครั้งที่ 2 ปี 2555 เหลือ 1,700 บาท (ลดลง 51% เมื่อเทียบกับราคาปี 2551)
       
       นายวิทยากล่าวต่อไปว่า ยาเสพติดฯและวัตถุออกฤทธิ์ฯ ที่ใช้ในทางการแพทย์เหล่านี้ ส่วนใหญ่มีราคาสูง จึงไม่ถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ  แต่หากราคาลดลง อาจมีการพิจารณานำเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อเป็นสวัสดิการสำหรับผู้มีสิทธิในกลุ่มต่าง ๆ ต่อไป ซึ่งการปรับลดราคายาในครั้งนี้ ช่วยให้สถานพยาบาลประหยัดงบประมาณในการจัดหายา สามารถนำงบประมาณไปใช้บริการประชาชนในด้านอื่นๆ ได้มากขึ้น โดยเมื่อเปรียบเทียบปริมาณการใช้ยาต่อปีกับส่วนต่างของราคาขายในปี 2551 เทียบกับปี 2555 ที่ลดราคาเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ส่วนลดนี้มีมูลค่าสูงถึง 76,642,000 บาท/ปี ค่าใช้จ่ายที่ลดลงทำให้สถานพยาบาลสามารถปรับลดราคาขาย ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น ทั้งผู้ป่วยกลุ่มสวัสดิการของรัฐ กลุ่มหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือในกรณีที่ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบจ่ายค่ายาเอง ก็จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันนี้ลงได้       
       
       นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการ อย.กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดกว้างในการประกวดราคาซื้อยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ฯ ที่ใช้ในทางการแพทย์ ที่ อย.ดำเนินมาประมาณ 2 ปีนี้ ผู้ที่ชนะการประกวดราคามิใช่เฉพาะบริษัทที่เป็นผู้ผลิตยาสามัญเท่านั้น ยาบางตัวเป็นยาต้นแบบ ยี่ห้อเดียวกับที่เคยจำหน่ายให้ อย.ก่อนหน้านี้ เช่น ยาเมทิลเฟนิเดท ขนาด 10 มิลลิกรัม/เม็ด  สำหรับรักษาเด็กสมาธิสั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเปิดกว้างและการประกวดราคาอย่างโปร่งใส มีผลให้ผู้ผลิตยาต้นแบบต้องลดราคาลง เพื่อเข้ามาแข่งขันกับผู้ผลิตยาสามัญรายอื่นๆ ซึ่งผลประโยชน์ทั้งหมดจะตกกับผู้ป่วยที่จะได้ใช้ยาดี มีคุณภาพ ในราคาถูกลงกว่าเดิมมาก  นอกจากนี้ ยาบางตัว อย.ได้จัดซื้อจากผู้ประกอบการมากกว่า 1 ราย เพื่อความมั่นคงในการบริหารยา ไม่ให้ยาขาดตลาดกรณีมีเหตุจำเป็นใดๆ เกิดขึ้น เช่น ยาเฟนทานิล ทั้งชนิดฉีดและแผ่นแปะผิวหนัง และมอร์ฟีน ซัลเฟต จะมีการสั่งซื้อจาก 2 แหล่งผลิต   ซึ่งรายละเอียดยาที่ลดราคาลงทั้งหมดสามารถดูได้จากเว็บไซต์ www.fda.moph.go.th เข้าไปที่เว็บไซต์แนะนำ และเลือกเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด


ASTVผู้จัดการออนไลน์    19 กันยายน 2554

8738
“วิทยา” นั่ง ปธ.ประชุมบอร์ด สสส.ประเดิมนัดแรก ผ่านแผนหลักปี 55-57 ย้ำแผน 1 ปี ให้สอดรับนโยบายเร่งด่วนรัฐบาล เพิ่ม “แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ” รับมือวิกฤตอาหาร-สุขภาพ เน้นสร้างแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย หลังพบเด็กไทยดื่มน้ำหวาน 110 ขวด/ปี กินผักน้อยกว่า 1 ทัพพีต่อวัน ไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์ ขณะที่ 1ใน3 คนไทยเคยป่วยอาหารเป็นพิษ ตั้งเป้า 3 ปีลด “เหล้า-บุหรี่-อุบัติเหตุ” ลดท้องไม่พร้อม และการติดเชื้อเอชไอวี
       
       ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานคนที่ 1 สสส.เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุน สสส. เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบแผนการดำเนินงาน สสส.ประจำปี 2555-2557 และแผนการดำเนินงานประจำปี 2555 โดยได้มอบหมายที่ประชุมให้ปรับแผนการดำเนินงานรายปี ให้สอดรับกับนโยบายเร่งด่วน 1 ปีของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงแผนการดำเนินงาน 3 ปี ให้สอดคล้องกับแผนรายปี และการดำเนินงานตามวาระ 4 ปีของรัฐบาล ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ยกระดับแผนงานด้านอาหารและโภชนาการเป็น “แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ” โดยตนเน้นย้ำเรื่องการให้ความสำคัญกับการดูแลแหล่งกำเนิด และแหล่งผลิตอาหารในภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

       “ที่ผ่านมา การผลิต-บริโภคอาหารของไทย ส่งผลเสียต่อสุขภาพสูงมาก ทั้งภาวะอ้วนลงพุงที่มีอัตราเพิ่มอย่างรวดเร็วตั้งแต่วัยเด็ก พฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม พบว่า เด็กไทย 25.3% ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มที่มีรสหวานทุกวัน คิดเป็น 110 ขวด/คน/ปี ในขณะที่บริโภคผักผลไม้เพียง 0.7-1.3 ส่วนมาตรฐานต่อวัน นำไปสู่เด็กไทยอ้วนและมีระดับเชาว์ปัญญาลดลงเหลือเพียง 88-91 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ คือ 90-110 นอกจากนี้ ข้อมูลทางระบาดวิทยาจากการตรวจพิษสารเคมีเกษตรในเลือดของเกษตรกรและผู้บริโภค พบระดับความเสี่ยงในระดับไม่ปลอดภัยมากกว่า 50% ในทุกกลุ่ม สะท้อนถึงปัญหาการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมและไม่ปลอดภัย ดังนั้น สสส.จึงพัฒนายกระดับให้มีแผนอาหารเพื่อสุขภาวะขึ้น เพื่อร่วมมือและร่วมสนับสนุนภาคีภาครัฐและภาคส่วนต่างๆ เตรียมพร้อมรับมือวิกฤตอาหารและสุขภาพในอนาคต” นายวิทยา กล่าว
       
       นายวิทยา กล่าวอีกว่า เป้าหมายปี 2555-2557 จะเน้นบูรณาการทำงานลดปัจจัยเสี่ยงด้านต่างๆ ร่วมกับชุมชนท้องถิ่นให้มากขึ้น โดยการดำเนินงานลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ อาทิ แผนควบคุมยาสูบ ตั้งเป้าลดอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทย ที่ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 32.0% ในปี 2534 เป็น 20.7% ปี 2552 ให้ลดลงอีกจนเหลือ 18.6 % ภายในปี 2557 แผนควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด ต้องการลดอัตราการดื่มของคนไทยในปี 2557 ให้เหลือน้อยกว่า 28.5% จาก 30% ในปี 2550
       
       ส่วนแผนการจัดการความปลอดภัยทางถนนและภัยพิบัติ ตั้งเป้าหมายภายใน 3 ปี จะต้องบูรณาการงานป้องกันและลดอุบัติเหตุในพื้นที่อย่างมีประสิทธิผล ครอบคลุมอย่างน้อย 75 จังหวัด เพื่อนำไปสู่การลดอัตราตายบนท้องถนนลงครึ่งหนึ่งในทศวรรษหน้า ตามเป้าหมายร่วมของประเทศ ในประเด็นการจัดการภัยพิบัติ จะต้องเกิดกลไกและแผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติร่วมกันในชุมชน อย่างน้อย 3 รูปแบบ เพื่อให้ท้องถิ่นจัดการตนเองและช่วยพื้นที่ใกล้เคียงได้ รวมทั้งการสนับสนุนระบบบริการและการป้องกันการท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น แก้ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย เพื่อลดการระบาดของเอชไอวีลง นอกจากนั้นตนได้มอบนโยบายให้วางแนวทางในการจัดทำระบบให้คำปรึกษาวัยรุ่น โดยอาจเป็นลักษณะของศูนย์ให้คำปรึกษา หรือการให้คำปรึกษาผ่านระบบ sms หรือโซเชียลเน็ตเวิร์ก รวมทั้งสนับสนุนให้มีการสื่อสารและให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพกับประชนและป้องกันโรคเบาหวาน และความดันในสถานพยาบาล หรือ รพ.สต.โดยผ่านระบบมัลติมีเดียด้วย


ASTVผู้จัดการออนไลน์    18 กันยายน 2554

8739
สธ.เซนต์เอ็มโอยูกับวท.พัฒนาเทคโนโลยีทางทันตกรรม ผลิตรากฟันเทียมคุณภาพเจ๋ง ใส่ให้ผู้สูงอายุ 8,400 ราย

  วันนี้ (12 กันยายน 2554) ที่โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพมหานคร นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี   มอบโยบายให้กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โดย นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  และนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามบันทึกความร่วมมือ หรือเอ็มโอยู (MOU) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทันตกรรมในการผลิตรากฟันเทียม ช่วยให้ประชาชนไทยเข้าถึงการรักษาด้วยรากฟันเทียมอย่างเท่าเทียมกัน   
       
     นายวิทยา กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งได้ดำเนินการฝังรากฟันเทียมให้กับผู้สูงอายุจำนวน 10,000 ราย ประสบผลสำเร็จอย่างดี ผู้สูงอายุที่ได้รับการใส่รากฟันเทียมมีความพึงพอใจอย่างมาก  สามารถบดเคี้ยวอาหารได้ดียิ่งขึ้น มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากโครงการดังกล่าวได้ฝึกอบรมทันตบุคลากรเพื่อใส่รากฟันเทียมจำนวน 349 คน       

     นายวิทยา กล่าวอีกว่า เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการด้านบริการทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุ 2 โครงการ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสร้างรอยยิ้มให้ผู้สูงอายุ  ได้แก่1. โครงการฟันเทียมพระราชทาน เป้าหมายใส่ให้ผู้สูงอายุทั่วประเทศ 3 หมื่นราย และโครงการใส่รากฟันเทียมให้กับผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันทั้งปากเป้าหมาย 8,400 ราย โดยใส่ให้คนละ 2 ราก เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2555-2557  โดยร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ผลิตรากฟันเทียมคุณภาพดีใช้ในโครงการดังกล่าว  ตามข้อตกลงนี้ จะอบรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทันตกรรมให้กับทันตแพทย์ทั่วไป และทันตแพทย์เฉพาะทาง การแลกเปลี่ยนบุคลากร รวมถึงการพัฒนางานวิจัยทางทันตกรรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการร่วมกัน มีผลบังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2554 - 30 กันยายน 2559         

    ด้านนายแพทย์ไพจิตร์  วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า  ผลการสำรวจสุขภาพช่องปากในระดับประเทศ ล่าสุดในปี 2550  พบว่าผู้สูงอายุ 60-74 ปี และ 80 ปี ร้อยละ 94 หรือเกือบทุกคน มีการสูญเสียฟันเฉลี่ยคนละ 13 ซี่  มีผู้สูงอายุร้อยละ 10 สูญเสียฟันทั้งปาก หรือประมาณ  7 แสนคน พบในภาคกลางสูงสุด  สาเหตุที่ทำให้สูญเสียฟันมาก เกิดมาจาก 2 ประการใหญ่ ได้แก่

1. โรคปริทันต์ ซึ่งทำให้มีเหงือกอักเสบและเหงือกร่นด้วย พบในผู้สูงอายุมากที่สุดร้อยละ 84   ทำให้ฟันโยกคลอนง่ายขึ้น    โดยต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์คือการสูบบุหรี่  ซึ่งมีผู้สูงยังสูบบุหรี่เฉลี่ยร้อยละ 18 สูบเฉลี่ยวันละ 7 มวน   

2.เกิดมาจากผู้สูงอายุมีการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพทางช่องปากเพียง 1 ใน 3  เท่านั้น ทำให้การดูแลสุขภาพฟันไม่ดีพอ  ซึ่งขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขเร่งแก้ไขโดยตั้งชมรมผู้สูงอายุและส่งเสริมความรู้การดูแลสุขภาพช่องปาก โดยเฉพาะการเพิ่มคุณภาพการแปรงฟันให้สะอาดเพียงพอต่อการป้องกันโรค     

wm-moph.com

8740
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ์ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ให้สัมภาษณ์กรณีการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่า จากหน้าตาผู้ทรงคุณวุฒิที่ออกมาเห็นได้ชัดว่า เป็นเรื่องของเกมการเมือง ได้ยินว่ามีล็อบบี้กันมาก่อนของบางฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพราะที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านยังหาเหตุผลไม่เจอว่าเพราะเหตุใดถึงได้เหนือกว่าคนที่ไม่ถูกคัดเลือกอย่างเห็นได้ชัด และไม่แน่ใจว่าคณะกรรมการบอร์ดที่เสนอได้พยายามเสนอผู้ทรงคุณวุฒิที่แท้จริงหรือไม่

 นพ.เกรียงศักดิ์กล่าวว่า ความมุ่งหวังที่แท้จริงของการก่อตั้งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งในไทยและต่างประเทศต้องการให้เกิดบริการสุขภาพถ้วนหน้า มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาด้วยการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ฉะนั้น หากหน้าตากรรมการ สปสช.ออกไปในทิศทางทุนนิยมก็น่ากังวลใจ ได้แต่หวังว่าทางรัฐมนตรีและบอร์ด สปสช. จะกำกับการทำงานให้เป็นไปในทิศทางที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพ มิฉะนั้นสิ่งที่เรามุ่งหวังทำให้เกิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอาจจะเสียไปเปล่าๆ และโรงพยาบาลชุมชนเป็นจุดสำคัญของการให้บริการสุขภาพถ้วนหน้าแก่คนไทยทุกคน ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากนโยบายของบอร์ดชุดนี้พอสมควร เราต้องคอยจับตาว่า ทิศทางของบอร์ดชุดนี้จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนโดยรวม โดยเฉพาะส่วนใหญ่ที่อยู่ในชนบทหรือไม่

  กรณีที่มีการยื่นปลด นพ.วิชัย โชควิวัฒน กรรมการหลักประกันหลักประสุขภาพแห่งชาติในสัดส่วนผู้แทนกลุ่มผู้สูงอายุ นพ.เกรียงศักดิ์เห็นว่า เป็นเกมทางการเมือง ตนไม่กังวล เพราะถือว่า นพ.วิชัยเป็นคนที่มีจุดยืนมั่นคงเพื่อคนในชนบทและผลประโยชน์กับประเทศชาติ คิดว่าเรื่องนี้น่าจะมีเกมการเมืองอยู่หลายๆ ด้าน ไม่เพียงแต่กระบวนการที่ทำให้ นพ.วิชัยหลุดจากคณะกรรมการชุดนี้เท่านั้น.

ไทยโพสต์ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

8741
หมอวิชัย"ยันไม่หวั่นไหว จี้ปลดจากบอร์ดสปสช.

 "หมอวิชัย" ยันได้รับเลือกเป็นบอร์ด สปสช.ถูกต้องตามขั้นตอน และมีคุณสมบัติตาม กม.จะโดนปลดได้อย่างไร ส่วนการนั่งเป็นกรรมการใน อภ.ไม่ถือว่าผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะเป็นองค์กรของรัฐทั้งคู่ ผิดหวังที่แคนดิเดตสายเอ็นจีโอไม่ติดโผกรรมการชุดใหม่ ชี้เป็นเบอร์ 1 แต่ละด้านทั้งนั้น
 นพ.วิชัย โชควิวัฒน กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  กล่าวถึงกรณีที่ถูกร้องเรียนต่อนายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข (สธ.) ให้ปลดตนเองออกจากบอร์ด สปสช. ว่า เฉยๆ ไม่สนใจ และไม่อยากตอบโต้  เพราะข้อร้องเรียนดังกล่าวเป็นเรื่องเดิมที่เคยทำมาก่อนหน้านี้แล้ว ไม่มีอะไรใหม่
 เมื่อถามว่า รมว.สธ.ระบุว่าจะตั้งคณะกรรมการรับเรื่องราวร้องเรียนพิจารณา นพ.วิชัยกล่าวว่า รมว.สาธารณสุขก็คงรับเรื่องเอาไว้ และสอบสวนข้อเท็จจริงก็ว่ากันไป ไม่มีปัญหา และไม่หนักใจ เพราะไม่ได้ทำอะไรผิด ที่ผ่านมามีแต่ทำเรื่องดีๆ
  นพ.วิชัยกล่าวยืนยันว่า ในการมาดำรงตำแหน่งบอร์ด สปสช.อีกวาระหนึ่ง  ได้รับเลือกมาตามขั้นตอนที่ถูกต้อง และมีคุณสมบัติตามกฎหมาย จะมาปลดได้อย่างไร และยืนยันว่าการดำรงตำแหน่งบอร์ด สปสช. และประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) ไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อนกัน เพราะเป็นองค์กรของรัฐทั้งคู่ และดูเหมือนเรื่องนี้เคยมีการร้องทุกข์และตีความกันมาแล้ว
 “ตอนที่ผมเป็นบอร์ด สปสช.สมัยแรกก็ช่วยผลักดันเรื่องการซื้อยาเอดส์  ทำให้สามารถประหยัดงบประมาณได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท จากเดิม 3,000  ล้านบาท ส่วนเรื่องวัคซีนก็เช่นกันสามารถประหยัดงบได้หลายร้อยล้านบาท นี่ยกตัวอย่างแค่ 2 เรื่องเท่านั้น” นพ.วิชัยกล่าว และว่า สำหรับตำแหน่งประธานบอร์ด อภ.นั้น ขณะนี้เหลือระยะเวลาอีกประมาณ 4 เดือน ก็จะหมดวาระ 4 ปี แล้ว แต่ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งได้ทำยอดจำหน่ายประมาณ 1 หมื่นล้านบาท จากเดิม 5,000 ล้านบาท กำไรเกินเป้าทุกปี
  เมื่อถามถึงกรณีการเลือกบอร์ด สปสช.ในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน มีการมองว่าสายเอ็นจีโอหลุดโผทั้งหมด นพ.วิชัยกล่าวว่า ไม่อยากวิจารณ์ แต่อยากให้เปรียบเทียบรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่มีการเสนอชื่อแต่ละด้านแบบตัวต่อตัวว่าแตกต่างกันขนาดไหน เพราะรายชื่อที่พวกตนเสนอนั้นคือเบอร์ 1 ของแต่ละด้าน เพราะเราก็พยายามที่จะเสนอคนที่มีความรู้ ความสามารถ มีประวัติดีๆ  มาช่วยกันทำงาน เมื่อไม่ได้รับเลือกก็รู้สึกเสียดาย.

ไทย์โพสต์ 14 กย 2554

8742
มูลนิธิแพทย์ชนบทมอบ 4 รางวัล แพทย์ดีเด่นปี 2553-2554 แก่ ผอ.โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร - ผอ.โรงพยาบาลบางสะพานน้อย ผอ.โรงพยาบาลลำสนธิ และรอง ผอ.โรงพยาบาลชุมแพ

เร็วๆนี้ ที่โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต รังสิต ปทุมธานี มูลนิธิแพทย์ชนบท ประกาศผลมอบรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่น กองทุนนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร ประจำปี 2553-254 โดยมี นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้มอบรางวัล

โดยรางวัลแพทย์ชนบทประจำปี 2553 ได้แก่ นพ. พัฒนา ตันสกุล  ผอ.โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี นพ.สมพงษ์ พัฒนกิจไพโรจน์ ผอ.โรงพยาบาลบางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ และรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่นประจำปี 2554 ได้แก่ นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ผอ.โรงพยาบาลลำสนธิ จ.ลพบุรี และนพ.วิบูลย์ศักดิ์ วุฒิธนโชติ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (กุมารเวช) รอง ผอ.โรงพยาบาลชุมแพ จ.ขอนแก่น

นพ. พัฒนา ตันสกุล  กล่าวว่าตนจะให้ความสำคัญกับการทำงานเชิงรุกและการเสริมสร้างสุขภาพในชุมชน การป้องกันและการควบคุมโรคโดยเน้นเป้าหมายให้ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการจัดกิจกรรมอย่างในพื้นที่และให้ชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืน บุคลากรสาธารณสุขเองต้องศึกษาปัญหาของชุมชน ร่วมกับชุมชนกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา

นพ.สมพงษ์ พัฒนกิจไพโรจน์  กล่าวว่า เมื่อเข้ารับตำแหน่งผู้บริหารโรงพยาบาลเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านจากระบบเดิมสู่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้ต้องมีการพัฒนาใหม่ โดยจัดการงานปฐมภูมิของเครือข่ายการจัดบริการสุขภาพ เน้นเชิงรุกในแนวส่งเสริมป้องกัน ส่งผลให้สามารถลดความแออัดของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลได้ นอกจากนี้ยังมีผลงานแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคมาลาเรีย ทั้งที่เกิดขึ้นในอำเภอ และระดับจังหวัดด้วย

ส่วน นพ.สันติ ลาภเบญจกุล กล่าวว่า ได้ทำสิ่งที่รักและเห็นคุณค่า คือการทำงานเพื่อผู้ด้อยโอกาสในสังคม เริ่มต้นจากการที่ได้ดูแลเด็กชายพิการคนหนึ่ง และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนของทีมงานโรงพยาบาล จนนำไปสู่การสร้างระบบงานและการดูแลผู้พิการในอำเภอลำสนธิในเวลาต่อมา โดยได้ รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน อาทิ โรงพยาบาล สถานีอนามัย องค์การบริการส่วนชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

นพ.วิบูลย์ศักดิ์ วุฒิธนโชติ กล่าวว่า ผลงานเด่นที่เห็นได้ชัดคือการดูแลเด็กติดเชื้อเอชไอวี และเด็กที่เป็นโรคธาลัสซีเมียแบบองค์รวมเป็นแห่งแรกในจังหวัดขอนแก่น รวมถึงได้ร่วมจัดตั้งชมรมจริยธรรมเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอชุมแพ ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ป่วยและญาติได้ศึกษา ปฏิบัติธรรมเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน .

isranews.org 17 กันยายน 2011

8743
รอดูท่าทีผู้ใหญ่ในกระทรวงฯก่อนว่าจะเอายังไงกันแน่ กลับไปกลับมาหรือเปล่า เต้นไปก็เหนื่อย 
.................wait and see

8744
ที่ประชุม คสช.ขยาย​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชนบทต่อ 5 ปี ​แก้ขาด​แคลนหมอ​ใน รพ.ชุมชน​เล็ก-กลาง ชู 4 มาตร​การจัด​การหมอ​เบี้ยวทุน ​เพิ่มค่าปรับ​เป็นล้านบาท ยืด​เวลา​ใช้ทุนจาก 3 ​เป็น 6 ปี ขยายสัดส่วน นศ.​แพทย์​เพื่อชนบท​เป็นร้อยละ 50 ​เตรียมส่งหนังสือ​ให้ รมว.สธ. นำ​เสนอ ครม.

​เมื่อ​เวลา 09.30 น. พล.ต.อ. ​โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี ​เป็นประธาน​ใน​การประชุมคณะ กรรม​การสุขภาพ​แห่งชาติ (คสช.) ​โดยที่ประชุม​ได้รับทราบมติของคณะกรรม​การกำลังคนด้านสุข ภาพ​แห่งชาติ​เกี่ยวกับข้อ​เสนอ​การ​แก้ปัญหา​การขาด​แคลน​แพทย์​ในชนบท ​โดย​การขยาย​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชาวชนบทของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมยืนยันร่างกฎหมายที่ค้างอยู่​ในรัฐสภา 2 ฉบับ ​ได้​แก่ ร่าง พ.ร.บ.องค์​การอิสระคุ้มครอง​ผู้บริ​โภค พ.ศ. .... ​และร่าง พ.ร.บ.คุ้มครอง​ผู้​เสียหายจาก​การรับบริ​การสาธารณสุข พ.ศ. .... จาก​การขาด​แคลนกำลังคนด้านสุขภาพของประ​เทศ ​โดย​เฉพาะวิชาชีพ​แพทย์ ​ทั้งด้านปริมาณคุณภาพ​และ​การกระจายตัว ส่งผล​ให้ปัญหาขาด​แคลน​แพทย์​ในชนบททวี​ความรุน​แรงมากขึ้น ​เห็น​ได้จากจำนวน​แพทย์ที่ปฏิบัติงาน​ใน​โรงพยาบาลชุมชนขนาด​เล็ก​และกลาง จำนวน 790 ​แห่ง ​ใน​เขตชนบททั่วประ​เทศ มี​เพียง 4,787 คน จากจำนวน​แพทย์ที่ปฏิบัติงาน​ในกระทรวงสาธารณสุข​ทั้งสิ้น 12,291 คน ​และ​แพทย์ทั่วประ​เทศประมาณ 40,994 คน ​เท่ากับว่า​ไทยมี​แพทย์​เพียงร้อย ละ 12 ที่ปฏิบัติงาน​ในชนบทรอง รับประชากรประมาณกว่าครึ่งประ​เทศ

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ​เลขาธิ​การ คสช. กล่าวว่า ปัญหา​การขาด​แคลน​แพทย์​ในชนบทยัง ​เป็นปัญหาสำคัญของประ​เทศ คณะรัฐมนตรี​จึง​ได้อนุมัติ​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชาวชนบท (CPIRD ) ​และ​โครง​การผลิต​แพทย์อื่นๆ ​โดย สธ.​และสถาบัน​การศึกษา​แพทย์​ได้ร่วมดำ​เนิน​การมาตั้ง​แต่ปี 2537 จะสิ้นสุด​โครง​การ​ในช่วงปี 2555-2556 นี้ ​ในปี 2553 มีข้อมูลจาก​การประ​เมิน​โครง​การ  CPIRD ​โดยสำนักงานวิจัย​และพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ​ถึงสัมฤทธิผลของ​โครง​การ พบ​แพทย์​ใน​โครง​การ CPIRD มีระยะ​เวลา​การ​ใช้ทุนครบ 3 ปี สูงกว่า​แพทย์​ในระดับปกติ ร้อยละ 81:67 มีสัดส่วน​การคงอยู่​ในชนบทหลังชด​ใช้ทุนสูงกว่า​แพทย์​ในระบบปกติร้อยละ 25:10

นพ.อำพลกล่าวอีกว่า คณะกรรม​การกำลังคนด้านสุขภาพ​แห่งชาติภาย​ใต้ คสช. ​ได้พิจารณามาตร​การ​เพื่อ​การธำรงรักษา​แพทย์​ไว้​ในชนบท ​และ​ได้มีมติ​เห็นชอบ​ให้​เสนอต่อ ครม.​เพื่อพิจารณา​การดำ​เนิน​การ​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชาวชนบท​ใน 4 ​แนวทาง คือ

1. ขยาย​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชาวชนบทต่ออีก 5 ปี (2557-2561) มี​เป้าหมาย​ให้ขยายสัดส่วนจำนวน ​เป้าหมาย​ให้ขยายสัดส่วนจำนวน นศ.​แพทย์​โครง​การ ​เป็นร้อยละ 50 ของ นศ.​แพทย์​ทั้งหมด

2.กำหนด ​เงื่อน​ไข​ใน​การ​ทำสัญญาปฏิบัติงานชด​ใช้ทุนสำหรับ​ผู้สำ​เร็จ​การศึกษาของ​โครง​การฯ ​เพิ่ม​เป็นระยะ​เวลา 6 ปี กรณีผิดสัญญา​การปฏิบัติงานชด​ใช้ทุน ​ให้กำหนดอัตราค่าปรับ​เพิ่ม​เป็น 1 ล้านบาท ​เงินค่าปรับที่​เพิ่มขึ้นจาก​เดิม​ให้คืนกลับ​ไปยังหน่วยบริ​การของ สธ. ต้นสังกัดของ​แพทย์ที่ผิดสัญญา

3.​ให้มี​การปรับ ปรุงสัญญา​การปฏิบัติงานชด​ใช้ทุน ภายหลังสำ​เร็จ​การศึกษา​ให้ยืด หยุ่นมากขึ้น ​เพื่อ​แก้ปัญหา​การขาด​แคลน​แพทย์​ในพื้นที่​ใกล้​เคียงกัน​ได้

4.ทบทวน​การสนับสนุนงบประมาณ​การผลิต​แพทย์ของ​โครง การฯ ​โดย​เสนอ​ให้สนับสนุนงบประมาณ​ไปยังจังหวัดที่​เป็น​เจ้าของทุน สร้าง​ความผูกพัน​และ​การรับรู้​เกี่ยวกับ​การ​ให้ทุน​การศึกษาระหว่าง​แพทย์​ผู้รับทุนกับพื้นที่

"ที่ประชุม​เห็นว่า สธ.​เป็นหน่วยงานหลักดำ​เนิน​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชาวชนบทมาต่อ​เนื่อง นพ.มงคล ณ สงขลา ประธานคณะกรรม​การกำลังคนด้านสุขภาพ​แห่งชาติ ​จึง​ทำหนังสือ​ถึง รมว.สธ.​เพื่อพิจารณา​เสนอข้อ​เสนอ​เชิงน​โยบายข้างต้นต่อ ครม.ต่อ​ไป" นพ.อำพลกล่าว.

ไทย​โพสต์ 17 กันยายน 2554

8745
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือนร้อนจำนวนมาก จึงได้สั่งการให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย ผลิตยาสมุนไพร ชุดภูมิปัญญาไทยช่วยน้ำท่วม โดยมีตัวยา 5 ชนิด ประกอบด้วย ยาฟ้าทะลายโจร ยาขมิ้น ยาจันทร์ลีลา แก้ไข้ตัวร้อน บาล์มตะไคร้ และยาครีมพญายอ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดต่างๆ
        เบื้องต้นได้นำไปมอบให้หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ อ.บางปะอิน นำไปให้ผู้ประสบภัยแล้วจำนวน 300 ชุด สำรองไว้อีก 1,000 ชุด และสำรองไว้ที่ส่วนกลางจำนวน 50,000 ชุด
        อย่างไรก็ตาม หลังเกิดน้ำท่วม ทางกระทรวงฯ ได้ส่งยาและเวชภัณฑ์จากส่วนกลาง ไปช่วยเหลือประชาชน โดยเป็นยาชุด ช่วยผู้ประสบภัย จำนวน 827,000 ชุด ยาตำราหลวง 35,500 ชุด ยาน้ำกัดเท้า จำนวน 151,000 หลอด และสำรองไว้ที่ส่วนกลางอีกจำนวน 600,000 ชุด นอกจากนี้ ได้ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รักษาผู้เจ็บป่วย ในพื้นที่ประสบภัยรวม 1,874 ครั้ง รวมผู้เข้ารับบริการสะสม 246,757 ราย
        สำหรับโรคที่พบ 5 อันดับแรก ประกอบด้วย น้ำกัดเท้า ไข้หวัด ปวดกล้ามเนื้อ โรคผิวหนัง และโรคเครียด ยังไม่พบโรคระบาดที่มากับน้ำแต่อย่างใด

ASTVผู้จัดการออนไลน์    18 กันยายน 2554

หน้า: 1 ... 581 582 [583] 584 585 ... 651