แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 580 581 [582] 583 584 ... 651
8716
“วิทยา” เผย รพ.ชุมแสงถูกน้ำท่วมสูง 60 ซม. ใช้รถอีแต๊ก รถไถ รับส่งผู้ป่วยเข้าออก และเพิ่มจุดบริการตรวจรักษาที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอชุมแสง ให้เฝ้าระวัง รพ.ใกล้ชิดอีก 17 แห่ง ยอดผู้เจ็บป่วยจากพิษน้ำท่วมพุ่งกว่า 300,000 ราย เพิ่มวันละกว่า 16,000 ราย...

เมื่อวันที่ 23 ก.ย. นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ว่า สถานการณ์ในวันนี้ ได้รับรายงานจากวอร์รูมน้ำท่วมว่ามีน้ำท่วมที่โรงพยาบาลชุมแสง อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำสูง 60 เซนติเมตร ท่วมห้องฟัน ห้องซักฟอกนึ่งฆ่าเชื้อ ยังเปิดให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง ต้องใช้รถอีแต๊ก รถไถ 4 คัน รับส่งผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่เข้าออกโรงพยาบาล มีผู้ป่วยในนอนรักษาเต็ม 60 คน ทุกคนอาการไม่รุนแรง ช่วยเหลือตัวเองได้ ส่วนเสื้อผ้าผู้ป่วยส่งไปซัก นึ่งฆ่าเชื้อที่โรงพยาบาลหนองบัวทุกวัน และได้เพิ่มจุดบริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉินที่สำนักงาน สาธารณสุขอำเภอชุมแสง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

สถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ขยายเป็นวงกว้าง มีสถานบริการสาธารณสุขถูกน้ำท่วมแล้ว 230 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 200 แห่ง มีโรงพยาบาลที่เสี่ยงถูกน้ำท่วมอีก 17 แห่ง ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก่
1. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน จ.พิจิตร
2. รพ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
3. รพ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
4. รพ.สิงห์บุรี
5. รพ.สรรพยา จ.ชัยนาท
6. รพ.อ่างทอง
7.รพ.บางไทร
8. รพ.บางบาล
9. รพ.ผักไห่
10. รพ.บางปะอิน
11. รพ.เสนา
12. รพ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
13. รพ.พระนั่งเกล้า
14. รพ.บางใหญ่
15. รพ.บางกรวย จ.นนทบุรี
16. รพ.บางเลน จ.นครปฐม และ
17. รพ.เจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 ก.ย.  กระทรวงสาธารณสุขส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการทั้งหมด 165 หน่วย พบผู้เจ็บป่วยรวม 16,933 ราย ร้อยละ 80 ป่วยด้วยโรคน้ำกัดเท้า รองลงมาคือ ไข้หวัด ปวดเมื่อย ตั้งแต่หลังน้ำท่วมจนถึงขณะนี้ได้ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปแล้วรวม 2,489 ครั้ง มีผู้เจ็บป่วยสะสม 317,667 ราย  ยังไม่พบโรคระบาดที่เกิดจากน้ำท่วม  ผลการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต  พบผู้มีความเครียดสูง 1,356 ราย  มีอาการซึมเศร้า  3,124 ราย เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย  363 ราย และต้องติดตามดูแลพิเศษ  440ราย

นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า วันนี้ได้ส่งเซรุ่มแก้พิษงูเห่าให้จังหวัดปทุมธานี 160 หลอด และส่งยาให้จังหวัดชัยนาทนครสวรรค์ เพิ่มอีกจังหวัดละ 10,000 ชุด ซึ่งที่ผ่านมาได้จัดส่งยาช่วยเหลือน้ำท่วมไปแล้ว 1,159,000 ชุด สำรองยาไว้ที่ส่วนกลางอีก 500,000 ชุด และเซรุ่มแก้พิษงู 7 ชนิดอีก 3,500 ชุด นอกจากนี้ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้สนับสนุนยาชุดสมุนไพรช่วยผู้ประสบภัยน้ำ ท่วม จำนวน 1,000 กล่อง และเจลล้างมือแตงกวา มังคุด 1,000 ชุด  กระทรวงสาธารณสุขจะทยอยส่งไปช่วยพื้นที่น้ำท่วมต่อไป.

ไทยรัฐออนไลน์ 24 กันยายน พ.ศ.2554

8717
สาวโรงงาน จ.สมุทรสาคร ร้อง รพ.เอกชนในระบบประกันสังคมรักษาแย่ ไม่ยอมส่งต่อไป รพ.ที่ดีกว่า
       
       นางเจริญ มากมูล วัย 30 ปี พนักงานโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งประสบอุบัติเหตุถูกรถบรรทุกถ่านหินชนระหว่างนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์เมื่อเดือนตุลาคม 2553 ที่ จ.สมุทรสาคร พร้อมด้วยสามีและญาติมาร้องขอความเป็นธรรมจากกระทรวงแรงงาน เนื่องจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนในระบบประกันสังคม ที่มีสิทธิประกันสังคมอยู่ในจ.สมุทรสาคร แล้วได้รับการให้บริการรักษาไม่ได้มาตรฐาน และไม่ยอมส่งต่อไปรักษาโรงพยาบาลแห่งอื่นที่มีความพร้อมมากกว่า จึงขอให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และโรงพยาบาลเอกชนในระบบประกันสังคมที่รักษาชดเชยค่ารักษาและช่วยเงินค่าผ่าตัดสะบ้าหัวเข่ารวมเกือบ 1 ล้านบาท โดยนายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้รับเรื่องไว้และมอบให้สปส.ไปตรวจสอบ เมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา ที่กระทรวงแรงงาน

ASTVผู้จัดการออนไลน์    23 กันยายน 2554

8718
  “วิทยา” ลั่น 30 บาทพร้อมใช้ กลางเดือน ต.ค.นี้ แจงขอเวลาหารือเรื่องสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เชื่อประชาชนถูกใจนโยบายแน่นอน
       
       วันนี้ (23 ก.ย.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องนโยบายการรักษาด้วยระบบ 30 บาทว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้ถูกใจประชาชนมากที่สุดและอยู่ระหว่างปรับปรุงระบบข้อมูล แต่แน่นอนว่าต้องยกเลิกระบบรักษาฟรีแล้วกลับไปเก็บค่าธรรมเนียม 30 แต่ในส่วนของประชาชนที่ถูกละเว้นค่าธรรมเนียมก็จะละเว้นต่อไป เช่น กรณีเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ผู้พิการ สูงอายุ เป็นต้น โดยคาดว่าระบบจะสามารถดำเนินการได้ในช่วงกลางเดือน ต.ค.นี้ แต่สิทธิประโยชน์ที่ว่าจะมีอะไรบ้างขอเวลาในการหารือ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อหารือแล้วเสร็จต้องนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.)
       
       ผู้สื่อข่าถามว่า กรณีการหารือเรื่องสิทธิประโยชน์นั้นจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องสอบถามความต้องการของประชาชนว่าอยากได้บริการที่เพิ่มเติมแบบใด นายวิทยาตอบว่า เชื่อว่าประชาชนต้องการสิ่งที่ดีที่สุดแน่นอน และสิ่งที่รัฐบาลจะปรับปรุงก็ย่อมเป็นสิ่งที่เอื้อต่อประโยชน์ของประชาชนมากที่สุด และคิดว่าประชาชนคงไม่ปฏิเสธสำหรับการจัดเก็บ 30 บาท เพื่อบริการที่ดีขึ้น เพราะไม่มีใครอยากได้ฟรีแต่รักษาแบบอนาถาอย่างแน่นอน
       
       “เรื่องรายละเอียดของบริการที่เพิ่มขึ้นนั้น ยังๆไม่สามารถหาคำตอบได้ เพราะต้องหารือหลายฝ่าย ซึ่งหากได้ข้อสรุปแล้วจะแจ้งข้อมูลแก่ประชาชนรับทราบถึงสิทธิของตนเองที่พึงจะได้รับในระบบบริการรักษาพยาบาล” นายวิทยากล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    23 กันยายน 2554

8719
สาธารณสุข * สธ.ตั้งคณะกรรม​การ 2 ชุด ชุด​แรกกลั่นกรองด้านกฎหมาย ตั้งสุพจน์ ฤชุพันธุ์ นั่งประธานกรรม​การ อีกชุดกลั่นกรอง​และพิจารณา​เรื่องราวร้องทุกข์ มีธวัชชัย สุทธิบงกช ​เป็นประธาน ​เพื่อทบทวน ปรับปรุงพัฒนาร่างกฎหมายที่​เกี่ยวข้องกับกระทรวงสาธารณสุข​ให้ดียิ่งขึ้น

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่า ​การกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากกรณีที่มี​การหารือ​ถึง​การผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่ยังค้างอยู่นั้น คณะรัฐมนตรี​ได้มีมติควรกำ หนดกรอบ​การผลักดันร่างกฎหมาย​ใหม่ ​โดย​ให้รัฐมนตรีกลับ​ไปหารือกระทรวงที่​เกี่ยวข้อง​เพื่อยืนยันร่างกฎหมายกลับมาอีกครั้งนั้น

นายวิทยากล่าวว่า ​ใน​การพิจาร ณา​เพื่อยืนยันร่างพระราชบัญญัติต่างๆ สธ.​ได้​แต่งตั้งคณะกรรม​การขึ้นมา 2 ชุด ​ได้​แก่ 1.ชุดคณะกรรม​การกลั่นกรอง ​และพิจารณา​เรื่องราวร้องทุกข์ ​เพื่อกำหนดกรอบ​แนวทาง​ใน​การรับ​เรื่องราวร้องทุกข์ รวม​ถึง​การพิจารณา​แก้​ไขปัญหา​เกี่ยวกับ​เรื่องราวร้องทุกข์ ​ในงานบริหารของกระทรวง ​ทั้งหมด 7 คน ประกอบด้วย
1.นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์
2.นายพจน์ จิรวุฒิกุล
3.​เลขาธิ​การสำนักงานคณะกรรม​การอาหาร​และยา (อย.)
 4.หัวหน้า​ผู้ตรวจราช​การกระทรวงสาธารณสุข
5.นางวีรวรรณ ​แตง​แก้ว
6.​ผู้อำนวย​การกลุ่มบริหารทั่ว​ไป ​
โดยมีนายธวัชชัย สุทธิบงกช ​เลขานุ​การรัฐมนตรีว่า​การกระทรวงสาธารณสุข​เป็นประธาน มีนาย​แพทย์​ไพจิตร์ วรา ชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายสุรชัย ​เบ้าจรรยา ​และนายวิชัย ​เทียนถาวร ​ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ​เป็นที่ปรึกษา

นายวิทยากล่าวต่อว่า ชุดที่ 2 คือ คณะกรรม​การกลั่นกรองด้านกฎหมาย ​เพื่อพิจารณา กลั่นกรอง ​เสนอ​ความคิด ​เห็น​ใน​เรื่องที่​เกี่ยวกับกฎหมาย กฎระ​เบียบ มติคณะรัฐมนตรีที่อยู่​ในอำนาจ หน้าที่ของรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ​และ พิจารณา ​ทั้งหมด 7 คน ประกอบด้วย
1.รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่​ได้ รับมอบหมาย
2.นายสุพจน์ ฤชุพันธ์ 3.นายวัชรา จิตต์พาณิชย์
4.นายสมพร ดำพริก
5.​ผู้อำนวย​การกลุ่ม​เสริมสร้าง วินัย​และระบบคุณธรรม
6.​ผู้อำนวย​การ กลุ่มกฎหมาย
​โดยมีนายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ ​เป็นประธานกรรม​การ ​และมีนายสุรชัย ​เบ้าจรรยา นายวิชัย ​เทียนถาวร ​ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณ สุข​เป็นที่ปรึกษา.

​ไทย​โพสต์  23 กันยายน 2554

8720
10 ปี ประกันสุขภาพถ้วนหน้า โรงพยาบาลรัฐขาดทุนกันถ้วนหน้าเช่นกัน กางตัวเลขปี ’53 ขาดทุนทั้งระบบ 7,388 ล้านบาท ทั้งโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน แถมเงินกองทุนแต่ละโรงพยาบาลถูกดูดจนร่อยหรอ วอนสปสช.จ่ายเงินชดเชยให้ครบ อย่าเบี้ยวหนี้

จากคำถามเรื่องโรงพยาบาลรัฐขาดทุน เป็นเรื่องที่ประชาชนทั่วไปได้ยินมาหลายปีแล้ว นับจากประเทศไทยเริ่มมีบริการสุขภาพถ้วนหน้าในปี 2544 จนถึงขณะนี้ปรากฏว่าสถานการณ์ของโรงพยาบาลภาครัฐมีผลประกอบการขาดทุนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และเงินบำรุงโรงพยาบาลลดลงอย่างฮวบฮาบ

จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ ระดมความเห็นการจัดการงบประมาณ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขาลง ปีงบประมาณ 2555 เมื่อวันที่ 7 –8 กรกฏาคม 2554 ที่จังหวัดชลบุรี ได้รายงานสถานการณ์การเงินการคลังโรงพยาบาลรัฐจำนวน 832 แห่ง ปี 2553 – 2554 กลุ่มประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้เสนอปัญหาทางการเงิน สาเหตุของปัญหา และแนวทางที่ควรพิจารณาเพื่อการแก้ปัญหา

ในรายงานได้สรุปปัญหาการเงินโรงพยาบาลรัฐ 1.โรงพยาบาลที่มีผลประกอบการขาดทุนมีมากขึ้นทุกระดับ 2.โรงพยาบาลประสบวิกฤตทางการเงินระดับรุนแรงขึ้น 3.เงินบำรุงในกลุ่มโรงพยาบาลทั่วไปลดลงระดับน่าวิตกที่สุด 4.ปัญหาทางการเงินมีผลกระทบต่อการบริการและบุคลากร 5.ทิศทางการเงินยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจะดีขึ้น

ผู้สื่อข่าวได้รายงานว่าจากข้อมูลของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยศูนย์ปฏิบัติการการเงินการคลัง กลุ่มประกันสุขภาพ ซึ่งรวบรวมสถานการณ์การเงินการคลังโรงพยาบาลภาครัฐปี 2553-2554 ได้สรุปว่าปริมาณโรงพยาบาลที่ขาดทุนมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก 505 โรงหรือ 63% ในไตรมาสสี่ของปี 2552 เพิ่มเป็น 540 โรงหรือ 67% ในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 และเพิ่มเป็น 579 โรงหรือ 70% ในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 ทำให้ปี 2553 ทุกโรงพยาบาลขาดทุนรวม 7,388 ล้านบาท

ทั้งนี้โรงพยาบาลยิ่งใหญ่ยิ่งขาดทุนมาก โดยโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) ขาดทุนสูงถึงเฉลี่ยโรงละ 46.2 ล้านบาท โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) ขาดทุนเฉลี่ยโรงละ 22.4 ล้านบาท และโรงพยาบาลชุมชนขาดทุนเฉลี่ยโรงละ 2.7 ล้านบาท
เงินบำรุงโรงพยาบาลเหือดแห้ง

จากตัวเลขข้างต้นสะท้อนว่าโรงพยาบาลขาดทุน แต่นักวิชาการมีความเห็นแย้งว่าโรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังมีเงินบำรุงซึ่งเป็นเงินนอกงบประมาณอยู่ โรงพยาบาลจึงน่าที่จะอยู่ได้โดยไม่จำเป็นต้องปิดตัวลง แต่จากข้อมูลปี 2550 เป็นต้นมา ปรากฏว่าปริมาณเงินบำรุงของแต่ละโรงพยาบาลได้ลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากภาวะขาดทุนต่อเนื่อง

ทั้งนี้เนื่องจากโรงพยาบาลรัฐมีเงินบำรุงของตัวเอง จากการที่ 1.สามารถเก็บค่าบริการเป็นของโรงพยาบาลเอง แต่หลังจากที่มีกองทุนประกันสุขภาพถ้วนหน้า คนไข้ที่เรียกเก็บเงินได้ลดลงอย่างมาก ยิ่งระดับโรงพยาบาลชุมชน แทบจะไม่มีเลย ในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปมีการเก็บเงินจากผู้ป่วยจ่ายเงินบ้างประมาณร้อยละ 10%

2. เงินบำรุงที่มาจากกองทุนและสิทธิรักษาพยาบาลซึ่งมีหน่วยผู้จ่ายเข้ามาควบคุม โดยไม่มีระบบการต่อรองใดๆ จากโรงพยาบาลรัฐเลย ปัจจุบันมีการจัดสรรรายปี เมื่อจัดสรรไม่เพียงพอ ย่อมไม่สามารถนำเงินบำรุงใดมาชดเชยได้อีกต่อไปแล้ว

จากข้อมูลในปี 2550 มีเงินบำรุงของโรงพยาบาลทั้งประเทศรวมกัน 15,058 ล้านบาท ได้ลดลงเหลือเพียง 7,146 ล้านบาทในปี 2553 ทั้งนี้แยกเป็น 1.เงินบำรุงคงเหลือของโรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) จาก 5,968 ล้านบาทในปี 2550 เหลือเพียง 1,493 ล้านบาทในปี 2553 2. เงินบำรุงคงเหลือของโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) จาก 6,474 ล้านบาท ในปี 2550 เหลือ 2,738 ล้านบาท และ3. เงินบำรุงคงเหลือของโรงพยาบาลศูนย์จาก 2,614 ล้านบาท เหลือ 2,914 ล้านบาท ในปี 2553 ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน
เฉลี่ยทุกข์-เฉลี่ยสุข ป่วนหนี้บาน

รายงานระบุว่าสาเหตุที่โรงพยาบาลมีเงินบำรุงลดลงเรื่อยๆ เพราะมีหนี้สินมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสปสช ไม่จ่ายเงินให้โรงพยาบาลตามที่เรียกเก็บ โดยค้างชำระจำนวนมาก จึงต้องดึงเงินบำรุงมาชดเชย พบว่า 1.รายได้ที่มาจากการรักษาพยาบาลในปี 2553 มีจำนวน 22,145 ล้านบาท แต่มีหนี้ค้างชำระจำนวน 27,009 ล้านบาท ขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้น 31,444 ล้านบาท 2.ค่าใช้จ่ายบุคลากรเพิ่มขึ้นทุกประเภท (เงินเดือน,ค่าตอบแทน,ค่าจ้าง) ปี 2551-2553 จำนวน 59,390 ล้านบาท เป็น 65,795 ล้านบาท และเป็น 68,593 ล้านบาท ตามลำดับ 3.หนี้ค้างชำระเฉพาะในส่วนค่ารักษาหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเกิดจากการให้บริการที่มาก ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านยาที่เพิ่มมากขึ้น จำนวน 27,009 ล้านบาท หากได้รับการชำระในส่วนต่างนี้ ก็จะแก้ไขปัญหาทั้งค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอได้ทั้งระบบ ซึ่งมียอดขาดทุนจำนวน 4,689 ล้านบาท ซึ่งกำลังขอจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ในรายงานนี้ระบุสาเหตุที่ค่าใช้จ่ายบุคลากรสูงขึ้น เนื่องจากการให้บริการผู้ป่วยด้วยนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า เมื่อปริมาณผู้ป่วยมากขึ้น โรงพยาบาลต้องจ้างลูกจ้างชั่วคราว โดยเฉพาะลูกจ้างวิชาชีพและมีค่าตอบแทนนอกเวลาราชการมากขึ้น ทำให้มีการใช้จ่ายด้านบุคลากรจากเงินบำรุงค่อนข้างสูง เมื่อกองทุนจัดสรรไม่เพียงพอ หลายโรงพยาบาลมีปัญหาจ่ายเงินค่าตอบแทน ซึ่งมีโรงพยาบาลประสบปัญหาการเงินรุนแรงจำนวน 304 โรงพยาบาล จากทั้งหมด 832 โรงพยาบาล

thaipublica.org 16 กันยายน 2011

8721
บอร์ดองค์การเภสัชกรรมอ้างว่า องค์การฯ ทำให้รัฐประหยัดเงินค่ายาต้านเอดส์ได้ถึง 1 ล้านบาท

จริงอยู่แม้องค์การเภสัชกรรมจะสามารถผลิตยาต้านเอดส์และประหยัดเงินได้จริง แต่สิทธิพิเศษจากกฎหมายต่าง ๆ ขององค์การฯ เองก็สร้างปัญหาไว้หลายเรื่อง เช่น สิทธิพิเศษผูกขาดการขายยาให้แก่ส่วนราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ข้อ 60 – 62 ดังนี้

ข้อ 62 การซื้อยาของส่วนราชการให้จัดซื้อตามชื่อสามัญ (generic name) ในบัญชียาหลักแห่งชาติตามที่คณะกรรมการแห่งชาติทางด้านยากำหนด โดยให้ใช้เงินงบประมาณจัดซื้อยาดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 เว้นแต่ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้ใช้เงินงบประมาณจัดซื้อยาดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ข้อ 61 การซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา เช่น ผ้าก๊อส สำลี หลอดฉียา เข็มฉีดยา เฝือก วัสดุ ทันตกรรม ฟิล์มเอกซเรย์ และเภสัชเคมีภัณฑ์ซึ่งองค์การเภสัชกรรมได้ผลิตออกจำหน้ายแล้ว ให้จัดซื้อจากองค์การเภสัชกรรม นอกจากส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้จัดซื้อจากโรงงานเภสัชกรรมทหาร ส่วนกรมตำรวจจะซื้อจากองค์การเภสัชกรรม หรือโรงงานเภสัชกรรมทหารก็ได้ โดยให้ดำเนินการด้วยวิธีกรณีพิเศษ แต่ทั้งนี้ราคายาที่องค์การเภสัชกรรม หรือโรงงานเภสัชกรรมทหารจำหน่ายต้องไม่สูงกว่าราคากลางของยาชื่อสามัญเดียวกันที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเกินร้อยละ 3

ข้อ 62 การซื้อยาตามชื่อสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา ซึ่งองค์การเภสัชกรรมมิได้เป็นผู้ผลิตแต่มีจำหน่าย ส่วนราชการจะจัดซื้อจากองค์การเภสัชกรรม หรือผู้ขาย หรือผู้ผลิตรายใดก็ได้ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) การจัดซื้อโดยวิธีสอบราคา หรือประกวดราคาให้ส่วนราชการแจ้งให้องค์การเภสัชกรรมทราบด้วยทุกครั้ง และถ้าผลการสอบราคา หรือประกวดราคาปรากฎว่าองค์การเภสัชกรรมเสนอราคาเท่ากัน หรือต่ำกว่าผู้เสนอราคารายอื่น ให้ส่วนราชการซื้อจากองค์การเภสัชกรรม (2) การจัดซื้อโดยวิธีตกลงราคาหรือวิธีพิเศษ ให้ซื้อในราคาที่ไม่สูงกว่าราคากลางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

ระเบียบข้างต้นที่เปิดโอกาสให้องค์การเภสัชกรรมมีความได้เปรียบเหนือบริษัทเอกชนอื่นๆ ในการจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์ให้แก่หน่วยงานในภาครัฐ ในราคาที่สูงกว่าผู้ประกอบการรายอื่นไม่เกินร้อยละ 3 นี้อาจดูไม่สมเหตุสมผลหรือไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในภาวะที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในภาวะขาดทุนจนแทบปิดกิจการ

อย่างไรก็ดี เรื่องสำคัญของสิทธิพิเศษในการจัดซื้อยังไม่เท่ากับเรื่อง สิทธิพิเศษขององค์การฯ ในแง่คุณภาพผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพราะสิทธิพิเศษขององค์การฯตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 13 (1) ที่ให้ยกเว้นไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม มาตรา 12 ที่ว่าห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย หรือนำ หรือสั่งเข้ามาใน ราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบัน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและ เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา 13* บทบัญญัติมาตรา 12 ไม่ใช้บังคับแก่ (1) การผลิตยาซึ่งผลิตโดยกระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ป้องกัน หรือบำบัดโรค สภากาชาดไทย และองค์การเภสัชกรรม

สิทธิพิเศษในเรื่องการผลิตและจัดจำหน่ายนี้ ทำให้องค์การฯ ไม่อยู่ในข่ายบังคับตาม พรบ. ยา ซึ่งหมายความว่า องค์การฯ ได้รับการยกเว้น 1) ไม่ต้องขึ้นทะเบียนยา 2) ไม่ต้องทำการศึกษาชีวสมมูล ((Bioequivalence Study) ซึ่งหมายถึงการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผล (Comparative bioavailability) อัตราการดูดซึม (Rate) และปริมาณยาที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด (Extent) ระหว่างผลิตภัณฑ์ยาทดสอบ (Test products) และผลิตภัณฑ์ยาอ้างอิง (Reference products) 3) ไม่ต้องปรับปรุงมาตรฐานการผลิต อีกทั้งยังสามารถที่จะโฆษณาโดยไม่ต้องขออนุญาต สิทธิพิเศษเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยไม่มีหลักประกันว่าจะได้รับยาที่มีคุณภาพ หรือความปลอดภัย เพราะเท่ากับว่าไม่มีการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานก่อนนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเลย

ข้อมูลข้างต้นอาจทำให้หลายคนเริ่มสงสัยในคุณภาพของยาจากองค์การ แต่บางคนก็อาจเห็นว่านี่เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ของกลุ่มของผู้เสียผลประโยชน์ มันเป็นไปได้ยากที่องค์การฯ จะผลิตยาที่ไม่มีคุณภาพ ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่พิสูจน์ว่า สิทธิพิเศษของการผลิตโดยไม่ต้องขึ้นทะเบียน และไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพที่จะทำให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เข้าสู่ความเสี่ยงจริง ๆ ก็คือ ข้อมูลจาก “The Unraveling of Compulsory Licenses: Evidence from Thailand and India”, International Policy Network, May 18, 2007 โดย J. Norris ที่ว่า The Government Pharmaceutical Organization (GPO) In Thailand, the state-owned Government Pharmaceutical Organization (GPO) has been the main supplier of a triple dose antiretroviral (ARV) drug called GPO-Vir. The Global Fund to Fight HIV/AIDS had granted the GPO $133 million in 2003 to upgrade its plant to meet international quality standards for this drug. In October 2006, the Fund withdrew the remaining monies, citing the GPO’s failure to meet WHO standards. After four years of pre-testing, WHO still refused to list this drug in its pre-qualification program.

แปลได้ว่า หลังจากที่กองทุนโลกเพื่อต่อสู้โรคเอดส์ (The Global Fund to Fight HIV/AIDs) ได้ให้เงินองค์การเภสัชถึง 133 ล้านดอลลาร์ มาปรับปรุงโรงงานเพื่อให้ได้มาตรฐานระดับนานาชาติในการผลิต GPO-vir ในปี 2546 แต่ในปี 2549 พวกเขาก็ถอนการสนับสนุนทางการเงิน เพราะโรงงานขององค์การฯ ยังไม่สามารถผลิตยาให้ได้มาตรฐานของ WHO หลังการทดสอบอยู่นานถึง 4 ปี และองค์การอนามัยโลกก็ไม่อนุมัติให้ยา GPO-vir เข้าสู่ระบบ pre-qualification program ด้วย

นอกจากนี้ในการประชุม Thailand’s 10th National Seminar on AIDS ซึ่งจัดในกรุงเทพฯ ในหัวข้อ “Thailand: HIV Drugs Losing their power”, CDC HIV/Hepatitis/STD/TB Prevention News Update, 2005. อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์รามาธิบดีได้นำเสนอรายงานการศึกษาผู้ป่วย 300 รายที่ได้รับยาต้านเอดส์ที่ผลิตโดยองค์การเภสัชไว้ว่า 49 % ของผู้ป่วยดื้อต่อยา lamivudine, 39.6 % ดื้อต่อ stavudine และ 58 % ดื้อต่อ nevirapine การดื้อต่อยานี้ทำให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยาที่มีราคาสูงขึ้นถึงเดือนละหมื่นบาท จากที่ใช้ขององค์การฯ เพียงเดือนละพันบาท ซ้ำร้ายการดื้อต่อยานี้ทำให้เชื้อในผู้ป่วยรายใหม่ดื้อต่อยา ARV ธรรมดาด้วย จึงทำให้ผู้ป่วยใหม่จำเป็นต้องเริ่มต้นรักษาด้วยยาราคาแพงตั้งแต่แรก

นอกจากนี้ การศึกษา Prevalence of antiretroviral drug resistance in treated HIV-1 infected patients: under the initiative of access to the NNRTI-based regimen in Thailand. จาก Department of Pathobiology โดยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ตีพิมพ์ใน J Chemother. 2007 Oct; 19(5):528-35. ยังพบว่า The frequency of antiretroviral drug resistance in treatment-failure HIV-1 infected patients has significantly increased over time from 68.5 % (382/558) during 2000-2002 to 74.9 % (613/818) during 2003-2004 (P<0.01). Resistance to NNRTI during 2003-2004 (59.2 %) was much higher than that during 2000-2002 (36.9 %; P<0.001). We showed that this correlated with an increase in the NNRTI-based regimen prescribed during 2003-2004, especially the Thai-produced combination pill, GPO-VIR. Our finding also showed that a high level of genotypic drug resistance is associated with GPO-VIR (40.8 % lamivudine, 40.6 % stavudine, 43.8 % nevirapine)

แปลได้ว่า การดื้อยาต้านไวรัสเพิ่มขึ้น จาก 68.5 % ในระหว่างปี 2000-2002 เป็น 74.9 % ในระหว่างปี 2003-2004 การดื้อต่อ NNRTI ระหว่างปี 2003-2004 (59.2 %) สูงกว่าระหว่างปี 2000-2002 (36.9 %) การศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ของการดื้อยาที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากยาชุดที่มี NNRTI ซึ่งใช้ในระหว่างปี 2003-2004 จากองค์การเภสัชกรรม โดยเฉพาะยาชุดผสมที่เรียกว่า GPO-vir ซึ่งระดับการดื้อยาในชุดนี้สูงถึง 40.8-43.8 % เลยทีเดียว

เมื่อยาไม่เหมือนสินค้าโภคภัณฑ์ธรรมดาที่ใคร ๆ ก็ผลิตได้ การได้ยาที่มีราคาถูก แต่ใช้ไม่ได้ผล ไม่เพียงทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหายจากโรค ซ้ำยังอาจทำร้ายคนในครอบครัว และคนอื่น ๆ ด้วยจากการที่พวกเขาสามารถติดเชื้อที่ดื้อยาจนไม่สามารถที่จะรักษาได้อีกเลย

หมอไท ทำดี
thaipublica.org 22 กันยายน 2011

8722
เสียงท้วงติงจากผู้อ่าน – จดหมายถึงกองบรรณาธิการ
ดิฉัน นางสาวจอมขวัญ โยธาสมุทร นักวิจัยจากโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ดิฉันได้มีโอกาสอ่านบทความเรื่อง “ฤาจะถึงกาลล่มสลายของระบบสาธารณสุขไทย” ประกอบกับได้ทราบถึงความตั้งใจที่ดีของกองบรรณาธิการที่ต้องการตีแผ่ความจริง และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนเพื่อให้รู้เท่าทันประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมซึ่งเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม

อย่างไรก็ตามเมื่อได้อ่านบทความดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากพบว่าข้อมูลที่นำมาเผยแพร่นั้นไม่มีการอ้างอิงหลักฐานที่น่าเชื่อถือหรือในบางประเด็น เป็นเพียงสมมติฐานของผู้เขียนซึ่งมิได้แสดงตน ดิฉันทำงานวิจัยระบบสุขภาพมาระยะเวลาหนึ่ง ได้ศึกษาและเห็นข้อเท็จจริงหลายอย่างที่ขัดแย้งจึงอยากเสนอมุมมองที่แตกต่างต่อประเด็นเหล่านี้ให้ทางกองบรรณาธิการพิจารณา

1. การขาดทุนของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจในเรื่องวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจการโดยรัฐให้ตรงกันก่อน กิจการของภาครัฐนั้นมีวัตถุประสงค์หรือ “ผลกำไร” ที่ต้องการต่างจากภาคเอกชน ในมุมมองของผู้ให้บริการสาธารณสุขภาครัฐ เงินทุกบาททุกสตางค์ (ที่ได้จากประชาชนจากภาษีทุกประเภท) ที่ลงทุนไปนั้น ก็เพื่อ “สุขภาพ หรือ สุขภาวะ” ที่ดีขึ้นของประชาชนไทยซึ่งเป็นผู้เสียภาษีให้รัฐจัดบริการขั้นพื้นฐาน การทำกำไรที่เป็นตัวเงินไม่น่าจะเป็นจุดมุ่งหมายของกิจการของภาครัฐ ประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนบทความอาจเกิดความเข้าใจผิดในบทบาทของผู้ให้บริการในภาครัฐ ซึ่งเป็นแนวคิดที่สำคัญที่จะพิจารณาเรื่องกำไรหรือขาดทุน (คำว่าเกินดุล/ขาดดุล น่าจะมีความเหมาะสมกับกรณีนี้มากกว่า กำไร/ขาดทุน เช่นเดียวกับการบริหารงบประมาณของรัฐบาล)

หากพิจารณาเรื่องกำไรขาดทุนในทางบัญชีมีโรงพยาบาล 343 แห่ง (กรณีไม่นับค่าเสื่อมราคา) และ 584 แห่ง (กรณีนับค่าเสื่อมราคา) จากทั้งหมด 840 แห่ง มีรายรับจากงบประมาณ น้อยกว่ารายจ่ายจริง [1] อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว พบปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อการขาดทุนของโรงพยาบาล เช่น ที่ตั้ง จำนวนบุคลากรต่อผู้ป่วย การบริหารจัดการวันนอนของผู้ป่วย เป็นต้น

ผู้วิจัยเสนอว่าการบริหารจัดการในเรื่องของจำนวนบุคลากรของโรงพยาบาล การบริหารคลังยา และจำนวนวันที่ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลจะช่วยควบคุมจำนวนเงินที่ขาดทุนได้ [2] งานวิจัยชิ้นนี้ได้ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือ ในการบริหารกิจการของรัฐแบบเกินดุลหรือขาดดุลนั้น มีปัจจัยหลายอย่างมาเกี่ยวข้อง

ดังนั้นการด่วนสรุปว่า “เป็นเพราะมีระบบประกันสุขภาพจึงทำให้โรงพยาบาลขาดทุน” อาจดูเป็นบทสรุปที่ง่ายเกินไป ไม่ได้พิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านเพราะสาเหตุที่จะทำให้โรงพยาบาลขาดดุล อาจเกิดได้หลายประการดังเช่นได้กล่าวไปแล้ว จะเห็นได้ว่าปัญหาดังกล่าวแท้จริงแล้วมีความซับซ้อน หากพิจารณาอย่างไม่รอบด้านอาจนำไปสู่ข้อเสนอเพื่อการแก้ปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นหากพิจารณาย้อนหลังก่อนมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สถานการณ์บริหารรายรับรายจ่ายที่ขาดดุลนี้ก็เกิดขึ้นในอดีตเช่นกัน

2. การตัดสินใจเรื่องชุดสิทธิประโยชน์การให้บริการทางสุขภาพ และการกำหนดรายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ
ในการบริหารระบบประกันสุขภาพนั้น นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า “ทรัพยากรมีจำกัด” และสินค้าสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นยา และการบริการทางการแพทย์ที่มีอยู่อย่างดาษดื่นในตลาดสุขภาพภาพนั้น มิใช่ทุกอย่างที่มีประสิทธิผล และคุ้มค่าสำหรับผู้ดูแลกองทุนประกันสุขภาพจะจัดหาให้กับประชาชนทุกคน ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า การให้วิตามิน/อาหารเสริมทุกชนิดที่มีขายตามท้องตลาดกับผู้ประกันตน หรือการให้บริการผ่าตัดเสริมความงาม คงไม่ใช่ทางเลือกที่ดี และไม่มีระบบประกันสุขภาพที่มีประสิทธิภาพแห่งใดสนับสนุน

ประเทศไทยมีกองทุนประกันสุขภาพ 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งนี้ในการเบิกจ่ายยาใดๆก็ตาม ทั้งสามกองทุนจะพิจารณาจากรายการยาที่เรียกว่า “บัญชียาหลักแห่งชาติ” ซึ่งเป็นรายการยาที่ประชาชนมีสิทธิได้รับ การพิจารณารายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาตินั้นดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ และมีการประกาศหลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาที่ชัดเจน เช่น ความปลอดภัย ประสิทธิผล และต้นทุนต่อประสิทธิผลของยานั้นๆ ซึ่งเกณฑ์เหล่านี้มีการประกาศไว้อย่างชัดเจน ตรวจสอบได้ ข้อมูลความปลอดภัยและประสิทธิผลนั้นส่วนใหญ่มาจากการทดลองเชิงคลินิกในต่างประเทศ ส่วนข้อมูลต้นทุนประสิทธิผลนั้นเป็นข้อมูลภายในประเทศ โดยปัจจุบันมีการออกคู่มือแนวทางการประเมินต้นทุนประสิทธิผลสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนนี้มาประกอบการพิจารณาคัดเลือกยา

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ถูกนำมาใช้ในการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติและเพื่อคัดเลือกบริการทางการแพทย์ต่างๆ เข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพสำหรับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (หลักการนี้ปัจจุบันไม่ได้ใช้ในกรณีชุดสิทธิประโยชน์ของสิทธิข้าราชการและประกันสังคม) โดยการประเมินดังกล่าวเป็นการพิจารณาเปรียบเทียบต้นทุนกับประโยชน์ (ในที่นี้ใช้ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากอายุขัยเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นและจากคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น) ซึ่งกระบวนการทั้งหมดเป็นการทำงานในเชิงวิชาการที่มีการกำหนดมาตรฐานอย่างชัดเจน โดยนักวิชาการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งผู้แทนจากภาคเอกชน [3]

ปัจจุบันสวัสดิการข้าราชการมีการใช้งบประมาณต่อประชากรมากกว่าสวัสดิการอื่นๆ อย่างชัดเจน โดยหากพิจารณาจำนวนประชากรภายใต้ระบบประกันต่อจำนวนงบประมาณที่ใช้ไป ในปี 2551 สวัสดิการข้าราชการใช้งบประมาณ 58,000 ล้านบาทต่อประชากรประมาณ 5 ล้านคน (ประมาณ 11,600 บาทต่อคนต่อปี) ในขณะที่ระบบประกันสังคม ใช้งบประมาณในการรักษาพยาบาลสมาชิกผู้ประกันตนเป็นเงินประมาณ 17,700 ล้านบาท สำหรับประชากร 8 ล้านคน (ประมาณ 2,140 บาท ต่อคนต่อปี) และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งดูแลประชากร 47 ล้านคน มีการใช้งบประมาณ 98,700 ล้านบาท (ประมาณ 2,100 บาทต่อคนต่อปี) ดังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่กองทุนสวัสดิการข้าราชการ กรมบัญชีกลางจึงควรหันมาพิจารณาถึงความจำเป็นความเหมาะสมของการคัดเลือกยาและมาตรการที่เหมาะสมเข้าสู่ชุดสิทธิประโยชน์ ด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่า “ทรัพยากรมีจำกัด”

3. “…เมื่อระบบสาธารณสุขของประเทศเราไม่ก้าวหน้าจากการที่บริษัทยาต่างชาติไม่สามารถขายยาให้กับคนไทยได้เพราะกรมบัญชีกลางพยายามออกกฎระเบียบที่ไม่ให้ข้าราชการใช้ยาที่ผลิตจากบริษัทต่างประเทศชาวต่างชาติก็ไม่อยากมาเที่ยวมาลงทุนเพราะคนมีเงินไม่มีใครอยากมาอาศัยอยู่ในประเทศที่ระบบสาธารณสุขไม่ดี …” (อ้างจากบทความดังกล่าว)

ผู้เขียนบทความดังกล่าวอาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องการให้บริการทางสุขภาพแก่ชาวต่างชาติ ในมุมมองของรัฐและประชาชนไทยผู้เสียภาษี การให้บริการสาธารณสุขในขั้นพื้นฐานนั้นควรเน้นที่ประชาชนภายในประเทศเป็นหลักมิใช่กิจการที่มุ่งหวังทำกำไรบนความขาดแคลนของประชาชนในประเทศ ประเด็นสำคัญที่พึงพิจารณาคือ สินค้าและบริการทางสุขภาพมิใช่สิ่งทอ ยางพารา หรือสินค้าเกษตรที่ผลิตได้อย่างเหลือเฟือเกินความต้องการของคนในประเทศและเพียงพอจะเป็นสินค้าส่งออก

นอกจากนั้นไม่เคยมีหลักฐานระบุว่าระบบสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
ในฐานะประชาชนคนหนึ่งอยากเรียนเสนอกองบรรณาธิการให้มีการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลและนำเสนอข้อมูลที่มีหลักฐานวิชาการที่น่าเชื่อถือได้มาอ้างอิง มิใช่กล่าวหาด้วยอคติจากกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์บางกลุ่ม [4] และควรนำเสนอข้อมูลจากหลายด้าน มิเช่นนั้นก็จะไม่ต่างอะไรจากสื่อกระแสหลักที่เสนอข้อมูลเฉพาะด้าน ส่งผลให้ในท้ายที่สุดประชาชนซึ่งเป็นผู้เสพข้อมูลก็จะไม่เกิดการเรียนรู้และก็ยังคง “ไม่รู้เท่าทัน” ประเด็นสำคัญต่างๆ ในสังคมอยู่ดี

การทำให้เกิดการรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารโดยเฉพาะในภาคสาธารณสุขนั้น ในความเป็นจริงมีการเผยแพร่เอกสารที่มีหลักฐานเชิงวิชาการสนับสนุนอยู่มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการวิจัยที่มีระเบียบวิธีที่ถูกต้อง มีการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ มีที่มาที่ไป มักไม่ใช่บทความที่เลื่อนลอย ผู้อ่านสามารถค้นหาได้ไม่ยากจึงอยากให้นำเสนอแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อเป็นทางเลือก ไม่อยากให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มักง่ายและเลือกเสพข้อมูลเฉพาะที่อยู่ตรงหน้าหรือที่นำมาป้อนให้ถึงที่เพียงอย่างเดียวซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดๆ ในสังคมมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเรื่องสุขภาพซึ่งตามธรรมชาติมักเป็นข้อมูลที่มีปัญหาเรื่องความไม่สมบูรณ์ของการรับข้อมูลอยู่มาก

ทั้งนี้ดิฉันได้แนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพของไทยทั้งที่ตีพิมพ์ในวารสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้พิจารณา หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้นะคะ (ค้นหาเอกสารเพิ่มเติม http://kb.hsri.or.th/dspace/)

จอมขวัญ โยธาสมุทร

1. รายงานสถานการณ์การคลังและประสิทธิภาพของสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ไตรมาส 4
(กรกฎาคม – กันยายน 2553), สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย.2554

2. สุรฉัตร ง้อสุรเชษฐ์ และอรรถพล ศรเลิศล้ำวาณิช,รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาลักษณะของโรงพยาบาลในประเทศไทยที่มีผลดำเนินการขาดทุนหรือกำไร หลังจากปีแรกของการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, ภาควิชาบริหารเภสัชกิจ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.2547

3. คู่มือการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับประเทศไทย 2551

4. ในการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ “ผลประโยชน์” ไม่ได้หมายถึงเรื่องเงินเพียงอย่างเดียว ดังนั้นผู้เล่นทุกคนในระบบสุขภาพรวมถึงประชาชนเองก็ล้วนเป็นผู้ได้และเสียผลประโยชน์จากการดำเนินนโยบายสาธารณสุขทั้งนั้น

thaipublica.org 22 กันยายน 2011

8723
โรงพยาบาลกรุง​เทพพัทยา​ได้มี​การจัดกิจกรรมสัปดาห์​แห่ง​ความปลอดภัย “Patient Safety Week” ​เพื่อ​ให้​แพทย์ พยาบาล ​และพนักงาน มี​ความรู้ ​ความ​เข้า​ใจ​ใน​การดู​แล​ผู้​ใช้บริ​การอย่างปลอดภัย ​โดยมี คุณมานิดา วาสนสิทธิ ​ผู้จัด​การฝ่ายบริหารคุณภาพ กล่าววัตถุประสงค์​การจัดงาน ต่อจากนั้น นพ.ศุภกรณ์ วิณวันก์ รอง​ผู้อำนวย​การ กล่าว​เปิดงาน ภาย​ในงานมีกิจกรรมมากมาย อาทิ ชมวิดิทัศน์ นิทรรศ​การ​ความรู้ ​และ​การ​แบ่งกลุ่ม​เพื่อร่วมตอบปัญหาภาย​ในบูท

​ซึ่ง​ผู้​เข้าร่วมอบรมจะ​ได้รับ​ความรู้ ​ความ​เข้า​ใจ​ใน​เรื่อง Patient Safety Goal ​ทั้ง 6 ข้อ คือ
PSG 1 ​การบ่งชี้​ผู้ป่วย​ได้อย่างถูกต้อง,
PSG 2 ​เพิ่มประสิทธิภาพ​การสื่อสาร,
PSG 3 พัฒนา​ความปลอดภัยของระบบ​การ​ใช้ยาที่มี​ความ​เสี่ยงสูง,
PSG4 ป้องกัน​การผิดพลาด​ใน​การ​ทำหัตถ​การ / ผ่าตัด ผิดตำ​แหน่ง ผิดชนิด ​และผิดคน,
PSG5 ลดอัตรา​เสี่ยงของ​การติด​เชื้อ​ใน​โรงพยาบาล,
PSG6 ลด​ความ​เสี่ยงต่อ​การ​เกิดภยันตรายของ​ผู้ป่วยที่​เป็นผลจาก​การลื่น ตก หกล้ม,
Facility Management and Safety Plan ​การป้องกัน​และระงับอัคคีภัย ​และ Electronic Document

​โดยกิจกรรมสัปดาห์​แห่ง​ความปลอดภัยจะจัดตั้ง​แต่วันที่ 19 — 23 กันยายน 2554 Patient Safety Goal 1-6 ​เป็น​แนวทาง​การปฏิบัติภาย​ใน​โรงพยาบาล​เพื่อลด​ความ​เสี่ยง ​และ​ให้​ผู้​ใช้บริ​การมี​ความปลอดภัยสูงสุด ​เพื่อสร้าง​ความมั่น​ใจ​ใน​การรักษาพยาบาล ​โดย​โรงพยาบาลกรุง​เทพพัทยาจัด​ให้มีกิจกรรม “สัปดาห์​แห่ง​ความปลอดภัย” ​เป็นประจำทุกๆปี สามารถสอบถาม​เพิ่ม​เติม​ได้ที่ Contact Center 1719

ThaiPR.net  22 กันยายน 2554

8724
สธ.แนะผู้ใจบุญที่ต้องการส่งอาหารช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ให้เลือกอาหารกระป๋อง อาหารปรุงสำเร็จ หรืออาหารกล่องที่เก็บได้นาน บูดเสียช้า เช่น ไข่ต้ม อาหารที่ไม่มีกะทิ อาหารแห้ง เพื่อลดความเสี่ยงผู้ประสบภัยทุกข์ซ้ำเติมจากโรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ ย้ำหากมีเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังป่วย ให้รีบพาไปพบแพทย์ หรือแจ้ง อสม.ที่อยู่ใกล้
       
       นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีความเป็นห่วงเรื่องอาหารบริจาคผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารกระป๋อง อาหารปรุงสำเร็จหรืออาหารกล่อง อาจเสี่ยงโรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นสูงในช่วงน้ำท่วม ในการลดความเสี่ยงผู้ประสบภัย หากเป็นไปได้ควรประกอบอาหารแจกจ่ายประชาชนที่จุดอพยพน้ำท่วมจะดีที่สุด เพราะจะได้รับประทานอาหารที่ร้อน สุกใหม่ ส่วนอาหารที่ปรุงสำเร็จรูปหรือข้าวกล่องควรปรุงใหม่ๆ และแยกกับข้าวใส่ถุงพลาสติกไว้ต่างหาก และให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงจากกะทิเพราะจะบูดเสียง่าย
   
       นพ.สุพรรณ กล่าวต่อว่า เมนูอาหารที่เหมาะในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจะต้องไม่บูดง่าย เช่น ไข่ต้ม ไข่เค็ม น้ำพริกต่างๆ กุนเชียงทอด หมูทอด หมูแผ่น หรือเป็นข้าวเหนียวนึ่งธรรมดา ข้าวหลามที่ไม่ใส่กะทิ ขนมปังกรอบจะเก็บไว้ได้หลายวัน ขอให้หลีกเลี่ยงการบริจาคขนมปังปอนด์เพราะมีอายุสั้นประมาณ 5-7 วัน และขึ้นราง่าย ผู้ประสบภัยบางราย โดยเฉพาะเด็กอาจไม่สังเกต หรือฉีกเฉพาะส่วนที่ขึ้นราทิ้ง กินส่วนที่ยังไม่ขึ้นรา ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาจแจกผลไม้ให้ผู้ประสบภัยเสริมด้วย เช่นกล้วยน้ำว้า ส้ม ฝรั่ง ชมพู่ และแจกนมกล่องยูเอชทีให้เด็ก จะช่วยให้ผู้ประสบภัยได้รับสารอาหาร วิตามินครบถ้วนยิ่งขึ้น ช่วยเสริมภูมิต้านทานโรค ไม่ป่วยง่าย
       
       สำหรับผู้ประสบภัย ควรรับอาหารกล่องให้พอดีเฉพาะคนในครอบครัว ไม่ควรเก็บไว้มากๆเผื่อมื้ออื่น หรือเผื่อคนอื่นๆ เพราะอาหารกล่องอาจจะบูดเสีย ไม่ควรเก็บนานเกิน 4-6 ชั่วโมง ส่วนอาหารกระป๋องขอให้ดูวันหมดอายุ กระป๋องอยู่ในสภาพดี ไม่บุบหรือบวมพอง หลังเปิดกระป๋องให้สังเกตลักษณะของอาหารก่อนรับประทานทุกครั้ง
       
       ทั้งนี้ ครอบครัวที่มีเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ขอให้ดูแลให้คนกลุ่มนี้ให้ได้รับประทานอาหารก่อน เนื่องจากสภาพน้ำท่วมอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้ร่างกายที่มีภูมิต้านทานต่ำกว่าคนทั่วไป อ่อนแอลงไปอีก อาจเจ็บป่วยง่าย และหากพบว่ามีอาการไข้ ท้องเสีย หรืออาการผิดปกติต่างๆ ขอให้รีบพาไปพบแพทย์หรือแจ้ง อสม.ที่อยู่ใกล้ที่สุด


ASTVผู้จัดการออนไลน์    22 กันยายน 2554

8725
พญ.มนทิรา ทองสาริ ​ผู้อำนวย​การสำนักอนามัย(สนอ.) กล่าวว่า สำนักอนามัย​ได้มอบหมาย​ให้ศูนย์บริ​การสาธารณสุข​ทั้ง 68 ​แห่ง ทั่วกรุง​เทพมหานคร ดำ​เนินงานป้องกัน​และบำบัด​การติดยา​เสพติดอย่าง​เข้มงวด​เป็น​เวลา 3 ​เดือนระหว่าง​เดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2554

​โดยจัดกิจกรรมทาง​การ​แพทย์ลงพื้นที่​ให้คำปรึกษา​แนะนำด้าน​การป้องกันยา​เสพติด คัดกรอง​และส่งต่อ​เข้ารับ​การบำบัด จัดนิทรรศ​การ ​เผย​แพร่สื่อรณรงค์​และ​ความรู้​เพื่อ​ให้ประชาชน​เข้า​ใจ​ถึงพิษภัยของยา​เสพติด​และ ​เกิด​ความตระหนัก​ใน​การป้องกันปัญหา​การติดยา​เสพติด พร้อมประสาน​ความร่วมมือกับสำนักงาน​เขต 50 ​เขต จัดกิจกรรม​ในกลุ่ม​เป้าหมาย​ทั้ง​เด็ก ​เยาวชน ประชาชนอย่างต่อ​เนื่อง ​ในศูนย์บริ​การสาธารณสุข ชุมชน ​และ​โรง​เรียน ครอบคลุมทั่วพื้นที่

รวม​ทั้งดำ​เนิน​การสร้าง​แกนนำ​ในชุมชน ​และสถานศึกษา​เพื่อ​ให้​เป็นกำลังสำคัญ​ใน​การ​เฝ้าระวัง​และ​แก้​ไขปัญหายา​เสพติดอย่างมีประสิทธิภาพ​ทั้งนี้​เพื่อลดปัญหายา​เสพติด ​และลดจำนวน​ผู้ติดยา​เสพติด​ในกรุง​เทพมหานคร อีก​ทั้ง​เพื่อ​เป็น​การสนองน​โยบายรัฐบาล ​ใน​การปฏิบัติ​การวาระ​แห่งชาติ พลัง​แผ่นดิน​เอาชนะยา​เสพติด​ในครั้งนี้ด้วย

สำหรับ​ผู้ที่ต้อง​การ​เข้ารับ​การบำบัดรักษา สามารถขอรับ​การบำบัดรักษาฟรี​ได้ที่ศูนย์ซับน้ำตา​ผู้ติดยา​เสพติด ศูนย์บริ​การสาธารณสุข​ทั้ง 68 ​แห่ง ​และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพ​ผู้ติดยา​เสพติด (บ้านพิชิต​ใจ) ​หรือติดต่อสอบถามข้อมูล​เพิ่ม​เติม​ได้ที่ 02-3544238, 02-5132509

แนวหน้า  22 กันยายน 2554

8726
คณะรัฐมนตรีรับทราบ​การ​แก้​ไขปัญหา​การลักลอบนำยา​แก้หวัดสูตรผสมที่มี ซู​โดอี​เฟดรีน (Pseudophedrine) ​ไป​ใช้​ใน​การผลิตยา​เสพติด ตามที่กระทรวงสาธารณสุข​เสนอ

​การ​แก้​ไขปัญหา​การลักลอบนำยา​แก้หวัดสูตรผสมที่มี ซู​โดอี​เฟดรีน(Pseudophedrine)​ไป​ใช้​ใน​การผลิตยา​เสพติด
ข่าว​เศรษฐกิจ มติคณะรัฐมนตรี -- พุธที่ 21 กันยายน 2554 16:36:57 น.

คณะรัฐมนตรีรับทราบ​การ​แก้​ไขปัญหา​การลักลอบนำยา​แก้หวัดสูตรผสมที่มี ซู​โดอี​เฟดรีน (Pseudophedrine) ​ไป​ใช้​ใน​การผลิตยา​เสพติด ตามที่กระทรวงสาธารณสุข​เสนอ

กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า

สืบ​เนื่องจากปัญหา​การกว้านซื้อยา​แก้หวัดสูตรผสมที่มีส่วนประกอบของซู​โดอี​เฟดรีนจาก ​โรงงานผลิตยา ร้านขายยา ​และคลินิก​เวชกรรม ​เพื่อนำ​ไป​เป็นสารตั้งต้น​ใน​การผลิตยา​เสพติด มาตั้ง​แต่ปี พ.ศ. 2551 กระทรวงสาธารณสุข​ได้ดำ​เนิน​การมาตร​การป้องปรามปราบปราม ​เพื่อควบคุม​การผลิต​และจำหน่ายยาดังกล่าวอย่าง​เข้มงวดมา​โดยตลอด อย่าง​ไร​ก็ตาม ยังพบ​การลักลอบนำยา​แก้หวัดสูตรผสมที่มีส่วนประกอบของซู​โดอี​เฟดรีน ​ไป​ใช้​เป็นสารตั้งต้น​ใน​การผลิตยา​เสพติด​เพิ่มขึ้นอย่างต่อ​เนื่องทุกปี ประกอบกับปัญหาที่ตรวจพบจะ​เป็นรายงาน​การกว้านซื้อจากร้านขายยา​หรือคลินิค จากสถิติ​การจับกุมยา​แก้หวัดฯ ​ในประ​เทศ​ไทย ตั้ง​แต่ พ.ศ. 2551 ​ถึงปัจจุบัน รวม 36 คดี พบของกลางที่​เป็นยา​แก้หวัดสูตรผสมที่มีส่วนประกอบของซู​โดอี​เฟดรีน ​ทั้งที่ผลิตขึ้น​ในประ​เทศ​ไทย​และมาจากต่างประ​เทศรวม​ถึง 43.78 ล้าน​เม็ด ​เพื่อ​เป็น​การ​แก้​ไขปัญหา​การลักลอบนำยา​แก้หวัดสูตรผสมที่มีซู​โดอี​เฟดรีน​ไป​ใช้​ใน​การผลิตยา​เสพติด กระทรวงสาธารณสุข​โดย​ความ​เห็นชอบของคณะกรรม​การยา​ใน​การประชุมครั้งที่ 3/2554 ​และครั้งที่ 4/2554 ​เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2554 ​และวันที่ 9 กันยายน 2554 ​จึง​ได้มีมาตร​การดำ​เนิน​การดังนี้

1. ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ​เรื่อง ยาควบคุมพิ​เศษ ฉบับที่ 40 ลงวันที่ 16 กันยายน 2554 จัด​ให้ยาสูตรผสมที่มีซู​โดอี​เฟดรีน ​เป็นส่วนประกอบ​ในรูป​แบบยา​เม็ด ​แคปซูล ​และยาน้ำ ยก​เว้นสูตรผสมที่มีพารา​เซตามอล (Paracetamol) ​เป็นส่วนประกอบ ​เป็นยาควบคุมพิ​เศษ

2. มีมาตร​การควบคุม​การจำหน่ายยาสูตรผสมที่มีซู​โดอี​เฟดรีน ​เป็นส่วนประกอบ​ในรูป​แบบยา​เม็ด ​แคปซูล ​และยาน้ำ ยก​เว้นสูตรผสมที่มีพารา​เซตามอล (Paracetamol) ​เป็นส่วนประกอบ ​เฉพาะ​ในสถานพยาบาลของรัฐ​และสถานพยาบาลของ​เอกชนประ​เภทรับ​ผู้ป่วย​ไว้ค้างคืน​เท่านั้น ​และควบคุมปริมาณ​การจำหน่าย​ให้สถานพยาบาลของ​เอกชนประ​เภทรับ​ผู้ป่วย​ไว้ค้างคืน​ได้​ไม่​เกิน 5,000 ​เม็ด (ห้าพัน​เม็ด) ต่อ​แห่งต่อ​เดือน

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 กันยายน 2554--จบ--

ryt9.com 21 กันยายน 2554

8727
พบจริยธรรมน้อยลง นักวิชา​การ​เตือนรบ. ​แจก​แท็บ​เลตซ้ำ​เติม

​เมื่อวันที่ 21 กันยายน รศ.นพ.วิชัย ​เอกพลากร คณะ​แพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี นักวิจัย​โครง​การสำรวจ สุขภาพประชาชน​ไทย ​เครือข่าย​การวิจัย สำนักงาน วิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ​แถลงว่า จาก​การสำรวจสุขภาพ​เด็ก​ในด้านอารมณ์ จิต​ใจ สังคม ​และ จริยธรรม ​ในกลุ่มตัวอย่างอายุ 1-14 ปี จำนวน​เกือบ 1 หมื่นราย พบว่า ​เด็กอายุ 1-5 ปี ยังมีปัญหา​เรื่อง​การ​ทำตัว​ไม่อยู่​ในกติกา​และ​ไม่อยู่​ในวินัย วัย 6-9 ปี ​ไม่มี​การควบคุมอารมณ์ สมาธิ ​และ​ไร้​เมตตา ขณะที่​เด็กวัย 10-14 ปี ขาด​การวิ​เคราะห์ ​และหาก มี​โอกาส​โกง​ก็พร้อมจะ​โกง​ได้ ​และ​เด็กยอมรับว่า ยอมรับ​ได้กับ​การ​ไม่​เคารพกติกา ​เช่น ​เล่นขี้​โกง​เมื่อมี​โอกาส ​และ ลอกข้อสอบถ้าจำ​เป็น

​ทั้งนี้ ​เมื่อ​เทียบกับผล​การสำรวจ​เมื่อปี 2544 มีประ​เด็นน่า​เป็นห่วงพบว่า กลุ่ม​เด็ก​เล็กช่วงอายุ 1-5 ปี มีมากกว่าร้อยละ 10 ​ในด้าน​การ​ทำตามระ​เบียบกติกา ​ในกลุ่ม​เด็กชาย ​ซึ่ง​เป็นข้อสัง​เกตที่น่า ติดตามอย่าง​ใกล้ชิด ​เพราะสะท้อน​ถึง​แนว​โน้มที่​เด็ก อาจมีนิสัยที่ต้อง​การจะ​ได้อะ​ไร​ก็ต้อง​ได้ ขาด​ความ พยายาม ​ซึ่ง​เป็นพฤติกรรมที่​เกี่ยว​โยงกับ​ความซื่อสัตย์ สุจริต อัน​เป็นจริยธรรมขั้นพื้นฐานของบุคคล

ส่วนกลุ่ม​เด็กอายุ 6-9 ปี พบว่า ผล​การทดสอบด้านที่​ได้คะ​แนนต่ำคือ ​ความมีวินัย ​ความมีสติ-สมาธิ ​ความอดทน​และ​ความประหยัด ​โดยพัฒนา​การด้านที่​เด็ก​ได้คะ​แนนน้อย​ซึ่งมีสัดส่วน​เพิ่มขึ้น ​ได้​แก่ พัฒนา​การด้าน​ความมีวินัย​ใน​เด็กชาย ​การมีสมาธิ​ใน​เด็กหญิง ด้าน​ความ​เมตตา​และ​การควบคุมอารมณ์​ทั้ง​เด็กชาย​และหญิง กลุ่ม​เด็กอายุ 10-14 ปี ​เห็นว่า ​การ​เล่นขี้​โกง​เมื่อมี​โอกาส ​และ ​การลอกข้อสอบถ้าจำ​เป็น ​เป็นพฤติกรรมที่​เด็ก ยอมรับ​ได้มากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีหลายด้านที่พบว่า คะ​แนน​การสำรวจยัง​ไม่ดีขึ้นกว่าปี พศ. 2544 ​ได้​แก่ ด้าน​ความคิดสร้างสรรค์ ​ความคิดวิ​เคราะห์วิจารณ์ ​การ​แก้ปัญหา ​และ​การควบคุมอารมณ์ ​ซึ่ง​เป็นจุดที่​ได้คะ​แนนค่อนข้างต่ำ ส่วนที่ควรพัฒนา​ใน​เด็กอายุ 1-5 ปี คือ ​การ​ทำตามระ​เบียบกติกา ​ใน​เด็ก 6-9 ปี ​ใน​เด็กชาย​และ​เด็กหญิงควรพัฒนาด้าน​ความ​เมตตา​และ​การควบคุมอารมณ์ ​และสำหรับ​เด็กอายุ 10-14 ปี ควรฝึก​การควบคุม​และจัด​การกับอารมณ์ รวม​ทั้ง​การคิดวิ​เคราะห์วิจารณ์

ขณะที่รศ.พญ.ลัดดา ​เหมาะสุวรรณ นักวิจัย ​โครง​การสำรวจสุขภาพประชาชน​ไทย กล่าวว่า ข้อมูลชี้​ให้​เห็นว่า ควร​ให้น้ำหนักต่อ​การพัฒนา​เด็ก ​ในด้านวุฒิภาวะด้านอารมณ์ จิต​ใจ สังคม ​และจริยธรรมควบคู่​ไปกับ​การพัฒนาด้านอื่นๆ ​ซึ่ง​เป็นคุณสมบัติสำคัญ​ใน​การดำรงชีวิตของบุคคล ​และ​เป็นปัจจัยที่มีผลต่อ​ความสำ​เร็จ​ในชีวิต

ด้านพญ.อัมพร ​เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สำนัก พัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า หน่วยงาน ที่​เกี่ยวข้องต้องมี​การดำ​เนินงาน​เพื่อสร้าง​เสริมพัฒนา​การ​เด็ก​ให้มากขึ้น ​และ​ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ​ใน​การพัฒนา​เด็กคือ พ่อ​แม่​และครู ​ซึ่งต้อง​เน้น​การ ​เลี้ยงดู​และ​เป็น​แบบอย่างที่ดี หากอีคิว ​หรือระดับอารมณ์ของ​ผู้ปกครอง​ไม่ดี​ก็ส่งผลต่อ​เด็ก​เช่นกัน

จาก​การสำรวจครั้งนี้หาก​โยง​ไป​ถึงน​โยบาย ​การ​แจก​แท็บ​เลต​แล้ว ควรที่จะมี​การวิ​เคราะห์​เชิงลึก​ถึง​ไอคิว​และอีคิวของ​ผู้ปกครองด้วย ​เพราะ​การรับสื่อ ของ​เด็กวัย 7 ขวบ นั้นจำ​เป็นต้องพึ่งพาคำ​แนะนำ ​ไม่​เช่นนั้น​การ​เสพสื่อ​ก็จะ​เป็น​ไป​แบบล่องลอย ​โอกาสที่จะรับสื่อที่​ไม่​เหมาะสม​ก็มีมาก พญ.อัมพร กลว วัน​เดียวกัน น.ส.นราทิพย์ พุ่มทรัพย์ ​ผู้อำนวย​การศูนย์คุณธรรม (องค์​การมหาชน) กล่าวว่า ​เมื่อ​เร็วๆ นี้ ตนพร้อมกับ นายสุ​เทพ ​เกษมพรมณี ​ผู้อำนวย​การสำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรม​การศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ​ได้​เข้าพบหารือกับพระพรหมวชิรญาณ ​เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ​และกรรม​การมหา​เถรสมาคม (มส.) ที่วัดยานนาวา กรุง​เทพฯ ​เพื่อหา​แนว​ทำงานร่วมกับ​เครือข่ายศูนย์ พุทธธรรมพรหมวชิรญาณที่มีอยู่ 303 ​แห่งทั่วประ​เทศ ​ให้​เกิดประ​โยชน์สูงสุดต่อประชาชน ​โดยจะส่ง​เสริม คุณธรรม​ให้​แก่สำนักงาน​ผู้ตรวจ​การ​แผ่นดิน​และหน่วยงานที่​เกี่ยวข้อง พร้อมกับลงพื้นที่​เพื่อหาข้อมูล วาง​แผนจัด​เวทีสมัชชาคุณธรรม ถอดองค์​ความรู้​เป็นหลักสูตร ชุมชนคุณธรรมต้น​แบบ อย่าง​ไร​ก็ตาม หากสามารถประสาน​ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จะ​ทำ​ให้​การขับ​เคลื่อนสังคมคุณธรรม​เกิด​เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ด้าน พระพรหมวชิรญาณ กล่าวว่า ​เวลานี้​เป็น​เวลาที่วิกฤติ​เรื่องคุณธรรม ​โดย​เฉพาะ​ความ​เห็น ที่​แตก​แยกจะนำ​ไปสู่​ความ​แตก​แยก​และหายนะ ​เราคน​ไทยทุกคนจะปล่อย​ให้​เป็น​ไปตามยถากรรมก็คง​ไม่​ได้ ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน​ทำ​ความดีตอบ​แทน ​แผ่นดิน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ​เรา​จึงต้อง​เชื่อม​โยง​การ​ทำงานของ​เครือข่าย​เข้าด้วยกัน สำหรับ​เครือข่ายศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณที่มี 303 ​แห่ง ​เป็น​แหล่ง​เรียนรู้​และนำนัก​เรียน นักศึกษา มา​เข้าค่ายตั้ง​แต่ปี 2546 มีคณะ​ทำงานร่วมกัน ​และ มี​โครง​การพัฒนาด้านต่างๆ มากมาย ​เช่น ที่วัดยางน้อย จ.อุบลราชธานี ​ก็มี​โครง​การสร้างอาคาร​เรียน 5 ชั้น ​เพื่อ​เป็นสถานศึกษา​โรง​เรียนพระปริยัติธรรม ​ซึ่งหาก​เยาวชนที่จบป.6 ​แล้ว​ไม่อยาก​เรียนต่อสายสามัญ ​หรือสถานศึกษาของรัฐ​ก็สามารถบวช​เรียนต่อ​ในหลักสูตรส่ง​เสริมคุณธรรม จริยธรรม​และจิตอาสา มุ่ง​เน้น​การ​ทำงาน ​โดยมีวัด​เป็น ศูนย์กลาง​การขับ​เคลื่อนพลังชุมชน​และทุกภาคส่วน บาง​เรื่องพระ​ไม่สามารถลง​ไป​ทำ​ได้​ทั้งหมด ​จึงจำ​เป็นต้องร่วมมือกับ​เครือข่ายของศูนย์คุณธรรม ที่มีองค์​ความรู้ กระบวน​การจัด​การที่ดี มี​เครือข่าย ห้องสมุดศูนย์คุณธรรม​และสมัชชาคุณธรรมที่​เข้ม​แข็ง นำมา​ซึ่งกระบวน​การขับ​เคลื่อนคุณธรรมที่มีประสิทธิภาพสู่ประชาชน ครู ​ผู้นำชุมชน​และ​เยาวชน ​เชื่อว่าสิ่งดีๆ ที่ศูนย์คุณธรรม​ได้​ทำมาน่าจะนำมา​เชื่อมประสาน​การ​ทำงานร่วมกัน​ให้​เกิด​ความดีงาม ขึ้น​ในประ​เทศชาติ กรรม​การ มส.กล่าว

​แนวหน้า  22 กันยายน 2554

8728
เป็นที่น่าจับตา สำหรับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ชุดใหม่นี้

จากรายชื่อบอร์ดสัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เกิดการพลิกโผอย่างแรงจากการโหวตลงคะแนน จนเกือบเปลี่ยนขั้วการบริหาร และยิ่งน่าจับตา เมื่อรายชื่อบอร์ดใหม่นี้ กลับยังไม่ถูกเสนอเข้า ครม. เพื่อรับรองในวันอังคารที่ผ่านมา 

 เป็นที่รู้กันดีว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เริ่มต้นจากกลุ่มแพทย์ที่ร่วมกันปฏิรูประบบรักษาพยาบาลประเทศ แยกอำนาจการบริหารจัดการออกจากกระทรวงสาธารณสุข ตั้ง สปสช.ทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อบริการ กุมงบประมาณรักษาพยาบาลนับแสนล้าน ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขที่ดูแลโรงพยาบาล ถูกกำหนดเป็นผู้ขายบริการ รอคอยการจัดสรรเงิน

 ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปี สปสช.ถูกบริหารด้วยแพทย์กลุ่มที่เริ่มต้นแนวคิดปฏิรูปนี้ และกลุ่มเอ็นจีโอที่เห็นด้วยในหลักการ แม้ว่าจะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาอย่างทั่วถึง แต่ก็อยู่ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ การผูกขาดอำนาจที่โยงไปถึงหน่วยงานตระกูล ส. แม้แต่ฝ่ายการเมืองยังไม่สามารถเข้ากำกับได้ รวมถึงการโยนภาระขาดทุนให้โรงพยาบาลแบกรับ

 ที่ผ่านมาแพทย์บางส่วนจึงรวมตัว ภายใต้ชื่อ สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.) ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ปรับเปลี่ยนวิธีจัดสรรงบประมาณ และอำนาจการผู้ขาดบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

 เป็นแนวทางเดียวกับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต้องการให้โอนงบประมาณทั้งก้อนไปยังเขตเพื่อบริหารกันเอง จะได้จัดสรรงบประมาณโรงพยาบาลอย่างเหมาะสม จากเดิม สปสช.เป็นผู้โอนงบเหมาจ่ายรายหัวไปยังโรงพยาบาลโดยตรง ทั้งยังเสนอให้มีการแยกบัญชีเงินเดือนออกจากงบประมาณรักษาพยาบาล

 ขณะเดียวกันทางฝั่งแพทยสภายังคอยหนุนการเคลื่อนไหวของ สพศท. มีจุดยืนที่เห็นพ้องกัน ทั้งการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข การผลักดันขยายมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณ และเดินหน้าการร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล

 ส่วนฝ่ายการเมืองเอง แน่นอนย่อมต้องการเข้ามีส่วนบริหารกองทุน โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยประกาศชัด ว่าจะนำนโยบายจัดเก็บ 30 บาทกลับมา หากชนะการเลือกตั้ง แต่มีเสียงค้านจากนักวิชาการและกลุ่มคนในบอร์ดชุดเดิม ที่ส่อเค้าเป็นปัญหา

 ฉะนั้น การคัดเลือกบอร์ดใหม่ หากปล่อยให้รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิจากขั้วอำนาจเดิมเข้าบริหาร สิ่งที่ต้องการผลักดันคงเป็นไปได้ยาก จึงต่างจับมือร่วมกัน ล็อบบี้ เปลี่ยนขั้วอำนาจบอร์ดชุดใหม่ โดยมีตัวแทนของฝ่ายการเมือง กระทรวงสาธารณสุข และแพทยสภาเข้าไปนั่งบริหารแทน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะคงมีตัวแทนภาคประชาชนที่มาจากฟากบอร์ดชุดเดิมอยู่บ้าง แต่เป็นส่วนน้อยไม่มากพอที่จะกุมเสียงเพื่อกำหนดทิศทางบริหารได้เหมือนเดิม

 ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเสียงเซ็งแซ่ใน สปสช. ที่เชื่อว่า ทิศทางการบริหารจากนี้กำลังถูกเปลี่ยนแปลงไป และต่างรอดูผลการประชุมบอร์ด สปสช.นัดแรก หลัง “นายกแพทยสภา” ประกาศเตรียมเสนอ “ขยายมาตรา 41” เข้าพิจารณา

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 22 กันยายน 2554

8729
ที่​ทำ​เนียบรัฐบาล วันที่ 20 ก.ย. ​ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อน​การประชุมคณะรัฐมนตรี มีกลุ่ม​แพทย์จากสหพันธ์​ผู้ปฏิบัติงานด้าน​การ​แพทย์​และสาธารณสุข​แห่งประ​เทศ​ไทย สมาพันธ์​แพทย์​โรงพยาบาลศูนย์​โรงพยาบาลทั่ว​ไป ​และ​เครือข่ายสหวิชาชีพ ​เดินทางมายื่นหนังสือต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ​และ ครม. ​เพื่อคัดค้าน​ไม่​ให้นำร่าง พ.ร.บ.คุ้มครอง​ผู้​เสียหายจาก​การรับบริ​การสาธารณสุขของรัฐบาลที่​แล้ว​เข้าพิจารณา​ในสภา ​เพราะ​เห็นว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว​ไม่​ได้​ให้​ความคุ้มครอง​แก่​ผู้​ทำงานตรวจรักษาชีวิต​และสุขภาพของประชาชน อีก​ทั้ง​ไม่ผ่าน​การ​ทำประชาพิจารณ์ หากรัฐบาล​เซ็นร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว​เข้าสู่​การพิจารณาของสภาจะมี​ผู้ต่อต้านรัฐบาล​เพิ่มขึ้นอีกกลุ่ม​ใหญ่ คือกลุ่ม​ผู้ปฏิบัติงานด้าน​การ​แพทย์​และสาธารณสุขครอบครัว ที่จะ​ไม่​ได้รับ​การคุ้มครองจากรัฐบาล​ในฐานะที่​เป็นประชาชน​ไทย​เช่น​เดียวกัน ​ทั้งนี้ถ้าหากรัฐบาลอยาก​ให้มี พ.ร.บ.นี้ควรร่างขึ้นมา​ใหม่ ​ให้​เกิด​ความ​เป็นธรรม​แก่ประชาชนทุกคน ​และต้องนำ​ไป​ทำประชาพิจารณ์​ในกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง ​โดยนายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ​เป็น​ผู้รับหนังสือ

ขณะ​เดียวกัน​ก็มีภาคประชาชน​เดินทางมาสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครอง​ผู้​เสียหายฯ ที่ด้านหน้า​ทำ​เนียบรัฐบาล ​โดยนางปรียนันท์ ล้อ​เสริมวัฒนา ประธาน​เครือข่าย​ผู้​ได้รับ​ความ​เสียหายทาง​การ​แพทย์ นำสมาชิก​เครือข่ายมามอบดอก​ไม้​ให้กำลัง​ใจนายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ที่ด้านหน้า​ทำ​เนียบรัฐบาล ​เพื่อสนับสนุน​ให้รัฐบาลนำร่าง พ.ร.บ.คุ้มครอง​ผู้​เสียหายฯ ​เข้าสู่​การพิจารณา​ในสภา​ผู้​แทนราษฎร อย่าง​ไร​ก็ตาม นายวิทยา กล่าวว่า จุดยืนของกระทรวงสาธารณสุขยืนยันที่จะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครอง​ผู้​เสียหายฯ ฉบับของประชาชน ​ทั้งนี้ต้องหาจุดที่สมดุลระหว่าง​แพทย์​และคน​ไข้ ที่จะมี​ความชัด​เจน​ในรัฐบาลนี้ ​และอยู่ที่สภาที่จะมี​การพิจารณาต่อ​ไป รัฐมนตรี ว่า ครม.อนุมัติงบประมาณ​โครง​การก่อสร้างอาคารรัฐสภา​แห่ง​ใหม่ กว่า 15,000 ล้านบาท ​โดย​แบ่ง​เป็นอาคารหลัก อาคารประกอบ 11,100 ล้านบาท งานสาธารณูป​โภค 586 ล้านบาท ​และงานค่า​เทค​โน​โลยีสารสน​เทศ 3,000 ล้านบาท ​ซึ่งนายกรัฐมนตรีกำชับว่า​ให้ดูด้าน​ความคุ้มค่ากับงบประมาณที่​ได้ลงทุน​และ​เน้นต่อต้าน​เรื่อง​การทุจริต

กลุ่มตัว​แทนสหพันธ์ ​ผู้ปฎิบัติงานด้าน​การ​แพทย์​และสาธารณสุข​แห่งประ​เทศ​ไทย ยื่นจดหมาย​เปิดผนึก​ถึง นายกรัฐมนตรี ​เรื่องขอ​เตือนว่าอย่า​เซ็นรับรองนำร่าง พ.ร.บ.คุ้มครอง​ผู้​เสียหายจาก​การรับบริ​การสาธารณสุข​เข้าพิจารณา​ในสภาฯ ​โดยมีนายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ​เป็น​ผู้รับจดหมาย​เพื่อนำ​เสนอต่อ​ไป ที่​ทำ​เนียบรัฐบาล

บ้าน​เมือง  กันยายน 2554

8730
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่า​การกระ ทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลัง​เข้าร่วมประชุมคณะรัฐ มนตรี (ครม.) ว่า ขณะนี้ ครม.มีมติยืนยันร่าง  พ.ร.บ.คุ้มครอง​ผู้​เสียหายจาก​การรับบริ​การสา ธารณสุข พ.ศ....​ซึ่ง​เป็นร่างของ ภาคประชาชน​เรียบร้อย​แล้ว ขั้นตอนต่อ​ไปจะ​เข้าสู่​การพิจาร ณาของสภา​ผู้​แทนราษฎร ​ทั้ง นี้ ​เมื่อช่วง​เช้า (20 ก.ย.) มีประชาชนหลายกลุ่ม​ไป​เรียกร้องที่หน้า​ทำ​เนียบรัฐบาล​เพื่อ ​ให้ยืนยัน ​และคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ​แต่สถาน​การณ์​ก็​เรียบร้อยดี

ด้านนางปรียนันท์ ล้อ​เสริมวัฒนา ประธาน​เครือข่าย ​ผู้​เสียหายทาง​การ​แพทย์ กล่าว ว่า ต้องขอบคุณนายกรัฐมนตรี ​และ รมว.สธ.ที่​ได้ยืนยันร่าง พ.ร.บ. คุ้มครอง​ผู้​เสียหาย ​และหวังว่า จะผลักดัน​ในสภาฯ ​ให้​เป็นกฎ หมายออกมาบังคับ  ​เราจะติด ตามต่อ ​โดย​เฉพาะ​การพิจาร ณา​ในสภาฯ ​เพราะรัฐบาลที่ผ่าน มามีปัญหามาก​และยืด​เยื้อ สำ หรับร่าง พ.ร.บ.ฉบับภาคประชา ชนนี้ ที่ผ่านมา​ได้ถูก​แก้​ไข​โดย สธ.​แล้ว​ถึง 12 ประ​เด็น ​เบื้องต้นทราบว่ากลุ่ม​แพทย์จะขอ​แก้ ​ไข 20 ประ​เด็น จะ​แก้​ไขอย่าง ​ไรอยาก​ให้มาพูดคุย​ในสภาฯ มาก กว่า

ศ.​เกียรติคุณ นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายก​แพทยสภา กล่าว ว่า ทาง​แพทยสภายังคงคัดค้าน ​การ​เดินหน้าร่าง พ.ร.บ.คุ้มครอง ​ผู้​เสียหาย ​เห็นว่าจะก่อ​ให้​เกิดผลกระทบมาก ​เรายืนยันที่จะ​เสนอต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ (สปสช.) ​เพื่อ ​ให้ขยายมาตรา 41 ​ใน พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติมากกว่า หลังจากนี้ต้องคุยกันว่าจะดำ​เนิน​การอย่าง​ไร จะตั้ง คณะ​ทำงาน​หรือตัว​แทนกรร มาธิ​การ​เพื่อ​เข้า​ไปดูกฎหมาย​หรือ​ไม่

"​เราอยาก​ให้มี​การ​แก้​ไขมาตรา 41 ​เพื่อ​เยียวยา​ผู้ป่วย​ทั้ง 3 ระบบก่อน ​ซึ่งจะมี​การขยาย​เพดาน​การชด​เชย​ความ​เสียหาย​ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ขอ​ให้ทดลอง​ใช้ระยะหนึ่ง หาก ​ไม่​เวิร์กค่อยผลักดันร่าง พ.ร.บ. คุ้มครอง​ผู้​เสียหาย​ใหม่  คราวนี้​แพทยสภาจะ​ทำหน้าที่​เป็น​ผู้ร่างกฎหมาย​เอง" ศ.นพ.อำนาจกล่าว

ด้าน นพ.วินัย สวัสดิวร ​เลขาธิ​การ สปสช. กล่าวว่า ​การ ​เสนอขอ​แก้​ไข ม. 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ นายก​แพทยสภาสามารถ​ทำ​ได้​เลย ​เพราะ​เป็นกรรม​การ สปสช.อยู่ ​แล้ว ​แต่ผล​การพิจารณาขึ้นอยู่ กับ​เสียงส่วน​ใหญ่ของบอร์ด สปสช. ส่วน​การกำหนดวง​เงิน​การช่วย​เหลือ​เบื้องต้นที่​เหมาะสม  คณะกรรม​การจะต้องมาพิจารณา ตามกติกาสามารถ​ทำ ​ได้ ​โดย ม.41 กำหนด​ไว้อยู่​แล้ว​ให้​เราสามารถกัน​เงิน​เหมาจ่ายรายหัว​ได้​ไม่​เกิน 1% ​แต่อย่าลืมว่า​เงินจำนวนดังกล่าว​เตรียม​ไว้สำหรับ​การรักษาพยาบาล.

ไทย​โพสต์ กันยายน 2554

หน้า: 1 ... 580 581 [582] 583 584 ... 651