ผู้เขียน หัวข้อ: แพทย์ด่านหน้า โควิด-19 เริ่มจะไม่ไหว วอนยอมรับความจริง ล็อกดาวน์  (อ่าน 294 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9768
    • ดูรายละเอียด
ฝากถึงผู้เกี่ยวข้อง แพทย์ด่านหน้า โควิด-19 ชี้ สถานการณ์แย่มากๆ เริ่มจะไม่ไหว วอนทุกคนเข้าใจยอมรับความจริง ล็อกดาวน์ เพราะเกินศักยภาพที่เหมาะสมในการดูแลผู้ป่วยแล้ว

23 เมษายน 2564 พล.อ.ท.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เผยสถานการณ์ โควิด-19 ตอนนี้ แย่มากๆ อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ทั้งผู้ป่วย โควิด-19 และผู้ป่วยอาการหนักจากโรคอื่นๆ แม้จะมีการขยายเตียง เปิดโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติม แต่จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพิ่มขึ้นเลย งานล้นมือมากๆ เหนื่อยแทบจะหมดแรง ทำงานไม่มีวันหยุด ทุกคนพยายามดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่ แต่ก็เริ่มจะไม่ไหว ขณะที่ผู้ป่วยเพิ่มวันละ 1,000 - 2,000 คน แบบนี้อีกไม่นาน รพ.สนาม ก็จะเต็ม คงต้องยอมรับความจริงว่า เราอาจจะไม่สามารถรับผู้ป่วย โควิด-19 ไว้ในโรงพยาบาล รพ.สนาม หรือ hospitel ได้หมด คงต้องให้กักตัวที่บ้านเหมือนที่หลายๆ ประเทศทำกัน วอนทุกคน ล็อกดาวน์ ตัวเองด้วยการอยู่บ้าน เว้นระยะห่าง ล้างมือ สวมหน้ากากอย่างถูกต้อง เพราะถ้าท่านป่วยด้วย โควิด-19 ท่านอาจจะไม่ได้รับการดูแลรักษาได้อย่างเต็มที่ เพราะตอนนี้การดูแลผู้ป่วย โควิด-19 เกินศักยภาพที่เหมาะสมของบุคลากรของโรงพยาบาลต่างๆ ในการดูแลผู้ป่วยแล้วครับ

พล.อ.ท.อนุตตร ระบุ ไม่ได้เขียนเรื่องสถานการณ์ โควิด-19 มานาน แต่ตอนนี้สถานการณ์มันแย่มากๆ ไม่อยากพูดถึงสาเหตุหรือสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมา แต่ขอรวบรวมสิ่งที่น้องๆ สมาชิกราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ที่ทำงานเป็นด่านหน้าดูแลผู้ป่วย โควิด-19 มาสื่อสารถึงทุกๆ ท่านที่เกี่ยวข้องครับ

ตอนนี้ เตียงที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่เตรียมไว้สำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ล้นแล้ว ต้องปรับใช้เตียงสำหรับผู้ป่วยทั่วไปมาเป็นเตียงดูแลผู้ป่วย โควิด-19 ทำให้ตอนนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการดูแลในห้อง negative pressure บางครั้งผู้ป่วยชายหญิงอาจต้องอยู่รวมในห้องเดียวกัน

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อรอบนี้เกิดปอดบวมเร็วและมาก ทำให้ผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจจำนวนมาก เกินกว่าจำนวนเตียง ICU ที่มีอยู่ ผู้ป่วยบางรายจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจใน ward ธรรมดา ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ทั้งผู้ป่วย โควิด-19 และผู้ป่วยอาการหนักจากโรคอื่นๆ

ในโรงพยาบาลที่มีอายุรแพทย์โรคติดเชื้อ อายุรแพทย์โรคปอดและเวชบำบัดวิกฤติ ซึ่งมีจำนวนน้อยอยู่แล้ว ตอนนี้งานล้นมือมากๆ เหนื่อยแทบจะหมดแรง ทำงานไม่มีวันหยุด ทุกคนพยายามดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่ แต่ก็เริ่มจะไม่ไหว ต้องให้อายุรแพทย์ทั่วไปและอายุรแพทย์ด้านอื่นๆ ดูแลผู้ป่วย โควิด-19 ด้วย แบบเดียวกับโรงพยาบาลที่ไม่มีอายุรแพทย์โรคติดเชื้อ อายุรแพทย์โรคปอดและเวชบำบัดวิกฤติ ที่อายุรแพทย์ทั่วไปดูแลผู้ป่วย โควิด-19

มีอายุรแพทย์และแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์จำนวนมากที่เป็น โควิด-19 ถึงแม้จะป้องกันเต็มที่ แต่ก็ยังเจอผู้ป่วยที่ปิดบังประวัติความเสี่ยงของตนเองอยู่เรื่อยๆ ทำให้ผู้เกี่ยวข้องต้องถูกกักตัว อายุรแพทย์ที่เหลือต้องทำงานกันหนักขึ้น

รัฐบาลเพิ่งให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับการฉีดวัคซีนกันถ้วนหน้าเมื่อไม่กี่วันนี้ ทำให้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับเพียงแค่เข็มแรก ซึ่งยังไม่มีผลในการป้องกันโรคได้ในขณะนี้ พวกเราจึงยังคงมีความเสี่ยงอยู่

การขยายเตียง เปิดโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติม แต่จำนวนบุคลากรไม่เพิ่มขึ้นเลย ถ้าผู้ป่วยเพิ่มวันละ 1,000 - 2,000 แบบนี้อีกไม่นาน รพ.สนาม ก็จะเต็ม คงต้องยอมรับความจริงว่า เราอาจจะไม่สามารถรับผู้ป่วย โควิด-19 ไว้ในโรงพยาบาล รพ.สนาม หรือ hospitel ได้หมด คงต้องให้กักตัวที่บ้านเหมือนที่หลายๆ ประเทศทำกัน

"ฝากข้อมูลนี้ให้ทุกๆ คนทราบด้วยครับ บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนทำงานอย่างหนัก ไม่ใช่เพียงรักษาผู้ป่วยโควิดเท่านั้น แต่ยังคงต้องรักษาผู้ป่วยโรคอื่นๆ ด้วย ตอนนี้ถึงแม้รัฐบาลจะยังไม่ได้ประกาศ lock down แม้ว่าสถานการณ์จะย่ำแย่กว่าการระบาดระลอกแรกมาก ด้วยเหตุผลด้านเศรษฐกิจ จึงอยากให้ทุกคน lock down ตัวเอง ด้วยการอยู่บ้าน เว้นระยะห่าง ล้างมือ สวมหน้ากากอย่างถูกต้อง เพราะถ้าท่านป่วยด้วย โควิด-19 ท่านอาจจะไม่ได้รับการดูแลรักษาได้อย่างเต็มที่ เพราะตอนนี้การดูแลผู้ป่วย โควิด-19 เกินศักยภาพที่เหมาะสมของบุคลากรของโรงพยาบาลต่างๆ ในการดูแลผู้ป่วยแล้วครับ" ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุ

23 เมษายน 2564
https://www.komchadluek.net/news/regional/464640