ผู้เขียน หัวข้อ: ปูด! อภ.เล็งขายยาหัวใจหมดอายุให้ สปสช.  (อ่าน 1060 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   22 เมษายน 2556 18:25 น.   

   


       ตื่น! องค์การเภสัชฯ เล็งขายยาโรคหัวใจใกล้หมดอายุให้ สปสช.“หมอประดิษฐ” แจงแพ็กเกจชำรุดจึงส่งคืนให้บริษัท ไม่มีการเอาไปขายหรือบริจาคตามข่าวแต่อย่างใด ระบุที่เก็บไว้นานไม่ขาย เพราะซื้อมาแบบผิดกติกาซีแอล


ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

       วันนี้ (22 เม.ย.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกระแสข่าวองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เตรียมขายยาใกล้หมดอายุให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่า ขณะนี้มีความกังวลถึงการจัดซื้อและการกระจายยาของ อภ.โดยเฉพาะเรื่องยาโคลพิโดเกรล (clopidogrel) หรือยาโรคหัวใจ ซึ่งมีการจัดซื้อในรูปแบบการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยา (ซีแอล) โดย อภ.นำเข้าจากบริษัทในประเทศอินเดีย แต่จากการตรวจสอบคุณภาพตามหลักเกณฑ์พบว่า ไม่ผ่านคุณภาพจำนวนหนึ่ง จึงต้องมีการระงับใช้และเปลี่ยนซื้อยาอีกบริษัท ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะ แต่ระหว่างที่รอนั้นมีการระบุว่ามีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าวเดือนละ 1 ล้านเม็ด จึงมีการไปซื้อยาจากบริษัทอีกแห่งที่มีการผลิตอยู่แล้วในประเทศไทย ซึ่งเมื่อซื้อเข้ามาแล้วถูกบริษัทยาต้นฉบับขู่ว่าจะฟ้อง เพราะว่าทำผิดกฎซีแอล เนื่องจากหลักการซีแอลต้องผลิตยาตามยาต้นแบบที่หมดสิทธิบัตร แต่ อภ.กลับไปซื้อยาคนละรูปแบบ ไม่เหมือนยาต้นตำรับ แสดงว่ามีทางเลือกซึ่งถือว่าผิดหลักซีแอล
       
       “ด้วยเหตุนี้ อภ.จึงไม่กล้าขายต้องเก็บรักษาไว้ จนเมื่อยาใกล้หมดอายุ และมีการเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) ว่านำไปขายดีหรือไม่ แต่บอร์ด อภ.ไม่เห็นด้วย โดยในปีนี้มีการนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาบอร์ด อภ.อีกครั้งว่า ยาดังกล่าวใกล้หมดอายุ จึงขอว่าจะบริจาคให้สปสช. แต่บอร์ดมีมติให้ไปขายตามสภาพ อย่างไรก็ตาม ได้รับรายงานจาก นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผอ.อภ.แจ้งว่า ขอคืนยาดังกล่าวหมดแล้ว เนื่องจากแพ็กเกจชำรุดเท่ากับไม่มีการเอาไปขาย เอาไปบริจาค” รมว.สาธารณสุข กล่าว
       
       ด้าน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี ประธานบอร์ด อภ.กล่าวว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้รับรายงานจาก นพ.วิทิต ว่า มีการประสานไปกับบริษัทที่นำเข้ายาดังกล่าว โดยจะขอเปลี่ยนยาใหม่ เนื่องจากพบปัญหาตรงตัวบรรจุภัณฑ์ ซึ่งบริษัทก็ยินยอม เรื่องนี้จึงไม่ต้องกังวล เพราะยังไม่มีการกระจายยาไปยังโรงพยาบาล หรือให้ผู้ป่วยใช้แต่อย่างไร และจะมีการเปลี่ยนยาใหม่ด้วย
       
       สำหรับยาโคลพิโดเกรล เป็นยาในข้อตกลงการทำซีแอล ซึ่งเป็นยาที่หมดสิทธิบัตรแล้ว และอนุญาตให้สามารถใช้ยาชื่อสามัญหรือยาเลียนแบบที่มีคุณภาพเทียบเท่าได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ อภ.ได้สั่งซื้อมาจากอินเดีย แต่จากการตรวจสอบพบว่า ไม่ได้คุณภาพจำนวน 1 ล็อต จึงระงับการนำเข้า และไปซื้อยาชื่อสามัญจากบริษัทในประเทศไทยที่นำเข้ามาจากแคนาดา แต่เป็นคนละรูปแบบกับยาที่ทำข้อตกลงซีแอล ทำให้กังวลว่าจะผิดกติกา จึงไม่กล้านำยาดังกล่าวออกมาจำหน่ายกระทั่งใกล้จะหมดอายุภายในสิ้นปี 2556 จึงมีการหารือว่าจะดำเนินการอย่างไร