ผู้เขียน หัวข้อ: กมธ.การแรงงานฯ ร่วมตัวแทนแพทย์ปฏิบัติงานฯติดตามโรดแมป สธ.แก้ปัญหาชั่วโมงการทำงาน  (อ่าน 146 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
กมธ.การแรงงานฯ ร่วมสมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน และ Nurses Connect  ติดตามการแก้ปัญหาชั่วโมงการทำงานของแพทย์  ด้าน สธ. เผยมีรพ.ที่แพทย์ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการมากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จำนวน 65 แห่ง จาก 117 แห่งที่เป็นสถาบันฝึกเพิ่มพูนทักษะ พร้อมระบุโรดแมปกำหนด รพ.ไหนมีชั่วโมงการทำงานหมอมากกว่า 64 ชม./สัปดาห์ให้เร่งแก้ไขภายใน 3 เดือน ล่าสุดสมาพันธ์ฯ เตรียมประสานชมรมอื่นๆ ร่วมกันเรียกร้องสิทธิคนทำงานสาธารณสุข

จากกรณีคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร(กมธ.การแรงงานฯ) พร้อมด้วยสมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน   เข้าหารือร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา เพื่อขอความเป็นธรรมชั่วโมงการทำงานของแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์เพิ่มพูนทักษะปีแรก หรือแพทย์อินเทิร์นปี 1 ที่มีภาระงานมากกว่า 100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ควงเวรติดต่อกันไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้า และส่วนหนึ่งลาออกจากระบบราชการ  โดยที่ผ่านมา ผู้บริหารสธ.มีแผนแก้ปัญหา และทางกมธ.การแรงงานฯ ระบุว่าจะขอติดตามในอีก 3 เดือนนั้น

เมื่อวันที่ 17 มกราคม  พญ.ชุตินาถ ชินอุดมพร ผู้แทนสมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน  กล่าวว่า  ทางคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาฯ และทางสมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งเครือข่ายพยาบาล Nurses Connect ได้ทำหนังสือประสานเข้าพบผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เพื่อติดตามแนวทางการแก้ปัญหาชั่วโมงการทำงานของแพทย์ ซึ่งในวันนี้(17 ม.ค.) ไม่ได้หารือร่วมกับ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดสธ.เหมือนครั้งก่อน ทราบว่าติดประชุม รวมถึงผู้บริหารระดับสูงท่านอื่นๆก็ติดภารกิจเช่นกัน  ดังนั้น การหารือครั้งนี้ จึงเน้นในเรื่องแจ้งแผนการแก้ไขปัญหา โดยกำหนดเป็นแนวทางว่า  โรงพยาบาลที่มีบุคลากร แพทย์ ที่ทำงานนอกเวลาราชการเกินเวลา 64 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีจำนวนเท่าไหร่ และโรดแมปแก้ไขจะให้ทำงานไม่เกินเท่าไหร่ เป็นต้น

“วันนี้เป็นการแจ้งแผนการแก้ไขปัญหาเรื่องชั่วโมงการทำงานของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ  อย่างข้อมูล รพ.ที่แพทย์ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการมากกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มี 65 แห่ง หรือ 55.56% ซึ่งมาจาก 117 แห่งที่เป็นสถาบันฝึกเพิ่มพูนทักษะ โดยสธ.กำหนดเป็นโรดแมปว่า หากแพทย์ทำงานมากกว่า 64 ชั่วโมง/สัปดาห์ จะต้องแก้ไขให้ได้ภายใน 3 เดือน ส่วนมากกว่า 59-63 ชั่วโมง/สัปดาห์ต้องแก้ไขให้ได้ภายใน 6 เดือน ซึ่งก็จะลดหลั่นกันไป” พญ.ชุตินาถ กล่าว

พญ.ชุตินาถ กล่าวอีกว่า จากการสำรวจว่า มีรพ.กี่แห่งทำงานนอกเวลาราชการเกินเวลานั้น พบว่า ได้สำรวจแพทย์ใช้ทุนปี 1 เป็นผู้ให้ข้อคิดเห็น แต่อินเทิร์นหลายแห่งที่มีปัญหา อย่าง แม่สอด ที่แพทย์ใช้ทุนทำงานเกิน 100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ก็ไม่ได้ถูกสำรวจ คือ อินเทิร์นประมาณ 2,000 คน ได้ทำแบบสำรวจประมาณ 1,000 คน อย่างไรก็ตาม แบบสำรวจนี้ก็ยังรู้สึกดีตรงมีแนวทางออกมาชัดเจน แต่คำถามต่อไปคือ การมีโรดแมปออกมา แต่แนวทางดำเนินการ อย่างเมื่อลดชั่วโมงคนทำงาน ก็ต้องลดเวลา แล้วจะมีการบริหารจัดการทรัพยากรตรงนี้อย่างไร ซึ่งที่ประชุมหารือครั้งนี้ยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน

พญ.ชุตินาถ กล่าวอีกว่า หากเป็นแพทย์ใช้ทุน คนที่เวรยุ่งมาก เช่น หากอยู่เวรกลางคืน ตอนเช้าไม่ต้องควงต่อ ให้ทำหลังเที่ยงได้ โดยให้พักตั้งแต่ 08.00 -12.00 น. แต่ก็ยังมีคำถามว่า เกณฑ์ดังกล่าวจะให้ใครเป็นผู้ตัดสิน ต้องอยู่ในดุลยพินิจหรือไม่ ผู้บังคับบัญชาคนไหนจะอนุญาต อีกทั้ง อินเทิร์นไปพักจะมีใครมาแทน ตรงนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการหรือไม่  ทั้งนี้ จากการพูดคุยเห็นว่าจะตั้งแพทย์ใช้ทุนปีแรกก่อน เพราะมีปัญหาลาออกมาก และเป็นกลุ่มที่ทำงานหนักมาก อย่างหลาย รพ.แพทย์เฉพาะทางน้อย ก็ต้องใช้แพทย์ใช้ทุนปี 1 อย่างไรก็ตาม  จะต้องมีการติดตามผลการดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงฯ เพราะจากที่หารือเหมือนให้ รพ.ไหนพร้อมให้ดำเนินการได้เลย

เมื่อสอบถามถึงค่าตอบแทนบุคลากร ค่าตอบแทนแพทย์มีความคืบหน้าหรือไม่ พญ.ชุตินาถ กล่าวว่า มีการถามว่าที่ระบุว่าจะเพิ่ม 8% เพราะอะไร เนื่องจากไม่สอดคล้องค่าครองชีพ แต่ได้รับคำตอบว่า มาจากคำนวณรายได้เงิน รพ.ทั่วประเทศ ซึ่งตัวเลขนี้เพียงพอที่รพ.จะจ่ายได้  แต่เป็นตัวเลขที่ไม่สอดคล้องค่าครองชีพ 

“สรุปคือการหารือวันนี้เป็นการบอกรายละเอียดของโรดแมป ส่วนแนวทางแก้ปัญหายังไม่ชัดเจน ก็ต้องมีการติดต่ออย่างต่อเนื่องอีกครั้ง” พญ.ชุตินาถ กล่าว และว่า ขณะนี้ทางกลุ่มจะพยายามติดต่อกับคนทำงานสายอื่นๆ เช่น สหภาพลูกจ้างของรัฐฯ ชมรมวิชาชีพอื่นๆ เพื่อรวมตัวกันเรียกร้องสิทธิของผู้ปฏิบัติทางการแพทย์และสาธารณสุขร่วมกันต่อไป

17 January 2023
https://www.hfocus.org/content/2023/01/26813

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
รองปลัด สธ. หารือร่วมคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาฯ ถกชั่วโมงการทำงานแพทย์ พยาบาล หาจุดร่วมทางออกของทุกฝ่าย ล่าสุด “หมอทวีศิลป์” เผยมีโรดแมปแก้ปัญหาระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยแผนระยะสั้นมอบผู้ตรวจฯ ดูเขตสุขภาพเกลี่ยอัตรากำลังแพทย์กระจายให้เหมาะสม ล่าสุด 1 ต.ค.เตรียมเก็บข้อมูลกำลังคนแต่ละพื้นที่  ส่วนประธานกมธ.การแรงงานขอติดตามเรื่องอีก 3 เดือน

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 25 ต.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นายสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยอนุกรรมาธิการศึกษาสถานการณ์ด้านแรงงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และแรงงานสัมพันธ์ในคณะกรรมาธิการการแรงงาน และตัวแทนสมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน(สพง.) ร่วมด้วยตัวแทนกลุ่ม Nurses Connect เข้าร่วมประชุมร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โดย นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในการหารือประเด็นแก้ปัญหาชั่วโมงการทำงานของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์

ต่อมาเวลาประมาณ 15.30 น. นพ.ทวีศิลป์ ให้สัมภาษณ์หลังประชุมว่า   ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขรับทราบปัญหาเหล่านี้ และมีทีมในการแก้ไขมาตลอด อย่างไรก็ตาม รัฐบาลชุดนี้ และท่านรองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการสธ. ได้เพิ่มจำนวนบุคลากรชุดใหญ่ ตั้งแต่โควิด แต่ก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี ยิ่งซอยย่อยในกลุ่มแพทย์ พยาบาลก็ยังมีความแตกต่างจากประเทศพัฒนาอยู่มาก ซึ่งแพทย์ของไทยมีประมาณ 3.8 หมื่นคน หากเทียบกับประเทศอื่นมีประชากรระดับเรา แต่มีแพทย์เป็นแสนคน ดังนั้น จึงเป็นสเตปของการทำงานที่ต้องทำร่วมกันหลายส่วน ทั้งผู้ดูแลกำลังภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) สำนักงบประมาณ แพทยสภา มาหารือและแก้ปัญหาร่วมกัน

“กระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้นิ่งนอนใจ ทุกข้อมูลที่คณะกรรมาธิการการแรงงานมาเสนอในที่ประชุม ก็เป็นชุดข้อมูลที่เราได้ศึกษา จึงนำมาเทียบคู่กัน ทำให้เห็นความหลากหลายของข้อมูล ซึ่งจะมีการรวบรวมและวางแผนแก้ปัญหาระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวต่อไป” รองปลัดสธ.กล่าว

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า สำหรับระยะสั้น จะเพ่งไปที่แพทย์เพิ่มพูนทักษะหรือแพทย์อินเทิร์น จบปีที่ 1 ซึ่งผลการศึกษาปี 2565 พบว่า ประมาณ 50% ของรพ. 65 แห่งใน 117 แห่ง ยอมรับว่าทำงานนอกเวลาเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยจะให้ทางเขตสุขภาพต่างๆ โดยผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ ลงไปดูว่า เป็นการกระจุกหรือกระจายตัวของรพ.ใด และจะสามารถกระจายอย่างไรต่อไปได้ นี่คือระยะสั้นที่จะทำโดยเร็ว ส่วนระยะกลาง และระยะยาว ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2565 จะมีการเก็บข้อมูลกำลังคน เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ เพื่อเสนอนโยบายในการแก้ปัญหาอัตรากำลัง ภาระงาน ทั้งแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ต่อไป

“ในที่ประชุมมีข้อคิดเห็นว่า ปัญหาดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นทุกแห่ง ดังนั้น  การจะออกกฎระเบียบออกไปว่า ไม่ให้แพทย์ทำงานเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ก็อาจกระทบต่อบุคลากรอื่นๆที่ต้องการทำก็ได้” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า สรุป คือ ยังไม่สามารถตั้งกฎระเบียบว่า ห้ามแพทย์ พยาบาลทำงานควงเวรติดต่อกันเกิน 40 ชั่วโมงใช่หรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีข้อแนะนำจากแพทยสภา เรื่องชั่วโมงการทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องกว้างๆอยู่ แต่อย่างที่กล่าวคือ การออกกฎใดๆออกมาก็ต้องคำนึงถึงการบริการประชาชนต้องไม่กระทบด้วย แต่เรามีเขตสุขภาพ ซึ่งก็จะมีการแก้ปัญหา โดยการเกลี่ยบุคลากร ซึ่งทาง ก.พ. ให้ทางสธ.ทำเป็นแซนบ็อกซ์ ซึ่งตนจะนำเรื่องนี้หารือกับผู้บริหารระดับเขตเพื่อจัดการปัญหาตรงนี้ ทั้งนี้ กรณีแซนบ็อกซ์ มีการดำเนินการแล้วตั้งแต่ปีที่แล้วในเขตสุขภาพที่ 1  เขต 4 เขต 9 และเขตสุขภาพที่ 12

“สำหรับการปรับค่า FTE ภาระงานแพทย์ ขณะนี้ทำเสร็จแล้ว และจะนำเสนอต่อ อ.ก.พ.กระทรวงสาธารณสุข เพื่อขยายกรอบอัตรากำลังเพิ่ม เนื่องจากภาระงานเพิ่ม” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ในที่ประชุมมีการหารือถึงค่าตอบแทนของพยาบาล 240 บาทตั้งแต่ปี 2552 ก็ยังไม่ได้รับการปรับแต่อย่างใด ซึ่งกระทรวงฯ จะมีการผลักดันและช่วยเหลือต่อไป เพราะเรื่องนี้เราคิดตรงกัน

ด้าน นายสุเทพ กล่าวว่า คณะกรรมาธิการการแรงงาน ได้รับปัญหาจากหมอ พยาบาล เกี่ยวกับชั่วโมงการทำงาน ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุข รับว่า มีปัญหาจริง และกำลังดำเนินการแก้ไข  โดยกระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งโรดแมปในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้กับหมอ และพยาบาล จึงถือว่ามีความชัดเจนขึ้น   ซึ่งต้องให้ทางกระทรวงสาธารณสุขมีเวลาในการแก้ปัญหาก่อน โดยจะขออนุญาตมาติดตามเรื่องนี้อีก 3 เดือน

25 October 2022
https://www.hfocus.org/content/2022/10/26255