ผู้เขียน หัวข้อ: รพ.ภูมิพลฯ เสียใจ 3 ขวบดับ ชี้รักษาเต็มที่ตามมาตรฐานวิชาชีพ เตือนเผยแพร่ข้อมูล  (อ่าน 125 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
รพ.ภูมิพลฯ เสียใจเคส 3 ขวบดับ แจงรักษาเต็มที่แล้ว ชี้ผปค.ติดใจซักถามได้

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 19 มกราคม คุณแม่รายหนึ่งได้ออกมาแชร์อุทาหรณ์พาลูก อายุ 3 ขวบเป็นไข้สูง ไปรักษาที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง กระทั่งสุดท้ายเสียชีวิต โดยระบุว่าน้องมีอาการไข้และตัวร้อนจึงให้กินยาแล้วนอน แต่อาการไม่ดีขึ้นจึงพาไปรักษาที่ศูนย์ 24 ซึ่งได้ส่งตัวไปที่โรงพยาบาล เพราะไข้ยังสูงและมีผื่นตามตัว

กระทั่งถึงโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง ประมาณ 12.00 น. รอตรวจมีการเจาะเลือด กระทั่งได้แอดมิต และทานยาตอน 22.00 น. วันต่อมาไข้ก็ไม่ลด จึงมีการเจาะเลือดไปตรวจอีก 2 ครั้ง ประกอบกับเอ็กซเรย์และตรวจอุจจาระ ระหว่างที่กำลังเช็ดตัวน้องมีอาการตาเหลือก น้ำลายไหล แต่แจ้งพยาบาล บอกว่าไม่ได้ชัก ไม่ต้องกังวล ผ่านไป 30 นาที แม่ถามอีกว่า ทำไมตาน้องยังค้าง พยาบาลยังคงยืนยันคำเดิม

กระทั่งคุณแม่เริ่มโวยว่าจะย้ายโรงพยาบาล หมอจึงลงมาดูและแจ้งว่าน้องชัก จากนั้นจึงฉีดยากันชักและใส่ออกซิเจนให้ จากนั้นน้องเริ่มมีอาการไม่ได้สติ ถ่ายเหลว อ้วกเป็นเลือด และมีอาการทรุดลง สุดท้ายต้องเข้า ICU หมอแจ้งว่าน้องหัวใจหยุดเต้นไป 6 นาทีก่อนปั๊มมาได้ ขอย้ายโรงพยาบาล หมอบอกว่าย้ายมา ICU ยังลำบาก ต้องดูอาการใกล้ชิด กระทั่งหมอบอกว่าอาการน้องคงที่ แม่กลับไปพักที่บ้านได้ แต่ต่อมาหมออีกคนบอกว่าระหว่างที่แม่กลับบ้านน้องหัวใจหยุดเต้นไป 6 ครั้ง ไม่ตอบสนองต่อยาที่ทำการรักษา และซี่โครงซ้ายหัก 1 ซี่ ถามว่าจะเอายังไงต่อ ครอบครัวจึงคุยกันว่า หากน้องไม่ไหวให้ปล่อยน้องได้เลย กระทั่งได้รับแจ้งอีกครั้งว่าน้องเป็นไตระยะที่ 3 ทางโรงพยาบาลไม่มีเครื่องฟอกไตสำหรับเด็ก จะส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่นก็ไม่สามารถทำได้ เพราะชีพจรต่ำมากและหัวใจหยุดเต้นบ่อย

ต่อมา หมอได้ออกมาแจ้งให้ญาติทำใจ หมอได้ปั๊มหัวใจน้องเกิน 30 นาที แล้วแต่ไม่กลับมา และน้องได้เสียชีวิตในเวลา 19.39 น. ในวันที่ 25 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา และสุดท้ายทางโรงพยาบาลได้ลงในหนังสือรับรองการตายว่า สาเหตุในการเสียชีวิต เพราะติดเชื้อในกระแสเลือด

ทั้งนี้ โพสต์ดังกล่าวมีผู้แชร์ออกไปอย่างต่อเนื่อง และวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง

ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 มกราคม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าว ใจความว่า ผู้ป่วยเด็กรายนี้มา รพ.ด้วยอาการไข้สูง 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล ตรวจร่างกายนอกจากอาการไข้แล้วไม่พบสิ่งผิดปกติอื่น จึงวินิจฉัยเบื้องต้นว่าเป็นไข้เฉียบพลันและให้รับเป็นผู้ป่วยใน ซึ่งผลตรวจพบเพียงเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และไม่พบการติดเชื้อไข้เลือดออก วันต่อมาผู้ป่วยยังมีไข้สูง แพทย์จึงตรวจร่างกาย และประเมินซ้ำ การตรวจทั้งหมดไม่แสดงการติดเชื้อ

ในตอนบ่ายผู้ป่วยมีอาการชักหนึ่งครั้ง ประมาณ 30 วินาที แพทย์ได้ตรวจพบรู้สึกตัวดี ผลร่างกายปกติ หลังจากนั้นชักซ้ำอีกครั้ง จึงให้ยากันชัก ในตอนเย็นแม้ว่าจะได้รับยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดแล้ว แต่ผู้ป่วยมีอาการซึมลง อาเจียนเป็นเลือด หายใจเหนื่อย แพทย์จึงใส่ท่อช่วยหายใจ แต่ผู้ป่วยยังมีสัญญาชีพทรุดลงต้องทำการกู้ชีพ สัญญาณชีพก็ยังไม่คงที่ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ การทำงานของไตผิดปกติ และมีภาวะเลือดเป็นกรด และผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษา มีหัวใจหยุดเต้นเป็นระยะๆ หลายครั้ง ซึ่งในระหว่างที่ทำการรักษานี้ทาง โรงพยาบาลได้แจ้งอากาหารต่อผู้ปกครองเป็นระยะๆ แม้ทีมแพทย์ได้พยายามรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มที่ แต่ไม่เป็นผล ผู้ป่วยเสียชีวิตในเย็นวันรุ่งขึ้น

รพ.ภูมิพลอดุลยเดชฯ ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งต่อครอบครัวผู้ป่วยในการสูญเสียครั้งนี้ ขอยืนยันว่าการรักษาพยาบาลผู้ป่วยรายนี้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพทุกประการ ทางโรงพยาบาลได้อธิบายถึงอาการ การรักษาที่ผู้ป่วยได้รับ และสาเหตุของการเสียชีวิตแก่ญาติผู้ป่วยแล้ว 2 ครั้งแต่หากบิดามารดาผู้ป่วยมีข้อติดใจสงสัยก็พร้อมที่จะพูดคุยตอบข้อสงสัยโดยตรง แต่การนำข้อมูลของผู้ป่วยออกสู่สาธารณะ หรือให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามารับรู้ด้วย ย่อมเป็นการขัดต่อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลผู้ป่วย ซึ่งการปฏิบัติตามกฎหมายนี้เป็นสิ่งที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ยึดถืออย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด

23 มกราคม 2566
มติชนออนไลน์