ผู้เขียน หัวข้อ: ลูกจีนกู้ชาติ(ตาโป๋เป่าปี่)  (อ่าน 1717 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
ลูกจีนกู้ชาติ(ตาโป๋เป่าปี่)
« เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2011, 11:37:55 »
ได้เคยพูดถึงลูกจีนรักชาติมาแล้วในตอนก่อนๆ ว่าลูกจีนหลานจีนที่เกิดในแผ่นดินไทยนั้น มีความรักชาติบ้านเมือง รักแผ่นดินเกิดของตนเป็นอย่างมากไม่แพ้คนไทยสายอื่นๆ หรือคนไทยแท้ๆ อย่างที่เห็นกันอยู่ในขณะนี้ ด้วยการออกมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับเขมร

เมื่อรักชาติแล้ว ลูกจีนหลานจีนเหล่านี้ ก็กำลังกู้ชาติ เพราะชาติบ้านเมืองภายใต้การบริหารงานที่ไม่เอาไหนของรัฐบาลชุดนี้ กำลังทำตนยอมจำนนกับปัญหาดินแดนที่ติดต่อกับเขมร ด้วยการกระทำหลายอย่างที่ตกเป็นเบี้ยล่างของเขมร ซึ่งคนไทยผู้รักชาติทั้งหลาย รวมทั้งลูกจีนหลานจีนในประเทศไทยยอมไม่ได้

ลูกจีนหลานจีนในประเทศไทยเคยกู้ชาติไทยมาแล้วหลายครั้งจากการรุกรานของชน ชาติอื่น ครั้งสำคัญที่เห็นเด่นชัดที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทยก็คือ เมื่อครั้งปี พ.ศ.2310 ซึ่งพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก และผู้เข้ากอบกู้บ้านเมืองคืนมาได้ก็คือ พระเจ้าตากสินฯ ผู้สืบเชื้อสายมาจากจีนนั่นเอง

พระเจ้าตากสินฯ มีบิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋วที่ลงเรือสำเภา ข้ามน้ำข้ามทะเลมาประเทศไทย พร้อมๆกับคนจีนจำนวนมากที่เดินทางมาเมืองไทยในระยะนั้น เพื่ออาศัยอยู่ในประเทศไทย

พระราชบิดาของพระเจ้าตากสินฯ มีชื่อว่า "เจิ้งหย่ง" มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านหัวฟู่ อำเภอเฉิงไห่ ปัจจุบันยังมีศาลเจ้าประจำตระกูลอยู่ที่นั่นด้วย และเมื่อเดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของไทยขณะนั้น ก็ได้เข้าไปทำงานในบ่อนพนันจนมีรายได้มากขึ้น และเปิดบ่อนพนันของตนเองได้และเปลี่ยนชื่อมาเรียกง่ายๆ ว่า "หยง"

การปกครองของไทยสมัยนั้นอนุญาตให้มีการเล่นการพนัน แล้วเก็บส่วยสาอากรบ่อนเบี้ยเข้าพระคลังข้างที่ คนจีนถนัดในเรื่องอย่างนี้ จึงได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย เก็บรายได้เข้าหลวง และเข้าออกวังได้

เจิ้งหย่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นคุณพระ

ได้ภรรยาคนไทยชื่อนางนกเอี้ยง

มีลูกชายคนหนึ่งซึ่งต่อมาก็คือพระเจ้าตากสินฯ

คนจีนที่อพยพเข้ามาอยู่เมืองไทยในช่วงแรกๆ นั้น มากันแบบตัวคนเดียวโดดๆ ตั้งใจทำมาหากินด้วยความอุตสาหะ พอเก็บหอมรอมริบได้บ้าง ก็แต่งงานกับหญิงท้องถิ่นสร้างฐานะครอบครัวต่อไป บางรายรุ่งเรืองจนได้เป็นขุนนาง

การแต่งงานกับหญิงไทย และการได้รับราชการไทยนั้น ทำให้ชาวแต้จิ๋วมีฐานะมั่นคงขึ้น ญาติพี่น้องทางเมืองจีนก็พากันเดินทางมาพึ่งอาศัย ดังนั้นเรือสำเภาแต่ละลำที่ออกจาเมืองท่าจางหลินมุ่งไปประเทศสยามจึงมีคน แต้จิ๋วเต็มไปหมด

เมื่อคนจีนในสยามตายลงเมื่อใด ก็นำกระดูกใส่ไว้ในภาชนะที่มีรูปทรงเป็นเรือสำเภาส่งกลับไปฝังในเมืองจีน ส่วนคนจีนที่ไม่มีญาติพี่น้องอยู่ในเมืองจีนก็ต้องฝังร่างไว้ที่นี้

คนจีนที่เข้ามาทำมาหากินในประเทศไทยสมัยนั้น มีความมานะอดทนมาก เมื่อมีกองทัพพม่ายกมารุกราน ก็ได้ร่วมกับประชาชนชาวสยามสมัยนั้น จับอาวุธต่อสู้กับทหารพม่า

ปี พ.ศ.2310 พม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก

พระเจ้าตากสินฯได้นำทหารทั้งลูกไทยลูกจีนจำนวนหนึ่งตีฝ่าทหารพม่าออกจาก เมือง มุ่งตรงไปทางฝั่งทะเลตะวันออก โดยใช้เมืองจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น เพราะในเมืองจันทบุรีสมัยนั้นมีชาวจีนแต้จิ๋วอาศัยอยู่จำนวนมาก เพราะเรือสำเภาที่มาจากเมืองจีนนั้นจะมาแวะที่นี่ก่อนเป็นจุดแรก จึงมีคนจีนขึ้นมาตั้งรกรากทำมาหากินอยู่ที่นั่น

พวกคนจีนที่จันทบุรีได้ทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังใจ กำลังทรัพย์ในการสนับสนุนกองทหารของพระเจ้าตากสินฯเป็นอย่างมาก จากบันทึกในประวัติศาสตร์สยามบอกว่า ภายในเวลาสามเดือนก็สามารถต่อเรือให้พระเจ้าตากสินฯ ได้ถึงร่วมหนึ่งร้อยลำ เฉลี่ยแล้วในวันหนึ่งๆ ต่อเรือได้หนึ่งลำ

เรือบางลำเป็นของพ่อค้าจีนก็มอบให้พระเจ้าตากสินฯ และในกองทัพของพระเจ้าตากสินฯนั้น ก็มีทหารอาสาสมัครชาวจีนอยู่หนึ่งกอง ทหารจีนเหล่านี้บางคนมีฝีมือในการต่อสู้มาก เช่นเจ้าพระยาสังคโลก พระยาโกษาธิบดี เจ้าเมืองสงขลา เ ป็นต้น

เมื่อสมเด็จพระเจ้าจากสินฯสร้างกรุงธนบุรีบนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว พวกชาวจีนที่อาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาก็ได้อพยพติดตามมาด้วย เกิดชุมชนชาวจีนขึ้นหลายแห่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีหัวหน้าชุมชนชาวจีนคนหนึ่งชื่อ พระยาราชาเศรษฐี ซึ่งเคยนำลูกน้องชาวจีนออกช่วยรบกับพม่า ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ พระราชทานพื้นที่ทางฟากตะวันตกของกรุงธนบุรีให้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย

นี่คืออดีตของคนจีนลูกจีนที่รักชาติและกู้ชาติบ้านเมือง ที่ได้เคยกระทำมาแล้วและบันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์ไทยมาจนทุกวันนี้

ความผูกพันกับขนบธรรมเนียมดั้งเดิมและวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของคนจีนนั้น เป็นสิ่งที่น่ายกย่องสรรเสริญ แม้จะเข้ามาอยู่ในประเทศไทยมีลูกมีหลานเกิดขึ้นมากมายก็ตาม ก็สามารถร่วมอยู่อย่างผสมกลมกลืนกับคนไทยได้อย่างมีความสุขทำมาหากินในการ ค้าขาย หรือเข้ามารับราชการมีตำแหน่งหน้าที่การงานใหญ่โตเป็นจำนวนไม่น้อย

15/2/2011
....................................................................................

ในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้เกี่ยวกับความเป็นมาของคน จีนในประเทศไทยนั้น บอกว่าคนจีนที่เริ่มเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนั้น บอกว่าคนจีนที่เริ่มเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนั้น มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยในครั้งนั้นมีการส่งคณะทูตจากจีน มายังราชสำนักแห่งอาณาจักรสุโขทัย และมีการส่งคณะทูตไทยไปยังเมืองจีนเช่นเดียวกันเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน

ตามมาด้วยการอพยพในรุ่นต่อๆ มา

ในระยะแรก ส่วนใหญ่มาจากทางตอนใต้ของจีน ซึ่งจำแนกออกได้ตามกลุ่มภาษาและภูมิลำเนาดังนี้

กลุ่มจีนแต้จิ๋ว มาจากตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลกวางตุ้ง

กลุ่มจีนฮกเกี้ยน มาจากตอนใต้ของมณฑลฟูเจี้ยน

กลุ่มจีนไหหลำ มาจากตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไหหลำ

กลุ่มจีนกวางตุ้ง มาจากตอนกลางของมณฑลกวางตุ้ง

กลุ่มจีนแคะ มาจากตอนเหนือของมณฑลกวางตุ้ง

จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ไทยกล่าวไว้ว่า ชาวจีนที่เดินทางมาเมืองไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ส่วนใหญ่เป็นจีนฮกเกี้ยน แต่หลังสมัยกรุงศรีอยุธยาไปแล้ว จะมีชาวแต้จิ๋วอพยพมาจำนวนมาก

ชาวจีนฮกเกี้ยนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากแถบภาคใต้ของไทยใน จ.ภูเก็ต ปัตตานี สงขลา และระนอง

ชาวจีนแต้จิ๋วอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา และชลบุรีเป็นส่วนใหญ่ ชาวจีนแต้จิ๋วเหล่านี้อพยพเข้ามามากหลังปี พ.ศ.2310 เนื่องจากได้รับการสนับสนุนและได้รับการสนับสนุนและได้สิทธิพิเศษบางประการ จากสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ซึ่งมีพระราชบิดาเป็นชาวแต้จิ๋ว

มากันโดยเรือสำเภาที่แล่นค้าขายอยู่ระหว่างไทยกับจีนในสมัยนั้น เรือสำเภาที่ว่านี้ตรงหัวเรือทางสีแดงมีรูปตาเหมือนตาปลาอยู่ด้วย จะดูได้ที่วัดยานนาวาในกรุงเทพฯขณะนี้

คำว่า "แต้จิ๋ว" นอกจากจะเป็นชื่อของกลุ่มชาวจีนที่พูดภาษาถิ่นเดียวกัน คือภาษาแต้จิ๋วแล้ว ยังเป็นชื่อเมืองเก่าแก่อันเป็นต้นกำเนิดของชาวแต้จิ๋วทั้งหลายอีกด้วย เมืองนี้ก็คือ "เฉาโจว" ตามการออกเสียงในภาษาจีนกลาง

ชาวแต้จิ๋วออกเสียงชื่อเมืองนี้ว่า "แต้จิ๋ว" เป็นศูนย์กลางของเขตปกครองภาคตะวันออกมณฑลกวางตุ้งตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว

ชื่อ "แต้จิ๋ว" เป็นชื่อโบราณ "เตีย" หรือ "แต้" เป็นคำโบราณแปลว่า "ทะเล" คำว่า "โจว" (จิ๋ว) แปลว่า "เมือง" แต้จิ๋วจึงแปลว่าเมืองชายทะเล

เมืองแต้จิ๋วนี้ในระยะหลังได้กลายมาเป็นอำเภอเฉาอัน สังกัดเทศบาลนครซ่านโถว (ซัวเถา) ขณะนี้เป็นเทศบางเมืองสังกัดมณฑลกวางตุ้ง

ชาวแต้จิ๋วที่อพยพมาเมืองไทยในช่วงแรกๆนั้น ต่างก็ลงเรือสำเภาจากท่าจางลิน ต่อมาเมื่อมีการเปิดท่าเรือเมืองซัวเถา เมืองซัวเถา จึงเป็นศูนย์กลางของเขตวัฒนธรรมแต้จิ๋ว มาจนกระทั่งทุกวันนี้

การเดินทางโดยเรือสำเภาจากเมืองแต้จิ๋วนั้น ใช้เวลานานถึงหนึ่งเดือนเต็มกว่าจะถึงประเทศไทย ส่วนใหญ่เดินทางมากับเรือสำเภาขนสินค้า เพราะเสียค่าโดยสารถูกมาก

เรือสินค้าจะมีสินค้าใส่ไว้ใต้ท้องเรือ ส่วนข้างบนดาดฟ้าเป็นที่อยู่ของผู้โดยสาร ซึ่งเต็มไปด้วยความไม่สะดวกสบายในความเป็นอยู่ในสมัยนั้น ต้องตากแดดตากลมตากฝนมาตลอดทาง

ตายไปก็มากระหว่างเดินทาง เพราะขาดน้ำจืดที่ใช้ดื่ม หรือขาดอาหาร

การอพยพมาจากเมืองจีนนั้นใช่ว่านึกอยากจะไปเมื่อไหร่ก็ไปได้ เพราะต้องขึ้นอยู่กับสภาพของลมมรสุมตามฤดูกาลอีกด้วย

ถ้าเป็นการเดินทางจากเมืองจีนมาเมืองไทย ก็อาศัยลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะอยู่ในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน แต่ถ้าเป็นการเดินทางจากเมืองไทยไปเมืองจีน ก็ต้องอาศัยลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจะพัดอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ของแต่ละปี

หลังเดินทางเข้ามาถึงประเทศไทยแล้ว ชาวแต้จิ๋วต่างก็มีโชคชะตาของชีวิตแตกต่างกันไป ทุกคนทำงานหนักในชีวิต เพราะไม่มีทรัพย์สมบัติใดๆ ติดตัวมาเลย นอกจากเสื่อผืนหมอนใบ

บางคนประสบผลสำเร็จร่ำรวยเป็นเจ้าสัว แต่บางคนก็โชคร้าย มีชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก หลายคนตายลงในเมืองไทยอย่างคนไร้ญาติ

18/2/2011
.............................................................................................