ผู้เขียน หัวข้อ: “หมอนิธิพัฒน์” สวด “หมอทวีศิลป์” หลัง ศบค.เผยมีเตียงรองรับผู้ป่วยอีกกว่า 2 หมื่น  (อ่าน 379 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย นพ.นิธิพัฒน์ เจียรสกุล ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กตำหนิการทำงานของโฆษก ศบค. นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ในประเด็นเตียงไม่เพียงพอรองรับผู้ป่วย วอนให้ข้อมูลที่เป็นจริงและสอดคล้องกับศักยภาพการแพทย์ของประเทศไทย

จากกรณีปัญหาผู้ป่วยล้านโรงพยาบาลทำให้ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถเดินทางมารักษาตัวที่โรงพยาบาลได้ บางรายต้องกักตัวอยู่ภายในบ้านทั้งที่มีอาการค่อนข้างหนักแล้ว จนสุดท้ายเสียชีวิตภายในบ้าน เช่นกรณีของอาม่าวัย 85 ปี จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลฯ ถึงระบบการจัดการกับโควิด-19 ในขณะนี้ทำไมจึงไม่มีรถมารับทั้ง 3 คนไปรักษา ทำไมจึงไม่มีรถมารับผู้เสียชีวิต ... ข้อมูลเหล่านี้ หน่วยงานรัฐ รับทราบหรือไม่ และคำถามที่สำคัญที่สุด คือ ยังมีกรณีแบบเดียวกับ “อาม่า” อยู่อีกเยอะหรือไม่?

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 เม.ย. นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน ตอนหนึ่งว่า จากกรณีเตียง ICU ไม่เพียงพอต่อการรักษา วันนี้ทางที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญเรื่องนี้ ภาพรวมของเตียงทุกประเภทรวมทุกชนิด AIIR ห้องความดันลบ เป็นห้องแยกรายบุคคล มีทั้งประเทศ 704 เตียง/ห้อง Modified AIIR เป็นห้องเตียงรวม เป็นห้องปรับอากาศความดันลบ ทั้งหมด 1,688 เตียง Isolated Room หรือห้องแยก ไม่ได้มีความดันลบ 9,206 เตียง/ห้อง Cohort ward เป็นหอผู้ป่วยที่รับเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเดียวกัน คือ กลุ่มโควิด-19 มีทั้งหมด 22,435 เตียง Hospitel น่าจะเป็นคำที่คุ้นเคยแล้ว คือการเอาโรงแรมมาทำเป็นโรงพยาบาลมาตรฐานขยับขึ้นไปสูงกว่าโรงแรม มี 158 เตียง Cohort ICU มี 6,333 เตียง ส่วนนี้สำคัญรับเฉพาะคนไข้หนัก ทั้งหมดทั้งประเทศ มี 40,524 เตียง มีการครองเตียงแล้วทั้งหมด 19,386 เตียง มีเตียงว่างทั้งหมด 21,138 อัตราการครองเตียงทั้งประเทศอยู่ที่ร้อยละ 47.8

“หมอทวีศิลป์” เผยทั่วประเทศมีเตียงว่างกว่า 2.1 หมื่นเตียง เพียงพอดูแลผู้ป่วยโควิด-19

อย่างไรก็ตาม ในวันเดียวกันนี้ (24 เม.ย.) นพ.นิธิพัฒน์ เจียรสกุล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ออกมาโพสต์ข้อความเกี่ยวกับประเด็นของเตียงไม่เพียงพอต่อผู้ป่วยว่า

“ดูข่าวทีวี ศบค.บอกเหลือเตียงรับผู้ป่วยโควิดอีกกว่าสองหมื่นเตียง อ้าว...ทำไมดรามาอาม่าเกิดขึ้น ทำไมสามีคนไข้ที่ผมดูแลต้องรอเตียงที่บ้านมา 8 วันยังไม่ได้ สงสัยพวกหมอที่ชงข้อมูลขึ้นไปคงคิดว่ามีเตียงอะไร ที่ไหน ก็จะดูแลคนไข้โควิดได้เลย ถ้าเช่นนั้นทำไมไม่แจ้งเป็นแสนเตียงเลยล่ะ โรงพยาบาลต่างๆ มีเตียงเช่นนี้อีกเยอะ

ขอทีเถอะพวกที่ไม่ได้ทำเวชปฏิบัติดูแลผู้ป่วยแล้ว แต่ไปปรนนิบัตินักการเมืองเพื่อหวังผล ให้ข้อมูลที่เป็นจริงและสอดคล้องกับศักยภาพการแพทย์ของประเทศไทย อย่าให้อายเจ้าหน้าที่ขนย้ายผู้ป่วยโควิดในรูปที่เขารบเคียงบ่าเคียงไหล่พวกเราหมอ พยาบาล และบุคลากรสนับสนุน อย่างเต็มกำลังความสามารถอยู่ ณ ขณะนี้เลย #เอาจิตวิญญาณเพื่อผู้ป่วยคืนมา”


25 เม.ย. 2564  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
ศบค. เผยทั่วประเทศเตียงผู้ป่วยหนักและห้องแยกความดันลบ มีรวมกันกว่า 4 หมื่นเตียง ว่างอยู่ 2.1 หมื่นเตียง เพียงพอรองรับการระบาดโควิด-19 ในระดับนี้ได้ ย้ำ กทม.- ปริมณฑล มีการครองเตียงสูงสุด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างพยายามเพิ่มเตียงให้เพียงพอ

วันนี้ (24 เม.ย.) เมื่อเวลา 11.36 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน ว่า ตอนหนึ่งว่า จากกรณีเตียง ICU ไม่เพียงพอต่อการรักษา วันนี้ทางที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญเรื่องนี้ ภาพรวมของเตียงทุกประเภทรวมทุกชนิด AIIR ห้องความดันลบ เป็นห้องแยกรายบุคคล มีทั้งประเทศ 704 เตียง/ห้อง Modified AIIR เป็นห้องเตียงรวม เป็นห้องปรับอากาศความดันลบ ทั้งหมด 1,688 เตียง Isolated Room หรือห้องแยก ไม่ได้มีความดันลบ 9,206 เตียง/ห้อง Cohort ward เป็นหอผู้ป่วยที่รับเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเดียวกัน คือ กลุ่มโควิด-19 มีทั้งหมด 22,435 เตียง Hospitel น่าจะเป็นคำที่คุ้นเคยแล้ว คือการเอาโรงแรมมาทำเป็นโรงพยาบาลมาตรฐานขยับขึ้นไปสูงกว่าโรงแรม มี 158 เตียง Cohort ICU มี 6,333 เตียง ส่วนนี้สำคัญรับเฉพาะคนไข้หนัก ทั้งหมดทั้งประเทศ มี 40,524 เตียง มีการครองเตียงแล้วทั้งหมด 19,386 เตียง มีเตียงว่างทั้งหมด 21,138 อัตราการครองเตียงทั้งประเทศอยู่ที่ร้อยละ 47.8

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ขออนุญาตพูดถึงตรงนี้เพื่อให้เข้าใจภาพรวมทั้งหมดของประเทศว่ายังไม่ถึงวิกฤตอย่างที่ว่า เมื่อวานที่พูดออกไปนั้นเป็นภาพของ กทม. ก็เลยทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนและเกิดความกังวลว่า เตียงขาดแคลน จึงขอปรับชุดข้อมูลชุดนี้ เพิ่มเติมเข้าไปให้รับทราบ ว่าทาง ศบค. มีการจัดการกันอกย่างไร ยืนยันจากรายงานสถานการณ์เตียงทั้งประเทศยังมีเพียงพอ

ส่วนกรณีมีปัญหาผู้ติดเชื้อยังไม่สามารถหาเตียงนั้น ขณะนี้ยังมีผู้ตกค้างอยู่จำนวน 2,013 ราย เนื่องจากมีจำนวนมาก ซึ่งกรมการแพทย์จะโทรศัพท์ติดต่อเพื่อเร่งส่งตัวทุกรายไปยัง รพ.สนาม และ hospitel จำนวน 4 แห่ง หากมีอาการรุนแรงจะส่งต่อไปยัง รพ. ซึ่งเตียงผู้ป่วยนั้นในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีจำนวน 16,422 เตียง ยังเหลือว่าง 5,347 เตียง

“ขณะนี้ยังอยู่ในช่วง 2 สองสัปดาห็ที่ ศบค.จะประเมินมาตรการที่ออกไป หากจะมีการยกระดับมาตรการอาจส่งผลกระทบ จึงต้องระมัดระวัง โดยอาจเป็นการยกระดับเฉพาะพื้นที่ ซึ่งฝ่ายยุทธศาสตร์กำลังพิจารณาข้อมูลอย่างรอบด้าน” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

24 เม.ย. 2564  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
นายแพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ EOC ของกระทรวงสาธารณสุข ได้หารือเกี่ยวกับปัญหาบริหารจัดการเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19 โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ที่เหลือเตียงไอซียู 69 เตียง และเตียงในห้องแยกความดันลบ 69 เตียง ซึ่งเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง

ทั้งนี้ มีการพยากรณ์การใช้เตียงรองรับผู้ป่วยกรณีมีอัตราการติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น ประมาณ 1,500 คนต่อวัน จะทำให้ในส่วนของกรุงเทพมหานคร ต้องใช้เตียงถึง 10-13 เตียงต่อวัน เท่ากับจะมีเตียงเหลือเพียงพอสำหรับรองรับผู้ป่วย เพียงแค่ 6-8 วันเท่านั้น

ส่วนจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศนั้น คาดว่าจะต้องใช้ 52 เตียงต่อวัน ซึ่งจะมีเตียงใช้ได้ประมาณ 19 วัน นอกจากนี้ จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ และอุปกรณ์ต่างๆ ต้องเพิ่มตามไปด้วยจึงเป็นภารกิจที่กระทรวงสาธารณสุขจะนำไปหาแนวทางแก้ไขปัญหา

23 เม.ย. 2564  ผู้จัดการออนไลน์