ผู้เขียน หัวข้อ: รพ.ค้างจ่ายค่าตอบแทน P4P อื้อ!! พบ รพ.บ้านโป่ง หนักสุด 27 เดือน  (อ่าน 770 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9787
    • ดูรายละเอียด
 เปิดข้อมูล รพ.ศูนย์ / รพ.ทั่วไป ค้างจ่ายค่าตอบแทน P4P “บุคลากร” 89 แห่ง พบค้างจ่ายเกิน 2 ปี มี 6 แห่ง ด้าน รพ.บ้านโป่งหนักสุด ค้างจ่ายสูงถึง 27 เดือน ประธาน สพศท. เผย สธ. ทราบปัญหาดี พยายามเร่งแก้ไข ชี้ ปัญหาเกิดจากงบรายหัวบัตรทองไม่ตรงค่าใช้จ่ายจริง รพ.
       
       สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ / โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) ได้จัดทำและเผยแพร่ข้อมูลระยะเวลาที่ รพ.ศูนย์ / รพ.ทั่วไป ค้างจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติ (Pay for Permanance : P4P) ให้กับบุคลากรภายในโรงพยาบาล ผ่านเฟซบุ๊กเพจ “สมาพันธ์ รพ.ศูนย์ / รพ.ทั่วไป” โดยเป็นข้อมูล ณ วันที่ 16 พ.ค. 2559 พบว่า รพ.ศูนย์ / รพ.ทั่วไป มีทั้งหมด 116 แห่ง ให้ข้อมูลจำนวน 90 แห่ง โดย รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นโรงพยาบาลเดียวที่ไม่มีการค้างจ่าย ส่วนอีก 89 แห่ง ค้างจ่ายทั้งสิ้น เรียงจากจำนวนเดือนค้างจ่ายน้อยไปหามาก ดังนี้
       
       ค้างจ่าย 1 เดือน 5 แห่ง ประกอบด้วย รพ.อุตรดิตถ์ รพ.สุรินทร์ รพ.สิงห์บุรี รพ.สระบุรี และ รพ.ขอนแก่น
       
       ค้างจ่าย 2 เดือน 1 แห่ง คือ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์
       
       ค้างจ่าย 4 เดือน 7 แห่ง ประกอบด้วย รพ.หัวหิน รพ.สุราษฎร์ธานี รพ.สรรพสิทธิประสงค์ รพ.สมุทรปราการ รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช รพ.ประจวบคีรีขันธ์ และ รพ.ตราด
       
       ค้างจ่าย 5 เดือน 4 แห่ง ประกอบด้วย รพ.มุกดาหาร รพ.มหาราชนครราชสีมา รพ.พระนารายณ์มหาราช และ รพ.เกาะสมุย
       
       ค้างจ่าย 6 เดือน 3 แห่ง ประกอบด้วย รพ.พัทลุง รพ.ชุมพร และ รพ.กำแพงเพชร
       
       ค้างจ่าย 7 เดือน 28 แห่ง ประกอบด้วย รพ.หนองคาย รพ.สวรรค์ประชารักษ์ รพ.สมเด็จพระยุพราชฯ รพ.ศรีสังวาลย์ รพ.ศรีสะเกษ รพ.ลำพูน รพ.ลำปาง รพ.ระยอง รพ.ร้อยเอ็ด รพ.แม่สอด รพ.มหาสารคาม รพ.แพร่ รพ.พระพุทธชินราช รพ.พะเยา รพ.พหลพลพยุหเสนา รพ.พระพุทธโสธร รพ.พระนครศรีอยุธยา รพ.ปัตตานี รพ.ปทุมธานี รพ.เบตง รพ.บุรีรัมย์ รพ.น่าน รพ.นครพิงค์ รพ.นครพนม รพ.นครนายก รพ.เชียงคำ รพ.ชลบุรี และ รพ.กาฬสินธุ์
       
       ค้าง 8 เดือน 6 แห่ง ประกอบด้วย รพ.ระนอง รพ.มะการักษ์ รพ.เพชรบูรณ์ รพ.พระพุทธบาท รพ.พระปกเกล้า และ รพ.นครปฐม
       
       ค้าง 9 เดือน 1 แห่ง คือ รพ.ชัยนาท
       
       ค้าง 10 เดือน 2 แห่ง คือ รพ.ยโสธร และ รพ.พิจิตร
       
       ค้าง11 เดือน 1 แห่ง คือ รพ.เลย
       
       ค้าง 12 เดือน หรือ 1 ปี 5 แห่ง ประกอบด้วย รพ.หาดใหญ่ รพ.สุโขทัย รพ.ยะลา รพ.พระจอมเกล้า และรพ.ชัยภูมิ
       
       ค้าง 13 เดือน 7 แห่ง ประกอบด้วย รพ.อุทัยธานี รพ.อุดรธานี รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน รพ.สตูล รพ.สงขลา รพ.สกลนคร รพ.ศรีสังวร
       
       ค้าง 15 เดือน 1 แห่ง คือ รพ.สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
       
       ค้าง 16 เดือน 3 แห่ง ประกอบด้วย รพ.อ่างทอง รพ.วชิระภูเก็ต และ รพ.พระนั่งเกล้า
       
       ค้าง 17 เดือน 1 แห่ง คือ รพ.นราธิวาสราชนครินทร์
       
       ค้าง 19 เดือน 2 แห่ง คือ รพ.หนองบัวลำภู และ รพ.เสนา
       
       ค้าง 20 เดือน 1 แห่ง คือ รพ.กระบี่
       
       ค้าง 21 เดือน 2 แห่ง คือ รพ.โพธาราม และ รพ.ตรัง
       
       ค้าง 22 เดือน 3 แห่ง คือ รพ.สุไหงโก-ลก รพ.สมุทรสาคร และ รพ.ราชบุรี
       
       ค้าง 24 เดือน หรือ 2 ปี 2 แห่ง คือ รพ.พังงา และ รพ.ตะกั่วป่า
       
       ค้าง 25 เดือน 1 แห่ง คือ รพ.ดำเนินสะดวก
       
       ค้าง 26 เดือน 2 แห่ง คือ รพ.สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 และ รพ.เจ้าพระยายมราช
       
       ค้าง 27 เดือน 1 แห่ง คือ รพ.บ้านโป่ง
       
       นพ.ประดิษฐ์ ไชยบุตร ประธาน สพศท. กล่าวว่า ข้อมูลนี้ สพศท. รวบรวมจากการสอบถามบุคลากรในโรงพยาบาลต่าง ๆ โดยค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นการให้นอกเหนือจากเงินเดือนปกติ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน แนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2556 เป็นเงินจ่ายเพิ่มเติมให้กับบุคลากรตามผลการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล ซึ่งกำหนดให้ใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลแต่ละแห่งมาเป็นค่าตอบแทน แต่เนื่องจากสถานะทางการเงินของโรงพยาบาลหลายแห่งมีปัญหาขาดสภาพคล่อง ทำให้ไม่มีเงินบำรุงโรงพยาบาลเพียงพอที่จะจ่ายค่าตอบแทนให้กับบุคลากร จึงมีปัญหาเรื่องการค้างจ่ายเกิดขึ้น ซึ่งไม่เฉพาะแต่แพทย์เท่านั้น บุคลากรอื่น ๆ ในโรงพยาบาลก็เช่นเดียวกัน ซึ่งผู้บริหาร สธ. ทราบปัญหาดี ที่ผ่านมา ได้พยายามหาแนวทางช่วยเหลือ เช่น ปี 2558 สธ. มีการของบประมาณ จำนวน 3,000 ล้านบาท สำหรับให้จ่ายเป็นค่าตอบแทน แต่เมื่อเฉลี่ยให้กับ รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนที่รวมแล้วกว่า 800 แห่ง ก็ทำให้ได้รับไม่มาก ไม่เพียงพอ
       
       “การจะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง คงทำได้ค่อนข้างยาก เพราะสถานะทางการเงินของ รพ. คงจะไม่ดีดตัวดีขึ้นในเร็ววันนี้ ซึ่งสิ่งที่ทำให้ รพ. เกิดปัญหาสถานะทางการเงินไม่ดี เพราะการได้รับจัดสรรงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวให้กับ รพ.สำหรับดูแลผู้ป่วยตามสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทองนั้น ไม่ตรงกับค่าใช้จ่ายจริงของ รพ. อีกทั้งการเรียกเก็บเงินหลังให้บริการผู้ป่วยตามสิทธินี้ไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ก็ได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย บุคลากรที่ถูกค้างจ่ายเข้าใจสถานะการเงินของ รพ. ดี ก็ได้แต่ทำใจและรอเท่านั้น” นพ.ประดิษฐ์ กล่าว


MGR Online    1 มิถุนายน 2559