ผู้เขียน หัวข้อ: มาตรการทางกฎหมายปลายทางปัญหาการทำแท้ง (บทความพิเศษ)  (อ่าน 2333 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
มาตรการทางกฎหมายปลายทางปัญหาการทำแท้ง (บทความพิเศษ)
ความเศร้าสลดและความตกใจจากเหตุการณ์การพบซากศพเด็กทารกที่เกิดจากการทำ แท้งกว่า 2,000 ศพในวัดไผ่เงินซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และตามมาด้วยการเข้าจับกุมโกดังเก็บยาทำแท้งเถื่อนขนาดใหญ่ที่ลักลอบนำยาทำ แท้งเข้ามาจากต่างประเทศ

เพื่อมาบรรจุแบ่งขายตามร้านขายยาและคลินิกทำแท้งเถื่อนนั้น กระตุ้นและผลักดันให้สังคมต้องหันมาพิจารณาปัญหาการทำแท้งและหาแนวทางแก้ไข ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

การทำแท้งเป็นความผิดอาญาฐานทำให้แท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญา แต่กฎหมายยอมให้มีการทำแท้งโดยไม่มีความผิดเฉพาะกรณีแพทย์ทำแท้งให้หญิงใน สอง กรณี คือ กรณีที่การทำแท้งมีความจำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้นเพราะหาก ปล่อยให้หญิงตั้งครรภ์ต่อไปแล้วจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของหญิง หรือ กรณีที่หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามที่กฎหมายกำหนดคือ ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ความผิดฐานเป็นธุระจัดหาบุคคลไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น และความผิดฐานพาบุคคลไปเพื่อการอนาจาร แต่การทำแท้งต้องได้รับความยินยอมจากหญิงนั้นก่อน การที่กฎหมายกำหนดให้แพทย์ทำแท้งได้นั้นก็เพื่อให้หญิงสามารถยุติการตั้ง ครรภ์อย่างปลอดภัย

การกระทำอันจะเป็นความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายได้รับ อันตรายสาหัสถึงแท้งลูกตามกฎหมายนั้น จะต้องเป็นกรณีที่กระทำให้ลูกในครรภ์ของผู้ถูกทำร้ายคลอดออกมาในลักษณะที่ ลูกนั้นไม่มีชีวิต ส่วนการคลอดก่อนกำหนดเวลาในลักษณะที่เด็กยังมีชีวิตอยู่ต่อมาอีก 8 วันแล้วจึงตาย ดังนี้ไม่เป็นความผิดฐานทำให้แท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญา (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2510,ตัดสินโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2510)

ประเด็นที่เป็นข้อโต้เถียงกันมากที่สุด คือ ปัญหาว่าการทำแท้งเป็นสิทธิของสตรีที่ตั้งครรภ์ หรือเป็นสิทธิของทารกในครรภ์ที่จะมีชีวิตอยู่

ในประเทศไทยสิทธิของทารกในครรภ์มารดาได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 15 ว่า " สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย

ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก"

ในประเทศอังกฤษพระราชบัญญัติการรักษาชีวิตทารก ค.ศ. 1929 มาตรา 1 ระบุว่า ผู้ใดมีเจตนาทำลายชีวิตทารกในครรภ์ที่สามารถคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกให้ถึง แก่ความตายก่อนที่จะคลอดจากครรภ์มารดาเป็นความผิดอาญา และกฎหมายสันนิษฐานว่ามารดาที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ให้ถือว่าเด็กในครรภ์อาจคลอดอยู่รอดมีชีวิตได้

แม้มีข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวแต่คดีแพ่งเรื่องหนึ่งโจทก์ฝ่ายชายยื่น ฟ้องต่อศาลอังกฤษขอคุ้มครองชั่วคราวห้ามจำเลยฝ่ายหญิงทำแท้งเนื่องจากเด็กใน ครรภ์มีอายุระหว่าง 18 - 21 สัปดาห์ ศาลโดย Sir John Donaldson พิพากษาว่าถ้าทารกในครรภ์

ได้มีพัฒนาการตามปกติแล้วแต่ยังไม่อาจหายใจได้นั้น ไม่อาจถือได้ว่าสามารถคลอดออกมามีชีวิตรอด ดังนั้นมารดาทำแท้งได้ โจทก์จึงแพ้คดี C v S (ปี ค.ศ. 1988)

ในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่ง Rance v Mid-Downs Health Authority (ปี ค.ศ. 1991) มารดาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโรงพยาบาลอ้างว่าตนสูญเสียสิทธิในการทำแท้ง เนื่องจากโรงพยาบาลประมาทเลินเล่อไม่แจ้งความผิดปกติของเด็กในครรภ์ในขณะที่ ตรวจครรภ์อายุ 26 สัปดาห์ เป็นเหตุให้เด็กคลอดออกมาไม่สมประกอบ มารดาต้องออกจากงานเพื่อเลี้ยงดูบุตรที่พิการ ศาลอังกฤษพิพากษาว่าช่วงอายุครรภ์ 26 หรือ 27 สัปดาห์นั้นเด็กอาจหายใจได้เองในช่วงสั้นๆ จึงสามารถคลอดอยู่รอดมีชีวิต ดังนั้น มารดาจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโรงพยาบาลเนื่องจากไม่มีสิทธิที่จะที่ จะทำแท้งในช่วงเวลาดังกล่าว

ต่อมาประเทศอังกฤษได้ตราพระราชบัญญัติการทำแท้ง ค.ศ. 1967 มีผลบังคับใช้เมื่อ 27 เมษายน ค.ศ.1968 กำหนดให้การกระทำไม่เป็นความผิดฐานทำแท้ง ในกรณีที่แพทย์ขึ้นทะเบียนเป็นผู้กระทำการยุติการตั้งครรภ์และมีแพทย์ 2 คนมีความเห็นโดยสุจริตว่า

หากปล่อยให้การตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ไม่เกิน 24 สัปดาห์ดำเนินต่อไปจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายแก่สุขภาพร่าง กายหรือจิตใจของหญิงหรือของเด็กในครอบครัวของหญิงมากกว่าการยุติการตั้ง ครรภ์

มีความจำเป็นต้องการยุติการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายร้ายแรงถาวรขึ้นแก่ร่างกายหรือจิตใจของหญิง

หากปล่อยให้การตั้งครรภ์ต่อไปจะก่อให้เกิดความเสี่ยงถึงแก่ชีวิตของหญิงมากกว่าการยุติการตั้งครรภ์

มีความเสี่ยงว่าหากเด็กคลอดออกมาเด็กจะผิดปกติไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจเป็นความผิดปกติถึงขั้นพิการอย่างร้ายแรง

นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเห็นชอบ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่กำหนดหลักการ และสิทธิพื้นฐานสำหรับเด็กทุกคน โดยอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ 1 กำหนดว่า "เพื่อความมุ่งประสงค์แก่อนุสัญญานี้ เด็ก หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อายุต่ำกว่าสิบแปดปี เว้นแต่จะบรรลุนิติภาวะก่อนหน้านั้นตามกฎหมายที่ใช้บังคับแก่เด็กนั้น"และใน ข้อ 6 กำหนดว่า "1. รัฐภาคียอมรับว่า เด็กทุกคนมีสิทธิติดตัวที่จะมีชีวิต 2. รัฐภาคีจะประกันอย่างเต็มที่เท่าที่จะทำได้ ให้มีการอยู่รอด และการพัฒนาของเด็ก" ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน อนุสัญญาดังกล่าวในพ.ศ. 2535

ปัญหาการทำแท้งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของสตรี สิทธิของทารกที่อยู่ในครรภ์ ความเชื่อทางศาสนา รวมถึงคุณธรรม จริยธรรม ขนบ

ธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรมอันดีของสังคม

การแก้ไขปัญหาการทำแท้งนั้นควรแก้ไขด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เพศสัมพันธ์และการวางแผนครอบครัว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม ตลอดทั้งการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม การควบคุมโดยการบังคับใช้กฎหมาย กฎระเบียบต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างจริงจังแม้เป็นเพียงปลายทางของปัญหา การทำแท้ง หากได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบควบคู่ไปกับการป้องกันและปราบปรามก็จะสามารถ แก้ไขปัญหาการทำแท้งได้อย่างเป็นรูปธรรม

สราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
วันที่ 2/12/2010