แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - Meem

หน้า: 1 ... 168 169 [170]
2536
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการ สาธารณสุข แพทย์กลายเป็นผู้ร้ายจริงหรือ?

จากการที่สมาคมผู้บริโภค เครือข่ายผู้เสียหายจากทางการแพทย์ และเครือข่ายต่างๆ ได้มีการแถลงการณ์เกี่ยวกับการยืนยันที่ว่า "ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ..." ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในเดือน สิงหาคมที่จะถึงนี้ เป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้ และจะช่วยไม่ให้เกิดการฟ้องอาญาต่อแพทย์ โดยหลักการนี้มีหัวใจที่สำคัญคือ การช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายจาการรับบริการสาธารณสุขโดยที่จะไม่มีการ พิสูจน์ความผิดและผู้ที่กระทำความผิด และเป็นระบบที่มุ่ง"ชดเชยความเสียหาย" มิใช่การมุ่งหาผู้กระทำความ ผิดมาลงโทษแต่อย่างใด แต่ถึงกระนั้นทางแพทย์เองก็เกิดความกังวลและตระหนกต่อประเด็นนี้เป็นอย่าง ยิ่ง

ผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์ได้สัมภาษณ์ นายแพทย์พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เกี่ยว กับประเด็นที่กำลังเป็นข้อโต้เถียงในปัจจุบัน

จริงๆแล้ว กฏหมายมีความน่ากลัวอย่างที่คนเขาตกใจกันหรือไม่?

ต้องถามว่าจริงๆแล้วความน่ากลัวอยู่ตรงประเด็นไหน เนื่องจากจริงๆแล้วเจตนารมณ์ในการเขียนจดหมายฉบับนี้มีความชัดเจนอยู่แล้ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากฏหมายไม่ได้ตั้งใจให้เกิดผลกระทบกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และก็มีการคาดหวังกันส่วนหนึ่งว่าการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับความสูญ เสียนั้น ส่วนหนึ่งจะส่งผลกระทบทางอ้อมให้การฟ้องร้องของแพทย์ลดลง ฉะนั้นถ้ามองจากเจตนารมณ์จริงๆก็ไม่น่ากลัว แต่ปัญหาก็คือ ความกลัวและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในหมู่ของผู้ประกอบวิชาชีพเกิดจากการตีความว่าผลกระทบของ กฏหมายนั้นอาจจะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์

นั่นหมายความว่าแพทย์ก็มีความเสี่ยงที่จะการโดนลง โทษทางอาญา และอาจโดนเพิกถอนใบอนุญาต?

จริงๆแล้วกฏหมายไม่ได้เขียนอะไรที่เกี่ยวกับเรื่องการฟ้องทาง คดีอาญาไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่างที่เสนอโดยกระทรวงสาธารณสุข เพราะฉะนั้นการฟ้องคดีอาญา เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนอยู่แล้ว ที่จะฟ้องร้องในกรณีที่เกิดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษา และสามารถพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง การฟ้องเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีกฏหมายนี้ และสิทธินั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากที่มีกฏหมายฉบับนี้ แต่ประเด็นที่มีการวิตกกังวลกันก็คืออยากจะให้มีการเขียนในกฏหมายฉบับนี้ว่า ไม่ให้มีการฟ้องคดีอาญา แต่กฏหมายฉบับนี้ไม่ได้ระบุไว้ ซึ่งก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพปัจจุบัน แต่ก็ไม่ได้ทำให้สภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบันแย่ลง

กฏหมายนี้มีหลักการที่สำคัญ ที่นอกเหนือจากการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการใช้บริการ ทางการแพทย์ โดยไม่มีการเน้น "การพิสูจน์ถูกผิด" โดยแยกออกจากการเยียวยาอย่างชัดเจน กฏหมายแพ่งผูกสองประเด็นนี้ เข้าไว้ด้วยกัน เพราะทุกครั้ง การที่มีการเยียวยาได้ ต้องมีการพิสูจน์ได้ว่า มีผู้กระทำผิดจริง กฎหมายแพ่งจึงสามารถใช้บังคับผู้กระทำความผิดมาเยียวยาผู้เสียหายได้

โดยกฏหมายนี้ใช้หลักการที่ว่า "No False" เน้นในประเด็นไม่มีการพิสูจน์ถูกผิด เน้นการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายเป็นประเด็นสำคัญ ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจากประเด็นทางกฏหมายแพ่งก็น่าจะผ่อนจากหนักให้เป็น เบาได้
แต่บางคนกลับมองว่า การไม่พิสูจน์ถูกผิดกลับกลายเป็นผลเสีย เนื่องจากเท่ากับเป็นการส่งเสริมให้มีการกระทำผิดหรือไม่ แต่เรากลับมองว่าจริงๆแล้วกระบวนการในการทำให้ผู้ที่มีปัญหาในการรักษา มาตรฐานในการประกอบอาชีพ มีกฏหมายประเภทอื่นๆที่รองรับอยู่แล้ว โดยที่กฏหมายนี้ไม่จำเป็นต้องไปเกี่ยวข้อง และปล่อยให้กลไกทางกฏหมายอื่นดำเนินสภาพไปตามปกติ

แต่ก็มีความกังวลว่ากฏหมายฉบับนี้จะเป็นประตู ที่เปิดไปสู่กระบวนการใช้กลไกของแพทยสภาได้ง่ายขึ้น

การฟ้องร้องหรือร้องขอให้แพทยสภามีการสอบสวนความประพฤติของ แพทย์ มีการดำเนินการอยู่แล้ว เรื่องนี้จึงไม่ได้ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด จากเดิมที่อาจจะเคยร้องเรียนหน่วยงานต้นสังกัด หรือร้องเรียนต่อศาล ซึ่งแพทยสภาสามารถหยิบมาเป็นกรณีในการสอบสวนการกระทำผิดของแพทย์สภาพการณ์ ของเรื่องนี้ก็ไม่ได้ต่างไปจากเดิม เพียงแต่ว่าต่อไป ผู้เสียหายอาจจะไม่ไปฟ้องร้องต่อหนังสือพิมพ์หรือศาล แต่มาร้องเรียนที่สำนักงานกองทุนที่ตั้งขึ้นมาใหม่โดยตรงเพื่อโน้มน้าวให้คน เข้ามาใช้กลไกนี้แทนการฟ้องร้องผ่านศาล

โดยโครงสร้างที่ว่า นี้ จะทำให้มีคณะกรรมการเกิดขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง หลายคนได้วิจารณ์ว่าคนที่อยู่ในคณะกรรมการกลุ่มดังกล่าว มีความครอบคลุมตัวแทนทุกฝ่ายเพียงพอหรือไม่

ภายใต้โครงสร้างของกฏหมายฉบับนี้ จะมีกรรมการในระบบนโยบายชุดหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ในการกำหนดกรอบนโยบายในการบริหาร รายละเอียดบางเรื่องที่ไม่ได้เขียนชัดเจนไว้ในกฏหมายก็จะต้องให้กรรมการเป็น ผู้กำหนด ซึ่งรวมถึงอัตราการชดเชยความเสียหายต่างๆ การดูแลในระบบปฏิบัติการนั้นเป็นหน้าที่ของสำนักงานซึ่งจะดำเนินการตามนโบาย ที่คณะกรรมการกำหนด ส่วนการดำเนินการพิจารณาในรายกรณี ก็จะเป็นหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ โดย

-พิจารณาว่าเข้าข่ายที่จะใช้กฏหมายนี้หรือไม่

-ความเสียหายนั้นมีมูลค่าของการชดเชยตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด เป็นอย่างไร

เมื่อดูจากคณะกรรมการชุดใหญ่ ก็จะประกอบด้วยคนที่เกี่ยวข้องที่สามารถให้มุมมองในเชิงนโยบายได้ ซึ่งประกอบด้วย สถานพยาบาล หน่วยราชการ ผู้เสียหาย ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งพิจารณาแล้วก็น่าจะไม่มีปัญหาอะไรในเชิงองค์ประกอบ แต่ข้อถกเถียงส่วนใหญ่ก็คือ การอยากให้มีผู้แทนของผู้ประกอบวิชาชีพและสถานพยาบาลมากขึ้น เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านนี้ดีที่สุด

เนื่องจากกฏหมายฉบับนี้ไม่เน้นพิสูจน์ถูกผิด จึงอาจไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญทางการแพทย์เฉพาะด้านมากเท่า ที่ควร แค่สามารถระบุได้ว่าความผิดพลาดนั้นเกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล และไม่เข้าข่ายการยกเว้นในการที่จะจ่ายเงินช่วยเหลือ เพราะฉะนั้นคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวก็จะยังคงมีบุคลากรทางการแพทย์อยู่ เพียงแต่ไม่ได้เป็นเสียงส่วนใหญ่เท่านั้นเอง โดยมีหน้าที่ในการพิจารณาจำนวนเงินเพื่อชดเชยความเสียหาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับทางการแพทย์น้อยมาก แต่มีความต้องการผู้เชี่ยวชาญทางด้านสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องมากกว่า

ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าจะมีการใช้เสียง ข้างมากหรือไม่ น่าจะเป็นการตีความที่เกินกว่าสิ่งที่กฏหมายต้องการอยากจะให้เป็น โดยผู้ที่คัดค้านมีความเห็นว่ากรรมการอาจจะใช้เสียงข้างมากในการพิจารณาหรือ ไม่ ซึ่งเป็นการตีความหลักการเขียนกฏหมายมาตรฐานทั่วไปในเรื่องของกรรมการไปเป็น รูปธรรม ว่านี่คือสิ่งที่จะใช้เสียงข้างมากเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ ซึ่งดูเป็นความวิตกที่เข้าใจได้ และน่าเห็นใจอย่างยิ่ง

ในกรณีที่มีความเสียหายเล็กๆน้อยๆ ซึ่งมิได้เกิดจากผลการรักษา หรือเกิดจากความเจ็บป่วยของผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาได้ นั้นคงไม่สามารถทำได้ในทุกกรณี แต่ในกรณีขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ นั้นยังคงมีความจำเป็นอยู่

เข้าใจว่าร่าง กฏหมายนี้ประกอบด้วยร่างของผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้เสียหายและร่างที่เป็นส่วนกลางของรัฐบาล ใช่หรือไม่

ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เท่าที่ทราบมีทั้งหมด 7 ร่าง ซึ่งได้แก่

-ร่างพระราชบัญญัติของกระทรวงสาธารณสุข

-ร่างพระราชบัญญัติของคุณสารี อ๋องสมหวัง กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 10,631 คน

ส่วนที่เหลืออีก 5 ร่างพ.ร.บ. นั้นเป็นร่างของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) โดยมีชื่อของส.ส. ที่ยื่นเสนอ ในนามของตนเองคนละร่าง

สิ่งที่จะต้องจับตา ดูก็คือการแปรญัตติในชั้นกรรมาธิการ ซึ่งอาจจะทำให้เจตนารมย์ที่กล่าวมาเบื้องต้นมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

ถ้าเราสามารถใช้ข้อมูล หลักการและเหตุผลโดยตัดความรู้สึกอคติของทั้งสองฝ่ายบางส่วนออก ก็จะเป็นสิ่งที่ดีมาก ซึ่งในบางครั้งในเวลาที่สังคมต้องการการปฏิรูปไปสู่ความสมานฉันท์ ความเป็นเอกภาพ ภราดรภาพ ทั้งสองฝ่ายต่างจำเป็นต้องทำความเข้าใจกันมากขึ้น เนื่องจากหลายครั้งเป็นลักษณะของการตั้งแง่กันว่า ทำไมอีกฝ่ายจึงไม่เข้าใจฝ่ายตนเอง

กลุ่มเครือข่ายแพทย์ ผู้ประกอบวิชาชีพ กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.นี้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับผู้รักษาพยาบาลห่างออกไปยิ่งขึ้น และแพทย์ โรงพยาบาล ป้องกันความเสี่ยงของตนเอง โดยการบวกค่าความเสี่ยงทั้งหมดลงในค่ารักษาพยาบาล ซึ่งเป็นผลเสียทั้งสองด้าน และเป็นสิ่งที่ควรจะพูดถึงเพื่อให้สังคมเข้าใจว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ ไม่

อันดับแรก เราต้องไม่ให้วัฒนธรรมการ ฟ้องร้องกลายเป็นวัฒธรรมหลักของคนในระบบสุขภาพในประเทศไทย เนื่องจากเป็นที่ปรากฏแน่นอนแล้วว่าประเทศที่มีวัฒนธรรมเช่นนี้ย่อมมีค่าใช้ จ่ายสูงตามไปด้วย โดยทุกคนจะทำเวช ปฏิบัติเชิงป้องกัน (Defensive Medicine) ทุกครั้งที่มีความ กังวลต่อผลการรักษา ซึ่งภาระจะตกอยู่กับตัวผู้ป่วยเองทั้งสิ้น

ทั้งนี้เราจะสามารถป้องกันวัฒนธรรมการฟ้อง ร้องได้โดยเราต้องสร้างระบบที่ต่างฝ่ายต่างมีความไว้วางใจซึ่งกันและกันมาก ขึ้น ผู้ป่วยที่มีประสบการณ์ที่ไม่ดีต่อผู้ประกอบวิชาชีพบางคน ก็ต้องเข้าใจว่าผู้ที่ประกอบวิชาชีพส่วนใหญ่ก็ยังประกอบวิชาชีพตามมาตรฐาน ที่ควรจะเป็น โดยมีความรับผิดชอบอยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้ เพราะฉะนั้น ประสบการณ์ส่วนบุคคลบางครั้งก็ไม่ควรไปเหมารวม ให้เกียรติและพูดคุยกันอย่างเข้าใจว่าทุกวงการก็มีบุคคลที่มีปัญหาอยู่ ในส่วนของผู้ประกอบวิชาชีพก็ควรจะมีความเข้าใจว่าไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคนที่ต้อง การฟ้องร้องดำเนินคดีกับแพทย์ เนื่องจากพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากมีความเคารพศรัทธาต่อแพทย์เช่นกัน และเราต้องทำความเข้าใจว่าในสังคมส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น อย่าด่วนสรุปว่าใครที่จะมาสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง

เมื่อแต่ละฝ่ายมีความไว้วางใจกัน ความหวาดระแวง การตั้งป้อมตรวจสอบแต่ละฝ่ายก็จะลดลงด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การพูดคุยเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหา แทนที่จะผลักความผิดไปที่ใครบางคน ซึ่งหลายครั้งก็พบว่าในความเสียหายต่างๆก็ไม่มีผู้ที่ทำความผิดจริงๆ เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ แม้ว่าจะได้ทำในสิ่งที่ดีที่สุดก็ตาม

สถิติของการฟ้องร้องของผู้เสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุข มีสถิติย้อนหลังมากน้อยเพียงใด

คดีที่มาสู่แพทยสภานั้น ในช่วงก่อนปี 2540 เฉลี่ยแล้วประมาณ 50-60 รายต่อปี แต่หลังจากช่วงปี 2540 เศษที่ผ่านมา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เฉลี่ย 200 รายต่อปี ซึ่งคิดเป็นประมาณ 4 เท่า ซึ่งนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้แพทย์เกิดความหวาดกลัว เนื่องจากเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นมากในระยะเวลาสั้นๆ

หากร่างพ.ร.บ. นี้ จำนวนเรื่องที่ไปสู่แพทยสภาก็น่าจะลดลงหรือไม่

การฟ้องแพทยสภา เป็นการฟ้องเพื่อให้มีการดำเนินการเอาผิดกับแพทย์ในเชิงของมาตรฐานในการ ประกอบวิชาชีพ ส่วนการฟ้องศาลเพื่อต้องการเรียกร้องเงินชดเชย หรือกรณีอาญาก็เพื่อลงโทษแพทย์ที่ทำผิดในเชิงละเมิดต่างกรณีไป กองทุนที่ตั้งขึ้นมาใหม่ เน้นในเรื่องของการลดการฟ้องร้องทางแพ่ง ความเดือดร้อนที่ได้รับการชดเชย ก็ จะลดอารมณ์คุกรุ่นที่อาจต้องการดำเนินการทางกฏหมายลงได้ ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็จะมีการตอบสนองที่รู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความ เป็นธรรม ถ้าระบบได้สร้างความรู้สึกที่ว่าระบบมีความเป็นธรรม และแก้ไขปัญหา การดำเนินการต่อเนื่องก็น่าจะลดลงด้วย

โดยสมมุติฐานนี้มีหลัก ฐานยืนยันของกรณีการดำเนินการตามมาตรา 41 โดยพบว่าผู้ฟ้องร้องจำนวนหนึ่งเปลี่ยนใจไม่ฟ้องร้อง เพราะได้เงินชดเชยตามมาตรา 41 ซึ่งเกิดจากความสนใจ และเอาใจใส่ของผู้ให้บริการในความพยายามที่จะให้ผู้ป่วยได้รับเงินชดเชย ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองได้รับความเป็นธรรมและการเหลียวแลจากเจ้า หน้าที่รัฐ

ในหลายเวทีของเครือข่ายผู้ป่วย ผู้ที่มักจะตกเป็นจำเลยอยู่เสมอก็คือแพทยสภา ที่ว่าทำงานล่าช้า และปกป้องพวกพ้อง

นี่คือปัญหาที่สะท้อนเรื่องความไม่ไว้วางใจของประชาชน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่จำเป็นต้องมีการทำการศึกษาต่อไป เรื่องความล่าช้า ในกรณีของศาล เราจะพบว่ามีความล่าช้าค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่มีการตั้งคำถามต่อความไม่เป็นกลางหรือไม่เป็นกลาง แต่เนื่องจากสถาบันศาลค่อนข้างมีความน่าเชื่อถือ และมีทุนทางสังคมที่ค่อนข้างสูงมาก จนคนทั่วไปไม่มีการตั้งคำถาม แต่เราจะทำอย่างไรให้แพทยสภา ที่มีเจตจำนงในการที่มีกลไกเช่นนี้ออกมาเพื่อรักษามาตรฐานในการประกอบ วิชาชีพ สามารถทำให้คนเกิดความรู้สึกศรัทธาด้วย เช่นเดียวกับ กลไกความยุติธรรม ความศรัทธาเกิดจากการมองปัญหาที่ดำรงอยู่และจุดที่ทำให้คนรู้สึกเช่นนี้ เกิดจากอะไร ข้อเท็จจริงคือคนเริ่มศรัทธาน้อยลง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนไม่ศรัทธา เราโทษคนไม่ศรัทธาไม่ได้ เราต้องมาพิจารณาว่าเกิดจากประเด็นใดกันแน่

ในกรณีที่มีการจ่าย ค่าเสียหาย ระหว่างคนรวย และคนจน มีหลักการในการจ่ายอย่างไร

ในระหว่างการร่างกฏหมายจะมีอยู่สองแนวคิด คือแนวคิดตามหลักกฎหมายแพ่ง คือการคำนึงถึง "ฐานานุรูป" คือ ซึ่งเมื่อเวลาที่เราพูดถึงคนที่ได้รับความเสียหายจน ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ เขาประกอบอาชีพอะไร สามารถหารายได้ได้เท่าไหร่ และชดเชยไปตามจริง ซึ่งในกรณีนี้วงเงินจะแตกต่างกันมากขึ้นอยู่กับผู้ได้รับความเสียหายเป็น อย่างไร ซึ่งในการยกร่างก็มีความต้องการให้มีการชดเชยอย่างเหมาะสม เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น โดยมองว่าน่ามีการเสนอด้วยอัตราเดียวโดยไม่คำนึงถึงฐานานุรูป ซึ่งไม่ว่าคนจะมีฐานะร่ำรวยอย่างไรก็จะได้อัตราเดียวกับผู้ที่มีฐานะด้อย กว่า แต่หลักการนี้ไม่ได้มีการเขียนมาตราไว้ในกฏหมายชัดเจนให้อยู่ในอำนาจของคณะ กรรมการ เพราะฉะนั้นก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการว่าจะมีการตัดสินอย่างไร

คุณหมอมีความคาด หวังเพียงใดว่ากฎหมายตัวนี้จะผ่านความเห็นชอบจากสภาได้ทันเวลาหรือไม่

เนื่องจากนี่เป็นขั้นตอนทางรัฐสภา และเป็นกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงิน ดังนั้นจึงจะมีการพิจารณาที่ลึกลงในรายละเอียด และมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายกลุ่ม การถกเถียงในประเด็นนี้อาจต้องใช้เวลานานกว่าปกติ  เนื่องจากเป็นกฏหมายที่คนมีความคิดเห็นแตกต่างกันมาก และสังคมต้องจัดการความแตกต่างนี้เพื่อนำไปสู่ข้อยุติให้ได้

ส่วนข้อกล่าวหาที่ ว่า มีการหาเสียงกันในแพทยสภา จริงหรือไม่

มันน่าจะเป็นการพูดโดยที่ไม่มีข้อมูลหลักฐาน ใดๆ เป็นการคาดการณ์กันไปที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่า ทำไมเราไม่มาพูดกันในเนื้อจริงๆ ต่างคนต่างไปพูดเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกฏหมาย การไม่พูดในทำนองนี้น่าจะทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีได้

ทางกระทรวงสาธารณ สุขพยายามที่จะเปิดเวทีเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมาพูดกันเกี่ยวกับกฏหมายฉบับนี้ พร้อมกันหลายครั้ง แต่ดูเหมือนว่าก็ยังไม่มีการเปิดใจที่เพียงพอ

การมีเวที เป็นเครื่องมือหนึ่งในการที่ใช้ทำความเข้าใจและจัดการกับความเห็นที่แตกต่าง แต่คนที่มา มาด้วยความยึดมั่นถือมั่นและความพยายามที่จะเข้าใจอีกฝ่ายมีไม่มากพอ ประกอบกับความวิตกที่เกิดจากการมองเรื่องเหล่านั้นที่แตกต่างกันไป เวทีก็จะกลายเป็นเวทีขัดแย้ง ไม่ใช่เวทีเพื่อสมานฉันท์ เห็นได้จาก หลายเวทีที่หลายฝ่ายมีความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งก็ไม่มีความสุขเท่าไหร่ที่เห็นการเผชิญหน้าเช่นนั้น ยังอยากจะเห็นความถ้อยทีถ้อยอาศัย และคุยกันเพื่อหาทางออกให้กับการแก้ปัญหานี้ในระยะยาว อาจจะเป็นกลไกอื่นที่ช่วยลดการเผชิญหน้าที่ไม่ให้ทั้งแพทย์และคนไข้ ซึ่งต่างฝ่ายต่างจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกัน และอยู่กันแบบลงตัว ต่างฝ่ายต่างได้รับการให้ความสำคัญและดูแลกันได้ตามสมควร

วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 19:35:14 น.  มติชนออนไลน์

2537
แด่...ความรู้สึกเลวๆที่มาเยือนในเรือนใจ
ขอไว้อาลัย แด่... กระทรวงสาธารณสุขที่เคยอบอุ่น (แต่วันนี้มันร้อน ด้วยความห่วยของผู้บริหาร และนักการเมือง ความชั่วของเอ็นจีโอกับผู้เลี้ยงดูเอ็นจีโออาวุโส)
ขอไว้อาลัยแด่... วิชาชีพที่กำลังล่มสลาย

ปัญหาของระบบสุขภาพและการสาธารณสุขไทย มันเริ่มจาก การบริหารและแย่งอำนาจในกระทรวงของคนห่วยๆบางกลุ่ม

บางกลุ่มสุมหัวกันในความคิดในการเขยื้อนภูเขาของคนบางคน รู้ครับ ว่ามีฤทธิ์เดชพอที่จะเขยื้อนภูเขาได้

แต่ก็รู้ว่า ท่านไม่รู้ว่าการเขยื้อนภูเขานั้นก่อความเดือดร้อนเป็นผลกระทบในวงกว้างอย่างไร

คือท่านจะเขยื้อนภูเขาหาสวรรค์อะไรไม่ทราบ เพียงแค่อยากพิสูจน์ทฤษฎีของตัวเองให้คนเดือดร้อนไปทั่ว

ทางหนึ่งแสดงตนเป็นคนทรงภูมิปัญญา แสดงตนสมถะ อยากเลียนแบบมหาตมะคานธี เป็นราษฎรไม่ใช่รัฐบุรุษ

ทางหนึ่งเลี้ยงเอ็นจีโอ ทางหนึ่งออกกฎหมายแล้วต้องมีกองทุนก้อนใหญ่มหาศาล

ทางหนึ่งต้องเข้าไปบริหารกองทุน ทางหนึ่งเคลื่อนไหวในสังคมด้วยเอ็นจีโอที่เลี้ยงไว้

ทางหนึ่งหลอกนักการเมืองหน้าโง่ ให้เข้าใจว่าเอ็นจีโอที่เลี้ยงไว้นั้นล้มรัฐบาลได้
........

วันนี้ เห็นการทำงานของรัฐมนตรีประชาธิปัตย์แล้ว ผิดหวัง เสียใจ

มองประเทศไทยแล้ว มองไม่เห็นว่าจะฝากอนาคตไว้กับนักการเมืองคนไหน?

มันจะเสนอกฎหมาย มันอ่านแค่ใบปะหน้า ไม่อ่านเนื้อความ

นี่มันออกสิ่งที่เรียกว่ากฎหมายหรือ? 

หรือว่าไอ้ที่มันจะออกนั้นเป็นกติการการใช้ส้วมบ้านมัน? โธ่ ...!!...ไอ้จุลินทรีย์
.......
โรงพยาบาลทั่วประเทศ จัดสัมมนาหลายแห่ง ล้วนแล้วมีแต่ความรู้สึกที่เลวต่อร่างกฎหมายทั้ง๖ฉบับ

ความรู้สึกของแพทย์ พยาบาล บุคคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ไป

มีความรู้สึกเลว ต่อการกระทำที่จะทำให้กฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้น

เช่นเดียวกับ

ความรู้สึกเลวต่อผู้กระทำให้กฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้น

ความรู้สึกเลว เกิดขึ้น เนื่องจาก

การประกอบอาชีพสุจริต ซื่อสัตย์ต่อหน้่าที่

ยังต้องมาอดทนต่อความเจ็บใจที่วิชาชีพและเพื่อนร่วมวิชาชีพทั้งหมดถูกกระทำ โดยคนบางกลุ่มและผู้หวังประโยชน์

หามีนักการเมืองคนใดที่จะยืนหยัดในความถูกต้องไม่ 

ล้วนแล้วแต่หาสมองที่ดี จิตใจที่ประเสริฐ ในการบริหารบ้านเมือง ไม่ได้

ล้วนแล้วจะหาสมองที่ดี จิตใจที่ประเสริฐ ในการเป็นผู้รับผิดชอบบ้านเมือง ให้ดี ไม่ได้

ล้วนแล้วจะหาสมองที่ดี จิตใจที่ประเสริฐ ในการเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ดี รู้จักผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ ของผู้บริหารกระทรวงที่ดี ไม่ได้

นักการเมืองน่ะหรือ หากกฎหมายเลวๆอีกหลายฉบับที่ออกมาแล้วและที่กำลังเดินหน้าออกมากันนั้น ยังเดินหน้าต่อ ไม่มีการแก้ไข 

วิกฤตในอนาคตคือ

ความล่มสลายของระบบคุณธรรมในวิชาชีพ 

ชีวิตประชาชนจะถูกทอดทิ้ง

เพราะหากหมอทั้งหลาย รู้สึกว่าการช่วยชีวิตคนนั้น

นอกจากจะเป็นความเหน็ดเหนื่อย แล้ว

ยังเป็นการที่หมอคิดว่า   

การช่วยชีวิตคนเป็นการเสี่ยงต่อการติดโรคจากคนป่วย แล้ว

ยังจะต้องมาเสี่ยงชีวิตกับการถูกเล่นงานทางกฎหมายอีกมากมาย

ประชาชนจะเสี่ยงเพียงใด

รัฐบาลอยากจะให้มีปรากฏการณ์เช่นนี้ หรือไม่?  เลือกเอา

ขอบอกว่า กฎหมายเลวๆมาจากคนเลวๆ 

กฎหมายชั่วๆ มาจากคนชั่วๆ

ผลกระทบของกฎหมาย หากออกมาชั่ว ออกมาเลว จะนำไปสู่การลุกขึ้นสู้
ขอบอกว่า มีคนไม่น้อย  ที่จะไม่ยอมสยบต่อความไม่เป็นธรรม โดยไม่สู้
วิชาชีพทั้งประเทศ จะลุกขึ้นสู้ สู้กับกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม

พรรคการเมืองใดอยากเอาใจพวกเอ็นจีโอ หาประโยชน์ใส่ตัว และยอมเป็นศัตรูกับวิชาชีพทั้งหมด   ...............ก็เลือกเอา
วันนี้ ขอบอกว่า สิ้นศรัทธา พรรคที่สอง ต่อจากไทยรักไทย คือ ประชาธิปัตย์  ประชาชนต้องมาก่อน ประชาธิปัตย์ มาทีหลัง 
ประชาชนบังหน้า ประชาธิปัตย์อยู่ข้างหลัง  เคยคิดเคยทำอะไรที่ยืนกรานในความถูกต้องบ้าง นอกจากการโหนกระแสสังคม
แล้วจะให้เชื่อหรือว่า พรรคคุณประชาชนพึ่งได้????
ศัตรูของวิชาชีพทั้งประเทศ



2538
ห้องพักผ่อนรวม (Common Room) / Just a Joke#1---about the condom
« เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2010, 14:47:27 »
A man walks into a drug store with his 8-year-old son. They happen to walk by the condom display,

and the boy asks, "What are these, Dad?"
The man matter-of-factly replies, "Those are called condoms, son. Men use them to have safe sex."

"Oh I see," replied the boys pensively. "Yes, I've heard of that in health class at school."
He looks over the display and picks up a package of three and asks, "Why are there three in this package."
The dad replies, "Those are for high-school boys. One for Friday, one for Saturday, and one for Sunday."

"Cool!" says the boy. He notices a pack of six and asks "Then who are these for?"
"Those are for college men," the dad answers, "Two for Friday, two for Saturday, and two for Sunday."

"WOW!" exclaimed the boy. "Then who uses these?" he asks, picking up a 12-pack.
With a sigh, the dad replied, "Those are for married men. One for January, one for February, one for March and one for...."

2539
ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....

มีร่างพ.ร.บ.นี้อยู่ 6 ร่างเรียงตามลำดับที่เสนอคือ

1.นายเจริญ จรรย์โกมล และสส.พรรคพลังประชาชน  24 เม.ย. 2551

2.นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ และสส.พรรคพลังประชาชน 2 ต.ค. 2551

3.นายสุทัศน์ เงินหมื่น และสส.พรรคประชาธิปัตย์  2 พ.ย. 2552

4.นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ และสส.พรรคภูมิใจไทย 19 พย. 2552

5.นส.สารี อ๋องสมหวัง และประชาชนอีก 10,007 คน 5 มิย. 2552

6.ครม.โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 27 เมย. 2553

พ.ร.บ.ทั้งหลายเหล่านี้ รอเข้าสู่การพิจารณาในสภาผู้แทนฯในวาระสมัยเปิดประชุมที่จะถึงนี้

สรุปสาระของฉบับที่ 1 ของนายเจริญและคณะ ดังนี้
คำจำกัดความ ความเสียหายต่อจิตใจ ได้แก่ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน ความหวาดกลัว ความวิตกกังวล ความเศร้าโศกเสียใจ ความอับอาย หรือความเสียหายต่อจิตใจอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน

เงินช่วยเหลือเบื้องต้น เงินจากกองทุน เพื่อใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

หมวด 1

ม.5 ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยจากกองทุน โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าความเสียหายนั้นเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ให้บริการหรือไม่

ม. 6  บทบัญญัติในม. 5 ไม่ให้ใช้บังคับในกรณีต่อไปนี้

(1) ความเสียหาย ที่เกิดจาการดำเนินไปตามพยาธิสภาพของโรค ตามปกติธรรมดาของโรคนั้น

(2) ความสึยหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการรักษาแล้ว ไม่มีผลต่อการดำเนินชีวิตตามปกติ

ม.7 เงินชดเชยตามม. 5 หมายถึง

(1) คาใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ

(2)ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้

(3)ค่าชดเชยในกรณีพิการหรือทุพพลภาพ

(4)ค่าชดเชยความเสียหาย.ทางจิตใจ

(5) ค่าชดเชยในกรณีถึงแก่ความตาย

(6)ค่าชดเชยการขาดไร้การอุปการะ กรณีถึงแก่ความตายและมีทายาทที่จะต้องเลี้ยงดู

(7) ค่าชดเชยเพื่อความเสียหายอย่างอื่น อันมิใช่ตัวเงิน

หมวด 2 ว่าด้วยคณะกรรมการ

ม.8 คณะกรรมการ รมว.สธ.เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วยปลัดสธ. ปลัด พม. ผอ.สนงปม. เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมและนายกสภาทนายความ ผู้แทนสถานพยาบาล 3 คน NGO ด้านคุ้มครองผู้บริโภค 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน ที่รมว.แต่งตั้งจาก ผชช.นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ สื่อสารมวลชน การแพทย์และสาธารณสุขและด้านสิทธิมนุษยชน

หมายเหตุ กรรมการ 18 คน มีผู้ทรงคุณวุฒิจากแพทย์ 1 คน และจากสถานพยาบาล(อาจไม่ใช่แพทย์)อีก 3 คนเท่านั้น

ม. 12 การประชุมให้ถือเสียงข้างมาก

ม.13 คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการ

(1) อนุฯพิจารณาคำร้องขอรับเงินชดเชยจำนวน 5-7 คน จากผู้ทรงฯสาขา นิติ,การแพทยืและสาธารณสุข,สังคมศาสตร์ จำนวน 3 คนผู้แทนสถานพยาบาล และผู้แทนผู้รับฝ่ายละเท่าๆกัน

(2) อนุฯประเมินค่าชดเชยความเสียหาย 5-7 คน ผ็ทรงฯสาขาการเงินการคลัง สังคมศาสตร์ การแพทย์และสา,สุข ฌฯ ด้านสิทธิผู้บริโภค

ม.14 คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ รมว.แต่งตั้งไม่เกิน 9 คน ประธาน 1 คนและกรรมการอื่น มาจากผู้ทรงฯนิติ,การแพทย์และสาสุข เศรษฐศาตร์ สังคมศาสตร์   และคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนสถานพยาบาลและผู้แทนผู้รับบริการ

ม. 18 กรรมการทุกชุดเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

หมวด 3 ว่าด้วยสำนักงาน

ม.28 กรรมการเลือกกรรมการสรรหาผู้ที่จะมาเป็นเลขาธิการ

หมวด 4 ว่าด้วยกองทุน

ม.33 จัดตั้งกองทุน

ม. 34 กองทุนมีแหล่งที่มาของเงินดังนี้

(1) งปม.รายจ่ายประจำปีของภาครัฐ

(2)เงินที่สถานพยาบาลจ่ายสมทบตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด


หมวด 5

การยื่นคำร้อง การพิจารณาคำร้องและการอุทธรณ์

ม. 38 อายุความนับจากเมื่อรู้ว่าเกิดความเสียหาย ไปถึง 3 ปี

ม. 39 เมื่อคณะกรรมการได้รับคำร้อง ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือใน 30 วัน ต่อเวลาได้อีก 30 วัน และถ้าไม่สามารถหาเหตุผลได้ว่าความเสียหายไม่ได้เกิดจากบริการสาธารณสุข ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น

ม.40 เมื่อจ่ายค่าช่วยเหลือแล้วให้คณะอนุฯพิจารณาคำร้องขอรับเงินชดเชยส่งเรื่องให้คณะกรรมการประเมินค่าชดเชยภายใน 7 วัน หลังจากที่วินิจฉัยว่าจะจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น คณะกรรมการประเมินต้องพิจารณาให้เสร็จใน 60 วัน ถ้าไม่เสณ็จให้ขยายไปอีก 30 วันไม่เกิน 2 ครั้ง

ม. 41 ผู้ร้องขอมีสิทธิอุทธรณ์ภายใน 30 วัน

และส่งให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ใน 7 วัน

คณะก.อุทธรณ์ต้องพิจารณาให้เสร็จใน 30 วันทขยายได้ไม่เกิน 30 วัน

ม.42  ถ้าฟ้องศาลด้วย ให้รอจนคดีที่ศาลจะสิ้นสุด

ม.43 ถ้าผู้ร้องได้รับเงินชดเชยแล้ว ไปฟ้องศาลและตัดสินให้ได้สินไหมทดแทน ให้ถือว่าเงินชดเชยเป็นส่วนหนึ่งของสินไหมทดแทน

หมวด 6 การพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

หมายเหตุ 1.โรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา ต้องจ่ายเงินสมทบ

               2. ประชาชนได้ค่าช่วยเหลือเบื้องต้น ค่าชดเชยความเสียหาย อุทธรณ์คำตัดสินของคณะกรรมการได้ ฟ้องศาลได้

                3.ผู้ประกอบวิชาชีพและสถานพยาบาลต้องจ่ายเงินก่อนเกิดเหตุการณ์ และมีสิทธิถูกร้องเรียน กล่าวหา ฟ้องร้อง และคอยแก้ข้อกล่าวหาเท่านั้น

                4.ถ้าผู้ประกอบวิชาชีพและหรือสถานพยาบาล ไม่ทำตามคำสั่งคณะกรรมการหรืออนุกรรมการ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และปรับวันละ 1,000 บาท จนกว่าจะเลิกฝ่าฝืน

 

ฉบับที่ 2 เสนอโดย นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะและสส.พรรคพลังประชาชน 2 ตค. 51
ม. 6 เพิ่ม(2) ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้จากการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ

หมวด 2 คณะกรรมการ

ม. 8 คณะกรรมการมาจากรมว.สธ.ปลัดสธ. ผอ.สน.งปม. อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ อัยการสูงสุด นายกแพทยสภา นายกสภาทนายความ ผู้แทนสถานพยาบาล 3 คน NGO ด้านสธ. 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คนจากนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์  สังคมศาสตร์  สื่อสารมวลชน  การแพทย์และสธ. สิทธิมนุษยชน

 หมายเหตุ กรรมการ 19 คน มีแพทย์ 1 คน จากแพทยสภา และ(อาจมีอีก) 3 คนจากสถานพยาบาล

ม.12 เหมือนกัน-41

ม.42 ถ้าไปฟ้องศาลให้ยุติการพิจารณาขอค่าเสียหายและไม่ให้กลับมาขออีก

ม.43 เมื่อผู้เสียหายยอมับเงินแล้ว ให้ทำหนังสือประนอมยอมความภายใน 15 วันหลังจากคณะกรรมการมีมติให้การเยียวยา ถ้าไม่ทำก็หมดสิทธิการรับเงิน

ม.44 ความผิดฐานประมาทตามม. 291 และ300 เป็นความผิดอันยอมความได้

ไม่ให้ผู้เสียหายนำคดีไปสู่ศาลเอง แต่แจ้งเจ้าพนักงานดำเนินการได้

ฉบับที่ 3 นายสุทัศน์ เงินหมื่นและสส.ประชาธิปัตย์

ม. 6 เหมือน ฉ.2

ม.8 กรรมการมีรมว.สธ. ปลัดสธ.ปลัดพม. ผอสนงปม. เลขาธิการศาลยุติธรรม เลขาธิการแพทยสภา ผู้แทนสถานพยาบาล 3 คน NGO  3 คนและผู้ทรงคุณวุฒิอีก 6 คน มาจากแพทย์ 1คนอื่นๆเหมือนกัน

หมายเหตุ กรรมการ 18 คน มีแพทย์ 2 คน และอาจเป็นแพทย์อีก 3 คน

ม.42 เมือนฉ. 2

ม.44 คุ้มครองไม่ให้ฟ้องคดีอาญา เว้นแต่ทำผิดโดยเจตนา

ฉบับที่4 นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ พรรคภูมิใจไทย

ม. 6 เหมือนฉบับที่1

ม. 7 คณะกรรมการ รมว.สธ.ปลัดสธ.ปลัดคลัง ปลัดพม. อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิแลละเสรีภาพ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และผอ.สนง. ผู้แทนแพทยสภา สภาพยาบาล เภสัชกรรม สมาคมแพทย์คลินิกไทย สมาคมรพ.เอกชน สนง.อัยการสูงสุด    สภาทนายความ

อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นกรรมการและเลขานุการ

NGO ด้านสาสุข 6 คน ผู้ทรงฯอีก 5 คน

ม. 11 การประชุม

ม.12 ตั้งอนุ 2 คณะ

(1) อนุพ.ให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น 5 คน การแพทย์และสธ.1 คน ผู้แทนสถานพยาบาล และผู้รับบริการอย่างละ 1 คน

(2) อนุประเมินเงินชดเชย 5 คน มีด้านการแพทย์และสาสุข 1 คน

ม. 13 คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ซึ่งรมว.แต่งตั้ง

ถ้าไม่ยอมรับเงินและประชาชนไปฟ้องศาล ให้ยุติการดำเนินการ

ม. 41 ถ้าไกล่เกลี่ย ห้ามเอาข้อมูลไปดำเนินการในศาล

ม.45 อาจนำไปฟ้องอาญาได้

ฉบับที่ 5 นส.สารี อ๋องสมหวัง
สาระสำคัญคล้ายกับฉบับอื่นๆ ตั้งสำนักงานขึ้นใหม่ ไม่ตัดสิทธิการฟ้องศาล

ฉบับที่ 6 ของค.ร.ม. เสนอโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ฉบับที่ผ่านครม.แล้วเป็นร่างของรัฐบาล
สาระสำคัญคล้ายกัน

ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นผู้ดูแลกองทุน

ถ้าประชาชนไม่ยินยอมรับเงินชดเชยและไปยื่นฟ้องศาล และเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วศาลยกฟ้องโดยบุคลากรหรือสถานพยาบาลไม่ต้องรับผิด คณะกรรมการอาจพิจารณาให้เงินช่วยเหลือประชาชนอีกก็ได้

มีคณะกรรมการไกล่เกลี่ย

และไม่จำกัดสิทธิในการฟ้องคดีอาญา

ถ้าใครไมปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการมีทั้งโทษปรับและจำคุก


หน้า: 1 ... 168 169 [170]