แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - Meem

หน้า: 1 ... 167 168 [169] 170
2521
ในปัจจุบันมีคำทับศัพท์ภาษา อังกฤษที่คนไทยใช้กันจนติดปากอยู่มากมาย แต่คุณเคย รู้ไหมว่ามีบางคำที่ฝรั่งเค้าไม่ได้ใช้อย่างที่เราพูดกันติดปาก จึงเสนอคำ ศัพท์สัก 8 ตัวอย่าง ที่คนไทยมักใช้อย่างผิดๆพร้อมทั้งคำที่ถูกต้องซึ่งคุณควรนำไปใช้เวลาคุยกับ ฝรั่ง เริ่มเลยแล้วกัน
1) อินเทรนด์ (in trend) คำนี้อินเทรนด์มากๆ เอ๊ย...ฮิตมากๆ ในปัจจุบัน สามารถได้ยินตามรายการวิทยุหรือ โทรทัศน์ทั่วไป เพราะใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง เช่น เด็กสมัย นี้ถ้าจะให้อินเทรนด์ต้องตามแฟชั่นเกาหลี ซึ่งบางทีเวลาคุณต้องการพูดว่า "มันทันสมัย" คุณอาจจะติดปากว่า "It is in trend." คำว่า "ทันสมัย" ฝรั่งเค้า ไม่ใช้คำว่า "in trend" อย่างคน ไทยหรอก เค้าจะใช้คำว่า "trendy" หรือ "fashionable" ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์ที่คุณสามารถวางไว้หน้าคำ นามที่ต้องการขยาย เช่น a trendy haircut ทรงผมที่ทันสมัย, a fashionable restaurant ร้านอาหารที่ทันสมัย หรือจะไว้ หลัง verb to be เช่น It is trendy. หรือ It is fashionable. ก็ได้


2) เว่อร์ (over) เช่น ยัยคนนั้นทำอะไรเว่อร์ๆ She is over. ไม่มีความหมายแต่อย่างใดในภาษาอังกฤษ ฝรั่งที่ได้ยินคุณพูดเช่นนี้ คงมึนตึบ พร้อมทำสีหน้างงว่ามันหมายถึง อะไรเหรอ? พูดถึงคำ นี้ คนไทยน่าจะหมายถึงการพูดเกินจริงหรือทำเกินจริง ซึ่งถ้าพูดเกินจริง ควรจะใช้คำศัพท์ที่ว่า "exaggerate" เป็นคำกิริยา อ่านว่า เอก-แซ้ก-เจ่อ-เรท เช่น

"He said you walked 30 miles." เค้า บอกว่าคุณเดินตั้ง 30 ไมล์
"No - he's exaggerating. It was only about 15." ไม่หรอก เค้าพูดเว่อร์ (เกินจริง) มันก็แค่ 15 ไมล์เอง

ดังนั้น ถ้าจะบอก ว่า เธอพูดเว่อร์น่ะ ก็บอกว่า You're exaggerating. หรือจะบอกเค้าว่า อย่าพูดเว่อร์ๆ น่ะ อาจใช้ว่า Don't exaggerate. ส่วนอาการ เว่อร์อีกแบบคือการทำเกินจริง เราจะใช้คำกิริยาที่ว่า "overact" เช่น You're overacting. เธอทำ เว่อร์เกิน (แสดงอารมณ์เกินจริง)


3) ดูหนัง soundtrack เวลาคุณจะบอกใครว่า ฉันต้องการ ดูหนังฝรั่งที่พากย์ภาษาอังกฤษ อย่าพูดว่า "I want to watch a soundtrack film." แต่ควรจะ ใช้ว่า "I want to watch an English film." เพราะความหมายของคำว่า "soundtrack" คือ ดนตรีที่ อยู่ในภาพยนตร์ ต่างหากล่ะ

ถ้าเราจะพูดถึงหนังฝรั่งที่พากย์เสียงภาษาไทย เราต้องบอกว่า "I want to watch an English film that is dubbed into Thai." เพราะคำกิริยาว่า "dub" คือพากย์เสียงจากต้นแบบในหนัง หรือรายการโทรทัศน์ไปเป็นภาษาอื่น

ส่วนหนัง ที่มีคำบรรยายใต้ภาพเราเรียกว่า "a subtitled film" ซึ่งคำบรรยายที่อยู่ใต้ภาพ เราเรียกว่า "subtitles" (ต้องมี s ต่อท้ายเสมอนะครับ) เช่น a French film with English subtitles หนัง ฝรั่งเศสที่มีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาอังกฤษ

หนังบางเรื่องจะมีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาเดียว กับที่นักแสดงพูด เรามีศัพท์เรียกเฉพาะว่า "closed-captioned films/คำหวงห้าม/television programs" หรือ อาจเขียนย่อๆ ว่า "CC" เช่น You should watch a closed-captioned film to improve your English. คุณควรจะดูหนังฝรั่งที่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษของคุณ


4) นักศึกษาปี 1 คนไทยมัก เรียกว่า "freshy" ซึ่งฝรั่ง ไม่รู้เรื่องหรอก เพราะไม่มีการบัญญัติศัพท์คำนี้ในภาษาอังกฤษ เค้าจะใช้ คำว่า "fresher" หรือ "freshman" เช่น He is a fresher. หรือ He is a freshman. หรือ He is a first-year student. เขาเป็นนัก ศึกษาปี 1 ส่วนปี อื่นๆ คนไทยเรียกถูกแล้วครับ คือ ปี 2 เราเรียก a sophomore, ปี 3 เรียกว่า a junior และ ปี 4 เรียกว่า a senior


5) อัดหรือ บันทึก คนไทยมักพูดทับศัพท์ว่า เร็คคอร์ด (record) คำๆ นี้สามารถเป็นได้ทั้งคำนามและคำ กิริยา เพียงแค่เปลี่ยนตำแหน่ง stress กล่าวคือ ถ้าจะใช้เป็นคำนามที่แปลว่า แผ่นเสียงหรือสถิติ ให้ขึ้นเสียงสูงที่พยางค์แรก คือ "เร็ค-คอร์ด" เช่น He wants to buy a record. เขาต้องการ ซื้อแผ่นเสียง, I broke my own record. ฉันทำลายสถิติของฉันเอง แต่ถ้าคุณจะหมายถึงคำกิริยาที่แปลว่า อัดหรือ บันทึก ต้อง stress พยางค์หลัง ซึ่งจะอ่านว่า "รี-คอร์ด" เช่น I'll record the film and we can all watch it later. ฉันจะอัด หนัง เราจะได้เก็บไว้ดูทีหลังได้ ส่วนเครื่องบันทึก เราเรียกว่า "recorder" อ่านว่า รี-คอร์-เดอร์


6) ต่างคนต่าง จ่าย เรามักใช้ American share รับรองว่าฝรั่ง(ต่อให้เป็นชาวอเมริกันด้วยครับ) ได้ยินแล้ว งงแน่นอน ถ้าคุณจะหมายถึงต่างคนต่างจ่ายให้ใช้ว่า "Let's go Dutch." หรือ "Go Dutch (with somebody)." อันนี้ไม่ แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นธรรมเนียมของชาวดัตช์หรือเปล่า? ที่ต่างคนต่างจ่ายเลยมีสำนวน อย่างนี้ หรือคุณอาจจะบอกตรงๆ เลยว่า "You pay for yourself." คือเป็นอันรู้กันว่าต่างคนต่าง จ่าย แต่ถ้าคุณต้องการเป็นเจ้ามือ(ไม่ใช่เล่นไพ่นะครับ)เลี้ยง มื้อนี้เอง คุณควรพูดว่า "It's my treat this time." หรือ "My treat." หรือ "It's on me." หรือ "All is on me." หรือ "I'll pay for you this time." ทั้งหมดแปล ว่า มื้อนี้ฉันจ่ายเอง ส่วนถ้าจะบอกเพื่อนว่า คราวหน้าแกค่อยเลี้ยงฉันคืน ให้บอกว่า "It's your treat next time."


7) ขอฉันแจม (jam) ด้วยคน ในกรณีนี้คำว่า "แจม" น่าจะหมายถึง "ร่วมด้วย" เช่น We are going to eat outside. Do you want to jam? เรากำลังจะออกไปกินข้าวข้างนอก เธอจะไปด้วยมั้ย? ในภาษา อังกฤษไม่ใช้คำว่า jam ในกรณีแบบ นี้ ซึ่งควรจะใช้ว่า "Do you want to join us?", "Do you want to come with us?" หรือ "Do you want to come along?" จะดีกว่า


8) เขามีแบ็ค (back) ดี "He has a good back." ฝรั่งคงงงว่ามันเกี่ยวอะไรกับข้างหลังของเค้า เพราะ back แปลว่า หลัง (อวัยวะ) แต่คุณกำลังจะพูดถึงมีคนคอยสนับสนุน ซึ่งต้องใช้ "a backup" ซึ่งหมายถึง คนหรือสิ่ง ของที่ช่วยสนับสนุน ช่วยเหลือ เกื้อกูล เป็นกำลังใจให้

2522
อย่าลืมชม

Two moons on 27th August 2010

27 สิงหาคม วันที่โลกรอคอย
ดาวอังคารจะสว่างที่สุดในตอนกลางคืนเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม
มันจะโตเท่ากับจันทร์เต็มดวงด้วยสายตาเปล่า มันจะเต็มที่ในวันที่ 27 สิงหาคม
เมื่อดาวอังคารจะอยู่ห่างจากโลกเพียง 34.65 ล้านไมล์

อย่าลืมชมท้องฟ้าในคืนวันที่ 27 สิงหาคม เวลาเที่ยงคืนครึ่ง
มันจะดูเหมือนโลกมีดวงจันทร์สองดวง

ครั้งต่อไปที่ดาวอังคารจะเข้ามาใกล้ขนาดนี้ก็ปาเข้าไปปี ค.ศ.2287 โน่น
(เอา 543 บวกเข้าไปก็จะได้เท่ากับ พ.ศ. 2830) 
คงไม่มีใครที่มีชีวิตอยู่ในวันนี้จะได้เห็นมันอีก

2523
 ข้อข้อแย้งเกี่ยวกับพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการ สาธารณสุข ยังวุ่นไม่จบ แม้จะมีการตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่าย คือ เครือข่ายผู้ป่วย, ผู้ดูแลรักษาและฝ่ายรัฐ ขึ้นมาหารือเพื่อหาทางออกและหาข้อสรุปในประเด็นข้อข้ดแย้งแตกต่าง ก่อนกฎหมายจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
       
       เครือข่ายผู้ป่วย ซึ่งถูกชี้นิ้วว่าเป็นผู้ผลักดันกฎหมายซึ่งจะทำให้เกิดการฟ้องร้องแพทย์มาก ขึ้น จะมีการฉวยโอกาสขอเงินชดเชยเยียวยาจนเป็นภาระของกองทุน และจะทำให้แพทย์ที่ทำงานหนักไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทั่งหมอจะลาออกจนขาดบุคคลากรทางการแพทย์ วงการสาธารณสุขปั่นป่วน ได้เผยแพร่ “ความจริงและไม่จริง” เพื่อตอบข้อสงสัยในพ.ร.บ.คุ้มครองฯ ในแต่ละประเด็น ดังนี้
       
       ***เมื่อมีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขจะทำให้เกิดการฟ้องร้องแพทย์มากขึ้นมาก
       
       ไม่จริง ความ จริง ก็คือ พ.ร.บ.นี้ใช้หลักการเดียวกับมาตรา 41 ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ซึ่งพิสูจน์มาเป็นเวลากว่า 6 ปีแล้วว่าสามารถลดการฟ้องร้องแพทย์และบุคคลากรการแพทย์ และช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เสียหาย เพียงแต่ว่ามาตรา 41 เยียวยาเฉพาะผู้เสียหายที่ใช้บัตรทองที่มีอยู่ประมาณ 47 ล้านคน ฉะนั้น พ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงจะขยายการคุ้มครองเยียวยาไปให้ครบ 65 ล้านคนที่เหลือที่ใช้สิทธิประกันสังคม, สวัสดิการข้าราชการ และคนที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยตัวเอง
       
       ***แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขจำนวนมากพึงพอใจกับขบวนการเยียวยาตามมาตรา 41 ที่ให้กับผู้ป่วยที่ใช้บัตรทอง
       
       จริง หลัง จากที่มาตรา 41 ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ประกาศใช้มากว่า 6 ปี แพทย์ที่ทำการรักษาคนไข้บัตรทอง สามารถวางใจได้ว่า หากเกิดความผิดพลาดเสียหาย คนป่วยจะได้รับการชดเชยเยียวยาอย่างทันท่วงที ในขณะที่ตัวแพทย์และบุคคลากรการแพทย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ในขบวนการหาคนผิดมาลง โทษ หรือเสี่ยงต่อการถูกสอบสวนดำเนินคดี แต่ที่ผ่านมา เป็นเฉพาะกรณีผู้ป่วยที่ใช้บัตรทองเท่านั้น หากเป็นผู้ป่วยที่อยู่นอกระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังไม่มีกลไกเยียวยาใดๆ อย่างเป็นระบบ
       
       *** พรบ.นี้จะทำให้มีผู้ฉวยโอกาสมาขอเงินชดเชยเยียวยามากมาย ขณะที่สถานบริการสาธารณสุขต้องหาเงินมาเข้ากองทุน
       
       ไม่จริง ความ จริงที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ผู้เสียหายต้องเอาชีวิตของตนเอง ความพิการ และการเป็นโรคที่ไม่ต้องการมาแลกกับเงินชดเชย การฉวยโอกาสนั้นเป็นไปไม่ได้ แม้ประสบการณ์ในประเทศสวีเดน และฟินแลนด์ที่มีการนำ No Fault Liability law มาใช้ จะพบว่า มีผู้มาขอรับการเยียวยาชดใช้จริง แต่ก็เป็นกรณีที่มีความเสียหายจริงๆ การชดเชยเยียวยาจึงเป็นสิ่งที่เป็นธรรมต่อผู้เสียหาย โดยไม่ต้องไปฟ้องร้องเอาที่ศาล ไม่สร้างความร้าวฉานในความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย
       
       ส่วนประสบการณ์ของไทยเอง การใช้มาตรา 41 ของ พรบ.หลักประกันสุขภาพ พบว่า มีผู้ได้รับเยียวยาชดเชยเพียง ประมาณ 2,719 คน และกองทุนนี้นอกจากจะไม่ล้มละลายแล้วยังมีเงินเหลือสะสมมากกว่าที่คาดไว้
       
       ***ผู้ป่วยที่เกิดความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ ส่วนใหญ่ไม่ต้องการฟ้องแพทย์หากมีกระบวนการเยียวยาที่น่าพึงพอใจ
       
       จริง กรณี ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า กระบวนการเยียวยาชดเชยต่อความเสียหายในการรับบริการทางการแพทย์สร้างความพี งพอใจให้แก่ผู้เสียหาย คือเหตุการณ์ที่ผู้เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกจำนวน 10 ราย ที่ต้องสูญเสียการมองเห็นจากการติดเชื้อในการรับบริการครั้งนั้น แต่เมื่อผู้เสียหายได้รับการเยียวยาทันท่วงที จึงไม่มีผู้เสียหายรายใดคิดที่จะฟ้องร้องแพทย์และโรงพยาบาล และท้ายที่สุดก็ยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อแพทย์และโรงพยาบาลที่ทำการ รักษา
       
       ***กองทุนนี้สร้างความเป็นธรรมในสังคมให้มากขึ้น
       
       จริง เพราะอุบัติการณ์ความผิดพลาดทางการแพทย์ เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ว่าเกิดขึ้นได้ แม้แพทย์จะพยายามรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถก็ตาม และเมื่อเกิดความเสียหาย ไม่ใช้วิธีเพ่งโทษ เพราะไม่ใช่ความตั้งใจของผู้รักษาที่จะทำให้เกิดความเสียหาย ที่ผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายทุกคนก็ได้รับการเยียวยาด้วยการชดเชย เพราะกองทุนนี้จะดูแลประชาชนทั้ง 65 ล้านคน แต่หากไม่มีกองทุนจาก พรบ.นี้ จะมีคนกว่า 17 ล้านคนไม่ได้รับการดูแลเพราะไม่ได้อยู่ในระบบบัตรทอง
       
       ***ไม่มีความจำเป็น ที่จะออก พรบ.นี้ เพราะกฎหมายเดิมที่มีอยู่ก็เพียงพอที่จะให้ความเป็นธรรมต่อผู้ได้รับความ เสียหายจากการบริการทางการแพทย์
       
       ไม่จริง  การเสนอ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ นี้เกิดจากความล้มเหลวในระบบการให้ความเป็นธรรมในการให้บริการสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นการฟ้องคดีตามกฎหมายแพ่ง หรือการใช้ พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ผู้เสียหายต้องประสบกับอุปสรรคมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพิสูจน์ความผิดพลาดในการบริการสาธารณสุข ทำให้คดีที่ผู้เสียหายฟ้องร้องในศาล แทบไม่เคยได้รับความเป็นธรรมเลย ถึงแม้ปัจจุบันจะมี พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2550 ช่วยให้การฟ้องคดีได้ง่ายขึ้น เช่น ไม่ต้องใช้ทนาย ไม่ต้องจ่ายค่าวางศาล ผู้เสียหายไม่ต้องพิสูจน์เอง แต่ก็มีผลต่อความสัมพันธ์แพทย์กับผู้ป่วย
       
       ดังที่กล่าวไปแล้ว ทั้งจากประสบการณ์ของไทยและต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่า หากผู้เสียหายได้รับการเยียวยา จะทำให้การฟ้องร้องลดน้อยลง หาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุขโดนคว่ำ วงการแพทย์และสาธารณสุขจะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาฟ้องร้อง ที่สร้างความทุกข์ต่อผู้ปฏิบัติงาน แล้วยังมีการเรียกร้องมูลค่าเงินชดเชยที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ขณะที่ผู้ป่วยก็ต้องทนทุกข์ทั้งกายและใจ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ คือ การมีกลไกเยียวยาที่สร้างความเป็นธรรมให้กับทั้งสองฝ่าย มารองรับอย่างเป็นระบบ ตามหลักการที่ปรากฏในร่าง พรบ.
       
       ***พรบ.นี้จะไปเบียด บังงบประมาณตามสถานพยาบาลทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถานพยาบาลสำหรับประชาชน ทำให้ยาในโรงพยาบาลขาดแคลนหรือไม่มีคุณภาพ
       
       ไม่จริง ความ จริงคืองบประมาณกองทุนที่ได้มานั้น มาจากกองทุนในมาตรา 41 และเงินสมทบจากสถานพยาบาลเอกชนเป็นเบี้ยสมทบ เป็นหลักการเดียวกับการประกันความเสี่ยง ดีกว่าการจ่ายความเสียหายเป็นรายกรณี ส่วนโรงพยาบาลรัฐ กองทุนจะขอสมทบปีต่อปีจากรัฐบาล ดังนั้น โรงพยาบาลแต่ละแห่งจะไม่ต้องเสียซ้ำเสียซ้อน
       
       ***มีตัวแทน NGO มากกว่าตัวแทนแพทย์ในคณะกรรมการพิจารณาเยียวยาช่วยเหลือ
       
       ไม่จริง ในมาตรา 7 กำหนดว่ามีตัวแทนภาคประชาชนเพียง 3 คน กรรมการที่เหลือ ส่วนมากมีอาชีพเดิมและอาชีพปัจจุบันเป็นแพทย์ประมาณ 5 คน คือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ซึ่งเป็นแพทย์มาตลอด) อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสาธารณสุข (ซึ่งก็เป็นแพทย์) ตัวแทนสถานพยาบาล (ซึ่งน่าจะเป็นแพทย์ที่จะมาเป็นตัวแทน) จึงเห็นได้ว่าผู้มีความเชี่ยวชาญทางสาธารณสุขมีจำนวนมากกว่ากลุ่มประชาชนใน ทุกคณะกรรมการและอนุกรรมการ หากต้องการให้มีตัวแทนสภาวิชาชีพในคณะกรรมการก็สามารถเพิ่มเติมหรือเปลี่ยน แปลงได้ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมธิการในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยไม่จำเป็นต้องล้ม พ.ร.บ.ทั้งฉบับ ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้
       
       ***คนไข้ได้เงินสองต่อ โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าเกิดจากความเสียหายทางการแพทย์หรือเนื่องมาจากโรคที่เป็นอยู่
       
       ไม่จริง คนไข้ที่จะได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นนั้น ต้องเป็นคนไข้ที่ได้รับความเสียหายจากการบริการทางการแพทย์เท่านั้น การช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นไปเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและลดความขัดแย้งโดย เร็วที่อาจนำไปสู่การฟ้องร้อง ซึ่งการชดเชยเพิ่มเติมจะมีได้ต่อเมื่อมีการพิจารณาเห็นถึงความเสียหายและ ความจำเป็นที่เกิดขึ้นเท่านั้น
       
       ***ได้เงินแล้ว คนไข้ยังมีสิทธิฟ้องหมอได้อีก
       
       จริงและไม่จริง
       
       จริง ในประเด็นที่ว่าสิทธิการฟ้องร้องเป็นสิทธิพื้นฐานของทุกคนที่ไม่มีกฎหมายไหนรอนสิทธินี้ได้
       
       ไม่จริงทาง ปฎิบัติ ในประเด็นที่ว่าผู้เสียหายน่าจะนำเรื่องไปสู่ศาลอีก ประการแรก มีโอกาสน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเพราะหลังจากรับเงินชดเชยจะต้องทำสัญญาประนี ประนอมยอมความตามมาตรา 33 ประการที่สอง ในมาตรา 34 กำหนดไว้ว่า หากผู้เสียหายนำเรื่องไปฟ้องศาลก็ไม่สามารถกลับมารับการเยียวยาตาม พ.ร.บ.นี้อีก ซึ่งทำให้ผู้เสียหายต้องเลือกระหว่างกระบวนการเยียวยาที่รวดเร็ว ไม่มีค่าใช้จ่าย กับกระบวนการศาลที่อาจใช้เวลาหลายๆ ปี กับค่าใช้จ่ายจำนวนมาก
       
       ***หมอที่ทำงานหนักเพื่อรักษาประชาชน ไม่ได้รับความเป็นธรรมจาก พรบ.นี้
       
       ไม่จริง พ.ร.บ.นี้เป็นกฎหมายที่ไม่มีการหาคนผิด หรือ การกล่าวโทษ แต่เป็นพ.ร.บ.ที่ยอมรับว่า ความผิดพลาดทางการบริการทางการแพทย์เกิดขึ้นได้โดยไม่มีเจตนา แต่เมื่อมีความผิดพลาดก็ควรมีการเยียวยาต่อผู้เสียหายโดยให้รัฐกับสถาน พยาบาลมาช่วยกันเฉลี่ยความรับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่อาจเกิดที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ แพทย์และบุคลากรที่ทำการรักษาไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหาย หรือต่อวิชาชีพ จึงสามารถดูแลคนไข้อื่นๆ ต่อไปอย่างเต็มความสามารถโดยไม่ต้องกังวลต่อกรณีฟ้องร้อง หรือกรณีหาเงินมาชดเชยต่อผู้เสียหาย
       
       ที่สำคัญก็คือในมาตรา  45 มีการกำหนดให้อำนาจศาลพิจารณาละเว้นโทษให้แก่แพทย์หรือบุคคลากรการแพทย์หาก มีการนำเรื่องไปฟ้องอาญา ซึ่งการละเว้นโทษขนาดนี้ ไม่ค่อยมีปรากฏในกฎหมายอื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นการปกป้องและให้ประโยชน์แก่แพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์ที่ทำ งานเพื่อประชาชน
       
       ***ผู้ร่วมร่าง พรบ.นี้เป็นผู้ที่เคยฟ้องร้องหมอมาก่อน ฉะนั้น พรบ.นี้ทำเพื่อการฟ้องร้องหมอ
       
       จริงและไม่จริง
       
       จริง ที่ ผู้ร่วมร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ที่เป็นร่างของประชาชน ร่างโดยผู้ที่เคยฟ้องร้องหมอ แต่ร่าง พรบ.ของประชาชน ไม่ใช่ร่างหลักที่กำลังจะเข้าสู่สภา เพราะร่างกฎหมายที่กำลังจะเข้าเป็นร่างของ ครม. ที่ผ่านกฤษฏีกา ที่กลุ่มประชาชนได้ร่วมออกความเห็น พร้อมๆ กับตัวแทนแพทยสภา และตัวแทนองค์กรอื่นๆ
       
       ไม่จริง ตรงที่ว่าที่บุคคลที่เคยฟ้องแพทย์มาร่าง พ.ร.บ.นี้เพื่อเพิ่มการฟ้องร้องแพทย์ ตรงกันข้าม การร่าง พ.ร.บ.นี้ ทำไปเพื่อลดการฟ้องร้องแพทย์และหาทางออกที่เป็นธรรมให้แก่ผู้เสียหาย โดยผ่านการศึกษาและวิจัย ทั้งประสบการณ์ในต่างประเทศและของไทย
       ในอดีตขบวนการขึ้นสู่ศาลต่างๆ สร้างความทุกข์และมีค่าใช้จ่ายให้แก่แพทย์และผู้เสียหายอย่างมากมาย โดยแทบไม่มีใครได้ประโยชน์กับการฟ้องร้อง จึงเห็นว่า พรบ.นี้น่าจะเป็นกลไกแก้ไขปัญหานี้ได้ดีที่สุด
       
       ***กองทุนนี้ท้ายที่สุดจะทำให้ประเทศล่มจมเพราะจะมีคนเรียกร้องค่าชดเชยจนไม่มีงบเพียงพอที่จะดูแลกองทุน
       
       ไม่จริง การ กำหนดให้มีการบริหารจัดการกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการกองทุนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสีย ต้องกำหนดการจ่ายเงินให้เหมาะสมกับกองทุนที่มี เช่น การกำหนดเพดานการจ่ายชดเชยเยียวยาที่จะช่วยทำให้ควบคุมการใช้จ่ายของกองทุน ได้ โดยมีกรณีประสบการณ์จาก มาตรา41 ของ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่บริหารได้มีประสิทธิภาพ
       
       ***สถานพยาบาลที่ดีมีคุณภาพไม่ควรต้องนำเงินไปช่วยสถานพยาบาลที่ด้อยคุณภาพที่มีความเสี่ยงต่อการสร้างความเสียหาย
       
       จริงและไม่จริง
       
       จริง แต่หลักการการเฉลี่ยความเสี่ยงทำให้ทุกสถานพยาบาลมีความมั่นใจว่า หากมีความเสียหายที่เป็นเหตุสุดวิสัย ก็ยังมีกองทุนที่มาเยียวยาช่วยเหลือทันที โดยไม่ต้องควักเงินตนเองออกมาโดยไม่จำเป็น
       
       ไม่จริง การจ่ายเงินสมทบของสถานพยาบาลคำนึงถึงความถี่หรือความรุนแรงของการเกิดความเสียหาย ดังนั้นหากเกิดความเสียหายน้อยก็จะถูกสมทบน้อยลง
       
       ***แพทย์ พยาบาล และบุคลากรผู้ให้บริการสาธารณสุขอื่นๆ ก็ได้ประโยชน์โดยตรงจาก พรบ.นี้
       
       จริง เนื่อง จาก พ.ร.บ.นี้ชดเชยเยียวยาให้แก่ผู้ใดก็ตามที่อยู่ในกระบวนการการให้บริการ สาธารณสุข ซึ่งรวมทั้งแพทย์ พยาบาล และบุคลากร ด้วย เช่น หากมีป่วยจากการติดเชื้อโรคเพราะให้การรักษาพยาบาลกับผู้ป่วย หรืออุบัติเหตุอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ก็สามารถเรียกร้องการเยียวยาจากกองทุนได้
       
       ***แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จะค่อยๆ ทยอยลาออกจากงานเพราะแรงกดดันของ พรบ.
       
       ไม่จริง ผลของ พ.ร.บ.จะทำให้แพทย์และพยาบาลทำงานอย่างสบายใจขึ้น เพราะหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ผู้ป่วยได้รับการเยียวยาทันที ไม่มาร้องเรียนกดดันแพทย์อย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เมื่อไม่จำเป็นต้องหาคนผิดหรือหาคนจ่ายค่าชดเชย จะทำให้แพทย์และคนไข้มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น ไม่ต้องมาเผชิญหน้า หรือหนีหน้ากัน อย่างที่เคยเกิดขึ้น จะทำให้แพทย์และบุคลากรมีเกราะป้องกัน ในขณะที่ผู้ป่วยมีกองทุนรองรับบรรเทาความเดือดร้อน
       
       ***แพทย์สภาจะหมดความหมาย
       
       จริงและไม่จริง
       
       จริง ในประเด็นการรับเรื่องร้องเรียน เพราะประชาชนจะร้องเรียนกับแพทยสภาน้อยลง แต่ไม่ได้หมดความหมาย
       
       ไม่จริง แพทยสภาจะไม่หมดความหมาย เพราะแพทยสภาคือสภาวิชาชีพ ที่มีหน้าที่หลักในการทำให้วิชาชีพมีจริยธรรม และควบคุมกำกับจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพ เหล่านี้ยังเป็นหน้าที่หลักของแพทยสภา และแพทยสภายังมีภารกิจอีกมาก เช่น ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาแพทย์ เป็นต้น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    9 สิงหาคม 2553

2524
ห้องพักผ่อนรวม (Common Room) / ่Just a Joke#5---Not at the same time
« เมื่อ: 18 สิงหาคม 2010, 01:39:27 »
One day The Lord came to Adam, and said, "I've got some good news and some bad news."
Adam said, "Well, give me the good news first."

The Lord explained, "I've got two new organs for you.

One is called a brain. It will allow you to create new things, solve problems, and have intelligent conversations with Eve.

The other organ I have for you is called a penis. It will give you great physical pleasure and allow you to reproduce your now intelligent life form and populate this planet. Eve will be very happy that you now have this organ to give her children."

Adam, very excited, exclaimed, "These are great gifts you have given to me. What could possibly be bad news after such great tidings?"

The Lord looked upon Adam and said with great sorrow, "You will never be able to use these two gifts at the same time."

2525

แถลงข่าว
ขอให้นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ออกมาแสดงความรับผิดชอบอย่างลูกผู้ชาย

        ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์อำนาจ กุสลานันท์ อุปนายกแพทยสภาคนที่ 1 ได้แถลงข่าวขอให้นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ออกมาแสดงความรับผิดชอบกรณีที่ได้กล่าวพาดพิงหน่วยงานต่างๆ และบุคคลหลายคนให้ได้รับความเสียหายในบทความเรื่อง “ ความเท็จและความจริงเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ฯ (2)”
ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ในการวิพากษ์วิจารณ์คดีที่อำเภอร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช ดังนี้
1.   นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ได้กล่าวว่า “ มีหลักฐานข้อเท็จจริงชัดเจนว่า แพทย์บกพร่อง
ผิดพลาดในการฉีดยาเข้าช่องสันหลังคนไข้เพื่อผ่าตัดไส้ติ่งแล้วเกิดอาการแทรกซ้อน ยาชามีผลทำให้ไขสันหลังส่วนต้นไม่ทำงาน ( High Block) ทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมการหายใจบริเวณทรวงอกไม่ทำงานเกิดการหยุดหายใจ ”
   ขอให้ท่านแสดงหลักฐานข้อเท็จจริงออกมาไม่ใช่กล่าวลอยๆ เช่นนี้ เพราะคดีนี้ (คดีหมายเลขดำที่ 974/2551 คดีหมายเลขแดงที่ 1648/2551 ) ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้มีคำพิพากษาแล้วว่า  ผู้ตายตอบสนองต่อยาชาที่ไว และมากกว่าปกติเป็นเหตุให้ผู้ป่วยหยุดการหายใจ และหัวใจหยุดเต้นเป็นสาเหตุให้ถึงแก่ความตาย แพทย์หญิงที่เป็นจำเลยมิได้กระทำโดยประมาทจึงพิพากษายกฟ้อง และคดีนี้ได้สิ้นสุดแล้ว
ดังนั้น การวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวของท่านจึงน่าจะเข้าข่ายความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

2.   นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ได้กล่าวว่า “ มีพยานหลักฐานว่า คดีนี้กรรมการแพทยสภา
บางคนได้ไปยุให้แพทย์สู้คดี และให้การปฏิเสธ จึงเป็นผลให้ศาลชั้นต้นต้องตัดสินลงโทษจำคุกโดยไม่มีการรอลงอาญา”
ขอให้ท่านแสดงพยานหลักฐานออกมา เพราะเรื่องนี้แพทย์หญิงที่เป็นจำเลยได้ยืนยันมาโดยตลอด
ว่าได้ตัดสินใจต่อสู้คดีเอง เพราะไม่ได้กระทำผิด

3.   นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ได้กล่าวว่า “ในบันทึกการตรวจศพของสถาบันนิติเวชวิทยา
สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีข้อเคลือบแคลงว่าน่าจะเป็นการบันทึกข้อมูลที่เป็นเท็จ”
ขอให้ท่านแสดงหลักฐานออกมาหากมีจริงแพทยสภาจะทำการตรวจสอบ หากไม่จริงท่านต้อง
รับผิดชอบ

4.   นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ได้กล่าวว่า “ กรรมการแพทยสภาหลายคนพูดเท็จหลาย
ครั้งว่ามีการใส่กุญแจมือและขังคุกแพทย์ผู้นั้น ”
   ความเป็นจริงคือ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2548 อัยการได้นำตัวแพทย์หญิงยื่นฟ้องต่อศาลระหว่างรอประกันตัว แพทย์ได้ถูกควบคุมตัวที่ศาลโดยได้รับเกียรติ 3 ประการ คือ ไม่ต้องถูกใส่กุญแจมือ  ได้อยู่ในห้องขังชั้นนอก และไม่ปิดประตูห้องขัง ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยพูด และไม่เคยได้ยินกรรมการแพทยสภาท่านใดพูดว่า แพทย์ถูกใส่กุญแจมือ และขังคุกแพทย์
   ดังนั้นขอให้ท่านแสดงหลักฐานออกมา
   คำกล่าวของท่านได้ทำให้หลายหน่วยงาน และบุคคลหลายคนได้รับความเสียหาย สังคมเข้าใจผิด ดังนั้นจึงขอให้ท่านแสดงพยานหลักฐานออกมา มิใช่กล่าวลอยๆ เช่นนั้น

ถ้าสำนึกผิดได้ขอให้กล่าวคำขอโทษออกมาอย่างลูกผู้ชาย

2526
" ผู้นำเก่ง แต่ลืมกล้า พาล่มจม " (ตาโป๋เป่าปี่) 
 
 
 
 " ปรองดองกันทั้งชาติอำมาตร์ไพร่
 ปรองดองไทยเขมรครับขยับหมุด
 ปรองดองอันธพาลเผาบ้านทรุด
 ปรองดองขุดโค่นป่ามาทำทาง
 ปรองดองเอ็นจีวีที่เคยค้าน
 ปรองดองผลาญ งบฯจัด ไม่ขัดขวาง
 ปรองดองจับพันธมิตรติดตะราง
 ปรองดองอ้าง มาตรการ ฐานเดียวกัน
 นี่หรือ "ร้อยฝัน วันฟ้าใหม่"
 หลงเคลิ้มไป แท้ยกเมฆมาเสกสรรค์
 นิติรัฐนิติไทยอยู่ไหนกัน
 คอรัปชั่น ว่าจะปราบ งาบเสียเอง
 คนเก่งมีทั้งชาติขาดคนกล้า
 อย่าง "พงษ์พัฒน์" กลับมีหน้ามาข่มเหง
 พวกคนชั่วได้ใจไม่กลัวเกรง
 ผู้นำเก่ง แต่ลืมกล้า พาล่มจม "

 บทกลอนข้างต้นเป็นของผู้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Buppa Thirati ส่งเข้าไปในโทรศัพท์มือถือของ คุณประพันธ์ คูณมี เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เป็นบทกลอนที่บอกอะไรหลายอย่างของเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนี้

 ต้องบอกว่าแต่งได้เก่งมาก

 ร้อยเรียงด้วยถ้อยคำที่กระทัดรัดในความหมายของเนื้อหาและสัมผัสของกลอนตามความเป็นจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง โดยเฉพาะประโยคปิดท้ายของกลอนบทนี้ที่ว่า "ผู้นำเก่ง แต่ลืมกล้า พาล่มจม"

 สอนให้ผู้นำต้องรู้จักความกล้าด้วย ไม่ใช่เก่งแต่เพียงอย่างเดียว เพราะถ้าผู้นำไม่กล้า ผู้นำนั้นพาชาติบ้านเมืองล่มจมได้ง่าย

 บ้านเมืองยามนี้ต้องการผู้นำที่มีทั้งความเก่งและความกล้าเป็นคุณสมบัติ ความเก่งที่ว่านี้ไม่ได้อยู่ที่ต้องเล่าเรียนมาสูงๆเพียงอย่างเดียว ต้องมีความเก่งที่จะรู้ว่าปัญหาที่จะต้องแก้ไขในฐานะเป็นผู้นำนั้นมีอะไรบ้าง ปัญหาใดที่ควรแก้ไขก่อนตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ด้วยการปฏิบัติจริง ไม่ใช่เก่งแต่ปากเท่านั้น

 ส่วนความกล้านั้นเป็นความกล้าที่จะตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาที่ต้องแก้บนพื้นฐานของความถูกต้องด้วยอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ ไม่ผลักปัญหาไปให้คนอื่นทำคนอื่นคิดด้วยวิธีตั้งคณะกรรมการที่ไม่จำเป็นอะไรเพราะกลัวโน่นกลัวนี่

 ต้องรู้ว่าความกลัวทำให้เสื่อม

 ความกลัวฉุดรั้งความกล้ามิให้แสดงออก ซึ่งมีที่มาจากเรื่องใหญ่ 2 เรื่อง นั้นก็คือ กลัวสิ่งที่มีอยู่จะหมดไป และ กลัวไม่ได้สิ่งที่ต้องการ

 กลัวจะไม่ได้เป็นรัฐบาล และกลัวจะไม่ได้เป็นรัฐบาลจนครบวาระ เป็นความกลัวที่ทำให้เกิดสิ่งต่างๆตามที่กลอนข้างต้นสาธยายไว้

 ปีเศษที่ผ่านไปของการบริหารจัดการบ้านเมืองของผู้นำขณะนี้ เราจึงไม่ค่อยจะได้เห็นความกล้าในการทำงาน หรือความกล้าในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองจากผู้นำ ไม่กล้าแม้กระทั่งจะยับยั้งขัดขวางการกระทำที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมของพวกเดียวกัน โดยเฉพาะรัฐมนตรีร่วมคณะที่กำลังล้วงลักควักเงินแผ่นดินไปเป็นผลประโยชน์ของตนเองจากโครงการต่างๆที่เสนอกันเข้าไปแบ่งปันกันในการประชุมคณะรัฐมนตรีในการประชุมแต่ละครั้ง

 ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่ไม่ชอบหน้า "ทักษิณ" ก็เพราะ "ทักษิณ" เป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก พูดอย่างทำอย่าง บริหารบ้านเมืองด้วยการสมรู้ร่วมคิดให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่น ไม่มีความกล้าที่จะจัดการกับความไม่ถูกต้องชอบธรรม ปล่อยให้หากินกันอย่างไม่เกรงใจประชาชน มีประโยชน์ทับซ้อนทั้งตนเองและหมู่พวก ไม่ใช่คนที่เสียสละเข้ามาทำงานเพื่อส่วนรวม คุณสมบัติของผู้นำอย่างนี้จึงอยู่ไม่ได้

 ประชาชนต้องการผู้นำที่ไม่มีคุณสมบัติอย่าง "ทักษิณ" มาเป็นผู้บริหารประเทศ แต่ก็ดูเหมือนว่าขณะนี้ประชาชนกำลังประสบกับสิ่งนี้อีกครั้งหนึ่ง

 ในท่ามกลางความวิกฤติต่างๆที่ยังรุนแรงส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในขณะนี้ ประชาชนจึงต้องการจะเห็นผู้นำที่ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมและมีความกล้าที่จะต่อสู้กับความไม่ถูกต้องทั้งหลายในบ้านเมือง และมีความเด็ดขาดในการตัดสินใจบริหารจัดการบ้านเมืองด้วยความเสียสละเพื่อส่วนรวม

 เก่งอย่างเดียวแต่ไม่กล้าจึงเป็นคุณสมบัติที่ยังไม่สมบูรณ์ของคนเป็นผู้นำในยามนี้ จะเป็นอย่างที่กลอนข้างต้นว่าไว้ในบรรทัดสุดท้ายนั่นเองคือ "ผู้นำเก่ง แต่ลืมกล้า พาล่มจม"



2527
ห้องพักผ่อนรวม (Common Room) / Just a Joke#4---A Man & A Womon
« เมื่อ: 07 สิงหาคม 2010, 00:33:17 »
A women worries about the future until she gets a husband.
A husband doesn't worry about the future until he gets a wife.

A successful man is one who makes more money than his wife can spend.
A successful women is one who can find such a man.

In arguments a woman has the last word.
Anything a man says after that is the beginning of a new argument.

A woman will dress up to go shopping, water the plants,
empty the garbage, answer the phone, and read a book.
A man will get dressed up for weddings and funerals.

2528
ห้องพักผ่อนรวม (Common Room) / Just a Joke#3---Why---married /divorced
« เมื่อ: 01 สิงหาคม 2010, 12:56:32 »
She married him because he was such a "strong man"
She divorced him because he was such a "dominating male."

He married her because she was so "fragile and petite."
He divorced her because she was so "weak and helpless."

She married him because "he knows how to provide a good living."
She divorced him because "all he thinks about is business."

He married her because "she reminds me of my mother."
He divorced her because "she's getting more like her mother every day."

She married him because he was "happy and romantic."
She divorced him because he was "shiftless and fun-loving."

He married her because she was "steady and sensible."
He divorced her because she was "boring and dull."

She married him because he was "the life of the party."
She divorced him because "he never wants to come home from a party."

2529
ห้องพักผ่อนรวม (Common Room) / Just a Joke#2---Just...wrong number!
« เมื่อ: 01 สิงหาคม 2010, 12:53:15 »
It was Saturday morning and John's just about to set off
on a round of golf when he realizes that he forgot to tell his wife that the guy who fixes the washing machine is coming around at noon.

So John heads back to the clubhouse and phones home.
"Hello?" says a little girl's voice.

"Hi, honey, it's Daddy," says John. "Is Mommy near the phone?"

"No, Daddy. She's upstairs in the bedroom with Uncle Fred."

After a brief pause, John says, "But you haven't got an Uncle Fred, honey!"

"Yes, I do, and he's upstairs in the bedroom with Mommy!"

"Okay, then. Here's what I want you do. Put down the phone,
run upstairs and knock on the bedroom door and shout in to Mommy
and Uncle Fred that my car's just pulled up outside the house."

"Okay, Daddy!" A few minutes later, the little girl comes back to the phone.
"Well, I did what you said, Daddy."

"And what happened?"

"Well, Mommy jumped out of bed and ran around screaming,
then she tripped over the rug and went out the front window and now she's all dead."

"Oh, my God! What about Uncle Fred?"

"He jumped out of bed too, and he was all scared,
and he jumped out the back window into the swimming pool.
But he must have forgot that last week you took out all the water to clean it,
so he hit the bottom of the swimming pool and now he's dead too."

There is a long pause.

"Swimming pool? Is this 555-3097 ?"

2530
เรียนเพื่อนร่วมวิชาชีพการบริการทางสาธารณสุข

ต่อกรณีการประท้วงยับยั้ง ร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหาย ฯ ด้วยการชุมนุมประท้วงและแต่งชุดดำ
ที่หน้ากระทรวงสาธารณสุข วันที่ 30 ก.ค. นี้ มีประเด็นที่น่าจะได้ทำความเข้าในกันดังนี้

ประการที่ 1. ทุกคนรับรู้ว่าความผิดพลาดในการบริการทางการแพทย์ (medical error) เกิดขึ้นได้ในเวชปฏิบัติ
เช่นที่อเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่มีความเจริญทางการแพทย์ คาดว่าคนตายปีแสนรายจาก medical error   
ดังนั้นการเยียวยาผู้ที่ได้รัีบผลกระทบจึงควรเป็นสิ่งที่ควรจะกระทำตามหลักมนุษยธรรม

ประการที่ 2.  แพทย์หมดเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ในหนทางการแสดงความคิดเห็นแล้วหรือ จึงต้องใช้การชุมนุมประท้วง และ การแต่งชุดดำ เช่นนี้
ต่อกรณี ร่าง พรบ. คุ้มครองผู้เสียหาย  ถ้าเราใช้ยาแรง ตั้งแต่แรก ต่อไป เชื้อก็ดื้อยา หากจะคัดค้านอะไรเราต้องทำเช่นนี้อีกหรือไม่
แล้วเราจะเอา ความน่าเคารพ น่าเชื่อถือ อะไร ไปพูดกับสังคมให้เชื่อเราได้อีก แพทย์เรามีเกียรติ มีศักดิ์ศรีในสังคม ได้ด้วยการช่วยเหลือชีวิตและปลดเปลื้องความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์และการใช้ วุฒิภาวะในการแก้ไขปัญหาให้คนไข้
ดังนั้น บรรดา ผู้ทำวิชาชีพบริการทางการแพทย์ น่าจะใช้วิธีการที่มีวุฒิภาวะ ด้วยการการพูดคุยเจรจากันกับผู้ร่าง กม.คุ้มครองผู้ไดัรัีบความเสียหายจากการบริการทางสาธารณสุข  ไม่น่าจะใช้วิธิการประท้วง การแต่งดำ มันทำให้เราเสียหายในสถาบันวิชาชีพมากกว่าผลที่ได้รับ  และทำให้วิชาชีพเราจะยิ่งตกต่ำมากขึ้นในสังคม  ต่อไป อะไร มีปัญหา เราก็จะใช้วิธีนี้ในการต่อสู้เช่นนั้นหรือ
เราเลียนแบบภาพใหญ่ในสังคมหรือเปล่าที่ต่อสู้ในสภาไม่ได้ก็ออกมาต่อบนท้อง ถนน
ซึ่งมันเป็นวิธีของผู้ด้อยอำนาจในสังคม  ในการเรียกร้องต่อผู้มีอำนาจ
จึงสงสัยว่า เครดิตความน่าเชื่อถือของแพทย์ หมดไปแล้วหรือในการที่จะพูดจากกันบนโต๊ะ ดี ๆ
ถ้าต้องทำถึงขนาดออกมาชุมนุมนี้เรื่อยไป แสดงว่า สังคมเขาไม่ฟังเราพูดแล้ว


ประการที่ 3. พวก เรากลัวอะไรในกฎหมายนี้   ผมเชื่อว่าพวกเราหลายคนต้องการทักท้วงด้วยใจอันบริสุทธิ์ 
แต่ผมก็ยังคิดว่ามีบางคนที่ไม่ได้ทำด้วยจิตที่เป็นกุศลเท่าใดนัก
สิ่งหนึ่งที่ได้ยินมาคือ เรื่องเราต้องส่งเงินเข้ากองทุนตาม กม. นี้
ซึ่ง รพ. ในภาครัฐไม่มีปัญหาเพราะเป็นเงิน รพ. อยู่แล้ว
คนที่ได้รับผลกระทบน่าจะเป็น รพ.เอกชนมากกว่า
เป็นไปได้หรือไม่ที่มีผู้ที่ไม่ต้องการสมทบ ขยายเรื่องนี้ให้บานปลายใหญ่โต
จริงแล้วโรงพยาบาลชุมชนเป็นจุดเปราะบางมากกว่าเพราะมีแพทย์จบใหม่ไปอยู่
รพช. มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ไม่ได้แสดงท่าทีรุนแรงแต่อย่างใด
จริงแล้ว เรื่อง พรบ. นี้ ทำกันมากครึ่งค่อนปีแล้ว  แพทยสภารับรู้ทุกขั้นตอน
เหตุใดจึงไม่ได้บอกให้พวกเรารับรู้ตั้งแต่แรก  เพิ่งจะมาตีข่าวช่วงนี้
ฤาไม่สามารถต่อสู้ทางเหตุผลกับคณะทำงานของกฤษฏีกาได้ จึงต้องออกมาใช้กำลังแพทย์
ฤาใกล้ ฤดูการเลือกตั้งอีกแล้ว  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่ออกมาเรียกร้องตอนนี้ต้องการหาเสียงแต่อย่างใด
แต่กลัวคนที่ไม่ได้ออกมาแต่ใช้สถานการณ์นี้เป็นประโยชน์ในการสร้างฐานอำนาจ ในแพทยสภา   
เหตุการณ์นี้คล้ายกับเหตุการณ์เมื่อออก มาตรา 41 พรบ.หลักประกันสุขภาพ ฯ  แพทย์ลุกขึ้นมาประท้วง
ผมก็เป็นคนหนึ่งนี้ร่วมลงชื่อประท้วงกับเขาด้วยในตอนนั้น ด้วยเชื่อตามสิ่งที่เล่ากันมา
ประเด็นเหล่านี้แพทยสภารู้เรื่องนี้น่าจะบอกความจริงว่ากระบวนการเป็นมา อย่างไร

ประการที่ 4. ใน การต่อสู้เรียกร้องของแพทย์ครั้งนี้ความรู้สึกร่วมอาจ จะรุนแรงกว่าเดิม
เพราะเพิ่งผ่านเหตุการณ์เรื่องหมอถูกฟ้องคดีอาญา
ซึ่งบางทีเราก็ได้รัีบข้อมูลที่เกินความจริงที่โอเวอร์เช่น หมอถูกใส่กุญแจมือ หรือถูกเข้าห้องขัง ซึ่งไม่เป็นความจริง
และแพทย์น่าจะได้รับรู้และเรียนรู้กันว่าจริง ๆ แล้วทำไมเหตุการณ์ถึงได้กลับมาบานปลายไปขนาดนั้น ทั้ง ๆ ที่เรื่องราวกำลังจะลงเอยอยู่แล้ว เขาเล่าว่าเพราะมีหมอผู้ใหญ่จากกรุงเทพ ไปแนะนำว่าอย่าขอโทษ อย่าไปงานศพ เดี๋ยวจะแสดงว่าผิด
จนกระทั่งเกิดเป็นตราบาปในวงการแพทย์ และ เป็นบาปบริสุทธิ์ให้กับคนไข้ และแพทย์ รพ.จังหวัดที่ต้องรับการส่งต่อ
คนไข้จาก รพช. จำนวนมาก ไส้ติ่งอักเสบผ่ากันข้ามวันข้ามคืน จนไส้ติ่งแตกมากขึ้น  แทนที่ รพ. จังหวัดจะเอาเวลาไปผ่าคนไข้ยาก ๆ ผมเชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วไม่มีใครอยากขึ้นโรงขึ้นศาล ถ้าไม่ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม และถ้ามีการชดเชยเยียวยาแล้วก็จะช่วยไม่ต้องไปฟ้องร้องต่อไปอีก เพราะฟ้องไปจะคุ้มเสียหรือไม่ เช่น เสียจากถูกมองแง่ลบ เวลาไปหาหมอ หมอก็จะหวาดระแวง เสียเวลาทำงานเสียค่าทนายแและก็เสียความรุ้สึก  ถ้าท่านเคยได้รับความไม่เป็นธรรมท่านจะซาบซึ่งได้ดีกว่าคำอธิบายใด ๆ
ในขณะที่ รพ. ขอนแก่น คนไข้ผ่าตา ตาบอดจำนวนมาก แต่กลับไม่โดนฟ้องอะไรเลยแถมเป็นข่าวครึกโครม
เราน่าจะเรียนรู้สิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อมาสร้างความสัมพันธ์ที่ดี มากกว่าการสร้างภาพ ลบ ๆ ขึ้นมา
ถ้ามี พรบ นี้ คนไข้ ที่ รพ. ขอนแก่นก็จะได้รับการเยี่ยวยาจาก กม. ฉบับนี้ไปด้วย
เราสร้างสิ่งดี ๆ ให้กับสังคมไม่ดีกว่าหรือครับ และสิ่้งนี้น่าจะจรรโลงเกียรติยศ ศักดิ์ศรีของวิชาชีพได้ดีกว่าสิ่งใด
คนไข้ยังรู้สึกดีกับหมอ หมอก็รู้สึกดีกับคนไข้

ประการที่ 5. การ ที่แพทย์และวิชาชีพอื่น ๆ ร่วมกันประท้วงต่อเรื่องนี้จึงต้องดูว่า
เราประท้วงอะไร เราประท้วงหลักการ หรือ เนื้อหารายละเอียด
เราควรใช้วิธีการประท้วงและแต่งดำ หรือ มีวิธีการอื่นใดที่ดีกว่าหรือไม่
เพราะสุดท้ายต้องสู้กันด้วยเหตุผลมากกว่า
เราศึกษาประเด็นกันชัดเจนดีแล้วหรือ หรือเราเชื่อเพราะเล่าตาม ๆ กันมา เชื่อเพราะตรรกะ
หรือเชื่อเพราะคนที่พูดที่บอกน่าเชื่อถือ
เราใช้ evidence-based กันเพียงใด
เราศึกษาความเป็นมาเรื่องนี้กันมากน้อยเพียงใด เราได้ยินคนที่เขาสนับสนุนและคัดค้านเท่านั้น
แต่ก็น่าเห็นใจที่เรายุ่งจนไม่มีเวลาศึกษา จึงต้องอาศัยผู้รู้แทน ซึ่งผู้รู้ก็มีทั้งจิตบริสุทธิ์และที่ไม่ใช่

ประการที่ 6. เราใช้การให้คำปรึกษา (counseling) กันในเวชปฏิบัติเพื่อให้เกิดการสื่อสารสองทางกับคนไข้
เพื่อรับฟังปัญหาและทางเลือกของผู้ป่วย
แต่ตอนนี้เรากลับเลือก วิธีการปลุกระดมฝ่่ายเดียว เราไม่ฟังคนอื่นเลยหรือเปล่า
ทำไมไม่คุยกับ คนร่าง พรบ. ดี ๆ ว่าปัญหาคืออะไร ถ้าเราเห็นด้วยในหลักการว่า
เราต้องการให้ กม.นี้เป็นเครื่องมือในการชดเชยเยี่ยวยา   เพราะใน มาตรา 41 ใน พรบ หลักประกัน ฯ ไม่มีกลไกอันนี้
กม.ใหม่นี้ก็จะได้ทำให้เกิดการชดเชยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เราน่าจะแก้ปัญหาแบบที่มีวุฒิภาวะ ด้วยเหตุด้วยผล  และชี้ให้ตรงประเด็น
จากรายการดีเบทในทีวีมาสองสามรายการ แพทย์เราไม่สามารถทำประเด็นให้กระจ่างได้อย่างตรง ๆ เพียงพยายามพูดว่า
แพทย์ทำงานหนักแบบขอความเห็นใจ แต่ไม่ได้ตอบโจทย์ว่า เมื่อคนไข้เกิดความเสียหายขึ้นเราจะช่วยกัน
ช่วยเหลือเยียวยาอย่างไร  ในเวทีสาธารณะ เราต้องสู้ด้วยเหตุและผลในประเด็็นมากกว่า
และ แสดงออกด้วยน้ำใจต่อกัน มากกว่าเอาชนะ
ถ้าคิดว่าวิชาชีพเรายังมีศักดิ์ศรี มีอำนาจบารมี ก็ควรใช้หลักเมตตากรุณาธรรม
เครือข่ายผู้ป่วยที่เกิดขึ้นก็คงไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นมาเองหรืออยู่ ๆ ก็ลุกขึ้นมาร้องเรียนแพทย์
ผมเชื่อว่าเขาได้รัีบความสูญเสียจริง แล้วพวกเราไม่สามารถให้ความกระจ่างกับเขาได้
และครั้้งนี้เขาก็ต้องการเรียกร้องที่จะมีระบบอะไรมารองรับ

ประการสุดท้าย เราจะหาทางออกร่วมกันอย่างไร
เราน่าจะมาใช้ใจคุยกันกับผู้ที่เรียกร้องต้องการ พรบ. ว่าหรือว่าที่ต่อสู้เรียกร้องเืพื่อผู้ป่วยต้องการอะไร
มีปัญหาอะไร และต้องการ พรบ. ออกมากอย่างไร ส่วนในมุมมองแพทย์ เรามีข้อจำกัดอย่างไร
เช่น  ในกรณีไม่ต้องจ่ายเงิน ในข้อ 6 (2)พูด เรื่องมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งในร่างที่ฝ่ายประชาชนเสนอไปไม่มีข้อนี้
และก็ให้ออกได้ เพราะฝ่ายผู้ต้องการ พรบ ไม่ได้ต้องการ แต่ แพทยสภา เป็นผู้เติมลงไปเอง
เราไม่ควรไปแสดงออกที่บ่งบอกถึงการตอกลิ่มความขัด แย้งระหว่างแพทย์กับคนไข้อีกต่อไปเลย   
คนไข้ส่วนใหญ่ก็ยังเคารพนับถือแพทย์และเพื่อนร่วมวิชาชีพทางการแพทย์อยู่  และสังคมส่วนใหญ่ก็ยังให้เกียรติพวกเราอยู่
เราควรรักษาต้นทุนทางสังคม ไว้ในยามที่สามารถช่วยเหลือสังคมได้จะดีกว่า
เรามาพูดคุยร่วมกัน แบบขอนแก่นโมเดล ที่คนไข้ต้องตาบอดจากการติดเชื้อระหว่างการรักษายังคงรักษากับแพทย์อยู่
ไม่ออกมาฟ้องร้องแม้จะเป็นข่าวดังทั่วประเทศ เราก็ควรมองว่านี่คือน้ำใจคนไข้เช่นกัน
ถ้าเราส่งเสริมสิ่งเหล่านี้ให้มากขึ้น รู้จักการตอบสนองในทางบวกเหมือนที่ รพ.ขอนแก่น
เราก็จะได้ไม่ต้องทำ defensive practice
เราน่าจะพลิกวิกฤตินี้เป็นโอกาส
ในการสร้างบรรยากาศความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์กับผู้ป่่วยในระดับภาพรวม
ในการสร้างความเข้าใจกันกับกระทรวงสาธารณสุขและ สปสช. ในข้อจำกัดในทรัพยากรที่ได้รับ หรือระบบที่ไม่เื้อื้ออำนวยต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แล้วส่งผลต่อการ บริการที่เสียงต่อความผิดพลาดเสียหาย
รวมถึงสื่อสารกับสังคมในข้อจำกัดของการ บริการทางการแพทย์ แม้ว่าประเทศที่เจริญแล้วก็เกิดขึ้น เพราะเมื่อใดที่เกิดปัญหา
กับผู้ป่วยทางสื่อ แพทย์ก็จะเป็นจำเลยไว้ก่อน
เวลานี้น่าจะเอาสรรพกำลังที่บริสุทธิ์มาสร้างสรร สิ่งดี ๆ ในวิชาชีพ มากกว่าการเอาชนะทางแง่กฎหมาย
อย่างไรเสียแพทย์กับคนไข้ก็ต้องอยู่ร่วมกันตราบเท่าที่ยังมีคนเจ็บป่วย และแยกกันไม่ออก

ในเมื่อเราเห็นด้วยว่าความเสียหายจากการบริการควรได้รับการเยียวยา เราก็ควรให้ กฎหมายนี้ผ่านเข้าสภา เพื่อรับหลักการ
เพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้  เพราะเรื่องนี้ทำกันมานานแล้ว
เรื่องนี้ก็ยังไม่สายที่เราจะปรับแก้กันในวาระสองในสภาผู้แทนต่อไป
และเราควรได้พูดคุยกันแบบนั่งจับเข่าคุยกันมากกว่ายืนกอดอกคุยกัน
การประท้วงเอาชนะ ต่อไปก็อาจจะแพ้ทั้งหมอทั้งคนไข้ และสังคมก็แพ้เพราะแพทย์กับคนไข้ทะเลาะกัน
คนที่ได้กลับเป็นนักการเมืองและผู้บริหาร และฝ่ายที่ได้ผลประโยชน์จากการยับยั้งกฎหมายนี้ครับ

หากเห็นว่าจดหมายนี้เป็นประโยชน์ โปรดส่งต่อไปยังเพื่อนร่วมวิชาชีพต่อไป ขอบคุณครับ

นพ.สุธีร์ รัตนมงคลกุล

อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

2531

ผู้แทนสภาวิชาชีพ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เทคนิคการแพทย์ เข้าพบนายกรัฐมนตรีที่พรรคประชาธิปัตย์ ถกเรื่องปัญหาร่าง พรบ.คุ้มครองความเสียหายฯ นายกรัฐมนตรี รับปากจะให้ทุกส่วนได้ประชุมหาทางออกต่อปัญหานี้ร่วมกัน 

วันที่ 22 กค 2553  เวลา 14.15 น.ที่พรรคประชาธิปัตย์ ผู้แทนสภาวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุข ประกอบด้วย รศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร อุปนายกแพทยสภา  นายแพทย์สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา นายแพทย์ อิทธพร คณะเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา นายแพทย์ชนาธิปฯ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา  นายแพทย์พินิจ หิรัญโชติ กรรมการแพทยสภา  นายแพทย์เอื้อชาติ กรรมการแพทยสภา  ทันตแพทย์ธรณินทร์ฯ และทันตแพทย์ จาก ทันตแพทยสภา  ทนพ.สมชัย เจิดเสริมอนันต์  เลขาธิการสภาเทคนิคการแพทย์  ดร.สมจิตร ฯ นายกสภาการพยาบาล  เภสัชกรเสน่ห์ฯ เภสัชกรหญิงพัชรี ศิริศักดิ์ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม   แพทย์หญิงพจนา กองเงิน  แพทย์หญิงสุธัญญา บรรจงภาค แพทย์หญิงประชุมพร บูรณ์เจริญ  นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร ทันตแพทย์หญิงสุขุมาลย์ จาก สมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป  พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา  ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง และ พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล กับ ทนพ.วัฒโนทัย ไทยถาวร จากคณะกรรมการศึกษาและปฏิรูประบบสาธารณสุขไทย ได้เข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือเรื่อง ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหาย จาก การรับบริการสาธารณสุข พศ.... ที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุขกำลังวิตกกังวลต่อการถูกฟ้องร้องอยู่ในขณะนี้

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า   ตนเองก็เติบโตมาในครอบครัวแพทย์   เนื่องด้วยสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม ประชาชนตื่นตัวในเรื่องสิทธิเพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีปัญหาระหว่างแพทย์และคนไข้  เจตนาที่จะออกกฎหมายนี้  ต้องการให้มีคนกลางไกล่เกลี่ยและช่วยเหลือทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ    หากกลุ่มแพทย์แลบะผู้ให้บริการสาธารณสุขมีข้อเสนอเพื่อจะทำให้ร่างกฎหมายนี้ดีขึ้นอย่างไร ก็เป็นสิ่งที่เสนอมาแก้ไขได้  จากนั้นได้เปิดโอกาสให้ผู้แทนสภาวิชาชีพต่างๆ แสดงความเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่อร่าง พรบ.ฉบับนี้

รศ.พญ.ประสบศรี อึ๊งถาวร  อุปนายกแพทยสภา กล่าวเรียน นายกฯว่า  ร่าง พรบ.ค้มครองฯ  ตามชื่อร่าง ก็เพื่อจะคุ้มครองประชาชน ซึ่งแพทย์เองก็คุ้มครองประชาชนด้วยการรักษาพยาบาลตามหน้าที่อยู่แล้ว  และหากมีความเสียหายเกิดขึ้น ก็ประสงค์ให้ผู้ป่วยได้รับการค้มครองเช่นกัน   แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาสาระในมาตราต่างๆ ของร่างกฎหมายฉบับนี้แล้ว  กลับไม่เป็นไปเพื่อจะค้มครองผู้ป่วย  และด้วยเป็นพรบ.เกี่ยวกับบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข  การพิจารณาถูก-ผิด ควรต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ  ซึ่งจำเป็นต้องที่ผู้เชี่ยวชาญดูแลในทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับนโยบาย  ระดับบริหาร และระดับปฏิบัติการ  ควรที่จะได้ทำให้รอบคอบยิ่งขึ้น

ด้านทันตแพทย์ธรณินทร์ ผู้แทนทันตแพทยสภา กล่าวว่า คณะกรรมการของ ร่าง พรบ.นี้  โดยเฉพาะบทเฉพาะกาล  กำหนดให้มี เอ็นจีโอ 6  คน และผู้ทรงคุณวุฒิ อีก 3 รวมเป็น 9 คน ใน 11 คน  จะทำให้คณะกรรมการชุดนี้  อาจมีผู้เสนอร่างนี้เข้าไปเป็นกรรมการใช้เงินกองทุนนี้ด้วยเสียงข้างมากตั้งแต่เริ่มต้น  จะทำให้มีการผิดรูปผิดแบบคณะกรรมการ ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดผลดีตามเจตนารมณ์ของกฎหมายได้

ศ.ดร.สมจิตร  นายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า ด้วยเป็นร่าง พรบ.ที่เกี่ยวพันกับสาธารณชน กระทบถึง สถานีอนามัย ควรที่จะได้ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ทราบ และมีความเห็นต่อ ร่าง พรบ.นี้อย่างถ้วนทั่วก่อน 

ขณะที่ทนพ.สมชัย เจิดเสริมอนันต์ เลขาธิการสภาเทคนิคการแพทย์  เห็นว่าร่าง พรบ.นี้ ยังไม่ได้มีการศึกษา วิเคราะห์ อย่างดีพอ ว่ากลไก ที่กำหนดไว้ จะแก้ไขปัญหา หรือ จะมีผลทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น   จึงควรมีการศึกษา วิเคราะห์ให้รอบคอบ เสียก่อน

ด้าน พญ.พจนา  กองเงิน ประธานสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท. กล่าว ถึงการทำงานภายใต้ข้อจำกัด ซึ่ง สปสช.กำหนดมากมาย ทำให้แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปต้องทำงานหนักอย่างมาก  สปสช.ได้สร้างปัญหาภาระงานให้กับผู้ให้บริการมากแล้ว  หาก มี พรบ.คุ้มครองนี้ จะยิ่งทำให้สถานการณ์นี้แย่ลงเพิ่มอีก

พญ.สุธัญญา บรรจงภาค  กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 80 (2) ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ที่ปฏิบัติตามมาตรฐานและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครอง   แต่ขณะนี้ยังคงไม่มีการคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพแต่อย่างใด 

ส่วน นพ.ประดิษฐ์  กล่าวว่า ภาระงานทุกวันนี้มีมากเกินกำลังที่ระบบจะรองรับได้  แพทย์มีคนไข้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ขณะนี้ ถึง 200 ล้านครั้งในปีงบประมาณที่ผ่านมา   คนไข้แต่ละคนจึงได้รับบริการเพียงคนละ 1 ถึง 2 นาที  ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้ป่วย  แพทย์มีทางออกของแพทย์ได้ แต่ผลร้ายของ ร่าง พรบ.นี้ จะทำให้แพทย์ต้องทำการส่งตรวจเพิ่มขึ้น  และต้องทำการประกอบวิชาชีพแบบละเอียด จะทำให้คนไข้ต้องได้รับบริการอย่างล่าช้า  ร่าง พรบ.นี้จะทำให้ปัญหาเดิมของแพทย์ รุนแรงขึ้น

พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ  กล่าวว่า ร่าง พรบ.นี้   จะทำให้มีการเรียกเก็บเงินจากสถานพยาบาล    ซึงที่ผ่านมาโรงพยาบาลของรัฐ ก็จะได้รับงบประมาณเป็นค่ายา ค่าวัสดุ เพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วย จากงบประมาณแผ่นดิน  หากมี พรบ.นี้ โรงพยาบาลที่ได้รับเงินงบเพื่อการให้บริการผู้ป่วยอย่างจำกัด ในแบบที่เป็นปัจจุบัน  ก็จะต้องนำเงินงบแผ่นดินที่ได้ย้อนกลับไปจ่ายเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนอีก ทำให้เงินค่ายาที่โรงพยาบาลได้รับเพื่อเป็นค่ายาค่าวัสดุทางการแพทย์เพื่อรักษาผู้ป่วยต้องลดลงไปอีก   จะทำให้เป็นภาระการคลังของประเทศ

พญ.เชิดชู  อธิยศรีวัฒนา ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง กล่าวว่า ร่าง พรบ.นี้ จะทำให้มีการฟ้องร้องผู้ให้บริการเพิ่มขึ้น  ประกอบกับขณะนี้ แพทย์ขาดแคลนอย่างรุนแรง แพทย์มีภาระงานมาก  ประเทศไต้หวัน มีประชากร 23 ล้านคน  มีแพทย์ 50 000 คน  ประเทศไทยมีประชากร 65 ล้านคน  มีแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุข ให้การดูแลเพียง 8,000 คน  ร่าง พรบ.นี้ จะสร้างปัญหาให้กับผู้ป่วยและผู้ให้บริการ  ซึ่งเภสัชกรหญิง พัชรี  ศิริศักดิ์ ได้กล่าว เสริม พญ.เชิดชู ในด้านบริการที่เป็นภาระอย่างหนักของผู้ให้บริการด้วย

พญ.อรพรรณ์  เมธาดิลกกุล คณะกรรมการการศึกษาและปฏิรูประบบสาธารณสุขไทย กล่าวว่า โดยหลักการแล้ว กฎหมาย มีไว้เพื่อให้เกิดความสงบสุขของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม  หากผู้ใดเสียหาย จากการกะทำของผู้ใด  กฎหมายกำหนดให้ฟ้องผู้ทำผิดเพื่อนำมาลงโทษ หรือชดใช้ค่าเสียหายได้     สำหรับกรณีที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความเสียหายและเกิดจากบุคคลจำนวนมาก  จะมีกฎหมายลักษณะประกันให้กับผู้เสียหาย เช่น พรบ.กองทุนเงินทดแทน   ซึ่งกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน เมื่อลูกจ้างเกิดความเสียหาย  ก็ให้ใช้เงินจากกองทุนเยียวยาเบื้องต้นไปก่อน   หรือ กฎหมายที่ว่าด้วย บุคคลที่ 3 ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุจากยานพาหนะ     ซึ่งกฎหมายในลักษณะดังกล่าว จะไม่สามารถใช้กับ การรักษาพยาบาล ที่มิใช่กรณีที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้นมากมาย  เนื่องจากการรักษาพยาบาลมุ่งให้บุคคลดีขึ้นจากการป่วย และเป็นบริการสาธารณะที่รัฐจัดให้ ผ่านกลไกลการควบคุมกำกับโดยสภาวิชาชีพ  เป็นกรณีที่จะนำไปใช้เช่นกรณีความเสี่ยงต่อความเสียหายในสาธารณชนจำนวนมากๆ นั้นไม่ได้     โดยสรุปแล้ว ร่าง พรบ.นี้ขัดกับหลักการของการตรากฎหมาย คือขัดกับความสงบเรียบร้อยในสังคม  จะสร้างปัญหาให้กับสังคมเกิดความเสียหายเนื่องจากผู้ให้การรักษาไม่อาจประกอบวิชาชีพได้  ทำให้ประชาชนที่ต้องการการช่วยเหลือทางการแพทย์ ต้องขาดบริการนี้  เนื่องจากระบบจะขาดผู้ให้บริการอย่างมาก

เมื่อรับฟังข้อคิดเห็นของผู้แทนสภาวิชาชีพต่างๆ แล้ว นายกรัฐมนตรี  กล่าวว่า จะได้จัดให้มีคณะทำงานของรัฐบาลในเรื่องนี้ และ จะให้ทุกส่วนได้ประชุมหาทางออกต่อปัญหานี้ร่วมกัน   จากนั้น คณะแพทย์-พยาบาล-เภสัชกร-ทันตแพทย์-เทคนิคการแพทย์  ก็ได้ถ่ายรูปกับ นายกรัฐมนตรี  และ รศ. พญ.ประสบศรี ก็ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงเหตุที่มาพบนายกรัฐมนตรี และการที่ขอให้มีการทบทวน ร่าง พรบ.นี้


เขียนโดย แพทย์หญิง อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล โรงพยาบาลราชวิถี   

2532

ภาพนี้ดูเหมือนนกตัวนี้บินเร็วมากๆ
คล้ายการบินของเครื่องบินไอพ่น มีทางสีขาวตามมาเป็นแนว

แต่จริงๆแล้ว มีคนจัดฉาก จัดมุมกล้อง ให้ นก ตัวนี้ดูวิเศษสุดยอด

นั่น...เป็นความสำคัญผิด อีกแล้ว

ก็แค่...........นกธรรมดาๆตัวหนึ่งเท่านั้นเอง

2533
ห้องพักผ่อนรวม (Common Room) / กระป๋องธรรมดาๆ
« เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2010, 22:45:51 »

ภาพนี้ดูเหมือนว่ามี น้ำพุ พุ่งออกจากกระป๋องเบียร์ และพุ่งอยู่ตลอดเวลา
กระป๋องเบียร์นี้ช่างมีอิทธิฤทธิ์อะไรปานนี้

นั่น... เป็นการสำคัญผิด

จริงๆแล้ว มันเป็นแค่เศษกระป๋องใบหนึ่งดีๆนี่เอง
แต่มีคนจัดฉาก จัดมุมกล้อง ให้ดูเป็นอย่างที่เห็น

...........คงได้อะไรจากภาพนี้บ้าง


2534
*ค่าโทรมือถือเท่ากันทั่วประเทศ *
กทช.
กำหนดให้คิดค่าบริการการใช้โทรศัพท์มือถือทั้งในเครือข่ายและนอกเครือข่ายใน
ราคาเท่ากันทั่วประเทศ เริ่มวันที่ 1 ก.ย.นี้
ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ที่นาทีละ 1 บาท
ส่วนโปรโมชั่นค่าโทรเดิมของผู้ให้บริการแต่ละรายจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ส.ค.นี้

ส่วนการประกาศคงสิทธิ์หมายเลข
ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเปลี่ยนค่ายผู้ให้บริการโดยใช้หมายเลขเดิมได้นั้น
จะเริ่มต้นในวันที่ 1 ก.ย.เช่นเดียวกัน

2535
 นพ.ประเวศ  วะสี ในฐานะประธานคณะกรรมการ ปฏิรูปได้เขียนบทความถึงแนวทางปฏิรูปและการปรองดอง
         
         สัปดาห์ที่ผ่านมามีความสับสนเกี่ยวกับปรองดองและปฏิรูป โดยที่คิดว่าอยู่ในเรื่องเดียวกัน ดังที่มีนักข่าวถามว่า  “ถ้าปรองดอง ไม่สำเร็จจะปฏิรูปได้อย่างไร” ถ้าแยกเรื่องปรองดองกับการปฏิรูปออกจาก กันก็จะมีความชัดเจนขึ้น  ปรองดองเป็นเรื่องของอดีต แต่ปฏิรูปเป็นเรื่องของอนาคต เรามักคุ้นเคยกับคำว่าแก้ปัญหา การแก้ปัญหาทำได้ยากและบ่อยๆ ครั้งการแก้ปัญหาทำให้ทะเลาะกันมากขึ้น เพราะปัญหามีที่มาและมีคนที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก การรวมตัวกันทำสิ่งใหม่ที่ดีง่ายกว่า เพราะเป็นเรื่องอนาคตยังไม่มีจำเลย 

          ผู้รู้บางคนถึงกับกล่าวว่า “การพัฒนาไม่ใช่การแก้ปัญหา การพัฒนาคือการรวมตัวกันทำสิ่งใหม่ที่ดี” ที่พูดนี้ไม่ได้หมายความว่า ไม่ควรคิดแก้ปัญหา แต่ไม่ควรหมกมุ่นกับการแก้ปัญหาเสียจนเคลื่อนไปสู่อนาคตไม่ได้
          การปรองดองกับการปฏิรูปเป็นคนละกระบวนการกัน การปฏิรูปไม่ได้ทำเรื่องปรองดอง แต่ถ้าปฏิรูปแล้วเกิดความเป็นธรรมก็เกิดการปรองดองตามมาเอง ส่วนการปฏิรูปที่คิดว่าใครเป็นเหยื่อใครนั้น ถ้าได้เข้าใจความเป็นมาและที่จะเป็นไป ก็คงจะลดความสับสนลงได้บ้าง

          (๑) การปฏิรูประบบสุขภาพดำเนินมาเกือบ ๒๐ ปีแล้ว นักการ สาธารณสุขที่เห็นความทุกข์ยากของประชาชน จากความจน ความเจ็บป่วยล้มตายโดยไม่จำเป็นและการเข้าไม่ถึงบริการ ได้หาทางแก้ไขด้วยประการต่างๆ แต่ทำได้ยากมากเพราะปัญหาเชิงระบบ จึงคิดถึงการปฏิรูประบบสุขภาพ

          การจะปฏิรูปอะไรต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขมีความรู้ทางเทคนิค แต่ไม่มีความรู้เชิงระบบ จึงมีการตั้ง สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ เพื่อสร้างความรู้เชิงระบบ เพื่อเอาความรู้ไปปฏิรูประบบสุขภาพ สวรส. เป็นองค์กรอิสระองค์กรแรก มีความคล่องตัว และสามารถออกลูกองค์กรต่างๆ ได้หลักของการ ปฏิรูปอย่างหนึ่งคือ เปลี่ยนจากระบบตั้ง รับเป็นระบบรุก  ตั้งรับคือ รอให้สุขภาพเสียก่อน รุกคือ รุกไปสร้างสุขภาพดี จึงมีการตั้ง สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) โดยออกกฎหมายเก็บภาษีเหล้าและบุหรี่มาเข้ากองทุนนี้ ซึ่งมีหน้าที่ไปเสริมสร้างสุขภาพดีในทุกพื้นที่และในทุกเรื่อง

          คนยากคนจนไม่มีหลักประกันสุขภาพ จึงมีการออกกฎหมายตั้งสำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ  (สปสช.)โดยที่ นโยบายสาธารณะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมทุกส่วน การมีนโยบายที่ดีจึงเป็นเรื่องที่มีผลต่อสุขภาพอย่างมาก แต่นโยบายที่ดีเกิดขึ้นได้ยาก เพราะกระทบต่อผลประโยชน์ต่อบางฝ่ายบางพวกที่มีอำนาจ* จึงมีการออกกฎหมายตั้ง คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ (สช.) ซึ่งมีภารกิจในการขับเคลื่อนให้เกิดนโยบายที่ดี

          จึงมีองค์กรที่เรียกว่า ส. ต่างๆ คือ สวรส. สสส. สปสช. สช. เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติเป็น ลำดับๆ มา กระนั้นก็ตามเป้าหมายที่จะทำให้เกิดสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา  แก่ประชาชนทั้งมวลก็ยังเป็นเรื่องยาก

          (๒) สุขภาพนั้นเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนและสังคมทั้งหมด ไม่ใช่เรื่องมดหมอ หยูกยาเท่านั้น เช่นถ้าแก้ความยากจนและความอยุติธรรมในสังคมไม่ได้ สังคมจะเกิดสุขภาวะได้อย่างไร ถ้าสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ระบบการเกษตรไม่ดี ระบบการศึกษาไม่ดี ฯลฯ ล้วนกระทบต่อสุขภาพทั้งสิ้น ฉะนั้นคำว่าระบบสุขภาพจึงกินความกว้างขวางออกไปนอกขอบเขตของระบบสาธารณสุข มาก โปรดสังเกตคำว่าระบบสุขภาพมีขอบเขตกว้างขวางกว่าระบบการแพทย์และระบบสาธารณ สุข อย่างในสถานการณ์ที่เรียกว่า วิกฤติสุดๆ นั้น ประชาชนจะมีสุขภาวะได้อย่างไร

          (๓) ปฏิรูปประเทศไทยเพื่อสุขภาวะคนไทย ๑๐ เรื่อง ใน สภาวะที่เรียกว่าวิกฤติสุดๆ นั้น คนไทยกลุ่มหนึ่งได้คาดการณ์ว่า สภาวะวิกฤติน่าจะดำเนินไปถึงจุดที่ไม่มีทางออก นอกจากปฏิรูปใหญ่ประเทศไทย หรือปฏิรูปทุกเรื่องเพราะปฏิรูปเรื่องใดเรื่องหนึ่งเรื่องเดียว เช่น การปฏิรูปการเมืองคงจะไม่สำเร็จ จึงจัดให้มีการประชุมเรื่องปฏิรูปประเทศไทย เพื่อสุขภาวะคนไทย ทุก ๒ สัปดาห์เป็นเวลาปีครึ่งมาแล้ว โดยพิจารณาใน ๑๐ เรื่องด้วยกัน คือ

          (๑) สร้างจิตสำนึกใหม่ (๒) สร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ (๓) สร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น (๔) สร้างระบบการศึกษาที่พาชาติออกจากวิกฤติ (๕) ธรรมาภิบาลทางการเมืองการปกครองระบบความยุติธรรมและสันติภาพ (๖) ระบบสวัสดิการสังคมที่ถ้วนหน้า (๗) ดุลยภาพเพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม (๘) ปฏิรูประบบสุขภาพ (๙) วิจัยยุทธศาสตร์ชาติ (๑๐) สร้างระบบการสื่อสารที่ดีที่ผสานการพัฒนาทั้งหมด

          เรื่องเหล่านี้ยากๆ ทั้งสิ้น  ต้องระดมคนมาใช้ความรู้ความคิดกันอย่างหนักโดยคิดว่าเรื่องยากๆ อย่างนี้ ถ้าไม่ช่วยกันทำแล้วใครจะทำ ฝ่ายการเมืองเขาคงทำไม่ได้ แต่ยามใดที่มีวิกฤตการณ์ทางการเมือง หน้าต่างแห่งโอกาสจะเปิดให้ทำเรื่องยากๆ ยามที่ฝ่ายการเมืองเข้มแข็งเขามักจะไม่สนองตอบต่อข้อเรียกร้องใดๆ จากภาคสังคม ยามเขาอ่อนแอเขาจะสนองตอบ เพราะฉะนั้นการปฏิรูปประเทศไทยไม่ใช่ความริเริ่มของฝ่ายการเมือง แต่เป็นการสนองตอบความริเริ่มที่ดำเนินการอยู่แล้วในสังคม และก็เป็นโอกาสที่ภาคสังคมจะขับเคลื่อนการปฏิรูป

          (๔) กระบวนการปฏิรูปโดยรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง กระบวนการ ปฏิรูปไม่ผูกติดกับรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง รัฐบาลก็เป็นอนิจจังเปลี่ยนแปลงไปด้วยเหตุปัจจัย รัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งอาจให้ความสนใจมากบ้างน้อยบ้าง เช่น สวรส. เกิด ในช่วงรัฐบาลอานันท์ เรื่องหลักประกันสุขภาพ นั้น นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์กับคณะ เริ่มรัฐบาลทักษิณจับไปทำและได้เครดิตไป องค์กร ส. หลายองค์กรเกิดในช่วงรัฐบาลชวน กระบวน การปฏิรูปจึงเกี่ยวกับการเมือง แต่ไม่เล่นการเมืองแบบเป็นฝักเป็นฝ่าย ตามปกติเรื่องใหม่ดีๆ ฝ่ายค้านจะสนใจมากว่ารัฐบาล เช่น คุณบรรหารเมื่อเป็นฝ่ายค้านได้นำเรื่องปฏิรูปการเมืองไปหาเสียง และเมื่อชนะการเลือกตั้งก็ทำตามสัญญาที่หาเสียงไว้ กระบวนการปฏิรูป เราจึงนึกถึงพรรคฝ่ายค้านด้วยเสมอ เพราะอาจกลับเป็นผู้ปฏิบัติเรื่องดีๆ ได้

          (๕) สังคมเข้มแข็งคือจุดลงตัว อำนาจรัฐก็ดี อำนาจเงินก็ดี ไม่มีทางทำให้ลงตัว แต่อาจทำให้แตกแยกมากขึ้น  ต่อเมื่อใด สังคมเข้มแข็งนั่นแหละประเทศจึงจะลงตัวได้ ควรจะส่งเสริมให้มีการรวมตัว ร่วมคิดร่วมทำในทุกพื้นที่ ในทุกองค์กร และในทุกเรื่อง จนเกิดโครงสร้างสังคมทางราบเป็นประชาสังคม ความเป็นประชาสังคม จะทำให้ทุกเรื่องยากๆ ได้ อย่างขณะนี้มีเสียงเรียกร้องทั่วไปให้มีการลดความเหลี่ยมล้ำทางสังคม ซึ่งคงจะคิดถึงมาตรการปฏิรูปการใช้ที่ดิน การจัดเก็บภาษีที่ทำให้ลดความเหลื่อมล้ำ การกระจายอำนาจสู่ชุมชนท้องถิ่น การเพิ่มอำนาจให้ประชาชน เช่น การมีองค์กรทางการเงินขนาดใหญ่ที่ประชาชนเป็นเจ้าของ เป็นต้น เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องยากๆ ทั้งนั้น ถ้าปราศจากการขับเคลื่อนทางสังคมบวกกับทางวิชาการก็คงทำให้สำเร็จไม่ได้

          สังคมไทยไม่เคยเข้มแข็ง วิกฤตการณ์บ้านเมืองคราวนี้ ถ้าได้สังคมเข้มแข็งขึ้นมาสักอย่าง ประเทศไทยก็น่าจะเปลี่ยน เพราะสังคมเข้มแข็งจะเป็นพลังที่ทำให้เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ 

หน้า: 1 ... 167 168 [169] 170