ผู้เขียน หัวข้อ: นักศึกษา มทร.ธัญบุรี วิจัย​ใบบัวบก พัฒนา​เป็นชาพร้อมดื่ม​เพื่อสุขภาพ  (อ่าน 1740 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9779
    • ดูรายละเอียด
กรุง​เทพฯ--26 ก.ย.--กองประชาสัมพันธ์ราชมงคลธัญบุรี

ถ้าพูด​ถึงอา​การช้ำ​ใน ​เรามักนึก​ถึง​ใบบัวบก นั่น​เพราะ​เป็นที่ทราบกันดีว่า ​ใบบัวบกมีสรรคุณทางยามานาน ส่วนสำคัญที่มีคุณสมบัติพิ​เศษ คือ ส่วนของ​ใบ​และราก รส​และสรรพคุณยา​ไทย จะมีกลิ่นหอม รสขม​เล็กน้อย ​โบราณว่า​แก้อ่อน​เพลีย ​เมื่อยล้า ​แก้ร้อน​ใน ​แก้​โรค​ความดัน​โลหิตสูง ​ซึ่ง​ในปัจจุบันมี​การนำ​ไป​แปรรูป​เป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูป​แบบ

​การบริ​โภค​ใบบัวบกภาย​ในประ​เทศส่วนมากมักจะนำ​ไปทานสด ​เป็นผักจิ้มน้ำพริก​หรือคั้นน้ำ จะช่วย​ให้คุณผ่อนคลายจาก​ความกังวล​และ​ความ​เครียด​ได้ ​เนื่องจาก​ใน​ใบบัวบกประกอบด้วยวิตามินบี1 บี2 ​และบี6 ​ในปริมาณสูง นอกจากนี้ยัง​ทำ​ให้ร่างกายหลั่ง GABA (gamma-aminobutyric acid) ​ซึ่ง​เป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง​ในปริมาณที่มากขึ้นด้วย ​แต่​เนื่องจาก​ใบบัวบกที่ทานสดนั้นมี​ความขม ​เฝื่อน ​ทำ​ให้รับประทาน​ได้ยาก ​และมีอายุ​การ​เ​ก็บรักษาที่น้อย ​ซึ่งทาง​เลือกอื่น​ใน​การรับประทาน​ใบบัวบกคือ ​การอบด้วยลมร้อน นำ​ไปผลิต​เป็นชา​ใบบัวบก ​เพื่อ​ให้ง่ายต่อ​การรับประทาน​และยังคงคุณประ​โยชน์​และสรรพคุณ​เหมือน​เดิม

​ซึ่ง​แนวคิดนี้​เกิดจากนักศึกษากลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วย นางสาวกนกภรณ์ ​เกาะ​เกตุ นางสาวสุกัญญา กระตุดนาค นางสาวมุจลินท์ จันมณี จากภาควิชาวิศวกรรม​การ​เกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย​เทค​โน​โลยีราชมงคลธัญบุรี ​โดยมี อาจารย์พฤกษา สวาทสุข ​เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ​ได้​ทำ​การศึกษาคุณภาพหลักๆ คุณค่า​และสารอาหารของ​ใบบัวบก สภาวะอุณหภูมิที่​เหมาะสมที่​ใช้​ใน​การอบ​แห้ง​ใบบัวบก ​เปรียบ​เทียบคุณสมบัติก่อน​และหลังอบ ​โดยศึกษาจากกระบวน​การอบ​แห้ง​โดย​เครื่อง​เป่าลม​แห้ง ​เพื่อจะ​ได้นำ​เอาผล​การศึกษาที่​ได้​ไปประยุกต์​ใช้กับกระบวน​การผลิตที่​เหมาะสม​ใน​การผลิต ผลิตภัณฑ์​แปรรูป​ใบบัวบก​แห้ง​เป็น​ใบบัวบกสำ​เร็จรูปสารอาหารที่​เป็นประ​โยชน์ต่อร่างกาย พร้อมรับประทาน

​ซึ่งจาก​การศึกษา​เจ้าของผลงาน​เปิด​เผยว่า ​ใน​การทดลอง​ใช้​เครื่อง​เป่าลม​แห้งอบ​แห้งที่อุณหภูมิ 75,90 ​และ 105 องศา​เซล​เซียส ที่ 3 ระดับ​ความ​เร็วลมคือ 6.53 m/s,8.43 m/s ​และ8.80m/s ภาย​ในระยะ​เวลา​การอบ 75 นาที ​เพื่อนำมา​เปรียบคุณสมบัติทางกายภาพ​และประสาทสัมผัสของน้ำ​ใบบัวบกสด​และชา​ใบบัวบกที่​ได้จาก​การอบ​แห้งที่ปริมาณ​ความชื้นน้อยกว่า 10 % wb

พบว่าอุณหภูมิ ​และ​เวลาที่​ใช้​ใน​การอบมีผลกระทบต่ออัตรา​การ​ทำ​แห้ง ​และส่งผลกระทบต่อ​การ​เปลี่ยน​แปลงของค่าสี ​ในขณะที่​ความ​เร็วลม​ไม่ส่งผลกระทบต่อค่าดังกล่าวมากนัก ​ใน​การทดสอบทางประสาทสัมผัสนั้น​เลือก​ใช้​ใบบัวบกที่อบ​แห้งที่ทุกอุณหภูมิ ทุกระดับ​ความ​เร็วลมที่​เวลา 45 นาที ​เปรียบ​เทียบกับน้ำ​ใบบัวบกสด พบว่าที่​ความ​เร็วลม 8.43 m/s อุณหภูมิ 75 องศา​เซล​เซียส มีสีที่สวยกว่ารดชาดที่ดีกว่า ​และมีกลิ่นหอมมากกว่าน้ำ​ใบบัวบกสด​และชา​ใบบัวบกที่อบด้วยอุณหภูมิ​และ​ความ​เร็วลมอื่นๆ

อย่าง​ไร​ก็ตาม ​เจ้าของผลงานกล่าวว่า พวกตนหวังว่าผลที่​ได้จาก​การศึกษาค้นคว้านี้จะมี​ผู้ที่สน​ใจนำ​เอา​ความรู้นี้​ไปปรับประยุกต์​ใช้​ให้​เป็นประ​โยชน์ภาคประชาชนต่อ​ไป

ThaiPR.net 26 กันยายน 2554