ผู้เขียน หัวข้อ: สัมภาษณ์พิเศษ อัมมาร สยามวาลา เจาะปมสุขภาพ  (อ่าน 3635 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
ลองดูแนวคิดแบบนี้(จากคนที่ไม่ได้เป็นแพทย์ แต่เข้ามามีบทบาทต่อระบบสาธารณสุข--สังกัดสปสช.)

"ผมถือว่าเป็นสัญญาของรัฐบาล
อ้างว่าไม่มีงบดูแลสุขภาพไม่ได้"

       ภาระงบประมาณค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายฝ่ายเริ่มกังวล ว่า จะกระทบต่อภาระการเงินการคลังของประเทศจนอาจแบกรับไม่ไหว รวมไปถึงปัญหาโรงพยาบาลขาดทุน  "กรุงเทพธุรกิจ" จึงได้สัมภาษณ์พิเศษ ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาระบบสาธารณสุขของประเทศ

         ปัญหาโรงพยาบาลในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กว่า 900 แห่ง ซึ่งมีปัญหาสภาพคล่อง หลายโรงพยาบาลถึงขั้นขาดทุน ซึ่งสาเหตุอาจจะเกิดจากงบประมาณค่ารายหัวของบัตรประกันสุขภาพมีจำนวนไม่เพียงพอ

        ประเด็นดังกล่าว  ดร.อัมมาร กล่าวว่า เมื่อดูงบประมาณหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบว่ามีการขยับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนในปี 2551 เป็นปีแรกที่สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง จัดสรรงบประมาณให้ในอัตราที่พอเพียงกับการใช้บริการแล้ว ส่วนตัวเลขต้นทุนของกระทรวงที่คิดคำนวณและบอกว่าโรงพยาบาลขาดทุนนั้น ผมไม่เชื่อตัวเลขใดๆ จากการทำบัญชีของกระทรวง เพราะการทำบัญชีของกระทรวงมีปัญหา ไม่ว่าเปลี่ยนวิธีการทำบัญชีอย่างไร คนทำบัญชีต้องรู้เรื่อง ตราบใดที่คนทำบัญชียังเป็นหมอก็คงเชื่อบัญชีของกระทรวงได้ยาก
 
       ส่วนปัญหางบการลงทุนเพื่อก่อสร้างและพัฒนาโรงพยาบาลนั้น ดร.อัมมาร ยอมรับว่า ที่ผ่านมา สธ.ได้งบนี้น้อยมากตั้งแต่มีการจัดตั้ง สปสช. ซึ่งต้องยอมรับว่าเราเองก็พลาดไป ทำให้จากเดิมที่ สธ.เคยได้งบก้อนนี้ปีละ 8,000-9,000 ล้านบาท เหลือเพียงแค่ไม่กี่พันล้านบาทเท่านั้น

         นอกจากนี้ ดร.อัมมาร กล่าวอีกว่า เรื่องระบบหลักประกันสุขภาพนั้น ผมถือว่าเป็นสัญญาที่รัฐบาลได้ให้ไว้กับประชาชน ว่า ประชาชนไม่ต้องดูแลเรื่องการรักษาพยาบาล แต่รัฐบาลจะเป็นผู้รับผิดชอบเอง ดังนั้นจึงจะอ้างว่ารัฐบาลไม่มีงบประมาณไม่ได้ ซึ่งต้องทำเช่นเดียวกับรูปแบบการจ่ายเงินเดือนข้าราชการที่ไม่ว่าจะมีรายจ่ายอะไร แต่ต้องกันงบส่วนนี้ขึ้นมาให้ไว้ก่อน

         ดร.อัมมาร ยังได้กล่าวถึงงบประมาณหลักประกันสุขภาพ ซึ่งทางสำนักงบประมาณจ่ายให้แก่ สปสช. ที่ไม่สอดคล้องกับอัตราการใช้บริการของประชาชนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยนอก ทั้งยังมีแนวโน้มช่องว่างความแตกต่างที่มากขึ้นเรื่อยๆ ว่า อัตราการใช้บริการบ้านเราอยู่ที่ 3 ครั้งต่อคนต่อปี ซึ่งยังถือว่าเป็นจำนวนที่ไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับหลายๆ ประเทศ โดยอังกฤษอยู่ที่ 5 ครั้งต่อคนต่อปี แคนาดา 8 ครั้งต่อคนต่อปี ขณะที่ไต้หวันอยู่ที่ 14 ครั้งต่อคนต่อปี โดยบ้านเรายังมีอัตราการรับบริการที่ขยับเพิ่มขึ้นอีก ขณะที่สำนักงบประมาณยังคงคำนวณจ่ายจากตัวเลขเดิม ดังนั้น ปัญหาโรงพยาบาลขาดทุนจึงเป็นส่วนหนึ่งที่มาจากงบประมาณที่ได้น้อยจริง

      ส่วนที่ทางสำนักงบประมาณต้องการให้ทาง สปสช. คำนวณงบเหมาจ่ายรายหัวในอัตราที่คงในช่วง 4-5 ปี และไม่ต้องขอขยับเพิ่มในทุกปีนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการคำนวณตัวเลขงบเหมาจ่ายรายในช่วง 5 ปีข้างหน้าจากนี้ว่าจะเป็นอย่างไร เพื่อนำไปคุยกับทางสำนักงบประมาณ อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ยาก ในการคาดการณ์ค่าใช้จ่ายระยะยาว

           ปัญหา รพ.ขาดทุน นั้น บางส่วนอาจจะเป็นเรื่องของการเพิ่มค่าตอบแทนแพทย์ ซึ่งในเรื่องนี้ ดร.อัมมาร  กล่าวว่า การจ่ายค่าตอบแทนแพทย์เกิดขึ้นในปี 2552 เป็นปีแรก เนื่องจากเป็นปีที่โรงพยาบาลได้เงินเกิน มีเงินเหลือจากการรักษาพยาบาล สรุปก็คือมีกำไร ทำให้มีบำรุงสะสมของ โรงพยาบาลเป็นจำนวนเงินถึง 40,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นจำนวนที่มากเป็นประวัติศาสตร์
 
        จากนั้นจึงมีการเสนอเพิ่มค่าตอบแทนให้แพทย์ โดยใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลไปก่อน เพราะว่ามีกำไร ทั้งๆ ที่ ที่กำไรนี้ไม่ใช่ว่าจะได้มาตลอดต่อเนื่อง ขณะที่การจ่ายค่าตอบแทนถือเป็นรายจ่ายที่ต้องจ่ายสม่ำเสมอ ด้วยเหตุให้เงินบำรุงที่สะสมมาเริ่มหมดไป

         "หลักการเพิ่มค่าตอบแทนแพทย์นั้น เห็นด้วยและเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างยิ่ง เพียงแต่วิธีที่ทำอยู่นี้เป็นวิธีการที่ใช้ไม่ได้ และซ้ำเมื่อมีการอนุมัติค่าตอบแทนให้แพทย์ชนบทกลุ่มแรก ก็เกิดความไม่เสมอภาค ทำให้แพทย์ในกลุ่มอื่นๆ และบุคลากรด้านสาธารณสุขอื่นๆ ขอค่าตอบแทนด้วย ซึ่งล้วนแต่ใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลอีกเช่นกัน" ดร.อัมมาร กล่าว

       เมื่อเงินบำรุงโรงพยาบาลเริ่มหมด ก็เกิดปัญหาขึ้น จำเป็นต้องของบประมาณเพิ่มเติม โดยอ้างว่าโรงพยาบาลเกิดภาวะขาดทุน และโทษการบริหารในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นอกจากนี้ยังให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้แบกหน้าไปของบประมาณนี้จากสำนักงบประมาณ โดยในปีงบประมาณ 2555 นี้ ทาง รมว.สธ.ก็ขอให้ สปสช.ของบค่าตอบแทนอีก

       อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่าปัญหาค่าตอบแทนแพทย์นั้น เป็นเรื่องที่ต้องทำ แต่รัฐบาลต้องเป็นผู้ดูแล เพราะที่ผ่านมามีการรายงานชี้ชัดว่า จากการเพิ่มค่าตอบแทนสามารถหยุดปัญหาแพทย์สมองไหลได้
 
     “หากดูแค่ตัวเลขกำไรขาดทุนของโรงพยาบาลสังกัด สธ. คงยังไม่สามารถบอกได้ว่า จริงๆ แล้วโรงพยาบาลมีกำไรหรือขาดทุนกันแน่ เพราะว่าโรงพยาบาลสังกัด สธ.ทำ บัญชีเหมือนร้านโชห่วย ที่นำเงินทั้งหมดใส่ตะกร้า ขายของได้ก็นำเงินใส่ จ่ายซื้อของก็นำเงินจากตะกร้า หรือแม้แต่ลูกขอตังค์ก็นำเงินจากตะกร้า บัญชีที่ทำจึงดูแปลกๆ ลงบัญชีผิดๆ ถูกๆ เรียกว่าเป็นระบบบัญชีที่เละเทะ และมาบอกว่า สปสช. เราให้เงินโรงพยาบาลลดลง” นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอ กล่าว

       ดร.อัมมาร กล่าวว่า เงินบำรุงโรงพยาบาล 40,000 ล้านบาท ในปี 2552 นั้น โรงพยาบาลแต่ละแห่งก็มีไม่เท่ากัน บางแห่งมีเงินบำรุงสะสมหลักพันล้านบาท บางแห่งมีพอที่จะจ่ายค่าตอบแทนได้ แต่บางแห่งเมื่อจ่ายไปแล้วก็ประสบปัญหาโรงพยาบาลขาดทุน ดังนั้นจึงมีเสียงโวยวายว่าโรงพยาบาลขาดทุน ปัญหาโรงพยาบาลขาดทุนนี้แตกต่างจากช่วงแรกของการตั้ง สปสช. เพราะขณะนั้นเกิดจากรัฐบาลให้งบน้อย ไม่เพียงพอจริงๆ จากนั้นจึงได้มีการขยับขึ้นจนเพียงพอ

          "ปัญหาขาดทุนขณะนี้มาจากการเพิ่มค่าตอบแทน โดยก่อนหน้านี้ในช่วง 2-3 ปีของการเพิ่มค่าตอบแทนก็ไม่เป็นปัญหา อย่างไรก็ตามในการบริหารงบประมาณรักษาพยาบาลนั้น ตนพบว่าหากเราให้งบประมาณโรงพยาบาลมาก เขาก็จะใช้มาก แต่หากให้น้อย เขาก็จะใช้น้อยตาม" ดร.อัมมาร กล่าว

         ส่วนเสียงบ่นจากโรงพยาบาล อย่างเช่น โรงเรียนแพทย์ ในการจัดงบประมาณระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ไม่เพียงพอ ต้องนำงบในระบบสวัสดิการข้าราชการเพื่ออุดหนุนนั้น ดร.อัมมาร กล่าวว่า หากเป็นการบ่นจากโรงเรียนแพทย์ ผมเห็นว่าโรงเรียนแพทย์ไม่มีสิทธิ์พูดอะไร เพราะโรงเรียนแพทย์รวยมาก แค่เฉพาะงบประมาณลงทุนที่มาจากเงินงบประมาณจริงๆ ไม่รวมงบประมาณที่มาจากเงินบริจาคอุดหนุน โดยโรงเรียนแพทย์ทุกแห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งหมด 20 แห่ง ใช้เงินมากกว่างบประมาณโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีถึง 900 แห่งรวมกัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโรงเรียนแพทย์จึงไม่มีปัญหาในเรื่องงบประมาณ

          ส่วนปัญหาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เดินหน้าเข้าสู่ปีที่ 9 แล้ว มีจุดอ่อนใดที่ยังต้องปรับหรือไม่ ดร.อัมมาร กล่าวว่า สปสช. ยังเป็นปัญหา เพราะว่าถูกควบคุมโดย สธ. ที่เป็นผู้ให้บริการลูกค้า ซึ่งเมื่อนำระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเปรียบเทียบกับประกันสังคม พบว่าสิ่งที่คนพอใจกับระบบประกันสังคมเพราะเขาสามารถเลือกใช้บริการโรงพยาบาลใดก็ได้ และพอใจที่เป็นผู้เลือก ดังนั้นจากประเด็นเหล่านี้ จึงมองว่าการมีสิทธิเลือกสถานพยาบาลกับโอกาสที่จะได้รับบริการที่ดีต้องเดิน ไปด้วยกัน สถานพยาบาลไหนดี ประชาชนต้องมีสิทธิเลือก

       ดร.อัมมาร  มองว่า จริงๆ แล้ว ผมอยากให้โรงพยาบาลทั้งหมดออกจาก สธ. เป็นอิสระ ให้เขาบริหารกันเอง ซึ่งหลังจากออกจาก สธ. แล้ว สปสช.จะดึงกลับไปอยู่ใน สธ. ก็ได้ โดย สธ.จะดูแลแต่เฉพาะโรงพยาบาลเล็กๆ ในพื้นที่ที่ห่างไกลเท่านั้น เช่น โรงพยาบาลเกาะยาว รวมทั้งโรงพยาบาลศูนย์

กรุงเทพธุรกิจ
21 กุมภาพันธ์ 2554
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 กุมภาพันธ์ 2011, 23:58:38 โดย story »

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
Re: สัมภาษณ์พิเศษ อัมมาร สยามวาลา เจาะปมสุขภาพ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2011, 08:40:45 »
ศาสตราจารย์ ดร.อัมมาร สยามวาลา (29 พฤษภาคม พ.ศ. 2482) นักเศรษฐศาสตร์ อดีตประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าว เศรษฐศาสตร์การเกษตรกรรม และการพัฒนา

บรรพบุรุษของ ดร. อัมมาร เป็นชาวอินเดียที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาในประเทศไทย ดร. อัมมาร เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนสามคนของ นายตาเฮอร์ และนางคาดีจาฮ์ สยามวาลา เจ้าของบริษัทดี เอช เอ สยามวาลา ตัวแทนจำหน่ายและนำเข้าเครื่องเขียนจากต่างประเทศ จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ ศึกษาต่อที่โรงเรียน St. Paul เมืองดาร์จีลิง ประเทศอินเดีย ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ปริญญาเอกเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเยล และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เช่นเดียวกับ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และนักวิชาการอื่นๆ ดร. อัมมาร ได้ออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519



ดร.อัมมาร สยามวาลา  เป็นนักวิจัยข้าว แต่มาวิเคราะห์การแพทย์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
Re: สัมภาษณ์พิเศษ อัมมาร สยามวาลา เจาะปมสุขภาพ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2011, 09:19:55 »
มิน่าล่ะ ระบบสาธารณสุขจึงเข้าป่า เข้านา ก็เพราะนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ด้านการเกษตร
น่าแปลกใจ หมอๆในสปสช ก็ยอมเข้าป่าไปกับเค้า

cherdc

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 31
    • ดูรายละเอียด
Re: สัมภาษณ์พิเศษ อัมมาร สยามวาลา เจาะปมสุ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2011, 09:15:03 »
ผมว่าก็่น่ารับฟังเหมือนกัน  เป็นคนนอกที่มองเข้ามา เป็นเหมือนกระจกเงา   รพ.ได้งบน้อยก็ใช้น้อย  ประหยัด อดทนมากไม่ซื้อเครื่องมือเพิ่ม    รอปีไหนได้เงินมาค่อยซื้อ    ส่วนหมอ ปีไหน เงินเหลือ น้อย ลดค่าเวรลงก็มี รวมไปถึง  พยาบาลด้วย  อดทนได้จริง     งบไทยเข้มแข็ง  หน่วยงานอื่น ได้กันทั่วหน้า      สธ   ไม่ได้สักบาท  ก็  เฉยๆ  ศรีทนได้   หอพักแพทย์  พยาบาลอยู่กัน  อัตคัดมาก      สปสชไห้แค่ไหนก็แค่นั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 กุมภาพันธ์ 2011, 09:16:50 โดย cherdc »