ผู้เขียน หัวข้อ: 'หมอระบาด'ลั่นศบค.ต้องปรับแผนฉีดวัคซีน ก่อนคนตายทะลุกว่าครึ่งหมื่น  (อ่าน 314 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9779
    • ดูรายละเอียด
หมอระบาด'ลั่นศบค.ต้องกลับสู่ยุทธศาตร์ฉีดวัคซีนโควิด-19เดิมของสธ. 'แบบมุ่งเป้า' กลุ่มผู้สูงอายุ-7กลุ่มโรคเรื้อรัง ถ้าไม่ปรับ 3 เดือนมีคนตายถึงกว่า 6,000 คน จากสายพันธุ์เดลตาที่รุกแพร่กระจายเร็วขึ้น นายกฯต้องตัดสินใจสั่งการทำทุกพื้นที่ให้เสร็จใน2เดือน

     เมื่อวันที่ 2 ก.ค.2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงข่าว “วัคซีนโควิด ไทยจะเดินต่อไปอย่างไร” นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา  กล่าวว่า บรรยากาศประเทศตอนนี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ช่วง 3 เดือนนี้ ก.ค.-ก.ย. กำลังเลือกว่าจะเปิดประเทศแบบไหน หรือก้าวสู่วิกฤติที่ถลำลึกลงไปอีก โดยข้อเท็จจริงขณะนี้อยู่ในการระบาดระลอก 3 ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นสายพันธุ์อัลฟา(อังกฤษ) ติดได้เร็ว ตั้งตัวไม่ทัน มีคนไข้เสียชีวิตประมาณ 50 รายต่อวัน  ในเดือนต่อๆไปผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นตรงกันว่าสถานการณ์จะแย่กว่าเดิม เพราะสายพันธุ์เดลตาเข้ามายึดครองพื้นที่ระบาด ขณะนี้พื้นที่กทม.พบสายพันธุ์เดลตาแล้ว 40%  ภายในก.ค.-ส.ค.จะเป็นเดลตาทั้งหมด ซึ่งจะติดต่อได้เร็วกว่าอัลฟาถึง 1.4 เท่า

        เดือนมิ.ย.ที่ผ่านมามีคนเสียชีวิตทั้งเดือน 992 คน ถ้าสถานการณ์ยังเป็นเหมือนเช่นตอนนี้ ใน เดือนก.ค.จะมีคนเสียชีวิต 1,400 คน ส.ค.เสียชีวิต 2,000 คน และก.ย.เสียชีวิต 2,800 คน ซึ่งปัจจุบันที่มีผู้เสียชีวิตเดือนละกว่า 900 ราย  ระบบสาธารณสุขก็จะเดินต่อไปไม่ได้แล้ว หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป แน่นอนไม่สามารถไปรอดได้

       นพ.คำนวณ กล่าวว่า ทางออกของสถานการณ์นั้น เมื่อพิจารณาจากจำนวนผู้เสียชีวิต พบว่า80% เป็นผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว  เพราะฉะนั้น ถ้าปกป้องคนกลุ่มนี้ได้ จะลดการตายได้มาก อยู่ในวิสัยที่จะแก้ปัญหาได้ ซึ่งปัจจุบันผู้สูงอายุที่ติดโควิด 100 คนจะเสียชีวิต 10 คน แต่หากอายุ 20-40 ปีติดเชื้อ 1,000 คน อาจจะเสียชีวิตเพียง 1 คน อัตราแตกต่างกันมาก เมื่อมีอาวุธที่ดีคือวัคซีน โดยใช้ได้ 2 แบบขึ้นกับอยู่ในสถานการณ์ไหน คือ 1.ลดเจ็บหนักและลดตาย ซึ่งวัคซีนทุกตัวได้ผลในเรื่องลดเจ็บหนักและตายได้ประมาณ 90% ไม่ต้องสนใจยี่ห้อ

       แต่ประเทศไทยกำลังใช้ “ยุทธศาสตร์การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่” คือ ฉีดปูพรมให้ได้ 70% โดยหวังว่าทุกคนจะติดเชื้อน้อยลง ตายน้อยลง แต่ปัญหาการจะทำเช่นนั้นได้ มั่นใจหรือไม่ว่าฉีดวัคซีน 70%แล้วสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ ซึ่งนักวิชาการตอนหลังนี้บอกว่า “ไม่ได้” เช่นในประเทศอังกฤษเริ่มมีคนติดเชื้อมากขึ้น การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่อาจจะต้องไปถึง 90%
        เดิมระยะแรก ประเทศไทยใช้ยุทธศาสตร์แบบมุ่งเป้า ที่กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่ม 7 โรคเสี่ยงให้จบภายในเดือนก.ค.-ส.ค. แต่ตอนหลังมีความต้องการมาก นำไปให้ภาคแรงงาน ควบคุมการระบาดในชุมชน เปิดโรงเรียน และเปิดสถานที่ท่องเที่ยว ก็นำวัคซีนไปให้สถาบันต่างๆ เป็นความคิดที่ดี แต่การทำเช่นนั้นได้คือต้องมีวัคซีนไม่จำกัดมากเพียงพอ และมีขีดความสามารถฉีดได้รวดเร็ว  เพราะความเร็วของการระบาดเร็วขึ้น โดยขณะนี้ไม่มีประเทศไหนที่จะมีวัคซีนไม่จำกัด จึงไม่มีทางใช้ยุทธศาสตร์ฉีดปูพรม จึงใช้ยุทธศาสตร์ลดการป่วยการตายก่อน”นพ.คำนวณกล่าว

         สำหรับการฉีดวัคซีนของประเทศไทยที่ผ่านมาสะสม 10 ล้านโดส ฉีดในกลุ่มผู้สูงอายุได้ เพียง 10% หากเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆจะต้องใช้เวลา 7-8 เดือนกว่าจะป้องกันในผู้สูงอายุได้หมด เพราะฉะนั้น ถ้าทำแบบเดิมจะเห็นผลในอีก 5-6 เดือนจะไม่ทันวิกฤตเตียง แต่หากเปลี่ยนมาใช้ยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง โดยทำความตกลงร่วมกันทั้งสังคม นำวัคซีนที่มีในมือทั้งหมดมาฉีดให้กลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำ 7 กลุ่มโรคก่อน  ซึ่งมีอยู่ 17.5 ล้านคน ฉีดไปแล้ว 2 ล้านคน เหลืออีก 15 ล้าคน ต้องฉีดให้เสร็จภายในเดือนก.ค-ส.ค. เชื่อว่ามีวัคซีนเพียงพอ
           ถ้าทำแบบนี้จะลดการตายได้จากหลักพันในเดือนก.ค.  ในเดือนส.ค.จะลดลงเหลือ 800 คน เดือนก.ย.จะเหลือ 600-700คน เฉลี่ยวันละ 20 คน อยู่ในวิสัยที่จะเดินหน้าได้ แต่ถ้าเลือกแบบปูพรมเช่นเดิม เอาหลายจุดมุ่งหมาย จำนวนผู้ป่วยจะเกิน จะรับไม่ไหว ไม่เป็นผลดี เศรษฐกิจเดินไม่ได้ หากเปลี่ยนมาเลือกแบบมุ่งเป้า จะปิดไม่มาก ผ่อนคลายได้มากขึ้น   
      “วัคซีนโควิดทุกชนิดป้องกันป่วยหนัก เสียชีวิตได้ทั้งสิ้น จุดสำคัญต้องฉีดให้ตรงเป้า ต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์วัคซีนจากปูพรม มาใช้แบบมุ่งเป้า นายกฯต้องสั่งการ ตามเป้าหมายแรกในการฉีด ลดการเจ็บการตายในผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง 7  โรคเรื้อรังก่อน ซึ่งนายกฯในฐานะผอ.ศบค.ต้องตัดสินใจ สั่งการเป็นไกดไลน์ลงไปยังทุกพื้นที่ให้ดำเนินการเหมือนกัน โดยไล่เรียงจากปีเกิด ทำเหมือนกันทุกจังหวัด ให้จบ 2 กลุ่มนี้ใน2เดือน” นพ.คำนวณกล่าว

       ยุทธศาสตร์มุ่งเป้า ภาควิชาการพิสูจน์แล้วทั้งในอังกฤษ อเมริกา แม้จะมีการติดเชื้อแต่จำนวนผู้เสียชีวิตไม่มาก จะไม่มีปัญหาเท่าไหร่ อีกทั้ง หากทำแบบนี้จะมีวัคซีนเพียงพอเผื่อแผ่ไปให้แรงงานต่างชาติด้วย โดยฉีดให้เช่นเดียวกับคนไทย เฉพาะผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว ฉีดเสมอหน้าเหมือนกันหมด จะเป็นความยุติธรรมด้วย
       “การแพร่ระบาดของโควิด-19ใกล้ตัวมาก ห้ามประมาท คงต้องจำกัดพบปะคนอื่นให้น้อยลง แม้คนสนิท ญาติ ก็จะต้องใส่หน้ากากเพราะป้องกันดีสุด ”นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์

     ขณะที่ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า เห็นด้วยกับยุทธศาสตร์ที่จะต้องเปลี่ยนเป้าหมายการฉีดวัควีน ลดภาระระบบบริการทางการแพทย์ โดยต้องฉีดให้ผู้สูงอายุและผู้ที่มี 7 โรคร่วมก่อนให้ได้มากและเร็วที่สุด ยกตัวอย่าง ในประเทศอังกฤษที่หลังฉีดวัคซีนทั้งแอสตร้าเซนเนก้าและไฟเซอร์ครอบคลุม 50% ประชากร ผู้ติดเชื้อลดลง 5,000-6,000 ราย แต่ปัจจุบันเจอสายพันธุ์เดลตาระบาด แม้ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกือบ 2 หมื่นรายต่อวัน แต่อัตราตายไม่เพิ่มขึ้น แสดงว่าวัคซีนลดป่วยตายได้ ไม่เป็นภาระระบบสาธารณสุข เพราะผู้ป่วยมากโอกาสดูแลทั่วถึงจะน้อยลง โอกาสเสียชีวิตมากขึ้น

        นพ.โสภณ เมฆธน คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า  ขณะนี้กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคได้วัคซีนครอบคลุมน้อยที่สุด แต่ประสิทธิภาพของวัคซีนเหมาะสมกับกลุ่มนี้ที่สุด ลดเจ็บหนักและเสียชีวิต  ตอนนี้ไม่มีไอซียูรับผู้ป่วยต้องขยาย ดังนั้น จะต้องฉีดวัคซีนให้ตรงกับประสิทธิภาพมากที่สุด หากเป็นไปได้จัดการใน 1-2 เดือนนี้ โดยตั้งเป้าเดือนก.ค..ต้องฉีด 2 กลุ่มนี้ให้ได้ 50% ขึ้นไป จะได้ครอบคลุมประชากรกลุ่มนี้ราว 16 ล้านคน หาก50% ก็ 8 ล้านคน แต่ตอนนี้ฉีดแล้ว 2 ล้านคนก็อีก 6 ล้านคน

2 กรกฎาคม 2564 | โดย พวงชมพู ประเสริฐ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/946754