ผู้เขียน หัวข้อ: อันตราย! เครื่องสำอางสมุนไพร พบสารปรอท-แบคทีเรียเกินมาตรฐาน  (อ่าน 691 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   16 มกราคม 2556 14:10 น.   

   


       สธ.เผยผลการตรวจเครื่องสำอางสมุนไพรไทยปี 55 พบตกเกณฑ์มาตรฐาน 14% พบเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ รา และคลอสตริเดียม สูงกว่ามาตรฐาน 8-50,000 เท่าตัว พบสารปรอทมากสุด 38% กระทุ้งกรมวิทย์ บริการตรวจเชื้อจุลินทรีย์ทั่วประเทศ ลดอันตรายจากเครื่องสำอางไร้มาตรฐาน
       
       วันนี้ (16 ม.ค.) ที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน จ.นนทบุรี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดนิทรรศการสตรีไทยห่วงใยสุขภาพเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2556 ภายใต้แนวคิด “งามสมวัย อย่างปลอดภัย ใจไม่เครียด” ร่วมกับ นางสุพัฒนา อาทรไผท ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ว่า ปัจจุบันประชาชนหันมาสนใจใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรมากขึ้น ซึ่งมีการวางจำหน่ายในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าพื้นบ้าน หรือสินค้าโอทอป (OTOP) ซึ่งผู้ใช้มั่นใจว่าปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมี ทั้งนี้ สมุนไพรไทยที่นิยมนำมาใช้ในเครื่องสำอาง ได้แก่ ว่านหางจระเข้ มะคำดีควาย เปลือกมังคุด มะขาม ขิง มะกรูด ชุมเห็ดเทศ ใบบัวบก หัวไชเท้า ขมิ้นชัน ไพล แตงกวา และดอกอัญชัน เป็นต้น ส่วนมากจะนำมาเป็นส่วนผสมของแชมพู ครีมนวดผม สบู่ โลชั่น/ครีมบำรุงผิว ครีมขัดเท้า นวดเท้า และขัดผิว
       
       นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า จากการเฝ้าระวังโดยสำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เก็บตัวอย่างเครื่องสำอางสมุนไพรมาตรวจ จำนวน 527 ตัวอย่างในปี 2555 พบว่า ตกเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 72 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 14 โดยตรวจพบปริมาณรวมของเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ และรา และพบเชื้อคลอสตริเดียมด้วย มากถึง 28 ตัวอย่าง ปริมาณเชื้ออยู่ในช่วง 8,400-50,000,000 โคโลนีต่อกรัม ซึ่งนับว่าเกินมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2553 ถึง 8-50,000 เท่าตัว เกินกว่าที่กำหนดให้เครื่องสำอางสมุนไพร จะต้องไม่พบเชื้อ คลอสตริเดียม(Clostridium spp.) เนื่องจากเป็นเชื้ออันตรายก่อให้เกิดการอักเสบรุนแรง เป็นฝีหนอง และกำหนดปริมาณการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ 3 ชนิด คือ แบคทีเรีย ยีสต์ และรา ต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยคือ ไม่เกิน 1,000 โคโลนีต่อกรัม คาดว่า เป็นเพราะการผลิตผู้ประกอบการอาจขาดความรู้ ความเข้าใจในการผลิตและเกิดการปนเปื้อนระหว่างกระบวนการผลิต การบรรจุ