ผู้เขียน หัวข้อ: นักวิชาการเสนอมาตรการภาษีคุมอาหาร-ลดอ้วน จี้รัฐคุมโฆษณาขนม  (อ่าน 629 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
RYT9.COM -- ศุกร์ที่ 18 มกราคม 2556 11:39:32 น.


นักวิชาการเล็งเห็นปัญหาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เสนอใช้มาตรการภาษี คุมอาหาร เครื่องดื่ม ไม่มีคุณค่า ลดอ้วน ชี้ฉลากอาหารควรแสดงคุณค่าอาหารอย่างชัดเจน จี้รัฐคุมโฆษณาขนม อาหารเด็ก

ในงานประชุม "การจัดการปัญหาพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : ประเทศไทยพร้อมหรือยัง" ครั้งที่ 1 จัดโดย สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) แผนงานวิจัยอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (FHP) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อวานนี้ (17 ม.ค.) นพ.ทักษพล ธรรมรังสี รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณสุขระหว่างประเทศ กล่าวว่า จากการประชุมมีประเด็นที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนเชิงนโยบายและนำมาทบทวนมาตรการของประเทศไทยต่อไปได้ คือ


 
1.มาตรการทางภาษี พบว่าในหลายประเทศมีการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อจัดการอาหารที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และเครื่องดื่มที่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถลดปัญหาโภชนาการเกินได้ แต่จำเป็นต้องศึกษาผลกระทบและทำงานร่วมกับหลายภาคส่วน เพื่อนำข้อมูลไปผลักดันและพัฒนานโยบายต่อไป

2.เรื่องฉลากอาหาร มีการนำเสนอผลจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของฉลากเป็นแบบแสดงค่าพลังงาน ไขมัน น้ำตาล และ โซเดียม หรือ GDA ควรมีการพัฒนารูปแบบฉลากให้เข้าใจ โดยต้องมีการศึกษารูปแบบที่จะสร้างความเข้าใจได้อย่างง่ายในการตัดสินใจ ซึ่งผู้บริโภคจะต้องเห็นและเข้าใจได้ทันที

3.การตลาด พบว่า อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมีลักษณะเป็นกลุ่มบริษัทที่เป็นเครือข่าย มีเป้าหมายในการประกอบธุรกิจ คือ การสร้างกำไรให้แก่หุ้นส่วน โดยการใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดทุกรูปแบบ เพื่อเข้าถึงเด็กและเยาวชน จึงมีข้อเสนอต่อภาครัฐว่า ต้องคำนึงถึงการควบคุมการใช้สื่อโฆษณาในสินค้าที่อาจมีผลต่อสุขภาพในเด็ก

ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ นักวิจัยเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า หลายประเทศทั่วโลกใช้มาตรการทางภาษีกับสินค้าประเภทเครื่องดื่มผสมน้ำตาล เช่น น้ำอัดลม โซดา ชา กาแฟ น้ำผักผลไม้ ฯลฯ เพื่อควบคุมปัญหาภาวะโภชนาการเกิน โดยนำภาษีที่ได้ไปแก้ปัญหาโรคที่เกิดจากโภชนาการเกิน แก้ปัญหาโภชนาการเกิน ที่เป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อสำคัญ ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากร ทั้งโรคอ้วน ความดัน หัวใจ เบาหวาน มะเร็ง ที่สร้างภาระทางด้านค่าใช้จ่ายสาธารณสุขอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การเก็บภาษีเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ จำเป็นต้องศึกษาทั้งด้านสุขภาพ เพื่อหารูปแบบการจัดเก็บภาษี และสร้างความเข้าใจต่อสังคม

อินโฟเควสท์ โดย ณัฐชญา อัครยรรยง/ฐณฐ ธาระศัพท์ โทร.02-2535000 อีเมล์: thanat@infoquest.co.th--