ผู้เขียน หัวข้อ: มาตฐานวิชาชีพ-การบริการสาธารณสุข-การบริหารจัดการภาครัฐ-และวินาสายะทั้งหลาย  (อ่าน 5067 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
มาตฐานวิชาชีพ-การบริการสาธารณสุข-การบริหารจัดการภาครัฐ-และวินาสายะทั้งหลายที่กำลังรออยู่
นพ.อุสาห์                                        

ปัญหาในด้านสาธารณสุขและการบริการสุขภาพปะทุแล้ว

หากไม่แก้ไขทั้งระบบ อุดปากปล่องได้ก็ยังมีทางไปปะทุด้านอื่นอีก

ภูเขาไฟที่สวยแบบนี้มีไม่เท่าไร

บางทีภูเขาไปก็ไม่ได้เป็นรูปแบบที่ต้องมียอดแหลมๆ

ภาพวาดสำหรับนักวาดการ์ตูน

ยังมีอีกหลายลูกหลายระลอก แด่พ่อนักวาดการ์ตูน


มาตรฐานวิชาชีพคือสิ่งที่องค์กรวิชาชีพและบุคคลากรสา ธารณสุขกำลัง ต่อสู้กับกฎหมายที่ไม่ เป็นธรรมและไม่ถูกต้องต่อ ระบบงานและมาตรฐานการดูแลรักษา ผู้ป่วย เพื่อไม่ให้มาตรฐานการบริการประชาชนถูกกระทบจนเสีย หลักของวิชาชีพ เกิดอันตรายแก่ประชา ชน แล้วผู้ให้บริการต้องถูกกฎหมาย อีกฉบับเอื้ออำนวยให้เกิดการ ฟ้องร้อง มีกองทุนที่เป็นอันตรายต่อระบบการงบประมาณของประเทศ โดยระบบการคลังบังคับไม่ได้และ การตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงิน แผ่นดินตรวจสอบไม่ได้ ตาม กฎหมายที่รองรับกองทุน

วิชาชีพหลักที่ต้องออกต่อสู้คือแพทย์และพยาบาล เนื่องจาก ปัญหาที่เห็นชัดและมีผลอย่างเป็นรูปธรรมที่สุดคือ ปัญหาการดูแล รักษาผู้ป่วย และวิชาชีพด้านสุขภาพและการสาธารณสุข ทั้งหมดได้เข้าร่วมผนึกกำลังเป็น กำลังวิชาชีพสุขภาพและการ สาธารณสุข เข้าร่วมการต่อสู้

แพทย์รักษา พยาบาลดูแล เป็นวิชาชีพคู่กันมาโดยตลอด หัว ขบวนในการสาธารณสุขจึงเป็นวิชาชีพ นี้ เพราะเป็นองค์รวมของการดูแรักษา แต่วิชาชีพด้านต่างๆก็ได้พัฒนา ต่อเนื่องกันมาจนมีหลายสาขา ซึ่งมีความจำเป็นและจำเพาะมาก ขึ้น

ดังนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อวิชาชีพและมาตรฐานของ วิชาชีพ จึงเป็นผลกระทบต่อประชาชน โดยตรง

การสาธารณสุขของไทยเริ่มมาจากการรักษาพยาบาล ต่อมาจึงเป็นด้านการป้องกันโรค การควบคุมโรค และการส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูจึงได้พัฒนาตามกันมา

การบริการประชาชนของกระทรวงสาธารณ สุขที่ผ่านมาจากอดีตจนปัจจุบัน เป็นการบริการด้านการรักษาพยา บาลที่เด่นชัดและมากที่สุดการ ป้องกันโรคและควบคุมโรคเป็น การบริการตามมาโดยเฉพาะการ บริการภาคบังคับ เช่น การควบคุมโรคต้องใช้กฎหมายจำกัดสิทธิประชาชน คือบังคับให้ต้องควบคุมไม่ให้โรค แพร่กระจาย ส่วนการป้องกันเป็นการขอความร่วมมือรณรงค์เพื่อปก ป้องตนเอง การรักษาพยาบาลอันนี้ประชาชนมา เอง ไม่ต้องรณรงค์ไม่ต้องควบคุมบังคับ ส่วนการส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟู สุขภาพก็อยู่ที่บุคคลา กรผู้ให้บริการจะให้ความรู้พัฒนา ทัศนคติและค่านิยมให้สน ใจที่จะพัฒนาให้สุขภาพดีขึ้น หรือไม่?

ความไม่พึงพอใจในบริการจากเหตุใดใดก็ตาม เป็นช่องโหว่ให้คนมีงานทำ คือ นอกจากอิสรชนที่มองเห็นความไม่เป็นธรรมที่ทำให้ ต้องออกมาปกป้อง ประชาชนด้วยคุณธรรมแล้ว ยังมีผู้ที่หาผลงานด้านสิทธิมนุ ษยชน ด้านการหาประเด็นทางการเมือง ด้านการหาประเด็นด้านผลประโยชน์ จากการออกกฎหมายที่มีผลให้ เกิดกองทุนต่างๆ หรือแม้เพื่อการเจริญเติบโตในสายงานก็ตาม หรือที่สุดของใจคนคือ ความอาฆาตมาตร้ายที่ตนเองเคยได้รับการลงโทษจากองค์กร วิชาชีพ แล้วกลับมาหาประเด็นให้องค์ กรวิชาชีพได้รับความเสียหาย ด้วยหวังจะกู้ชื่อเสียงของตน

ช่องโหว่หรือจุดบกพร่องที่ทำให้ค นมีงานทำนั้น เกิดจากธรรมชาติขององค์กรใดใดก็ตามที่ก่อตั้งมานาน และผู้บริหารขาด วิสัยทัศน์ในการพัฒนา

ผุ้บริหารที่ขาดวิสัยทัศน์ในการ พัฒนาเป็นผู้บริหารที่ไม่เคย เพิ่มความรู้ ไม่เคยมองตนว่าได้กระทำสิ่งที่สมควรแก่องค์กรและตนมี ความรับผิดชอบ ในหน้าที่มากน้อยเพียง ใด หรือเพียงมองความมั่นคงของตนเอง ที่จะดำรงตำแหน่งและแสวงประโยชน์ ให้ตนและเจ้าบุญนายคุณ ไม่เคยมององค์กรที่ตนรับผิดชอบ และปรับทัศนคติชีวิต แล้วปรับวิสัยทัศน์ปรับองค์กร

การพัฒนาให้ องค์กรตอบสนองการบ ริการที่ดีแก่ประชาชนเท่านั้น เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการ

และเป็นความต้องการของวิชาชีพทุกวิชาชีพที่บริการ ประชาชนเช่นกัน

ไม่มีใครอยากมอบบริการเลวๆแก่ป ระชาชน

แต่เมื่อการพัฒนาการบริการไม่เกิด ประชาชนได้รับสิ่งไม่พึงประสงค์ ไม่ว่าจะโดยธรรมชาติของการดูแล รักษาและระดับความรุนแรงของ ปัญหาที่ประชาชนมาให้แก้ไข หรือความบกพร่องของระบบ เครื่องมือ และบุคคลก็ตาม

การฟ้องร้องย่อม เกิดขึ้น จุดนี้คือ จุดที่รัฐบาลต้องแก้ไข

รัฐบาลต้องแก้ไขทั้ง ระบบ

ไม่ใช่ เกิดเรื่องใด แก้เรื่องนั้น อย่าปล่อยให้ปัญหาอื่นๆรออยู่ อย่าปล่อยให้มีการแสวงประโยชน์ จากการออกกฎหมาย ยิ่งออกกฎหมายยิ่งสร้างเรื่อง ยังมีภูเขาไฟอีกหลายลูก ที่รอปะทุ ยังมีแผ่นดินไหวอีกหลายระลอก และยังมีสึนามิอีกหลายครั้ง

ที่รอรัฐบาลอยู่

เราต้องการแก้ไขกฎหมายอันตรายอีกหลายฉบับ ที่อันตรายต่อ ระบบสาธารณสุข ระบบสุขภาพ การบริการสุขภาพ ผู้ปฏิบัติงานในการบริการสุขภาพ และ ที่สุดของที่สุด อันตรายต่อประชาชนและระบบการเงินของประเทศ

Usah Pruttijirawong : การต่อสู้เพื่อมาตรฐานวิชาชีพ มิใช่เป็นการต่อสู้เพื่อตนเอง แต่เป็นการต่อสู้กับความไม่ถูก ต้องเพื่อให้วิชาชีพสามารถ ดูแลประชาชนได้อย่างดีที่สุด เท่าที่วิชาชีพได้พัฒนามาและ พึงจะมี

มีบุคคล-กลุ่มบุคคล หลายกลุ่มที่พยายามเข้าแทรกระหว่างวิชาชีพ เพื่อเข้ามามีบทบาทในการบริหาร เงินจากงบประมาณแผ่นดิน ที่เรียกว่ากองทุน โดยธงนำที่บังหน้ามานั้นคือเพื่อปกป้องประชาชนจาก ความไม่เป็นธรรม ผมเองก็อยากถามว่า ทำไมต้องเป็นคุณ คุณมีสิทธิอะไรเหนือประชาชนคนอื่นหรือที่จะมาบริหาร กองทุนที่มี เงินประชาชน ตั้งแต่หลักพันล้านจนถึงหลักแสนล้านบาท ประชาชนที่ไหนเลือกคุณมา? เผอิญบุคคลเหล่านั้น ผมเองก็เผอิญได้รู้ที่มา

จึงสมควรแล้วที่องค์กรวิชาชีพที่ จะลุกขึ้นต่อสู้ ศึกหลายด้่าน ครับ

ด้านผู้บริหารที่เป็น นักการเมืองและผู้ บริหารข้าราชการประจำ ผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการ ภาครัฐแต่ทำตัวเหมือนนักการ เมือง

ด้านกลุ่มผู้แสวงประโยชน์จากช่องโหว่ที่เกิดจากความ ด้อยพัฒนาของ การบริหารจัดการภาครัฐ ที่ผุ้รับผิดชอบใช้เวลากับ การแสวงประโชน์มากกว่าการพัฒนา ให้เกิดบริการที่ยังประ โยชน์แก่ประชาชน

ด้านความเสื่อมถอยของจิตสำนึกในหน้าที่รับผิดชอบของ ผู้ทำหน้าที่ใน วิชาชีพ ซึ่งจิตสำนึกที่ไม่ได้รับการพัฒนานี้ส่วนหนึ่งก็เป็น ผลกระทบของการ บริหารจัดการภาครัฐ ที่ด้อยพัฒนา

ขอมอบกำลังใจให้ทุกองค์กรวิชาชีพครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 มิถุนายน 2010, 14:19:09 โดย pradit »

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด

usah

  • Staff
  • Newbie
  • ****
  • กระทู้: 6
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณครับ อุสาห์ยังสู้อยู่ครับ ว่าแต่ว่าพี่น้องแพทย์เรา พร้อมที่จะสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับวิชาชีพสุขภาพทั้งหมดไหม?

ขอให้ออกมากันนะครับ หากอยู่เฉยก็จะมีคนไม่กี่คน มาแสวงประโยชน์ จากการที่เราและประชาชนถูกตอกลิ่มด้วยกฎหมายสปสช.

แบ่งแยกเรากับประชาชนให้กลายเป็นฝ่ายตรงข้ามกัน แล้วเขามาแทรก พร้อมกับเข้ามาบริหารกองทุน เราต้องถาม คนเหล่านั้น

คุณเป็นใคร ?  ตามหลักกฎหมายปกครองแล้ว เอกชนจะมาถืออำนาจรัฐไม่ได้ เว้นแต่สัมปทานสิ่งที่รัฐทำไม่ได้

จู่ๆเอกชนไม่กี่คนจะมาควบคุมดูแลกองทุน จะมากำหนดให้เราเป็นผู้ผิดโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์นั้นไม่ได้ครับ

การจ่ายให้แก่ผู้ร้อง ว่าได้รับความเสียหาย ตามพรบ.นี้ ไม่มีองค์กรวิชาชีพมาร่วมพิจารณา แปลว่า ไม่ต้องใช้ข้อเท็จจริง ใช้เพียงความรู้สึกก็ได้

การจ่ายชดเชยหรือเยียวยานี้ แปลว่า ผู้รับเงินเป็นผู้ได้รับความเสียหาย และเรากลายเป็นคนผิดโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์

กฎหมายฉบับนี้ นักกฎหมายบอกว่าเป็นกฎหมายรับผิด เมื่อเราเป็นฝ่ายผิด เขาก็ฟ้องอาญาต่อได้ โดยผลการเยียวยาช่วยเหลือนี้คือ

การที่รัฐยอมรับเป็นฝ่ายผิด  

เพื่อนๆ พี่น้อง ทุกท่านครับ อย่าหวังว่าจะมีผู้บริหารท่านใดออกมานำพวกเรา

กระทรวงสาธารณสุขไม่มีผู้บริหารกระทรวงสักกี่คนที่จะดูแลความถูกต้องให้บังเกิดหรอกครับ

เรามีผู้ใหญ่บ่งท่านสนับสนุน แต่เราต้องออกมาครับ หากเราไม่ออกมา ผู้ใหญ่ก็หนุนไม่สำเร็จ