ผู้เขียน หัวข้อ: จดหมายจากสมาพันธ์ฯถึงสมาชิก ฉบับที่ ๗ / ๒๕๕๖  (อ่าน 2148 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9768
    • ดูรายละเอียด

๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๖
สวัสดี เพื่อนแพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ทุกท่าน

ร่าง พรบ. นิรโทษกรรมฯ ที่กำลังเป็นที่ถกเถียงอยู่ในสภาและมีการคัดค้านอยู่นอกสภา ไม่ทราบว่าจะทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบในประเทศอีกหรือไม่ แต่ที่แน่นอนคือ ประกาศค่าตอบแทนกระทรวงฯ ฉบับ๔ ทำให้เกิดความไม่สงบของกระทรวง สธ. ตั้งแต่ปี พ.ศ๒๕๕๐ คือ มีการประท้วงเรียกร้องขอ ค่าตอบแทน ฉบับ ๖ , ๗ ตามมา และปัญหาความขัดแย้ง ขับไล่ ผู้บริหาร สธ. หลังมีประกาศ ฉบับ ๘, ๙ (P4P) ในอนาคตจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นอีกบ้าง คงต้องติดตามกันต่อไป

สมาพันธ์ฯ โดย พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ มีโอกาสเป็นคณะทำงาน P4P ของ สธ. เข้าไปแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมและรักษาสิทธิต่างๆของ รพศ./รพท.  ซึ่งเป็นที่แน่นอนแล้วว่าจะมีการเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจาก P4P ทั้ง รพศ./รพท. และรพช. ตาม คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ ๙๗๑/๒๕๕๖ เรื่อง แนวทางการจ่ายเงินช่วยเหลือ สำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุข ที่ได้รับค่าตอบแทนใหม่  ซึ่งเพื่อนแพทย์ทุกท่านสามารถดูได้ที่ http://www.thaihospital.org เข้าไปที่ เว็บบอร์ด / ข่าวสมาพันธ์ ส่วนวิธีการเยียวยาและแหล่งที่มาของเงินนั้น ประธานสมาพันธ์ พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ได้ประชุมกับคณะทำงานของ สธ.จนได้ผลสรุปถึงวิธีการขอรับเงินช่วยเหลือ ออกมา เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคมนี้ คือ รพ.ที่ทำ P4P แล้วให้ผอ. เสนอขออนุมัติรับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมจาก  สสจ. โดย การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือ อาจจ่ายตามส่วนต่างระหว่างค่าตอบแทนเดิมกับค่าตอบแทนใหม่รายบุคคล หรืออาจใช้กระบวนการบริหารเพื่อพัฒนาประสิทธภาพ รพ.ในการจ่ายเงินฯ เพื่อรักษาหลักการของการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฎิบัติงาน ซึ่งรายละเอียด เงื่อนไขการจ่ายเงินฯ ทางสมาพันธ์ฯจะนำขึ้น website ต่อไป

ยังมีประเด็นที่สมาพันธ์ฯจะทำ และได้เสนอใน คณะกรรมการ P4P ของ สธ.  คือ ประเด็นลดความเลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมระหว่างวิชาชีพโดยมีหลักการ ดึงคนที่ได้น้อยขึ้นมา ไม่ดึงคนที่ได้มากให้ลดลง โดย การปรับค่าตอบแทน ฉ.๙ ซึ่งต้องพิจารณาความเป็นไปได้ทางการเงิน(จะเอาเงินมาจากไหน)  ถ้ามีรายละเอียดเพิ่มเติม จะแจ้งให้พื่อนแพทย์ทราบต่อไป

มีข่าวของ พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายฯ หลัง NGO ผิดหวังจาก สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยินดีให้กระทรวงสาธารณสุข จัดทำ ร่างฯ พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯตามวิธีปกติต่อไป โดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะไม่มายุ่งเกี่ยวกับ พรบ. นี้อีกต่อไป ทางNGO จึงมีการเคลื่อนไหว ไปร้องเรียน คณะกรรมาธิการสาธารณสุข ของสภาผู้แทนราษฎร ส่งผลให้มีการจัดตั้งกรรมการมาดูแล พรบ. ฉบับนี้โดยเฉพาะ ซึ่งทางสมาพันธ์ฯ คิดว่า จะดูท่าทีกรรมการชุดนี้ไปก่อน เนื่องจาก สส.มีเรื่อง พรบ.นิรโทษกรรม ให้แก้ปัญหากันอยู่ คงไม่สนใจ พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายฯ ในตอนนี้

                สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป แห่งประเทศไทย