แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 447 448 [449] 450 451 ... 653
6721
แม้ว่าพวกมันจะเป็นปลาที่หน้าตาน่าเกลียด แต่ก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง โดยไม่พบในธรรมชาติแล้ว ตอนนี้เหลือเพียงตัวผู้ที่ลูกเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์ลอนดอนและเบอร์ลิน ซึ่งบางตัวก็เริ่มแก่แล้ว จึงต้องเร่งหาตัวเมียที่เหมาะสมเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป
       
       แมนการาฮารา ซิชลิด (Mangarahara cichlid) เป็นปลาเขตร้อนที่สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว และถูกจัดให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (critically endangered) หากแต่ยังเหลือปลาชนิดนี้อยู่ในสวนสัตว์ เพียงแต่โชคร้ายที่ทุกตัวเป็นตัวผู้ การจัดหาคู่ให้ปลาชนิดนี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นก่อนที่พวกมันจะสูญพันธุ์ไปจากโลก
       
       รายงานจากบีบีซีนิวส์ระบุว่า ที่สวนสัตว์ลอนดอน (London Zoo) ในอังกฤษเลี้ยงไว้ 2 ตัว และที่สวนสัตว์ในเบอร์ลิน เยอรมนี เลี้ยงไว้อีก 1 ตัว ในจำนวนที่เหลืออยู่มี 2 ตัวที่อายุ 12 ปีแล้ว การจัดหาตัวเมียที่เหมาะสมแก่พวกมันจึงเป็นเรื่องจำเป็นยิ่งยวด
       
       สำหรับชื่อของปลาชนิดนี้ตั้งตามชื่อแม่น้ำแมนการาฮารา (Mangarahara river) ในมาดากัสการ์ ซึ่งเป็นแหล่งที่พบปลาชนิดนี้ครั้งแรก หากแต่การสร้างเขื่อนเป็นสาเหตุให้กระแสน้ำที่ปลาเหล่านี้อาศัยอยู่ต้องแห้งเหือด และเชื่อว่าตอนนี้ปลาชนิดนี้ได้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว
       
       ก่อนหน้านี้สวนสัตว์ในเยอรมนีเคยเลี้ยงตัวเมียไว้ แต่ความหวังในการขยายพันธุ์ปลาหายากนี้ก็มลายสิ้นเมื่อตัวผู้ฆ่าตัวเมียตาย
       
       “มันเป็นเรื่องปกติมากๆ สำหรับปลาซิชลิด” ไบรอัน ซิมเมอร์แมน (Brian Zimmerman) ภัณฑรักษ์ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในสวนสัตว์ลอนดอนที่ประกาศหาคู่ให้ปลากล่าว พร้อมอธิบายว่า ในธรรมชาติของซิชลิดนั้นพวกมันจะฝึกคู่ในการปกป้องไข่และลูกๆ ซึ่งเป็นเหตุให้พวกมันต้องต่อสู้กัน
       
       หลังจากตระเวนหาตัวเมียตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทั่วโลกแต่ก็ล้มเหลว ทางทีมจากสมาคมสัตววิทยาลอนดอน (Zoological Society of London) จึงตั้งความหวังว่าอาจจะมีใครสักคนที่เลี้ยงปลาตัวเมียชนิดนี้ไว้เป็นการส่วนตัว และหากใครเลี้ยงไว้ทางซิมเมอร์สันกล่าวว่า คนที่เลี้ยงจำเป็นต้องรู้ว่าซิชลิดไม่ใช่แค่ปลาสวยงามธรรมดา แต่เป็นปลาที่ก้าวร้าวอย่างยิ่ง โดยจัดเป็นปลาที่เก่งกาจชนิดนี้ ซึ่งต้องการพื้นที่โอ่อ่าพอสมควร ตัวผู้โตได้มากกว่าฝ่ามือของเรา และต้องการตู้เลี้ยงปลาที่มีขนาดใหญ่พอสมควร
         
       
       หากแต่ด้วยอายุและความล้มเหลวในการค้นหาคู่ให้ปลาจากสวนสัตว์ทั่วโลก ทำให้ซิมเมอร์สันไม่มั่นใจในอนาคตของปลาชนิดนี้นัก เขาไม่คาดหวังอะไรมาก และบอกด้วยว่าวิกฤตของปลาน้ำจืดชนิดนี้เป็นปัญหาใหญ่ทั่วโลก อีกทั้งน้ำที่ถูกผันไปเพื่อการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ทำให้ปลาหายไปเรื่อยๆ ซึ่งเขาคิดว่าอาจจะมีโอกาสเพียงน้อยนิดหรือไม่มีเลยที่ปลาชนิดนี้จะดำรงอยู่ต่อไปได้
       
       สำหรับใครที่เลี้ยงซิชลิดตัวเมียไว้ สามารถส่งข้อมูลให้แก่ทีมสวนสัตว์ลอนดอนได้ที่ fishappeal@zsl.org

 ASTVผู้จัดการออนไลน์    13 พฤษภาคม 2556

6722
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานสุโขทัย เปิดเผยว่า เว็บไซต์ Skyscanner (www.skyscanner.net) เว็บไซต์ชื่อดังของอังกฤษ ได้ลงบทความแนะนำเทศกาลที่เต็มไปด้วยสีสันน่าตื่นตาตื่นใจที่สุดของโลก ในหัวข้อ "10 of the World's Most Amazing Festivals" เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้นักท่องเที่ยวได้ไปเยือน โดยเทศกาลลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟจังหวัดสุโขทัยติดอันดับ 2 จาก 10 สุดยอดเทศกาลชั้นนำของโลก
       
       สำหรับ 10 สุดยอดเทศกาลของโลกที่ได้รับการแนะนำมีดังนี้
       
       1. เทศกาล Albuquerque International Balloon Fiesta ที่รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา วันที่ 5- 13 ตุลาคม 2556
       2. เทศกาลลอยกระทง ที่จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย เดือนพฤศจิกายน 2556 (หมายเหตุ : ประเทศไทย (และบางส่วนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวรวมถึงสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์) ฉลองเทศกาลด้วยการลอยกระทงที่ตกแต่งด้วยดอกไม้ ลอยโคม ดอกไม้ไฟและงานสังสรรค์
       3. เทศกาลคาร์นิวัล ที่เมืองรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล เดือนกุมภาพันธ์ 2557
       4. เทศกาล Oktoberfest ที่เมืองมิวนิก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี วันที่ 21 กันยายนถึง 6 ตุลาคม 2556
       5. เทศกาล Las Fallas ที่เมืองวาเลนเซีย ราชอาณาจักรสเปน ในเดือนพฤษภาคม 2557
       6. เทศกาลช้าง (Elephant Festival) ที่เมืองชัยปุระ สาธารณรัฐอินเดีย วันที่ 16 มีนาคม 2557
       7. เทศกาลโคมลอยเมืองผิงซี (PingXi Sky Lantern Festival) ใกล้เมืองไทเป ไต้หวัน เดือน กุมภาพันธ์ 2557
       8. เทศกาลอูฐเมืองพุชการ์ (Pushkar Camel Fair) ในสาธารณรัฐอินเดีย วันที่ 6 - 7 พฤศจิกายน 2556
       9. เทศกาล Days of the Dead ในสหรัฐเม็กซิโก วันที่ 1 - 2 พฤศจิกายน 2556
       10. เทศกาลน้ำแข็งเมืองฮาร์บิน (Harbin Ice Festival) ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ในเดือนธันวาคม 2556 ถึงเดือนมกราคม 2557
       
ASTVผู้จัดการออนไลน์    14 พฤษภาคม 2556

6723
 เปิดเทอมนี้ กทม.มอบหมวกนิรภัยกว่า 1.2 แสนใบแก่นักเรียนในสังกัด นำร่องโรงเรียนในพื้นที่เขตหนองจอก และลาดกระบังก่อนทยอยมอบให้ครบ 438 แห่งในเดือน มิ.ย.2556 หลังงานวิจัยพบเด็กไทยเสี่ยงภัยอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ ถึงปีละ 653 ราย โดยพบการบาดเจ็บรุนแรงบ่อยที่สุดคือการบาดเจ็บที่สมอง
       
       วันนี้ (14 พ.ค.) เวลา 09.00 น. นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานแถลงข่าว “โครงการหมวกนิรภัย เด็กยิ้มได้ หัวปลอดภัย” โดยมีนายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ นายนพดล สันติภากรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด นางสาวกานดา วัฒนายิ่งสมสุข ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กรบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) และตัวแทนนักเรียนจากโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ร่วมงาน ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

       นางนินนาท กล่าวว่า จากปี 2555 ซึ่งเป็นปีรณรงค์สวมหมวกนิรภัย 100% และสำรวจพบว่าในปีการศึกษา 2555 เด็กนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 120,450 คน เดินทางไปกลับโรงเรียนโดยใช้รถจักรยานยนต์และรถจักรยาน โดยไม่ได้สวมหมวกนิรภัย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีความห่วงใยการเดินทางของเด็กๆ จึงได้เห็นชอบให้จัดสรรงบประมาณตาม “โครงการหมวกนิรภัย เด็กยิ้มได้ หัวปลอดภัย” จำนวน 22 ล้านบาท เพื่อจัดหาหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐาน และยกระดับความปลอดภัยในการเดินทางของเด็ก กทม.
       
       ทั้งนี้ จากการนำเสนอข้อมูลของศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ระบุว่าในช่วงปี 2543-2554 ที่ผ่านมา มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรจำนวน 7,836 ราย หรือเฉลี่ยปีละ 653 ราย โดยสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากรถจักรยานยนต์เป็นอันดับหนึ่ง และการบาดเจ็บรุนแรงที่พบบ่อยที่สุด คือการบาดเจ็บบริเวณสมอง ซึ่งการสวมหมวกนิรภัยจะช่วยลดความรุนแรงและเสียชีวิตของเยาวชนจากอุบัติเหตุจราจรได้เป็นอย่างดี
       
       ปลัด กทม.กล่าวด้วยว่า สำนักการจราจรและขนส่ง กทม.ได้จัดหาหมวกนิรภัยแบบครึ่งใบที่ได้รับรองมาตรฐาน มอก.369/2539 จำนวน 120,450 ใบ โดยแยกเป็นหมวกนิรภัยขนาดสำหรับเด็ก สำหรับเด็กอนุบาลถึงนักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน 115,752 ใบ และขนาดผู้ใหญ่ขนาดเล็ก (size S) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 4,698 ใบ ซึ่งพร้อมจะเริ่มส่งมอบจำนวนประมาณ 10,000 ใบ ให้แก่โรงเรียนใน 2 เขต คือเขตหนองจอก และลาดกระบัง และจากนั้นจะทยอยส่งให้โรงเรียนในเขตอื่นๆ อีก 48 เขต ให้ครบภายในกลางเดือนมิถุนายน 2556 และจะได้จัดซื้อเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป เพื่อให้เด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานครมีความปลอดภัยในการเดินทางด้วยรถจักรยานและรถจักรยานยนต์มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งกำชับให้ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ทุกคนสวมหมวกนิรภัยเพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งความปลอดภัย


 ASTVผู้จัดการออนไลน์    14 พฤษภาคม 2556

6724
สถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทยเผยจำนวนพลเมืองชาวสวีดิชที่มีอันต้องมาสังเวยชีวิตในประเทศไทยเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ในปี 2012 ที่ผ่านมา โดยมีถึง 105 ราย
       
       รายงานข่าวซึ่งอ้างคำแถลงของสถานเอกอัครราชทูตสวีเดนระบุว่า ในปี 2012 ที่ผ่านมามีพลเมืองสวีเดนเสียชีวิตในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 105 ราย ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และเป็นยอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตัวจากจำนวนชาวสวีดิช 55 คนที่เสียชีวิตในไทยเมื่อปี 2007 ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวสวีดิชเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งในขณะนี้ หลังเคยลดลงภายหลังเกิดพิบัติภัยสึนามิถล่มหลายจังหวัดทางภาคใต้ของไทยเมื่อปลายปี 2004
       
       พาร์ คาเกบี เจ้าหน้าที่กงสุลอาวุโสของสวีเดนเผยว่า 41 เปอร์เซ็นต์ของชาวสวีดิชที่เสียชีวิตในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้วเป็นการเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุจากการขับขี่จักรยานยนต์ รถยนต์ จมน้ำ ถูกไฟฟ้าดูด รวมถึงการพลัดตกจากระเบียงห้องพัก ขณะที่ยอดชาวสวีดิชที่เสียชีวิตในประเทศเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2013 นี้มีแล้ว 28 ราย
       
       เจ้าหน้าที่กงสุลอาวุโสของสวีเดนยังเตือนพลเมืองของตนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการซื้อประกันสุขภาพก่อนที่จะเดินทางเข้ามายังประเทศไทย เนื่องจากมาตรการคุ้มครองด้านสุขภาพที่ใช้ในประเทศสวีเดนและทั่วสหภาพยุโรป (อียู) นั้นไม่ได้ครอบคลุมถึงประเทศไทยด้วย
       
       ทั้งนี้ มีตัวเลขว่าชาวสวีดิชราว 400,000 คนได้เดินทางมายังประเทศไทยทุกปี และสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวจากสวีเดน คือ ภูเก็ต พังงา และกระบี่ แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลชื่อดังทางภาคใต้ของไทย และเมื่อครั้งที่เกิดสึนามิซัดถล่มชายฝั่งภาคใต้ของไทยเมื่อปี 2004 มีนักท่องเที่ยวจากสวีเดนอย่างน้อย 540 คนที่ต้องเสียชีวิตจากภัยพิบัติทางธรรมชาติในครั้งนั้น

ASTVผู้จัดการออนไลน์    14 พฤษภาคม 2556

6725


๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖
สวัสดี เพื่อนแพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ทุกท่าน

   เดือนพฤษภาคมเป็นเดือนที่มีวันหยุดเยอะพอสมควร แต่ไม่ได้หยุดติดกันเหมือนเดือนเมษายน คือได้ทำงานสัปดาห์ละ ๔ วัน เป็นเวลา ๓ สัปดาห์ ในเดือนนี้มักมีคนพูดว่าเป็นฤดูใบไม้ร่วงของ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปเนื่องจากเป็นเดือนที่แพทย์จบใหม่(intern) เริ่มปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ก็ขอให้แพทย์เฉพาะทางทุกท่านช่วยกันดูแลน้องๆแพทย์จบใหม่ด้วย เพราะกว่าจะเข้าที่เข้าทาง คงอีก ๒-๓  เดือน ต้องรอลุ้นภาวะแทรกซ้อนจากฤดูใบไม้ร่วงนี้ด้วย ถ้าใครโดนซักคดี คงไม่สนุกแน่ ยึดเยื้อ ยาวนาน คล้ายกับ คดีกัมพูชายื่นฟ้องให้ศาลโลกตีความคดีประสาทเขาพระวิหารตั้งแต่ปี ๒๕๐๕ ยังต้องรอศาลโลกชี้ชะตาช่วงปลายปี ๒๕๕๖ กันอีกครั้ง ๕๐ ปีแล้วยังไม่จบเลย

   กลับมาที่เรื่องของกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ดำรงตำแหน่งปลัด สธ. ได้มีการปฎิรูปกระทรวงกันครั้งใหญ่ พวกเราชาวโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป คงรู้สึกถึงการเปลี่ยนนี้ได้ เรื่องแรกคงหนีไม่พ้นต้องเก็บข้อมูลการทำงานเพื่อคิดเป็นคะแนนแล้วนำมาจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน (P4P) คงไม่ต้องบ่นให้ใครฟังว่า วุ่นวายกันพอสมควร ซึ่งทางกระทรวง สธ. กำลังประเมินว่า โรงพยาบาลแต่ละแห่งสามารถดำเนินการได้หรือไม่ จากนั้นจึงจะประเมินว่า มีระเบียบเรื่องใดที่ไม่ยืดหยุ่น ซึ่งขณะนี้ก็ได้เปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์ในส่วนของการจัดแบ่งพื้นที่โรงพยาบาลใหม่ เรียกว่า เดินหน้า P4P โดยไม่สนใจการแต่งดำคัดค้านของแพทย์ชนบทแต่อย่างไร เรื่องการดำเนินการP4P นี้ ยังได้รับความสนใจจากนายกรัฐมนตรี โดยสั่งการผ่าน รมว. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ ให้ สปสช.เข้ามามีส่วนร่วม วางระเบียบการดำเนินการ การจ่ายเงิน เนื่องจากต้องใช้เงินจ่ายค่าตอบแทนผูกติดกับ งบประมาณ สปสช.  (ตามที่ทางสมาพันธ์ฯได้เขียนไว้ในจดหมาย เดือน มีนาคม ๒๕๕๖) การมี สปสช.เข้ามาร่วมดำเนินการเรื่อง P4P  ไม่รู้ว่าจะทำให้ ความวุ่นวายเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป

   Service plan หรือ แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ก็เป็นหนึ่งในการปฎิรูปกระทรวง ซึ่งมีแนวคิดจัดระบบสุภาพในรูปแบบเครือข่าย คือบริหาร “คน เงิน ของ” ร่วมกันในเครือข่าย เช่น วางแผนส่งแพทย์เรียนต่อเฉพาะทางร่วมกัน จบมาก็แบ่งงานกันทำตามความสามารถของรพ. หลีกเลี่ยงการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และขจัดสภาพการแข่งขันกันเองในเครือข่าย โดยมีการพัฒนา รพ.ในเครือข่าย ให้เป็น

รพศ. ๓๓ แห่ง
รพท.ระดับจังหวัด (S) ๔๘ แห่ง
รพท.ขนาดเล็ก (M1) ๓๕ แห่ง  
รพช.แม่ข่าย (M2) ๙๑ แห่ง  
รพช.ขนาดใหญ่ (F1) ๗๓ แห่ง  
รพช. (F2) ๕๑๘ แห่ง
รพช.ขนาดเล็ก (F3) ๓๕ แห่ง  
รพช.สร้างใหม่ ๕๗ แห่ง  
ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง ๒๑๕ แห่ง และ
รพ.สต.๙,๗๕๕ แห่ง

ซึ่งทางสมาพันธ์ฯ หวังว่า service plan นี้จะดำเนินการไปด้วยดี

สำหรับผู้ที่สนใจข่าวสารของสมาพันธ์ฯ สามารถเข้าไปที่ http://www.thaihospital.org

ร่วมแรง ร่วมใจสร้างความสามัคคี
             สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป แห่งประเทศไทย

6726
เผยบอร์ด อภ.มีอำนาจสั่งปลด “หมอวิทิต” ออกจาก ผอ.องค์การเภสัชฯได้ โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวน เหตุทำงานแบบสัญญาจ้าง ไม่ใช่ข้าราชการ ด้าน รมว.สธ.ปัดไม่ทราบเรื่อง เพราะไม่ใช่เรื่องที่ต้องผ่านตัวเอง ขณะที่ภาคประชาชนหวังบอร์ด อภ.จะไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายใด
       
       วันนี้ (14 พ.ค.) แหล่งข่าวในองค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) เตรียมปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ.ว่า ตำแหน่ง ผอ.อภ. เป็นการเข้าทำงานในลักษณะของสัญญาจ้าง ซึ่งถือว่าไม่ใช่ข้าราชประจำจึงไม่สามารถพิจารณาความผิดทางวินัยได้ แต่การพิจารณาไม่ต่อสัญญาจ้าง จะมีรายละเอียดระบุไว้ชัดเจน เช่น บริหารงานอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร หรือไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ ตาม พ.ร.บ.องค์การเภสัชกรรม พ.ศ.2509 มาตรา 25 ยังระบุว่า ผู้อำนวยการจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อตาย ลาออก หรือคณะกรรมการให้ออกจากตำแหน่ง ดังนั้น เมื่อเกิดกรณีการชี้มูลความผิดจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ก็จะขึ้นอยู่กับอำนาจของบอร์ด อภ.ในการพิจารณาเลิกสัญญาจ้างแล้วนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

       นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องนี้ เนื่องจาก บอร์ด อภ.มีหน้าที่ในการดำเนินการเรื่องต่างๆ ผ่านมติบอร์ดอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องผ่านรัฐมนตรี สธ.
       
       ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ยังไม่แน่ชัดว่า บอร์ด อภ.จะพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร แต่หวังว่าจะไม่เป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง บอร์ด อภ.ควรเป็นอิสระอย่างแท้จริง และมีเหตุผลอย่างถูกต้อง ซึ่งหากสุดท้ายมีการปลด นพ.วิทิต ก็ต้องมีเหตุผลเพียงพอว่าเพราะอะไร ส่วนทางภาคประชาชนจะเฝ้าติดตามและหารือว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไป ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้อยากยึดที่ตัวบุคคล แต่หากมองกลับกันจะพบว่า นพ.วิทิต ยังอยู่ในวาระ ซึ่งควรให้ทำงานจนครบวาระก่อนจะดีกว่าหรือไม่ เพราะหากปลดออกก็ต้องทำสัญญาว่าจ้างผู้อำนวยการคนใหม่อีกถือว่าเสียเวลา และ อภ.จะเสียผลประโยชน์ ขณะเดียวกันก็จะสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศในเรื่องการเข้าถึงยา
       
       น.ส.สารี กล่าวอีกว่า ตั้งแต่ นพ.วิทิต ดำรงตำแหน่ง ผอ.อภ.มีการบริหารยาที่มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง และโรคร้ายแรงสามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้น ทั้งผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอชไอวี/เอดส์ ผู้ป่วยโรคไต และผู้ป่วยมะเร็ง ไม่ต้องใช้ยาราคาแพงจากต่างประเทศ แต่สามารถใช้ยาชื่อสามัญหรือยาที่มีคุณสมบัติและคุณภาพเทียบเท่ายาต้นแบบราคาแพง แต่จากข่าวปัญหาต่างๆ ที่ อภ.ประสบอยู่ รวมทั้งตัว นพ.วิทิต เองทำให้สังคมเกิดคำถามว่าเพราะเหตุใด เรื่องนี้ รมว.สธ.และประธานบอร์ด อภ.ควรออกมาตอบคำถามให้ชัดเจนด้วย
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในวันพรุ่งนี้ (15 พ.ค.) เวลา 16.00 น.ที่โรงแรมริชมอนด์ นพ.วิทิต จะแถลงข่าวเปิดใจถึงกรณีต่างๆ ของ อภ.ด้วย หลังจากเข้าให้ปากคำกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)

ASTVผู้จัดการออนไลน์    14 พฤษภาคม 2556

6727
สสจ.พิษณุโลก ปัดข่าวชาวบ้านร้องเรียนเหมืองทองทำพิษต่อสุขภาพ เผยไม่มีการร้องเรียนมา 3 ปีแล้ว เหตุสุ่มตรวจตัวอย่างน้ำในพื้นที่ต่อเนื่อง ส่วนสารไซยาไนด์ในตัวชาวบ้านอาจเกิดจากการทำมันสำปะหลัง
       
       นพ.บุญเติม ตันสุรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) พิษณุโลก กล่าวถึงกรณีชาวบ้านในพื้นที่ 3 จังหวัดคือ พิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้ดูแลผลกระทบทางสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ทองคำ จนทำให้เกิดโรคผิวหนังและเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษ ว่า ปัจจุบันไม่พบการร้องเรียนเรื่องสุขภาพของประชาชนในพื้นที่มายังโรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุขกว่า 3 ปีแล้ว แต่ช่วงประมาณปี 2552-2553 มีประชาชนร้องเรียนถึงผลกระทบการเจ็บป่วยทางผิวหนัง และการได้รับสารพิษจริง สสจ.จึงร่วมกับบริษัทที่รับผิดชอบเหมือง สุ่มตรวจสุขภาพของชาวบ้านทุ่งยาว และ บ้านคลองตาลัด จ.พิษณุโลก หมู่บ้านละ 10 คนพบว่า ปริมาณสารปรอทอยู่ในระดับปกติ แต่พบสารไซยาไนด์เกินมาตรฐาน
   
       “ไซยาไนด์ที่ตรวจพบในตัวประชาชนไม่สามารถยืนยันได้ว่า เกิดจากเหมืองทองหรือไม่ เพราะเป็นไปได้ว่า ชาวบ้านอาจได้รับจากการทำมันสำปะหลังในพื้นที่ก็เป็นได้ ส่วนประชาชนที่เกิดอาการผื่นคันมีเพียง 3 ราย แต่เกิดจากน้ำประปาไม่สะอาด จึงได้ออกคำแนะนำไปยังบริษัทเหมืองให้เพิ่มคลอรีนเพื่อรักษาความสะอาดของน้ำประปาที่ใช้อุปโภค บริโภค เพื่อลดผลกระทบที่เกิดกับประชาชน ทั้งนี้ สสจ.ได้ทำหน้าที่บริการตรวจและรักษาตามอาการที่พบเท่านั้น แต่หลังจากปี 2553 ไม่มีการร้องเรียนเรื่องปัญหาสุขภาพในพื้นที่ดังกล่าวเลย” นายแพทย์ สสจ.พิษณุโลก กล่าว
       
       นพ.บุญเติม กล่าวอีกว่า กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ สสจ.จัดบริการสุขภาพให้กับประชาชน โดยเน้นไปที่การตรวจคุณภาพน้ำดื่มและน้ำประปาที่ใช้อุปโภคบริโภค ซึ่งยังคงทำอย่างต่อเนื่อง และพบว่าน้ำประปาในพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในระดับปกติ แต่ยังมีลักษณะขุ่นเพราะคลอรีนต่ำ จึงมีการร้องขอให้บริษัทเพิ่มการเติมคลอรีนลงไป ส่วนสุขภาพด้านอื่นมีการสำรวจสุขภาพทั่วไปในปี 2554 ยังไม่พบผลกระทบโรคระบบทางเดินหายใจจากสารพิษ พบเพียงหวัด ปอดอักเสบ 1,797 รายทั้งจังหวัด ส่วนในพื้นที่ที่ติดกับการทำเหมือง ทาง สสจ.ไม่ได้สุ่มตรวจเรื่องโรคระบบทางเดินหายใจนานแล้ว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    14 พฤษภาคม 2556

6728
 ต่างด้าวยังเมินซื้อบัตรประกันสุขภาพจาก สธ.มีคนซื้อแค่ 1.8 หมื่นคน จาก 2 ล้านคน ตกขายออกแค่ 2% “หมอประดิษฐ” วอนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยกระตุ้น หลังพบต่างด้าวเบ่งบานมีลูกหลานไร้สัญชาติแล้วเกือบ 5 แสนราย
   
       นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าว ว่า สธ.ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าวและครอบครัวที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมกว่า 2 ล้านคน โดยการขายบัตรประกันสุขภาพ และตรวจสุขภาพ พบว่า จากการขายบัตรประกันสุขภาพรอบแรกในช่วง 15 ม.ค.-14 เม.ย.2556 มีต่างด้าวซื้อบัตรประกันสุขภาพน้อยมากเพียง 18,413 คน หรือประมาณร้อยละ 2 เท่านั้น จะต้องเร่งขอความร่วมมือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องช่วยกันกระตุ้นเรื่องนี้ หากต่างด้าวไม่เข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาล อาจเกิดปัญหาการป้องกันควบคุมโรคยากขึ้น และไม่สามารถวางแผนการคุมกำเนิดของต่างด้าวได้ เพราะจากข้อมูลในปี 2547-2552 พบว่า มีต่างด้าวตั้งครรภ์และคลอดบุตรในไทยปีละ 10,000-20,000 คน คาดว่าขณะนี้ไทยมีเด็กไร้สัญชาติราว 400,000-500,000 คนแล้ว นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการอุ้มแบกภาระค่ารักษาของโรงพยาบาลอีกด้วย
       
       ด้าน นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัด สธ.กล่าวว่า การขายบัตรประกันสุขภาพสำหรับแรงงานต่างด้าว จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1.กลุ่มต่างด้าวที่อยู่ในระบบประกันสังคม จะมีค่าตรวจร่างกาย ค่าประกันสุขภาพ และค่าส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคที่คุ้มครอง 3 เดือนระหว่างรอสิทธิประกันสังคม

2.กลุ่มนอกระบบประกันสังคม ได้แก่ แรงงานภาคเกษตร ประมง รับใช้ตามบ้านเรือน ครอบครัวของผู้ใช้แรงงาน จะมีค่าตรวจสุขภาพและต้องซื้อบัตรประกันสุขภาพ และ

3.เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี จะต้องซื้อในราคา 365 บาทต่อปี

บัตรประกันสุขภาพนี้ จะทำให้ต่างด้าวได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่แตกต่างจากคนไทย ได้รับวัคซีนป้องกันโรคพื้นฐาน การส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ การวางแผนครอบครัว เมื่อป่วยสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามที่ประกันไว้จนหายขาด ซึ่งโรงพยาบาลในพื้นที่จะมีล่ามช่วยในการสื่อสารกับแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทำให้ได้รับบริการอย่างสะดวกและใกล้ที่ทำงาน เมื่อบัตรหมดอายุสามารถซื้อต่อได้อีก และได้รับสิทธิทันที ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติมถึงการปรับเพิ่มค่าประกันสุขภาพ เพื่อให้ครอบคลุมยาต้านไวรัสเอดส์ต่อไป


ASTVผู้จัดการออนไลน์    13 พฤษภาคม 2556

6729
กระทรวงสาธารณสุข  เร่งพัฒนาระบบบริการผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุใน 7 พื้นที่จังหวัดใต้ 6 ด้าน ได้แก่ ระบบฐานข้อมูลการบาดเจ็บ การดูแลผู้บาดเจ็บก่อนถึงโรงพยาบาล  การดูแลผู้บาดเจ็บทางสมอง การฟื้นฟูผู้บาดเจ็บเมื่อพ้นภาวะวิกฤต การดูแลผู้บาดเจ็บทางทะเล  และการดูแลผู้บาดเจ็บในสถานการณ์ความไม่สงบ โดยมีโรงพยาบาลหาดใหญ่เป็นศูนย์กลาง หวังลดอัตราตายให้ได้ปีละร้อยละ 10 ภายในปี 2559 ตลอดปี 2555  มีผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินใช้บริการเกือบ 500,000 ราย  โดย 1 ใน 4 เป็นผู้บาดเจ็บทางด้านศัลยกรรม

                วันนี้ (10 พฤษภาคม 2556) ที่จังหวัดสงขลา นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ณรงค์  สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขประจำเครือข่ายบริการที่ 12 เปิดประชุมผู้บริหาร ประกอบด้วย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลชุมชน เพื่อพัฒนาระบบการจัดบริการสุขภาพ โดยเฉพาะระบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้บาดเจ็บทุกชนิด ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้คือ ตรัง พัทลุง สตูล สงขลายะลา ปัตตานี และนราธิวาส เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของประชาชน

นายแพทย์ณรงค์กล่าวว่า ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างที่กล่าวมานั้นมีความหลากหลาย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจภาคใต้ มีพื้นที่เป็นเกาะ ชายฝั่งทะเลเป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งมีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีประชาชนเดินทางเข้ามาจำนวนมาก เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางจราจร ทางทะเล รวมทั้งเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ ในปี 2555 มีผู้เข้าใช้บริการงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่อยู่ในเครือข่ายฯ 10 แห่งคือ รพ.หาดใหญ่ รพ.สงขลา รพ.ปัตตานี รพ.ยะลา รพ.เบตง รพ.นราธิวาส รพ.สุไหงโก-ลก รพ.สตูล รพ.พัทลุง และรพ.ตรัง รวม 473,542 ราย แพทย์รับไว้รักษาในโรงพยาบาล 23,473 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยอุบัติเหตุทางศัลยกรรม114,573 ราย โดยร้อยละ 23 เป็นผู้บาดเจ็บทางสมอง ผู้ได้รับบาดเจ็บในอวัยวะหลายระบบพบร้อยละ 14 อัตราตายประมาณร้อยละ 3  ของผู้บาดเจ็บทั้งหมด

                ในการเตรียมการจัดบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุ กระทรวงสาธารณสุขได้วางแผนพัฒนาไว้ 5 ปี พ.ศ.2555-2559 มีเป้าหมาย 6 ด้าน ประกอบด้วย
1.ระบบฐานข้อมูลการบาดเจ็บ เพื่อนำมาวางแผนการป้องกัน แก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย
2.ระบบการดูแลผู้บาดเจ็บก่อนถึงโรงพยาบาล มีครอบคลุมทุกพื้นที่
3.มีระบบการดูแลผู้บาดเจ็บทางสมอง การบาดเจ็บหลายระบบ โดยมีทั้งระบบส่งต่อและการรับกลับ
4.ระบบฟื้นฟูผู้บาดเจ็บเมื่อพ้นภาวะวิกฤตในโรงพยาบาลชุมชน ให้กลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงตามปกติ
5.เพิ่มชุดปฏิบัติการทางแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำที่จังหวัดสตูลและตรัง และพัฒนาศักยภาพระบบการดูแลผู้บาดเจ็บทางทะเลของหน่วยบริการในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เกาะ แหล่งท่องเที่ยว และ
6.ระบบการดูแลผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้
โดยจัดซ้อมแผนในระดับเสมือนจริง  ตั้งเป้าลดอัตราการเสียชีวิตลงให้ได้ร้อยละ 10 ต่อปี

                ทั้งนี้ กำหนดให้โรงพยาบาลหาดใหญ่ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์ที่มีความพร้อมทั้งเครื่องมือแพทย์ แพทย์และพยาบาลที่เชี่ยวชาญ เป็นศูนย์เชี่ยวชาญอุบัติเหตุ เป็นแม่ข่ายของโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน รวม   76 แห่ง สามารถให้การดูแลผู้บาดเจ็บตั้งแต่ขั้นไม่รุนแรง จนถึงขั้นวิกฤติได้ โดยใช้ระบบการส่งต่ออย่างรวดเร็ว   เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงานช่วยชีวิตประชาชน

 10  พฤษภาคม 2556
สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

6731
นักวิชาการเผยระบบหลักประกันสุขภาพไทยมีความเหลื่อมล้ำมากจนเกินไป ทั้งเรื่องสิทธิประโยชน์ คุณภาพการรักษา และค่าเบี้ยประกัน แนะทำระบบประกันสุขภาพระบบเดียว กำหนดชุดสิทธิประโยชน์มาตรฐานชุดเดียว และควรยุบเลิกสวัสดิการข้าราชการแบบค่อยเป็นค่อยไป

ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวระหว่างเสนอเรื่อง “กลไกการอภิบาลระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ” ภายในการประชุมวิชาการการวิจัยระบบสุขภาพประจำปี 2556 “จัดการความรู้สู่ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม” เมื่อเร็วๆนี้ ว่า ความเหลื่อมล้ำในระบบประกันสุขภาพไทย 3 กองทุนหลัก ประกอบด้วย 3 เรื่องหลัก คือ

1.สิทธิประโยชน์ เช่น ข้าราชการครอบคลุมบิดา มารดา ภรรยาและบุตร 3 คน แต่ประกันสังคมและหลักประกันฯไม่มี หรือข้าราชการและประกันสังคมไม่มีการชดเชยความเสียหายจากการรักษาพยาบาล แต่หลักประกันฯมีมาตรา 41 ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เป็นต้น

2.คุณภาพการรักษาพยาบาล ระบบข้าราชการจะเบิกจ่ายตามจริง แต่ประกันสังคมและหลักประกันฯจะเหมาจ่ายรายหัว รวมถึงอัตราการเบิกจ่ายในการรักษาโรคที่ต่างกัน ซึ่งข้อมูลจากสำนักวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) เช่น กลุ่มอาการปวดหัวไม่มีภาวะแทรกซ้อน ค่าใช้จ่ายต่อหัวระบบข้าราชการ 4,107.39 บาทต่อคน ประกันสังคม 1,512.23 บาทต่อคน หลักประกันฯ 2,650.90 เป็นต้น และ

3.ภาระค่าใช้จ่ายเบี้ยประกัน พบว่า ข้าราชการและหลักประกันฯได้รับงบประมาณจากภาครัฐ 100% แต่ประกันสังคมจะเป็นการสมทบจากลูกจ้าง/ผู้ประกันตน 33.33% นายจ้าง 33.33% และรัฐ 33.33%

ดร.เดือนเด่น กล่าวด้วยว่า การลดความเหลื่อมล้ำต้องดำเนินการ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ต้องมีระบบประกันสุขภาพระบบเดียว โดยอาจไม่ต้องรวมกองทุน แต่ต้องพิจารณาเรื่องการเบิกจ่ายจะเป็นระบบเหมาจ่ายหรือจ่ายตามจริง การคลังจะเป็นงบประมาณ เงินสมทบ หรือร่วมจ่ายของผู้ป่วย การคุ้มครองตั้งแต่ระยะเวลาที่คุ้มครองและสมาชิกครอบครัวที่คุ้มครอง 2.ต้องมีชุดสิทธิประโยชน์มาตรฐานชุดเดียวทั้งกรอบของการคุ้มครอง โรคที่ได้รับการคุ้มครอง ระดับของการคุ้มครองหมายถึงค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยหรือสถานพยาบาลสามารถเบิกจ่ายได้ และ 3.สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มเติมจากชุดสิทธิประโยชน์มาตรฐาน ผู้ประกันตน หรือนายจ้างมิใช่รัฐจะต้องเป็นผู้จ่าย เพื่อที่จะให้ประชาชนทุกคนได้รับการอุดหนุนด้านบริการสุขภาพที่เท่าเทียมกัน

“การยุบเลิกระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยให้ข้าราชการหรือพนักงาน ลูกจ้างบรรจุใหม่อยู่ภายใต้ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยจ่ายเงินชดเชยการเสียสิทธิโดยการเพิ่มเงินเดือน ส่วนข้าราชการรายเดิมให้เลือกที่จะใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลหรือเงินชดเชย สำหรับการอภิบาลระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ ควรมีหน่วยงานที่เป็นอิสระสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กำหนดนโยบายและกำกับดูแล มีการจัดเก็บภาษีสุขภาพ ระบบการเบิกจ่ายเป็นแบบเหมาจ่ายรายหัวและตามกลุ่มโรคร่วม(DRG) และระบบการตรวจสอบจะต้องมีศูนย์ข้อมูล มีหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพของการรักษาพยาบาลและมีหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียน เป็นต้น” ดร.เดือนเด่น กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 พฤษภาคม 2556

6732
"ธาริต"จวก"หมอวิทิต" ตั้งแง่ไม่ให้ความร่วมมือในชั้นสอบสวน ย้ำโครงการโรงงานวัคซีนมีประเด็นส่อปัญหาเพียบ

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ กล่าวถึงการเข้าสอบปากคำของนพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผอ.องค์การเภสัชกรรม(อภ.) กรณีการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก โดยระบุว่า ดีเอสไอไม่ได้รับความร่วมมือจากนพ.วิทิตเท่าที่ควร เนื่องจากนพ.วิทิตแทบจะไม่ให้การใด ๆ เลย แต่ขอให้ดีเอสไอตั้งประเด็นสอบถามจากนั้นจะขอชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษรกลับมาอีกครั้ง ซึ่งดีเอสไอมองว่านพ.วิทิต มีลักษณะตั้งแง่กับดีเอสไอ ทั้งที่ผ่านมาดีเอสไอพยายามให้เกียรตินพ.วิทิต

ทั้งนี้ยืนยันว่า ดีเอสไอมีอำนาจในการสอบสวน ขณะที่นพ.วิทิตมีหน้าที่ให้การไปตามข้อเท็จจริง โดยประเด็นที่ดีเอสไอตรวจสอบพบว่ามีปัญหาต้องชี้แจงยังมีหลายประเด็น ทั้งการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง ความเหมาะสมของในการขับเคลื่อนโครงการ ความสัมพันธ์ของบริษัทสัญญาที่แยกออกเป็นหลายคู่สัญญาว่ามีประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ การเอื้อประโยชน์กับเอกชนทำให้รัฐเสียหายหรือไม่ ซึ่งดีเอสไอกำหนดให้ น.พ.วิทิตชี้แจงรายละเอียดเป็นลายลักษณ์อักษรมาให้ดีเอสไอภายในวันที่ 15 พ.ค. นี้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  8 พฤษภาคม 2556

6733
ความสำเร็จของรางวัล SQA หรือ Singapore Quality Award ถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดที่มอบให้แก่องค์กรที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณา เพื่อแสดงถึงมาตรฐานการดำเนินงาน และการบริหารบุคลากรขององค์กรที่ยอดเยี่ยมที่สุดในระดับสากล

รางวัล SQA ได้รับการสนับสนุนจากนายกรัฐมนตรีของประเทศสิงคโปร์ โดยได้ประสานแนวทางของ Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับที่ประเทศไทย

ได้นำ Thailand Quality Award หรือ TQA มาใช้ในการประเมิน และวัดผลองค์กรให้มีมาตรการการบริหารงานที่เป็นเลิศที่สุดในประเทศเทียบเท่ากับระดับสากล

สำหรับองค์กรที่จะได้รับรางวัล SQA ในประเทศสิงคโปร์ จะต้องเป็นองค์กรที่มีคะแนนอย่างน้อย 700 คะแนน ส่วนองค์กรที่ได้คะแนนตั้งแต่ 800 คะแนน

ขึ้นไปจะได้รับรางวัลคุณภาพสิงคโปร์ยกย่องพิเศษ (Singapore Quality Award with Special Commendation) ซึ่งถือเป็นรางวัลสูงสุดของประเทศสิงคโปร์

โดยองค์กรที่ได้รับรางวัล SQA ประจำปี 2555 ได้แก่ Singapore Customs และ Wing Tai Retail Singapore ส่วนรางวัลที่น่าสนใจที่สุดของรางวัล SQA คือ รางวัลคุณภาพสิงคโปร์ยกย่องพิเศษ ได้แก่ Singapore Prison Service (SPS) องค์กรประเภททัณฑสถานของสิงคโปร์ที่ได้รับการยอมรับว่ามีระบบการบริหารการจัดการที่มีคุณภาพอย่างน่ายกย่องที่สุดในประเทศ



ไม่นานผ่านมา สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ชวนไขรหัส (ไม่) ลับสู่การบริหารจัดการของเรือนจำแห่งนี้ในหัวข้อที่ว่า "การวางกลยุทธ์เพื่อก้าวไปสู่การมีระบบเรือนจำที่น่าชื่นชมที่สุดในโลก"

ภายใต้งานสัมมนา Thailand Quality Award 2012 Winner Conferenceซึ่งกลยุทธ์ที่จะทำให้ "Singapore Prison Service" ก้าวไปสู่จุดยืนได้ "โก ตง ไห่" ผู้อำนวยการหน่วยสืบราชการลับส่วน

เจ้าหน้าที่เรือนจำสิงคโปร์บอกว่า ก่อนอื่นเราจะต้องวางยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับเรือนจำของเราอย่างชัดเจนเสียก่อน

"โดยเริ่มต้นจากกำหนดวิสัยทัศน์ในการก้าวไปสู่เป้าหมายที่เราตั้งไว้ ซึ่งนี่คือสิ่งที่จะสะท้อนให้ประชาชนได้รับรู้ว่าเราจะเป็นเรือนจำเพื่อสร้างคนมากกว่าการรับฝากขังในช่วงระยะเวลาหนึ่งเหมือน

เรือนจำอื่นทั่วไป ซึ่งเราได้ใช้เวลาการประชุมและหารือร่วมกันกว่า 9 เดือน จนสามารถกำหนดวิสัยทัศน์เรือนจำ

ของเรา นั่นคือเราจะเป็นเสมือนหนึ่งกัปตันของชีวิตคุณ ซึ่งเชื่อมั่นได้ว่าการชี้ทางของเราจะทำให้เขาสามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างดีและมีคุณค่าที่สุด"

"ต้องบอกว่าการมีวิสัยทัศน์ที่ดีเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เราก้าวไปสู่การบริหารการจัดการที่เป็นเลิศได้ ดังนั้นเราจึงต้องวางกลยุทธ์ทั้งระบบ ตั้งแต่การพัฒนาปรัชญา และกำหนดตัวชี้วัดของทั้งองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารระดับสูงจะต้องให้การสนับสนุนการขับเคลื่อนขององค์กรให้ก้าวไปข้างหน้า"

"ที่สำคัญ การสื่อสารระหว่างคณะทำงานต่างมีส่วนสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันในการเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจร่วมกัน เพราะเราต้องยอมรับว่าการขับเคลื่อนขององค์กรบุคลากรคือส่วนสำคัญที่สุดที่จะบอกได้ว่าผลลัพธ์ของความสำเร็จเกิดขึ้นหรือยัง"

ดังนั้น การวางยุทธศาสตร์ที่สำคัญสู่การสร้างศักยภาพของบุคลากรในเรือนจำแห่งนี้ "โก ตง ไห่" จึงได้วางกลยุทธ์ไว้เพื่อเชื่อมโยงทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย

"หนึ่ง สร้างศักยภาพ โดยจะเชื่อมโยงกับผู้บริหารระดับสูง และบุคลากรให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน ในการประชุมหารือทบทวนกลยุทธ์และระบบการบริหารการจัดการ เรียกได้ว่าในทุกขั้นตอนของการประชุมทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม เพื่อรับทราบข้อปรับปรุงและแก้ไขกันอย่างเป็นทีม"

"สอง สร้างค่านิยม ให้ทุกคนเป็นผู้คุมอย่างมืออาชีพ ซึ่งค่านิยมของเราจะต้องวางเส้นทางบันไดสู่ความสำเร็จ โดยที่บุคลากรของเราทุกคนจะต้องรับรู้ได้ว่าเส้นทางของแต่ละคนในการก้าวไปสู่บันไดสูงสุดมีทั้งหมดกี่ขั้น และในแต่ละขั้นจะต้องมีการทดสอบเพื่อผ่านไปยังบันไดขั้นต่อไปอย่างไร ซึ่งนี่คือหนทางการสร้างผู้นำในเรือนจำของเรา"

"นอกจากนี้ การสร้างค่านิยมของเรา รวมถึงผู้ทำหน้าที่จะต้องเสมือนครูฝึกนักโทษด้วย โดยครูฝึกจะต้องทำหน้าที่สร้างเวทีเพื่อเป็นพื้นที่สำหรับสร้างโอกาส

ให้กับเหล่านักโทษ ภายใต้การทำ Workshop เป็นประจำ การทำหน้าที่เช่นนี้จะเป็นการย้ำเตือนว่า การที่เราเป็นผู้คุมขังอย่างมืออาชีพจะต้องมอบโอกาสให้กับนักโทษ เพื่อที่วันหนึ่งเขาจะสามารถกลับไปยืน

จุดเดิมในสังคมได้อย่างสวยงาม นี่คือค่านิยมที่เราพยายามปลูกฝังให้กับบุคลากรทุกคน"

"สาม สร้างนวัตกรรม โดยจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรในการเชื่อมนวัตกรรม และการบริหารงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งการจะมุ่งสู่นวัตกรรมใหม่ได้เราจะต้องสร้าง

3i ประกอบด้วย Idea มีความคิด และดีไซน์ Improvement ต้องรู้จักปรับปรุงและแก้ไข และ Initiative ต้องริเริ่ม

สิ่งใหม่อยู่เสมอ"

นอกจากนั้น "โก ตง ไห่" ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า...ทุกกลยุทธ์ของเราจะพยายามสอดแทรกตลอด เสมือนเป็นวัฒนธรรมองค์กร ที่นอกจากจะค่อย ๆ หล่อหลอมสร้าง

ตัวตนและคุณค่า โดยเริ่มต้นจากบุคลากรผู้คุมขัง เพื่อให้เขารู้สึกถึงความเป็นคนที่มีคุณค่าจากกิจกรรมที่เราส่งเสริม ทั้งนั้นเพื่อจะได้ถ่ายทอดให้กับนักโทษของเราได้อย่างมืออาชีพ

ตรงนี้จึงเป็นคำตอบที่ทำให้ได้รับรางวัล SQA ครั้งนี้

"เพราะนอกจากจะเป็นแรงบันดาลใจหนึ่งที่สำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมในอนาคตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด หากเรายังคงใช้แนวคิดที่ว่าเพื่อที่จะเป็นกัปตันในชีวิตให้กับเขาอย่างมืออาชีพ และนี่คือการสร้างความพึงพอใจและสิ่งที่มีค่าที่สุดของเรา"

และนี่คืออีกหนึ่งองค์กรที่ไม่เคยมองข้ามการพัฒนา และมุ่งสร้างบุคลากรจนเป็นองค์กรที่น่ายกย่องที่สุดสำหรับประเทศสิงคโปร์

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 8 พ.ค. 2556

6734
วานนี้ (7พ.ค.) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับกรอบแนวทางการพิจารณาเพื่อการควบคุมและส่งเสริมการปลูกพืชกัญชง (เฮมพ์) เป็นพืชเศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ

สำหรับกัญชงแล้ว ปัจจุบันเป็นพืช ที่ถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษก่อน   
   
จะว่าไปแล้ว "กัญชง" กับ "กัญชา" มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก หรือมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายกัญชา แทบจะแยกไม่ออกว่าอันไหนคือ "กัญชง" หรือ "กัญชา"

และต่อไปนี้ จะเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่าง "กัญชง" กับ "กัญชา" เพื่อความกระจ่าง และสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูล หรือความรู้รอบตัวได้

สถาบันวิชาการและตรวจพิสูจน์ยาเสพติด เคยศึกษาเปรียบเทียบ "กัญชา" กับ "กัญชง" เมื่อปี พ.ศ.2537 โดยได้รับการสนับสนุนตัวอย่างจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ภาคเหนือ โดยทำการศึกษาทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และทำการเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพ ของส่วนต่างๆ

พบว่า สารออกฤทธิ์สำคัญที่มีอยู่ในกัญชา และกัญชง เหมือนกัน ได้แก่ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol , THC) แคนนาบิไดออล (Cannabidiol,CBD) และแคนนาบินอล (Cannabinol,CBN)
 
ลักษณะทางกายภาพ พบว่า กัญชาและกัญชง มีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. ส่วนของยอด-ช่อดอก ช่อใบของกัญชา มีลักษณะเป็นพุ่ม ส่วนกัญชง มีลักษณะเรียว เล็ก

2. ลักษณะใบ พบว่า กัญชามีใบใหญ่ กว้าง ส่วนกัญชง ใบจะเรียวและเล็กกว่า

3. ส่วนของกิ่งและลำต้นของกัญชา มีลำต้นเตี้ย เป็นพุ่ม ระยะห่างของข้อ-ปล้อง จะสั้น สำหรับกัญชงแล้ว ลำต้นจะสูง ชะลูด ระยะห่างของข้อ-ปล้อง จะยาว และท่อน้ำเลี้ยงก็มีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ กัญชา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อน้ำเลี้ยง ใหญ่กว่า ของกัญชง

4. ในส่วนของราก ไม่มีลักษณะที่แตกต่างกันเด่นชัดเท่าใดนัก

โดยสรุปก็คือ

ทางด้านกายภาพ มีความแตกต่างกันในส่วนต่างๆ ค่อนข้างชัดเจน เช่น ลักษณะใบ ลำต้น รวมถึงท่อน้ำเลี้ยงเส้นผ่าศูนย์กลางของกัญชงเล็กกว่ากัญชา เป็นต้น

ส่วนทางด้านองค์ประกอบทางเคมี กัญชา และกัญชง มีสารออกฤทธิ์ที่เหมือนกัน 3 ชนิด คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล, แคนนาบิไดออล และแคนนาบินอล แต่มีปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ "กัญชา" มีปริมาณเตตราไฮโดรแคนนาบินอลมากกว่า กัญชง ส่วน "กัญชง" จะมีปริมาณแคนนาบิไดออลมากกว่ากัญชา

มติชนออนไลน์  8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

6735
ครม.ไฟเขียว 1.1 หมื่นล้านบาทขึ้นเงินเดือน พนักงานมหาวิทยาลัยเท่า ขรก. อธิการฯมหา′′ลัย ใหญ่-เล็ก โอดรับภาระอ่วม

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อเบิกจ่ายเงินปรับเพิ่มคุณวุฒิให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งก่อนวันที่ 1 มกราคม 2555 ให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัย จำนวน 54,801 คน จากมหาวิทยาลัยรัฐ จำนวน 79 แห่ง ซึ่งนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติตามที่ ศธ.เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อเบิกจ่ายเงินปรับเพิ่มคุณวุฒิให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งก่อนวันที่ 1 มกราคม 2555 ให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัย จำนวน 54,801 คน จากมหาวิทยาลัยรัฐ จำนวน 79 แห่ง โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่ 2555 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,792,432,440 บาท ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2556 ขอให้มหาวิทยาลัยใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของมหาวิทยาลัยเบิกจ่ายไปก่อน โดยสำนักงบประมาณจะตั้งงบฯให้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 เป็นต้นไป

นายพงศ์เทพกล่าวต่อว่า สำหรับงบประมาณที่ใช้เบิกจ่ายปี 2555 จำนวน 3,014,836,290 บาท ปี 2556 จำนวน 4,260,969,010 บาท และ ปี 2557 จำนวน 4,516,627,140 บาท แบ่งจัดสรรให้กับมหาวิทยาลัยพนักงานมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ทั้งหมด 10,688 คน ใช้งบประมาณ 2,648,751,120 บาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) จำนวน 4,263 คน ใช้งบประมาณ 1,062,998,880 บาท มหาวิทยาลัยส่วนราชการ จำนวน 19,410 คน ใช้งบประมาณ 5,013,891,610 บาท และมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ 20,440 คน ใช้งบประมาณ 3,102,790,830 บาท

การปรับงบประมาณเพิ่มเติมให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งก่อนวันที่ 1 มกราคม 2555 ครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เหมือนเช่นที่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับการปรับเงินเดือนแรกบรรจุและเงินปรับเพิ่มตามคุณวุฒิ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำระหว่างข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยŽ นายพงศ์เทพกล่าว

นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การที่ ครม.มีมติให้มหาวิทยาลัยเจียดเงินเหลือจ่ายของตนเอง มาเพิ่มเงินเดือนให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยนั้น เข้าใจว่าทุกแห่งคงจะเกิดปัญหาเหมือนกัน แต่ต้องเตรียมวางแผนหางบประมาณมาดำเนินการในส่วนนี้ให้ได้ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับพนักงานมหาวิทยาลัย หลังจากที่รัฐบาลได้เพิ่มเงินเดือนให้กับข้าราชการไปแล้ว พนักงานมหาวิทยาลัยจึงควรจะได้รับเช่นกัน ทั้งนี้ ในส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพนักงานมหาวิทยาลัยประมาณ 2,170 คน ต้องใช้เงินเพื่อมาจ่ายชดเชยให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยในปีงบประมาณ 2556 จำนวน 219 ล้านบาท ซึ่งคงไม่ได้กระทบอะไรมากนัก

ด้าน นพ.นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า มช.มีพนักงานมหาวิทยาลัยประมาณ 2,000 คน คาดว่า ต้องใช้งบจ่ายชดเชยเงินเดือนให้แก่พนักงานกว่า 200 ล้านบาท ถือว่าไม่กระทบมาก แต่ถ้าว่าตามจริงการขึ้นเงินเดือนถือเป็นนโยบายรัฐบาล ดังนั้น หากรัฐบาลเตรียมการอย่างรอบคอบ น่าจะดำเนินการไปได้ดี การที่ ครม.มีมติดังกล่าว ถือว่าผิดคาดเล็กน้อย เดิมมหาวิทยาลัยคิดว่ารัฐบาลจะสามารถหางบฯมาช่วยสนับสนุนได้ ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยต้องแบกภาระเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัยที่จ้างด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

นายนำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยต้องดำเนินการตามมติ ครม. เพราะการปรับเพิ่มเงินเดือนถือเป็นขวัญกำลังใจของพนักงานมหาวิทยาลัย มทร.ธัญบุรี มีพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งหมด 327 คน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยต้องจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน เดือนละ 1.7 ล้านบาท แต่ถ้าปรับเพิ่ม จะเพิ่มเป็นเดือนละ 5 ล้านบาท ซึ่งอัตราที่ปรับใหม่ ดังนี้ ระดับปริญญาตรี สายสนับสนุน เดิม 15,190 บาท เพิ่มเป็น 17,290 บาท ปริญญาโทสายสนับสนุน เดิม 19,860 บาท เพิ่มเป็น 21,320 บาท ปริญญาโท สายวิชาการ เดิม 22,950 บาท เพิ่มเป็น 24,600 บาท ปริญญาเอกสายสนับสนุน เดิม 28,500 บาท เพิ่มเป็น 30,000 บาท บวกเงินเพิ่มพิเศษอีก 5,000 บาท ซึ่งในส่วนของ มทร.ธัญญบุรี ต้องใช้เงินรายได้มหาวิทยาลัยมาจ่าย ซึ่งก็พอมี

"แต่มหาวิทยาลัยที่มีรายได้น้อยอาจมีปัญหาบ้าง เพราะขณะนี้นักศึกษาที่เลือกเรียนที่ มทร.น้อยลง ทำให้มหาวิทยาลัยมีรายได้น้อยลงด้วย อาจเพราะในปัจจุบันเด็กมีทางเลือกมากขึ้น จึงเลือกเรียนที่อื่น ซึ่งมหาวิทยาลัยก็แก้ปัญหาโดยการปรับตัว เน้นเปิดหลักสูตรที่จบไปแล้วหางานทำได้ง่าย เพื่อดึงดูดให้นักเรียนมาสมัครเรียนเพิ่มขึ้น" นายนำยุทธกล่าว

ข่าวหน้า1มติชนรายวัน 8 พ.ค.56

หน้า: 1 ... 447 448 [449] 450 451 ... 653