ผู้เขียน หัวข้อ: ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ-ทำไมจึงต้องทำประชาพิจารณ์(พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา)  (อ่าน 1587 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
ทำไมจึงต้องทำประชาพิจารณ์ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขฯ
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
(สผพท.)

  ในปี 2553มีข่าวใหญ่ในวงการแพทย์ที่ยังไม่เคยเกิดมาก่อนเลยในประเทศไทย คือการที่กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้มารวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นและยาวนาน ในการออกมาให้ความเห็นเพื่อให้มีการทำประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะนำร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

     โดยกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ฯนี้ ได้พยายามทำความเข้าใจกับผู้บริหารประเทศว่า ถ้ามีการตราพระราชบัญญัตินี้ออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว จะเกิดความเสียหายต่อประชาชน ประเทศชาติ และบุคลากรทางการแพทย์อย่างไรบ้าง จึงต้องการให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการทำประชาพิจารณ์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าใจเนื้อหาสาระของร่างพ.ร.บ.คุ้มครองฯเพื่อให้ สามารถออกความเห็นว่า เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.นี้หรือไม่

   โดยกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เหล่านี้ hได้พยายามไปขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวิปรัฐบาล ประธานวิปฝ่ายค้าน สส. สว  เพื่อให้มีการชะลอการนำร่างพ.ร.บ.นี้เข้าสู่ระเบียบวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แต่ขอให้นำร่างพ.ร.บ.นี้ไปทำประชาพิจารณ์ก่อน

  แต่ดูเหมือนว่านายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเอง ก็ยังไม่เข้าใจในเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.นี้ ว่าจะก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ประชาชน ประเทศชาติ และวงการแพทย์และสาธารณสุขอย่างไรบ้าง เพราะนายกรัฐมนตรีก็ยังพูดว่า ในสมัยประชุมสภาคราวหน้าในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ก็จะนำร่างพ.ร.บ.นี้เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรอีกต่อไป     

   ในขณะที่นายจุรินทร์ ฯรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนั้น นอกจากจะไม่รับฟังเสียงทักท้วงของบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังมีความพยายามทุกวิถีทาง ที่จะผลักดันพ.ร.บ.นี้ เข้าสภาฯให้ได้ โดยสั่งการให้นพ.ไพจิตร วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานคณะกรรมการ 4-5 ชุด เพื่อให้ทำการประชุมบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้ลงมติแก้ไขเนื้อหาสาระบางอย่างในพ.ร.บ.นี้ เพื่อจะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯให้ได้ จนนำไปสู่การสรุปผลการประชุมของคณะกรรมการนั้น ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้มีผลต่อการผลักดันให้มีการนำร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับ บริการสาธารณสุข พ.ศ. ....เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรให้ได้

  แต่เดชะบุญที่นายวิทยา แก้วภราดัย ประธานวิปรัฐบาล และสส.ในกลุ่มวิปรัฐบาล (วิปฝ่ายค้าน สส.และสว.อีกหลายคน)ได้หันมารับฟังและเข้าใจในเนื้อหาของพ.ร.บ.นี้ว่า จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน วงการแพทย์และสาธารณสุข ประเทศชาติ และบุคลากรทางการแพทย์อย่างไรบ้าง

   ประธานวิปรัฐบาล จึงได้ขอให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขไปทำประชาพิจารณ์ก่อน แล้วจึงนำผลการทำประชาพิจารณ์นั้น มารายงานวิปรัฐบาลก่อนที่วิปรัฐบาลจะพิจารณานำร่างพ.ร.บ.นี้ มาเข้าพิจารณาในสภาฯต่อไป

   หลักการในการทำประชาพิจารณ์ก็คือ การทำให้ประชาชนเข้าใจในเนื้อหาสาระว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายในการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... นี้จะทำให้เกิดผลกระทบแก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างไรบ้าง เพื่อให้ประชาชนสามารถตัดสินใจเลือก ว่าเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย กับการที่จะมีกฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้ในประเทศไทย

    ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์นั้น ได้ออกทุน ออกแรง ความคิด และเวลา ในการไปทำประชาพิจารณ์ในหมู่บุคลากรสาธารณสุขแล้ว พบว่า บุคลากรสาธารณสุข(รวมอสม.ด้วย) มากกว่า 100,000 คน ที่ไม่เห็นด้วยกับการออกพ.ร.บ.นี้มาบังคับใช้


     ตอนนี้ฝ่ายบุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่ กำลังรอความจริงใจจากผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาล ในการทำประชาพิจารณ์ในหมู่ประชาชนทั่วไป  อย่างกว้างขวาง เปิดเผย ตรงไปตรงมา ตรวจสอบและเชื่อถือได้ ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทย ต้องการให้มีการตราพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... ฉบับร่างของรัฐบาล มาบังคับใช้หรือไม่

    กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จึงเรียกร้องให้รัฐบาลของนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ รับทำประชาพิจารณ์ในหมู่ประชาชนทั่วไป ว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... นี้ จริงหรือไม่
หรือประชาชนต้องการให้รัฐบาล แก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยของประชาชนโ ดยการป้องกันความเสียหายในการไปรับการบริการสาธารณสุขก่อน โดยการ “ปฏิรูประบบการบริการสาธารณสุข” 

    โดยการแก้ปัญหา ที่ดำรงอยู่ในระบบบริการสาธารณสุขของรัฐบาลในปัจจุบันนี้ คือ การแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร อาคารสถานที่ เตียง อุปกรณ์การแพทย์ ยา เวชภัณฑ์ และแก้ปัญหาการชาดเงินงบประมาณในการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ดำรงอยู่ในกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบันนี้

    และแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการไปรับบริการสาธารณสุข ที่ให้ประชาชนแค่ 48 ล้านคนเท่านั้นได้รับการรักษาฟรี แต่ในส่วนของประชาชนที่เป็นลูกจ้างเอกชนต้องจ่ายเงินเอง ในการไปรับบริการสาธารณสุข

    และมีทางเลือกในการแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 เพื่อ ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำแก่ประชาชน ในการได้รับการรักษาฟรีและได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 41 เหมือนๆกันด้วย