ผู้เขียน หัวข้อ: "เจ๊หน่อย" สู้ต่อ เตรียมยื่นหลักฐาน-ขุดหนังสือร้อง อดีต ขรก.สธ. ส่ง ป.ป.ช. กรณี  (อ่าน 1071 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9782
    • ดูรายละเอียด
จากกรณีที่ประชุมวุฒิสภา มีมติ 84 ต่อ 56 เสียง ไม่ถอดถอน นายภักดี โพธิศิริ พ้นจากการเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตามคำร้องของ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ สมาชิกสภาพผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย พร้อม ส.ส.พรรคเพื่อไทย จำนวน 129 คน ยื่นให้วุฒิสภามีมติพ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 248 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

โดย คำร้อง น.อ.อนุดิษฐ์ สืบเนื่องมาจากเมื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน ประธานคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)  ตั้ง นายภักดี เป็น 1 ใน 9 ป.ป.ช.ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 29 แต่นายภักดี กลับไม่ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด จึงกระทำผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช.มาตรา 11 (3) ที่ห้ามกรรมการ ป.ป.ช. ไปมีตำแหน่งใด ๆ ในห้างหุ้นส่วน บริษัทหรือองค์การที่ทำธุรกิจเพื่อมุ่งหากำไร อีกทั้งการที่นายภักดี รับตำแหน่งประธานอนุกรรมการไต่สวนคดีร้องเรียนการทุจริตจัดซื้อคอมพิวเตอร์กระทรวงสาธารณสุขตามมติที่ประชุมใหญ่ ป.ป.ช.ทั้งที่ตัวนายภักดี เคยมีส่วนร่วมในการเสนอโครงการดังกล่าวสมัยรับราชการที่กระทรวง สธ. จึงเป็นสิ่งไม่สมควรและขัดต่อระเบียบ ป.ป.ช.

"คุณหญิงหน่อย" สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ในฐานะพยานฝ่ายผู้ร้อง และเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข( สธ.) ซึ่งมีคดีการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของกระทรวงสาธารณสุขมูลค่า 900 กว่าล้านบาท อยู่ใน ป.ป.ช. ได้เปิดใจกับ "มติชนทีวี" ถึงความเห็นต่อมติที่ประชุมวุฒิสภาในครั้งนี้ และการต่อสู้คดีในอนาคต

"การดำเนินการครั้งนี้ ดิฉันเข้าใจดี ที่ไปเป็นพยาน โอกาสจะมีเสียง ถึง 3 ใน 4 คือ 112 เสียงนั้นยาก เพราะว่าองค์ประชุมบางทีก็อาจจะยังไม่ครบด้วยซ้ำไป แต่สิ่งที่เราทำ พยายามที่จะรักษาองค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช.  ที่ควรจะเป็นหลักให้กับส่วนรวม ในฐานะเป็นองค์กรที่จะขจัดในเรื่องของการทุจริตคอรัปชั่นต่างๆ แล้วก็ควรจะปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงธรรมด้วยวัตถุประสงค์ของทางราชการ ของแผ่นดินเป็นหลัก แต่ ดร.ภักดี โพธิศิริ ที่ถูกกล่าวหานี้ ประธานอนุกรรมการไต่สวนคดีการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของกระทรวงสาธารณสุข และเป็นกรรมการ ป.ป.ช. เราได้นำเสนอ ทำหน้าที่อย่างเต็มที่่แล้ว นำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงที่ให้เห็นว่ามีการกระทำผิดกฎหมายในหลายด้าน หลายขั้นตอน"

"ดิฉันเข้าใจว่าวุฒิสภาถูกแต่งตั้งโดยองค์กรอิสระ โดยเฉพาะจาก ป.ป.ช. ย่อมมีความเกรงอกเกรงใจกัน เราก็เสียดายโอกาสว่า ถ้าวุฒิสภาได้เห็นว่า การดำเนินการนี้จะเป็นการรักษาองค์กรอิสระให้มีความเข้มแข็ง ให้มีความเที่ยงธรรม และเป็นที่เชื่อถือของประชาชนได้ จะเป็นประโยชน์มากกว่าที่จะเลือกปกป้องคนผิดบางคน"

"ที่ไปเป็นพยานให้ในครั้งนี้ ดิฉันตระหนักดีว่า คดีดิฉันที่อยู่ใน ป.ป.ช. ยังคารังคาซังอยู่ แม้ศาลจะมีมติแล้วว่า การยกเลิกถูก แต่ ป.ป.ช. ไม่ยอมหยุด อาจจะเป็นอันตรายกับดิฉันมากขึ้น แต่ดิฉันคิดว่า จำเป็นต้องเอาข้อเท็จจริงออกมา ถ้าเราอยากที่จะรักษาองค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช.

"ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ดิฉันเป็นเสียงหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยจะให้ยุบองค์กรอิสระ ดิฉันอยากให้มีองค์กรอิสระ โดยเฉพาะ ป.ป.ช. ต้องอยู่ แต่ต้องอยู่อย่างมีคุณภาพมากกว่านี้ อย่าให้กรรมการบางคน มาใช้อำนาจของ ป.ป.ช. ในการแสวงหาผลประโยชน์ หรือแสวงหาความต้องการของตัวเอง ดังนั้น ระบบตรวจสอบถ่วงดุลของ ป.ป.ช. ต้องเข้มแข็ง"

"จริงๆแล้ว ต้องขอบคุณวุฒิสภา เพราะว่าระหว่างที่เราต่อสู้ในวุฒิสภา เสนอความจริงออกไปในวุฒิสภา ทำให้ ป.ป.ช. ชุดใหญ่ได้เห็นหลักฐานด้วยเช่นกัน ก็ได้เห็นหลักฐานว่ามันเกิดความไม่เที่ยงธรรมอย่างไรในการที่ดิฉันถูกกระทำ เกิดการกระทำผิดกฎหมายอย่างไร ในที่สุด ป.ป.ช. ชุดใหญ่ก็ได้มีมติให้ ดร. ภักดี ไม่สามารถเข้ามายุ่งเกี่ยวในคดีของดิฉันได้ ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่จะไต่สวนใหม่ ดิฉันก็ยังเชื่ออยู่ลึก ๆ ว่า ป.ป.ช. โดยส่วนใหญ่นั้นจะได้ทำหน้าที่อย่างเที่ยงธรรมเพื่อรักษาองค์กรเอาไว้"

"จากนี้ไปจะดำเนินการคือ
1. ยื่นเรื่องข้อเท็จจริงที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมทั้งหมดให้กรรมการ ป.ป.ช. ชุดใหญ่ เพื่อไต่สวนดิฉันอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่สู้มา 5-6 ปี และไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างที่บอก
2.จะทำหนังสือถึง ป.ป.ช. (ให้ไต่สวนข้าราชการผู้ใหญ่ในกระทรวงสาธารณสุข ตามเคยยื่นเรื่อง) ดิฉันได้เป็นผู้กล่าวหาข้าราชการทุจริตในกรณีนี้ก่อนที่ดิฉันจะถูกกล่าวหา หลังการปฏิวัติ แต่ว่า ป.ป.ช. ไม่เคยหยิบเรื่องมาพิจารณา และการกล่าวหา ดิฉันกล่าวหาข้าราชการระดับสูงที่มีอำนาจในช่วงนั้น เอื้อประโยชน์ให้บริษัทนี้เข้าสู่การประมูลได้ทั้งที่ตกสเป๊ก ถ้าปราศจากการช่วยเหลือของผู้ที่มีอำนาจ บริษัทที่เสนอคุณสมบัติตกสเป๊กไม่มีทางเข้าสู่การประมูลได้"

"ดินฉันต้องต่อสู้เพื่อ 2 ส่วน คือ
1.เพื่อเกียรติภูมิของตัวเอง ดิฉันรับราชการในฐานะนักการเมืองมา 15 ปี และอีก 5 ปีที่ถูกเว้นวรรค รวมแล้วเกือบ 20 ปี ไม่เคยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำทุจริต ไม่เคยถูกสอบ ไม่เคยถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ครั้งนี้เป็นครั้งแรก กับเรื่องที่ไม่ได้ซื้อคอมพิวเตอร์ เงินคืนหลวงหมด ปกป้องผลประโยชน์ประเทศชาติ  คนที่ปกป้องผลประโยชน์ประเทศชาติกลับโดนอย่างนี้ คิดว่าต้องต่อสู้แน่เพื่อเกียรติภูมิตัวเอง"

"2.ดิฉันเป็นคนที่ยกมือให้มี ป.ป.ช. ณ การร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 และวันนี้ ถึงแม้จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ยังยืนยันว่าอยากให้มี ป.ป.ช. แต่ขอให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลเพื่อให้ ป.ป.ช. ทำหน้าที่อย่างเที่ยงธรรม เพื่อประโยชน์ของราชการอย่างเต็มที่ได้ ถึงได้ลุกมาต่อสู้ และคิดว่าเป็นช่วงจังหวะเหมาะที่ต่อสู้ในช่วงนี้"

มติชนออนไลน์  13 มีนาคม พ.ศ. 2555