แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 580 581 [582] 583 584 ... 653
8716
สม​เด็จพระ​เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ​เสด็จฯ ​เป็นองค์ประธาน​ในพิธี​เปิดงานประชุมทางวิชา​การ ​เพื่อ​เฉลิมพระ​เกียรติพระบาทสม​เด็จพระ​เจ้าอยู่หัวฯ ​เนื่อง​ใน​โอกาสพระราชพิธีมหามงคล​เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5ธันวาคม 2554 ​โดย​เครือบริษัท กรุง​เทพดุสิต​เวช​การ จำกัด ( มหาชน) ประกอบด้วย 5 ​โรงพยาบาล​เอกชนชั้นนำของ​เมือง​ไทย ​ได้​แก่ ​โรงพยาบาลกรุง​เทพ ​โรงพยาบาลสมิติ​เวช ​โรงพยาบาล​เปา​โล ​โรงพยาบาลพญา​ไท ​และ​โรงพยาบาลบี​เอ็น​เอช ผนึกกำลังจัดขึ้น ​เพื่อส่ง​เสริม​ให้​เกิด​การพัฒนา​และ​แลก​เปลี่ยน​ความรู้ทางด้านวิชา​การอย่างต่อ​เนื่อง​ในวง​การ​แพทย์​และบุคลากรทางด้าน​การ​แพทย์ทุกสาขาวิชา ​ซึ่งส่งผล​โดยตรงต่อ​การดู​แล​ผู้ป่วย​และส่ง​เสริมสุขอนามัยของประชาชน​ให้ดียิ่งๆขึ้น​ไป ​เมื่อวันที่ 22 กันยายน ที่ผ่านมา ณ อาคาร​เฉลิมพระบารมี ​แพทยสมาคม​แห่งประ​เทศ​ไทย ซอยศูนย์วิจัย

ภาย​ในงาน ศาสตราจารย์​เกียรติคุณ นาย​แพทย์​เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ​ได้​ให้​เกียรติมา​แสดงปาฐกถาพิ​เศษ​ในหัวข้อ “ พระบาทสม​เด็จพระ​เจ้าอยู่หัวกับ​การพัฒนาด้าน​การ​แพทย์​และ​การสาธารณสุข” ​เพื่อระลึก​ถึงพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์​ไทยที่​ได้ทรงมีคุณูป​การต่อวง​การ​แพทย์​ไทยอย่างต่อ​เนื่องมาตั้ง​แต่อดีตจน​ถึงปัจจุบัน ​โดย​เฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสม​เด็จพระ​เจ้าอยู่หัว​ซึ่งทรงบำ​เพ็ญพระราชกิจ​เป็นอ​เนกประ​การ ​ทั้ง​ในด้าน​การ​แพทย์ ​การสาธารณสุข ​และพระราชกรณียกิจน้อย​ใหญ่ที่​เกื้อกูลส่ง​เสริมกิจ​การ​ทั้งปวง อัน​เกี่ยวกับ​การพัฒนาสุขภาพอนามัยประชาชน ​ซึ่งยังประ​โยชน์มหาศาล​แก่ปวงชนชาว​ไทยทุกหมู่​เหล่า ​ซึ่งนาย​แพทย์​เกษม​ได้กล่าว​โดยสรุป​ไว้อย่างน่าสน​ใจว่า

“ ​ในสมัยพระ​เจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันตั้ง​แต่ปี 2489 ​เมื่อ​เข้าสู่พระบรมราชาภิ​เษก​เมื่อ 5 พฤษภาคม 2493 หลังจากนั้นทรงพระราชทาน​โครง​การตาม​แนวพระราชดำรินับพัน​โครง​การ ถ้า​ได้พิจารณา​โครง​การพระราชดำริ​เหล่านั้นอย่างถ่อง​แท้ ​โดยดูคราวละ 10 ปี ที่พระองค์ท่านครองราชย์ จน​ถึงปัจจุบัน ​เราจะ​เห็นวิวัฒนา​การทางด้าน​การ​แพทย์​และสาธารณสุขที่สำคัญยิ่ง พระองค์ท่านจะค่อยๆ ทรง​ทำทีละขั้น

​เรื่อง​แรกที่พระองค์ท่านทรง​ให้​ความสำคัญคือ ​เรื่อง​โรคระบาด ​เช่น อหิวตก​โรค ​โรค​เรื้อน วัณ​โรค ​โปลิ​โอ ฯลฯ ทรงทุ่ม​เท​และสนับสนุนอย่างมาก​เพื่อหาวิธี​การป้องกันรักษา​ให้​โรค​เหล่านี้หาย​ไปจากประ​เทศ​ไทย ​เป็นต้นว่า ​โปรด​เกล้าฯ ​ให้มี​การ​แต่งตั้งหน่วย​แพทย์​เพื่อ​ให้บริ​การรักษาประชาชน​ในถิ่นทุรกันดาร ​โดยมี​ทั้งหน่วย​แพทย์พระราชทานทั่ว​ไป​และหน่วย​แพทย์​เฉพาะทาง ​และทรงรับคน​ไข้ที่ป่วยหนัก​ไว้​ในพระบรมราชานุ​เคราะห์ ​โดยจะมอบหมาย​ให้หน่วยงานหนึ่ง​ในวังสวนจิตรลดา ​เป็น​ผู้​ให้​การดู​แลคน​ไข้​เหล่านี้​ทั้งประ​เทศ ​และขอพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระบาทสม​เด็จพระ​เจ้าอยู่หัวมา​ใช้​ใน​การรักษาพยาบาล

สำหรับ หน่วย​แพทย์​เคลื่อนที่ของบ้าน​เรา​เกิดขึ้นครั้ง​แรก​โดยสม​เด็จย่าของพระ​เจ้าอยู่หัว คือสม​เด็จพระพันวสาอัยยิกา​เจ้า วังสระปทุม พระราชมารดาของสม​เด็จพระบรมราชชนก ​เมื่อทรงพระประชวร หมอฝรั่ง​ได้​แนะนำ​ให้พระองค์ท่าน​ไปตากอากาศที่​เกาะสีชัง รัชกาลที่ 5 ​จึงทรง​ไปสร้างพระตำหนัก​ไว้​ให้ ระหว่างที่ทรงประทับอยู่ที่นั่นทรง​เห็นชาวบ้าน​แถวจังหวัดชลบุรีลำบากอย่างมาก​โดย​เฉพาะ​เวลา​เจ็บป่วย พระองค์ท่าน​จึงทรง​ให้จัดหมอนั่ง​เกวียนพร้อมด้วย​เวชภัณฑ์ออกตระ​เวน​ไปตามหมู่บ้าน​เพื่อ​ให้​การรักษาชาวบ้าน ​จึงอาจกล่าว​ได้ว่า​เป็น​โมบาย ยูนิค ยุค​แรกของ​เมือง​ไทย ภายหลัง​จึง​โปรด​เกล้าฯ ​ให้ตั้ง​โรงพยาบาลขึ้นมีชื่อ​เรียกอย่าง​เป็นทาง​การว่า “ ​โรงพยาบาลสม​เด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชชนนี พระพันวัสสา ณ ศรีราชา” ​แต่​เรามักจะ​เรียกกันสั้นๆ ว่า “ ​โรงพยาบาลสม​เด็จ ณ ศรีราชา” หลังจากนั้นสม​เด็จย่า​ก็​ได้ทรงก่อตั้งหน่วย​แพทย์ พอ.สว. สม​เด็จพระบรมราชชนก​เสด็จฯ​ไปทรงงานที่​โรงพยาบาล​แมคคอมิค​เชียง​ใหม่ หากจะกล่าว​โดยสรุปคือสายราชสกุลของพระบาทสม​เด็จพระ​เจ้าอยู่หัว มี​เป้าหมายที่ชัด​เจน​ใน​เรื่อง​การ​แพทย์​เพื่อพระราชทาน​แก่ราษฎรที่อยู่​ในถิ่นทุรกันดาร นั่น​เอง

นอกจากนี้ยังทรงสนับสนุนด้าน​การศึกษา ด้าน​การค้นคว้าวิจัยทางด้าน​การ​แพทย์ ​โดย​การตั้งมูลนิธิอนันทมหิดลขึ้น​เมื่อปี 2498 อาจารย์หมอจรัส สุวรรณ​เวลา ​เป็นนัก​เรียนทุนพระราชทานคน​แรก อาจารย์หมอประ​เวศ วสี ​เป็นคนที่ 2 ​แม้กระทั่ง​เครื่องมือทางด้าน​การ​แพทย์ที่​ใช้สำหรับรักษา​โรค​เรื้อน วัณ​โรค ​โปลิ​โอ อหิวตก​โรค ​การจัดตั้งมูลนิธิวิจัย​โรคประสาท​และอื่นๆ ล้วนตั้งขึ้นจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ นอกจากนี้ยังพระราชทานพระราชทรัพย์​ให้สภากาชาดสร้าง “อาคารมหิดลวงศานุสรณ์” ​เพื่อ​ใช้สำหรับผลิตวัคซีน VCG ​ใช้ฉีดป้องกันวัณ​โรคตั้ง​แต่ ปี 2496 ​แล้ว​เด็ก​ไทยรวม​ทั้งพวก​เราทุกคน ​ก็​ได้รับวัคซีนป้องกันวัณ​โรคตั้ง​แต่นั้น​เป็นต้นมา

ยังมี​โครง​การอีก​เป็นจำนวนมากที่พระบาทสม​เด็จพระ​เจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน​แก่พสกนิกรของพระองค์ ​เพื่อช่วย​ให้​เข้า​ถึง​การรักษาพยาบาลอย่างถูกวิธี​โดยทั่ว​ถึงกัน พระองค์ท่าน​จึง​เป็น​แรงบันดาล​ใจ​ให้กับหมอ พยาบาลอีก​เป็นจำนวนมากที่ต้อง​การอุทิศชีวิต​ให้กับวง​การ​แพทย์​เพื่อ​เจริญรอยตาม​แนวพระราชดำริสืบต่อ​ไป​ในอนาคต

​แนวหน้า 28 กันยายน 2554

8717
วันที่ 27 กันยายน  2554    เวลา 09.00 น.  มีการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ  ชั้น 2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล     โดยมีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  นายกรัฐมนตรี  เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี    โดยวาระสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ เรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย

ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ในส่วนการแต่งตั้งโยกย้าย  ทุกตำแหน่ง มีดังนี้

1. เรื่อง  ขออนุมัติแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อีกตำแหน่งหนึ่ง (กระทรวงยุติธรรม)
 
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งพลตำรวจเอก อดุลย์  แสงสิงแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม อีกตำแหน่งหนึ่ง มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป

2. เรื่อง  แต่งตั้งข้าราชการ (สำนักงาน ก.พ.)
   
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอแต่งตั้งนายวิสูตร  ประสิทธิ์ศิริวงศ์ ที่ปรึกษาระบบราชการ   (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) ให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ ก.พ. (นักบริหารสูง) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นวันที่ตำแหน่งว่างลง เนื่องจากผู้ครองตำแหน่งจะเกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

3. เรื่อง  ขออนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
 
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย ดังนี้
  1. นายเสกสรร  นาควงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
  2. นางแสงจันทร์  วรสุมันต์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพลศึกษา
   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

 4. เรื่อง  แต่งตั้งรองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นักบริหารสูง) (สำนักนายกรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอแต่งตั้ง นางสุพรรณี  ไพรัชเวทย์ ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ (นักพัฒนาระบบราชการทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ.ร. ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.พ.ร. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

5. เรื่อง  แต่งตั้งผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (สำนักนายกรัฐมนตรี)
 
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแต่งตั้ง นายนิพนธ์  ฮะกีมี กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป   

6. เรื่อง  แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข)
 
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 จำนวน 9 ราย ดังนี้
   1. นายพรเทพ  ศิริวนารังสรรค์ รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง กรมควบคุมโรค
   2. นายณรงค์  สหเมธาพัฒน์ รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง กรมสุขภาพจิต
   3. นายอภิชัย  มงคล อธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง กรมสุขภาพจิต ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
   4. นางวิลาวัณย์  จึงประเสริฐ อธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง
กรมการแพทย์
  5. นายสุพรรณ  ศรีธรรมมา ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
   6. นายนิทัศน์  รายยวา ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
   7. นายโสภณ  เมฆธน ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
   8. นายสมชัย  นิจพานิช สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์) ประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
   9. นายบุญชัย  สมบูรณ์สุข ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับสูง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

7. เรื่อง  การโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง)
 
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอรับโอน นายวิเชียร  ชวลิต ปลัดกระทรวงมหาดไทย (นักบริหารระดับสูง) กระทรวงมหาดไทย มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี แทนผู้เกษียณอายุราชการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม  2554 โดยให้กำหนดชื่อในสายงานตามตัวบุคคลผู้ได้รับการแต่งตั้ง  โดยยังคงตำแหน่งในสายงานเดิมและให้ผู้ได้รับแต่งตั้งได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และสิทธิประโยชน์อื่นที่ได้รับอยู่เดิม ทั้งนี้ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว  ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป 

 8. เรื่อง  แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง กระทรวงมหาดไทย 

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งนายพระนาย  สุวรรณรัฐ รองปลัดกระทรวง       (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย ขึ้นดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

9. เรื่อง แต่งตั้งรองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
 
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอแต่งตั้ง นายสังเวียน บุญโต ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ฝ่ายบริหาร (นักบริหาร 10) และแต่งตั้ง นายสกล  วรรณพงษ์ ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ฝ่ายกีฬาอาชีพและสิทธิประโยชน์ (นักบริหาร 10) ตามมติคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5/2554 วันที่ 15 กันยายน 2554 ซึ่งเป็นไปตาม พรบ. การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 (มาตรา 21) และ พรบ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (มาตรา 9) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่        1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป   

10. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) 

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวม 4 ราย ดังนี้
  1. นายวิจักร  อากัปกริยา รองอธิบดี (นักบริหารต้น) กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
   2. นายเกรียงศักดิ์  หงษ์โต รองอธิบดี (นักบริหารต้น) กรมพัฒนาที่ดิน ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
   3. นายวีระชัย  นาควิบูลย์วงศ์ รองเลขาธิการ (นักบริหารต้น) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
   4. นายชัยฤทธิ์  ดำรงเกียรติ รองอธิบดี (นักบริหารต้น) กรมการข้าว ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป   

11. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงวัฒนธรรม) 

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ดังนี้
   1. นายอภินันท์  โปษยานนท์ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
   2. นายปรีชา  กันธิยะ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการศาสนา
  3. นางปริศนา  พงษ์ทัดศิริกุล ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
  4. นายชาย  นครชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป 

12. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอแต่งตั้ง นายสุทธิเวช  ต. แสงจันทร์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป 

13. เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
 
คณะรัฐมนตรีอนุมัติมอบหมายให้บุคคลเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตามลำดับ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ดังนี้ 1. ร้อยตำรวจเอก เฉลิม  อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี        2. นายปรีชา  เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้ครอบคลุมถึงกรณีไม่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมด้วย   

14. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการคลัง)
 
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอโอนและย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย ดังนี้
   1. ย้าย นายมนัส  แจ่มเวหา ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง
   2. โอน นางสาวจุฬารัตน์  สุธีธร ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง
   3. โอน นายช.นันท์  เพ็ชญไพศิษฏ์ ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพากร ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง
   4. โอน นายกุลิศ  สมบัติศิริ ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ (นักวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง
  ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

15. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงแรงงาน)
 
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงแรงงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ดังนี้
   1. นายประวิทย์  เคียงผล รองอธิบดีกรมการจัดหางาน ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการจัดหางาน
   2. นายประพันธ์  มนทการติวงศ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
   3. นายอาทิตย์  อิสโม ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  4. นายจีรศักดิ์  สุคนธชาติ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม
   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

16. เรื่อง  แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ) 

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 11 ราย ดังนี้
  1. นายอภิชาติ  จีระวุฒิ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
   2. นางสาวศศิธารา  พิชัยชาญณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
  3. นายประเสริฐ  บุญเรือง เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย     (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
    4. นายพิษณุ  ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย     (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
  5. นายอกนิษฐ์  คลังแสง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
   6. นายวิมล  จำนงบุตร รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
   7. นายสมบัติ  แสงสว่างสัจกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
   8. นางสุทธศรี  วงษ์สมาน รองเลขาธิการสภาการศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
   9. นางสาวจิรพรรณ  ปุณเกษม ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาการศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
   10. นางวราภรณ์  สีหนาท ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
   11. นางเบญจลักษณ์  น้ำฟ้า ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
   ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

 17. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงพลังงาน)
 
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง นายศิริศักด์  วิทยอุดม ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพลังงาน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
 
18. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงแรงงาน)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง นางอำมร เชาวลิต ผู้อำนวยการสำนักตรวจและประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน (นักวิชาการแรงงานทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่  7 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

19. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ จำนวน 5 คน ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาแล้ว  ดังนี้ 1. นายโสภณ  จันเทรมะ เป็นประธานกรรมการ  2. นายกนก  พรรณรักษา เป็นกรรมการ 3. นายถวิล  อินทรักษา เป็นกรรมการ    4. นายประสิทธิ์  แสนศิริ เป็นกรรมการ 5. นายปรีชา  จำปารัตน์ เป็นกรรมการ 

20. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
 
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอแต่งตั้งนายเจษฎา  ประกอบทรัพย์ ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลเชี่ยวชาญ) สำนักงาน ก.พ. ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป 

21. เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 5 คณะ
 
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 171/2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 5 คณะ ดังนี้
   1. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 (ฝ่ายความมั่นคงและโครงสร้างพื้นฐาน) รองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ  วิชัยดิษฐ) เป็นประธานกรรมการ โดยมีเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นเลขานุการ ติดตามเร่งรัดการดำเนินการนโยบายเร่งด่วน 

2. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 (ฝ่ายกระบวนการยุติธรรม กฎหมาย แรงงาน และประชาสัมพันธ์) รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยตำรวจเอก เฉลิม  อยู่บำรุง) เป็นประธานกรรมการ โดยมีเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นเลขานุการ ติดตามเร่งรัดการดำเนินการนโยบายเร่งด่วน

 3. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 (ฝ่ายสังคม) รองนายกรัฐมนตรี(พลตำรวจเอก โกวิท  วัฒนะ) เป็นประธานกรรมการ โดยมีเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นเลขานุการ ติดตามเร่งรัดการดำเนินการนโยบายเร่งด่วน       

4. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) เป็นประธานกรรมการ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเลขานุการ ติดตามเร่งรัดการดำเนินการนโยบายเร่งด่วน

5. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 (ฝ่ายการเกษตร และการท่องเที่ยว) รองนายกรัฐมนตรี (นายชุมพล  ศิลปอาชา) เป็นประธานกรรมการ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเลขานุการ ติดตามเร่งรัดการดำเนินการนโยบายเร่งด่วน
     
  22. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระในคณะกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
 
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอแต่งตั้งให้นางพันธ์ทิพย์  สุรทิณฑ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน การบัญชีและงบประมาณ การตรวจสอบประเมินผล และการบริหารความเสี่ยงในคณะกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2554 เป็นต้นไป

23. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
 
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งนายณรงค์ชัย  อัครเศรณี เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารธุรกิจในคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) แทนนายดุสิต  นนทะนาคร ที่ถึงแก่กรรม 

24. เรื่อง  แต่งตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาลในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 18
 
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาลในคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 18 แทนตำแหน่งที่ว่างคือ นายบุญนริศร์  สุวรรณพูล แทนนางพิมพาพรรณ  ชาญศิลป์ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการที่แทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2554 เป็นต้นไป
 
25. เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
 
คณะรัฐมนตรีอนุมัติมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท  วัฒนะ) เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้  และไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข  หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ

มติชนออนไลน์ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

8719
ความคิดเห็นที่ 9    
   ผู้บริหารกระทรวงน่าจะลงไปดูบ้างนะ ผอ. รพ ส่วนใหญ่ไม่เคยตรวจคนไข้ ประชุมอย่างเดียว เงินเดือนสูงมากๆๆ ทิ้งให้หมอจบใหม่ทำงานในร.พ คนเดียว รับผิดชอบทุกอย่างในร.พคนเดียว เวลามีปัญหากับคนไข้ก็ไม่เคยช่วยเหลือ หนีเอาตัวรอด เรื่องเงินไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่ปัญหาอยู่ที่ผู้บริหารร.พ กับคนไข้นี่แหละที่ทำให้หมอจบใหม่ลาออกกันเยอะ ลงมาดูกันบ้างอย่าแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
จริง
...................................................   
ความคิดเห็นที่ 54    
   อ่านเจอในเว็บ Thaicininc.com อ่านแล้วโดนใจมาก
คิดว่า น่าจะแทนความในใจของหมออีกจำนวนมากมายในเมืองไทย
จึงถือวิสาสะ copy มาให้อ่านกันครับ....

วันนี้กลับมาจากประชุมที่ต่างจังหวัด เจอจดหมายในตู้ฉบับนี้
อ่านแล้วเกิดความรู้สึกบางอย่าง
เลยฝากมาให้ชาว tcc ลองอ่านดูนะครับ..

จดหมายจากน้อง ผอ.รพ.ชุมชน ใน จังหวัด น. คร๊าบ

**********************************************
สิ่งมีชีวิตในดินแดนที่ขาดแคลน(แพทย์)
***********************************************

หนูจบแพทย์ปี 50 จากมหาวิทยาลัยนเรศวร กลับมาใช้ทุนรพ น. 1 ปี เป็นการใช้ทุนที่เหนื่อยมาก ไม่ได้พักผ่อน ไม่ได้ไปไหน ไม่เคยมีใครได้ไปเที่ยวต่างจังหวัด แค่กลับบ้านได้ก็ดีมากแล้ว ทุกวันทำงานเป็นเครื่องจักร กิน นอน อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน สระผม ไดร์ผม แต่งหน้า เปลี่ยนเสื้อผ้า โทรศัพท์คุยกับครอบครัว ชาร์ทแบตมือถือ ดูทีวี ทำกับข้าว ทั้งหมดนี้ทำที่ห้องพักแพทย์

เหมือนเป็นบ้านหลังที่หนึ่ง ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบและต้องตื่นตัวตลอด อยู่ OT ไม่ต่ำกว่า 30 เวรต่อเดือน (เวรละ 8 ชม ) มีชีวิตอยู่ที่ห้องพักแพทย์ 90 % ของเวลาในชีวิต ทำงานทุกวันเพื่อคนอื่น แต่ไม่เคยได้ดูแลตัวเอง ไม่ได้ทำกิจกรรมที่มนุษย์คนอื่นเขาทำกัน

คำถามที่หมอ intern 1 มีขึ้นทุกคนคือ ทำไมฉันถึงมีชีวิตแบบนี้ คำตอบที่เป็นมาตลอดหลายปีของจังหวัด น. คือหมอไม่พอ ทำไมมันถึงไม่พอสักที ทำไมหมอที่มาturn จังหวัด น. ถึงไม่อยู่จังหวัด น. บางคนขอทุนแล้วไม่กลับมาใช้ทุน ทำไม?

หลังจากทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยตลอด 1 ปี มีความทรงจำว่า ได้ทำงานหนักเหนื่อยมากจริงๆ แต่เราต้องอดทน (แพทย์ถูกสอนมาให้เป็นหมอต้องมีความรับผิดชอบและหมอต้องอดทน) ทำงานที่หนัก เสี่ยงถูกฟ้อง แต่ได้ค่าแรงน้อยกว่าแรงงานขั้นต่ำ แม้ทำงานในจังหวัด น.แต่จำนวนการกลับบ้านเหมือนทำงานอยู่ต่างจังหวัดอันแสนไกล

แต่ข้อดีของ รพ.น.ก็มีหลายอย่าง รพ.น.ได้ความรู้ ให้ทักษะ ความมั่นใจ ในการดูแลคนไข้ในรพช มี staff ที่สนิทสนมกับน้องๆดี สามารถให้คำปรึกษาได้โดยไม่กลัว(มาก) สามารถปรึกษาได้ง่าย ได้ตลอด เมื่อมีคำถามที่สงสัย

พี่staff จะสอนให้อย่างดี ติดตามcase ที่ดูแลร่วมกัน เมื่อเกิดความผิดพลาดพี่staff จะ feedback กลับมาว่าควรทำอย่างไร เป็นประโยชนทำให้ไม่ทำพลาดอีก ที่เราเจอกันง่ายขนาดนี้เพราะส่วนใหญ่staff และน้องๆจะเจอกันในห้องพักแพทย์ กินข้าวเที่ยงด้วยกัน นอนในห้องพักแพทย์เดียวกัน

ข้อดีอีกข้อคือ หมอในจังหวัด น.จะรู้จักกันหมด เมื่อน้องใหม่เข้ามาจะได้รับความสนใจจากพี่ๆ มีกิจกรรมเข้าค่ายรับน้อง 1 เดือน ทำให้พี่ๆได้มีโอกาสรู้จักน้องๆ รู้จักนิสัยของน้องแต่ละคนมากขึ้น พี่ส่วนใหญ่ รวมทั้ง staff จะรู้จักชื่อเล่นของน้อง และเรียกชื่อเล่นของน้อง ทำให้ลักษณะของหมอเมือง น. มีความเป็นพี่เป็นน้องกัน

ซึ่งเป็นเหตุผลที่ดีอันหนึ่งที่ทำให้ intern 1 น้อยๆ มีชีวิตต่อไปเป็น intern 2 ในอนาคต

หลังจากชีวิต intern 1 ผ่านไป โดยไม่มีความทรงจำอื่นใด นอกจากการมีชีวิตในห้องพักแพทย์และอาณาเขตรพ น. การเริ่มต้นของ intern 2 ในรพชเริ่มขึ้นโดยการเป็นผู้อำนวยการ รพ 30 เตียง ซึ่งเป็นธรรมชาติของจังหวัด น.ที่จะมีหมอ intern เป็นผู้อำนวยการ 8 ใน 12 รพของจังหวัด น.

โดยทั่วไปรพ 30 เตียง ต้องมีแพทย์ประจำ 2-3 คน แต่ปีนี้มีแพทย์ประจำ 1.5 คน ความลำบากของหมอน้อยและหมอใหญ่ที่อยู่ในคนเดียวกันก็ค่อยๆมีมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากการเป็นผู้อำนวยการ ที่มีงานบริหารมากมาย มีงานที่ต้องตัดสินใจ เป็นงานที่ต้องใช้ประสบการณ์ และความมีอาวุโส ซึ่งหมอน้อยไม่มี ไม่ได้มีการเรียนการสอนมาก่อน

แต่งานในรพจะต้องดำเนินต่อไป ผลักดันให้หมอน้อยต้องก้าวไปข้างหน้าให้ได้ ส่งผลให้เกิดความเครียด รู้สึกว่าทำคนเดียวไม่ไหว ไม่รู้จะไปทางไหน ทั้งที่ปัญหาการบริหารยังไม่จบก็มีปัญหาใหม่ คำตอบเดิมคือหมอไม่พอ

ทำให้ 6 เดือน ต้องทำงานทั้งบริหารและบริการอยู่คนเดียว Round ward คนเดียว , ออก OPDคนเดียว , ดูแลห้องคลอด คนเดียว , ANC ตรวจ US ฝากครรภ์ คนเดียว , ดูแลcase ฉุกเฉินใน ER คนเดียว ,ทำหัตถการ OR minor คนเดียว, ทำหมัน คนเดียว , ขูดมดลูก คนเดียว ดูแลงานคุณภาพ รวมทั้งดูแลการบริหารด้วยในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีปัญหามากมายซึ่งคนที่ไม่เคยเป็นผู้อำนวยการไม่สามารถที่จะเข้ าใจได้

ปัญหามากมายนี้เคยมีคนหนึ่งพูดว่า ปัญหาเหล่านี้เป็นเพราะเราสร้างขึ้นมาเหรอ ทำไมคนที่รับภาระปัญหาต้องเป็นเรา ทำไมเราต้องรับปัญหาโดยที่เราไม่ได้เป็นผู้สร้างด้วย เหมือนหาเรื่องใส่ตัว ไม่รู้จะทนไปเพื่ออะไร เพื่อใคร ทำไมจะต้องทนอยู่กับปัญหาที่เราไม่ได้เป็นคนก่อ ปัญหาอยู่ที่ระบบเหรอ

แล้วระบบคืออะไร คือใคร หน้าตาเป็นยังไง เมื่อไหร่ระบบจะไม่มีปัญหาสักที เมื่อไม่มีคำตอบที่ดี เมื่อไม่มีทางออกอื่น ทางออกอีกทางคือลาออก ไม่ต้องรับภาระนี้อีกต่อไป ไปทำงานที่อยากทำ ไปทำงานที่อื่นที่จะไม่อยู่ในสภาวะเช่นนี้ เป็นคำตอบที่ตรงประเด็นที่สุด จึงไม่น่าแปลกใจที่หมอจะลาออก หรือใช้ทุนแล้วก็จากไป หมอก็เป็นอีกคนหนึ่งที่คิดจะลาออก เพราะเราเหนื่อยแทบตายจากงานบริหารและบริการ เครียดจนเสียสุขภาพจิตที่ต้องทำงานทุกอย่างคนเดียว อยู่เวรทุกวันเป็นเดือน อดหลับอดนอนจนเสียสุขภาพกาย ไม่รู้ทำไปมากมายขนาดนี้เพื่ออะไร

ทุกวันนี้ทำงานเหนื่อยเพื่อคนอื่นที่ไม่ใช่คนรู้จัก ไม่ใช่พี่น้อง ไม่ใช่ญาติ แต่คนเหล่านั้นยังคิดที่จะฟ้องเรา ยังคิดกับเราในแง่ร้าย ยังคิดที่จะต่อว่าเรา ว่าหมอทำไมไม่ทำอย่างนั้น ทำไมไม่ทำอย่างนี้ ซึ่งความจริงแล้ว

ไม่มีหมอคนไหนอยากให้คนไข้ได้รับความเสียหายจากการรักษา ไม่อยากให้คนไข้ได้รับอันตรายใดๆ แต่มันย่อมเกิดความผิดพลาดได้ ซึ่งผู้ป่วยปัจจุบันไม่ยอมรับและโทษว่าความผิดพลาดที่เกิดนั้นเกิดจากหมอทำ ทำให้หมอรู้สึกว่าทำดีเสมอตัว ถ้าทำพลาดมีโอกาสติดคุก

นโยบายในปัจจุบันให้แต่สิทธิ คนไข้รู้แต่ว่าตนมีสิทธิอะไรบ้าง สามารถฟ้องหมอได้ แต่ไม่เคยรู้หน้าที่ของตนเอง ไม่เคยตระหนักอยากจะจำโรคของตัวเอง ไม่ตระหนักจะจำชื่อยาที่แพ้ ไม่เคยตระหนักจะศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคของตนว่าจะดำเนินไปเช่นไร รู้แต่ว่าตนเองมีสิทธิจะไปรพไหนก็ได้

อยากจะได้ใบส่งตัวไปรพจังหวัดหรือรพศูนย์ มีสิทธิจะได้รับการตรวจที่ครบถ้วนทุกๆอย่าง มีสิทธิจะนอนรพได้ ถ้าหมอไม่ให้ตามนั้น ก็แปลว่าหมอทำผิด ถ้าคิดว่าหมอผิดก็ฟ้องหมอได้เลย ซึ่งหมอก็ลำบากใจ เพราะต้องการใช้เงินที่ได้มาน้อยนิดอย่างคุ้มค่าแต่ก็ต้องตามใจคนไข้ ทำให้หมอเครียด ถ้าให้ตามที่ขอทุกอย่างรพก็จะไม่มีเงิน

ถ้าไม่ให้ตามนั้นหมอก็ผิด ส่งผลทำให้หมอ รพช เกิดความเบื่อหน่าย ไม่มีความสุข ต้องการออกจากวงจรนี้ ปัญหาทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในใจของหมอทุกวัน หมอพยายามทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

เหนื่อยแต่ก็อดทน แต่ถ้าเหนื่อยเกินไป ก็คงจะทนต่อไปไม่ไหว

อาจจะจำใจลาออกในสักวันทั้งที่ไม่อยากทำ....

ความในใจ...หมอน้อยที่ รพช. จังหวัด น

ขอบคุณที่อ่านจนจบ
ความในใจของหมอน้อยคนหนึ่ง
.........................................................................   
ความคิดเห็นที่ 15    
   คนไทยมองอาชีพหมอมีเกียรติสูงกว่าอาชีพอื่น
แต่จริงๆ แล้ว เกียรติไม่ได้อยู่ที่อาชีพ แต่มันอยู่ที่จิตใจคน
คนอาชีพไหนๆ ขอให้ทุ่มเท ซื่อสัตย์ สุจริต ก็มีเกียรติในอาชีพได้

อย่ายกย่องอาชีพหมอ แต่ให้ยกย่องที่คนเป็นหมอที่ทำหน้าที่หมออย่างทุ่มเท ซื่อสัตย์ สุจริต
ผ่านมา
...................................................................   
ความคิดเห็นที่ 4    
   มันไม่ได้อยู่ที่เงินหรือมีชื่อเสียง ลองไปถามหมอที่จบใหม่สิ ถึงแม้จะเพิ่มเงินให้มากขึ้นก็ไม่ทำให้หมอไม่ลาออก อญุ่ที่ระบบของร.พนั้นๆ หมอจบเฉพาะทางทำงานสบายๆ ตรวจคนไข้น้อยมาก หมอจบใหม่โดนส่งไปครวจคนไข้นอกทั้งวันทั้งคืน อยู่เวรอีกทำงานจนไม่ได้พักผ่อน ผิดพลาดมาเสี่ยงกับการโดนฟ้อง ผู้บริหาร ร.พ เองก็ทำแต่งานบริหารกับประชุมอย่างเดียว มันอยู่ที่การเอาเปรียบหมอจบใหม่กับการที่ผู้อำนวยการ ร.พไม่สนใจ เวลาหมอมีปัญหากับคนไข้ ผ.อ ห่วยๆบางคนเชียร์ให้คนไข้ฟ้องหมอจบใหม่เสียเอง วิธีแก้คือต้องลงไปดูสิว่าผู้บริหาร ร.พคนไหนที่มีปัญหาควรย้ายให้หมด หมอลาออกส่วนใหญ่เพราะไม่มีกำลังใจในการทำงานต่างหาก

.................................................................   
ความคิดเห็นที่ 2    
   ความจริงแล้ว ถามก่อนครับ ว่าเรียนแพทย์แล้ว อยากเป็นแพทย์จริงหรือเปล่า ก็เปล่า บางคน แค่พ่อแม่เป็นหมอ เงินดี ก็ให้ลูกเรียนหมอ เอาเงิรรัฐไปอุดหนุน จบมา ไปเป็นนักร้อง ไปเป็นดารา แค่อยากมีเงิน มีชื่อเสียง ไม่มีจิตวิญญาณ คนที่อยากเรียนแพทย์จริงๆ แล้วได้เรียนแพทย์ จะมีสักกี่คน นอกเสียจากช้างเผือกจริง ๆ สอบโควต้าเข้า พอจบ ไปทำงานชนบท ลำบากหน่อย ก็ทนไม่ได้ เปิดคลินิก หาเงินก้อนไม่นาน ก็จ่ายเงินคืนได้แล้ว วังวนมันเป็นอย่างนี้ จะแก้ตรงไหน ก็ไปคิดดู การศึกษา ไม่ได้เพื่อสังคม แต่เพื่อตนเอง ก็คิดเสียแต่ว่า ทำไมล่ะ เงินก็เงินเรา ส่งเสียตัวเองเรียน พอจบแล้วยังไงล่ะ ทำไมจะต้องทำเพื่อคนอื่น อันนี้เรียกว่าเห็นแก่ตัว หารู้ไม่ว่าเงินรัฐอุดหนุนไปเท่าไหร่ ค่าเรียนแพทย์ต่อหัวมันเท่าไหร่ อันนี้ไม่คิด ก็อยากให้ผู้ที่เป้นบัณฑิตแพทย์ ได้คิด ตรึกตรองดู ว่าจะอยู่อย่างมีเงิน แต่ไร้เกียรติภูมิ หรือจะอยู่อย่างมีเกียรติ ให้สมกับที่ได้เรียนมา จากสถาบันอันทรงเกียรติ และให้รักษาศักดิ์ และสิทธิ์ แห่งปริญญา และจบมารับใช้ประชาชน ดังที่ได้ให้ปฏิญาณไว้ สำหรับผู้ที่กระทำกรรมดีอยู่แล้ว ก็ขอให้ทำดี ยิ่งๆ ขึ้นไป

...................................................................   
ความคิดเห็นที่ 67    

จะอิจฉาเงินเดือนหมอทำไม
จะเรียกร้องให้หมอเสียลสละทำไม

แล้วพวกคุณทำไมไม่เลือกเป็น ไม่เลือกเรียน ไม่เสียสละ

>>> เหตุผลที่เด็กที่ผมเคยสอนพิเศษ ไม่เรียนหมอ

1. ขี้เกียจอ่านหนังสือ ไม่ค่อยมีสมาธิ ไม่ชอบแข่งขัน
2. ไม่อยากผ่าศพ ไม่ชอบเลือด ไม่อยากดูอวัยวะภายใน
3. ไม่อยากอดหลับอดนอน ไม่อยากขยัน
4. อยากเที่ยว ชอบปิ้ง ดูหนัง เรียนสบายๆดีกว่า
5. ไม่อยากใช้ทุน ไปอยู่ในที่ไม่มีไฟ-น้ำไม่ได้
6. พ่อแม่มีเงินเยอะ อยากเรียนบริหาร สืบทอดต่อได้
7. ไม่อย่างเสี่ยงคุก เสี่ยงตาราง
8. พ่อแม่ไม่อยากให้ลูกเครียดตอนเรียน

แค่อยากจะบอกว่าพวกคุณหมอทั้งหลาย
การลงทุนของพวกคุณสูงกว่าเด็กคนอื่นเยอะครับ
ดังนั้นพวกคุณก็ต้องได้เลือกสิทธิ และเงินเดือนที่ดีกว่า

หมอผิวหนังเอกชนทุกคน ผมชื่นชมนะครับ เงินเดือนสูงกว่าผมหลายเท่าในอายุเท่าๆกัน เท่าที่ทราบในระดับ 2-3 แสน ในขณะที่ตัวผมทำงานแทบตาย เงินเดือนหลักหมื่น ก็แค่เพื่อต่างชาติอ้วนขึ้น มีแค่นี้จริงๆ กับการเปลี่ยนงานเพื่อเงินเดือนที่ดีกว่า บริษัทที่ดีกว่า เพื่อตัวผมคนเดียวจริงๆ ไม่ได้มีค่า มีความเสี่ยงอะไร

ผมก็ยอมรับตอนนั้นหรือตอนนี้โอกาศที่จะติดแพทย์จุฬา มองไม่เห็นจริงๆ สมัยก่อนคนต่ำสุดก็ได้คะแนน7วิชา 76% ถ้าไม่ขยันจริงๆ อย่าได้ฝันแม้แต่จะเลือก

สำหรับคนบางพวกที่มันไม่เคยสละ ไม่มีความอดทน หรือเหตุผลอีกเป็นล้าน ง่ายๆ เห็นแก่ตัว ที่ชอบบอกให้คนอื่นทำเพื่อตนเอง

จะรักษาให้ตาย คนพวกนี้ก็จะเรียกร้องให้รับผิดชอบ หากผลมันผิดพลาด มันก็เป็นวงจรอุบาศที่รัฐเมินเฉย แต่เรียกร้องหมอให้ช่วยเสียสละ แต่เมื่อผิดพลาด ก็เป็นเรื่องตัวใครตัวมัน

หากคุณมีพ่อแม่ ครอบครัว ลาออกเถอะครับ จะทนวงจรแบบนี้ทำไม ผมเห็นหมอเอกชนมีคุณภาพชีวิตดีมากๆ ทั้งได้รับการเคารพจากคนไข้ มีเวลาตรวจเยอะ ทั้งสิทธิจากบริษัท การเที่ยวนอกฟรี มีเวลากับครอบครัวมาก

เป็นคุณจะเลือกเป็นหมอ
เพื่อเข้ามาเสียสละในวงจรอุบาศแบบนี้หรือเปล่า

สิ่งเดียวที่คุณจะได้ คุณภาพชีวิตย่ำแย่จากการไม่นอนตามปกติ ทำงานหนัก การต้องขึ้นศาลบ่อยๆ การถูกฟ้อง และอีกสารพัดเคสอาการหนักจากคนไข้เมาแล้วขับ

...............................................................   
ความคิดเห็นที่ 18    
   ถ้าไม่อยากใช้ทุน ก็ไม่ต้องเข้าโครงการซิครับ อยากเป็นหมอในเมือง รวยๆ ก็ออกตังค์เรียนเอง ตัดโอกาสคนอื่นทำไม !!!

.................................................................   
ความคิดเห็นที่ 49    
   ถึงท่านที่ด่าทั้งหลาย ผมก็เคยทำงานแบบน้องๆ มาก่อนครับ ตรวจวันละ 70-100 คน หากน้อยกว่านี้คนไข้ล้น อยู่เวร นอนวันละ 2 ชม. เช้าก็ต้องทำงานต่อ ไม่มีวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ ทำงานฟรี มาดูคนไข้ตอนเช้า หากเราไม่มีเวรก็เที่ยงกลับ เวรเดือนละ 11 วัน แรกๆ ผมก็ไฟแรง สมัยนั้นทำได้ทุกอย่าง ผ่าตัดก็ทำได้ แต่ทำงานแบบนี้ ตลอดเป็นปี ๆ มันก็ล้านะครับ ไม่ใช่เครื่องจักร ไม่ใช่วัวควาย

ผมทนทำงานอยู่ประมาณ 4-5 ปี สุขภาพมันแย่ลง ไม่ให้เรียนต่อเพราะไม่มีคนทำงาน คนไทยก็ตีค่าหมอทั่วไปเป็นหมอชั้นสอง บวกกับทางบ้านพ่อป่วย เรามีเวลาดูคนอื่นแต่ไม่มีเวลาดูพ่อ แม่ตัวเองไม่ได้ สรุปผมก็เลยออก แต่มารับราชการต่อในที่ที่ใกล้บ้าน และสภาพการทำงานดีกว่า

หมอต้องเสียสละ คำที่หลายๆ ท่านใช้ แต่หมอก็เป็นคนเป็นมนุษย์ปุถุชน ถ้าผมอยากสบายผมไปทำงานเอกชนแล้วครับ แต่ที่จะบอกคือ การที่หมอจะอยู่ได้ มันไม่ได้อยู่ที่ตัวเงินอย่างเดียว ต้องเห็นใจว่าเราเป็น มนุษย์ เป็นคนไทยเหมือนกัน จะให้เสียสละทุกอย่าง จนตัวตายเนี่ย ผมคงไม่ไหว ถ้าอยากให้ได้แบบที่ว่า อาจจะต้องหา อริยะบุคคลมาเรียน

ก่อนที่จะต่อว่าหมอ โดยเฉพาะภาครัฐบาล หลายๆ ท่านควรมองว่า การไปภาคเอกชนนั้น เงินดีกว่ามาก มีเวลา งานดีกว่า แต่หมอภาครัฐก็ไม่ย้าย หากคิดตามตรรกกะ น่าจะดูว่าโง่ด้วยซ้ำ. แถมยังโดนต่อว่า โดนด่า มีเรื่องร้องเรียนได้มากมาย โปรดเข้าใจ ที่พวกเรายังอยู่เพราะอยู่ด้วยใจ ไม่ใช่เงิน
อดีตหมอชนบท
......................................................................   
ความคิดเห็นที่ 80
   เรามาดูการทำงานของข้าราชการหน่วยอื่นๆกันบ้างงานเริ่ม8.30 8.30มาถึงที่ทำงาน ถ้าเห็นนายมาก็ทำเป็นกระวีกระวาด ถ้านายยังไม่มา ก้ตามสบาย  งานการผิดพลาดทำไม่ถูกก็ไม่เป็นไร ทนถูกนายด่านิดหน่อย ระหว่างทำงานก็คุยเล่นหัวกันอย่างสนุกสนาน ใกล้เที่ยงเตรียมตัวไปกินข้าว
บ่ายโมงกลับมาทำงานก่อนทำงานก็ต้องเมาท์กัน 16.30เตรียมตัวกลับบ้าน งานไม่เสร็จไม่เป็นไรวันรุ่งขึ้นค่อมมาทำต่อ เสาร์อาทิตย์วันเทศกาลหยุดมันทุกตรุษแสนสบายข้าราชการไทย "ยกเว้นหมอและพยาบาลและบุคคลากรต้องทำงานไม่มีเว้นวันเสาร์อาทิตย์  หมอไม่ใช่เครื่องยนต์หรือเครื่องจักร์ พวกเราเอาเปรียบพวกหมอมากเกินไปหรือปล่าว  ข้าราชการหน่วยอื่นยังมีการกินตามน้ำทวนน้ำ หมออยากได้เงินมากขึ้น หมอก็ต้องทำงานหนักขึ้น  เดี่ยวนี้เงินเดือนพวกนายกเทศมนตรีรับกันเกือบแสน ไม่เห็นต้องเรียนจบอะไรมากมายนัก ตอนเป็นหนุ่มก็เข้าบ่อนเล่นการพนัน ทำตัวเป็นนักเลงหัวไม้นิดหน่อย รู้จักยกมือไหว้คนทำตัวหน้าไหว้หลังหลอก  จริงหรือไม่

..............................................................   
ความคิดเห็นที่ 57          
   ไอ้ที่ด่า ๆ เนี่ย
ไม่เคยเรียนหมอ ไม่เคยเป็นหมอ
ไม่เคยมีลูกเป็นหมอ

การผลิตหมอไม่ใช่ง่าย การเรียนหมอไม่ใช่ง่าย การเป็นหมอก็ไม่ใช่ง่าย ไม่งั้นใครก็ผลิตได้ เรียนได้ เป็นหมอได้ เกร่อเหมือนไปใบปริญญาเกลื่อนเมืองของ สาขา อื่น ขณะนี้
............................................................

8720
เผยแพทย์รุ่นใหม่มีค่านิยมไม่ยอมตกเป็นแพทย์ชั้นสองด้วยการทำหน้าที่ในชนบท แห่เบี้ยวทุนผลิตแพทย์ เหตุอยากมีเงิน-มีชื่อเสียง- มีอนาคต ผอ.รพ.แม่สาย ชี้เงื่อนไขเพิ่มเงินค่าปรับ เพิ่มระยะเวลาชดใช้ทุนไม่ช่วยรักษาแพทย์ชนบทไว้ได้ แนะควรมีค่าตอบแทนที่เหมาะสม
       
       นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.) กล่าวถึงโครงการผลิตเเพทย์เพื่อชนบท (CPIRD) ว่า จากปัญหาที่พบในโครงการดังกล่าว คือ แพทย์มักลาออกก่อนใช้ทุนครบตามเวลาที่กำหนดส่งผลให้แพทย์ในชนบทขาดแคลน ดังนั้น คสช.จึงทำข้อเสนอแก่คณะกรรมการพัฒนากำลังคน ซึ่งมี นพ.มงค ณ สงขลา เป็นประธาน โดยขณะนี้ทราบว่า คณะกรรมการดังกล่าว ได้เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รับทราบแล้ว เนื่องจากกระทรวงเป็นเจ้าของโครงการ และจะได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบต่อไป โดยข้อเสนอที่ว่ามีประเด็นหลักๆ ได้แก่ 1.ขยายโครงการผลิตเเพทย์เพื่อชาวชนบทต่อห้าปี (2557-2561) โดยให้ขยายสัดส่วนจำนวนเเพทย์ของโครงการไว้ร้อยละห้าสิบของนักศึกษาเเพทย์ทั้งหมด 2.กำหนดเงื่อนไขการปฏิบัติงานชดใช้ทุน เพิ่มจากเดิม 3 ปี เป็น 6 ปี กรณีผิดสัญญาชดใช้ทุน กำหนดค่าปรับเพิ่มจาก 4 เเสนบาทเป็น 1 ล้านบาท
       
       “โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่เน้นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในต่างจังหวัดมีการเข้ามาศึกษาด้านวิชาชีพแพทย์มากขึ้น เพื่อจะได้จบมาแล้วเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในชนบท โดยไม่ต้องแข่งขันกับแพทย์ในเมือง ดังนั้นควรที่จะมีการดำเนินการต่อไป แต่เพื่อป้องกันปัญหาการเบี้ยงจ่ายทุนก็ต้องเพิ่มเพดานการจ่ายค่าปรับ” นพ.อำพลกล่าว

       ด้านนพ.สุระ คุณคงคาพันธ์ ผู้อำนวยการ รพ.แม่สาย จ.เชียงราย กล่าวว่า ในส่วนของ รพ.แม่สาย นั้น มีแพทย์จำนวน 8 คน บริการผู้ป่วยทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติ ในส่วนของผู้ป่วยนอกเฉลี่ย 70-80 รายต่อวันต่อคน ขณะที่จำนวนผู้ป่วยนอกมีมารับบริการเฉลี่ยวันละ 500 รายและผู้ป่วยในมีจำนวนรายวัน 120 ราย มีเตียงมาตรฐานรองรับ 90 เตียง ส่วนที่เกินมาต้องจัดเตียงเสริมให้ โดยขณะนี้มีแพทย์ที่กำลังใช้ทุนจากโครงการผลิตแพทย์เพื่อชนบทประจำการ 1 คน ซึ่งแพทย์รายนี้ได้แจ้งแล้วว่า กำลังจะลาออกเพื่อไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง ทั้งๆที่ยังใช้ทุนไม่ครบกำหนด ขณะที่ภาพรวมของโรงพยาบาลนั้นมีแพทย์ใช้ทุนมาปฏิบัติภารกิจทุกปีๆ ละ 2-3 ราย ส่วนมากก็จะไม่ค่อยอยู่ใช้ทุนครบตามกำหนด เหตุผลเพราะแพทย์รุ่นใหม่มีค่านิยมที่ว่า หากไม่มีการเรียนต่อและจมอยู่กับหน้าที่แพทย์ชนบทก็จะหมายถึงการเป็นแพทย์ชั้นสอง ดังนั้น จึงยอมจ่ายเงินค่าปรับเพื่อเรียนต่อและจบออกมาเป็นแพทย์เฉพาะทาง และมักเข้าไปรับจ้างใน รพ.เอกชน เพราะงานสบาย รายได้ดี หรือกล่าวง่ายๆ คือ เน้นประโยชน์เชิงพาณิชย์มากขึ้น
       
       นพ.สุระ กล่าวด้วยว่า สำหรับข้อเสนอในการปรับปรุงเงื่อนไขการใช้ทุนในหลายๆประเด็นนั้น คิด ว่า เรื่องระยะเวลาในการใช้ทุน 6 ปี เป็นเวลาที่เหมาะสมก็จริง ส่วนเพดานการจ่ายค่าปรับหากใช้ทุนไม่ครบตามเวลาที่กำหนดนั้นที่เพิ่มขึ้นนั้น ก็ยังถือว่าเป็นจำนวนเงินที่รับได้ แต่จากการที่คลุกคลีอยู่กับ รพ.ชุมชน มานาน คิดว่า เงื่อนไขดังกล่าวคงไม่สามารถยื้อแพทย์ไว้ในชนบทได้ หากไม่มีการเพิ่มค่าตอบแทน เนื่องจากแพทย์รุ่นใหม่นั้นฝังติดกับค่านิยมเรื่องรายได้และชื่อเสียงกันมาก ขณะเดียวกันการปลูกฝังจริยธรรมในนักศึกษาแพทย์เพื่อให้เน้นปฏิบัติหน้าที่อย่างแพทย์ชนบทด้วยหัวใจจริง ก็สำคัญ ดังนั้น จะยัดเยียดโอกาสเฉยๆ ไม่ได้ แต่จำเป็นต้องปรับปรุงระบบการศึกษาด้วย
       
       “ปัญหาแพทย์ลาออกก่อนทุนหมดและแพทย์สมองไหลไปสู่ระบบเอกชน นั้นมีมาให้เห็นจนชินตากับแพทย์ยุคปัจจุบัน คนชนบทเองก็ป่วยไม่ใช่น้อยประกอบกับโรงพยาบาลแม่สายรับรักษาชาวต่างชาติสูงถึง 30% ของผู้ป่วยทั้งหมด ภาระหน้าที่ของแพทย์ก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นชัด บางครั้งเรื่องของความอยากมีอนาคตที่ดีก็เป็นสิ่งที่ห้ามกันไม่ได้ ยิ่งปัจจุบันสถานพยาบาลเอกชนมีสวัสดิการและค่าตอบแทนที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง ภาระดูแลผู้ป่วยต่อแพทย์ 1 คนเฉลี่ยแค่ 5-10 ราย ต่อวันก็ย่อมเป็นแรงดึงดูดที่น่าสนใจ” นพ.สุระกล่าว


ASTVผู้จัดการออนไลน์    23 กันยายน 2554

8721
เปิดสาขาใหม่ “รพ.วัดไร่ขิง สุขุมวิท” หวังรองรับผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น  หลังพบคนกรุงแห่รักษาเพียบ
       
       วันนี้ (26 ก.ย.) นพ.เรวัต  วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์  กล่าวหลังเป็นประธานเปิดศูนย์โรคตา รพ.เมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) สาขาสุขุมวิท ณ  แบงค็อก เมดิเพล็กซ์  สุขุมวิท 42  ว่า   จากการที่พบว่า แต่ละปีมีผู้ป่วยจากพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะ กทม. เดินทางเข้ารับการรักษา ที่ รพ.เมตตาประชารักษ์ สามพราน ถึง 50% โดยแต่ละปี รพ.เมตตาประชารักษ์ ให้รักษาด้วยการผ่าตัดได้มากกว่า 5,000 ราย ซึ่งเชื่อว่า การเปิดสาขาที่เอกมัย จะทำให้ประชาชนโดยเฉพาะ กทม.ที่ต้องเดินทางไปที่ จ.นครปฐม เข้ารับการรักษาได้สะดวกมากขึ้น โดยสาขานี้ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาล เพื่อรองรับเมดิเคิลฮับ ซึ่งสาขาดังกล่าวมีขีดความสามารถในการรองรับผู้ป่วยได้เทียบเท่า รพ.เมตตาประชารักษ์ สามพราน ทั้งเครื่องมือและบุคลากร โดยพร้อมที่จะให้บริการทั้งคนในประเทศ และต่างประเทศ มีเครื่องมือที่พร้อมให้บริการอย่างครบวงจร และจะสามารถลดความแออัดของ รพ.เมตตาประชารักษ์ สามพราน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการเพิ่มมากขึ้น
       
       ด้าน นพ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ ผู้อำนวยการ รพ.เมตตาประชารักษ์ กล่าวว่า สาขาดังกล่าวถือเป็นการจำลองรูปแบบของ รพ.เมตตาประชารักษ์ ที่สามพรานมาทั้งหมด ทั้งเครื่องมือ การให้บริการ ประชาชนที่เข้ารับบริการจึงจะได้รับบริการที่ไม่แตกต่างกัน ซึ่งค่าใช้จ่ายจะคิดเท่ากับคลินิกพิเศษนอกเวลาของโรงพยาบาลรัฐ ซึ่งประชาชนสามารถเบิกจ่ายได้ตามสิทธิที่มี โดยค่าใช้จ่ายจะแพงกว่าปกติประมาณ 30% แต่ถูกกว่าค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลเอกชน 20-30% ทั้งนี้ เนื่องจากสาขาดังกล่าวไม่มีเตียงรองรับผู้ป่วยที่ต้องพักค้าง ทำให้ผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัด แบบที่ต้องวางยา อาจต้องประสาน รพ.ที่สาขาสามพราน หรือ รพ.เอกชน ละแวก ใกล้เคียง เพื่อส่งต่อหรือใช้พื้นที่ในการนอนพักรักษา  ทั้งนี้ สำหรับขีดความสามารถในการรองรับผู้ป่วย ตามปกติสาขา สามพราน สามารถรองรับผู้ป่วยนอกได้ 500 รายต่อวัน ผ่าตัดได้ 70 คนต่อวัน สำหรับสาขาสุขุมวิท 42 คาดว่า จะสามารถรองรับได้ 100 คนต่อวัน และสูงสุดรองรับได้ไม่เกิน 300 คนต่อวัน และผ่าตัดได้ 20 คนต่อวัน ทั้งนี้ โรคตาต้อกระจก ยังเป็นปัญหาสาธารณสุข อันดับต้นของประเทศ จากการสำรวจปี 2549-2550 พบว่า ประเทศไทยมีคนตาบอด และสายตาเลือนรางจากโรคต้นกระจก ประมาณ 184,500 คน โรคตาต้อกระจกสามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย โดยสาเหตุมาจากหลายชนิด เช่น อุบัติเหตุต่อลูกตา โรคทางกาย เช่นเบาหวาน การอักเสบเรื้อรังของตา การใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน

ASTVผู้จัดการออนไลน์    26 กันยายน 2554

8722
 โผแต่งตั้งโยกย้าย สธ.หลัง ขรก.ระดับสูงเกษียณ 7 คน ระดับรองปลัด 2 คน ผู้ตรวจฯ 2 คน อธิบดี 3 คน
       
       
       แหล่งข่าวกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 30 กันยายนนี้ จะมีข้าราชการระดับสูงของกระทรวง ที่เกษียณอายุราชการทั้งสิ้น 7 คน ประกอบด้วย ระดับรองปลัด สธ.จำนวน 2 คน คือ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล และ นพ.ทนงสรรค์ สุธาธรรม ระดับผู้ตรวจราชการกระทรวง 2 คน คือ ภญ.วีรวรรณ แตงแก้ว และ นพ.สมชาย เชื้อเพชระโสภณ และระดับอธิบดีกรมอีก 3 คน คือ นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ และ นพ.สถาพร วงษ์เจริญ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งส่งผลให้เกิดกระแสวิ่งขอตำแหน่งกันยกใหญ่
       
       โดยโผล่าสุดอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่า ระบุว่า
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ รองปลัด สธ.ไปเป็น อธิบดีกรมควบคุมโรค
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต ไปเป็น รองปลัดกระทรวง
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัด สธ.ไปเป็น อธิบดีกรมสุขภาพจิต
นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขต 18 ไปเป็น รองปลัดกระทรวง
พญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ไปเป็น อธิบดีกรมการแพทย์ นพ.นิทัศน์ รายยวา ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขต 10 ไปเป็น รองปลัด
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง และผู้ตรวจราชการกระทรวงเขต 12 ไปเป็น อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
นพ.จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเขต 6 ไปเป็นอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
                 
       ด้านนายวิทยา บุรณศิริ   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า  ตนจะเสนอชื่อการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ สธเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันพรุ่งนี้

ASTVผู้จัดการออนไลน์    27 กันยายน 2554

8723
"บอร์ด สปสช. ​เอ็นจี​โอ" ยื่นหนังสือ "ปู-วิทยา" สั่งระงับ​แต่งตั้งบอร์ด สปสช.ชุด​ใหม่ ​เหตุสรรหา 7 ​ผู้ทรงคุณวุฒิ​ไม่​โปร่ง​ใส่ ​เผยมี​โผรายชื่อลงคะ​แนน นัก​การ​เมืองล็อบบี้ ชี้สัมพันธ์​ใกล้ชิด รพ.​เอกชน ​เตรียมฟ้องศาลปกครองหาก​เดินหน้า รมว.สธ.​ให้ระบุชัด​ใบสั่ง​ใคร ยอมรับ​ผู้ทรงคุณวุฒิ​แพทย์​แผน​ไทยมีปัญหาต้องคัด​เลือก​ใหม่

​เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ​เวลา 12.30 น. นายนิมิตร์ ​เทียนอุดม ​และนางสาวบุญยืน ศิริธรรม กรรม​การหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) สัด ส่วน​เอ็นจี​โอ ​และตัว​แทนองค์กรภาคประชาชน ​แถลงข่าวคัดค้าน​การ​แต่งตั้ง กรรม​การ​ผู้ทรงคุณวุฒิ​ในบอร์ด สปสช. ที่​ไม่ชอบด้วยกฎหมาย​และขัดต่อหลักธรรมาภิบาล พร้อมยื่นหนังสือต่อนาย วิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่า​การกระทรวง สาธารณสุข ​ในฐานะประธานบอร์ด สปสช. ก่อน​เข้าประชุมบอร์ด สปสช.นัดพิ​เศษ​เพื่อขอ​ให้ทบทวน

นายนิมิตร์กล่าวว่า ​เมื่อ​เช้า (26 ก.ย.) ​ได้​เดินทาง​ไปยื่นหนังสือ​ถึงนาง สาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ​เพื่อขอ​ให้ระงับ​การ​แต่งตั้งกรรม​การ​ผู้ ทรงคุณวุฒิ​ในบอร์ด สปสช.ชุด​ใหม่ ​ใน ครม. ที่ต้องรับรองรายชื่อ ​และขอ​ให้มี​การสรรหา​ใหม่ ​เพราะสรรหา​และคัด​เลือกวันที่ 12 ก.ย. มิชอบด้วยกฎหมาย ขาด​ความ​เป็นอิสระ ​ไม่​โปร่ง​ใส่ ​และผลประ​โยชน์ทับซ้อนของกรรม​การ​ผู้คัด​เลือก ​โดยมี​เหตุผล 5 ข้อ 1.ก่อนที่จะลงคะ​แนนมีกรรม​การบางคนถือ​โพย รายชื่อ​และ​แลก​เปลี่ยนข้อมูลกัน ​เชื่อมั่นว่า​การคัด​เลือก​เป็น​ไป​เพื่อประ​โยชน์ของกลุ่มบุคคล​ใน​การครอบงำ สปสช. 2.​ใน​การคัด​เลือกบอร์ด​ผู้ทรงคุณวุฒิ ​ผู้​แทนสมาคม รพ.​เอกชน ​ได้​เสนอชื่อ 4 คน ​โดย​ได้รับคัด​เลือก​ถึง 3 คน สอด คล้องกับ​โพย​การลงคะ​แนน ​และจะมีผลต่อ​การดำ​เนิน​การของกองทุนหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ​ในลักษณะ​เอื้อประ​โยชน์ รพ.​เอกชน ​ในอนาคตมากขึ้น 3.นพ.พิพัฒน์ ยิ่ง​เสรี ​เลขาธิ​การสำนักงานคณะกรรม​การอาหาร​และยา ที่​ได้รับ​เลือก​เป็นกรรม​การ​ผู้ทรงคุณ วุฒิด้าน​การ​แพทย์​แผน​ไทย ขัดต่อ ม.14 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ ที่ระบุว่า กรรม​การตาม ม.13 จะดำ รงตำ​แหน่งกรรม​การตาม ม.48 คณะ กรรม​การควบคุมคุณภาพ​และมาตร ฐานบริ​การสาธารณสุข​ในขณะ​เดียวกันมิ​ได้ ​ซึ่ง​เลขาธิ​การ อย. ​เป็นกรรม​การ​โดยตำ​แหน่ง​ในชุดคณะกรรม​การควบคุมฯ อยู่​แล้ว ​การ​เป็น​ผู้ทรงคุณวุฒิบอร์ด สปสช. ​จึงขัดต่อกฎหมาย

4.​การลงคะ​แนน​เลือกกรรม​การ ​ผู้ทรงคุณวุฒิด้าน​แพทย์​แผน​ไทย ผลลงคะ​แนนจาก​ผู้ที่​ได้รับ​การ​เสนอชื่อ 4 คน ปรากฏว่า นพ.พิพัฒน์ ​ได้คะ ​แนน 10 คะ​แนน ขณะที่ ผศ.ภญ.สำลี ​ใจดี อดีตกรรม​การ​ผู้ทรงคุณวุฒิที่​เพิ่งพ้นตำ​แหน่ง​ไป​ได้ 9 คะ​แนน อีก 3 คน ​ได้ 2 ​และ 0 คะ​แนนตามลำ ดับ มี​ผู้​ไม่ลงคะ​แนน 1 คน รวมมีกรรม​การลงคะ​แนน 22 คน ​ในกรณีนี้ ผศ.ภญ.สำลี​จึงต้อง​เป็น​ผู้​ได้รับคัด​เลือก ​เพราะ นพ.พิพัฒน์ขาดคุณสมบัติตั้ง​แต่ต้น​แล้ว 5.​เมื่อ​เปรียบ​เทียบคุณ สมบัติของ​ผู้ทรงคุณวุฒิตาม​โผรายชื่อ ​ทั้งคุณสมบัติ ประสบ​การณ์ ​ความ​เชี่ยว ชาญ กับ​ผู้ที่​ไม่​ได้รับคัด​เลือกจะพบว่า​ผู้ที่​ไม่​ได้รับ​การคัด​เลือกมีคุณสมบัติ​และ ประสบ​การณ์​เหนือกว่าบุคคลตาม​โผรายชื่อชัด​เจน ​และยังพบว่า​ผู้ที่​ได้รับ ​การคัด​เลือกกรรม​การ​ผู้ทรงคุณวุฒิ​เกือบทุกราย มี​ความสัมพันธ์​ใกล้ชิด ​และมีผลประ​โยชน์ทับซ้อนกับสมาคม รพ.​เอกชน หากนายกรัฐมนตรี​และนายวิทยา​ไม่รับฟัง ​แต่งตั้งกรรม​การ ​เราคงฟ้องศาลปกครอง ​เพราะ​เป็นคำสั่ง​ไม่ชอบ

ด้านนายวิทยา บุรณศิริ รมว.สธ. ​ในฐานะประธาน บอร์ด สปสช. กล่าวว่า ​การคัด​เลือกกรรม​การ​ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ที่ผ่านมาจะดำ​เนิน​การทุกอย่าง​ไปตามขั้นตอน ​แต่จะมี​การคัด​เลือก​ใหม่ 1 คน ​เนื่องจากฝ่ายกฎหมาย​ได้ตรวจสอบ​แล้ว ​เห็นว่า นพ.พิพัฒน์ ยิ่ง​เสรี ​เลขาธิ​การ อย. ​ซึ่งดำรงตำ​แหน่ง​ในคณะกรรม​การควบคุมคุณภาพ​และมาตรฐานบริ​การสาธารณสุขอยู่​แล้ว ​ไม่ สามารถดำรงตำ​แหน่ง​ผู้ทรงคุณวุฒิ สปสช.​ได้อีก ส่วนข้อกล่าวหามี​ใบสั่งนัก​การ​เมืองถือว่าสบประมาทคณะกรรม ​การคนอื่นๆ มาก อยาก​ให้พูดออกมาชัด​เจนว่า​ใคร.

ไทย​โพสต์  27 กันยายน 2554

8724
กรุง​เทพฯ--26 ก.ย.--กองประชาสัมพันธ์ราชมงคลธัญบุรี

ถ้าพูด​ถึงอา​การช้ำ​ใน ​เรามักนึก​ถึง​ใบบัวบก นั่น​เพราะ​เป็นที่ทราบกันดีว่า ​ใบบัวบกมีสรรคุณทางยามานาน ส่วนสำคัญที่มีคุณสมบัติพิ​เศษ คือ ส่วนของ​ใบ​และราก รส​และสรรพคุณยา​ไทย จะมีกลิ่นหอม รสขม​เล็กน้อย ​โบราณว่า​แก้อ่อน​เพลีย ​เมื่อยล้า ​แก้ร้อน​ใน ​แก้​โรค​ความดัน​โลหิตสูง ​ซึ่ง​ในปัจจุบันมี​การนำ​ไป​แปรรูป​เป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูป​แบบ

​การบริ​โภค​ใบบัวบกภาย​ในประ​เทศส่วนมากมักจะนำ​ไปทานสด ​เป็นผักจิ้มน้ำพริก​หรือคั้นน้ำ จะช่วย​ให้คุณผ่อนคลายจาก​ความกังวล​และ​ความ​เครียด​ได้ ​เนื่องจาก​ใน​ใบบัวบกประกอบด้วยวิตามินบี1 บี2 ​และบี6 ​ในปริมาณสูง นอกจากนี้ยัง​ทำ​ให้ร่างกายหลั่ง GABA (gamma-aminobutyric acid) ​ซึ่ง​เป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง​ในปริมาณที่มากขึ้นด้วย ​แต่​เนื่องจาก​ใบบัวบกที่ทานสดนั้นมี​ความขม ​เฝื่อน ​ทำ​ให้รับประทาน​ได้ยาก ​และมีอายุ​การ​เ​ก็บรักษาที่น้อย ​ซึ่งทาง​เลือกอื่น​ใน​การรับประทาน​ใบบัวบกคือ ​การอบด้วยลมร้อน นำ​ไปผลิต​เป็นชา​ใบบัวบก ​เพื่อ​ให้ง่ายต่อ​การรับประทาน​และยังคงคุณประ​โยชน์​และสรรพคุณ​เหมือน​เดิม

​ซึ่ง​แนวคิดนี้​เกิดจากนักศึกษากลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วย นางสาวกนกภรณ์ ​เกาะ​เกตุ นางสาวสุกัญญา กระตุดนาค นางสาวมุจลินท์ จันมณี จากภาควิชาวิศวกรรม​การ​เกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย​เทค​โน​โลยีราชมงคลธัญบุรี ​โดยมี อาจารย์พฤกษา สวาทสุข ​เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ​ได้​ทำ​การศึกษาคุณภาพหลักๆ คุณค่า​และสารอาหารของ​ใบบัวบก สภาวะอุณหภูมิที่​เหมาะสมที่​ใช้​ใน​การอบ​แห้ง​ใบบัวบก ​เปรียบ​เทียบคุณสมบัติก่อน​และหลังอบ ​โดยศึกษาจากกระบวน​การอบ​แห้ง​โดย​เครื่อง​เป่าลม​แห้ง ​เพื่อจะ​ได้นำ​เอาผล​การศึกษาที่​ได้​ไปประยุกต์​ใช้กับกระบวน​การผลิตที่​เหมาะสม​ใน​การผลิต ผลิตภัณฑ์​แปรรูป​ใบบัวบก​แห้ง​เป็น​ใบบัวบกสำ​เร็จรูปสารอาหารที่​เป็นประ​โยชน์ต่อร่างกาย พร้อมรับประทาน

​ซึ่งจาก​การศึกษา​เจ้าของผลงาน​เปิด​เผยว่า ​ใน​การทดลอง​ใช้​เครื่อง​เป่าลม​แห้งอบ​แห้งที่อุณหภูมิ 75,90 ​และ 105 องศา​เซล​เซียส ที่ 3 ระดับ​ความ​เร็วลมคือ 6.53 m/s,8.43 m/s ​และ8.80m/s ภาย​ในระยะ​เวลา​การอบ 75 นาที ​เพื่อนำมา​เปรียบคุณสมบัติทางกายภาพ​และประสาทสัมผัสของน้ำ​ใบบัวบกสด​และชา​ใบบัวบกที่​ได้จาก​การอบ​แห้งที่ปริมาณ​ความชื้นน้อยกว่า 10 % wb

พบว่าอุณหภูมิ ​และ​เวลาที่​ใช้​ใน​การอบมีผลกระทบต่ออัตรา​การ​ทำ​แห้ง ​และส่งผลกระทบต่อ​การ​เปลี่ยน​แปลงของค่าสี ​ในขณะที่​ความ​เร็วลม​ไม่ส่งผลกระทบต่อค่าดังกล่าวมากนัก ​ใน​การทดสอบทางประสาทสัมผัสนั้น​เลือก​ใช้​ใบบัวบกที่อบ​แห้งที่ทุกอุณหภูมิ ทุกระดับ​ความ​เร็วลมที่​เวลา 45 นาที ​เปรียบ​เทียบกับน้ำ​ใบบัวบกสด พบว่าที่​ความ​เร็วลม 8.43 m/s อุณหภูมิ 75 องศา​เซล​เซียส มีสีที่สวยกว่ารดชาดที่ดีกว่า ​และมีกลิ่นหอมมากกว่าน้ำ​ใบบัวบกสด​และชา​ใบบัวบกที่อบด้วยอุณหภูมิ​และ​ความ​เร็วลมอื่นๆ

อย่าง​ไร​ก็ตาม ​เจ้าของผลงานกล่าวว่า พวกตนหวังว่าผลที่​ได้จาก​การศึกษาค้นคว้านี้จะมี​ผู้ที่สน​ใจนำ​เอา​ความรู้นี้​ไปปรับประยุกต์​ใช้​ให้​เป็นประ​โยชน์ภาคประชาชนต่อ​ไป

ThaiPR.net 26 กันยายน 2554

8725
นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ​ได้​เป็นประธาน​การประชุม ศูนย์สนับสนุน​การอำนวย​การ​และ​การบริหารสถาน​การณ์อุทกภัย วาตภัย ​และดิน​โคลนถล่ม (ศอส.) ​โดย นายวิทยา กล่าวว่า ปัจจุบันยังคงมีสถาน​การณ์อุทกภัย​ใน 23 จังหวัด ​ได้​แก่ สุ​โขทัย พิจิตร พิษณุ​โลก นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี อุบลราชธานี ชัยภูมิ ย​โสธร ขอน​แก่น อำนาจ​เจริญ ฉะ​เชิง​เทรา นครนายก ​และปราจีนบุรี รวม 141 อำ​เภอ 1,052 ตำบล 8,088 หมู่บ้าน ราษฎร​ได้รับ​ความ​เดือดร้อน 583,370 ครัว​เรือน 1,927,120 คน ​ผู้​เสียชีวิต 158 ราย สูญหาย 3 ราย พื้นที่​การ​เกษตรคาดว่าจะ​เสียหาย 5,110,327 ​ไร่ พื้นที่​เพาะ​เลี้ยงสัตว์น้ำ บ่อปลา 60,124 ​ไร่ สัตว์​ได้รับผลกระทบ 4,727,694 ตัว น้ำท่วม​เส้นทาง​ไม่สามารถสัญจรผ่าน​ได้ รวม 106 สาย ​แยก​เป็น ทางหลวง 32 สาย ​ใน 10 จังหวัด ทางหลวงชนบท 74 สาย ​ใน 20 จังหวัด

อย่าง​ไร​ก็ตาม นายวิทยา กล่าวต่อว่า สำหรับสถาน​การณ์น้ำ​ในลุ่มน้ำต่างๆ ที่ยังต้อง​เฝ้าระวังอย่าง​ใกล้ชิด ​ได้​แก่
ลุ่มน้ำยม ที่ อ.สามง่าม อ.​โพทะ​เล อ.​โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร ลุ่มน้ำน่าน ที่ อ.ชุม​แสง จ.นครสวรรค์
ลุ่มน้ำป่าสัก ที่ อ.วังม่วง อ.​เฉลิมพระ​เกียรติ อ.​เมือง จ.สระบุรี
ลุ่มน้ำปราจีนบุรี ที่ อ.กบินทร์บุรี อ.​เมือง จ.ปราจีนบุรี
ลุ่มน้ำมูล ที่ อ.ด่านขุนทด อ.​โนน​ไทย จ.นครราชสีมา อ.ลำปลายมาศ อ.สตึก อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อย​เอ็ด อ.ห้วยทับทัน อ.​เมือง อ.ราษี​ไศล อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะ​เกษ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ อ.ตระ​การพืชผล อ.​เดชอุดม อ.​เมือง จ.อุบลราชธานี
ลุ่มน้ำชี ที่ อ.​โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม อ.ปัญจาคีรี อ.​เมือง จ.ขอน​แก่น อ.​เมือง จ.มหาสารคาม มีน้ำมาก คาดว่า น้ำจะล้นตลิ่งภาย​ใน 1 - 2 วันนี้ ​และที่ อ.กมลา​ไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ​
ลุ่มน้ำท่าจีนที่ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี และ
9 จังหวัด ที่อยู่ริม​แม่น้ำ​เจ้าพระยา ​ได้​แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ​และนนทบุรี มีภาวะน้ำล้นตลิ่งที่มี​แนว​โน้ม​เพิ่มสูงขึ้น

​แนวหน้า  26 กันยายน 2554

8726
กรุง​เทพฯ--26 ก.ย.--​แพทยสมาคม​แห่งประ​เทศ​ไทย

​เนื่อง​ในวันที่ 24 กันยายน ​เป็นวันมหิดล ​และปีนี้​เป็น​ในปีมหามงคลที่พระบาทสม​เด็จพระ​เจ้าอยู่หัวทรง​เจริญพระชนมายุครบ 7 รอบ อีก​ทั้ง​เป็นปีที่​แพทยสมาคม​แห่งประ​เทศ​ไทย​ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีอายุครบ 90 ปี ​ในปี 2554 ด้วย คณะกรรม​การบริหารฯ ​ได้อนุมัติ​ให้จัด​ทำวารสารจดหมาย​เหตุทาง​แพทย์ฯ ​หรือ จพสท. ​เป็นวารสารอิ​เล็กทรอนิกส์ ​โดย​เปิดตัวสู่สาธารณชน​ในวันนี้ ​แพทย์​ผู้สน​ใจสามารถ​เข้า​ไปอ่าน จพสท. ​ได้ที่ http://jmat.mat.or.th

ปัจจุบัน จพสท. ​ได้ถูกบรรจุอยู่​ในฐานข้อมูลวิชา​การนานาชาติหลาย​แห่ง ​เช่น PubMed, ISI Master Journal List, Index Medicus (Medline), EMBASE/Excerpta Medica, SCOPUS ​และ​ได้รับ​การทาบทาม​ให้​เข้า​ไปอยู่​ในฐานข้อมูลนานานชาติอื่น ๆ อีก ​การที่ จพสท. มี website ของตน​เอง จะ​เพิ่ม​ความสะดวก​ให้สมาชิกตลอดชีพสามารถค้นหาบท​ความ​ในวารสาร​ได้ง่ายขึ้น ​และ​ในอนาคต จะ​เป็นช่องทาง​ให้ส่งนิพนธ์ต้นฉบับ มา​ให้กองบรรณาธิ​การพิจารณาตีพิมพ์​ใน จพสท. ​ได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ​การมี จพสท. ออน​ไลน์ จะ​ทำ​ให้​การตีพิมพ์บท​ความที่ผ่าน​การรับรองของกองบรรณาธิ​การ​และ​การ​แก้​ไขของ​ผู้​เขียนบท​ความมา​แล้ว สะดวกรวด​เร็วยิ่งขึ้น ​ซึ่งกองบรรณาธิ​การ จพสท. กำลังดำ​เนิน​การพัฒนากระบวน​การต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ ​ให้​เกิดขึ้น​ใน​เวลาอัน​ใกล้ ​เพื่อ​ให้ จพสท. ​เป็นวารสารที่สมาชิก​และคน​ไทยรู้สึกภาคภูมิ​ใจ​ใน​ความ​เป็น​ไทย

ThaiPR.net  26 กันยายน 2554

8727
 รพ.รามาฯ หนุนมติเบิกจ่ายยาข้อเสื่อมแบบมีเงื่อนไข เป็นทางออกดีพร้อมเสนอควรประชุมหารือผลกระทบ-ปัญหา เพื่อปรับปรุงระบบเพิ่มเติม
       
       หลังจากกรมบัญชีกลาง มีมติให้สามารถเบิกจ่ายยารักษาข้อเสื่อม กลูโคซามีน แบบมีเงื่อนไขชั่วคราว คือ แพทย์ที่สั่งจ่ายได้ต้องเป็นแพทย์ออร์โธปิดิกส์ แพทย์ไขข้ออักเสบ และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ขณะเดียวกันการให้ยาต้องเป็นไปตามกำหนดแนวเวชปฏิบัติ คือ มีเงื่อนไขข้อบ่งชี้ และระยะเวลาในการใช้ยาที่ชัดเจนนั้น
       
       นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ ผอ.รพ.รามาธิบดี กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า จากมาตรการดังกล่าวได้ส่งผลต่อภาระงานที่เพิ่มขึ้นของแพทย์ เนื่องจากการเบิกจ่ายแบบมีเงื่อนไข กำหนดให้แพทย์สั่งจ่ายยาได้ไม่เกิน 6 สัปดาห์ จากเดิมแพทย์จะสั่งจ่ายยาให้คนไข้นำไปที่บ้านราว 3 เดือน แต่เมื่อมีการปรับเปลี่ยนระยะเวลา ทำให้แพทย์ต้องนัดคนไข้มาเร็วขึ้น ถี่ขึ้น จากในแต่ละวันจะต้องตรวจคนไข้กลุ่มนี้ประมาณ 20-30 คน เพิ่มเป็นวันละ 50 คน เรียกว่า เพิ่มเกือบร้อยละ 50 ทีเดียว ขณะเดียวกัน การเบิกจ่ายยากลุ่มนี้ แพทย์ผู้สั่งยาต้องกรอกใบกำกับให้ชัดเจน ซึ่งจะกินเวลาในการตรวจวินิจฉัยคนไข้เพิ่มขึ้นอีกคนละ 1-3 นาที จากเดิมคนไข้เก่าจะใช้เวลาในการพบแพทย์คนละ 3 นาทีเพิ่มเป็น 5-6 นาที เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มตินี้เป็นสิ่งที่ควรจะเป็นตามระบบ แต่ควรจะมีการหารือกันในกลุ่มโรงพยาบาล หรือโรงเรียนแพทย์ เกี่ยวกับผลกระทบ คล้ายการประเมินด้วย เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงการทำงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ทำตามมตินี้ ยังคงดำเนินการอยู่ แต่ต้องหาแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง


ASTVผู้จัดการออนไลน์    26 กันยายน 2554

8729
เครือข่ายแพทย์ผุดแผนพัฒนาขีดความสามารถหมอวินิจฉัยโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดต้นเหตุจากแร่ใยหิน เน้นคัดกรอง-ส่งต่อเป็นระบบ เหตุแพทย์ไทยยังขาดความเชี่ยวชาญ เผย 26 ก.ย.นี้ พร้อมยื่นหนังสือหนุน รมว.อุตสาหกรรม ออกประกาศกระทรวงห้ามนำเข้า-จำหน่าย
       
       ศ.ดร.นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล ในฐานะฝ่ายวิชาการ สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย สมาคมการพยาบาลอาชีวอนามัยแห่งประเทศไทย และสมาคมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ในนามสมาพันธ์อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน พร้อมด้วยเครือข่ายแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กว่า 1,000 คน ได้รณรงค์การทำให้สังคมไทยปลอดภัยจากแร่ใยหินไครโซไทล์มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 12 เม.ย.2554 เห็นชอบให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการควบคุมแร่ใยหินไครโซไทล์ โดยกำหนดให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เพื่อห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า ทางสมาพันธ์จึงจะยื่นหนังสือติดตามความก้าวหน้าการยกเลิกการนำเข้าแร่ใยหินต่อรัฐบาลปัจจุบัน โดยจะยื่นให้กับ นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในวันที่ 26 ก.ย.นี้ เวลา 09.00 น.พร้อมทั้งจะส่งมอบเอกสารข้อมูลทางวิชาการประกอบการพิจารณาการออกประกาศกระทรวง ให้มีการห้ามผลิต นำเข้าแร่ใยหินในประเทศไทย หาก รมว.อุตสาหกรรม เดินหน้านโยบายดังกล่าว จะช่วยปกป้องผู้ใช้แรงงานในอุตสาหกรรม และผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากการป่วยด้วยโรคที่เกิดจากแร่ใยหิน โดยเฉพาะมะเร็งเยื่อหุ้มปอด
       
       ศ.ดร.นพ.พรชัย กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีระบบคัดกรองผู้ใช้แรงงานสัมผัสแร่ใยหินที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นทางสมาพันธ์ จึงจัดทำแผนพัฒนาระบบนี้ขึ้น เพื่อให้สังคมไทยปลอดภัยจากแร่ใยหินไครโซไทล์ ดังนี้ 1.กระตุ้นให้ประชาชน ผู้ประกอบการในสถานประกอบการที่ใช้แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายของแร่ใยหิน 2.พัฒนาระบบการตรวจคัดกรอง โดยเพิ่มขีดความสามารถของแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยโรคที่เกิดจากการสัมผัสแร่ใยหิน โดยเฉพาะมะเร็งเยื่อหุ้มปอด
       
       3.จัดอบรมให้ความรู้แพทย์เกี่ยวกับโรคที่เกิดจาการสัมผัสแร่ใยหิน รวมถึงการส่งแพทย์ไปศึกษาต่อเรื่องความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัยโรค 4.พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วย โดยประสานการทำงานกับสำนักโรคติดต่อในเขตพื้นที่ต่างๆ และ 5.จัดทำมาตรฐานการรื้อถอนอาคาร สิ่งก่อสร้างที่มีวัสดุซึ่งมีแร่ใยหินเป็นส่วนผสม ต้องมีระบบการป้องกันแรงงานผู้รื้อถอน โดยสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่ได้มาตรฐาน และปิดกั้นไม่ให้ฝุ่นละอองฟุ้งปลิวไปภายนอก ตามมาตรฐานการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างเหมือนในต่างประเทศ
       
       “ประเทศไทยการนำแร่เข้าใยหินไครโซไทล์ ซึ่งนำมาใช้ใน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องแผ่นเรียบ กระเบื้องยาง ท่อน้ำ และผ้าเบรก ที่สำคัญ เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาสังคมได้มีการขับเคลื่อนให้ความรู้ถึงอันตรายจากแร่ใยหิน ทำให้ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมบางรายได้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว และหาสารอื่นที่ใช้ทดแทนได้โดยราคาไม่แตกต่างกัน จึงควรยุติการใช้แร่ใยหินได้แล้ว อย่างไรก็ตาม การที่ไทยพบผู้ป่วยน้อยกว่าความเป็นจริง เพราะบุคลากรทางการแพทย์ยังขาดความเข้าใจในการวินิจฉัย และส่งต่อมายังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่สถาบันโรคทรวงอก โดยเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ทางสมาพันธ์ได้เชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยาจากประเทศญี่ปุ่น มาบรรยายพิเศษให้ความรู้แก่แพทย์ไทย ซึ่งพบปัญหาสำคัญคือ ไทยยังขาดผู้เชี่ยวชาญการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา จึงควรเพิ่มความตระหนักให้แพทย์ที่ตรวจคัดกรองผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการที่ผลิตสินค้าที่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน ให้หันมาสนใจการตรวจสุขภาพลูกจ้างและวิเคราะห์หาผู้ที่ต้องสงสัย และควรส่งต่อผู้ป่วยมาตรวจวินิจฉัยโรคอย่างเป็นระบบ” ศ.ดร.นพ.พรชัย กล่าว
       
       อนึ่งจากข้อมูลการนำเข้าแร่ใยหินไคร์โซไทล์ ของ กรมศุลกากร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550-2553 พบว่า มีการนำเข้าประมาณ ปีละ 50,000 ตันต่อปี

ASTVผู้จัดการออนไลน์    25 กันยายน 2554

8730
รมว.สาธารณสุข เผย น้ำท่วมขังนานเริ่มเน่า หวั่นเกิดโรคระบาด ส่งเจ้าหน้าที่ อสม.ลงควบคุมทุกพื้นที่...

เมื่อวันที่ 24 ก.ย. นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้ในหลายพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม น้ำเริ่มเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น และเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุยุง แมลงวัน ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม ร่วมสำนักงานควบคุมป้องกันโรคส่งทีมลงพื้นที่ กำจัดยุง และแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันเช่นตามกองขยะ เพื่อลดปริมาณให้น้อยลงที่สุด ไม่ให้เป็นตัวการแพร่เชื้อโรค ที่สำคัญคือโรคไข้เลือดออกและโรคอุจจาระร่วง รวมทั้งได้มอบให้องค์การเภสัชกรรม เร่งผลิตจุลินทรีย์ก้อนหรืออีเอ็ม จัดส่งไปพื้นที่ประสบภัย เพื่อนำไปใช้บำบัดน้ำเน่าเสีย เป็นการด่วน สำหรับการดูแลด้านสุขภาพ โดยเฉพาะด้านสุขภาพจิต ซึ่งมีผู้ประสบภัยมีความเครียดเพิ่มขึ้น ได้มอบให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับ อสม.ที่มีประมาณ 1 ล้านคน เข้าไปพูดคุย ให้ความช่วยเหลือ เพื่อคลายความทุกข์ใจ รวมทั้งให้กรมสุขภาพจิตส่งทีมจิตแพทย์ นักจิตวิทยา ลงพื้นที่ดูแลจิตใจร่วมกับหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ที่ตรวจรักษาโรคทางกายควบคู่ กัน หากผู้ประสบภัยมีปัญหาทุกข์ใจ กังวลใจ สามารถโทรปรึกษา ระบายทุกข์ ความเครียด ได้ที่สายด่วน 1323 ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในพื้นที่ประสบภัยจนถึงวันนี้ รวม 2,654 ครั้ง พบผู้ป่วยสะสม 327,667 ราย โรคที่พบ 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำกัดเท้า ไข้หวัด ปวดกล้ามเนื้อ โรคผิวหนัง และโรคเครียด ผลการประเมินปัญหาสุขภาพจิต พบว่ามีความเครียดสูง 1,365 ราย มีอาการซึมเศร้า 3,124 ราย มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 363 ราย และต้องติดตามดูแลพิเศษ 440 ราย.

ไทยรัฐออนไลน์ 25 กย 2554

หน้า: 1 ... 580 581 [582] 583 584 ... 653