แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 579 580 [581] 582 583 ... 653
8701
 เอเจนซี – พ่อที่นอนป่วยหนักรอวันสุดท้ายของชีวิต ถามลูกสาวคนเล็กว่าวันแรกที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ได้เห็นความปรารถนาสุดท้ายเป็นจริง พ่อที่ภาคภูมิใจก็สิ้นลม
       
        แอนดี้ คอมบ์ วัย 36 ปี รักษาสัญญาว่าจะอยู่จนกว่าจะได้เห็นเฮเลนาเข้าเรียนที่เอลสัน อินแฟนต์สในแฮมป์เชียร์ อังกฤษ หลังจากเริ่มต้นทำเคมีบำบัดในเดือนมีนาคม
       
        เขายืนยันว่าโรคร้ายจะต้องไม่มาพรากโอกาสในการมีส่วนร่วมในวันสำคัญของลูกสาววัย 5 ขวบ หกเดือนต่อมาเขาทำตามสัญญานั้น
       
        “หลังกลับจากโรงเรียนวันแรก เฮเลนาคลานขึ้นไปบนเตียง นั่งข้างๆ และกอดแอนดี้
       
        “ฉันบอกเขาว่า ‘แอนดี้ ลูกมาหา ลูกเพิ่งไปโรงเรียนวันแรก’
       
        “‘แอนดี้ตอบเสียงเบาหวิวว่าอยากมีแรงมากพอจะกอดลูกได้
       
        “วันรุ่งขึ้น เขาจับมือและกระซิบคำสุดท้ายว่า 'ผมรักคุณ’
       
        “เขามีกำลังใจและเข้มแข็งมาก หลายคนอาจหมดอาลัยตายอยากเมื่อรู้ว่าเป็นเนื้องอกในสมอง แต่เมื่อไม่กี่เดือนนี้เอง เขายังพูดเรื่องออกไปทำงานอาสาสมัครอยู่เลย สำหรับฉัน แอนดี้คือคนพิเศษ” เอ็มมา วัย 37 ปี เล่าถึงสามีผู้จากไป
       
        ระหว่างการต่อสู้กับเนื้อร้าย แอนดี้เข้ารับการบำบัดด้วยเคมีและผ่าตัดใหญ่ 1 ครั้ง
       
        เขาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งสมองหนึ่งเดือนหลังจากพบกับเอ็มมา และหมอบอกว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้แค่ 10 ปีเท่านั้น แต่ทั้งคู่ตัดสินใจแน่วแน่ที่จะใช้ชีวิตร่วมกันโดยพยายามทำให้ทุกอย่างเป็นปกติที่สุด
       
        ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 3 คนคือเฮเลนา 5 ขวบ, มาร์ติน 7 ขวบ และคริสตี้ 10 ขวบ
       
        “ถ้าไม่ได้เห็นงานวิวาห์ของลูก เขายืนยันว่าจะไม่ยอมจากไปไหนเด็ดขาดนอกจากจะได้เห็นวันสำคัญอื่นๆ ของลูก นั่นคือการไปโรงเรียนวันแรก
       
        “แอนดี้เป็นผู้ชายที่เข้มแข็งและเด็ดเดี่ยว และเป็นพ่อที่ทุ่มเทที่สุด
       
        “เขาอดทนจนเฮเลนากลับมาจากโรงเรียนวันแรก ฉันดีใจกับเขาที่เขาสามารถรักษาสัญญาของตัวเอง
       
        “พ่อของแอนดี้เสียเพราะมะเร็งในสมองเมื่ออายุ 44 ปีเหมือนกัน เขาไม่อยากให้ลูกๆ ต้องเจ็บปวดเหมือนเขา แต่ฉันอยากมีลูก
       
        “ฉันรักเขามาก ฉันรู้ว่าวันหนึ่งจะต้องสูญเสียเขาไป แต่วันนี้ฉันมีตัวแทนของเขาแล้วถึงสามคน และฉันหวังว่าจะทำหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูลูกๆ อย่างดีที่สุดเพื่อเขา
       
        “ช่วงเวลา 2-3 ปีสุดท้าย เราพยายามปลูกฝังความทรงจำเกี่ยวกับแอนดี้ให้ลูกๆ
       
        “ลูกทุกคนมีตุ๊กตาหมีที่ช่วยกันทำกับแอนดี้ในวันคริสต์มาสปีแรกของตัวเอง เมื่อใดก็ตามที่คิดถึงพ่อ พวกเขาจะมีตุ๊กตาหมีของพ่อ
       
        “แม้ไม่หายเศร้า แต่พวกเขายังได้กอดหมีและคิดถึงพ่อ”
       
        นับจากเดือนมกราคม แอนดี้ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง และย้ายไปสถานพักฟื้นโรแวนส์เมื่อวันที่ 2 เดือนนี้
       
        “ฉันอยู่กับเขาทั้งวันทั้งคืนในช่วง 9 วันสุดท้าย ลูกๆ เข้าใจว่าพ่อกำลังจะจากไป แต่ก็รับรู้ว่าที่บ้านยังมีแม่อยู่เหมือนเดิม”
       
        ครอบครัวของแอนดี้บอกเพื่อนๆ ให้สวมเสื้อผ้าสีสันสดใสและผูกไทลายเจ็บที่สุดเท่าที่จะหาได้มาร่วมพิธีศพตามที่แอนดี้สั่งเสียไว้
       
        “เขาเป็นนักสู้ตัวจริง”

ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 ตุลาคม 2554

8702
สผพท.จี้ “วิทยา” ตรวจสอบ เอาผิด ปลัดและรองปลัด สธ.ฐานละทิ้งงาน อนุมัติปล่อยให้ปฏิบัติงานกับ “นพ.ประเวศ วะสี” แบบเต็มเวลา “หมอศิริวัฒน์” ยันปฏิบัติถูกต้อง-ไม่ได้เป็นการเบียดบังเวลาราชการ
       
       วานนี้ (30 ก.ย.) สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)ได้นำหนังสือร้องเรียน เรื่อง ขอให้รัฐมนตรีดำเนินการในกรอบกฎหมาย กรณี นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ รองปลัดสธ. และนพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธนาดล รองปลัด สธ.ทำให้ราชการสาธารณเสียหาย เนื่องจากให้ นพ.ศิริวัฒน์ ละทิ้งหน้าที่ ไปปฏิบัติงานกับ นพ.ประเวศ วะสี แบบเต็มเวลา โดยยื่นหนังสือดังกล่าวให้ นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข เพื่อดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
       
       พญ.อรพรรณ์ เมธาดิดกกุล รองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) กล่าวว่า การยื่นขอให้สอบสวนเรื่องดังกล่าว เนื่องจากพบเอกสารการประชุมหน่วยงานภายใต้การดูแลของ นพ.พรเทพ ซึ่งเป็นหนังสือสรุปการประชุม เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2554 โดยมีเนื้อความในการสรุปประชุม ว่า “การประชุมหน่วยงานภายใต้การดูแลของรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในครั้งนี้ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด และเนื่องจากรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธนาดล ไปปฏิบัติงานกับ นพ.ประเวศ วะสี แบบเต็มเวลา จำเป็นต้องแบ่งงานในความรับผิดชอบให้กับรองปลัดกระทรวงท่านอื่น ดูแลรับผิดชอบหน่วยงานในกำกับมากขึ้น เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว
       
       “เหล่านี้ ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า การไปทำงานเต็มเวลากับ นพ.ประเวศ คือ อะไร เพราะภาระงานของกระทรวงสาธารณสุขนั้น มีเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถละเลยการแก้ปัญหาได้ ในฐานะผู้บังคับบัญชา ที่ปล่อยให้ นพ.ศิริวัฒน์ ละทิ้งหน้าที่ราชการ ก็ต้องรับผิดชอบด้วย แม้ว่า นพ.ศิริวัฒน์ กำลังจะเกษียณอายุราชการในเดือน ต.ค.นี้ ก็ตาม จึงต้องการให้ นายวิทยา พิจารณาเพื่อไม่ปล่อยให้เกิดความเสียหายต่อระบบราชการขึ้นอีก” พญ.อรพรรณ์ กล่าว
       
       ด้านนพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการทำหนังสือขอยืมตัวในการทำราชการ ตามระเบียบขั้นตอน ทุกอย่าง โดยปฏิบัติอย่างถูกต้อง และไม่ได้เป็นการเบียดบังเวลาราชการแต่อย่างใด ยืนยันว่า ไม่ได้ทำอะไรผิดระเบียบขั้นตอน


ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 ตุลาคม 2554

8704

ในปีพ.ศ. 2545 ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 โดยได้บัญญัติว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขโดยเสมอภาค เท่าเทียมและมีมาตรฐาน โดยผู้ยากไร้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ในพระราชบัญญัติเดียวกันนี้ ก็ได้มีการยกเว้นว่า ประชาชนที่ได้รับสวัสดิการข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ สวัสดิการข้าราชการส่วนท้องถิ่นหรือประกันสังคม จะไม่ได้รับสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้

ที่มาของการเสนอพระราชบัญญัตินี้ มาจากแนวคิดของผู้ก่อตั้งชมรมแพทย์ชนบทที่มีนพ.ประเวศ วสี เป็นผู้นำกลุ่ม โดยมีนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ได้นำเสนอต่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เห็นชอบกับแนวคิดนี้ และได้มีการตราพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ใช้บังคับ

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)เป็นคนแรก และรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณค่ารักษาพยาบาล หรือที่เรียกว่า“ค่าบริการสาธารณสุข” เป็นค่าเหมาจ่ายรายหัวต่อปี คิดเป็น 1,200 บาทต่อหัวต่อปี โดยรัฐบาลจ่ายเงินนี้เข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่ “หน่วยบริการ” คือโรงพยาบาลหรือคลินิกต่างๆ ที่ได้ลงทะเบียนเป็น “หน่วยบริการ” กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

หลังจากมีพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว มีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นในระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขมากมาย ทั้งปัญหาเรื่องการเงิน งบประมาณ ปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ลาออกมากขึ้น มีการฟ้องร้อง/ร้องเรียนบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นอย่างมากมายหลายสิบเท่า ส่วนโรงพยาบาลก็ขาดแคลนทั้งเงิน คน และสิ่งของในการทำงานที่ไม่ได้รับงบประมาณในการพัฒนา ในขณะที่สปสช.มีบุคลากรเพิ่มมากขึ้นหลายเท่า มีการกำหนดกฎระเบียบในการใช้ยาและทำโครงการตรงในการรักษาประชาชนที่เรียกว่า Vertical program หลากหลายโครงการ เพื่อให้เงินเพิ่มสำหรับโรงพยาบาลหรือคลินิกที่จะเข้าร่วมในโครงการนั้นๆ

วันที่ 12 มีนาคม 2553 ทางแพทยสภาซึ่งได้ติดตามปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในระบบบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดการสัมมนาเรื่อง “แปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค และความท้าทายในการพัฒนา” โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราชการ แพทยสภา

การสัมมนาครั้งนั้นผู้เขียนบทความนี้ ในฐานะผู้รับผิดชอบในการจัดการสัมมนา ได้รับฟังข้อเท็จจริง ความคิดเห็นและมุมมองต่างๆ ของวิทยากร และผู้เข้าสัมมนา ซึ่งมี 3 เรื่องสำคัญๆเกี่ยวข้องกับระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขของประเทศไทย ที่เป็นผลจากการบัญญัติพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ดังต่อไปนี้

1.จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขของประเทศไทย
2.การเงินการคลังของระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข
3.ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระทรวงสาธารณสุขจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
1.จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขของไทย

ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ให้ออกมาเป็นกฎหมายใช้บังคับ ทำให้เกิดจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงในระบบการบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขในประเทศไทยอย่างสำคัญ กล่าวคือ ก่อนที่จะมีพ.ร.บ.ฉบับนี้ การบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขนั้น อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ได้กำหนดให้กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน ควบคุมและรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

แต่ในปีพ.ศ. 2545 มีสิ่งแปลกปลอมเกิดขึ้น คือมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสปสช.ขึ้นมา ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 สำนักงานแห่งนี้ ไม่ได้มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม ใดๆเลย นายกรัฐมนตรีไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาของเขา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เนื่องจากในพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้เขียนไว้ว่า ให้มีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรี ความหมายของคำว่ากำกับ หมายถึงดูแลเฉพาะความชอบด้านกฎหมาย ส่วนคำว่าบังคับบัญชาหมายถึงดูแลทั้งความชอบด้านกฎหมาย ดุลพินิจ นโยบาย

ฉะนั้น ตามพระราชบัญญัตินี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถกำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับเรื่องสปสช.ได้ กระทรวงสาธารณสุขต้องการจะทำอะไร ถ้าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เห็นด้วย กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถทำได้ ไม่มีเงินทำงาน เอกภาพในการบริหารงานของกระทรวงสาธารณสุขมันหายไป สปสช.ไม่อยู่ในกรอบตามกฎหมายที่จะต้องทำตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขเลย จะทำตามก็ได้ ไม่ทำก็ได้ นับว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมจริงๆ

รัฐมนตรีและปลัดกระทรวงสาธารณสุข ไม่สามารถกำหนดนโยบายใดๆ ถ้าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เห็นด้วย นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่ได้มีจุดเกาะเกี่ยวในอำนาจที่จะบังคับบัญชาหรือสั่งการใดๆต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.ได้เลย

มีกฎหมายอยู่ข้อหนึ่งบอกว่า สปสช.ต้องส่งงบดุลรายการใช้จ่ายเพื่อให้คณะรัฐมนตรีเสนอต่อสภา โดยผ่านทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สิ่งที่รัฐมนตรีทำได้คือตรวจการใช้งบ แต่ไม่สามารถตรวจสอบควบคุมการ ใช้อำนาจของสปสช.ได้ เช่น บัญชีเงินเดือน กำหนดการซื้อยาได้รวบอำนาจมาทำเอง การรักษาพยาบาลของแพทย์ถูกแทรกแซง โดยมีการกำหนดว่าให้ใช้ยาอะไร การจ่ายเงินค่าบริการสาธารณสุขจ่ายไม่ครบตามที่โรงพยาบาลได้ใช้จ่ายจริง

ขณะที่สปสช.มีเงินมากำหนดโครงการใหม่ๆเพิ่มเติมในการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน มีเงินให้ค่าตอบแทนเป็นพิเศษแก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ไปทำงานตามโครงการพิเศษของสปสช. และสปสช.มีบุคคลากรมากมาย แต่ไม่ทำงานเองในหลายๆเรื่อง เช่น เอาเงินไปจ้างคนนอกสปสช. มาทำงานต่างๆ อาทิ งานวิจัย การตรวจมาตรฐานคุณภาพสถานบริการ เช่น ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ

หรือการที่สปสช.มีหน้าที่จ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุขตามมาตรา 41 ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 สปสช. จ่ายเงินไปเพียง 0.01 % ของงบประมาณเฉพาะส่วนนี้ ทำให้ประชาชนบางกลุ่มอ้างว่า การที่สปสช.จ่ายเงินเพียงไม่เกินรายละ 200,000 บาท ทำให้ประชาชนมีเงินไม่พอใช้จ่ายในการดำรงชีวิต จึงพยายามกดดันรัฐบาลให้ออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข โดยอ้างว่าสปสช.จ่ายเงินตามม. 41 น้อยเกินไป

นายสุกฤษฏิ์ กิตติศรีวรพันธุ์ นักกฎหมายมหาชน วิทยากรในการสัมมนา ได้กล่าวไว้ว่า ไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหนในโลก ที่รัฐมนตรีไม่สามารถสั่งการหน่วยงานที่ทำงานตามภาระงานในสายงานการบริหารของตนเองได้

รัฐมนตรีมีหน้าที่บังคับบัญชาและจัดการบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน แต่ไม่มีอำนาจที่จะสั่งใช้เงินในการดำเนินการตามนโยบายได้ รัฐมนตรีและปลัดกระทรวง ไม่สามารถบริหารงบประมาณได้ตามแนวนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากสปสช.มีอำนาจในการควบคุมการใช้เงิน รัฐมนตรีมีเพียง คนละ 1เสียงในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น

โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะเป็นผู้กำหนดการใช้เงิน โดยที่คณะกรรมการเหล่านี้ ก็ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน ไม่ได้รับการคัดเลือกจากประชาชน ไม่มีความเกี่ยวโยงกับส.ส. ไม่ต้องผ่านการคัดเลือกใดๆ ไม่ต้องผ่านการสอบความรู้ความสามารถทางวิชาการเหมือนข้าราชการ กล่าวคือ สปสช.ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของทั้งฝ่ายการเมืองหรือฝ่ายข้าราชการ แต่บริหารงบประมาณมากมาย และเป็นสิ่งแปลกปลอมของกระทรวงสาธารณสุข ที่ทำให้การทำงานบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขของประเทศไทยมีปัญหามายาวนานถึง 9 ปีแล้ว
ภาพจาก exactdata.net

ภาพจาก exactdata.net
2.การเงินการคลังของระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข

ดังที่กล่าวแล้วว่ากระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักของประเทศในการที่จะจัดการให้มีบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนทุกคน (ยกเว้นประชาชนบางคนที่เลือกไปใช้บริการจากภาคเอกชน) ซึ่งในการบริหารจัดการในเรื่องนี้ กระทรวงสาธารณสุขควรได้รับงบประมาณ เพื่อจัดหาสิ่งที่จำเป็นเหมาะสมและเพียงพอ ในการดำเนินการให้เหมาะสม มีมาตรฐาน ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องมีงบประมาณในการ จัดหา ปลูกสร้าง ซ่อมแซม พัฒนาอาคารสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ รวมทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัย กระทรวงสาธารณสุขควรได้รับการจัดสรรบุคลากรตามระบบราชการให้มีจำนวนที่เหมาะสม เพียงพอ มีความรู้ความเชี่ยวชาญและทักษะที่ทันสมัย ในการรับผิดชอบชีวิตและสุขภาพของประชาชน

ก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณในการดำเนินการตามภาระที่ต้องรับผิดชอบทั้งในยุคก่อนและหลังระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมากน้อยแค่ไหนและอย่างไร

1.งบประมาณก่อนระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ก่อนระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ งบประมาณในการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุข ได้รับมาจากแหล่งที่สำคัญๆดังนี้

1) งบประมาณแผ่นดิน ซึ่งจะรองรับภาระการทำงานในการดำเนินงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างและพัฒนาอาคารสถานที่ จัดหาสิ่งจำเป็นในการดำเนินงาน รวมทั้งเงินเดือนให้แก่บุคลากรและข้าราชการทั้งหมด

ก่อนจะเริ่มระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ งบประมาณแผ่นดินด้านสาธารณสุขประมาณ 64,500 ล้านบาท โดยงบประมาณด้านสาธารณสุขจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 4.7 % ต่อปี และงบประมาณกระทรวงสาธารณสุขนั้นมากกว่า 90 % ของงบประมาณสาธารณสุขทั้งหมดของประเทศ

2) เงินค่าบริการทางการแพทย์ โดยโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินจากประชาชนที่มารับการตรวจรักษาจากโรงพยาบาล (ในราคาถูก ถือว่าเป็นสวัสดิการแก่ประชาชน) เงินเหล่านี้ เรียกว่าเงินบำรุงโรงพยาบาล ซึ่งผู้บริหารโรงพยาบาลสามารถนำเอาเงินเหล่านี้ ไปใช้จ่ายหมุนเวียนในการทำงานได้ตามระเบียบของทางกระทรวงสาธารณสุข

3) เงินจากโครงการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย และรายได้จากบัตรประกันสุขภาพ ครอบครัวละ 500 บาท

เนื่องจากบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขนี้ เป็นบริการที่มีราคาถูก เพื่อประชาชนทั่วไปสามารถมาใช้บริการได้ แต่ก็ยังมีประชาชนที่ยากจนไม่สามารถจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเรียกเก็บได้ รัฐบาลจึงได้จัดสรรงบประมาณสำหรับค่าบริการของประชาชนที่มีรายได้น้อย จัดสรรให้แก่โรงพยาบาลเพิ่มเติมจากงบประมาณทั่วไป เพื่อช่วยให้โรงพยาบาลมีเงินซื้อยาและเวชภัณฑ์เพื่อให้บริการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนที่ยากจน

กระทรวงสาธารณสุขยังได้จัดโครงการบัตรประกันสุขภาพโดยสมัครใจสำหรับประชาชนทั่วไป โดยซื้อบัตรประกันสุขภาพครอบครัวละ 500 บาท

4) เงินบริจาค ประชาชนไทยที่มีเงิน มักจะชอบทำบุญ บริจาคทาน เพื่อบำรุงศาสนา โรงเรียน และโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่วนใหญ่มักจะตั้งมูลนิธิ เพื่อรับบริจาคเงินจากประชาชนหรือองค์กรสาธารณกุศล หรือองค์กรเอกชน หรือจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อหารายได้ให้แก่มูลนิธิ ซึ่งจะนำเงินเหล่านี้ไปใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วย หรือ ช่วยในการพัฒนาโรงพยาบาลในด้านต่างๆ เพื่อจะทำให้โรงพยาบาลมีศักยภาพในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยให้ดีขึ้น

2.งบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขภายหลังระบบหลักประกันสุขภาพ

งบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขหลังจากมีระบบหลักประกันสุขภาพแล้วลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบสัดส่วนกับงบประมาณสาธารณสุขทั้งหมด กล่าวคือ รัฐบาลจ่ายเงินงบประมาณด้านการสาธารณสุขของประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมในอัตรามากกว่า 12 % ต่อปี แต่กระทรวงสาธารณสุขจะได้รับงบประมาณเป็นอัตราส่วนลดลง เหลือน้อยกว่า 50 % ของงบประมาณสาธารณสุขทั้งประเทศ จนลดเหลือเพียง 42 % ในปีพ.ศ. 2552 และเหลือเพียง 40.2 % และ 30.4 % ในปี 2553 และ 2554 ตามลำดับ

ทั้งนี้ เนื่องจากงบประมาณด้านสาธารณสุขส่วนใหญ่ ถูกจัดสรรผ่านไปให้สปสช. แม้แต่เงินเดือนของบุคลากร การซ่อมแซมและพัฒนาอาคารสถานที่ การจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์บางอย่าง ก็ต้องไป “ขอ” มาจากสปสช.

แต่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี โดยงบประมาณของสปสช.เพิ่มขึ้นจากปี 2545 ที่ 51,408 ล้านบาทในปีเริ่มต้น มาเป็น 117,967 ล้านบาทในปี 2552 และจะเพิ่มเป็น 140,000 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2555

หลังจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผ่านไปแค่ 2 ปี จำนวนโรงพยาบาลทั้งน้อยใหญ่ของกระทรวงสาธารณสุข มีงบการเงินติดลบ (เงินบำรุง วัสดุคงคลัง ลดลง หนี้สินเพิ่มขึ้น ) พร้อมๆ กับที่โรงพยาบาลจำนวนไม่น้อยปรับลดการลงทุน (ซ่อมแซม พัฒนาอาคารสถานที่ และจัดหาเครื่องมือ เทคโนโลยี)

งบประมาณของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ยังเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน แต่ในขณะที่งบประมาณของสปสช.เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลนั้น โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขก็มีตัวเลขรายงานการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง

ถึงแม้ว่าผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานการขาดทุนเหล่านี้ไปยังสปสช. แต่สปสช.ก็ไม่เพิ่มเงินให้แก่โรงพยาบาลให้สมดุลกับค่าใช้จ่าย กระทรวงสาธารณสุขจึงได้พยายามแก้ไขปัญหาการขาดทุนเอง โดยการปรับขึ้นราคาค่าบริการโรงพยาบาลทุกชนิด เพื่อหารายได้ของโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นให้สมดุลกับต้นทุนค่าใช้จ่าย แต่อัตราเพิ่มเหล่านี้ ไม่สามารถเรียกเก็บได้จากสปสช. เนื่องจากสปสช.จะปฏิเสธการจ่ายเงินตามอัตราเหล่านี้ แต่จะตั้งราคากลาง ซึ่งมีอัตราต่ำกว่าต้นทุนของโรงพยาบาลแต่ถึงแม้สปสช.จะตั้งราคากลางไว้แล้ว เมื่อถึงเวลาจ่ายเงินให้โรงพยาบาล สปสช.ก็จะไม่จ่ายตามราคากลางที่ตนตั้งไว้ โดยอ้างว่าไม่มีเงินแล้ว

แต่สปสช.จะแบ่งเงิน(เอาไว้ก่อนแล้ว) เพื่อเอาไปทำโครงการรักษาผู้ป่วยเอง เป็นโครงการเฉพาะเรื่องเรียกว่า Vertical Program และจ่ายเงินเหล่านี้ให้แก่โรงพยาบาลที่ต้องการเข้าร่วมรายการ และแบ่งไปไว้ “จ่ายหนี้ค้างชำระ” อีกปีละหลายหมื่นล้านบาท โดยไม่ได้เอาไปชำระหนี้ตามอ้าง แต่เอาไปทำอย่างอื่นตามที่สปสช. ต้องการจะทำ โดยไม่จ่ายเงินที่ยังจ่ายไม่ครบให้แก่กระทรวงสาธารณสุข

ฉะนั้น ไม่ว่าสปสช.จะของบประมาณเพิ่มขึ้นตามราคารายหัวมากขึ้นเท่าใดก็ตาม โรงพยาบาลก็จะยังขาดทุนในการดำเนินงานต่อไป แต่สปสช.จะยังมีเงินหลายหมื่นล้านไว้เงินใช้จ่ายตามโครงการที่สปสช.กำหนดทั้งๆที่ไม่ใช่หน้าที่ของสปสช.

การดำเนินการของสปสช.นี้ ทำโดยการอ้างมติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีกรรมการโดยตำแหน่งมากมาย แต่ส่ง “ผู้แทน” เข้าประชุม จึงทำให้มีมติการประชุมออกมาตามการ “จัดการ” ที่กำหนดไว้ได้

โดยสปสช.จะมีอำนาจของบประมาณ มีอำนาจ “จัดสรรเงิน” และใช้เงิน เนื่องจาก “มีเงิน” อยู่ในมือแต่กระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีภาระการทำงานยังขาดเงินในการทำงานอีกอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่แนวโน้มของงบประมาณของสปสช.ยังจะเพิ่มขึ้นอีกต่อไป ถ้ายังไม่มีการแก้ไขระบบให้ดีกว่านี้

สำหรับแนวโน้มของงบประมาณในอนาคตนั้น ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีเหตุผลสนับสนุนที่สำคัญดังนี้คือ

1.คนไทยมีสาเหตุของปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น มีชีวิตยืนยาวขึ้น

2.มีโรคอุบัติใหม่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งปัญหาภัยพิบัติจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น

3.ประชาชนคาดหวังว่าคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงควรจะมีบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพและครอบคลุมมากขึ้น

4.มีเทคโนโลยีทางการแพทย์และเวชภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีราคาสูงเกิดขึ้นตลอดเวลา สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ แต่เป็นโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น

5.รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฝ่ายเดียว โดยประชาชนไม่ต้องร่วมจ่ายเลย ทำให้มีการใช้บริการด้านสาธารณสุขเพิ่มขึ้น

ปัญหาที่จะต้องเผชิญในอนาคต

สำหรับระบบการจ่ายเงินงบประมาณให้สปสช. เป็นระบบที่แปลกที่สุดสำหรับกระทรวงสาธารณสุข เพราะทำให้กระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีภาระงานที่จะต้องรับผิดชอบดำเนินการในการรักษาประชาชนแทนรัฐบาลผู้บริหารประเทศ แต่กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถวางแผนจัดทำงบประมาณได้เอง ไม่สามารถกำหนดงบประมาณตามภาระงานที่ต้องรับผิดชอบ และไม่ได้รับงบประมาณโดยตรงจากรัฐบาลที่มอบหมายให้ทำงาน แต่ต้องไปรับงบประมาณจากหน่วยงานอิสระที่ไม่อยู่ใต้การบังคับบัญชาของผู้บริหารสูงสุดของกระทรวงสาธารณสุข

ถ้าไม่มีการตรวจสอบที่เข้มแข็ง และรู้ทัน งบประมาณด้านสาธารณสุขของประเทศจะถูกใช้ไปอย่างไม่ถูกต้อง และไม่เกิดประโยชน์แก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างแท้จริง ถึงเวลาที่หน่วยงานภาครัฐต้องตรวจสอบการดำเนินงานของสปสช.อย่างเข้มข้นแล้วหรือยัง?
ภาพจาก biojobblog.com

ภาพจาก biojobblog.com
3.ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระทรวงสาธารณสุขจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

หลังจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเกิดขึ้นแล้ว กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณในการทำงานลดลง แต่งบประมาณด้านสาธารณสุขส่วนใหญ่ของประเทศได้รับการจัดสรรให้แก่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อ “จ่ายเป็นค่าบริการสาธารณสุข” ให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ

แต่เงินค่าบริการสาธารณสุขที่ว่านี้ ได้รวมเอาเงินเดือนบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข เงินค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รวมทั้งงบประมาณในการซ่อมแซมและพัฒนาอาคารสถานที่ และอื่นๆ ที่กระทรวงสาธารณสุข (เคย)ได้รับเข้าไปด้วย โดยไม่ได้ศึกษาต้นทุนที่แท้จริงในการดำเนินการของโรงพยาบาล ทำให้เกิดปัญหาต่อกระทรวงสาธารณสุขดังนี้

1) โรงพยาบาลขาดสภาพคล่องทางการเงิน

ในเรื่องการขาดแคลนงบประมาณจนโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องทางการเงินนั้นในปีพ.ศ. 2552 กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณ 40,000 ล้านบาทจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ในขณะที่จำนวนเงินงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวทั้งหมดในปี 2552 คือ 89,385 ล้านบาท
(หักเงินเดือน 28,584 ล้านบาท)

ส่วนงบประมาณจากระบบสวัสดิการข้าราชการนั้น โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้รับเพียง 20,000 ล้านบาท ( จากงบทั้งหมด 60,000 ล้านบาทที่กรมบัญชีกลางต้องจ่ายในสวัสดิการค่ารักษาของงข้าราชการ)

โรงพยาบาลในพื้นที่ที่มีประชาชนมาก มีโรงพยาบาลที่ไม่ใหญ่มาก ก็อาจจะพอมีเงินเหลือ แต่โรงพยาบาลที่มีประชาชน(ตามทะเบียนบ้าน)น้อย แต่อาจมีจำนวนผู้ป่วยมาก เช่น เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ หรือเป็นโรงพยาบาลชายแดน ที่มีประชาชนอพยพจากที่อื่นมาใช้บริการมาก จะมีปัญหาเรื่องการขาดเงินดำเนินการ จนถึงกับขาดสภาพคล่องทางการเงิน

จากการรายงานของกลุ่มประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในปีพ.ศ. 2552 โรงพยาบาลทั้งหมดของกระทรวงสาธารณสุข 807 แห่ง มีโรงพยาบาลที่ได้กำไรเพียง 302 แห่ง (คิดเป็น 37 %) ส่วนที่เหลือจะขาดทุน 505 แห่ง (62.58 %) และขาดสภาพคล่องทางการเงิน 175 แห่ง จำนวนเงินที่ขาดทุน 5,575 ล้านบาท

ทั้งนี้การจัดสรรงบประมาณจากการจ่ายเงินจากกองทุนต่างๆ ไปยังโรงพยาบาลโดยตรง ทั้งกำหนดการหักเงินเดือนของสปสช.ในระดับเครือข่าย ทำให้กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถบริหารหรือจัดการงบประมาณในแต่ละโรงพยาบาลได้

2) เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างประชาชน ทั้งคนจนและไม่จน จำนวน 48 ล้านคน ได้รับการบริการโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

ทั้งนี้การยกเลิกการจ่ายเงินครั้งละ 30 บาท ทำให้ประชาชนมาใช้บริการมากขึ้น ส่วนคนที่ยากจนจริงๆนั้น บางคนอาจไม่มีเงินเป็นค่าเดินทาง ก็อาจจะไม่สามารถมารับบริการได้ แต่ผู้มีเงินมากก็จะมารักษาที่โรงพยาบาลมากขึ้น เรียกร้องการรักษามากขึ้น โดยไม่ต้องรับผิดชอบดูแลสุขภาพของตนเอง และไม่ต้องร่วมจ่ายเงินในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองเลย

3) ไม่มีงบประมาณด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ทั้งนี้เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้รับงบประมาณในการดำเนินการเลยหลังจากพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย เนื่องจากรัฐบาลคิดว่างบประมาณเหมาจ่ายรายหัวนั้น รวมทั้งเงินเดือน(บางส่วน)ของบุลากรกระทรวงสาธารณสุข และงบประมาณดำเนินการทั้งสิ้นของกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ทำให้กระทรวงต้องไปของบประมาณด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมาจากสปสช. โดยแบ่งมาจากงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว

การขาดงบประมาณในการดำเนินการในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยมากขึ้น ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลมากขึ้น โรงพยาบาลมีภาระงานในการตรวจรักษาผู้ป่วยมากขึ้น ต้องสูญเสียเงินในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

4) ขาดงบประมาณในการซ่อมแซมและพัฒนา งบประมาณที่ขาดดุลทำให้โรงพยาบาลไม่มีงบประมาณในการซ่อมแซม พัฒนา และจัดหาสิ่งของเครื่องใช้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ๆ ให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

5) ภาระงานมากขึ้นแต่บุคลากรก็ลาออกมากขึ้น ผู้ป่วยใน (นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล)เพิ่มขึ้น 23 % ผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น 32 % จนมีจำนวนผู้ป่วยมารับบริการถึง 200 ล้านครั้งต่อปี เป็นสาเหตุที่สำคัญอันหนึ่งที่ทำให้บุคลากรลาออกอย่างต่อเนื่อง

6) การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ทุกชนิด บุคลากรหลายสาขาวิชาชีพขาดแคลน ต้องรับภาระงานมากเกินไป มีความเสี่ยงต่อความผิดพลาดในการทำงาน ขาดเวลาที่จะอธิบายและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและประชาชน มีความเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียนฟ้องร้อง และไม่มีความก้าวหน้าและความมั่นคงทางการงาน

7) มาตรฐานการแพทย์(ในกระทรวงสาธารณสุข)ตกต่ำ แพทย์ขาดอิสระในการพิจารณาสั่งการรักษาผู้ป่วย ทั้งๆที่ “เป็นผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ” ทั้งนี้เนื่องจากการกำหนดกฎเกณฑ์การจ่ายยาและการจ่ายเงินของสปสช. ทำให้แพทย์ต้องสั่งใช้ยาเก่าๆ เดิมๆ ตามรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งบางอย่างก็ไม่ใช่ยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วย

การ “มีสิทธิ์สั่งเพียงยาเก่าๆ เดิมๆ” นี้จะทำให้แพทย์ไม่มีประสบการณ์ในการใช้ยาใหม่ๆที่มีประสิทธิผลดีกว่าเดิม และประชาชนทั่วไปที่ใช้สิทธิในระบบ “บัตรประชาชนใบเดียวไปรักษาฟรีทุกโรงพยาบาล” จะมีความเสี่ยงต่อการได้รับความเสียหายมากขึ้น เนื่องจากไม่มีสิทธิได้รับยาใหม่ๆที่มีประสิทธิผลสูงสุด ตามดุลพินิจของแพทย์ตามมาตรฐานทางการแพทย์ที่สูงขึ้น

ผลในระยะยาวก็คือการแพทย์ไทยในระบบของกระทรวงสาธารณสุข นอกจากแพทย์จะไม่สามารถมีประสบการณ์ในการ“พัฒนาการรักษาให้ความก้าวทันโลก และทันโรค” แล้ว ความรู้ทางการแพทย์ไทยยังจะต้องถอยหลังลงคลองไป ในอนาคตอันใกล้นี้ เหมือนกับที่ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการที่เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวไว้ในเวทีการประชุมระดับนานาชาติ(ในการตอบคำถาม)ว่า “ผมไม่กล้าไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป หรือโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ทั้งนี้เนื่องจากไม่เชื่อถือว่าจะมีมาตรฐานทางการแพทย์ที่ไว้ใจได้”
ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาของกระทรวงสาธารณสุข

ปัญหาในการให้บริการด้านสาธารณะด้านสาธารณสุข ในกระทรวงสาธารณสุข ที่มีความเสี่ยงต่อการขาดคุณภาพมาตรฐานนั้น ย่อมส่งผลต่อความเสียหายต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน ถ้าสามารถแก้ไขปัญหาให้การบริการสาธารณสุขมีคุณภาพมาตรฐาน ย่อมส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดี คุณภาพชีวิตก็จะดีด้วย และจะช่วยให้ประชาชนมีความสามารถในการทำงานได้เต็มที่ สร้างเศรษฐกิจของตนเอง ครอบครัวได้ดี ส่งผลให้ประเทศชาติมีความก้าวหน้า มั่นคง และเจริญรุ่งเรืองต่อไป ปัญหาทั้งหลายที่เห็นและเป็นอยู่ในระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขที่กล่าวมา (ยังมีปัญหาต่างๆอีกมากมาย ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง )ทั้งหมดนี้ สุดวิสัยที่บุคลากรทางการแพทย์ทั้งหลายจะป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ ถ้ายังไม่มี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่สามารถเข้าใจถึงสาเหตุของ “การขาดเอกภาพในการบริหารจัดการ” ในการบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข

ที่สำคัญคือเป็นนักการเมืองพันธุ์ใหม่ที่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ไม่มี “ความเห็นแก่ตัว” เป็นที่ตั้ง และ “ลงมือแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุแห่งปัญหา” อย่างจริงจังให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)

thaipublica.org 30 กันยายน 2011

8705
 แพทยสภา เตรียมระดมหมอทั่วประเทศหารือเกณฑ์ค่าตอบแทน 14 ต.ค.ด้าน ประธาน สพศท.เมินโมเดลใหม่แพทย์ชนบท แค่สิทธิการคิด เชื่อ สำนักงบฯ ไม่สนับสนุน
       
       นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดสรรค่าตอบแทนแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขปีงบประมาณ 2554 งวดแรก 1,717 ล้านบาท จากทั้งหมด 4,200 ล้านบาท โดยเป็นเงินจากงบประมาณกลางปี 2554จำนวน 1,600 ล้านบาท และเงินเหลือจากการจัดซื้อจัดจ้างภายใน สธ.อีกจำนวน 117 ล้านบาท ซึ่งเงินก้อนดังกล่าวจะแบ่งให้กับโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ.รพท) โดยจ่ายย้อนหลังตั้งแต่เดือน ต.ค.2553 ขณะที่เงินงวดที่ 2 ราว 2,500 ล้านบาท ต้องรอการจัดจัดสรรจากงบประมาณกลางปี 2555 กระทั่งแพทย์ชนบทออกมาปฏิเสธและเสนอโมเดลของบค่าตอบแทนผ่านเงินเหมาจ่ายรายหัวแทน ว่า ค่าตอบแทนยังเป็นปัญหาสำหรับแพทย์ทั่วไป ยิ่งแพทย์ที่ทำงานหนัก หากปราศจากค่าตอบแทนที่เหมาะสม ยิ่งส่งผลต่อกำลังใจ และอาจเป็นปัญหาแพทย์สมองไหล อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการจัดสรรงบประมาณค่าตอบแทน จะเป็นลักษณะปีต่อปี และพิจารณาตามเกณฑ์ต่างๆ ทั้งจ่ายตามผลงาน จ่ายตามพื้นที่ทุรกันดาร แต่ปัญหาอยู่ที่การจ่ายตามผลงานของแพทย์ ตรงนี้ต้องมีเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากแพทย์แต่ละสาขา ย่อมทำงานแตกต่างกัน ยกตัวอย่าง แพทย์สูตินรีเวช แพทย์ดมยา แพทย์ออโธปิดิกส์ ล้วนมีภาระงานที่แตกต่างกัน หากนำปริมาณงานมาพิจารณาเป็นคะแนนจะเกิดความไม่เป็นธรรม สิ่งสำคัญต้องมีเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ไม่เช่นนั้นจะเกิดความลักลั่น จากปัญหาดังกล่าว แพทยสภา จึงได้รับการร้องขอจากแพทย์ในการเป็นตัวกลางระดมแพทย์ทั่วประเทศ มาหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ในวันที่ 14 ต.ค. นี้ ที่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อร่วมกันหาแนวทางพิจารณาเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทน คาดว่าจะมีตัวแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ.) เข้าร่วมราว 100-200 คน
       
       ด้าน พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวว่า ในเรื่องการชูโมเดลค่าตอบแทนของ ชมรมแพทย์ชนบท นั้น เป็นสิทธิส่วนตัวที่สามารถเสนอได้ แต่เชื่อว่า สำนักงบประมาณไม่น่าจะยอมรับได้ ทั้งนี้เชื่อว่าปัญหาทั้งหมดขณะนี้ขึ้นอยู่กับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ดังนั้นการจะเสนอโมเดลใหม่หมายถึงเริ่มใหม่ ขั้นตอนทุกอย่างก็จะล่าช้า ซึ่งเป็นไปได้ว่า กระบวนการที่ สธ.ดำเนินการน่าจะเดินต่อได้เร็วกว่าอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามในการหารือร่วมกับแพทยสภาในวันที่ 14 ต.ค.นี้ อาจจะมีการหารือประเด็นนี้เพิ่มเติมด้วย แต่ไม่มีความกังวลใดๆต่อเรื่องนี้อยู่แล้ว
       
       สำหรับโมเดลการจ่ายค่าตอบแทนในโรงพยาบาลชุมชน ที่ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ์ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เสนอแก่รัฐบาล คือ ไม่ใช้เงินจากงบประมาณกลาง แต่จะใช้เงินจากงบเหมาจ่ายรายหัวของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ปี 2555 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2554 อีกประมาณ235บาทต่อหัวประชากร ในจำนวนนี้ แบ่งเป็นงบประมาณสำหรับผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น 201 บาท และงบประมาณส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้น 34 บาท โดยโมเดลที่จะเสนอ จะใช้เงินที่เพิ่มขึ้นก้อนดังกล่าว โดยแบ่งเป็น 100 บาท สำหรับจ่ายค่าตอบแทนแพทย์ พยาบาล ซึ่งเมื่อคำนวณจากประชาชนที่ลงทะเบียนอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน38 ล้านคน จะเท่ากับ 3,800 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับงบประมาณที่เคยได้รับจากงบประมาณกลางตามระเบียบเงินบำรุง ฉบับ 4 และ 6 ส่วนเงินอีก100บาท ก็จะนำไปใช้แก้ปัญหาของระบบ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอยู่ทุกปี

ASTVผู้จัดการออนไลน์    30 กันยายน 2554

8706
​ศูนย์บริ​การ​โลหิต​แห่งชาติ ขอ​เชิญพุทธศาสนิกชนชาว​ไทยร่วม​ใจบริจาค​โลหิต ฉลองพระชันษา 98 ปี สม​เด็จพระญาณสังวร สม​เด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ​เนื่อง​ใน​โอกาสคล้ายวันประสูติ 3 ตุลาคม 2554 ตลอด​เดือนตุลาคม 2554 ณ ศูนย์บริ​การ​โลหิต​แห่งชาติ ​และหน่วยรับบริจาค​โลหิต​เคลื่อนที่

​แพทย์หญิงสร้อยสอางค์ พิกุลสด ​ผู้อำนวย​การศูนย์บริ​การ​โลหิต​แห่งชาติ กล่าวว่า ​เนื่อง​ใน​โอกาสคล้ายวันประสูติ สม​เด็จพระญาณสังวร สม​เด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ​และทรง​เจริญพระชันษา 98 ปี วันที่ 3 ตุลาคม 2554 ศูนย์บริ​การ​โลหิต​แห่งชาติ สภากาชาด​ไทย ​ได้จัด​โครง​การ “พุทธศาสนิกชนชาว​ไทย ร่วม​ใจบริจาค​โลหิต ฉลองพระชันษา 98 ปี สม​เด็จพระญาณสังวร สม​เด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” ​เพื่อ​เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ร่วมบริจาค​โลหิตถวาย​เป็นพระราชกุศล ระหว่างวันที่ 1-31 ตุลาคม 2554 ​และ​เพื่อ​เป็น​การกระตุ้น​ให้มี​การบริจาค​โลหิต​เป็นประจำสม่ำ​เสมอ ช่วยบรร​เทาภาวะขาด​แคลน​โลหิต​ในช่วงปิดภาค​เรียน ส่งผล​ให้มี​โลหิตสำรอง​เพียงพอสำหรับ​ผู้ป่วยตลอด​ทั้งปี

ศูนย์บริ​การ​โลหิต​แห่งชาติ ​จึงขอ​เชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมบริจาค​โลหิต​ใน​โครง​การฯ ​และร่วมลงนามถวายพระพร สม​เด็จพระญาณสังวร สม​เด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ​ซึ่ง​ได้จัด​เตรียม​ใบ​โพธิ์​ให้​ผู้บริจาค​โลหิต​และประชาชน ​ได้​เขียนคำถวายพระพร ​และติดที่ต้น​โพธิ์จำลอง ​ได้ที่ ศูนย์บริ​การ​โลหิต​แห่งชาติ ถ.อังรีดูนังต์

นอกจากนี้ ​โครง​การยังออกหน่วย​เคลื่อนที่รับบริจาค​โลหิต อาทิ วัดบวรนิ​เวศวิหาร ​ในวันที่ 1 ตุลาคม 2554 ตั้ง​แต่​เวลา 09.00 - 15.00 น. ณ ตึก สว.ธรรมนิ​เวศ ชั้น 1, วัดภาษี ​ในวันที่ 8 ตุลาคม 2554 ​เวลา 08.30 - 12.00 น. ณ ​โรง​เรียนวัดภาษี, ชมรมบริจาค​โลหิตวัดพุทธบูชา วันที่ 13 ตุลาคม 2554 ​เวลา 09.00-15.00 น. ณ ลานจอดรถวัดพุทธบูชา, วัดปากน้ำ ภาษี​เจริญ วันที่ 14-16 ตุลาคม 2554 ​เวลา 08.30-14.30 น., ​และวัดสังฆราชา วันที่ 23 ตุลาคม 2554 ​เวลา 09.00-14.00 น. สอบถาม​เพิ่ม​เติม​ได้ที่ ​โทร. 02-256 4300, 02-263-9600-99 ต่อ 1760, 1761

แนวหน้า  30 กันยายน 2554

8707
​แพทย์​เผยผ่าตัดหลอด​เลือดขอดด้วยคลื่น​ความถี่วิทยุย่นระยะ​เวลา​ใน​การรักษา ​และ​ไม่มีผลข้าง​เคียง ​แนะนั่ง​ไขว่ห้าง นั่งพับ​เพียบ ​เสี่ยง​เกิด​โรคหลอด​เลือดขอด ​ผู้ที่ต้อง​เดินทาง​ไกลๆ ขอ​ให้ลุก​เดิน​เพื่อ​เป็น​การผ่อนคลายกล้าม​เนื้อทุกๆ 3-4 ชั่ว​โมง

พัน​เอก นพ.ธำรง​โรจน์ ​เต็ม อุดม หัวหน้าศัลยศาสตร์หลอด ​เลือด กองศัลยกรรม รพ.พระมง กุฎ​เกล้า กล่าว​ถึง​การรักษา​โรคหลอด​เลือดขอดว่า ​โรคดังกล่าวจะ​เกิดขึ้น​ได้กับคนทุก​เพศ ​แต่​เพศหญิงจะมี​ความ​เสี่ยง​ใน​การ​เกิด​โรคสูงกว่า​เพศชาย ​เนื่องจาก​ในร่างกายจะมีปริมาณสาร​เอส​โตร​เจนมากว่า​เพศชาย  นอกจากนี้​โรคดังกล่าวยังมีหลายปัจจัยที่ ​ทำ​ให้​เกิด​โรค ​เช่น พันธุกรรม ​ซึ่งจาก​การวิจัยพบว่า ครอบครัวที่พ่อ​หรือ​แม่​เป็น​โรคหลอด​เลือดขอด ลูกที่ออกมามี​ความ​เสี่ยงสูงที่จะ​เกิด​โรคประมาณร้อยละ 50 ส่วนครอบครัว​ใดที่​ทั้งพ่อ​และ​แม่​เป็น​โรคนี้ ลูกที่​เกิดมามี​โอกาส​เป็น​โรคหลอด​เลือดขอดสูง​ถึงร้อยละ 90 รวม​ถึง​การรับประทานที่คุม กำ​เนิด น้ำหนักตัวที่มาก ​การ​ทำ งานที่ต้องยืน​เป็น​เวลานาน ​เช่น ครู พยาบาล พนักงานต้อนรับ มี​โอกาส​เกิด​โรคดังกล่าวสูงกว่ากลุ่ม อื่น

​ทั้งนี้ ​โรคหลอด​เลือดขอด​เกิดจาก​การที่หลอด​เลือดดำที่​ทำหน้าที่ส่งผ่าน​เลือดดำจากปลาย​เท้า​ไปยังปอดนั้นต้อง​ทำงานหนัก ​เกิด​เลือดขังตัวที่บริ​เวณน่อง ​และต้นขา ​ทำ​ให้​เกิด​การ​โป่งพอง ​และคดงอของ​เส้น​เลือด ​โรคดังกล่าวมีหลายระดับ ​ซึ่ง​ในระยะ​แรกจะมี ลักษณะ​เป็น​เส้น​เลือดฝอยบริ​เวณชั้นผิวหนัง ​ไม่​เป็นอันตราย​แต่​ทำ ​ให้​เสียบุคลิกภาพ ​แต่หาก​ไม่รักษาอา​การอาจรุน​แรง​ถึงขั้น​โป่งพอง ​เป็น​แผลฟกช้ำ ​แผลอัก​เสบ​เลือดออก จำ​เป็นต้องรักษาด้วย​การผ่า ตัด ​โดย​แพทย์จะยึดวิธี​การ​เปิด​แผล บริ​เวณขาหนีบ​และหัว​เข่า ก่อนจะ สอด​เครื่องมือ​ไปตัดหลอด​เลือดบริ​เวณดังกล่าว​แล้วดึงออกมา ​ซึ่งวิธีนี้​ใช้​เวลา​ใน​การผ่าตัดนาน ​เกิด​แผลฟกช้ำ ​เส้นประสาท​โดยรอบอาจจะ​ได้รับ​การกระทบกระ​เทือน ​และ​ใช้​เวลา​ใน​การรักษาประมาณ 2-4 สัปดาห์

พัน​เอก นพ.ธำรง​โรจน์ กล่าว ต่อว่า ดังนั้น​จึงมี​การพัฒนาวิธี​การ ผ่าตัด​ใหม่ด้วย​การ​ใช้คลื่น​ความถี่ วิทยุ ​เจาะผ่านรู​เข็ม​เข้า​ไปยังหลอด ​เลือด ​และ​ใช้​ความร้อนที่ 120 อง ศา​เซล​เซียส​ใน​การ​ทำ​ให้หลอด​เลือด บริ​เวณนั้นฝ่อตัว หดตัว กลาย​เป็นพังพืดที่จะ​ไม่สะสม​ในร่างกาย ​ซึ่ง​การผ่าตัดจะ​ใช้​เวลาประมาณ 45 นาที ​และ​ไม่มี​ความ​เสี่ยงต่อ​การ​เกิด ​โรค​แทรกซ้อน ​และ​ไม่ต้องนอนพัก ฟื้นที่ รพ. จาก​การติดตามผล​ผู้ป่วย 2-4 ปี พบว่าจะกลับ​เป็น​โรคดังกล่าวร้อยละ 5-10 ​แต่อา​การ​ไม่รุน​แรงสามารถรักษา​ได้ด้วย​การฉีดยา ​ในขณะที่​การผ่าตัด​แบบ​เดิมมี​โอกาสกลับมา​เป็น​ใหม่ประมาณร้อยละ 20

"ขอ​ให้ระวัง​เรื่องพฤติกรรม​การ​ใช้ชีวิต ​การนั่ง​ไขว่ห้าง นั่งพับ​เพียบ​เป็น​เวลานานๆ ​ก็​เป็นสา​เหตุหนึ่งของ​การ​เกิด​โรคหลอด​เลือดขอด ​โดย​เฉพาะ​ผู้ที่ต้อง​เดินทาง​ไกลๆ ขอ​ให้ลุก​เดิน​เพื่อ​เป็น​การผ่อนคลาย กล้าม​เนื้อทุกๆ 3-4 ชั่ว​โมง" พัน ​เอก นพ.ธำรง​โรจน์กล่าว.

​ไทย​โพสต์  30 กันยายน 2554

8708
แพทย์​ผู้​เชี่ยวชาญด้าน​โรคปวดศรีษะ ​โรงพยาบาลกรุง​เทพ ​เผย 12% ของประชากรทั่ว​โลก​เป็น​โรคปวดศรีษะ ​ซึ่งสามารถ​เป็น​ได้ทุก​เพศ ทุกวัย ​แต่​ผู้หญิงจะมีอา​การปวดศรีษะมากกว่า​ผู้ชาย สา​เหตุ​เกิดจาก​ความผิดปกติของสมอง​และ​เส้นประสาท พร้อม​แนะสามารถรักษา​ได้หลายวิธี ​แต่ที่กำลัง​เป็นที่นิยม​ในสหรัฐอ​เมริกา คือ ​การฉีด BOTOX ลด​ได้​ทั้งอา​การปวดศีรษะ​และริ้วรอย

นพ.ยรรยงค์ ทอง​เจริญ อายุร​แพทย์สมอง​และระบบประสาท ​โรงพยาบาลกรุง​เทพ ​เผยว่า อา​การปวดศีรษะ ​เป็นอา​การที่​ผู้ป่วย​เข้ามาปรึกษาประสาท​แพทย์​เป็นอันดับต้นๆ อา​การปวดศีรษะ​ทำ​ให้​เกิด​ความทุกข์ทรมาน​ทั้งทางด้านร่างกาย​และจิต​ใจ รวม​ทั้ง​ทำ​ให้​ไม่สามารถ​ทำงาน​ได้ ​หรือ​ทำงาน​ได้อย่าง​ไม่มีประสิทธิภาพ ​จึงระดมทีม​แพทย์​ผู้​เชี่ยวชาญ​เปิดคลินิก​โรคปวดศีรษะบูรณา​การ ​เพื่อลด​ความรุน​แรง​และ​ความถี่ของอา​การปวดศีรษะ ลด​การ​ใช้ยา​แก้ปวด​เฉียบพลัน รวม​ทั้ง​การ​ใช้ยา​แก้ปวด​เกินขนาด พร้อม​ทั้ง​ให้​ความรู้​และคำ​แนะนำ​เพื่อ​ให้​ผู้ป่วยสามารถดู​แลตัว​เอง​ได้อย่างถูกต้อง​เหมาะสม​และมีประสิทธิภาพ “ปัจจุบันอา​การปวดศีรษะมี​ความหลากหลาย​และ​เกิดขึ้น​ได้จากหลายสา​เหตุ ​เช่น อา​การปวดศีรษะที่​เกิดขึ้นจาก​ความผิดปกติของสมอง​และ​เส้นประสาท อา​การปวดศีรษะที่มีสา​เหตุจากภาย​ใน​หรือภายนอกศีรษะจากภาวะต่างๆ ​เช่น ​เนื้องอก, ​เลือดออก​ในสมอง, ​การติด​เชื้อ​ในสมอง​หรือ​เยื่อหุ้มสมอง ​และ​การปวดศีรษะจาก​เส้นประสาทที่​ทำ​ให้​เกิด​การอัก​เสบ ​ซึ่งอา​การปวดหัวที่​เกิดขึ้น​ในบางกรณีมี​ความรุน​แรง​และอันตราย​ถึง​แก่ชีวิต”

ด้าน ​เรืออากาศ​โท นพ.กีรติกร ว่อง​ไววาณิชย์ อายุร​แพทย์สมอง​และระบบประสาท ​โรงพยาบาลกรุง​เทพ กล่าว​เสริมว่า ลักษณะอา​การปวดที่​เป็นสัญญาณ​เตือน​ให้รีบ​ไปพบ​แพทย์ อาทิ อา​การปวดศีรษะอย่างรุน​แรง ภาย​ในระยะ​เวลา​เป็นวินาที​หรือนาที อา​การปวดศีรษะที่พบร่วมกับ​ความผิดปกติของระบบประสาท ​เช่น ซึมลง​หรือสับสน, ​ความจำผิดปกติ, ​แขน-ขา อ่อน​แรง, ​การมอง​เห็นผิดปกติ, ชัก​เกร็ง อา​การปวดศีรษะที่มีอา​การทางระบบอื่นๆ ​เช่น ​ไข้, หนาวสั่น, ​เหงื่อออกกลางคืน, น้ำหนักลด อา​การปวดศีรษะต่อ​เนื่องกันทุกวัน, ปวดศีรษะรุน​แรงมากขึ้น, ​ความถี่ของ​การปวด​เพิ่มขึ้น ​หรือ ลักษณะ​การปวดที่​เปลี่ยน​แปลง​ไปจาก​เดิม

รวม​ไป​ถึงสา​เหตุอา​การปวดอื่นๆ อาทิ อา​การปวดศีรษะที่​เกิดจาก​การ ​ไอ, จาม, ​เบ่ง, ​การออกกำลัง ​หรือ ​การ​เปลี่ยนท่าทาง ปวดศีรษะที่​เกิด​ในคนอายุมากกว่า 40 ปี, ​ผู้ป่วย​โรคมะ​เร็ง, ​ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ​หรือ​ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน, ปวดศีรษะที่​เกิด​ใน​ผู้ที่ตั้งครรภ์ ​หรือ หลังคลอด ​หรือ​ผู้รับประทานยาคุมกำ​เนิด ​และปวดศีรษะที่​เกิด​ใน​ผู้ที่มีภาวะอ้วนมาก ​ทั้งหมดนี้​เป็นสัญญาณ​เบื้องต้น​แจ้ง​เตือน​ให้​ผู้ป่วยควรรีบ​ไปพบ​แพทย์​ให้​เร็วที่สุด

​การรักษา​โรคปวดศรีษะนั้น นพ.ยรรยงค์ ​ให้ข้อมูลว่า ​ผู้ป่วยสามารถ​เลือกวิธี​การรักษา​ได้​เอง ​ซึ่งจะมีอยู่ 2 ​แบบ คือ รักษา​แบบ​ใช้ยา ​และรักษา​แบบ​ไม่​ใช้ยา ​ซึ่ง​การรักษา​แบบ​ใช้ยา จะ​ใช้​ในกรณีที่มีอา​การปวดศรีษะ​เฉียบพลัน รักษา​โดยยา​แก้ปวดชนิดฉีด, ยา​แก้ปวดชนิดรับประทาน, ยาทริป​แทน, ยา​แก้คลื่น​ไส้-อา​เจียน ​และ​การฉีดยาระงับปวด​เส้นประสาทท้ายทอย ​และอีกกรณีคือ ​การรักษา​แบบ​ให้ยาป้องกัน ​ซึ่งจะพิจารณา​ใช้​ใน​ผู้ป่วยที่มีอา​การปวดศีรษะถี่​หรือรุน​แรง ส่วน​การรักษา​แบบ​ไม่​ใช้ยา อาทิ ​การรักษา​แบบ​ไบ​โอฟีด​แบค คือ​ให้​เรียนรู้​ถึง​การควบคุม​การ​ทำงานของร่างกาย, ​การบำบัด​โดย​การปรับพฤติกรรม​และ​ความคิด, ​การฝึก​การผ่อนคลาย ,กายภาพบำบัด ​และ​การฝัง​เข็ม ​เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีวิธี​การรักษา​โรคปวดศรีษะที่​ผู้หญิง​ในประ​เทศสหรัฐอ​เมริกานิยม​ใช้ คือ ​การฉีด BOTOX รักษาอา​การปวดศรีษะ ​เพราะนอกจากจะ​ทำ​ให้ลด​ความรุน​แรง​และ​ความถี่ของอา​การปวดศีรษะ​แล้ว ยังสามารถลดริ้วรอย​ไป​ในตัวด้วย ​ซึ่ง​ใน​การรักษา​แต่ละครั้งจะฉีด BOTOX 30 จุด ค่า​ใช้จ่ายจะสูงมาก ราคาประมาณ 1,000 ​เหรียญสหรัฐ ​หรือประมาณ 31,170 บาท คาดว่า​ไม่​เกินสิ้นปีทาง​โรงพยาบาลกรุง​เทพจะนำวิธี​การรักษาด้วย​การฉีด BOTOX มา​ใช้กับ​ผู้ป่วย

สำหรับ​การดู​แลตน​เอง นพ.กีรติกร ​แนะว่า อย่าง​แรกควรสัง​เกต​และหลีก​เลี่ยงสิ่งกระตุ้น ที่​ทำ​ให้​เกิดอา​การปวดศีรษะ นอนพักผ่อน​ให้​เพียงพอ​และตรงตาม​เวลาทุกวัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำ​เสมอ ​ไม่หัก​โหมจน​เกิน​ไป งดสูบบุหรี่ ​เนื่องจาก​การสูบบุหรี่จะ​เพิ่ม​ความ​เสี่ยงจาก​โรคหลอด​เลือดสมองตีบ งด​เครื่องดื่มที่มีคา​เฟอีน ​เช่น กา​แฟ, ชา, น้ำอัดลม, ​เครื่องดื่มชูกำลัง ​และถ้าอา​การปวดศีรษะรุน​แรงมากขึ้น ​หรือมีลักษณะ​เปลี่ยน​แปลง​ไป ควรปรึกษา​แพทย์ทันที

​แนวหน้า 30 กันยายน 2554

8709
พ.ญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล รองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข แห่งประเทศไทย (สผพท.) กล่าวว่า สผพท.ได้ออกแถลงการณ์ถึงนายวิทยา บุรณศิริ รมว. สาธารณสุข (สธ.) รับทราบและพิจารณาดำเนินการกรณีการแต่งตั้งข้าราชการ ที่ครม.มีมติเมื่อวันที่ 27 ก.ย. ที่ผ่านมา แต่นายวิทยา ติดภารกิจ เจ้าหน้าที่กระทรวงจึงออกมารับเรื่องแทน การส่งแถลงการณ์ดังกล่าว สผพท.เห็นว่า กรณีการแต่งตั้งนั้นไม่มีความชอบธรรม

ได้แก่ 1. การแต่งตั้งผู้ที่ สตง.มีหนังสือถึงกระทรวงให้ดำเนินการทางวินัย/แพ่ง และอาญา เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2553 กรณีการจัดซื้อรถพยาบาลระดับสูงอย่างทุจริต และมีหนังสือติดตามมาอีกครั้งก่อนครั้งนี้ คือวันที่ 19 ก.ย. 2554 แต่ก็มีการแต่งตั้ง น.พ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ ขึ้นเป็นอธิบดีกรมควบคุมโรค ซึ่งสผพท.เคยทักท้วงแล้วเมื่อ ก.ย 2553

2. แต่งตั้งผู้ที่มาจากตำแหน่งประเภทวิชาการ ไม่ได้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูง ก้าวข้ามผู้บริหารระดับสูง (เช่นผู้ตรวจราชการสาธารณสุข) หลายคน เพียงเพราะเป็นเพื่อนร่วมรุ่น ขึ้นเป็นรองปลัดฯ คือ น.พ.สมชัย นิจพานิช กระทรวงสาธารณสุขบอบช้ำ เสียหาย จากที่มี น.พ.ไพจิตร์ วราชิต บริหารราชการในฐานะปลัดฯ มาต่อเนื่อง แล้วครั้งนี้ยังคงต้องเสียหายเชิงระบบ ผู้ที่มีคุณ สมบัติด้อยและเสื่อมเสียได้รับการส่งเสริมให้เป็นผู้บริหาร คนดี มีความสามารถต้องถูกข้าม ทั้งที่เป็นข้อกฎหมายและก.พ.มีข้อแนะนำในด้านการบริหารบุคคล น.พ.ไพจิตร์ ก็ยังฝ่าฝืน การแต่งตั้งครั้งนี้จึงควรได้รับการทบทวน กระทรวงควรให้โอกาส น.พ.พรเทพ ได้เคลียร์ตนเองด้วยในเรื่องที่ สตง.ระบุ หากไม่มีเหตุก็แต่งตั้งได้ต่อไปอย่างสง่างามและสงบสุข

ข่าวสด 29 กันยายน พ.ศ. 2554

8710
น.พ.จิ​โรจ สินธวานนท์ ​ผู้อำนวย​การสถาบัน​โรคผิวหนัง กรม​การ​แพทย์ ​เปิด​เผยว่า จากสถิติของ​ผู้ป่วย​โรคผิวหนังปี 53 ที่​เข้ามารับ​การรักษาจากสถาบัน​โรคผิวหนัง​เป็น​ผู้ป่วยนอก จำนวน 180,000 ราย ​ผู้ป่วย​ใน 300 ราย ​ซึ่งส่วน​ใหญ่ถูกส่งตัวมาจากต่างจังหวัด​เนื่องจาก​ใน​โรงพยาบาลชุมชนขาด​แคลน​เวชภัณฑ์​และขาดระบบ​การรักษาที่มีประสิทธิภาพ ​ทำ​ให้​การรักษา​ไม่ต่อ​เนื่อง ​โดย​ผู้ป่วยจะมีปัญหา​ใน​เรื่องของสะ​เ​ก็ด​เงินมากสุด ​และผิว​แพ้อัก​เสบทั่ว​ไป ​ซึ่งกำลัง​การผลิตยา​ใน​การรักษา​โรคผิวหนัง​ไม่​เพียงพอ​ไม่สามารถ​แจกจ่ายยา​ไป​ให้กับ​โรงพยาบาลอื่นๆ ​ได้ ​จึง​ได้ลงนาม​ความร่วมมือ​ใน​โครง​การผลิตยารักษา​โรคผิวหนังกระจ่ายสู่ระบบสาธารณสุข ร่วมกับองค์​การ​เภสัชกรรม (อภ.) ​เพื่อกระจายยาออก​ไปยังชุมชน​ให้ประชาชน​เข้า​ถึง​การรักษาอย่างทั่ว​ถึง​และ​เท่า​เทียม

สำหรับตำรับยาที่จะส่ง​ให้กับองค์​การ​เภสัชกรรมผลิตมี​ทั้งหมด 18 ราย​การ ​แต่​ใน​เบื้องต้นจะผลิตก่อน 8 ราย​การ ประกอบด้วย Tar shampoo ​เป็น​แชมพูสระผมรักษา​โรคสะ​เ​ก็ด​เงิน Triamcinolone acetonide Lotion ​โลชั่น​ให้​ความชุ่มชื้นทาบำรุงรักษาหนังศีรษะอัก​เสบ Post ache cream ครีมรักษาสิว Acne Lotion ยา​แขวนตะกอนรักษาสิว Urea cream ครีมผสมยู​เรีย​ใช้ทาบรร​เทาอา​การผิว​แห้ง 1% Hydro cortisone cream ครีมรักษาอา​การ​แพ้บริ​เวณหนังศีรษะจากสะ​เ​ก็ด​เงิน 2% Hydro cortisone cream รักษาอา​การผื่นที่ศีรษะจากอา​การ​แพ้ ​หรือผื่นผิวหนังอัก​เสบจากชนิดต่างๆ ​และ 5% LCD (Cool tar) ointment ​และ 5% LCD Cream รักษาอา​การผื่นผิวหนังจาก​โรคสะ​เ​ก็ด​เงิน ​เป็นต้น อย่าง​ไร​ก็ตามหลังจากส่งมอบ​ให้ อภ.​เป็น​ผู้ผลิต​แล้วทางสถาบันฯ จะ​ทำ​การวิจัยพัฒนายาตัว​ใหม่​เพื่อคน​ไข้ต่อ​ไป

ด้าน น. พ.วิทิต อรรถ​เวชกุล ​ผู้อำนวย​การองค์​การ​เภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า อภ.มี​ความพร้อม​ใน​การผลิตยา​ให้กับสถาบัน​โรคผิวหนัง 100% ขณะนี้มี​เครื่องจักรที่พร้อม​ใช้งานรองรับ​การผลิต​ได้ 400 หลอด/นาที ​ซึ่งสามารถรองรับ​ความต้อง​การของ​ผู้ป่วย​ในชุมชน​ได้

บ้าน​เมือง  29 กันยายน 2554

8711
สามศิลปิน วสันต์ ผึ่งประ​เสริฐ ,วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์, ชลิต นาคพะวัน พร้อมด้วย ศ.นพ.​โสภณ จิรสิริธรรม.พรรณสิรี คุณากร​ไพบูลย์ผจก.มูลนิธิรามาธิบดีฯ. ศ.พญ.สุวรรณา ​เรืองกาญจน​เศรษฐ์ ผอ.ศูนย์​การ​แพทย์สิริกิติ์ ศ.นพ.สุทัศน์ ศรีพจนารถ,รศ.นพ.ศุภชัย ถนอมทรัพย์, รศ.นพ.สุร​เดช หงส์อิง ​และพัชรศรี ​เบญจมาศ

มูลนิธิรามาธิบดี ​ในพระบรมราชูปถัมภ์ของสม​เด็จพระ​เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับคณะ​แพทยศาสตร์​โรงพยาบาลรามาธิบดี ​เตรียม​เดินหน้า ปรับปรุง​และพัฒนาศูนย์​การ​แพทย์สิริกิติ์​ให้​เป็นศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ​เพื่อ​เป็นที่พึ่ง​และ​เป็นของขวัญ​แห่งชีวิต​ให้คน​ไทยทุกคน ​และ​เพื่อ​เฉลิมพระ​เกียรติสม​เด็จพระนาง​เจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ​ในว​โรกาสพระชนมายุครบ 80 พรรษา ​ในวันที่ 12 สิงหาคม 2555

ดังนั้น​เพื่อประชาสัมพันธ์​ให้บุคคลทั่ว​ไป​ได้รับรู้​ถึง​ความสำคัญ ​และร่วม​เป็นส่วนหนึ่งของ​การ​เป็น​ผู้​ให้ชีวิต​แก่​ผู้อื่น ทางมูลนิธิ รามาธิบดี ฯ​จึงจัดงาน​เปิดตัว “​โครง​การศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ศูนย์​การ​แพทย์สิริกิติ์” ​โดยมี 3 ศิลปินชื่อดัง ​ได้​แก่ วสันต์ ผึ่งประ​เสริฐ ศิลปินถ่ายภาพ ชลิต นาคพะวัน ศิลปินวาดภาพ ​และ วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปินงานปั้น มาร่วม​เป็น “​ผู้​ให้” ​ใน​การถ่ายทอดงานศิลปะหลาก​แขนง​ในงานนิทรรศ​การหัวข้อ “ของขวัญที่มีค่าที่สุดของชีวิต คือ ชีวิต” ณ บริ​เวณชั้น 1 ศูนย์​การ​แพทย์สิริกิติ์ ​โรงพยาบาลรามาธิบดี ​เมื่อวันก่อน

ศ.พญ.สุวรรณา ​เรืองกาญจน​เศรษฐ์ ​ผู้อำนวย​การศูนย์​การ​แพทย์สิริกิติ์ ​และรองประธานคณะกรรม​การบริหารมูลนิธิรามาธิบดีฯ กล่าวว่ามูลนิธิรามาธิบดีฯ มีหน้าที่​ใน​การสนับสนุน​การ​ทำงานของคณะ​แพทยศาสตร์​โรงพยาบาลรามาธิบดี​ให้ดำ​เนิน​ไป​ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ​โดยครอบคลุม​ความต้อง​การของ​ผู้ป่วยทุกด้าน ​โครง​การศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ศูนย์​การ​แพทย์สิริกิติ์ ​ก็​เป็นหนึ่ง​ในนั้น

“​โครง​การนี้จัดตั้งขึ้น​เพื่อสร้างศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะสมบูรณ์​แบบ​ในระดับสากล ​ได้​แก่ ศูนย์หัว​ใจ ศูนย์ปลูกถ่าย​เซลล์ต้นกำ​เนิด ศูนย์ปลูกถ่ายตับ ​และศูนย์ปลูกถ่าย​ไต ​ซึ่ง​การปรับปรุงสถานที่​และจัดซื้อ​เครื่องมือ​แพทย์ครั้งนี้ ต้อง​ใช้งบประมาณจำนวนมาก​ถึง 450 ล้านบาท ​โดยคน​ไทยทุกคนสามารถมีส่วนร่วม​ทำ​ให้ศูนย์​การ​แพทย์สิริกิติ์ช่วย​ให้​ผู้ป่วยมีชีวิต​ใหม่อีกครั้ง​ได้ ด้วย​การรวมพลังน้ำ​ใจสมทบทุนบริจาคค่ะ”

“​ใน​การปรับปรุงศูนย์​การ​แพทย์สิริกิติ์​ให้​เป็นศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ​แบบ one stop service นั้น​ทำ​การปรับปรุงอาคาร​เดิมตั้ง​แต่ชั้น 6 ​ถึงชั้น 9 พื้นที่รวม 8,477 ตาราง​เมตร​เพื่อสร้างห้องผ่าตัด​ใหม่​เป็น 8 ห้อง ​เพิ่มศักยภาพ​ใน​การ​เตรียมผ่าตัด​เส้น​เลือด ​เพื่อ​การฟอก​ไต ปรับปรุงหอ​ผู้ป่วย​เป็นห้อง​แยกปลอด​เชื้อรองรับ​ผู้ป่วยที่​เพิ่ง​ได้รับอวัยวะ​ใหม่จำนวน 24 ห้อง ห้องพัก​ผู้ป่วยทั่ว​ไป รวม​ถึงห้อง​เพาะ​เลี้ยง​เซลล์ต้นกำ​เนิด ​ซึ่งนับว่า​เป็นศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะที่สมบูรณ์​แบบที่สุด​ใน​เอ​เชีย สามารถรองรับ​ผู้ป่วยนอก​ได้มาก​ถึง 10,000 คนต่อปี”

​ทั้งนี้ ภาย​ในงาน 3 ศิลปินชื่อดัง ​ได้​แก่ ชลิต นาคพะวัน ​ได้นำ ผลงาน“PARTY' LIT” มา​แสดงร่วมกับ วสันต์ ผึ่งประ​เสริฐ กับผลงาน “พบ​เพื่อน​ใหม่” ​และวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ​เจ้าของผลงาน Untitled” มาจัด​แสดง​ในนิทรรศ​การ “ของขวัญที่มีค่าที่สุดของชีวิต คือ ชีวิต” พร้อมมอบผลงานดังกล่าว ​ให้​แก่ทางมูลนิธิรามาธิบดีฯ ​เพื่อ​ให้​ผู้ที่สน​ใจ​เป็น​เจ้าของชิ้นงาน​ได้บริจาค​เงินสมทบทุน​โครง​การศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ศูนย์​การ​แพทย์สิริกิติ์ต่อ​ไป

ชลิต นาคพะวัน ​เผย​ถึง​การมามีส่วนร่วม​ทำบุญผ่านงานศิลปะ​ในครั้งนี้ว่า ​ได้ทราบข่าว​เกี่ยวกับ​การระดมทุน ​เรื่องศูนย์​การปลูกถ่ายอวัยวะมาบ้าง​แล้ว ตั้ง​ใจ​ไว้ว่าจะหา​โอกาสบริจาคอยู่ ​เมื่อ​ได้รับคำ​เชิญจากมูลนิธิรามาธิบดีฯ ​ให้มาร่วม​โครง​การ​จึงรีบตอบรับทันที ​เพราะ​ในฐานะที่​เป็นศิลปิน​ทำงานศิลปะสร้างสรรค์ หากสามารถ​ใช้วิชาชีพ​ใน​การช่วย​เหลือ​ผู้อื่น​ได้ ​ก็ยินดี​เสมอ​ใน “​การ​ให้” ​โดย​เฉพาะ​ใน​การ​ให้ชีวิตนั้น​เป็น​เรื่องสำคัญ ​และช่วยปลด​เปลื้อง​ความทุกข์​ทั้งหลายลง ​ทำ​ให้​ผู้ป่วยมีชีวิตที่ดีขึ้น ​ผู้​ให้​เอง​ก็มี​ความสุข “

สำหรับ ​ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาค​เงินสมทบทุน ผ่านมูลนิธิรามาธิบดีฯ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี มูลนิธิรามาธิบดี (​โครง​การศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ ศูนย์​การ​แพทย์สิริกิติ์) ธ.​ไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี ​เลขที่ 026-2-50740-8 ​หรือสอบถามรายละ​เอียด​เพิ่ม​เติม​ได้ที่ ​โทร. 0 2201 1111 ​ในวัน​และ​เวลาราช​การ

​แนวหน้า  29 กันยายน 2554

8712
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระดับน้ำในแม่น้ำลพบุรี มีปริมาณเพิ่มขึ้น จนทำให้น้ำไหลข้ามถนนสายเจ้าปลุก-ลพบุรี ซึ่งเป็นถนนเส้นทางสายหลักที่เดินทางจาก จ.พระนครศรีอยุธยา มุ่งหน้าจ.ลพบุรี โดยระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งน้ำได้ท่วมถนนทำให้เส้นทางการจราจรติดขัด และหลายช่วงมีน้ำท่วมเหลือเพียงช่องทางจราจรเดียว ตั้งแต่ ม. 1 ต.เจ้าปลุก อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา ยาวไปหลายกิโลเมตร แม้ว่าจะมีคันดินกั้น โดยน้ำที่สูงขึ้นนี้ได้เข้าท่วมบ้านเรือนที่ ต.พิตเพียน อ.มหาราช โดยน้ำได้ล้นคลองส่งน้ำชลประทาน พังคันดินไหลเข้าไปท่วมทุ่งนาที่อยู่ฝั่งตรงข้าม มีกระแสน้ำแรงมาก ซึ่งเป็นทุ่งนาในหมู่ 4 ต.สำพะเนียง อ.บ้านแพรก ชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องขนข้าวของออกมาจากบ้านตั้งแต่กลางดึกที่ผ่านมา จนถึงเช้าโดยลอยคอนำของออกมาไว้ริมถนน ซึ่งก็ถูกน้ำท่วม โดยบอกว่าน้ำเริ่มขึ้นมาตั้งแต่เมื่อช่วงเย็นวันที่ 26 ก.ย.แต่ไม่คิดว่ากลางดึกจะขึ้นมามากและรวดเร็ว จนเก็บข้าวของที่เหลือไม่ทัน ทำให้ทรัพย์สินในบ้านได้รับความเสียหาย
    ส่วนที่ประตูระบายน้ำคลองตาเมฆ ม.3 ต.บ้านแพรก อ.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา รับน้ำจากแม่น้ำลพบุรี น้ำก็ได้เอ่อล้นประตูระบายน้ำเข้ามายังทุ่งนาเป็นปริมาณมาก ซึ่งจะส่งผลให้ตอนล่างได้รับความเดือดร้อน ที่สำคัญน้ำจากแม่น้ำลพบุรี ได้ไหลเข้าท่วมโรงพยาบาลบ้านแพรก ตั้งแต่เมี่อคืนที่ผ่านมา ทำให้ต้องมีการขนย้ายผู้ป่วยบางส่วนออกจากโรงพยาบาลไปยังรพ.บางปะหัน และรพ.พระนครศรีอยุธยา โดยน้ำได้ท่วมโรงประกอบอาหาร ห้องประชุม บ้านพักและแฟลตของพยาบาลและแพทย์ แต่ยังสามารถให้บริการตรวจรักษาโรคชาวบ้านในพื้นที่ได้บางส่วน ซึ่งอาคารบริการ และอาคารพิเศษยังไม่ถูกน้ำท่วมแต่ไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้
    โดยในช่วงเช้าวันเดียวกัน กองพลทหารม้าที่ 2 กรมทหารม้าที่ 5 และกองพันทหารม้าที่ 23 รักษาพระองค์ จังหวัดทหารบกสระบุรี ได้เดินทางมานำรถบรรทุกมารับส่งผู้ที่จะเข้าออกโรงพยาบาลเนื่องจากน้ำท่วมทาง และยังได้ส่งทหารมากั้นกระสอบทรายเพื่อกู้รพ.บ้านแพรกให้ปฎิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ โดย เภสัชกรหญิง ปิยธิดา พูนพัฒนปรีชา รักษาการ ผ.อ.รพ.บ้านแพรก เปิดเผยว่าได้ย้ายผู้ป่วยที่เสี่ยงเรื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าไปเพียง 2 ราย ส่วนผู้ป่วยพักฟื้นยังอยู่ 7 ราย และได้นำแพทย์ไปเปิดศูนย์ให้บริการที่อำเภอบ้านแพรก เพื่อสะดวกในการเดินทาง ซึ่งเมื่อคืนที่ผ่านมานายวิทยา บุรณศิริ รมต.สาธารณสุขก็ได้เดินทางมาตรวจสถานการณ์และประสานกับหน่วยงานต่างๆให้เข้ามาช่วยเหลือแล้ว


เนชั่นทันข่าว 27 กย. 2554

8713
  ถ้าจะถามถึงผลิตภัณฑ์เพื่อเด็กอ่อน อย่างหนึ่งที่หลายคนนึกถึงหนีไม่พ้น “แป้งเด็ก” ที่ทุกวันนี้กระบวนการผลิตล้วนแล้วแต่ใช้นวัตกรรมที่ทันสมัย มีสารพัดสีหลากหลายกลิ่นให้ได้เลือกสรรตามใจทั้งคุณแม่คุณลูก แต่หากถามว่า ทราบไหมว่าในสมัยโบร่ำโบราณที่เทคโนโลยีการผลิตไม่ดีเหมือนทุกวันนี้ คนสมัยนั้นใช้อะไรทาตัว?
       
       อุสา มังคะลา หมอพื้นบ้านจากอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ถ่ายทอดภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากปู่ย่าตายาย ในเรื่องของ “แป้งสมุนไพร” ว่า คนโบราณฉลาดและช่างสังเกต ได้มีการคิดตำรับแป้งสมุนไพรเพื่อแม่และเด็ก และที่พิเศษกว่าแป้งในยุคปัจจุบันก็คือ เป็นแป้งที่ “กินก็ได้-ทาก็ได้” ฟังแบบนี้ ผู้อ่านหลายท่านคงจะเริ่มรู้สึกกันบ้างแล้วว่า เจ้าแป้งที่ว่า มันน่าสนใจอยู่ไม่น้อยจริงๆ

       “สมัยก่อนไม่มีแป้งฝุ่นหอมๆ อย่างในปัจจุบัน การทำแป้งทาตัวเด็กนี้เป็นภูมิปัญญาเก่าแก่ที่สืบต่อกันมา แต่ส่วนผสมแต่ละสูตรจะแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ อย่างชุมชนของชาวนาที่ปลูกข้าวเอง ข้าวหาง่าย จึงทำแป้งจากข้าวสารที่แช่น้ำผสมสมุนไพรแล้วนำมาบดกับโม่หิน ในขณะที่ชุมชนริมทะเลจะทำแป้งจากหอยมือเสือที่นำไปเผาไฟแล้วบดละเอียดผสมสมุนไพร ก็แตกต่างกันไป แต่สูตรที่ได้สืบทอดกันมานั้นเป็นสูตรแป้งข้าวเจ้าผสมพืชสมุนไพรในท้องถิ่นเกาะยาว ทำงานได้ประโยชน์ แถมไม่ปนเปื้อนสารเคมี”

       ป้าอุสา อธิบายต่อไปว่า สูตรของคนเกาะยาวนั้นประกอบไปด้วย แป้งข้าวเจ้า เปลือกต้นชะลูด รากแฝกหอม เปราะหอม ใบพิมเสนต้น และขมิ้น
       
       “แป้งข้าวเจ้า ช่วยแก้ผดผื่นลมพิษ เปลือกต้นชะลูดมีกลิ่นหอม สรรพคุณบำรุงหัวใจ หัวเปราะหอมช่วยแก้หวัดคัดจมูก ใบพิมเสนต้นเป็นยาเย็น ป้องกันเชื้อราและแบคทีเรีย ส่วนขมิ้นนอกจากจะช่วยป้องกันผดผื่นแล้วยังช่วยสมานแผลที่ผิวหนังด้วย สูตรนี้ใช้ทาตัวได้ทั้งแม่และเด็กอ่อน มีกลิ่นหอม ใช้ล้างกลิ่นน้ำคาวปลาได้ดี สาวๆ ใช้พอกหน้าก็ไร้สิวฝ้า ราคาถูก ไม่ต้องไปซื้อเครื่องสำอางแพงๆ นอกจากนี้ ยังใช้กินได้อีกด้วย โดยกินเพื่อบำรุงหัวใจ เดี๋ยวนี้ในชุมชนเกาะยาวก็ยังมีคนใช้ ยังทำขายกันอยู่ แม้จะน้อยลงแล้วก็ตาม ด้วยเพราะมีผลิตภัณฑ์สมัยใหม่ออกมามาก ประกอบกับสมุนไพรวัตถุดิบในท้องถิ่นน้อยลงไปตามสัดส่วนการเปลี่ยนพื้นที่การเกษตรเป็นสิ่งปลูกสร้างและอาคารบ้านเรือน”

       หมอพื้นบ้านจากอำเภอเกาะยาว ยังแถมท้ายสรรพคุณที่ไม่เหมือนใครของแป้งตำรับพื้นบ้านตำรับนี้ด้วยว่า ภูมิปัญญาดังกล่าวเป็นภูมิปัญญาธรรมชาติแท้ๆ ย่อยสลายได้ ไม่มีฝุ่นแป้งตกค้างในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะทางเดินหายใจของเด็กอ่อนซึ่งบอบบางมาก ในขณะที่แป้งฝุ่นยุคปัจจุบันที่ทำจาก Talc ซึ่งเป็นแร่ธาตุหินชนิดหนึ่งที่ได้จากธรรมชาติ และหากใช้ทาเป็นเวลานานๆ ติดต่อกัน ก็มีโอกาสที่จะสูดฝุ่นเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ และเข้าไปสะสมกันอยู่ในปอดได้ โดยที่เซลล์บุผิวปอดจะดักจับแป้งไว้เป็นก้อน จนเกิดเป็นภาวะ pneumoconiosis ทำให้มีปัญหากับการหายใจได้

ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 กันยายน 2554

8714
“รมช.ต่อพงษ์” ให้ รพ.บ้านแพ้วเป็นต้นแบบบริหารค่าแรง 300 บาท 15,000 บาทของรัฐบาล
       
                 วันนี้ (28 ก.ย.) นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์กรมหาชน) ที่จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นหน่วยงานในการกำกับดูแล เพื่อรับฟังผลสรุปการดำเนินงานและมอบนโยบายการพัฒนาระบบบริการ
       
                 นายต่อพงษ์กล่าวว่า โรงพยาบาลบ้านแพ้ว เป็นโรงพยาบาลต้นแบบของโครงการ 30 บาท  ได้รับการชื่นชมจากนานาประเทศที่ไทยเป็นตัวอย่างในการดูแลสุขภาพ และสร้างหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนไทยทุกคน เริ่มจากงบค่าใช้จ่ายรายหัวจาก 1,200 บาท เป็น 2,500 กว่าบาทในปัจจุบัน  โดยที่ประชุมขององค์การสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา ก็ชื่นชมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเช่นกัน ซึ่งเป็นโครงการที่ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนได้อย่างดี วันนี้กำลังท้าทายภาคสังคมให้กลับมาร่วมจ่ายค่าธรรมเนียมบริการ 30 บาทอีกเช่นเดิม  สาเหตุที่ต้องทำเนื่องจากต้องการให้ประชาชนมีศักดิ์ศรี มีเกียรติ ได้รับบริการมีคุณภาพ เสมอภาค ซึ่งรัฐบาลได้ทุ่มเทงบประมาณมหาศาล ลงทุนด้านสุขภาพประมาณร้อยละ 12 ของงบประมาณทั้งประเทศ
       
                 นอกจากนี้ ได้มอบนโยบายโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ในการขยายบริการของโรงพยาบาลที่จะเพิ่มจาก 300 เตียง เป็น 400 เตียง  ขอให้มีเป้าหมายให้ชัดเจน มีองค์กรสนับสนุน ประการสำคัญให้คงความเป็นเลิศในการบริการประชาชน ทั้งด้านการรักษาพยาบาลเชิงรุก และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมดูแลส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ไม่ให้เจ็บป่วย จะช่วยลดค่ารักษาลงได้  ทั้งนี้ การรักษาที่เพิ่มขึ้น  เป็นตัวสะท้อนว่าประชาชนที่เจ็บป่วยได้เข้าถึงบริการรักษามากขึ้น  เพราะมีหลักประกัน ไม่ได้แปลว่าประชาชนสุขภาพไม่ดี
       
                 นายต่อพงษ์กล่าวต่อว่า สำหรับบุคลากรในโรงพยาบาลที่เป็นลูกจ้าง ต้องเตรียมแผนรองรับนโยบายของรัฐบาลขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวัน และเพิ่มอัตราเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 15,000 บาท ที่จะเริ่มต้นปี 2555 ขอให้โรงพยาบาลบ้านแพ้วเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ มั่นใจว่าโรงพยาบาลแห่งนี้จะเป็นต้นแบบของการดำเนินการตามนโยบายนี้ได้                       
       
                      ทั้งนี้ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว ได้รับการคัดเลือกจากคณะรัฐมนตรี และมีมติให้ให้เปลี่ยนการบริหารของโรงพยาบาลจากราชการมาเป็นโรงพยาบาลใน กำกับของรัฐ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2543 โดยนำจุดเด่นของการบริหารราชการภาครัฐและความอิสระคล่องตัวของภาคเอกชนมา บูรณาการการทำงาน มีกฎหมายคือพระราชบัญญัติองค์กรมหาชน พ.ศ. 2542 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์กรมหาชน) พ.ศ. 2543 รองรับและอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุข
       
       ผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลฯ มีความก้าวหน้ามาโดยลำดับ ปัจจุบันมีหน่วยบริการในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร 5 แห่ง ได้แก่ 1.โรงพยาบาลบ้านแพ้ว สำนักงานใหญ่ 2.สาขาพระราม 3.ศูนย์การแพทย์หลักสาม 4.ศูนย์แพทย์ชุมชนราษฎร์บำรุง และ5.สาขาหลักห้า และมีสาขาในกทม.และนนทบุรีอีก 4 แห่ง ได้แก่ 1.เปิดโรงพยาบาลสาขาพร้อมมิตร สุขุมวิท 39 เพื่อ รองรับการส่งต่อผู้ป่วย 2.ศูนย์ล้างไตที่ วงเวียนใหญ่ 3.ศูนย์การแพทย์และทันตกรรม ที่อาคาร เอและบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.นนทบุรี และ4.ศูนย์แพทย์ชุมชนธนบุรี ร่วมกับโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า   และกำลังจะเปิดโรงพยาบาลบ้านแพ้ว สาขาเกษตรพัฒนา อ.บ้านแพ้ว เพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายด้วย


ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 กันยายน 2554

8715
กรุง​เทพฯ--28 ก.ย.--ธนาคารกสิกร​ไทย

ด้วย มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ​ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะจัด​แถลงข่าว​เปิดตัว ​โครง​การจัดหาทุนทรัพย์ซื้ออุปกรณ์​และ​เครื่องมือ​แพทย์ ​โรงพยาบาลพหลพลพยุห​เสนา จังหวัดกาญจนบุรี ​เนื่อง​ในมงคลสมัยที่​เจ้าพระคุณสม​เด็จ พระญาณสังวร สม​เด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จะทรง​เจริญพระชันษา 100 ปี ​ใน​เดือนตุลาคม 2556 ​โดยมี นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรม​การ​ผู้จัด​การ​และ​ผู้จัด​การ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ​ในพระบรมราชูปถัมภ์ ​เป็น​ผู้​แถลงข่าว ​ในวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554 ณ อาคารมนุษยนาควิทยาทาน วัดบวรนิ​เวศวิหาร ตามกำหนด​การดังนี้
09.00 น.           ลงทะ​เบียน
09.30 น.           ​แถลงข่าว

10.00 น.           ราย​การ​เสวนา “ธรรมทัศน์ ​โลกทัศน์”
​โดย ​เจ้าพระคุณสม​เด็จพระวันรัต
​ผู้อำนวย​การมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ​ในพระบรมราชูปถัมภ์
นายบัณฑูร ล่ำซำ
ประธานกรรม​การ​ผู้จัด​การ​และ​ผู้จัด​การ
มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ​ในพระบรมราชูปถัมภ์
11.00 น.           ​เสร็จสิ้น​การ​แถลงข่าว

ThaiPR.net  28 กันยายน 2554

หน้า: 1 ... 579 580 [581] 582 583 ... 653