ผู้เขียน หัวข้อ: “ความในใจประชาชน(เช่นกัน)ผู้คัดค้านร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ  (อ่าน 2267 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด

อนุสนธิ ว่าด้วยบทความ “ความในใจประชาชนผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข” ที่ลงในมติชนออนไลน์ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยคุณ สารี อ๋องสมหวัง ทำนองต่อว่าผู้ที่คัดค้านร่างพรบ.ดังกล่าว  ในทำนองเสียหายหรือมีเจตนาแอบแฝงเพื่อไม่ให้มีการออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือ บุคคลที่คุณสารีกล่าวอ้างว่าเป็น “ผู้เสียหาย”  หลังจากอ่านบทความจนจบแล้ว ทำให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมรากลึกที่หยั่งอยู่ในมโนของคุณสารีดีขึ้นดังนี้

(ลิงค์บทความ "ความในใจประชาชนผู้เสนอฯ")
http://www.thaihospital.org/board/index.php?topic=1333.0

คุณสารีชอบเรียกตัวเองว่าภาคประชาชน ทุกครั้งที่เคลื่อนไหว ก็จะนำทัพด้วยคำว่า “ภาคประชาชน” หรือ “ผู้บริโภค” ซึ่งทำให้อดวิตกไม่ได้ว่า คุณสารีมีทัศนะส่วนตนว่า  “คนอื่นที่มีความคิดเห็นต่างกับคุณสารีนั้นหาใช่ประชาชนไม่”  จริงหรือไม่ และหากมิใช่คนที่สนับสนุนแนวคิดของคุณสารี เขาจะต้องเป็นคนบาปหรือไม่ ความจริงทุกคนที่เกิดมาเพราะยังไม่สมบูรณ์จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดมาพบเจอ กันอีก ผู้เขียนหรือแม้แต่คุณสารีก็มิใช่ไม่มีข้อบกพร่อง


ท่านพุทธทาสถึงได้สอนว่าอย่าไปเที่ยวจับผิดหรือวิจารณ์ข้อบกพร่องของ ผู้อื่น เพราะทุกครั้งที่ชี้นิ้วไปที่คนอื่น อีกสี่นิ้วชี้เข้าที่ตนเองเสมอ  พร้อมกันนี้ทำให้ผู้เขียนอดนึกถึงภาพการ์ตูนที่มีคุณหมอท่านหนึ่งวาดบรรยาย ความรู้สึกที่มีต่อกลุ่มบุคคลที่กระทำต่อบุคลากรทางสาธารณสุข ในทำนองที่มองเห็นบุคลากรเป็น “ข้าทาสรับใช้”ที่ต้องถูกบังคับให้ทำงาน ห้ามต่อล้อต่อเถียง มิฉะนั้นจะถูกแส้โบยหลัง  หรือออกข่าวให้เสียหายไว้ก่อน

 

 

โดยไม่สนใจเหตุผลหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา แม้เมื่อทราบความจริงทั้งหมดแล้ว ก็ไม่เคยออกมายอมรับว่าตนเองด่วนตัดสินคนอื่นเพราะความไม่รู้ ความใจร้อนหรืออคติก็ไม่ทราบได้ ทำไม่ถูกใจ เอะอะก็กล่าวหาว่าบุคลากรไปเที่ยว “ก่อความเสียหาย” คงไม่ทันนึกว่า “การทำงานหรือหาประโยชน์จากการจับผิดคนอื่นง่ายกว่าการส่องกระจกดูตนเอง”


 ที่ผ่านมาวิธีการทำงานโดยใช้วิธีจับผิดและหาข้อบกพร่องของคนอื่น นั้นได้ผลเสมอ ๆ ในการเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนแนวคิดสุดโต่งแบบนี้มาตลอดยกเว้นแต่กับร่างก ม.นี้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกฎหมายฉบับนี้คงทำให้เก้าอี้ประจำตำแหน่งสะท้านไปไม่ น้อย อยากให้เปลี่ยนมุมมองใหม่ว่า ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในความคิดของตนเอง และคนที่เห็นต่างมิใช่ศัตรู การถกเถียงโต้แย้งในห้องประชุมเป็นเพียงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น


 เมื่อออกนอกห้องประชุม ทุกคนคือเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมกรรมร่วมโลก ต่างคนต่างเกิดมาใช้กรรมของตน  ต้องตั้งสติและเปลี่ยนความคิดใหม่ว่าบุคลากรการแพทย์ก็เป็นประชาชนคนไทยเต็ม ร้อยไม่น้อยกว่ากลุ่มที่อ้างตนว่าเป็นภาคประชาชน อย่าจดลิขสิทธิ์คำว่า “ภาคประชาชน” หรือ “ผู้บริโภค” ไว้เฉพาะเพื่อนพ้องที่อยู่ใต้อาณัติเท่านั้น เขาเหล่านี้ก็เป็นประชาชน จะต่างกันก็ตรงที่เขาเหล่านี้ไม่เคยรับรู้หรือเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรเครือ ข่ายที่ตั้งชื่อให้ดูศักดิ์สิทธิ์ ไม่เคยยกมือโหวตจัดสรรตำแหน่งให้ เขาเหล่านั้นก็มีญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นประชาชนเช่นเดียวกัน หลายคนทำงานแบบปิดทองหลังพระ


 แต่ทุกวันนี้คนปิดทองหลังพระเหล่านี้ ไม่เคยคาดหวังแปรเปลี่ยนผลการกระทำของตนเองเป็นผลประโยชน์ทางการเมืองแต่ อย่างใด ไม่เคยต้องการไปเป็น สส. หรือสว. ด้วยการทับถมจับผิดให้ร้ายผู้อื่น กลัวแต่ว่าเมื่อไรที่เกิดความพลาดพลั้งหรือเข้าใจผิดในการสื่อความหมาย จะทำให้ตนเองถูกใส่ร้ายวาดภาพให้เป็นฆาตกรโรคจิตในชุดขาวอย่างที่เสกสรรปั้น แต่งในfacebook
 

คนที่ผลักดันกม.นี้เริ่มแรกก็กล่าวอ้างว่า เห็นอกเห็นใจบุคลากรสาธารณสุขจึงผลักดันกม.นี้มาให้ ต่อเมื่อบุคลากรปฏิเสธก็เปลี่ยนแนวทางเพื่อหาเสียงสนันสนุนใหม่ว่า หากใครไม่เห็นด้วยกับร่างกม.นี้แสดงว่าใจดำไม่เห็นใจผู้ป่วยเหมือนกลุ่มผู้ ผลักดัน พยายามผลักผู้คัดค้านให้กลายเป็นศัตรูกับคนไทยทั้งประเทศ

ทั้ง ๆ ที่คนเหล่านี้ที่โดนกล่าวหาว่า “ใจดำ ไม่มีหัวใจมนุษย์ ไม่มีจิตอาสา” สุดแท้จะสรรหาคำพูดสะเทือนใจมาบรรยาย คือคนที่กำลังทำหน้าที่ช่วยชีวิตคนไทยรวมทั้งญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูงของกลุ่มผู้ผลักดันเช่นกัน แม้แต่เวลาที่ผู้อ่านกำลังอ่านบทความนี้อยู่ เขาเหล่านั้นก็กำลังก้มหน้าก้มตาช่วยชีวิตผู้ป่วยอยู่ไม่ว่าจะในสถานพยาบาล แห่งใดก็ตาม ไม่มีเวลามาโต้เถียงด้วย ซึ่งอานิสงส์ผลบุญนี้น่าจะส่งต่อไปถึงญาติพี่น้องของผู้ป่วยเหล่านั้นอีก หลายล้านคน ผลบุญเหล่านี้น่าจะลบล้างคำว่าใจดำได้บ้างไม่มากก็น้อย

การกล่าวอ้างว่าบุคลากรเกือบทั้งหมดเห็นด้วยกับร่างกม.นี้และเห็นว่า กม.นี้คือยาวิเศษที่จะช่วยลดความพิการความตายของผู้ป่วยได้ การพิสูจน์เรื่องนี้ทำไม่ยากเลย แค่คุณสารีเดินเข้าร่วมรายการสดเวทีประชาพิจารณ์ของบุคลากรสาธารณสุข และตอบคำถามทุกรายมาตราอย่างเปิดเผยไม่เบี่ยงประเด็น ไม่นอกเรื่อง ก็จะได้คำตอบโดนใจเป็นแน่นอน
 
ประเด็นกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในกฎหมายนี้มาแต่ต้นแล้วทำไมจึงมาคัดค้านเอา ตอนนี้ คุณสารีก็ใช้เทคนิคเดิม ๆ คือ พูดความจริงแต่เสี้ยวที่ให้ประโยชน์กับตน การมีส่วนร่วมนั้นหมายความได้ทั้ง ให้ความเห็น วิจารณ์ สนับสนุน หรือคัดค้าน หลายประเด็นก็เห็นด้วยกับกฎหมายนี้โดยเฉพาะเรื่องที่ต้องเยียวยาผู้ที่ได้ รับผลกระทบจากระบบสาธารณสุขที่เต็มไปด้วยความไม่พร้อม หนักกว่านั้นคือยังคัดค้านว่าต้องนำคนผิดที่กระทำไม่ดีต่อผู้ป่วยมาลงโทษ มิใช่ไม่พิสูจน์อะไรเลย ปล่อยให้ไปกระทำผิดเรื่อย ๆ  การมีส่วนร่วมยังรวมถึงการคัดค้านมาตราที่เห็นว่าจะส่งผลเสียหายต่อชีวิตผู้ ป่วย ดังกล่าว

 แต่สุดท้ายก็ไม่อาจทัดทานกำลังภายในของคุณสารีที่ไปล็อบบี้สารพัด นักการเมืองภายใต้นามมูลนิธิ ภายใต้คำว่า “ภาคประชาชน” “ผู้บริโภค” รวมทั้งการสรุปกฎหมายภายใต้การทุบโต๊ะของกฤษฎีกาในขณะนั้น ความจริงกฤษฎีกาก็ไม่ได้เห็นด้วยกับคุณสารีในทุกเรื่องโดยเฉพาะวันที่ประธาน ต้องสั่งให้เงียบเพราะคุณสารียืนยันว่าให้ตั้งกองทุนจ่ายเงินมาง่าย ๆ มาก ๆ เร็ว ๆ ไม่ต้องมีการพูดคุยไมต้องประนีประนอมไม่ต้องไกล่เกลี่ย คุณสารียังจำได้หรือไม่ วันนั้นทำเอาบรรยากาศมืดทะมึนทันที

ในทางศาสนาพุทธเรื่องบางเรื่องเป็น “ปัจจัตตัง” ดังนั้นการพิสูจน์ว่ากม.นี้ดีหนักหนาเป็นยาวิเศษหรือไม่ การพิสูจน์ความเห็นอกเห็นใจจริงต่อบุคลากรทำได้ง่ายมาก เพียงคุณสารีถอดหัวโขนตำแหน่งในมูลนิธิและสารพัดองค์กรที่นั่งอยู่และกลับมา สวมชุดพยาบาลอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อมาช่วยเพื่อนพ้องพยาบาลที่เป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพของคุณสารี(?)ซึ่งตราก ตรำทำงานในโรงพยาบาลทั่วประเทศโดยไม่เคยได้โอกาสออกสื่อหรือมีชื่อเสียงแบบ ที่คุณสารีมี

ทั้ง ๆ ที่เพื่อน ๆ คุณสารีสร้างข่าวดีอยู่ตลอด ๓๖๕ วันโดยการช่วยชีวิตคนนับหมื่นนับแสนนับล้าน แต่ไม่มีโอกาสได้เป็นข่าวดัง ๆ ดี ๆ (ยกเว้นข่าวร้าย ๆ ที่จะได้กลิ่นเร็วเป็นพิเศษและพร้อมใจกันขยายความให้เหมือนไฟลามทุ่งโดย ปราศจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนนำเสนอ) เชื่อแน่ว่ามีหลายแห่งยินดีต้อนรับเพราะเสียดายในความรู้พยาบาลอันสามารถของ คุณสารีอย่างมาก

ลองดูสักสองสามปีในห้องฉุกเฉินที่ไหนก็ได้ แล้วค่อยตอบตนเองว่าร่างกม.นี้ดีจริงหรือ แก้ปัญหาที่กล่าวอ้างมาได้จริงหรือไม่ หากดีจริงก็อยู่เป็นพยาบาลต่อเพื่อช่วยเหลือ “ผู้เสียหาย” ที่คุณสารีรยกมาใช้กล่าวอ้างเสมอ ๆ น่าจะได้บุญมากกว่าการทำงานในสายอื่นที่คุณสารีเลือกเดินอยู่ และอย่าลืมผลักดัน “ร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการกระทำขององค์กร....”

โดยให้มีเนื้อหาแบบเดียวกับร่างกม.นี้ เช่น กำหนดนิยามให้ผลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวหรือการกระทำของ.....เป็น “ความเสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์ผิดถูก”  ตั้งกองทุนที่อนุญาตให้นำเงินหลักหมื่นล้านบาทต่อปีไปบริหารกันเอง ๑๐%      เงินเหลือซึ่งเป็นภาษีประชาชนไม่ต้องส่งคืนคลัง แต่ให้กรรมการกอดเก็บไว้กับตัวเพื่อยกยอดไปใช้บริหารกันต่อในปีถัดไปทุกปี

ใครอยากได้เงินก็อ้างว่า “เกิดความเสียหาย”เพื่อ จะได้ไม่ต้องพิสูจน์ผิดถูกแล้วมีโอกาสได้เงินหลักล้านโดยไม่คำนึงว่านี่คือ เงินภาษีของคนส่วนน้อยของประเทศที่เขาจ่ายมาให้รัฐเพื่อพัฒนาประเทศ พัฒนาระบบสาธารณสุข ซื้อเครื่องมือดี ๆ ยามีคุณภาพ มารักษาเขาและญาติ มิใช่มาไล่แจกแบบquick cash   กรรมการที่ตัดสินให้เงินก็ไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องที่ตัดสินเพราะใช้อารมณ์ ความเห็นอกเห็นใจเป็นหลัก หากจ่ายเงินล่าช้าให้ปรับ ๒๔%ต่อปี

พร้อมยึดทรัพย์องค์กรหรือบุคคลได้  จ่ายสินไหมแล้วฟ้องแพ่งต่อได้ ฟ้องแล้วไม่มีจ่ายก็ยึดทรัพย์ได้โดยไม่ต้องฟ้องศาลล้มละลายกลาง  อายุความฟ้องแพ่งก็ขยายแบบสมานฉันท์ไม่มีกำหนดอายุความทางอ้อมโดยใช้คำว่า “ทันทีที่รู้ตัวว่าเสียหาย” ประนีประนอมทำสัญญาเสร็จก็เปลี่ยนใจฟ้องใหม่ได้เรื่อย ๆ  ฟ้องแพ่งไม่พอก็ฟ้องอาญาโทษฐานพยายามช่วยผู้อื่นแล้วล้มเหลว(ประมาท)ต่อได้  ฟ้องแพ่งแล้วแพ้ในชั้นศาลก็กลับมาขอรับเงินจากกองทุนนี้ได้อีก

หากไม่อยากโดนโทษอาญาก็รีบจ่ายเงินฟ้องแพ่ง(โดยที่ผู้จ่ายก็ไม่รู้ ว่าตนทำผิดหรือไม่ เพราะไม่พิสูจน์ผิดถูก)ก่อนที่ศาลจะพิพากษาอาญา (ซึ่งไม่ต่างอะไรจากการเรียกเก็บเงินค่าคุ้มครองของพวกมาเฟีย)  รับเงินไปแล้วเป็นสิบปีก็หวนมารับใหม่ได้อีกในมูลเหตุเดิมโดยอ้างว่าเพิ่ง รู้ว่าเกิดความเสียหาย (และหากพิสูจน์ไม่ได้เพราะมันนานมากแล้ว ก็ยกประโยชน์ว่าเป็นผู้เสียหายและให้จ่ายเงินได้อีก)

กรรมการสรรหาชั่วคราวก็ล็อกสเปคโดยตั้งคนจากองค์กรเฉพาะกลุ่มถึง ๖ ใน ๑๑ มาสรรหากรรมการถาวร  อ่านไปอ่านมายิ่งสัปสนว่ากม.นี้กำลังจะออกในประเทศประชาธิปไตยหรือประเทศใน โซนแดงกันแน่  

ถึงตอนนี้คุณสารีคงรู้แล้วว่าร่างกม.นี้ก็ไม่ต่างกับร่างกม.ที่ส่ง เสริมค่านิยมเงินเป็นใหญ่และสนับสนุนให้อกตัญญูต่อบุคลากรที่พยายามช่วย ชีวิตคนทางอ้อมนั่นเอง  ยิ่งหากออกเพราะการผลักดันของพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองนั้นคงได้ตราบาปไปชั่วลูกชั่วหลานของพรรคนั้น อันเป็นแรงส่งจากผลบาปของการส่งเสริมค่านิยมอกตัญญูและการทำร้ายชีวิตคนทาง อ้อม
 
คุณสารีเน้นย้ำให้สภาผู้แทนราษฎรตัดสินใจเดินหน้าเกี่ยวกับกฎหมาย ปาณาติปาตาและอกตัญญู ฉบับนี้(เพราะนายกรัฐมนตรีบอกใบ้ให้ทราบ) ที่ผ่านมา สส. สว. นักกฎหมาย ทนายความ หรืออาจารย์ทางกฎหมายบางท่าน ที่ยอมสละเวลามานั่งอ่านกฎหมายก่อนให้ความเห็น(มิใช่ให้ความเห็นก่อนอ่าน) อ่านแบบทั้งฉบับ และ หลาย ๆ รอบ อ่านจนสามารถผนวกมาตราทุกมาตราเข้าด้วยกัน จะเกิดดวงตาเห็นธรรม ว่าขืนผลักดันกม.ที่มีหน้าตาแบบนี้ต่อไป คงต้องไปลงนรกอเวจีฐาน “ปาณาติปาตา เวระมณี” แน่นอน

 เพราะร่างกม.ฉบับนี้เป็นร่างที่บังคับให้ บุคลากรสาธารณสุขทั้งประเทศ ทอดทิ้งผู้ป่วย เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะหยุดก่อความเสียหายตามความเข้าใจแบบมิจฉาทิฐิของผู้ ผลักดัน ร่างกม.นี้จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ ปล่อยให้ผู้ป่วยตายไปต่อหน้าต่อตาหรือผลักให้ผู้ป่วยไปตายบนรถส่งต่อหรือโรง พยาบาลอื่นจะได้ไม่เกิดความเสียหายที่ตนเองเป็นมีสิทธิถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ ก่อ

อย่าลืมว่า“ผู้ไม่เคยผิดพลาดคือผู้ไม่เคยทำอะไรเลย” คนป่วยจำนวนมากจะตายด้วยกฎหมายนี้เพราะบุคลากรกลัวว่า ตนจะเป็นผู้ก่อการร้ายที่เที่ยวไปก่อความเสียหายตามนัยของกฎหมายนี้ แถมยังมีศาลเตี้ยที่เต็มไปด้วยบุคคลที่ทำงานด้วยปากในการรักษาผู้ป่วย พร้อมกับบุคคลที่ในชีวิตเคยเป็นแต่ผู้ป่วยแต่ไม่เคยรักษาคน มานั่งลับมีดรอเชือดโดยอาศัยเสียงข้างมากลากไป ไม่สนใจผิดถูก ไม่ต้องมีคำว่า “มาตรฐานทางการแพทย์”

อย่าลืมว่า การผลักดันกม.นี้ยิ่งกว่าการผิดศีลข้อ ๑ เพราะเพียงแค่ปีแรกที่กม.นี้มีผลบังคับใช้จะมีหลายแสนชีวิตที่ตายไปจาก มิจฉาทิฐิของการผลักดันกม.นี้แบบหน้ามืดตามัว โดยอาศัยเงินเป็นตัวล่อ บาปกรรมจะไปตกอยู่ที่ผู้ผลักดันและผู้ยกมือสนับสนุนร่างกม.นี้ หนักบ้างน้อยบ้าง ก็แล้วแต่ว่าจะรู้เท่าถึงการณ์ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ถึงตอนนี้ บรรดาสส. สว.ที่ต้องยกมือโหวต เพื่อให้กม.นี้เข้าสภาไปแก้กันต่อ(แต่อย่าหวังว่าจะแก้เนื้อหาอันตรายทั้ง หมดนั้นได้ เพราะการแก้ทั้งหมดเพื่อมิให้ไปตกอยู่ในอบายภูมิคือการคว่ำกฎหมายนี้นี่ เอง)  หากได้อ่านแล้วก็ต้องเรียกว่ารู้เท่าถึงการณ์ และรอดูว่าเขาเหล่านั้นพร้อมใจจะไปอยู่ในอบายภูมิตามคำเชิญชวนหรือไม่

โดย นพ.สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล
มติชนออนไลน์ 6 มีนาคม พ.ศ. 2554
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2011, 10:35:07 โดย story »