แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - story

หน้า: 1 ... 484 485 [486] 487 488 ... 535
7276
ประธาน สผพท.วอน รัฐบาลเพื่อไทย ปรับแก้บทบาท สปสช.ติง ระบบ 30 บาท หากนำกลับมาใช้เป็นปัญหาในการบริการสาธารณสุข  แนะบริหารนโยบายด้านสุขภาพเน้นการป้องกันดูแลตนเองเป็นหลัก
       
       
       
       พญ.เชิดชู   อริยศรีวัฒนา   ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) กล่าวว่า  เนื่องจาก  ประเทศไทยจะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และมีการกล่าวถึงกรณีที่อาจจะมีการนำ 30 บาทกลับมาใช้  ซึ่งเป็นปัญหาในระบบการบริหารจัดการด้านการเงินของโรงพยาบาลของรัฐบาล ที่ให้บริการสาธารณะด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งยังมีปัญหาการขาดแคลนงบประมาณของโรงพยาบาลที่ดูแลรักษาประชาชน รัฐบาลใหม่จึงควรแก้ไขปัญหาการขาดแคลนงบประมาณ ต้องจัดการให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำหน้าที่ “ผู้ซื้อบริการจริงๆ” ไม่ใช่เอาเงินไปบริหารจัดการหรือทำโครงการต่างๆ หรือจัดซื้อจัดจ้างเอง ซึ่งผิดหลักการตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
       
       
       
       พญ.เชิดชู กล่าวด้วยว่า  ดังนั้น จึงมีข้อเสนอให้รัฐบาลใหม่ปรับปรุงแก้ไขบทบาทของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้ทำหน้าที่ ผู้ “ซื้อบริการ” จริงๆ  สปสช.ต้องจ่ายเงินให้โรงพยาบาล เต็มตามที่ได้รับงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวจากรัฐบาล และเห็นควรให้แยกเงินเดือน และค่าตอบแทนบุคลากรออกจากงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว ในการรักษาผู้ป่วย เพื่อจะได้มีเงินเพียงพอในการดูแลรักษาประชาชน  การขาดแคลนงบประมาณของโรงพยาบาล ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการรักษาความเจ็บป่วย ผู้ป่วยไม่มีเตียงนอนพักรักษาตัวอย่างพอเพียง ขาดยาที่เหมาะสม เสียเวลารอนานในการไปโรงพยาบาล เนื่องจากประชาชนเจ็บป่วยมากขึ้น ไปโรงพยาบาลมากขึ้น ทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีเวลาดูแลผู้ป่วยแต่ละคนน้อยลง เพราะต้องรีบเร่งให้บริการผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเกินกำลังเจ้าหน้าที่ เป็นสาเหตุให้ประชาชนเสียเวลารอนาน และเสี่ยงต่ออันตรายจากการทำงานอย่างรีบเร่งของบุคลากร
       
       “  รัฐบาลใหม่ควรดำเนินการในการส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการ “สร้างสุขภาพ ป้องกันโรค และสามารถดูแลรักษาสุขภาพจากการเจ็บป่วยเบื้องต้นได้เอง” เพื่อลดภาระ การพึ่งพิงโรงพยาบาล ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ทำการตรวจรักษาผู้ป่วยที่ไปโรงพยาบาลได้ อย่างมีมาตรฐาน ประชาชนก็จะได้รับความสะดวกและปลอดภัยในการไปรับบริการทางการแพทย์ที่โรง พยาบาลของรัฐบาล”
       
       พญ.เชิดชู กล่าวและว่า ภารกิจของรัฐบาลใหม่ในการแก้ไขปัญหาของประชาชนให้ลุล่วงได้ จำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนระบบการบริหารราชการกระทรวงสาธารณสุข และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข ให้สามารถทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและรัฐบาล ที่ต้องการมุ่งเน้นการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ


ASTVผู้จัดการออนไลน์    6 กรกฎาคม 2554

7277
บทความพิเศษ: เบื้องลึกที่ควรรู้ แนวปฏิบัติแพทยสภา มาตรา 12

จากกรณีที่คณะอนุกรรมการบริหาร แพทยสภา ได้ออกแนวทางปฏิบัติของแพทย์ หลังมีการประกาศใช้กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตา มหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 ที่อาศัยอำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 โดยมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ที่ 20  พฤษภาคม พ.ศ.2554 ที่ผ่านมา
 
ผู้เขียนในฐานะหนึ่งในผู้ร่วมจัดทำกฎหมายดังกล่าว ขอเรียนให้ทราบว่า  ประเด็นกฎหมายที่เป็นข้อกังวลของแพทยสภาทั้ง 6 นั้น ไม่ว่าจะเป็น 1.แพทย์ผู้เกี่ยวข้องต้องแน่ใจว่าหนังสือแสดงเจตนาฯ กระทำโดยผู้ป่วยขณะมีสติสัมปชัญญะ
2.หนังสือแสดงเจตนาฯ ควรได้รับการพิสูจน์ว่ากระทำโดยผู้ป่วยจริง 
3.ในกรณีที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ "ความจริงแท้" ของหนังสือแสดงเจตนาฯ ให้รักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ
4.การวินิจฉัยวาระสุดท้ายของชีวิต ให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้เกี่ยวข้องในภาวะวิสัยและพฤติการณ์ในขณะนั้น
5.ไม่แนะนำให้มีการถอดถอนการรักษาที่ได้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว และ
6.กรณีมีความขัดแย้งกับญาติผู้ป่วย เรื่อง "ความจริงแท้" ของหนังสือแสดงเจตนาฯ แนะนำให้ญาติผู้ป่วยใช้สิทธิทางศาล ได้ผ่านการพูดคุย ผ่านการประชุมของนักกฎหมายกับแพทย์ จนเกิดความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งไม่มีประเด็นที่ต้องกังวลว่าจะถูกฟ้องร้องจากการปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีข้อสงสัยจากคนบางกลุ่ม จึงขอนำประเด็นข้อสงสัยเหล่านั้นมาชี้แจงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องอีกครั้ง หนึ่ง ดังนี้
 
1.สิทธิการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการ สาธารณสุข ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ.2550 เป็นการฆ่าตัวตาย ใช่หรือไม่
 
สิทธิการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข  (Living will) มิใช่การให้สิทธิแก่ผู้ใดที่จะฆ่าตัวตาย เพราะกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า เป็นกรณีการปฏิเสธการรับบริการในวาระสุดท้ายของชีวิตเท่านั้น เพราะเมื่อถึงเวลาที่ชีวิตเดินทางมาถึงจุดที่ไม่อาจรักษาโรคให้หายได้และจะต ้องจากไป ก็ขอจากไปตามวิธีธรรมชาติ อย่าเหนี่ยวรั้งหรือพยายามที่จะฝืนความตายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ การเจาะคอ การปั๊มหัวใจ เป็นต้น คำสั่งเช่นนี้ ในต่างประเทศเรียกว่า Living will คือ เจตนาที่แสดงไว้เมื่อครั้งชีวิตยังปกติ เพราะหากว่าชีวิตอยู่ในวาระสุดท้าย ย่อมไม่สามารถแสดงเจตนาได้
 
2.การทำ Living will เป็น Mercy killing หรือการการุณยฆาต ใช่หรือไม่
 
คำตอบทางกฎหมายคือ ไม่ใช่ การุณยฆาตเป็นการเร่งการตายที่เรียกว่า  Active Euthanasia ซึ่งตามกฎหมายทำไม่ได้ แต่การทำ Living will เป็นเรื่องที่ผู้ป่วยขอตายตามวิธีธรรมชาติ เป็นกรณีที่เรียกว่า Passive Euthanasia ซึ่งในแง่กฎหมาย จริยธรรม ถือว่ากระทำได้ตามความประสงค์ของผู้ป่วย
 
3.การทำตามความประสงค์ดังกล่าว แพทย์จะถูกกล่าวหาว่าทอดทิ้งผู้ป่วยหรืองดเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่
 
ในประเด็นดังกล่าว หากไม่เข้าใจในหลักกฎหมาย และไม่เข้าใจในแนวปฏิบัติที่ถูกต้องของแพทย์ ก็เป็นไปได้ที่เกิดความกังวลข้างต้น และในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้น แม้ผู้ป่วยจะอยู่ในวาระสุดท้ายที่ไม่อาจรักษาให้หายได้และจะต้องตายจากไป ก็ยังต้องได้รับการดูแลอยู่ คือมิได้หมายความว่าผู้ป่วยจะถูกทอดทิ้ง แพทย์ยังคงดูแลเหมือนเดิมหรืออาจดูแลมากกว่าเดิมอีก โดยผ่านการรักษาแบบประคับประคอง (Palliative care) เพื่อบรรเทาอาการที่ทุกข์ทรมานหรือระงับปวดแก่ผู้ป่วย เพื่อให้เขาจากไปอย่างสงบ เพียงแต่ไม่ใช้เครื่องมือต่างๆ มายืดความตายเท่านั้น เพราะฉะนั้นไม่มีประเด็นเลยที่จะกล่าวหาว่า แพทย์งดเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะทั้งหมดเป็นความต้องการของผู้ป่วยเอง

4.ประเด็นที่เป็นข้อสงสัยตามมาก็คือ อย่างไรที่เรียกว่า "วาระสุดท้ายของชีวิต"

ในเรื่องนี้กฎหมายนิยามได้เพียงกรอบโดยทั่วไป แต่วาระสุดท้ายของชีวิตในแต่ละโรคแต่ละกรณี แพทย์จะวินิจฉัยตามหลักวิชา ซึ่งเมื่อผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว  แพทย์ก็จะสื่อความเข้าใจกับญาติ หากญาติเห็นด้วยกับข้อวินิฉัยของแพทย์ ก็สามารถทำตามรายละเอียดใน Living will ได้ แต่หากญาติไม่เห็นด้วยและอยากเหนี่ยวรั้งชีวิตต่อไปอีกระยะหนึ่ง แพทย์สามารถปฏิบัติได้ 2 ทาง กล่าวคือ หากแพทย์เห็นความจำเป็นและเหตุผลของญาติ ก็สามารถทำตามที่ญาติต้องการได้  หรือแพทย์อาจทำตามคำสั่งใน Living will และหากแพทย์ทำตามคำสั่งใน Living  will ในมาตรา 12 วรรคสาม ก็ได้บัญญัติไว้แล้วว่า การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด
 
"ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยได้เขียน Living will ไว้แล้วว่า ไม่ต้องการให้เจาะคอหรือทำอะไรในวาระสุดท้ายของชีวิต และญาติก็ไม่ได้ขอร้องให้ทำอะไรต่อ แต่ทางสถานพยาบาลฝืนทำ ซึ่งอาจเป็นไปได้ในโรงพยาบาลเอกชนประเภทที่มุ่งค้ากำไรจากความเจ็บป่วยของเพื่อนมนุษย์ การกระทำเช่นนี้แหละที่จะมีปัญหากฎหมายตามมา การทำความเข้าใจกับญาติโดยการพูดความจริง คือจริยธรรมแห่งวิชาชีพที่พึงปฏิบัติด้วยวิธีการที่เหมาะสม"
 
5.แพทย์มีหน้าที่ต้องไปตรวจสอบหรือไม่ว่า Living will หรือหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืด การตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย เป็นของจริงหรือของปลอม
 
การตั้งข้อสังเกตในประเด็นดังกล่าวของแพทยสภา เหมือนทำให้เรื่องที่ไม่เป็นปัญหากลายเป็นปัญหา ยิ่งแพทยสภาได้ออกแนวทางไว้ว่า "ในกรณีที่มีความขัดแย้งกับญาติผู้ป่วย เกี่ยวกับเรื่อง "ความแท้จริง" ของหนังสือแสดงเจตนาฯ แนะนำให้ญาติผู้ป่วยใช้สิทธิทางศาล" การออกแนวปฏิบัติเช่นนี้ เป็นการสร้างภาระและความเสี่ยงแก่แพทย์มากขึ้น เพราะการระบุว่าแพทย์ผู้เกี่ยวข้องต้องแน่ใจว่าหนังสือกระทำโดยผู้ป่วยขณะมี สติสัมปชัญญะนั้น ทำให้แพทย์ต้องไปตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือแสดงเจตนา นับว่าเป็นการดึงเรื่องทางกฎหมายมาทำความยุ่งยากในเวชปฏิบัติ ทั้งที่ความสุจริตใจของแพทย์เป็นเรื่องที่อธิบายเรื่องต่างๆ ได้อยู่แล้ว และการที่แนะนำให้ญาติผู้ป่วยไปใช้สิทธิทางศาลในการฟ้องร้อง ถือว่าเป็นแนวทางที่น่ากลัวมาก กล่าวคือ เมื่อมีปัญหาแทนที่จะพูดคุยกัน กลับแนะนำให้ไปฟ้องศาลแทน กลายเป็นคู่กรณีกันไป ซึ่งจะทำให้เป็นปัญหามากขึ้น
 
"ต้องบอกสังคมให้รับรู้ว่าแนวปฏิบัติ 6 ข้อของแพทยสภา ก็ไม่ได้ทำเป็นประกาศของแพทยสภาอย่างแท้จริง เป็นการออกแนวทางลอยๆ หากแพทย์ปฏิบัติตามและเกิดปัญหาตามมา ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะไม่สามารถคุ้มครองผู้ปฏิบัติตามได้เลย"
 
จึงเป็นเรื่องน่าสงสัยมากว่าแนวทางปฏิบัติเช่นนี้ออกมาได้อย่างไร เพื่อคนกลุ่มใด แนวทางดังกล่าวนอกจากออกมาโดยไม่เข้าใจในหลักกฎหมายแล้ว   ยังเป็นการนำแนวคิดทางกฎหมายที่คลาดเคลื่อน ไปทำให้เกิดปัญหาในเวชปฏิบัติและทำลายจริยธรรมที่ครูบาอาจารย์ทางการแพทย์ได้สอนไว้ถึงบทบาทของแพทย์ในแนวทางแห่งวิชาชีพว่า ให้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ  เมื่อมีข้อสงสัยก็จะต้องพูดคุยกัน
มิใช่แนะนำให้ญาติไปใช้สิทธิทางศาล.

ศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส
ที่ปรึกษาศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- เสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2554
 

7278
สธ.สั่ง รพ.ทั่วประเทศประเมินผลจำนวนผู้ติดเชื้อ เสียชีวิต และค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปปีละกว่า 4 พันล้านบาท จากสาเหตุการติดเชื้อใน รพ. กลับมาพิจารณาใน 1 เดือน เพื่อวางแผนป้องกันและแก้ไข ตั้งเป้าทั่วประเทศลดการติดเชื้อแค่ 1% แม้ทำได้ยาก
 นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนถึงสถานการณ์และการป้องกัน ควบคุมการติดเชื้อใน รพ. ว่า จากการประชุมหารือร่วมกับคณะกรรมการป้องกันควบคุมการติดเชื้อใน รพ. พบว่าจากการติดตามสถานการณ์ในช่วงระยะ 8 ปีที่ผ่านมา พบการติดเชื้อใน รพ.ทั่วประเทศคิดเป็นร้อยละ 5 ขณะที่ทั่วโลกก็พบการติดเชื้อใน รพ. คิดเป็นร้อยละ 5  เช่นกัน โดยเฉพาะในห้องผ่าตัด แม้เชื้อที่พบใน รพ.ส่วนมากจะเป็นเชื้อที่ไม่อันตราย แต่มีผลกับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ
 ปลัด สธ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ตนได้สั่งการให้คณะกรรมการป้องกันควบคุมการติดเชื้อใน รพ. ที่เป็นศูนย์กลางในการติดตามปัญหาดังกล่าวอยู่แล้ว รวบรวมสถิติการติดเชื้อใน รพ.ในปัจจุบันคิดเป็นร้อยละเท่าใด มีเสียชีวิตจำนวนกี่ราย  และค่าใช้จ่ายเรื่องการใช้ยาต้านจุลชีพในกรณีดังกล่าวคิดเป็นเท่าไหร่ ภายในระยะเวลา 1 เดือน ก่อนจะนำกลับมาประมวลผลและพิจารณาหาแนวทางป้องกันที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันมากที่สุด
 นพ.ไพจิตร์กล่าวต่อว่า สมมติถ้าผู้ป่วยในทั่วประเทศ 10 ล้านคน มีการติดเชื้อร้อยละ 5 เท่ากับผู้ป่วยติดเชื้อเป็นจำนวน 5 แสนรายต่อปี และใน 5 แสนราย อาจมีผู้เสียชีวิตถึงร้อยละ 10 ดังนั้นประเด็นคือว่า เมื่อทำไปแล้วต้องมาทบทวนหาดูว่า 1.ข้อมูลที่ผ่านมาข้อเท็จจริงมีผู้ติดเชื้อใน รพ.จริงๆ คิดเป็นร้อยละเท่าใด ป่วยกี่ราย ติดเชื้อใน รพ.เสียชีวิตกี่ราย เสียค่าใช้จ่ายเรื่องการใช้ยาต้านจุลชีพประมาณการปีละ 4 พันล้าน ข้อเท็จจริงเท่าไหร่กันแน่ นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามมาด้วยหากว่าผู้ป่วยนอนใน รพ.เป็นเวลานาน ซึ่งโดยมาตรฐานแล้ว รพ.ศูนย์ไม่เกิน 5 วัน รพ.ทั่วไปไม่เกิน 3 วัน รพ.ชุมชนไม่ควรเกิน 2 วัน เพราะฉะนั้นถ้าใครนอน รพ.เฉลี่ยเกิน 5 วัน แสดงว่ามีปัญหาเชิงประสิทธิภาพ การติดเชื้อ การรักษา นี่เป็นวิธีประเมินคร่าวๆ เสร็จแล้วก็จะบอกว่าถ้านอน รพ.มาก ค่าใช้จ่ายก็จะสูง
 "วิธีการป้องกันที่ง่ายๆ คือ เวลาที่ญาติมาเยี่ยมผู้ป่วย โดยเฉพาะที่ห้องผ่าตัดควรล้างมือให้สะอาด สวมถุงมือ และใช้ผ้าปิดจมูกเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคสู่ผู้ป่วย อีกทั้งในส่วนของ รพ.จะต้องหมั่นทำความสะอาดพื้น เตียงผู้ป่วย  และอุปกรณ์ต่างๆ โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ โดยส่วนตนแล้วไม่อยากให้มีการติดเชื้อใน รพ.เลย ซึ่งความจริงแล้วมีความเป็นไปได้ยากมาก จึงตั้งความหวังว่าจะมีการติดเชื้อใน รพ.เพียง 1% แต่ก็ยังถือว่ามีความเป็นไปได้ยากอีกเช่นกัน".

ไทยโพสต์ 6 กรกฎาคม 2554

7279
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยผลการตรวจ อาหารนำเข้า และเครื่องดื่มที่มีพืช ผัก ผลไม้ผสม ระหว่างเดือน ม.ค.53 - ม.ค.54 จำนวน 426 ตัวอย่าง พบอะฟลาท็อกซินเกินมาตรฐาน อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
       
       นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร (สคอ.) ได้ตรวจวิเคราะห์สารพิษจากเชื้อราอะฟลาท็อกซินในตัวอย่างอาหารนำเข้า ที่เก็บและส่งตรวจ โดยกองงานด่านอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ระหว่างเดือนมกราคม 2553 ถึงเดือนมกราคม 2554 จำนวน 426 ตัวอย่าง ได้แก่ ถั่วลิสง เมล็ดเกาลัด ถั่วขาว เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดถั่วลันเตา ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง อัลมอนด์ ถั่วมาคาเดเมีย เมล็ดแตงโม ถั่วพิตาชิโอ ถั่วปากอ้า เมล็ดงา เมล็ดข้าวโพดดิบ เมล็ดข้าวโพดสำหรับทำ ป๊อปคอร์น ข้าวหอมมะลิ ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ พริกแห้ง พริกป่น อบเชย พริกไทย เมล็ดผักชี โป๊ยกั๊ก กระเทียม ชอกโกแลต ขนมแครกเกอร์ แป้งถั่วเหลือง อาหารเช้าซีเรียล เครื่องดื่มที่มีพืช ผัก ผลไม้ผสม และชา ตรวจพบถั่วลิสงมีอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนเกินเกณฑ์มาตรฐาน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้มีปนเปื้อนได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม จำนวน 4 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.9 ของตัวอย่างที่วิเคราะห์ทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 6.7 ของตัวอย่างถั่วลิสงที่ส่งตรวจทั้งหมด 60 ตัวอย่าง
       
       รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวต่ออีกว่า เนื่องจากสภาพภูมิอากาศ ของประเทศไทยเป็นแบบร้อนชื้น ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดเชื้อราได้ง่าย อีกทั้งสารพิษอะฟลาท็อกซินไม่สามารถทำลายได้ด้วยความร้อนหรือการชะล้าง ดังนั้น ผู้บริโภคต้องเลือกซื้ออาหารโดยการสังเกตว่าไม่มีเชื้อรา รอยกัดแทะ ของแมลงหรือสัตว์ ในส่วนการเก็บรักษา ก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรเก็บอาหารในที่มิดชิด ไม่มีความชื้นสูง ไม่ให้เกิดไอน้ำในบรรจุภัณฑ์ ก็จะช่วยป้องกันการเกิดเชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดสารพิษจากเชื้อราอะฟลาท็อกซินได้
       
       นายมงคล เจนจิตติกุล ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อะฟลาท็อกซิน (aflatoxin) เป็นสารพิษที่เกิดจาก เชื้อราสายพันธุ์แอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัช (Aspergillus flavus) และแอสเปอร์จิลลัส พาราซิติคัส (Aspergillus paraciticus) เชื้อราสายพันธุ์นี้เจริญเติบโตได้ดีในภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ในสภาวะที่เหมาะสม คือ ความชื้นร้อยละ 18-30 อุณหภูมิ 43-63 องศาเซลเซียส หากร่างกายได้รับสารนี้จะสามารถสะสมพิษได้ ซึ่งจะมีผลต่อตับ ทำให้เกิด จนถึงระดับ ที่ทำให้เกิดอันตรายจะส่งผลต่อตับ เช่น ทำให้เกิดโรคตับแข็ง ตับอักเสบ เลือดออกในตับ เซลล์ตับถูกทำลาย และอาจก่อให้เกิดมะเร็งตับได้ และหากได้รับปริมาณที่สูงในครั้งเดียว จะมีผลให้เปิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ปอดบวม ชัก หมดสติและอาจทำให้เสียชีวิตได้ อัลฟาท็อกซินมักพบในพืชตระกูลถั่ว โดยเฉพาะถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง นอกจากนี้ยังพบในอาหารแห้งหลายชนิด เช่น พริก ข้าวโพด กระเทียม หัวหอม เป็นต้น อย่างไรก็ตามผู้บริโภคควรเลือกบริโภคอาหารแห้งที่ใหม่จากฤดูกาลเก็บเกี่ยว หลีกเลี่ยงอาหาร ที่เก่าเก็บหรือเลือกรับประทานอาหารสด เช่น พริกสดแทนพริกแห้ง หรือกำจัดเปลือก ในการประกอบอาหาร เช่น ถั่วคั่วให้กำจัดเปลือกที่ร่อนออก

ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 กรกฎาคม 2554

7280
รองเลขาธิการ สปสช.ย้ำ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่แสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นเพียงการยืดการตายในภาวะสุดท้ายของชีวิต ถ้าเป็นผู้ป่วยในระบบบัตรทองและได้รับความเสียหายจากการใช้บริการสาธารณสุขก็ยังคงได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตาม ม.41 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ได้ ไม่ถูกตัดสิทธิเพราะเป็นคนละเรื่องกัน
       
       นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช.ชี้แจงว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ว่าด้วยสิทธิการตายในระยะสุดท้ายของการรักษาพยาบาลและมีข่าวทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ผู้ป่วยที่มีหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นเพียงการยืดการตายในภาวะสุดท้ายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวจะไม่ได้รับสิทธิรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นช่วยเหลือตามมาตรา 41 ของ สปสช.นั้นไม่เป็นความจริง เพราะหนังสือแสดงเจตนาไม่รับการรักษาเป็นคนละเรื่องกันและไม่มีผลทำให้สิทธิตามมาตรา 41 ถูกตัดทอนหรือไม่ได้รับเงินช่วยเหลือแต่อย่างไร เพราะมาตรา 41 ของในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นั้น ต้องการช่วยเหลือผู้ป่วยในระบบบัตรทองทุกคน ที่ได้รับความเสียหายจากการใช้บริการโดยไม่ต้องพิสูจน์ ใครถูก ใครผิด ต้องการเยียวยาช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน ทำให้ผู้ป่วย ญาติและเจ้าหน้าที่ ผู้ให้บริการมีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลดการฟ้องร้องกันทางศาล เป็นผลดีทั้งกับผู้ป่วยและหมอพยาบาลผู้ให้การรักษา
       
       “เรื่องการใช้สิทธิการตายในภาวะสุดท้ายของชีวิต เป็นเรื่องสิทธิของผู้ป่วยตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติตามมาตรา 12 ไม่เกี่ยวกับมาตรา 41 พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแหงชาติ พ.ศ.2545 ซึ่งเป็นกฎหมายคนละฉบับกัน” รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวย้ำ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 กรกฎาคม 2554

7281
 อภ.ร่วม สปสช.ขยายส่งน้ำยาล้างไตถึงบ้านผู้ป่วยทั่วประเทศกว่า 7,700 ราย ที่ร่วมโครงการ คาดปี 55 มี รพ.แจ้งร่วมโครงการอีก 50 แห่ง
   
       นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เปิดเผยว่า โรคไต ที่จำเป็นต้องล้างไตด้วยเครื่องไตเทียมนั้นกำลังประสบปัญหาเรื่องจำนวนเครื่องไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย ทำให้มีใช้จ่ายสูงและไม่สะดวก ดังนั้น อภ.จึงเกิดความร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคไตให้สามารถล้างไตด้วยตนเองได้ที่บ้านแทนที่จะต้องเดินทางมาล้างไตที่โรงพยาบาล โดยองค์การเภสัชกรรมทำหน้าที่จัดหาน้ำยาล้างไต บริหารจัดส่งถึงบ้านผู้ป่วยให้ได้ตามเวลา
       
       โดย คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ทำโครงการส่งเสริมการล้างไตด้วยตนเองขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2551 แรกเริ่มทีเดียวมีโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการฯ ราว 20 กว่าแห่ง เมื่อผลการรักษาผู้ป่วยได้ผลดีเป็นที่ยอมรับจากแพทย์ส่งผลให้ปัจจุบันมีโรงพยาบาลประจำจังหวัด กว่า 112 แห่ง เข้าร่วมโครงการ มีผู้ป่วยโรคไตที่องค์การเภสัชกรรมต้องจัดส่งน้ำยาล้างไตถึงบ้านรวมประมาณ 7,700 กว่าราย กระจายอยู่ทั่วประเทศทุกภูมิภาค
       
       นพ.วิทิต กล่าวต่อว่า ในแต่ละวันผู้ป่วย 1 คน ต้องใช้น้ำยาล้างไต 4 ถุง คิดเป็น 120 ถุง/คน/เดือน ขณะนี้องค์การเภสัชกรรมจึงมีหน้าที่บริหารจัดการในการจัดส่งน้ำยาล้างไตแก่ผู้ป่วยจำนวน 924,000 ถุง/เดือน คิดเป็นน้ำหนักรวม 1,848,000 กก.และปี 2555 มีโรงพยาบาลชุมชนแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการอีก 50 แห่ง

ASTVผู้จัดการออนไลน์    4 กรกฎาคม 2554

7282
 “หมออรพรรณ์” เผยล่ารายชื่อเสนอปรับแก้ กฎหมายเกี่ยวกับระบบ สธ.ได้ 5 หมื่นคนแล้ว หวังอ้อนรัฐบาลใหม่ช่วยขับเคลื่อน ด้านภาคประชาชนวอนแก้เรื่องความเหลื่อมล้ำ
       
       พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล รองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานเข้าชื่อเสนอกฎหมายสาธารณสุข  2553 เปิดเผยว่า จากกรณีที่ระบบสาธารณสุขไทย ประสบกับปัญหาหลายด้านนั้น ทำให้บุคคลากรด้านสาธารณสุข(สธ.)หลายคนเห็นควรให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการสาธารณสุข และบุคลากรสาธารณสุข ซึงเป็นการแยกตัวบุคลากรสาธารณสุข ออกจากกพ.โดยมีมีคณะกรรมการข้าราชการสาธารณสุข หรือ ก.สธ.ขึ้นมาแทน  ,    ร่าง พ.ร.บ.จัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข เช่น ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพชาติอยู่ในสังกัด สธ.เป็นต้น และ ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกกฎหมายอันเกี่ยวกับบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขและกฎหมายบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับการบริหารราชการแผ่นดิน    ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการแจกแบบฟอร์มเข้าสื่อ เพื่อเสนอกฎหมายอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 17 มิ.ย. 2553 โดยขณะนี้รวบรวมรายชื่อได้ราง 5 หมื่นรายชื่อ โดยตั้งใจไว้ว่าจะดำเนินการให้ได้ราว 1 แสนรายชื่อ
       
       “อย่างไรก็ตาม ในการเกิดขึ้นของรัฐบาลใหม่นั้น  เชื่อว่า บุคลากรสาธารณสุขทุกท่านคงจะไม่อยากเผชิญกับปัญหาเดิมๆ ทั้งเรื่องของโครงสร้างการเงินการคลังที่ระส่ำระส่าย ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของบุคลากร และสภาพคล่องทางการเงิน ของสถานบริการพยาบาล ดังนั้นสิ่งแรกที่อยากให้รัฐบาลใหม่เร่งแก้ปัญหาก็คือ เร่งปฏิรูประบบการสาธารณสุขโดยเร็ว” พญ.อรพรรณ์ กล่าว
       
       ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนภาคประชาชน อยากให้รัฐบาลใหม่เร่งสนับสนุน พ.ร.บ.ที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค  หลักๆ ได้แก่ พ.ร.บ.องค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภค พ.ศ..... พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ....เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลากร สธ.และผู้ป่วย  รวมทั้งเร่งดำเนินการเรื่องการปรับระบบบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะที่กำลังเป็นปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำใน 3 ระบบ คือ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบสวัสดิการข้าราชการ และระบบประกันสังคม
       
       “แม้ว่าที่รัฐบาลใหม่ที่กำลังจะก้าวขึ้นมา คือ ผู้ริเริ่มโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคก็ตาม แต่หากได้นั่งตำแหน่งผู้บริหารประเทศจริงๆ ควรมีการไตร่ตรองเรื่องของความเท่าเทียมด้วย  เพราะทุกวันนี้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการรับบริการสาธารณสุขเป็นที่ถกเถียงกันมาก” นส.สารี กล่าว
       
       เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวต่อว่า  นอกจากนี้ เรื่องนโยบายด้านการบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุนั้นก็มีการกล่าวถึงอย่างมาก ดังนั้น จึงควรมีการเพิ่มบำนาญแก่ประชาชนผู้สูงอายุบ้าง

ASTVผู้จัดการออนไลน์    4 กรกฎาคม 2554

7283
กรมควบคุม​โรค​เตือนประชาชนต้อง​ไม่ประมาท ​เพราะ​การระบาดของ​โรค​ไข้หวัด 2009 ยัง​ไม่หมด​ไป ​แต่มี​แนว​โน้ม​การระบาด​ในลักษณะ​เป็นกลุ่มก้อนมากขึ้น ​เร่งรณรงค์​แนะนำประชาชน​ให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกสุขลักษณะ ​เน้นกลุ่ม​เสี่ยงควรฉีดวัคซีนป้องกัน​ไว้ก่อน ย้ำหากมี​การจัดกิจกรรมที่ต้องรวมตัวกันของคนหมู่มากภาย​ในพื้นที่จำกัด ​หรือ​ในสถานศึกษาต้อง​เตรียมพร้อมป้องกันล่วงหน้า

น.พ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่ง​เจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุม​โรค กล่าว​ถึงสถาน​การณ์​โรค​ไข้หวัด​ใหญ่หลัง​การระบาดครั้ง​ใหญ่​เมื่อปี 2552 ว่า ​ในภาพรวมมี​แนว​โน้มลดลง​โดย​ในปี 2553 พบว่ามี​ผู้ป่วย​ไข้หวัด​ใหญ่จำนวน 112,750 ราย ​เป็น​เชื้อ​ไข้หวัด​ใหญ่สายพันธุ์ A (H1N1) จำนวน 16,455 ราย มี​ผู้​เสียชีวิต 169 ราย ​ในจำนวนนี้ ​เป็น​ผู้​เสียชีวิตที่ยืนยันว่า​เป็น​เชื้อ A (H1N1) 150 ราย ​และ​ในปี 2554 จากข้อมูล​การ​เฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา (ตั้ง​แต่วันที่ 1 มกราคม-28 พฤษภาคม 2554) พบ​ผู้ป่วย​ไข้หวัด​ใหญ่สะสมจำนวน 11,422 ราย ตรวจพบ​เป็น​เชื้อ A (H1N1) จำนวน 551 ราย จำนวน​ผู้​เสียชีวิตสะสม 6 ราย ​ทั้งหมดยืนยันว่า​เป็น​เชื้อ​ไข้หวัด​ใหญ่ชนิด A (H1N1) ​ซึ่งจากสถิติตัว​เลขที่พบ​เมื่อ​เปรียบ​เทียบถือว่ามี​แนว​โน้มลดลง ​แต่มีข้อที่น่าสัง​เกต​ก็คือ​การ​แพร่ระบาดของ​โรคยัง​ไม่หมด​ไป​และพบว่ามี​การ​เปลี่ยนรูป​แบบของ​การระบาด​เป็นลักษณะของกลุ่มก้อนมากขึ้น

​การระบาด​ในลักษณะ​เป็นกลุ่มก้อน มักจะพบ​ในสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกัน​เป็นจำนวนมาก ​เช่น ​ในค่ายทหาร สถานที่​ทำงานที่มีลูกจ้างอยู่รวมกันมากๆ ​ในสถานศึกษา ​โดย​เฉพาะ​ในช่วงนี้ที่มหาวิทยาลัยหลาย​แห่งมีกิจกรรมรับน้อง​หรือซ้อม​เชียร์ ​ก็อาจ​เป็น​แหล่งที่​เกิด​การระบาดของ​โรค​ได้ หากมี​การรวมตัวกันของคนหมู่มากภาย​ในพื้นที่จำกัด ​เช่น ​การ​แสดงมหรสพ ​การประชุมขนาด​ใหญ่ ​การ​แข่งขันกีฬา งานนิทรรศ​การ งาน​แต่งงาน งานรื่น​เริง งานบุญ ​หรือกิจกรรมอื่นๆ ​ในช่วงที่มี​การระบาดของ​ไข้หวัด​ใหญ่ กิจกรรมดังกล่าวมี​โอกาสที่จะ​เป็น​แหล่ง​แพร่กระจาย​เชื้อ​โรค ​และ​ผู้​เข้าร่วมกิจกรรมมี​ความ​เสี่ยงที่จะติด​โรค ​ไม่ว่าจะ​เป็นสถานที่กลาง​แจ้ง​หรือ​ในร่ม ​ผู้จัดงาน​หรือ​เจ้าภาพที่มีกิจกรรม​การรวมตัวของคนหมู่มาก ควรมี​การ​ให้ข้อมูลคำ​แนะนำ​การป้องกัน​การ​แพร่กระจาย​เชื้อ​โรค​แก่กลุ่ม​เป้าหมายที่จะมาร่วมงาน​หรือกิจกรรม​เป็น​การล่วงหน้า มีป้ายคำ​แนะนำ ​หรือหน่วยบริ​การ​ให้คำ​แนะนำ ​ผู้ที่มีอา​การป่วยคล้าย​ไข้หวัด​ใหญ่บริ​เวณทาง​เข้างาน จัดอ่างล้างมือพร้อมสบู่ กระดาษทิชชู ​ในห้องน้ำ​ให้พอ​เพียง จัด​ให้มี​ผู้​ทำ​ความสะอาดอุปกรณ์ ​และบริ​เวณที่มี​ผู้สัมผัสปริมาณมาก ​เช่น ราวบัน​ได ลูกบิดประตู ห้องน้ำ ด้วยน้ำผงซักฟอก ​หรือน้ำยา​ทำ​ความสะอาดทั่ว​ไป อย่างสม่ำ​เสมอ​และบ่อยกว่า​ในภาวะปกติ จัดหาหน้ากากอนามัยสำหรับ​ผู้มีอา​การคล้าย​ไข้หวัด​ใหญ่ที่มี​ความจำ​เป็นต้องอยู่ร่วมกิจกรรม ส่วน​ในสถานศึกษา ควรจัด​ให้มีระบบ​การ คัดกรอง​เด็กป่วย หากพบว่ามีนัก​เรียน ​หรือนิสิต นักศึกษาป่วย ควรพิจารณาปิด/​เปิดสถานศึกษา ​เพื่อ​การชะลอ​การระบาดของ​โรค​และ​การ​แพร่กระจาย​เชื้อ ​โดย​ใช้ดุลพินิจร่วมกันระหว่าง​เจ้าหน้าที่สาธารณสุข​ในพื้นที่ ​ผู้บริหารสถานศึกษา ​และคณะกรรม​การสถานศึกษา รวม​ทั้ง​เครือข่าย​ผู้ปกครอง ​ให้นัก​เรียน นิสิต นักศึกษาที่มีอา​การป่วยคล้าย​ไข้หวัด​ใหญ่ ​เช่น มี​ไข้ ​ไอ ​เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวด​เมื่อยตามร่างกาย ฯลฯ ​ให้หยุด​เรียน​และพักผ่อนที่บ้าน

ส่วนมาตร​การ​ใน​การ​เฝ้าระวัง​โรค​ไข้หวัด​ใหญ่ 2009 หลัง​การระบาดครั้ง​ใหญ่ กรมควบคุม​โรค​ได้ดำ​เนิน​การ​ในด้านต่างๆ ​ได้​แก่ 1.​การ​เฝ้าระวัง​โรคทาง​เดินหาย​ใจ ​เช่น ​ไข้หวัด​ใหญ่ ปอดบวม ​เน้น​ผู้ป่วยที่ระบาด​เป็นกลุ่มก้อน ​ผู้ป่วยอา​การรุน​แรง ​และ​ผู้ป่วย​เสียชีวิต ต้องมี​การสอบสวนทุกราย ​การ​เฝ้าระวัง​ในกรณีดื้อยา ​การกลายพันธุ์ ​เพราะจะส่งผล​ให้​เกิด​การ​เปลี่ยน​แปลงทางระบาดวิทยา กำหนดจุด​เฝ้าระวังกระจายทั่วประ​เทศ 2.​การป้องกันด้วย​การฉีดวัคซีน ​โดย​ให้​ความสำคัญกับกลุ่ม​เสี่ยง 6 กลุ่ม คือ ​ผู้สูงอายุ ​ผู้มี​โรคประจำตัว​เรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ ​เด็ก​เล็กอายุตั้ง​แต่ 6 ​เดือน-2 ปี กลุ่มคนอ้วน ​ผู้พิ​การทางสมอง (บุคลากรทาง​การ​แพทย์​และสาธารณสุข​ซึ่ง​เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ควร​ได้รับ​การฉีดวัคซีนด้วย​เช่นกัน) รวม​ทั้ง​ให้ประชาชนตระหนัก​ถึง​การป้องกัน​โรคติด​เชื้อระบบทาง​เดินหาย​ใจ 3.​การกวดขัน​เรื่อง​การวินิจฉัย​โรค​และ​การรักษา​ผู้ป่วยจะต้อง​ได้รับยาต้าน​ไวรัสภาย​ใน 48 ชั่ว​โมง ​เพราะสิ่งที่พบ​ใน​ผู้ป่วยที่​เสียชีวิตคือ​ผู้ป่วย​ได้รับยาต้าน​ไวรัสช้า​เกินกว่าที่กำหนด

​การฉีดวัคซีนป้องกัน​ไข้หวัด​ใหญ่นับ​เป็นวิธีที่​ได้ผลดี สามารถลดอัตรา​การติด​เชื้อ ลดอัตรา​การนอน​โรงพยาบาล ลด​โรค​แทรกซ้อน ลด​การหยุดงาน​หรือหยุด​เรียน ​ซึ่งกรมควบคุม​โรค​และสำนักงานหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ ​ได้ร่วมกันดำ​เนินงานฉีดวัคซีน​ไข้หวัด​ใหญ่ตามฤดูกาล​ให้กับประชาชนกลุ่ม​เป้าหมายมาตั้ง​แต่ปี พ.ศ.2551 ​และ​ในปี 2554 นี้ ​ได้กำหนด​แนวทาง​การ​ให้บริ​การวัคซีน​ไข้หวัด​ใหญ่ตามฤดูกาล ​และจะมี​การรณรงค์ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน-31 สิงหาคม 2554 ประชาชนกลุ่ม​เสี่ยงที่มี​ความประสงค์จะรับ​การฉีดวัคซีนป้องกัน​โรค​ไข้หวัด​ใหญ่ประจำฤดูกาล สามารถขอรับ​การฉีดวัคซีน​ได้ฟรี! ที่​โรงพยาบาลของรัฐบาลทุก​แห่ง

​การป้องกัน​โรค​ไข้หวัด​ใหญ่ประชาชนต้อง​ไม่ประมาท ​เพราะ​เห็นว่ายัง​ไม่​เกิด​การระบาด ต้องหมั่น​ใส่​ใจดู​แลสุขภาพของตน​เอง ​และคน​ใกล้ชิดอย่างสม่ำ​เสมอ รู้จักป้องกันตน​เอง ด้วย​การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ส่วน​ผู้ป่วยที่มีอา​การ​ไข้ มีน้ำมูก ​เจ็บคอ ​ไอ ​ให้พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน สวมหน้ากากอนามัยป้องกัน​ไม่​ให้​แพร่​เชื้อสู่ ​ผู้อื่น​ก็จะสามารถควบคุม​การระบาดของ​โรค​ให้อยู่​ในวงจำกัด​ได้ รองอธิบดีกล่าวทิ้งท้าย...

บ้าน​เมือง -- อาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2554

7284
 เอเอฟพี - มุขมนตรีรัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดียสั่งสอบหาความจริงเป็นการด่วน กรณีทารกแรกเกิดเสียชีวิตปริศนาในโรงพยาบาลเด็กแห่งหนึ่ง 17 ราย ขณะเดียวกัน วันนี้ (30) กลุ่มพ่อแม่ผู้หัวใจสลายก่อเหตุปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังปักหลักประท้วงและพยายามบุกรุกโรงพยาบาลดังกล่าว
       
       ในช่วง 36 ชั่วโมงมีเด็กแรกเกิดเสียชีวิตถึง 17 รายในโรงพยาบาลเด็กของรัฐบาล ณ เมืองโกลกาตา เมือเอกของรัฐเบงกอลตะวันตก
       
       “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่แสนเศร้า” มามาตา บาเนร์จี มุขมนตรีรัฐเบงกอลตะวันตก กล่าว “เราได้สั่งตรวจสอบหาความจริงการตายปริศนานี้แล้ว”
       
       วันนี้ ประชาชนประมาณ 400 คน ร่วมกับกลุ่มพ่อแม่ของเด็กทารกที่เสียชีวิต ชุมนุมประท้วงบริเวณหน้าโรงพยาบาลที่เกิดเหตุ ก่อนปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีไม้ตะบองเป็นอาวุธ
       
       ทั้งนี้ โรงพยาบาลเด็กประจำเมืองโกลกาตาดังกล่าวสามารถรองรับเด็กได้เต็มที่ 360 ราย ทว่าในความเป็นจริงโรงพยาบาลต้องดูแลเด็กจำนวนมากเกินความสามารถ อันเป็นผลให้เด็กทารก และเด็กเล็กบางรายต้องนอนหลับบนพื้น เนื่องจากมีเตียงพยาบาลไม่เพียงพอ
       
       มรินัล คานที ชัตโตปัธยาย ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ยอมรับว่าเด็กทารกเสียชีวิตจำนวนมากในระยะเวลาสั้นๆ ถือเป็นเรื่องผิดปกติ แต่ปฏิเสธว่าไม่ใช่ความผิดของทางโรงพยาบาล
       
       “พวกเด็กๆ มาถึงโรงพยาบาลในสภาพอาการร่อแร่อยู่ก่อนแล้ว บางรายมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย บางรายมีภาวะโลหิตเป็นพิษและหายใจไม่ออกขั้นวิกฤต” ผู้อำนวยการชัตโตปัธยาย แก้ต่าง
       
       “เราพยายามช่วยชีวิตพวกเด็กๆ เต็มที่แล้ว แต่ความพยายามของเราก็สูญเปล่า”


ASTVผู้จัดการออนไลน์    30 มิถุนายน 2554

7285
​แพทยสภารุกหนัก ​เตรียมฟ้องร้องศาลปกครอง ยก​เลิก ม.12 สิทธิ​การตาย ชี้ กม.ช่อง​โหว่​เพียบ อาจ​เข้าข่ายหมอ​เจตนาฆ่าคน​ไข้ ​แม้มีบทบัญญัติยก​เว้น​โทษ​ให้ ​แต่ถือว่าขัดกับหลักกฎหมายอาญา กมธ.สาธารณสุขระบุ อาจ​เคลมประกัน​ไม่​ได้ "​เลขาธิ​การ สช." ​ไม่ออก​ความ​เห็นยัน​เป็น กม. ยึดประ​โยชน์ประชาชน​เป็นที่ตั้ง

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2554 ศ.คลินิค นพ.อำนาจ กุสสลานันท์ นายก​แพทยสภา ​แถลงว่า ภายหลังจากออกกฎกระทรวง ม.12 ​เรื่อง ​การ​ทำหนังสือ​แสดง​เจตนา​ไม่ประสงค์จะรับบริ​การสาธารณสุขที่​เป็น ​ไป​เพื่อยืด​การตาย​ในวาระสุดท้ายของชีวิตนั้น ​แพทยสภา​ได้มี​การออก ​แนวปฏิบัติ 6 ข้อ ส่ง​ให้กับ​แพทย์ทั่วประ​เทศ ดังนี้

1.​เมื่อ​ได้รับหนังสือ​แสดง​เจตนาฯ ​แพทย์​ผู้​เกี่ยวข้องต้อง​แน่​ใจว่าหนังสือดังกล่าว​เป็นหนังสือ​แสดง​เจตนาฯ ที่กระ​ทำ​โดย​ผู้ป่วยขณะที่มีสติสัมปชัญญะ ​เช่น หนังสือ​แสดง​เจตนาฯ ที่กระ​ทำ​โดยอยู่​ใน​ความรู้​เห็นของ​แพทย์ ​เช่นนี้ ​แล้ว​ให้ปฏิบัติตาม​ความประสงค์ของ​ผู้ป่วย ยก​เว้นกรณีตามข้อ 5

2. หนังสือ​แสดง​เจตนาฯ นอก​เหนือจากข้อ 1 ควร​ได้รับ​การพิสูจน์ว่ากระ​ทำ​โดย​ผู้ป่วยจริง

3. ​ในกรณีที่ยังพิสูจน์​ไม่​ได้​ถึง "​ความจริง​แท้" ของหนังสือ​แสดง​เจตนาฯ นี้ ​ให้ดำ​เนิน​การรักษา​ผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ​เวชกรรม

4.​การวินิจฉัยวาระสุดท้ายของชีวิต​ให้อยู่​ในดุลย พินิจของ​แพทย์ที่​เกี่ยวข้อง​ในภา วะวิสัย​และพฤติ​การณ์​ในขณะนั้น

5.​ไม่​แนะนำ​ให้มี​การถอดถอน (with draw) ​การรักษาที่​ได้ดำ​เนินอยู่ก่อน​แล้ว

6.​ในกรณีที่มี​ความขัด​แย้งกับญาติ​ผู้ป่วย​เกี่ยวกับ​เรื่อง "​ความจริง​แท้" ของหนังสือ​แสดง​เจตนาฯ

นายก​แพทยสภา กล่าวต่อ ว่า ที่ผ่านมา ​แพทยสภา​ได้รับข้อร้อง​เรียนจาก​แพทย์ ​และประชาชน รวม​ถึงข้อสรุปจาก​การสัมมนากรรมา ธิ​การวุฒิสภา ​เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.2554 ต่อ​การ​ทำหนังสือ​ไม่ขอรับสิทธิ​การรักษาดังกล่าว ​โดยที่ประ ชุมมีมติ​เสนอ​ให้​แพทยสภา​เป็นตัว ​แทน​ใน​การดำ​เนินฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ​เพื่อ​ให้ยก​เลิกข้อบังคับ​ใน กฎกระทรวงฉบับนี้ ​โดยจะนำข้อ​เสนอดังกล่าว​เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรม​การ​แพทยสภาวันที่ 14 ก.ค.นี้ ​เพื่อหาข้อยุติว่าจะดำ​เนิน​การอย่าง ​ไร หากที่ประชุมมีมติ​ให้ฟ้องร้องทาง ​แพทยสภา​ก็จะ​เร่งดำ​เนินตาม มติก่อนจะ​แจ้ง​ให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ทราบอีกครั้ง ​แต่หากที่ประชุมมีมติ​ไม่ดำ​เนิน​การฟ้องร้องจะมี​การ ​เพิ่มมาตร​การที่​เข้มข้น ​และศักดิ์ สิทธิ์มากกว่า​แนวปฏิบัติที่ออก​ไป

ต่อข้อถามว่า ล่าสุด สธ.​เตรียม ​แต่งตั้งคณะ​ทำงานดำ​เนิน​การตาม กฎกระทรวงกำหนด​แล้ว ทาง​แพทย สภาจะ​เข้าร่วมหารือด้วย​หรือ​ไม่ นา ยก​แพทยสภา กล่าวว่า กฎกระทรวงฯ ​ไม่​ได้ตั้ง​แพทยสภา​เป็นกรรม​การด้วย ดังนั้น ​เราต้องดำ​เนิน​การ​ในส่วนของ​เรา​ไป ​แต่​แนวคิด​ก็คงจะ​เหมือน กัน ​เบื้องต้น​เราจะต้องดำ​เนิน​การตาม​แนวปฏิบัติ 6 ข้อ ที่กล่าว​ไว้ข้างต้น ​แต่หากพิจารณา​แล้ว​เห็นว่ายัง​ไม่ฟ้อง อาจจะมี​การออก​เป็น​แนวปฏิบัติที่​เข้มข้น​และศักดิ์สิทธิ์มากกว่านี้

นพ.​โชติศักดิ์ ​เจนพานิชย์ ​ผู้ช่วย​เลขาธิ​การ​แพทยสภา กล่าวว่า ​โดยส่วนตน​เห็นว่า ​แนวปฏิบัติข้อที่ 5 จาก​ทั้งหมด 6 ข้อนั้น ​เป็นส่วนที่มี​ความสำคัญที่สุด ​เพราะระบุ​ไม่​ให้ถอด​เครื่องช่วยหาย​ใจ​หรือยุติ​การรักษา ​เพราะหากพิสูจน์​ได้ภายหลังว่าหนังสือ​แสดง​เจตนา​ไม่​ใช้สิทธิ​การรักษา​เป็นหนังสือ​เท็จ ​หรือมี​ความ​เห็นต่างของญาติ อาจจะนำ​ไปสู่​การฟ้องร้อง​ได้ ​ซึ่ง​การฟ้องร้องจะมี​ความ​แตกต่าง จาก​เมื่อก่อนที่​เข้าข่าย​การ กระ​ทำ​การ​โดยประมาท​เป็น​เหตุ​ให้​ผู้อื่น​ถึง​แก่​ความตาย​เท่านั้น ​แต่หาก​แพทย์ถอด​เครื่องช่วยหาย​ใจตามหนังสือฯ จะกลาย​เป็น​การ​เจตนาฆ่า​ผู้อื่น​โดย​ไตร่ตรอง​ไว้ก่อน มี​โทษหนัก​ถึงขั้นประหารชีวิต ​ซึ่ง​เป็น​เรื่องที่ยอม​ไม่​ได้ นอกจากนี้ ​ในประ​เด็นที่ระบุว่า​ผู้กระ​ทำ​การรักษาตามหนังสือดังกล่าวจะ​ได้รับ​การยก​เว้น​โทษ​ทั้งปวงนั้น จาก​การหารือ​แล้ว ​เห็นว่า​เป็นกฎกระทรวงที่ขัดกับกฎหมายอื่นที่มีอยู่ ​เพราะฉะนั้นคง​เป็น​ไป​ไม่​ได้ที่จะนำกฎกระทรวงฉบับนี้​ไปยก​เว้น​ความผิดทางอาญา

ศ.นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์ รองประธานกรรมาธิ​การสาธารณสุข วุฒิสภา กล่าวว่า จาก​การสัมมนา​เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา ประ​เด็นสำคัญคือ​เรื่องสิทธิ​การตายคืออะ ​ไร ​ซึ่งวาระสุดท้ายของ​แต่ละคน​ไม่​เหมือนกัน อีก​ทั้งวิทยา​การทาง​การ​แพทย์ที่​ใช้​ใน​การรักษา​ก็​แตกต่างกัน ดังนั้น​จึงกำหนด​ไม่​ได้ว่า​ใคร​ถึง วาระสุดท้ายของชีวิต​แล้ว ​เป็น​เรื่อง ที่​ผู้ป่วย​และญาติต้องตกลงกัน นอก จากนี้ ​การ​ทำหนังสือ​แสดง​เจตนา​ใน ​การรักษาพยาบาลฯ จะ​ทำ​ให้​ผู้ป่วย ​เสียสิทธิ​ในหลายด้าน​เช่น

1.หาก​ผู้ ป่วยถือสิทธิบัตรทอง จะ​เสียสิทธิ​เรียก ร้องค่า​เสียหายตามมาตรา 40 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ

2.อาจจะ​เสียสิทธิ​ใน​การ​ได้รับค่าทด​แทนประกันชีวิต ​เพราะ​การ​แสดง​เจตนารมณ์ดังกล่าวถือว่า​เป็น​การ​เจตนาฆ่าตัวตาย

3.​ในส่วนของ​แพทย์ หาก​ไม่มี​ความรู้ทางด้านกฎหมายอย่างชัด​เจน​แล้ว ​การกระ​ทำ​การ​ใดๆ อาจจะ​เป็น​การ​ทำผิดกฎหมายอื่นๆ อีก​ได้

ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ​เลขาธิ​การสำนักงานคณะกรรม​การสุขภาพ​แห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า ตนยัง​ไม่​เห็นมติที่ประชุมคณะกรรม​การ​แพทยสภา ​แต่คิดว่า​เป็น​ความ​เห็นของคณะ​แพทย์กลุ่มหนึ่ง ​จึง​ไม่สามารถ​ให้​ความ​เห็นอะ​ไร​ได้ ​แต่​ทั้งหมดนี้ ตนยืนยันว่า​การออกกฎกระทรวงฉบับนี้​เป็น​การดำ​เนิน​การตาม กฎหมาย​โดยยึดประ​โยชน์ของประชาชน​เป็นที่ตั้ง รวม​ถึง​แพทย์ พยาบาลที่ดำ​เนิน​การ​เรื่องนี้ยัง​ไม่​เห็นปัญหาที่​เกิดจากกฎหมายฉบับนี้​แต่อย่าง​ใด

"ผมนั่งอยู่ตรงนี้​ได้รับ​การประสาน​โดยตลอดจาก​ทั้ง​แพทย์ พยาบาล ว่า​เป็น​เรื่องที่ดี ​ซึ่ง​ในส่วนของ รพ.​เอง​ก็มี​การพัฒนาระบบมารองรับ​เรื่องนี้อยู่ด้วย ​และ​ก็มีประชาชนติดต่อ​เข้ามาขอข้อมูล ​แบบฟอร์มด้วย ​จึง​ไม่ทราบว่าตรงนั้นคิดอะ​ไร ​และจะมีประ​โยชน์มากกว่าอย่าง​ไร" ​เลขาธิ​การ สช.กล่าว.

ไทย​โพสต์ 1 กรกฎาคม 2554

7286
แพทยสภาเตรียมดันวาระ “สิทธิการตาย” เข้าที่ประชุมบอร์ดใหญ่ 14 ก.ค.เตรียมเสนอประเด็นเรื่องการฟ้องศาลปกครองล้มกฎกระทรวงแสดงเจตนาฯ ตามข้อเสนอของแพทย์บางกลุ่ม  ด้าน ส.ว.กรรมาธิการการสาธารณสุขชี้ หากดำเนินการจริง ผู้ป่วยบัตรทองเสียสิทธิ ม.41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ เพราะไม่ได้เสียหายจากการบริการสาธารณสุข แต่เป็นการยินยอม
       
        จากกรณีสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ออกประกาศกระทรวงทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่ เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือยุติการทรมานจากการเจ็บ ป่วย พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ได้ก่อให้เกิดฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ขณะที่ทางด้านกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)  ได้ตั้งคณะทำงานการดำเนินการตามหนังสือดังกล่าว ไม่ให้กระทบต่อแพทย์และบุคลากร สธ.นั้น
       
       ล่าสุด วันนี้ (30 มิ.ย.) ศ.คลินิก นพ.อำนาจ   กุสลานันท์   นายกแพทยสภา  แถลงข่าวหลังการประชุมกรรมการบริหาร ถึงกรณีดังกล่าวว่า  เนื่องจากมีทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่าย ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการสาธารณสุข(กมธ.สธ.)ได้จัดสัมมนาระดมความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้ข้อสรุปให้แพทยสภา ซึ่งเป็นตัวแทนวิชาชีพแพทย์ทำหน้าที่ดำเนินการหาความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่อง นี้ เนื่องจากมีแพทย์หลายฝ่าย กังวลถึงการบังคับใช้แนวทางการแสดงสิทธิดังกล่าว เพราะอาจเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย และยังขัดต่อจริยธรรมแพทย์  ที่สำคัญ กฎกระทรวงดังกล่าวยังออกเกินกว่าเจตนารมณ์ของมาตรา 12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ที่กำหนด ดังนั้น เมื่อคณะกรรมาธิการสาธารณสุขมีความประสงค์ต้องการความชัดเจน จากการประชุมของกรรมการบริหารจึงมีความเห็นว่าจะนำเรื่องดังกล่าว เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภาในวันที่ 14 กรกฎาคม 2554 เพื่อพิจารณาถึงการเคลื่อนไหว ซึ่งเบื้องต้นอาจดำเนินการฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนกฎกระทรวงดังกล่าว
       
       ศ.นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์  สมาชิกวุฒิสภา และรองประธานกรรมาธิการสาธารณสุข  กล่าวว่า  ที่ต้องระวัง คือ การพิจารณาถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เนื่องจากหากญาติไม่เข้าใจจะนำปัญหามาสู่แพทย์ และเกิดเป็นประเด็นฟ้องร้องได้ ขณะเดียวกันการทำหนังสือแสดงเจตนาฯ อาจส่งผลเสียต่อผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง เนื่องจากการแสดงเจตนาดังกล่าว ถือเป็นการเสียสิทธิในการรับเงินค่าชดเชยตามมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ทำให้ไม่สามารถรับเงินกรณีเกิดความเสียหายจากการรักษาจำนวน 2 แสนบาททันที อีกทั้งกรณีผู้ทำประกันชีวิตอาจไม่ได้รับเบี้ยประกัน เนื่องจากอาจเข้าข่ายการฆ่าตัวตาย สิ่งเหล่านี้เป็นสิทธิที่ผู้ป่วยอาจเสียไปด้วย
       
         ศ.นพ.วิรัติ กล่าวด้วยว่า ในส่วนผลกระทบทางการแพทย์  คือ หากแพทย์ไม่รู้กฎหมายและไปดำเนินการจะถูกข้อหา เจตนาฆ่า  ซึ่งมีความผิดทางออาญาและมีสิทธิได้รับโทษขั้นสูงสุดถึงการประหารชีวิต  สิ่งเหล่านี้เป็นช่องโหว่ทางกฎหมาย เพราะเมื่อทำตามกฎหมายหนึ่งก็อาจไปก้าวล่วงกฎหมายหนึ่งด้วย  ดังนั้น การจะดำเนินการตามสิทธิการตายได้ จะต้องไม่มีช่องโหว่เรื่องดังกล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    30 มิถุนายน 2554

7287
คลังทำหนังสือด่วน ส่งถึง รพ.ชี้ อนุมัติเบิกจ่ายยาข้อเสื่อมได้แบบมีเงื่อนไข เน้นย้ำห้ามจ่ายโดยตรง ผอ.รพ.รามาฯ เห็นด้วย ขณะที่ กก.1 รายในชุดทำงานขอถอนตัว
       
       จากกรณีปลัดกระทรวงการคลังประกาศชัดว่าจะมีการเบิกจ่ายยาบรรเทาอาการข้อเสื่อม (กลูโคซามีน) โดยมีข้อแม้ว่าการเบิกจ่ายยาต้องอยู่ภายใต้การประเมินอย่างรัดกุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โดยการเบิกจ่ายต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด คือ ให้ใช้ในเวลาจำกัด 3 เดือน แล้วให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยหรือไม่ หากมีจึงให้ใช้ต่ออีก 3 เดือน แล้วต้องหยุดการใช้ยาก่อน 3 เดือน เพราะหากใช้ต่อเนื่องจาก 6 เดือนจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ส่วนในกรณีที่ใช้ 3 เดือนแรกแล้วแพทย์ประเมิน พบว่า ไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยก็ต้องหยุดใช้ยาทันที ส่งผลให้เกิดทั้งกระแสเห็นด้วยและคัดค้าน ขณะที่กลุ่มสิทธิสวัสดิการข้าราชการที่มีปัญหาข้อเสื่อมต่างเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อ
       
       วานนี้ (29 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงการคลัง ลงนามโดย น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0422.2/ว.62 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2554 เรื่อง การเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต หนังสือส่งถึงปลัดกระทรวง อธิบดี เลขาธิการ ผู้อำนวยการ อธิการบดี ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อ ำนวยการสถานพยาบาลของทางราชการ และสถานพยาบาลที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยหนังสือระบุถึงกรณีการกำหนดให้กลุ่มยาบรรเทาอาการข้อเสื่อมที่ออกฤทธิ์ช้า (กลูโคซามีน คอนดรอยตินซัลเฟต และไดอะเซอเรน) ทุกรูปแบบ และกลุ่มยาฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อม(ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) เป็นรายการยาที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการข้าราชการนั้น
       
       ล่าสุด กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว ดังนี้ 1.คณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาหาข้อสรุปเกี่ยวกับประสิทธิผลและความคุ้มค่าของกลุ่มยาบรรเทาอาการข้อเสื่อม ซึ่งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ ได้พิจารณาดังนี้ 1.1 กลุ่มยากลูโคซามีนฯ ไม่ใช่ยาที่ใช้ป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม แต่เป็นยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมบางกลุ่ม โดยต้องมีการกำหนดเงื่อนไขในการใช้ และวิธีการบริหารจัดการ ดังนั้น กรมบัญชีกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมกันศึกษาความคุ้มค่าและวางแนวทางการบริหารจัดการ การควบคุมกำกับการใช้ยาที่สามารถปฏิบัติได้จริง โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 1 เดือน และนำข้อสรุปเสนอคณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการพิจารณา
       
       1.2 คณะอนุกรรมการบางท่าน เห็นว่า ในระหว่างรอผลการศึกษา กระทรวงการคลังควรทบทวนคำสั่งห้ามเบิกจ่ายยา โดยการผ่อนคลายให้เบิกจ่ายได้ตามเงื่อนไขข้อบ่งชี้ที่ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยกำหนด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ป่วยสิทธิดังกล่าวที่ต้องใช้ยา ทั้งนี้ นำไปสู่ข้อ 2.กระทรวงการคลังเห็นสมควรผ่อนคลายให้ผู้มีสิทธิสามารถเบิกจ่ายยาดังกล่าวได้ตามเงื่อนไข ดังนี้ 2.1 ค่ายาที่เบิกได้นั้นต้องเป็นการสั่งใช้ยาตามแนวทางกำกับการใช้ยากลูโคซามีนซัลเฟตของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ฯ 2.2. ห้ามสถานพยาบาลเบิกค่ายาดังกล่าวในระบบเบิกจ่ายตรงกับกรมบัญชีกลาง และให้สถานพยาบาลออกใบเสร็จรับเงินค่ายาดังกล่าว เพื่อผู้มีสิทธินำไปยื่นขอเบิกจากส่วนราชการต้นสังกัด
       
       2.3 ให้แพทย์ผู้ทำการรักษาที่สามารถสั่งใช้ยาตามแนวทางดังกล่าว เป็นผู้ออกหนังสือรับรองการใช้ยากลูโคซามีนฯ ซึ่งเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติแทนคณะกรรมการแพทย์ของสถานพยาบาลได้ 2.4 กรณีที่กรมบัญชีกลางตรวจสอบพบว่าสถานพยาบาลมีการสั่งจ่ายยาไม่เป็นไปตามแนวทางจะดำเนินการเรียกคืนเงินค่ายาดังกล่าว 3.การเบิกจ่ายค่ายา ให้ส่วนราชการตรวจสอบคำขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล และหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายให้ถูกต้อง และให้ส่วนราชการผู้เบิกจัดทำรายงานการเบิกจ่ายเงินค่ายากลูโคซามีนฯประจำเดือนส่งให้กรมบัญชีกลางพร้อมสำเนา ใบเสร็จรับเงินและสำเนาหนังสือรรับรองการใช้ยา ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
       
       รศ.นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ทางโรงพยาบาลเพิ่งได้รับหนังสือดังกล่าว และได้เรียกประชุมทีมแพทย์ เพื่อรับทราบเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งหลักๆ คือ 1.ต้องสั่งยาตามข้อกำหนดของราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ฯ 2.ต้องให้ผู้ป่วยเบิกจ่ายไปก่อน โดยโรงพยาบาลไม่สามารถเบิกจ่ายตรงได้ 3.แพทย์ที่จะสั่งจ่ายยากลุ่มนี้จะต้องเป็นแพทย์เฉพาะทาง 3 ด้าน คือ 1.อายุรแพทย์โรคข้อ 2.แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู 3.แพทย์ออร์โธปิดิกส์ สำหรับกรณีคนไข้ที่จะมีสิทธิรับยานี้ สิ่งสำคัญต้องเป็นผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีอาการในระยะปานกลาง ไม่ใช่สาหัส ซึ่งแพทย์จะต้องทำการวินิจฉัย และมีใบสั่งยามาแล้ว และต้องมีอายุตั้งแต่ 56 ปีขึ้นไป อีกทั้ง อาการป่วยต้องไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ เว้นแต่ข้อเสื่อมเพราะความชราเท่านั้น ทั้งนี้ หนังสือดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2554 เป็นต้นไป
       
       “การตัดสินใจของกรมบัญชีกลางครั้งนี้ ถือว่าดี และรอบคอบ ถือว่าเป็นธรรมกับข้าราชการที่ป่วยด้วยอาการข้อเสื่อม หลังจากนี้ในยาอื่นๆที่เล็งว่าจะยกเลิกอีก 8 ตัว อยากให้กรมบัญชีกลางพิจารณาในลักษณะคล้ายกันด้วยเช่นกัน คือ เน้นความคุ้มค่า ควบคู่ไปกับความจำเป็นต้องใช้ แต่หนังสือดังกล่าวยังไม่ใช่ประกาศตายตัว เพราะยังต้องรอการพิจารณาความคุ้มค่า และวิธีการบริหารจัดการจากคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาอีก 1 เดือน ซึ่งไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ แต่โดยส่วนตัวเห็นว่าข้อกำหนดนี้ดีแล้ว” รศ.นพ.ธันย์ กล่าว
       
       แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ระบุว่า จากปัญหาดังกล่าวที่มีทั้งกลุ่มเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยในการทบทวนประกาศ และมีมติให้สามารถเบิกยากลุ่มข้อเสื่อม ล่าสุดมีกระแสข่าวว่า นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะ 1 ในคณะกรรมการชุดนี้ได้ถอนตัวออกแล้ว แต่คณะกรรมการหลายท่านยังไม่ห็นหนังสือยืนยันที่ชัดเจน โดยผู้สื่อข่าวพยายามติดต่อขอสัมภาษณ์ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ เนื่องจาก นพ.ยศ ติดภารกิจไปที่ต่างประเทศ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    30 มิถุนายน 2554

7288








การประชุม วันที่ 14-15  มิถุนายน 2554 ณ เดอะกรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา

1.   ผู้เข้าร่วมประชุม
ประธาน : นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์  รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้เข้าร่วมประชุม : คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาหน่วยงานสาธารณสุข (2554-2556) จากสำนักงานปลัดกระทรวง และกรมทุกกรม ผู้แทนผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 90 ท่าน
วิทยาการกระบวนการ นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศม์ ที่ปรึกษากรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

บทสรุปการนำเสนอภารกิจและโครงสร้าง

   โดยการเป็นหน่วยงานหลักจัดการสุขภาพมายาวนานมีความเข้าใจในระบบสุขภาพเป็นอย่างดี พร้อมกับการมีเครือข่ายหน่วยบริการที่มีจำนวนมาก รองรับสิทธิการรักษาและประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ กระทรวงสาธารณสุขตระหนักดีถึงปัญหาของการบริหารจัดการระบบสุขภาพ แต่ที่ผ่านมามีอุปสรรคการเปลี่ยนที่กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถตั้งตัวรับได้ทัน เช่นการปรับโครงสร้างภายในระบบราชการ และการเปลี่ยนฐานอำนาจทางการเงิน ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้ทบทวนและประเมินการปรับองค์กรมาตลอด บัดนี้มีความพร้อมสามารถนำพื้นฐานที่มีอยู่พร้อมทั้งระบบภายในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ปรับเปลี่ยนมาแล้วในขณะนี้ การนำภารกิจการบริหารจัดการเขตที่ดำเนินการล่วงหน้าโดยยังไม่มีระเบียบราชการสาธารณสุขเขตรองรับ และการนำศักยภาพการบริการเชิงเครือข่ายมาจัดระบบใหม่ ไม่ได้เพิ่มอัตรากำลังบุคลากร ไม่ได้เพิ่มงบประมาณ แต่จะสามารถสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบสุขภาพที่มากกว่าเดิม บนฐานงบประมาณรัฐที่ลดลง   แต่จะมีแนวทางไปสู่การบูรณาการงบประมาณจากกับพื้นที่มากขึ้น รูปแบบการบริหารสาธารณสุขเขต จึงเป็นรูปแบบที่พึงประสงค์ของระบบสุขภาพในทศวรรษหน้า ที่จะรองรับการผ่องถ่ายอำนาจของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเป็นระบบ แต่ยังสามารถกำกับหน่วยระดับรองได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากจำนวนหน่วยระดับเขตที่ไม่มากเกินกำลัง พร้อมรองรับทิศทางการพัฒนาระบบปฐมภูมิที่จะขยายฐานตามความพร้อมในปัจจัยในเขตอย่างเป็นระบบ เป็นธรรมชาติที่ไม่หักลำดำเนินการจนระบบเสียหาย และเป็นธรรมาภิบาลจากการสร้างความมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ซึ่งต้องลงรายละเอียดปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งๆ ในโอกาสต่อไป
.........................................

7289
ปัญหาทาง​การ​เมือง​ทำคนกรุงมีปัญหาสุขภาพจิตต่ำสุด สูงอายุ หม้าย หย่า ​การศึกษาต่ำ ว่างงาน มีหนี้นอกระบบ ​เป็นปัจจัย​เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต รัฐต้อง​เข้ามามีส่วนร่วม

นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว​ถึง​โครง​การ​ความร่วมมือระหว่างกรมสุขภาพจิต สำนักงานสถิติ​แห่งชาติ สถาบันวิจัยประชากร​และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล​และสำนักงานกองทุนสนับสนุน​การสร้าง​เสริมสุขภาพ ​ใน​การสำรวจสุขภาพจิตคน​ไทยต่อ​เนื่องสามปี ​แสดง​ให้​ถึง​แนว​โน้ม​ความสุขคน​ไทย​ในช่วงระหว่างปี 2551 — 2553 ว่าดีขึ้น​เป็นลำดับ

นายวิลาส สุวี รอง​ผู้อำนวย​การสำนักงานสถิติ​แห่งชาติ กล่าวว่า ​การสำรวจสุขภาพจิตคน​ไทย​ในปีที่ผ่านมา มี​ผู้ตอบสัมภาษณ์ประมาณ 87,000 คน พบว่าคน​ไทยมี​แนว​โน้มสุขภาพจิตดีขึ้น ​โดยมีคะ​แนนตาม​แบบประ​เมิน​ความสุขของกรมสุขภาพจิต​เพิ่มขึ้นจาก 31.80 ​ในปี 2551 ​เป็น 33.09 ​และ 33.30 คะ​แนน ​ในปี 2552 ​และ 2553 ตามลำดับ ​และสัดส่วนของคนที่​เสี่ยงต่อ​การมีปัญหาสุขภาพจิต ​หรือกลุ่มสุขน้อยมี​แนว​โน้มลดลง​เช่นกัน (จากร้อยละ 17.8 ​ในปี 2551 ​เป็นร้อยละ 12.8 ​และ 11.2 ​ในปี 2552 ​และ 2553 ตามลำดับ) ​และ​ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า ​เพศชายยังคงมีสุขภาพจิตดีกว่า​เพศหญิง คนที่อยู่​ในวัย 40-59 ปี ​เป็นกลุ่มที่มีสุขภาพจิตดีที่สุด​เป็นอันดับหนึ่ง สำหรับสุขภาพจิตของ​ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้น​ไป) มี​แนว​โน้มดีขึ้นอย่าง​เห็น​ได้ชัด ​โดย​เฉพาะ​ในปี 2552 คะ​แนนสุขภาพจิต​เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ​ถึงร้อยละ 4.6

​ในช่วงปี 2552 ​และ 2553 คน​ในชนบทมีสุขภาพจิตดีกว่าคน​เมือง ​และพบว่า​ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมาคน​ไทย​ในภาค​เหนือ ภาคตะวันออก​เฉียง​เหนือ ​และภาค​ใต้ มี​แนว​โน้มสุขภาพจิตดีขึ้น​ในทุกๆปี ส่วนคนกรุง​เทพฯ ​ซึ่งมีสุขภาพจิต​ในปี 2551 สูงกว่าภาคอื่นๆ (ยก​เว้นภาค​ใต้) กลับมีคะ​แนนสุขภาพจิตลดลง​ในปี 2552​และ 2553 ​และกลาย​เป็นภาคที่มีคะ​แนนสุขภาพจิตต่ำสุด ​ทั้งนี้น่าจะมาจากปัญหา​ความ​ไม่สงบทาง​การ​เมือง​ในขณะที่คน​ไทย​ในภาคกลางมีคะ​แนน​เฉลี่ยสุขภาพจิต​ในปี 2553 ​เพิ่มขึ้น​เล็กน้อย​เมื่อ​เทียบกับปี 2552 (จาก 32.54 ​เป็น 32.60 คะ​แนน)

​ในช่วงปี 2552 ​และ 2553 พบว่า ​ผู้ที่อยู่​ในครัว​เรือนที่มีภาระพึ่งพิงน้อย คือมีสัดส่วนของคน​ทำงานมากกว่าคน​ไม่​ทำงาน จะมีสุขภาพจิตดีกว่า​ผู้ที่อยู่​ในครัว​เรือนที่มีภาระพึ่งพิงมาก (มีคน​ทำงานน้อยกว่า​หรือ​เท่ากับคน​ไม่​ทำงาน ​หรือ​ไม่มีคน​ทำงาน​เลย) ​ในขณะที่ ​ผู้ที่อยู่​ในครัว​เรือนที่​ไม่มีภาระพึ่งพิง (มี​เฉพาะคน​ทำงาน)กลับมีสุขภาพจิตต่ำกว่า​ผู้ที่อยู่​ในครัว​เรือนที่มีภาระพึ่งพิง

ศ.​เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ กล่าวว่า คน​ไทยที่มี​ความ​เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต​ได้​แก่​ผู้สูงอายุ มีสถานภาพหม้าย หย่า ​หรือ​แยกกันอยู่ ​การศึกษาต่ำ ​เป็น​ผู้ว่างงาน​หรือลูกจ้าง​เอกชน รายจ่ายของครัว​เรือนต่ำ (​ซึ่งสะท้อนราย​ได้ครัว​เรือนต่ำ) ครัว​เรือน​เกษตรกรที่​ไม่มีที่ดิน​ทำกิน ​และครัว​เรือนที่มีหนี้นอกระบบนอกจากนี้ ยังพบว่า ​การมีระบบ​การจ้างงาน​และดู​แลปัญหา​การว่างงานที่ดี ​การสร้างสังคม​ให้มีส่วนร่วม​ใน​การดำ​เนินงานของรัฐ​หรือชุมชน ​การกระจายราย​ได้​ในสังคมที่มี​การ​แข่งขัน ​และ​การพัฒนา​เศรษฐกิจประ​เทศ​ในภาพรวม ยัง​ทำ​ให้คน​ไทยมีสุขภาพจิตดีขึ้นด้วย

ดังนั้น​การสร้าง​เสริม​ให้คน​ไทยมีสุขภาพจิตที่​แข็ง​แรง ​จึงจำ​เป็นที่รัฐต้องมีน​โยบายสร้างระบบ​เศรษฐกิจที่ดีที่​เอื้อต่อคน​ไทยทุกคน​ให้มีงาน​ทำ มีราย​ได้​แน่นอน ​และ​เพียงพอกับค่า​ใช้จ่ายที่สอดคล้องกับสถาน​การณ์ทาง​เศรษฐกิจที่​เป็นอยู่ ส่ง​เสริม​ให้คน​ไทยที่มีอาชีพ​เกษตรกรมีที่ดิน​ทำกิน​เป็นของตน​เอง ช่วย​เหลือ​ผู้ที่มีหนี้นอกระบบ​ให้กลับ​เข้ามามีหนี้​ในระบบ​แทน ส่ง​เสริม​เบี้ยยังชีพ​แก่​ผู้สูงอายุ สร้าง​โอกาส​ให้คน​ไทย​ได้รับ​การศึกษา​ในระดับสูง สนับสนุน​ให้คน​ไทยมีครอบครัวอบอุ่นขึ้น ​ก็​เป็นวิถีทางหนึ่งที่จะ​เสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดี​ได้นอกจากนี้ รัฐยังควรนำ​แนวทางปฏิบัติของศาสนาช่วย​ให้คน​ไทยมีสุขภาพจิตดี ดังผล​การศึกษาที่​แสดงว่าคน​ไทยพุทธที่มี​การปฏิบัติสมาธิ รักษาศีล 5 ​และสวดมนต์​เป็นประจำ มี​ความ​เสี่ยง ที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตน้อย

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ​การสำรวจช่วย​ให้​ได้ข้อมูลสำคัญ​เกี่ยวกับปัจจัย​ความสุขคน​ไทย ​ซึ่งจะ​เป็นประ​โยชน์ต่อ​การกำหนดน​โยบาย ​ทั้งทาง​เศรษฐกิจ​และสังคม ที่​เอื้อต่อ​การสร้าง​ความสุขคน​ไทย ​และที่สำคัญ คือ ข้อมูล​ความสุขคน​ไทยรายจังหวัด ​ซึ่งจังหวัดต่างๆ สามารถนำข้อมูล​ไป​ใช้​เป็น​แนวทางสร้าง​ความสุข​ให้กับคน​ในจังหวัดของตน ​โดยพบว่า จังหวัดพังงา​เป็นจังหวัดที่มี​ความสุขที่สุดของประ​เทศติดต่อกันสองปี ​ในปี 2552 — 2553 ขณะที่จังหวัดสมุทรปรา​การ ​และสมุทรสงคราม ​เป็นจังหวัดที่มี​ความสุขน้อยที่สุด ​ในปี 2552 ​และ 2553 ตามลำดับ จังหวัดที่อยู่​ในกลุ่มสุขน้อยที่สุดของประ​เทศติดต่อกันสองปี คือ สมุทรปรา​การ ภู​เ​ก็ต สระ​แก้ว ​และ นครนายก

ประชาชน​ในจังหวัดที่มีราย​ได้สูงมี​ความสุขน้อยกว่าประชาชน​ในจังหวัดที่มีราย​ได้ต่ำ ​และ​ในกลุ่มจังหวัดที่มีราย​ได้​ในระดับ​ใกล้​เคียงกัน มีร้อยละของ​ผู้มี​ความสุขน้อย​หรือ​ผู้​เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต ต่างกัน​เป็นสิบ​เท่า ​เช่น ​ในกลุ่มจังหวัดที่มีราย​ได้ต่ำ พบว่า จังหวัดลำปางมีร้อยละของ​ผู้มี​ความสุขน้อย​เท่ากับ 28.8 ขณะที่จังหวัดนครพนม ​ซึ่งอยู่​ในกลุ่มราย​ได้ระดับ​เดียวกัน มีร้อยละของ​ผู้มี​ความสุขน้อย​เท่ากับร้อยละ 2.4 ​เชื่อว่าปัจจัยที่​ทำ​ให้จังหวัดที่มีราย​ได้​ใกล้​เคียงกันมี​ความสุขต่างกันมาก ​เป็นผลจากปัจจัยอื่นๆ นอกจากทาง​เศรษฐกิจ ​ได้​แก่ ปัจจัยทางสังคม ชุมชน ​และปัจจัยด้านจิต​ใจของประชาชน ​เป็นสำคัญ

สำนักงานสถิติ​แห่งชาติ -- พุธที่ 29 มิถุนายน 2554

7290
เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผอ.สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวว่า ปัจจุบัน สปส.มีโรงพยาบาลรัฐและเอกชน คลินิกที่เป็นเครือข่ายสถานพยาบาลในระบบประกันสังคมทั้งสิ้น 2,120 แห่ง โดยในช่วงตั้งแต่เดือน ม.ค. 2553 จนถึงเดือน พ.ค. 2554 มีผู้ประกันตนร้องเรียนเรื่องการรักษาพยาบาลทั้งหมด 406 ราย ส่วนใหญ่ร้องเรียนใน 3 ประเด็นได้แก่

1. การบริหารจัดการ

2. พฤติกรรมการให้บริการ และ

3. มาตรฐานการให้บริการ

โดยเฉพาะมาตรฐานการให้บริการนั้นมีการร้องเรียนมากที่สุด เช่น ตรวจรักษาไม่ละเอียดทำให้ไม่พบโรค รักษาล่าช้า เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจควรผ่าตัดทำบายพาสแต่กลับไม่ผ่าตัด ไม่ยอมส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอื่น กรณีนี้ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งบางแห่งทำเพื่อต้องการเงินจากประกันสังคม
   
นพ.สุรเดช กล่าวอีกว่า หาก สปส.ตรวจสอบพบว่าโรงพยาบาลประกันสังคมรักษาไม่ได้มาตรฐานการให้บริการ เช่น ไม่ยอมส่งต่อผู้ป่วย จะมีบทลงโทษตั้งแต่ตักเตือน ภาคทัณฑ์ ลดโควตาผู้ประกันตนและยกเลิกสัญญา ที่ผ่านมามีโรงพยาบาลถูกยกเลิกสัญญา 3 ราย ส่วนกรณีโรงพยาบาลประกันสังคมตรวจรักษาคนไข้ไม่ละเอียด ทำให้ไม่พบโรคและผู้ประกันตนไปรักษาโรงพยาบาลอื่น ๆ แล้วพบโรค หากตรวจสอบแล้วพบข้อบ่งชี้ว่าโรงพยาบาลประกันสังคมรักษาไม่ได้มาตรฐานการให้บริการ โรงพยาบาลประกันสังคมแห่งนั้น จะต้องรับผิดชอบจ่ายค่ารักษาให้แก่ผู้ประกันตน
   
“ส่วนกรณีโรงพยาบาลประกันสังคมรักษาไม่เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ ส่งผลให้ผู้ประกันตนต้องพิการหรือเสียชีวิตจากการรักษาพยาบาลซึ่งที่ผ่านมามีกรณีเสียชีวิต 1 ราย สปส.จะส่งเรื่องต่อไปยังกองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขเพื่อพิจารณาว่า จะให้โรงพยาบาลช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกันตนหรือญาติอย่างไรโดยให้ทั้งสองฝ่ายมาเจรจากัน” นพ.สุรเดช กล่าว
   
นพ.สุรเดช กล่าวด้วยว่า การพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์นั้น สปส.ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีโรคและยาที่เสียค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรคไต โรคเรื้อรัง ทันตกรรม ยาราคาแพง และเตรียมจะเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านอุปกรณ์ เช่น ลิ้นหัวใจ สายสวนหัวใจด้วย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายผู้ประกันตน และจัดระบบตรวจสอบมาตรฐานการให้บริการโดยเฉพาะกระบวนการให้บริการเข้มข้นมากขึ้น รวมทั้งให้ผู้แทนผู้ประกันตนกับโรงพยาบาลมาพูดคุยกันถึงปัญหาต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจและแก้ปัญหาร่วมกัน ให้ระบบการบริการสังคมสามารถตอบสนองผู้ประกันตนได้ดียิ่งขึ้น.

เดลินิวส์  28 มิถุนายน 2554

หน้า: 1 ... 484 485 [486] 487 488 ... 535