แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - story

หน้า: 1 ... 483 484 [485] 486 487 ... 535
7262
แพทยสภาชี้ควรชะลอ "สิทธิการตาย" ยังคงมีการกำหนดวิธีการที่ไม่ชัดเจนในการปฏิบัติจริง และอาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ ยันไม่ได้ขวาง นัดถก 14 ก.ค.นี้...

เมื่อวันที่ 13 ก.ค.สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย เครือข่ายพุทธิกา และศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดราชดำเนินเสวนา "สิทธิการตายอย่างสงบ ทางเลือกอันชอบธรรมของผู้ป่วย" นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา  กล่าวว่า การกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่ เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฎกระทรวงตามมาตรา 12 พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งยังคงมีการกำหนดวิธีการที่ไม่ชัดเจนในการปฏิบัติจริง และอาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ โดยเฉพาะการกำหนดว่าให้แพทย์ทำหน้าที่ถอดสายท่อ ในผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่แสดงความไม่ประสงค์รับการรักษาด้วยเครื่องมือแพทย์ ต่างๆ ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีแพทย์คนใดอยากทำ ไม่ใช่กลัวถูกฟ้องร้อง แต่เป็นเรื่องของมนุษยธรรม

"แพทยสภาไม่ได้ขัดขวางการสิทธิดังกล่าว แต่ไม่เห็นด้วยในวิธีการปฏิบัติ ซึ่งขัดกับความเป็นจริง และเข้าข่ายขัดกับ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ที่กำหนดชัดเจนให้แพทย์ต้องทำการรักษาให้ดีที่สุด แต่การ Un Plug เป็นการผลักภาระให้แพทย์ ซึ่งไม่ถูกต้อง กฎกระทรวงดังกล่าวจึงเป็นการออกแบบการตาย ทั้งๆ ที่ไม่มีใครรู้ว่าจะตายอย่างไร" นพ.เมธี กล่าว

อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ควรชะลอไปก่อน ส่วนจะมีการฟ้องศาลปกครองในการออกกฎกระทรวงเกินขอบเขตของมาตรา 12 นั้นต้องรอผลการประชุมของคณะกรรมการแพทยสภาในวันที่ 14 ก.ค.นี้.

ไทยรัฐ 14 กค 2554

7263
สรุปการสัมมนา "สิทธิการตายอย่างสงบ สิทธิอันชอบธรรมของผู้ป่วย" ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 13 กค.
นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ
นพ. วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์
นพ.สันต์ หัตถีรัตน์
ดร.ศันย์สนีย์ ทองประทีป (อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาล เกื้อการุณย์)
สมผล ตระกูลรุ่ง (นักกฎหมายอิสระ)
 
นพ. เมธี ... แพทยสภาเห็นด้วยในหลักการ สิทธิการตายมีอยู่ทุกคน แพทยสภาคงไปทำอะไรไม่ได้ถ้ามีคนอยากตาย แต่ปัญหาคือ กฎกระทรวงและแนวทางที่สช.ออกมาทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ
                  ปัญหาของเรื่องนี้เกิดจาก มีคนคิดว่าการตายในสถานพยาบาลทุกวันนี้มันไม่สงบ จึงต้องเขียนกฎหมายเพื่อให้ตายอย่างสงบ โดยคิดเอาว่าตายตามวิธีที่สช.กำหนดแล้วจะตายอย่างสงบ
                  สช.สร้างปัญหาโดยการทำสิ่งที่เป็น "นามธรรม" ให้เป็น "รูปธรรม" ด้วยการเขียนกฎหมายบอกวิธีการตายที่จะไปอย่างสงบ
                  ผู้ร่างมีอคติกับสถานพยาบาลหรือแพทย์ คิดว่า "เลี้ยงไข้" "ต้องการสูบเงิน" "ต้องการทรมาน"
                  คำจำกัดความมีปัญหา "วาระสุดท้าย"  "การบ่งบอกว่าเปลือกสมองเสียหาย" "การยุติการรักษา(ช่วยให้ผู้ป่วยเสียชีวิต)ด้วยเหตุผู้ป่วยทรมานจากโรคทางกายหรือใจ"
                   กฎกระทรวงผลักภาระ (สร้างหน้าที่) ให้แพทย์ พยาบาล ทำการยุติชีวิตด้วยการถอดถอน (withdraw) หรือ unplugged แทนที่ญาติจะเป็นผู้ทำเอง
                   แม้ว่ากฎหมายจะคุ้มครอง(วรรคสาม)การถอดถอน แต่ในทางปฏิบัติ หากญาติจะฟ้องก็ฟ้องได้ แพทย์ต้องไปแก้ต่างเองในศาล และที่สำคัญมิใช่เรื่องกฎหมาย แต่เป็นเรื่องศีลธรรม มโนธรรมในใจของผู้ปฎิบัติ
                   ถามคนในห้องว่ามีใครกล้าunpluggedญาติตนเองหรือไม่.... ไม่มี    ++++++แล้วทำไมสช.ถึงกล้ามาบังคับให้บุคลากรทำตามที่สช คิดเองเออเองว่าทำได้ ไม่บาป ทำไมสช ไม่ทำเองหรือตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วมาทำเอง
                   ชี้แจงว่าที่ผ่านมาได้มีการคัดค้านเรื่องนี้แล้ว แต่สช.ไม่ยอมฟัง
                   
                    เน้นย้ำต่อสื่อมวลชนว่า "แพทยสภาไม่ขัดข้องเรื่องสิทธิการตาย แต่ติดใจกฎกระทรวงและแนวปฏิบัติที่สช.กำหนด ซึ่งก่อให้ปัญหาให้บุคลากร โดยการลากบุคลากรเข้าไปเกี่ยวข้องในการถอดถอนโดยตรง"
                    เน้นย้ำว่า "ทุกคนมีหน้าที่ที่ต้องตาย ติดตัวมาแล้วตั้งแต่เกิด ไม่จำเป็นต้องมาบัญญัติสิทธิการตาย" คนที่เขียนกม.นี้ต้องไปศึกษาพุทธศาสนาใหม่ว่า "ตายอย่างสงบคือแบบไหน" แต่ไม่ใช่ตายตามพรบ.นี้แน่นอน
 
 
อ.วิฑูรย์.... แพทยสภาตีความเกินเลย ตีความทุกตัวอักษร ทำให้เกิดความเข้าใจผิด   ไม่ต้องกลัวการฟ้องร้อง

    (ชี้เจงว่า เหตุเกิดเพราะสช.เป็นคนเขียนกม. หากไม่อ่าน ไม่ตีความแล้วจะให้ทำอย่างไร ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้ ไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นกม. ทุกวันนี้ไม่ได้มีกรณีปัญหาแบบนี้ให้ลำบาใจเท่าไร ทำไมต้องออกเป็นกม. สงสัย สช. ไม่มีอะไรทำ (เจี้ยป้า บ๋อซือ)  หากเกิดปัญหาจริง ญาติก็สามารถไปร้องต่อศาลได้เป็นกรณี ๆ ไป ไม่เห็นต้องออกเป็นกม. แล้วมาบังคับแพทย์ พยาบาลให้ทำแทนญาติ)
                 ผู้ป่วยต้องการก็ต้องทำให้ผู้ป่วย
                 แพทยสภาไม่เอาไหน หากค้านเรื่องนี้ อีกหน่อย ประชาชนก็จะยุบแพทยสภาไปเอง (ไม่โต้ตอบ)
 
อ. สันต์ .. แพทยสภาทำผิดบทบาทตนเอง ควรไปตรวจหรือเอาผิดกับแพทย์ที่ทำไม่ดี  ต้องไปดูตนเองก่อน
               ทำขึ้นเพื่อให้แพทย์สบายใจในการหยุดการรักษา     
               ตำหนิแพทย์ (ตนเอง) ว่ากล้าใส่ท่อ ก็ต้องกล้าถอดถอนท่อ ไม่ใช่เรื่องของญาติที่จะไปถอดถอนท่อแทนแพทย์หรือพยาบาล    (อึ้ง........)
 
อ. สมผล .. เห็นว่าแพทยสภากับสช.เห็นตรงกันว่า "สิทธิการตาย" เป็นสิทธิของทุกคน แต่ที่ไม่เข้าใจกันคือ "วิธีปฏิบัติตามกฎกระทรวง และแนวทางสช. คือสิ่งที่ก่อปัญหา"
 
                 แปลกใจว่าทำไมแพทยสภา ถึงไม่คุยกับสช. เพราะเป็นแพทย์ด้วยกัน (อธิบายแล้วว่า สช.รับฟัง แต่ไม่สนใจ และดึงดันจะทำให้ได้)
 
                 เน้นว่าทำไมเวลาเซ็นใบยินยอมรักษา ไม่เห็นแพทย์หรือสถานพยาบาลสนใจตรวจสอบว่าเป็นญาติจริงหรือไม่ แล้วทำไมมาสนใจกับความถูกต้องของพินัยกรรมก่อนตาย (อธิบายว่า การรักษาชีวิตผู้ป่วยเป็นหน้าที่ของแพทย์
                 อยู่แล้วตั้งแต่ต้น   หากรักษาไปแล้ว เอกสารยินยอมปลอม ก็ไม่มีใครเสียหายจากการที่แพทย์พยายามรักษาไว้ก่อน  แต่หากเอกสารพินัยกรรมก่อนตายปลอมแล้วแพทย์ทำตามไปแล้ว ความเสียหายคีอ "คนไข้ตาย" โดยที่เรียก
                 กลับคืนมาไม่ได้) สองเรื่องนี้เอามาเทียบกันไม่ได้
 
                  เห็นด้วยกับแพทยสภาที่ปัญหาน่าจะมาจากเรื่องแนวทางที่สช.วางไว้โดยเฉพาะการถอดถอนการรักษาที่ไปผลักภาระให้แพทย์หรือพยาบาลทำแทนญาติ เพราะเป็นเรื่องมโนธรรม ไปบังคับเขาไม่ได้
 
ดร.ศันสนีย์ .. แพทย์น่าจะช่วยให้ผู้ป่วยตายโดยสงบด้วยการทำตามกม.นี้ ทำไมต้องมาคัดค้าน พยาบาลไม่เห็นมีปัญหาอะไรกับกม.นี้  (ชี้แจงว่า ตัวแทนสภาการพยาบาล ไม่เห็นด้วยกับกม.นี้  คงมีแต่อ.ที่เห็นด้วย)
                    พยาบาลไม่มีหน้าที่ถอดถอนการรักษา เป็นหน้าที่ของแพทย์ต้องทำเอง เพราะเป็นคนรักษา  (โต้แย้งไปแล้วว่า ให้รอถามสภาการพยาบาล ก่อนว่า พยาบาลกระทบหรือไม่กับกม.นี้)
                     
ผู้เข้าร่วมประชุม ไม่ทราบนาม คาดว่าเป็นทั้งพยาบาลและสื่อมวลชน .... ดิฉันกล้าถอดถอน และextubate ไปแล้วหลายราย ไม่เห็นจะเป็นบาปตรงไหน  (ชี้แจงว่า คงไปบังคับเรื่องความเชื่อแบบนี้ไม่ได้ เป็นเรื่องปัจเจกบุคคล หากคุณ คิดว่าไม่บาปและอยากทำก็ทำไป  แต่ยังมีอีกประเด็นที่ในเวทีลืมพูดถึง คือ การยุติการรักษาตามกฎกระทรวงด้วยเหตุผลเรื่อง "ผู้ป่วยทรมานจากความเจ็บป่วยทางกายหรือใจ"  ใครจะกล้าถอดถอนหรือunplugผู้ป่วยที่ยังลืมตาปริบ ๆ .....ผู้เข้าร่วมประชุมไม่ยอมตอบเรื่องนี้)

นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ

7264
สปสช.ยันโครงการ 30 รักษาทุกโรค ฟื้นชีพ ไม่ช่วยแก้ปัญหาการเงิน ขอรอฟังนโยบายรัฐบาลใหม่ออกเกณฑ์ผู้ยากไร้ที่ต้องยกเว้น
       
       นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลชุดใหม่พรรคเพื่อไทย ประกาศหนึ่งในนโยบาย ว่า จะให้สปสช.กลับมาเก็บค่ารักษาครั้งละ 30 บาทเหมือนเดิม ว่า โดยหลักการขั้นตอนกระบวนการเก็บค่ารักษาไม่ยากอะไร สถานพยาบาลสามารถทำได้ทันที แต่ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ระบุว่า เป็นอำนาจของคณะกรรมการตามมาตรา 5(2) ว่า คณะกรรมการกองทุนฯ มีอำนาจในการกำหนดการร่วมจ่ายในอัตราที่กำหนด แต่ต้องยกเว้นผู้ยากไร้ ทำให้แนวทางปฏิบัติในการร่วมจ่าย ต้องมีเกณฑ์ที่ชัดเจนว่า ใครคือกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องร่วมจ่าย ซึ่งรัฐบาลต้องระบุว่า ใครคือกลุ่มยากไร้ ใช้เกณฑ์อย่างไร ซึ่งที่ผ่านมาใช้กระบวนการของชุมชนเพื่อกำหนดเกณฑ์ ว่า ใครในชุมชนที่ต้องได้รับการยกเว้นบ้าง
       
       เลขาธิการ สปสช.กล่าวต่อว่า ในปีที่ผ่านมามีการร่วมจ่าย 30 บาทนั้น ทำให้อัตราการเข้ารับบริการผู้ป่วยนอกอยู่ที่ 130 ครั้งต่อปี แต่สามารถเก็บค่าบริการได้ครึ่งหนึ่งของผู้เข้ารับบริการ คิดเป็นมูลค่า 2 พันล้านบาท ปัจจุบันการเข้าใช้บริการอยู่ที่ 150 ครั้งต่อปี หากเก็บค่าบริการได้ครึ่งหนึ่ง ก็เป็นจำนวน 2 พันล้านนิดๆ ซึ่งในแง่การแก้ปัญหาสภาพคล่องในระบบ คงไม่สามารถช่วยได้มาก เพียงแต่บรรเทาปัญหาได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งก็จะเป็นเงินบำรุงของแต่ละโรงพยาบาลไป แต่เงินที่ใช้บริหารส่วนใหญ่คือเงินจากส่วนกลาง
       
       “การกำหนดเงื่อนไขการร่วมจ่ายที่ผ่านมา ไม่ได้ต้องการเพื่อให้ได้รับเงินมาใช้ในระบบอย่างเพียงพอ แต่ต้องการให้ประชาชนไม่เข้ารับบริการเกินความจำเป็นเท่านั้น ฉะนั้น การร่วมจ่ายดังกล่าวยังคงไม่สามารถแก้ปัญหาสถานะทางการเงินได้อยู่ดี ทั้งนี้การร่วมจ่ายที่ 30 บาททำเพื่อไม่ให้ประชาชนเข้ารับบริการเกินความจำเป็นเท่านั้น ไม่ได้หวังให้เป็นรายได้หลัก ส่วนจะจัดเก็บเมื่อไหร่ อย่างไรนั้น อยากให้รอฟังนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ที่ชัดเจนก่อน” เลขาธิการ สปสช.กล่าว


ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กรกฎาคม 2554 

7265
เครือข่ายภาคประชาชน บุกแพทยสภา ขอให้ยุติการคัดค้าน “หนังสือแสดงสิทธิการตาย” วอนอย่าเห็นแก่ประโยชน์แอบแฝงของแพทย์ เลขาแพทยสภา ยันเห็นด้วยในเจตนารมณ์ ค้านคำจำกัดความ “วาระสุดท้ายของชีวิต” ไม่ชัดเจน ขอเวลาทบทวน 14 ก.ค.
       
       วันนี้ (12 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อาคารแพทยสภา กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เครือข่ายประชาชนเพื่อสิทธิด้านสุขภาพ 4 ภาค รวมตัวกันราว 20 คน ได้เดินทางมายังแพทยสภา เพื่อขอเข้าพบ ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา พร้อมยื่นหนังสือแถลงการณ์ขอให้แพทยสภา สนับสนุนการใช้หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 12 แห่งพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า หนังสือแสดงสิทธิการตาย โดยมีนพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา เป็นผู้รับหนังสือ แทน

โดยแถลงการณ์ ระบุว่า เครือข่ายประชาชนเพื่อสิทธิสุขภาพ 4 ภาค ขอยืนยันตามเจตนารมณ์ในสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลตามมาตรา 32 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ที่ว่าด้วยบุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย อีกทั้งขอเรียกร้องให้กลุ่มแพทย์ที่กำลังเคลื่อนไหวขัดขวางสิทธิของประชาชนได้หยุดคิดว่า กำลังทำอะไรอยู่ หรือคิดและทำไปโดยมีเรื่องผลประโยชน์จากธุรกิจการแพทย์แอบแฝงที่อาจได้รับจากการยืดการตายของผู้ป่วย ดังนั้น แพทย์กลุ่มดังกล่าวควรหยุดเคลื่อนไหว และหันกลับมาร่วมมือกันในการพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลเพื่อรองรับการใช้สิทธิของประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงตามวิชาชีพของแพทย์


ด้านนพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า เห็นด้วยที่ประชาชนจะมีสิทธิในการปฏิเสธการรักษา แต่ปัญหาคือ เรื่องนี้ยังไม่มีความชัดเจน ทั้งในเรื่องคำจำกัดความของ “วาระสุดท้ายของชีวิต” “ความทรมาน” จะต้องวินิจฉัยกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ขณะเดียวกันเรื่องเอกสาร จะพิสูจน์ว่าจริงเท็จอย่างไร ซึ่งแพทย์ไม่ได้มีหน้าที่ส่วนนี้ ทางที่ดีที่สุดต้องมีหน่วยงานดูแล หรือรับรองเอกสารเพื่อความสบายใจของแพทย์ โดย สช.อาจทำหน้าที่ดังกล่าว แต่สุดท้ายแพทย์ต้องหารือกับญาติให้แน่ชัด ซึ่งหากไม่ได้ข้อยุติสุดท้ายอาจต้องพึ่งศาลตัดสินว่า ตกลงผู้ป่วยเข้าข่ายวาระสุดท้ายหรือไม่
       
       เลขาธิการแพทยสภา กล่าวด้วยว่า การประชุมบอร์ดแพทยสภาในวันที่ 14 ก.ค.นี้ จะหารือเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว รวมทั้งพิจารณาเรื่องความเป็นไปได้ในการฟ้องศาลปกครอง เนื่องจากความเห็นส่วนหนึ่งมองว่ากฎกระทรวงออกเกินอำนาจของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติฯ หรือไม่ ที่สำคัญหากไม่ชัดเจนเรื่องนี้จะเข้าข่ายกำหนดให้แพทย์ไม่ทำการรักษา หรือถอดเครื่องหายใจ ซึ่งไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ต้องชัดเจน ซึ่งประเด็นการฟ้องร้องนั้น หากมีการฟ้องร้องจริงคงไม่ใช่แพทยสภาเป็นผู้ดำเนินการ แต่อาจเป็นแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน หรือในนามสมาพันธ์ต่างๆ ก็เป็นได้ เรื่องนี้ต้องรอมติจากบอร์ดแพทยสภาก่อน ขณะนี้จึงยังไม่มีความชัดเจนใดๆ
       
       “ทั้งนี้ หากมีการฟ้องศาลปกครองจริงจะมี 2 แนวทาง คือ ชะลอ หรือทุเลาการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวก่อนจะพิจารณาอย่างละเอียด ว่า จะตัดสินยกเลิกกฎกระทรวง หรือปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไร ซึ่งต้องเป็นไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย” เลขาธิการแพทยสภา กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กรกฎาคม 2554 

7266
ห้องพักผ่อนรวม (Common Room) / เชื่อหรือไม่
« เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2011, 00:24:58 »
1.กล้ามเนื้อที่แข็งแรงที่สุดในร่างกายคนเราคือ ลิ้น
2.ผู้หญิงกระพริบตามากกว่าผู้ชายถึง2เท่า และมากว่า30ครั้งเมื่อพวกเธ​ออยู่สระว่ายน้ำ
3.คนเราไม่สามารถเลียข้อศอก​ตัวเองได้
4.แมลงสาบหัวขาดจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ต่อไปถึง 9 วันก่อนที่มันจะอดอาหารตาย
5.เวลาปลาหมึกยักษ์หิวจัดเอ​ามากๆ มันจะกินหนวดของตัวเอง และมันยังเป็น!ที่มีลูกตาให​ญ่ที่สุดในโลก
6.แมงมุมม่ายดำซึ่งกลืนกินคู่ขาหลังจาการสมสู่ ยังสามารถหม่ำแมงมุมตัวผู้ไ​ด้ถึงวันละ 25 ตัว
ร้ายกาจจริงๆ
7.เตียงนอนในบ้านโดดทั่วไปแ​ล้ว จะมีตัวไรซ่อนอยู่ถึงหกพันล​้านตัว
8.ผึ้งจะทำกายบริหารก่อนบิน​เสมอ
9.การ์ตูนโดนัลด์ดั๊กเคยถูก​ประกาศห้ามเผยแพร่ในฟินแลนด์ เพียงเพราะว่ามันไม่สวมกางเ​กง
10.ถ้าคุณลากเส้นชอล์กผ่านข​วางทางเดินของมด มันจะไม่ยอมเดินผ่านข้ามไป
11.ในแต่ละวันผู้หญิงจะฉอเล​าะมากถึง 7,000 คำต่อวัน ขณะที่ผู้ชายปริปากแค่ 2,000 คำต่อวันเท่านั้น
12.คุณรู้รึเปล่าว่า ไม่ว่ากระดาษจะมีแผ่นใหญ่แค่ไหน คุณไม่สามารถพับครึ่งได้ถึง​6ทบ ไม่เชื่อลองดู
13.คุณรู้ไหม โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะกลืน​กินลิปสติกลงท้องไปถึง 4 ปอนด์ในตลอดชีวิตของเจ้าหล่​อน
14.เป็นไปไม่ได้ที่คุณจะจาม​ทั้งๆ ดวงตายังเปิด
15.เห็นได้ชัดว่าลูกตาของคน​เราจะคงขนาดเดิมมาตั้งแต่เกิด แต่จมูกกับหูนั้นไม่เคยหยุด​การเจริญเติบโตเลย
16.วอลท์ ดิสนีย์ ผู้สร้างตำนานการ์ตูนมิกกี้​เมาส์น่ะ อันที่จริงเขาเป็นคนกลัวหนู​จะตายไป
17.เอาหัวโขกกับกำแพงสัก 1 ชม. ช่วยเผาผลาญพลังงานได้ถึง 150 แคลอรี่
18.ปูอัดทำมาจากปลาบด
19.อัลมอลล์เป็นชื่อตระผมลห​นึ่งของพีช
20.โฆษณานาฬิกาทุกชิ้น มักให้เข็มนาฬิกาอยู่ที่ 10.10 เพราะจะได้ดูเหมือนรูปใบหน้​ายิ้ม
21.ลายเสือเกิดจากหลังของมั​น ไม่ใช่จากขน
22.ร้อยละ 80 ของคนที่อ่านบทความนี้ จะพยายามเลียข้อศอกตัวเอง!!​!

ขอบคุณ คุณlert bun

7267


เตือนรัฐมนตรีรักษาการกระทรวงสาธารณสุขอย่ารีบร้อนตั้งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
 
ความล้มเหลวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็คือ การต้องทำตามมติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากรัฐมนตรีมีเพียง 1 เสียงในคณะกรรมการหลักฯ ที่ประกอบไปด้วย กรรมการตามตำแหน่ง 9 คน กรรมการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่คัดเลือกกันเองมา 4 คน ผู้แทนองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงกำไรอีก 5 คน ผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิอีก 7 คน โดยมีเลขานุการสปสช.เป็นเลขานุการคณะทำงาน

  การคัดเลือกคณะกรรมการหลัก เป็นเรื่องที่สปสช.ไม่ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปรับทราบอย่างกว้างขวาง เหมือนกับการคัดเลือกคณะกรรมการขององค์กรอิสระภาครัฐอื่นๆ ทั้งๆที่สปสช.ถนัดในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ในสื่อสารมวลชนต่างๆมากมาย ทั้งนี้คงเป็นเพราะว่าสปสช.ต้องการคัดเลือกเอา “คนกันเองหรือพวกพ้อง” มาเป็นคณะกรรมการหลักฯ รวมทั้งกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถ “ควบคุมการบริหารจัดการ” ให้เป็นไปตามแนวคิดของพวกตน  โดยที่รัฐบาลหรือรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายอย่างไร ก็ไม่สามารถทำตามได้ เนื่องจากคณะกรรมการหลักฯใช้เสียงข้างมากของพวกพ้อง ชักนำมติของคณะกรรมการได้ แม้กระทั่งไม่ทำตามนโยบายของรัฐมนตรีก็ได้

จะเห็นได้ว่า นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นายอัมมาร์ สยามวาลา นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ฯลฯ ต่างก็มีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการในสปสช., สช.(คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) สสส. สวรส. คพคส.(คณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ) และคศน. ที่มีนพ.ประเวศ วะสี และนพ.วิชัย โชควิวัฒน์ เป็นแกนนำ

ยกตัวอย่างคณะกรรมการสสส.จะหมดวาระเดือนก.พ. 54 แต่บอร์ดสสส.ชงแต่งตั้งบอร์ดกลุ่มเดิมตั้งแต่เดือนพ.ย. 53 ให้นายกรัฐมนตรีเซ็นต์แต่งตั้ง ทั้งนี้ เพื่อจะแน่ใจว่านพ.วิชัย โชควิวัฒน์ จะได้เป็นรองประธานบอร์ดสสส.ต่อไป และเมื่อประธานบอร์ดคือนายกรัฐมนตรีไม่มาประชุม นพ.วิชัย ก็ทำหน้าที่ควบคุมการประชุมแทน

   ในขณะนี้ บอร์ด สปสช.กำลังจะหมดวาระในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ แต่การแต่งตั้งคณะกรรมการบอร์ดนั้นสามารถรอได้ถึง 90 วันหลังจากหมดวาระ ฉะนั้น จึงอยากจะขอร้องให้นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักฯ (บอร์ดสปสช.) อย่าหลงเป็นเหยื่อตกเป็นเครื่องมือถูกสอดไส้แต่งตั้งกรรมการใหม่ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนรัฐบาลซึ่งคนกลุ่มนี้ทำเป็นประจำ ทั้งที่ไม่จำเป็นเพราะมีเวลาตั้ง  3 เดือน ขอให้รัฐมนตรีคนใหม่เข้ามาเป็นผู้ตัดสินใจในการสรรหาบอร์ดใหม่    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรรมการที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิ   7 คน  ตามมาตรา 13(6)และมาตรวจสอบกรรมการที่มาจากการคัดเลือกขององค์กรต่างๆตามมาตรา 13 (3,4,5) ด้วย  ว่าได้ดำเนินการอย่างเปิดเผย โปร่งใส และเหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้รมว สธ.คนใหม่ สามารถทำงานแก้ปัญหาของกระทรวงสาธารณสุขและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 

     ในส่วนของ สปสช. เองก็ควรจะโปร่งใสและเปิดเผยตามกติกา ซึ่งกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าจะต้องประกาศต่อสาธารณะว่ากรรมการดังกล่าวสิ้นสุดวาระลง จำเป็นต้องมีการสรรหากรรมการดังกล่าวที่มีคุณสมบัติอย่างไรเมื่อใด ไม่ใช่เก็บข่าวเงียบอย่างนี้ แม้แต่ในเว็บไซด์ของตนเอง  ทั้งที่มีสื่ออยู่ในมือมากมาย โฆษณาอยู่ทุกวัน ส่อเจตนา ว่ามีวาระซ่อนเร้นเพื่อนำพวกตัวเองมาเป็นบอร์ดแล้วปิดโอกาสคนอื่นที่มีคุณสมบัติไม่ให้มีโอกาส   ทั้งที่หน่วยงานอื่นๆได้ทำเป็นตัวอย่างมากมาย  หรือว่ามีเจตนาหมกเม็ดความเลวร้ายที่ทำมาจะถูกสังคมรับรู้ว่าแท้จริงแล้วภาพ สวยหรูที่สร้างมาแต่ก่อนเป็นแค่ภาพลวงตา   นักบุญที่เห็นเมื่อลอกคราบแล้วก็แค่คนลวงโลก 
....................................................................

7268
จี้รัฐบาลใหม่ตรวจสอบ องค์การเภสัชฯ กรณีเลหลัง “เลนส์แก้วตาเทียม” ใกล้หมดอายุ แถมยัดเยียดขายเตียงคนไข้คุณภาพต่ำนำเข้าจากนอก วอนว่าที่ รมว.สธ.เร่งสะสาง
       
       นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ หัวหน้าหน่วยประสานงานสื่อมวลชนเครือข่ายคุ้มครองประชาชนด้านสาธารณสุข (คบส.) เปิดเผยว่า ในโอกาสที่ไทยกำลังอยู่ระหว่างการเตรียมการจัดตั้งรัฐบาลใหม่นั้น ในฐานะเครือข่ายคุ้มครองประชาชนด้านสาธารณสุข ขอเรียกร้องให้บุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งเดียวของกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะการจัดซื้อเลนส์แก้วตาเทียมและเตียงคนไข้ในโรงพยาบาลมาจำหน่ายให้กับโรงพยาบาลในสังกัด สธ.แต่ไม่สามารถจำหน่ายได้เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพต่ำ
       
       นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของเลนส์แก้วตาเทียมนั้น องค์การเภสัชกรรม ได้สั่งการให้มีการจัดซื้อจากประเทศอินเดีย ในราคาต้นทุนไม่ถึง 200 บาทต่อเลนส์ และพยายามที่จะเสนอขายให้กับ รพ.ในสังกัด สธ.แต่ไม่มีจักษุแพทย์คนใดอยากใช้เลนส์ดังกล่าว เนื่องจากเป็นเลนส์ที่มีความแข็ง เสี่ยงต่อการระคายเคืองและติดเชื้อได้ง่าย ทำให้มีเลนส์ค้างอยู่ในสต๊อกขององค์การเภสัชกรรมเป็นจำนวนมาก ต่อมาได้มีความพยายามจะนำเลนส์ดังกล่าวไปขายให้กับประเทศลาว แต่ปรากฏว่า โรงพยาบาลในประเทศลาวเองก็ไม่ซื้อ เพราะหมอลาวส่วนใหญ่เคยมาเรียนต่อและฝึกปฏิบัติงานในเมืองไทย รู้ว่าเลนส์ดังกล่าวไม่มีคุณภาพจริงๆ องค์การเภสัชกรรมจึงเปลี่ยนแนวทางใหม่เป็นการเสนอบริจาคให้เป็นการกุศล ทางลาวก็ไม่รับอีก โดยระบุว่า เลนส์ดังกล่าวไม่มีคุณภาพเพียงพอ และล่าสุด เมื่อเลนส์แก้วตาเทียมใกล้หมดอายุทาง อภ.ได้นำไปเสนอขายให้กับโรงพยาบาลในสังกัด สธ.แห่งหนึ่ง ในราคาเลนส์ละ 30 บาท เพื่อไม่ให้ถูกตรวจสอบจากรัฐบาลใหม่
       
       “เท่าที่ทราบมีความพยายามที่จะนำเลนส์ดังกล่าวไปใช้ในโครงการการกุศลผ่าตัดดวงตา 84,000 ดวง ซึ่งเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก ซึ่งการกระทำนี้อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยอย่างมาก” นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าวและว่า นอกจากนี้่ ยังมีการสั่งสินค้าเป็นเตียงนอนของผู้ป่วยที่นำเข้าจากประเทศจีน และขายไม่ออก เพราะไม่มีคุณภาพ หลายโรงพยาบาลซื้อไปแล้ว ก็บ่นว่าน้อตหลุดบ้าง สปริงไม่ดีบ้าง เหล็กมีการคดงอบ้าง พอขอร้องให้ อภ.ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายมาซ่องแซม เปลี่ยนอะไหล่ให้ ก็ได้รับคำตอบว่า บริษัทที่เป็นเจ้าของนำเข้ามาขายให้ปิดบริษัทไปแล้ว จึงส่งผลให้มีสินค้าดังกล่าวค้างสต๊อกจำนวนมาก” นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าว
       
       นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ อยากเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่และสำนักงาตรวจเงินแผ่นดิน เข้ามาตรวจสอบการทำงานของ อภ.ในกรณีนำเข้าสินค้าที่ไม่มีประสิทธิภาพมาใช้ ซึ่งอาจส่งผลต่อภายพลักษณ์ของหน่วยงานอย่างมาก


ASTVผู้จัดการออนไลน์    11 กรกฎาคม 2554

7269
ปลัด สธ.เผยองค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น ให้ความสำคัญแก้ไขปัญหาโรคจากวิถีชีวิตหรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  เนื่องจากกำลังกลายเป็นปัญหารุนแรงระดับโลก กำหนดถกผู้นำกว่า 190 ประเทศทั่วโลกกลางเดือนกันยายนปีนี้ที่สหรัฐอเมริกา ส่วนไทยชูแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยแก้ปัญหา และโครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวงทรงห่วงใยสุขภาพประชาชนฯ  ตั้งคณะกรรมการอำนวยการป้องกันโรคทุกจังหวัด
       
       
                 วันนี้ (11 ก.ค.) ที่โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุม นพ.สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ  และนักวิชาการสาธารณสุข   เพื่อมอบนโยบายและวางทิศทางการควบคุมป้องกันปัญหาโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังที่เป็นปัญหาของประเทศอย่างเป็นระบบ ตามโครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวงทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554   
       
       นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ขณะนี้โรคไม่ติดต่อ หรือโรคจากพฤติกรรมวิถีชีวิต กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของทุกประเทศทั่วโลกนำหน้าโรคติดต่อที่มีเชื้อโรคเป็นตัว การและจะทวีความรุนแรงมากในกลุ่มประเทศที่มีฐานะยากจน ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่าในปี 2548 ปีเดียว ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคจากวิถีชีวิตมากถึง 35ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 60 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด 58 ล้านคน หากไม่เร่งแก้ไข คาดว่าในปี 2558 จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 หรือประมาณ 41 ล้านคน   เป็นปัญหาระดับโลก   และ เป็นหัวข้อสำคัญในที่ประชุมองค์การอนามัยโลกและล่าสุดองค์การสหประชาชาติ ได้ให้ความสำคัญ และกำหนดประชุมผู้นำประเทศกว่า 190 ประเทศทั่วโลก ในการประชุมสหประชาชาติ ในกลางเดือนกันยายนนี้ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา   นับเป็นประเด็นสุขภาพเรื่องที่สาม ถัดจากโรคเอดส์และการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ถูกนำเสนอในเวทีสหประชาชาติ
       
                 นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ถูกมองว่าเป็นปัญหาของประเทศที่เจริญแล้ว  เป็น โรคของคนรวย ซึ่งความจริงแล้ว โรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะเป็นปัญหาหนักในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนาขาดความพร้อมในการดูแลรักษาและการป้องกันโรคแทรก ซ้อนที่จะตามมา ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยโรคเหล่านี้สูงมาก เฉพาะในส่วนของประเทศไทย แต่ละปีเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ 5  โรคได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็ง ตกปีละเกือบสองแสนล้านบาท จำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ที่สำคัญโรคเหล่านี้ยังมีผลทำให้เกิดผู้ป่วยอัมพาตหรือพิการเพิ่มมากขึ้นด้วย  จึงต้องเร่งหามาตรการป้องกันควบคุมที่เหมาะสม
       
                นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้นำยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย เป็นแนวทางหลักในการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยได้จัดทำโครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวงทรงห่วงใยสุขภาพประชาชนฯ เป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปี ระหว่างพ.ศ.2552-2554 เป้าหมายหลักคือการตรวจคัดกรองหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยงคือผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปทุกคนซึ่งมีประมาณ 45 ล้านคน   ขณะนี้สามารถคัดกรองโรคเบาหวานได้เกือบ 21 ล้านคน  พบผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ร้อยละ 15  หรือ 3.1 ล้านคน  โดยแยกเป็นกลุ่มเสี่ยงจะป่วย 1,710,521 คน  เป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ 353,189 คน และป่วยรายเก่ามาอยู่แล้ว 1,070,737 คน ในจำนวนนี้มีโรคแทรกซ้อนด้วยร้อยละ 10 มากที่สุดคือตาต้อกระจก รองลงมาคือ แผลที่เท้าและไตวาย                 
                                           
       
       ส่วนโรคความดันโลหิตสูง  ตรวจคัดกรองไปแล้ว 21 ล้านกว่าคน  เป็นกลุ่มที่มีความดันโลหิตสูงกว่าปกติและเสี่ยงจะป่วย 2.4 ล้านคน  เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 651,867  คน และป่วยรายเก่า 1.5 ล้านคน   ในจำนวนนี้ตรวจพบโรคแทรกซ้อนร้อยละ 6  อันดับ 1 คือ โรคหัวใจรองลงมาคือเส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก และไตวาย
       
       อย่างไรก็ดี การแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จะต้องอาศัยการทำงานร่วมหลายหน่วยงาน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในระดับบุคคล  กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาทุกจังหวัด  โดย มีคณะกรรมการ 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการอำนวยการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อระดับจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน นพ.สาธารณสุขจังหวัดเป็นเลขาคณะกรรมการ ดำเนินการเรื่องฐานข้อมูล ตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงาน รวมทั้งกิจกรรมรณรงค์ เพื่อให้ได้รูปแบบการทำงานเป็นรูปธรรม   และชุดคณะกรรมการแก้ไขระดับจังหวัดและอำเภอ  โดยให้มีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานทุกๆเดือน  มั่นใจว่า จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ผล เพราะไทยมีโครงสร้างการสาธารณสุขที่ดี โดยมีสถานบริการสาธารณสุข ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งมีอาสาสมัครสาธารณสุขกำลังสำคัญทำงานกับเจ้าหน้าที่ในชุมชน  โดยโครงการนี้ใช้เป็นแนวทางควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ ต่อไป 

ASTVผู้จัดการออนไลน์    11 กรกฎาคม 2554

7270
 กรมควบคุมโรค เดินหน้า 1 ใน 10 โครงการ ด้านวัคซีน เน้นพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างเป็นระบบ ตามวาระแห่งชาติด้านวัคซีน เพื่อการยอมรับในระดับสากล เตรียมจัดอภิปราย 12-14 ก.ค.นี้
       
       วันนี้ (10 ก.ค.) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบในหลักการตามวาระแห่งชาติด้านวัคซีน เมื่อวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา และได้ตั้งเป้าดำเนินงานในเวลา 10 ปี 10 โครงการ ได้แก่

1.โครงการจัดเตรียมคลังเก็บวัคซีนมาตรฐานของภูมิภาค
2.โครงการจัดตั้งโรงงานผลิตวัคซีนระดับกึ่งอุตสาหกรรมมาตรฐาน GMP แบบอเนกประสงค์
3.โครงการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรชีวภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
4.โครงการวิจัยพัฒนาเพื่อการผลิตวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี
5.โครงการผลิตวัคซีนพื้นฐานเพื่อป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และผลิตวัคซีนผสมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และตับอักเสบบี
6.โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการผลิตวัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดไร้เซลล์
7.โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านวัคซีนโดยหน่วยงานกลางแห่งชาติด้านวัคซีน (สถาบันวัคซีนแห่งชาติ)
8.โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวัคซีนอย่างเป็นระบบ
9.โครงการวิจัยพัฒนาและขยายกำลังการผลิตวัคซีนป้องกันวัณโรค
10.ชุดโครงการการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกของประเทศไทย
ซึ่งแต่ละโครงการจะมีระยะเวลาในการดำเนินงานที่แตกต่างกัน บางโครงการใช้เวลาถึง 10 ปี
       
       นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า เพื่อเป็นการเดินหน้าวาระแห่งชาติด้านวัคซีน สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายด้านวัคซีน รวมทั้งคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐและเอกชน จึงจะจัดการประชุมวิทยาการวัคซีน ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 12-14 กรกฎาคม 2554 ณ โรงแรมวินด์เซอร์ สวิทส์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านวัคซีนให้มีปริมาณและคุณภาพเพียงพอ สำหรับการสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ และพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านวัคซีนตลอดวงจร ตั้งแต่การวิจัยพัฒนาไปจนถึงการนำวัคซีนไปใช้ประโยชน์ โดยเป้าหมายการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีน จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 10 ปี เช่นกัน การประชุมวิชาการในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในระยะยาวอย่างครบวงจร ทั้งการฝึกอบรม การประชุมวิชาการ การศึกษาต่อในประเทศและต่างประเทศ การจัดหลักสูตรเข้าไว้ในสถาบันการศึกษา และการจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ(career path) เป็นต้น

ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 กรกฎาคม 2554

7271
นายนนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กล่าวเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม กรณีพรรคเพื่อไทย (พท.)เตรียมการผลักดัน นโยบายปรับเงินเดือนผู้ที่จบปริญญาตรีรุ่นใหม่ที่จะเข้าทำงานในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจเป็น 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนในเดือนตุลาคมนี้ ว่า นโยบายนี้ทำได้ไม่ยาก เนื่องจากปัจจุบันโครงสร้างเงินเดือนของระบบข้าราชการแบ่งเป็น 4 ประเภท (แท่ง) อยู่แล้ว ได้แก่ แท่งบริหาร อำนวยการ วิชาการ และทั่วไป และอัตราเงินเดือนแต่ละแท่งก็แบ่งเป็นขั้นต่ำถึงขั้นสูงสุด
 
“ขณะนี้เงินเดือนบรรจุข้าราชการใหม่อยู่ที่ 9,100 บาท และ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 กำหนดให้ปรับขึ้นเงินเดือนในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเกินกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จะต้องเสนอรัฐบาลแก้ไขกฎหมาย เมื่อนโยบายของพรรคเพื่อไทยจะมีการปรับเงินเดือนข้าราชการไปถึง 50 เปอร์เซ็นต์ จึงต้องปรับโครงสร้างบัญชีเงินเดือนข้าราชการใหม่ทั้งหมด รวมทั้งแก้ไข พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 หรือออกเป็นพระราชกฤษฎีกามารองรับในเรื่องนี้” เลขาธิการ ก.พ.กล่าว
 
นายนนทิกรกล่าวว่า ปัจจุบันมีข้าราชการพลเรือนสังกัด ก.พ.อยู่ทั้งสิ้น 4 แสนคน และข้าราชการพลเรือนสังกัดหน่วยงานอื่นๆ อีก 1.6 ล้านคน รวมทั้งสิ้น 2 ล้านคน ซึ่งการปรับเงินเดือนข้าราชการคงต้องทำให้ครอบคลุมทั้งหมด ไม่ใช่แค่เฉพาะข้าราชการบรรจุใหม่ แต่ข้าราชการที่มีอยู่เดิมก็ต้องได้รับการปรับเงินเดือนด้วยเช่นกัน เช่น คนที่ทำงานมาแล้ว 3 ปี แต่ได้เงินเดือนไม่ถึง 1 หมื่นบาท ซึ่งถือว่ามีประสบการณ์ ก็ต้องขยับเงินเดือนให้สูงกว่า 1.5 หมื่นบาท เพื่อให้ข้าราชการเดิมรู้สึกว่าได้รับความเป็นธรรม
 
“ขณะนี้ ก.พ.กำลังสำรวจจำนวนข้าราชการทั้งหมดในแต่ละแท่ง และแต่ละระดับเงินเดือน รวมถึงวิเคราะห์ตัวเลขอัตราเงินเดือนที่ควรจะปรับใหม่ให้แก่ข้าราชการเดิม เพื่อให้ได้รับเงินเดือนที่เหมาะสมกับประสบการณ์ โดยได้ประสานขอข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมบัญชีกลาง คาดว่าจะสรุปข้อมูลได้ภายในสัปดาห์หน้า เพื่อให้รัฐบาลชุดใหม่นำไปประกอบการพิจารณาในการจัดทำร่างบัญชีเงินเดือนข้าราชการใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การปรับเงินเดือนข้าราชการครั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายและการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล หากได้รับงบประมาณสนับสนุนมากเพียงพอ ก็สามารถดำเนินการได้ในคราวเดียว แต่หากงบฯไม่พอก็จะต้องดำเนินการ 2 ครั้ง” นายนนทิกรกล่าว
 
เลขาธิการก.พ.  กล่าวว่า เชื่อว่าการปรับเงินเดือนข้าราชการบรรจุใหม่เป็น 1.5 หมื่นบาท  จะช่วยจูงใจให้เด็กรุ่นใหม่หันมารับราชการมากขึ้น เพราะมีอัตราเงินเดือนที่สามารถแข่งขันกับเอกชนได้ 

มติชนออนไลน์ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

7272
"ซูดานใต้" กลายเป็นประเทศใหม่ที่สุดของโลกแล้วในเช้าวันนี้ (9 ก.ค.) โดยแยกตัวออกอย่างเป็นทางการจาก "ซูดาน" หลังจากเกิดสงครามกลางเมืองขนาดใหญ่สองครั้งในช่วงกว่า 50 ปีที่ผ่านมา ซึ่งคร่าชีวิตประชาชนจำนวนนับล้านคน

ที่กรุงจูบา เมืองหลวงแห่งใหม่ล่าสุดของโลกท้องถนนเต็มไปด้วยการเฉลิมฉลอง และการเต้นรำ ประชาชนต่างกู่ร้องชื่อของประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งก็คือนายซัลวา เคอร์

"สาธารณรัฐซูดานใต้" ได้ประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการเมื่อเวลา 00.01 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันนี้ และทำให้ประเทศที่เคยมีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกาถูกแบ่งออกเป็นสอง ซึ่งถือเป็นการบรรลุจุดสุดยอดของการลงประชามติประกาศความเป็นเอกราชเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อเป็นการรับรองข้อตกลงการสงบศึกระหว่างดินแดนเหนือ-ใต้ เมื่อปี 2005

และเมื่อการเฉลิมฉลองสิ้นสุดลง ประชาชานชาวซูดานจะต้องต่อสู้ต่อไป แม้ว่าประเทศจะอุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน แต่อดีตประเทศซูดานก็ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความยากจนที่สุดในโลก ปัญหาความขัดแย้งที่ยังไม่ได้รับการสะสางระหว่างฝ่ายเหนือและใต้ อาจหมายถึงความขัดแย้งครั้งใหม่ระหว่างเส้นแบ่งพรมแดนเส้นใหม่ โดยประชาชนอย่างน้อย 2 ล้านคน ต้องสังเวยชีวิตให้กับสงครามกลางเมืองในซูดานครั้งล่าสุด ระหว่างปี 1983-2005

ข้อตกลงด้านสันติภาพจากนานาชาติที่บังคับใช้เมื่อปี 2005 สิ้นสุดลงเมื่อหลังช่วงเที่ยงคืนวันศุกร์ ซึ่งนั่นเป็นเวลาที่ซูดานใต้ ประกาศแยกตัวอย่างและประกาศตนเป็นประเทศใหม่อย่างเป็นทางการ

ซูดานใต้จะกลายเป็นประเทศใหม่ลำดับที่ 193 ที่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า และถือเป็นประเทศในทวีปแอฟริกาลำดับที่ 54 ที่เป็นชาติสมาชิกของยูเอ็น

โดยในช่วงเย็นวันนี้ ผู้นำนานาชาติจะเข้าร่วมงานพิธีเฉลิมฉลอง อาทิ นายบัน คีมุน เลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งเดินทางมาถึงแล้ว นายโคลิน พาเวลล์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และประธานาธิบดีโอมาร์ เอล-บาเชียร์ แห่งซูดาน

รัฐบาลชุดใหม่ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหญ่ ในการจัดการและรับมือกับกองทัพอันหยิ่งทะนงและโหดร้าย การจัดการกับปัญหาทรัพยากรน้ำมัน และจัดการแบ่งสรรปันส่วนอำนาจระหว่างชนกลุ่มน้อยและกองทัพที่แบ่งออกเป็นฝักเป็นฝ่าย นอกจากนั้นยังรวมถึงการจัดหาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน สาธารณสุข การศึกษา ให้แก่ประชาชนกว่า 8 ล้านคน

มติชนออนไลน์ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

7273
   ฉบับที่ 127      วันที่ 8 กรกฎาคม 2554

เพื่อนแพทย์ที่รัก : 
        1. การเลือกตั้ง สส.ก็ผ่านไปเรียบร้อยแล้วครับ  พวกที่ชอบเพื่อไทยก็ถูกใจ  พวกที่ชอบประชาธิปัตย์ ก็ไม่ถูกใจ แต่มันก็เป็นเรื่องปรกติของประชาธิปไตยครับ  1 คน เท่ากับ 1 เสียง  เสียงมากกว่าเกินครึ่งก็ชนะขาดแน่นอน ถ้าไม่ถูกใจก็รอว่า กกต.จะประกาศอย่างไร ประกาศแล้วยังชนะขาดอีกก็คงต้องรอการเลือกตั้งคราวหน้าครับ  ซึ่งสำหรับเพื่อนแพทย์นั้นก็เช่นเดิมครับ อย่าเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้เลยครับเดี๋ยวจะทะเลาะกัน  ทางที่ดีถ้ามีทั้ง 2 ฝ่ายอย่าคุยกัน  ถ้าทุกคนเป็นฝ่ายเดียวกันก็คุยกันให้สนุกไปเลยครับ

   2. ขณะนี้ กกต.ยังไม่ได้ประกาศ แต่เท่าที่ผมมีข้อมูล ผมอยากขอแสดงความเสียใจกับแพทย์ผู้ที่ไม่ได้เป็น สส.ทุกคนครับ และขอให้มีกำลังใจในครั้งต่อ ๆ ไปด้วยครับ สำหรับเพื่อนแพทย์ที่ได้รับเลือกเป็น ส.ส. (ยังไม่ได้ประกาศโดย กกต.) เท่าที่ผมตรวจสอบได้มีดังนี้ครับ

สส.แบบบัญชีรายชื่อ
นพ.เหวง โตจิราการ  พรรคเพื่อไทย, 
นพ.เชิดชัย  ตันติศิรินทร์   พรรคเพื่อไทย, 
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์  พรรคประชาธิปัตย์, 

สส.แบบแบ่งเขต :
นพ.สมารถ  ม่วงศิริ  พรรคประชาธิปัตย์ กทม.,
นพ.เธียรชัย  สุวรรณเพ็ญ  พรรคประชาธิปัตย์ จ.นครสวรรค์, 
นพ.ชลน่าน  ศรีแก้ว  พรรคเพื่อไทย  จ. น่าน, 
นพ.สุรวิทย์  คนสมบูรณ์  พรรคเพื่อไทย จ.นครพนม, 
นพ.วรรณรัตน์  ชาญนุกูล   พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน  จ. นครราชสีมา,   
นพ.ปรีชา  มุสิกุล   พรรคประชาธิปัตย์ จ.กำแพงเพชร,   
นพ. นิยม  วิวรรธนดิฐกุล  พรรคเพื่อไทย  จ.แพร่,   
นพ.บัญญัติ  เจตนจันทร์  พรรคประชาธิปัตย์  จ. ระยอง,   
นพ. สุกิจ  อัตโถปกรณ์  พรรคประชาธิปัตย์  จ. ตรัง, 
นพ.วรงค์  เดชกิจวิกรม  พรรคประชาธิปัตย์  จ.พิษณุโลก       
อย่างไรก็ตามถ้าผมตกหล่น ส.ส.ที่เป็นแพทย์ท่านใดก็ต้องขอโทษอย่างมากด้วยครับ
ผมขอฝากความหวังไว้กลับเพื่อน ๆ ที่เป็น ส.ส.เหล่านี้โดยฝากเพื่อนแพทย์ให้อยู่ในความดูแลด้วยนะครับ

   3.  เราจะมีรัฐบาลใหม่ มี ครม.ใหม่ และมี รมต.สาธารณสุข  รมช.สาธารณสุข ท่านใหม่  ซึ่ง ณ.เวลาขณะนี้ยังไม่ทราบ แต่คงทราบเท่าที่ นสพ.เก็งมานะครับ   ซึ่งผมคิดว่าคงจะได้เวลาแล้วครับที่ทางกระทรวงสาธารณสุขจะได้ทบทวนว่าการผลักดันร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหาย โดยที่ได้รับการต่อต้านจากแพทย์ทั่วประเทศ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์สังกัดสาธารณสุข ที่เป็นผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยโรคหนักที่เป็นผู้ป่วยใน และยาก ๆ จากโรงพยาบาลศูนย์ และ โรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งร่าง พรบ.คุ้มครองฉบับนี้ผ่านมติ ครม.โดยการนำเสนอของ รมต.สาธารณสุข จึงเป็นเรื่องโกลาหลที่พวกแพทย์ต้องมาต่อสู้เรื่องร่าง พรบ.ฉบับนี้  ตั้งกรรมการไปเยอะแยะมาก ไปพบท่าน รมต.สาธารณสุข  ไปพบท่านนายกรัฐมนตรี  ไปพบวิปรัฐบาล ฯลฯ  ซึ่งเป็นประเด็นแห่ง  ความแตกแยกเป็นอย่างสูง จนกลายเป็นว่าแพทย์กระทรวงสาธารณสุขก็ต่อสู้กับกระทรวงสาธารณสุขในเรื่อง ร่างพรบ. คุ้มครองฯ ฉบับนี้

   4.  ในโอกาสที่เปลี่ยน ครม.ใหม่ เปลี่ยน รมต.ใหม่  ซึ่งเป็นธรรมชาติอยู่แล้วที่ไม่ต้องการสานต่อทุก ๆ เรื่องที่อดีตรัฐบาลได้กระทำอยู่ และเป็นชนวนของการทะเลาะเบาะแว้ง  ผมอยากจะเสนอกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นของแพทย์ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข  ช่วยกันฝังกลบร่าง พรบ.คุ้มครองฉบับนี้เสีย โดยไม่นำมาพูดกันอีกเลย แล้วเราก็จะลืมกันไปเลย

   5.  อย่างไรก็ดีถ้ารัฐบาลอยากจะช่วยเหลือผู้ป่วย ก็ขยายมาตรา ๔๑ ให้ครอบคลุมประชากรทั้ง 64 ล้านคน และให้เงินช่วยเหลืออย่างเดิม  แต่ถ้ารัฐบาลคิดว่ามันน้อยเกินไป ก็จะเพิ่มเท่าไรก็ได้ ตามกำลังทรัพย์ของรัฐบาล เพราะผมมีโอกาสดูแลมาตรา ๔๑ มาจนบัดนี้ 4 พันกว่าราย 7 ปีกว่าแล้วครับ

                                                                         รัก และ ห่วงใย
                                  นายแพทย์เอื้อชาติ  กาญจนพิทักษ์

7274
    เมื่อเวลา 09.30 น.ที่ห้องประชุมโรงแรมยะลาปาร์ควิว อ.เมือง จ.ยะลา นายแพทย์สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์ สาธารณสุขจังหวัดยะลา เปิดเผยภายหลังร่วมงานมหกรรมวิชาการสาธารณสุข 54 ผลผลิต ทางวิชาการ พัฒนางานด้านสาธารณสุข เพื่อสุขภาพคนยะลาว่า ในส่วนของรัฐบาลใหม่ ที่กำลังจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่านใหม่นั้น สิ่งที่ทางพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หวังให้รัฐบาลใหม่ ให้ความสำคัญคือ มาตรการในการรักษาความปลอดภัยของบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันนี้บุคลากรทางสาธารณสุขในพื้นที่ยังต้องเดินทางไปกลับ ที่ในส่วนนี้ยังไม่ได้รับการดูแลอย่างเต็มที่เท่าที่ควร ส่วนเรื่องที่สองก็คือความมั่นคงในชีวิตของบุคลากรทางสาธารณสุข เช่นเรื่องสถานที่ศึกษาของบุตร ที่ยังขาดแคลน ทำให้บุคลากรส่วนหนึ่งต้องส่งบุตรหลานไปศึกษายังต่างจังหวัด ซึ่งเป็นปัญหาในการรับส่ง นอกจากนั้นในเรื่องค่าตอบแทนทั้งเป็นตัวเงิน และไม่ใช่ตัวเงิน เพราะปัจจุบันค่าตอบแทนของบุคลากรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อเทียบกับที่อื่น ค่าตอบแทนที่ได้รับก็ไม่ได้แตกต่างกัน
    “ สำหรับบุคลากรในพื้นที่ด้านสาธารณสุข ที่ยังเป็นที่ต้องการคือนักกายภาพบำบัด ที่ขณะนี้มีไม่เพียงพอ เนื่องจากความไม่ปลอดภัย ความทั้งค่าตอบแทน ที่ไม่ได้แตกต่างจากโรงพยาบาลเอกชน ทำให้บุคลากรส่วนนี้หันไปอยู่กับโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่นอก 3 จังหวัดภาคใต้มากกว่า สำหรับแพทย์และพยาบาลในพื้นที่ขณะนี้ ก็ถือว่ายังไม่มีปัญหาขาดแคลนแต่อย่างใด มีเพียงทางด้านประสาทศัลยศาสตร์ ที่ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แพทย์ทางด้านประสาทและศัลยศาสตร์ จะมีความสำคัญมากกว่าสาขาอื่น ”นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา กล่าว
    นายแพทย์สวัสดิ์ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับปัญหาพยาบาล 3 พันคน ที่จบการศึกษาตามโครงการพยาบาล 3 พันคนนั้น โดยพบว่าบางส่วนยังไม่ได้มาตรฐานนั้น ขณะนี้ตนเองอยากให้พี่น้องประชาชนมีความมั่นใจ เนื่องจากในช่วงแรกๆที่เพิ่งจบมานั้น ก็คงเป็นเรื่องปกติ ที่หลายคนยังไม่มีความชำนาญ แต่ในขณะนี้ได้มีการจัดพี่เลี้ยงประกบการทำงาน 1 ต่อ1 เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ทำงานให้พยาบาลกลุ่มนี้ ซึ่งเชื่อว่าภายใน 6 เดือนหลังจากนี้ กลุ่มพยาบาล 3 พันคน ก็จะมีประสิทธิภาพ และมาตรฐานเท่าเทียมกับพยาบาลรุ่นพี่ ก็อยากให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่มีความมั่นใจในมาตรฐานได้

เนชั่นทันข่าว 7 กค. 2554

7275
กรมสุขภาพจิต เผย ผลสำรวจระดับไอคิวนักเรียนไทย 3 สังกัด “สาธิต-สพฐ.-คกก.ส่งเสริมการศึกษาเอกชน” จำนวนกว่า 7.2 หมื่นคน ทึ่ง! เกือบร้อยละ 50 มีไอคิวต่ำกว่า 100 ขณะกลุ่มสติปัญญาบกพร่องไอคิวต่ำกว่า 70 สูงถึงร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับมาตรฐานสากลคือ ขณะข้อมูลรายภาคพบ กทม.ไอคิวสูงสุด ขณะอีสานยังน่าห่วงไอคิวเฉลี่ยแค่ 95.99 ย้ำยังตามหลังสิงค์โปร์-ฮ่องกง-เกาหลี-ญี่ปุ่น เร่งส่งเสริมสร้างโภชนาการ-พัฒนาการเรียนรู้
       
       วันนี้ (7 ก.ค.) นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานในการแถลงข่าวผลสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทยร่วมกับทีมสำรวจสถิติระดับไอคิว (IQ) ครั้งใหญ่ปี 2554 ในกลุ่มตัวอย่างจำนวนกว่า 7,2780 รายใน 3 สังกัด คือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สาธิต) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สังกัดกรุงเทพมหานคร และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อรณรงค์ให้ทุกฝ่ายมีส่วนในการสนับสนุนการสร้างโภชนาการที่มีการเพิ่มโอดีนเพื่อเพิ่มระดับไอคิว และพัฒนาการทางการเรียนรู้ให้แก่เด็กนักเรียนไทย ให้เท่าทันประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

   
       โดยนายณรงค์ฤทธิ์ อัศวเรืองพิภพ อาจารย์ประจำวิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการสำรวจสำรวจในครั้งนี้ พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับไอคิวของเด็กนักเรียนไทยในภาพรวมระดับประเทศอยู่ที่ 98.59 จากค่าเฉลี่ยปกติอยู่ที่ 90 - 109 โดยผลนี้ถือว่าเป็นระดับสติปัญญาที่อยู่ในเกณฑ์ปกติแต่ค่อนไปทางต่ำ ทั้งนี้ หากแยกเป็นรายภาคเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ กรุงเทพมหานครมีไอคิวเฉลี่ย 104.5 ภาคกลางเฉลี่ย 101.29 ภาคเหนือเฉลี่ย 100.11 ภาคใต้ไอคิวเฉลี่ย 96.85 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเฉลี่ย 95.99
       
       นายณรงค์ฤทธิ์ กล่าวด้วยว่า เมื่อดูในภาพรวมของประเทศ พบว่า มีเด็กเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 48.5 มีปัญหาระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่า 100 ซึ่งเป็นเกณฑ์ระดับสากลที่จะต้องพัฒนาให้ได้ รวมทั้งพบว่ามีเด็กกลุ่มที่มีปัญหาระดับสติปัญญาบกพร่อง คือไอคิวต่ำกว่า 70 อยู่ถึงร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล คือ ไม่ควรเกินร้อยละ 2
       
       “สำหรับ 10 อันดับจังหวัดที่มีนักเรียนซึ่งมีไอคิว เฉลี่ยสูงกว่าปกติ ได้แก่ 1.นนทบุรีอยู่ที่ 108.91 2.ระยองเฉลี่ย 107.52 3.ลำปางเฉลี่ย 106.62 4.กรุงเทพฯ เฉลี่ย104.50 5.ชลบุรีเฉลี่ย 103.92 6.สมุทรสาครเฉลี่ย 103.73 7.ตราดเฉลี่ย 103.51 8.ปทุมธานีเฉลี่ย103.34 9.พะเยาเฉลี่ย 103.32 และ 10.ประจวบคีรีขันธ์ เฉลี่ย 103.17” นายณรงค์ฤทธิ์ กล่าว
       
       นายณรงค์ฤทธิ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับ10 อันดับจังหวัดที่มีนักเรียนไอคิวเฉลี่ยต่ำกว่าปกติ ได้แก่ 1.นราธิวาส เฉลี่ยที่ 88.07 2.ปัตตานีเฉลี่ยที่ 91.06 3.ร้อยเอ็ดเฉลี่ยอยู่ที่ 91.65 4.อุบลราชธานี เฉลี่ยอยู่ที่ 93.51 5.สกลนคร เฉลี่ยที่ 93.74 6.กาฬสินธุ์ เฉลี่ยที่ 93.78 7.กระบี่ เฉลี่ยที่ 93.85 8.หนองบัวลำภู เฉลี่ยที่ 94.06 9.กำแพงเพชรเฉลี่ยที่ 95.22 และ 10.มหาสารคามเฉลี่ยที่ 95.28
       
       โดยยังพบว่า เด็กนักเรียนไทยเพศหญิงมีไอคิวเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนชาย และนักเรียนในเขตเมืองสูงกว่านักเรียนในเขตอื่นๆ ส่วนนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สาธิต) มีไอคิวสูงกว่านักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สังกัดกรุงเทพมหานคร และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยมีไอคิว 113.70, 106.35, 101.96 และ 97.59 ตามลำดับ
       
       ด้านนพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวว่า การวิจัยครั้งนี้เป็นการสำรวจทั่วประเทศเป็นครั้งแรกที่ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ที่เป็นตัวแทนในระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด สำรวจเด็กนักเรียน 6-15 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สาธิตและราชภัฏ) และสังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ จากการสุ่มตัวอย่าง 7-19 โรงเรียนต่อจังหวัด จำนวนนักเรียนประมาณ 851 - 1,163 คน ต่อจังหวัดซึ่งสามารถเป็นตัวแทนภาพในระดับจังหวัดได้ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนในระดับจังหวัดไม่เกินร้อยละ 2.8 และเป็นตัวแทนภาพในระดับประเทศ ที่มีค่าความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไม่เกินร้อยละ 0.33
       
       “โดยระดับไอคิวของเด็กนักเรียนไทยครั้งนี้ ยังถือว่าต่ำกว่าประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างสิงค์โปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลี และต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียเล็กน้อย ดังนั้น จึงเป็นสัญญาณว่าประเทศไทยควรมีการเร่งกระตุ้นให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของการพัฒนาไอคิว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรณรงค์ให้มีการเพิ่มสารไอโอดีนในอาหารที่จำเป็น เพื่อสร้างโภชนาการที่ดีซึ่งขณะนี้ สธ.เร่งดำเนินการอยู่ในส่วนของการแจกไอโอดีน และการเติมสารในเครื่องปรุงอาหาร ซึ่งในอนาคตคงต้องประสานงานกับหน่วยงานอื่น อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อขอความร่วมมือในการออกกฎหมายที่ชัดเจน เพื่อควบคุมให้ผู้ประกอบการมีการเติมสารไอโอดีนลงในผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ และอาหารต่าง รวมทั้งควบคุมอุตสาหกรรมเกลือและวัตถุปรุงรสอื่นๆ ให้มีส่วนผสมของไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสมด้วย” นพ.อภิชัย กล่าว
       
       อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า นอกจากการสร้างโภชนาการที่ดีแล้วการพัฒนาระองค์ความรู้ก็เป็นเรื่องจำเป็น เช่น ผู้ปกครองควรที่จะฝึกให้เด็กมีการอ่านเสริมสร้างจินตนาการ เรียนรู้จังหวะดนตรี และเล่นกีฬาออกกำลังกาย ช่วยส่งเสริมความฉลาดทางสติปัญญา หรือควรมีการกระตุ้นการเรียนรู้ในวิธีการมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ล้วนมีผลทั้งสิ้น


ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กรกฎาคม 2554

หน้า: 1 ... 483 484 [485] 486 487 ... 535