กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: [1] 2 3 ... 10
1
คติธรรม
เนื่องในวันวิสาขบูชา
๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๗

ดิถีวิสาขบูชา คล้ายดิถีประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เวียนมาบรรจบอีก
คำรบหนึ่ง ควรที่พุทธบริษัททั้งหลาย จักได้พร้อมเพรียงกันบำเพ็ญบุญกิริยา กระทำสักการบูชาพระรัตนตรัยเป็นกรณีพิเศษ

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถึงพร้อมด้วยพระบริสุทธิคุณ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง และทรงถึง
พร้อมด้วยพระมหากรุณาคุณ สั่งสอนเวไนยสัตว์ให้บรรลุถึงสุขประโยชน์ ตามควรแก่ธัมมานุธัมมปฏิบัติได้ ทั้งนี้ ก็ด้วย
พระปัญญาคุณ จึงควรที่สาธุชนทั้งหลาย จักได้มุ่งมั่นเจริญ "ไตรสิกขา" ตามรอยพระบาทของพระบรมศาสดา
เพื่อความสมบูรณ์พร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา บนวิถีแห่งอริยมรรค ขอจงอย่าประมาทมัวเมา เผลอปล่อยเวลา
ในชีวิตให้ล่วงผ่านไปเปล่าดาย โดยปราศจากการอบรมเจริญไตรสิกขา หากแต่ควรตระหนักไว้เสมอว่าชีวิตมนุษย์
เป็นของน้อย มรณภัยอาจมาถึงได้ทุกขณะ ไม่จำกัดเฉพาะแต่เมื่อถึงวัยแก่เฆ่าแต่เท่านั้น ถ้าปล่อยขณะให้ผ่านไป
โดยปราศจากศีล สมาธิ และปัญญา ชีวิตนี้ก็นับว่าไร้ค่า น่าเสียดาย เพราะฉะนั้น การระลึกถึงความตาย หรือการเจริญ
"มรณัสสติ" จึงนับเป็นมงคล เป็นเหตุนำมาซึ่งความเจริญ มิใช่เรื่องน่าหดหู่เศร้าหมอง หากแต่เป็นเครื่องช่วยระงับ
ความโลภ ความโกรธ และความหลงให้สงบลง ทั้งยังช่วยปลุกเร้าจิตใจให้เบิกบานหาญกล้าที่จะบำเพ็ญคุณความดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เมื่อบุคคลรู้จักปล่อยวางจากการยึดถือสิ่งทั้งปวงว่าเป็นตัวเรา เป็นของเรา บุคคลนั้นย่อมประสบสันติในใจตนเอง และย่อมแผ่ขยายอานุภาพ ไปเกื้อกูลสันติภาพในครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติได้ต่อไป

ดิถีวิสาขบูชาปีนี้ จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ตั้งปณิธานให้แน่วแน่ ในอันที่จะพัฒนาตนเองตามหลัก
ไตรสิกขา ให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเปิดโอกาสให้สันติสุขที่แท้จริง มาสถิตในจิตใจตน
และในสังคม สมด้วยพระพุทธานุศาสนีที่ว่า "กาลทั้งหลาย ย่อมล่วงไป ราตรีทั้งหลาย ย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัย
ย่อมละลำดับไป บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด"


จิริ ติฏธตุ สทฺธมโม ธมฺเม โหนตุ สคารวา. ขอพระสัทธรรมจงดำรงคงมั่นอยู่ตลอดกาลนาน และขอสาธุชน
ทั้งหลาย จงมีความเคารพในพระธรรมนั้น เทอญ.

(สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ)
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
2
“หมอธีระวัฒน์” แฉองค์การอนามัยโลกพยายามควบคุมทุกอย่างในการตัดสินภาวะฉุกเฉิน แล้วกำหนดให้ประเทศภาคีสมาชิกทำตามโดยเคร่งครัด ไม่สามารถทำเองคิดเองได้ ย้อนถามจุดยืนประเทศไทย ฝรั่งว่ายังไงต้องว่าตามหรือไม่ ยกตัวอย่างผลกระทบจากวัคซีนโควิดที่อ้างว่ามีน้อยมาก แต่สถาบันที่ไม่มีอคติกลับรายงานตรงกันข้าม

วันนี้(22 พ.ค.) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์พิเศษสาขาประสาทวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ว่า ประเด็นขององค์การอนามัยโลกและยึดโยงลงเกี่ยวข้องกับประเทศไทยในเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วลากมาปัจจุบันและที่คนไทยจะเจออะไรในอนาคต

โดยที่องค์การจะทำการควบคุมทุกอย่าง ในการตัดสินภาวะฉุกเฉินและสามารถกำหนดให้ประเทศภาคีต้องปฏิบัติตามทั้งในด้านยา ผลิตภัณฑ์ ชนิดของวัคซีน และทั้งหลายทั้งปวงโดยเคร่งครัด บิดพริ้วไม่ได้ ไม่สามารถคิดเองทำเองได้โดยเด็ดขาด และสามารถปิดกั้นข้อมูลที่ไม่สอดคล้องได้อย่างสมบูรณ์ทั้งโลกเป็นเรียลไทม์

ไทยก็เป็นประเทศหนึ่งในภาคีเครือข่าย เนื้อหา บทกำหนดใหม่นั้น มีการตกแต่งต่อเติม อ่านแล้วงงงวย สรุปคือ ถ้ายอมตามก็เป็นไปตามนั้น และองค์กรถ้าทำผิดพลาดจะไม่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งฟังดูคุ้นๆ ให้ประเทศรับผิดชอบกันเอง

ควรหรือไม่ควรที่จะมีการถามจุดยืนของประเทศไทย หรือจะทำอย่างที่ทำมาตลอด ฝรั่งว่าดีถึงจะทำ ถ้าคำแนะนำอะไรของฝรั่งถือว่าดีที่สุด สมาคมราชวิทยาลัยต่างประเทศ ว่าอย่างไรต้องทำตาม ไม่มีใครเคยฉุกคิดว่า ข้อมูลที่ปรากฏผลที่ประมวลมีการตั้งใจที่จะตัดข้อมูลบางส่วนทิ้งที่ทำให้สถิติออกมาดูดีหรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรวจสอบไม่ได้

การอ่านวารสารในปัจจุบัน โดยเฉพาะในส่วนที่ผลออกมาดีอย่างผิดธรรมชาติ หรือเลวอย่างไม่น่าเป็นไปได้ จำเป็นต้องหาข้อมูลรอบด้าน totality of evidence สิ่งที่เห็นรอบตัว

ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทย โดยทางการแถลงทุกสื่อเมื่อไม่นานมานี้ กุมภาพันธ์ 2567 ประกาศว่า มีคนได้รับผลกระทบของวัคซีนโควิดอย่างรุนแรงทั้งประเทศ และเสียชีวิตมีจำนวนห้ารายเท่านั้น ดังนั้นอัตราส่วนคือหนึ่งต่อ 1,000,000 คน และข้อร้องเรียนอื่นๆ นั้น เมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าพบว่าไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน

รายงานในวารสารโดยจากคณะกรรมการพิจารณาผลข้างเคียงของวัคซีนในประเทศไทย บอกว่าวัคซีนปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ มีผลข้างเคียง“น้อยมาก” และ“ไม่รุนแรง” ในขณะที่สถาบันในประเทศไทยที่ไม่มีอคติทับซ้อนกลับรายงานตรงข้าม

ประชาชนพยายามที่จะบอกว่าได้มีคำร้องไปแล้วครอบครัวมีคนตายไปแล้วแต่ไม่เข้าเกณฑ์ถูกปัดตกมากมาย หรือที่มีการชดเชย โดย สปสช.ไปแล้วก็จะมีการสรุปว่าเป็นตัวเลขที่บรรเทาความเดือดร้อนเท่านั้น ยังไม่ได้พิสูจน์เกี่ยวข้องกับวัคซีน

22 พ.ค. 2567  ผู้จัดการออนไลน์

3
นิตยสาร Newsweek ร่วมมือกับ Statista  ประกาศผล 30 อันดับโรงพยาบาลดีที่สุดในไทย ประจำปี 2567

นิตยสาร Newsweek ร่วมมือกับ Statista จัดอันดับโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2024 (World’s Best Hoapitals 2024) จาก 30 ประเทศทั่วโลก รวมโรงพยาบาล 2,400 แห่ง เผยแพร่ทางเว็บไซต์ www.newsweek.com โดยเกณฑ์การให้คะแนนพิจารณาจาก 4 แหล่ง ได้แก่

1.สำรวจออนไลน์ของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์มากกว่า 85,000 ราย

2.ข้อมูลจากการสำรวจความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

3.ตัวชี้วัดคุณภาพต่างๆ ของโรงพยาบาล เช่น มาตรการด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยของผู้ป่วย และอัตราส่วนผู้ป่วย/แพทย์ หรือพยาบาลต่อผู้ป่วย

4.การสำรวจของ Statista ที่ใช้วัดผลลัพธ์ด้านการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย ได้แก่ Patient Reported Outcome Measures (PROMs) ซึ่งมีการสำรวจข้อมูลในระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2655

10 อันดับ โรงพยาบาลดีที่สุดในโลกปี 2567

1.เมโยคลินิก เมืองรอเชสเทอร์ รัฐมินนิโซทา สหรัฐอเมริกา

2.คลีฟแลนด์คลินิก รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา

3.โรงพยาบาลโทรอนโท เจเนอรัล แคนาดา

4.โรงพยาบาลจอห์นฮอปกินส์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา

5.โรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

6.โรงพยาบาลชาริเต้ กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี

7.โรงพยาบาลแคโรลินสกา กรุงสตอกโฮล์ม สวีเดน

8.โรงพยาบาลปีเต-แซลแปตริแยร์ กรุงปารีส ฝรั่งเศส

9.โรงพยาบาลชีบา เมดิคัล เซ็นเตอร์ อิสราเอล

10.โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยซูริค สวติตเซอร์แลนด์

30 อันดับโรงพยาบาลดีที่สุดในไทยปี 2567

1.โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ (สกอร์ 93.00%)

2.โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (สกอร์ 87.34%)

3.โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท (สกอร์ 84.15%)

4.โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (สกอร์ 83.92%)

5.โรงพยาบาลรามาธิบดี (สกอร์ 83.72%)

6.โรงพยาบาลเมดพาร์ค (สกอร์ 76.54%)

7.โรงพยาบาลกรุงเทพ (สกอร์ 75.32%)

8.โรงพยาบาลธนบุรี (สกอร์ 71.90%)

9.โรงพยาบาลพระราม 9 (สกอร์ 71.79%)

10.โรงพยาบาลราชวิถี (สกอร์ 71.77%)

11.โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน (สกอร์ 71.76%)

12.โรงพยาบาลกรุงเทพ อินเตอร์เนชันแนล (สกอร์ 71.75%)

13.โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชันแนล (สกอร์ 71.74%)

14.โรงพยาบาลยันฮี (สกอร์ 71.73%)

15.โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ (สกอร์ 71.72%)

16.โรงพยาบาลวชิรพยาบาล (สกอร์ 71.71%)

17.โรงพยาบาลรามคำแหง (สกอร์ 71.70%)

18.โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (สกอร์ 71.69%)

19.โรงพยาบาลพญาไท 1 (สกอร์ 71.68%)

20.โรงพยาบาลพญาไท 2 (สกอร์ 71.66%)

21.โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น (สกอร์ 71.61%)

22.โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (สกอร์ 71.60%)

23.โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (สกอร์ 71.50%)

24.โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก (สกอร์ 70.80%)

25.โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ (สกอร์ 70.76%)

26.โรงพยาบาลซีจีเอช พหลโยธิน (สกอร์ 70.17%)

27.โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ สงขลา (สกอร์ 70.16%)

28.โรงพยาบาลศิครินทร์ (สกอร์ 70.14%)

29.สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ (สกอร์ 70.08%)

30.โรงพยาบาลสงขลา (สกอร์ 70.00%)

Amarin TV News
21พค2567
4
ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สารวัตใหญ่ ตร.ท่องเที่ยวภูเก็ต ยืนยันเด็กหญิงชาวอิสราเอล อายุ 5 ขวบ ตกลงจากรถตุ๊กตุ๊กเอง พ่อแม่ไม่ติดใจเอาความ เข้าใจว่าเป็นอุบัติเหตุ พร้อมให้การช่วยเหลือเต็มที่

จากกรณีที่เกิดเหตุเด็กน้อยชาวอิสราเอล อายุ 5 ขวบ เกิดอุบัติเหตุตกลงมาจากรถตุ๊กตุ๊ก บนถนนทวีวงศ์ ถนนเลียบหาดป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต เมื่อเวลาประมาณ 22.00 น. ของวันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา เสียชีวิตขณะที่พ่อแม่พามาท่องเที่ยวที่ จ.ภูเก็ต

สำหรับความคืบหน้าล่าสุด วันนี้ (18 พ.ค.) พ.ต.ท.เอกชัย ศิริ สวญ.ส.ทท.1 กก.2 บก.ทท.3 กล่าวว่า หลังจากที่มีการนำเสนอข่าวว่าเด็กหญิงคนดังกล่าวถูกรถที่ขับตามหลังมาเหยียบซ้ำนั้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ป่าตอง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยวภูเก็ต ได้มีการตรวจสอบกล้องวงจรปิดในที่เกิดเหตุ และใกล้เคียงแล้ว ปรากฏว่า ไม่พบรถที่ตามหลังมาเหยียบซ้ำแต่อย่างใด

จากการสอบถามพ่อแม่เด็ก กล่าวว่า ตนพร้อมครอบครัวได้นั่งรถตุ๊กตุ๊กมาเที่ยว พอมาถึงที่เกิดเหตุปรากฏว่า ผู้เสียชีวิตได้พลัดตกทางหน้าต่างรถด้านขวาแล้วกระแทกพื้นถนน จึงรีบลงไปอุ้มแล้วให้รถตุ๊กตุ๊กนำส่งโรงพยาบาลป่าตอง และพ่อแม่ผู้เสียชีวิต เข้าใจว่าเป็นอุบัติเหตุ และไม่ได้ติดใจสาเหตุการเสียชีวิตแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นเพทย์แจ้งว่า เป็นการได้รับการกระทบกระเทือนทางศีรษะอย่างรุนแรง จนทำให้เสียชีวิต ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยวภูเก็ตได้ประสานให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่ญาติ และรายงานเหตุเบื้องต้นให้กงสุลทราบ

18 พ.ค. 2567 ผู้จัดการออนไลน์
5
กรมราชทัณฑ์ยันแพทย์ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ให้การรักษาและช่วยชีวิต"บุ้ง ทะลุวัง" ตามมาตรฐานวิชาชีพ หลังถูกพาดพิงใส่ท่อช่วยหายใจผิดวิธี ขอให้รอผลชันสูตรที่เชื่อถือได้จาก รพ.ธรรมศาสตร์ฯ

วันนี้ (19 พ.ค.) กรมราชทัณฑ์ เผยแพร่เอกสาร โดยระบุว่า "ตามที่ทนายฤษฏางค์ นุตจรัส หรือทนายด่าง ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนกล่าวพาดพิงถึงทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ทำการรักษาและการช่วยชีวิต น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือบุ้ง อย่างผิดวิธีจึงอาจเป็นสาเหตุทำให้ น.ส.เนติพร เสียชีวิต นั้น

จากกรณีดังกล่าว กรมราชทัณฑ์ ได้รับรายงานจากทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ชี้แจงกระบวนการรักษา และการช่วยชีวิต น.ส.เนติพร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ว่าทีมบุคลากรทางการแพทย์ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ได้ช่วยชีวิต น.ส.เนติพร ในภาวะวิกฤตตามมาตรฐานการรักษาพยาบาล โดยมีแพทย์ดำเนินการใส่ท่อช่วยหายใจ ได้นวดหัวใจ พร้อมให้ยากระตุ้นหัวใจ ยากระตุ้นความดันโลหิตตามมาตรฐานการช่วยชีวิตขั้นสูง และทีมบุคลากรทางการแพทย์ให้การดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดตลอดช่วงเวลา จนส่งตัวผู้ป่วยถึงโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

กรมราชทัณฑ์ ขอยืนยันว่า ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ยังคงให้การดูแลรักษาผู้ต้องขังทุกรายตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีบุคลากร อุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้ในการช่วยชีวิตผู้ป่วย ล้วนแล้วแต่ได้มาตรฐานถูกต้องทุกประการ ตลอดจนกระบวนการการรักษาที่เป็นไปตามหลักวิชาชีพ ทั้งนี้ กรมราชทัณฑ์ขอให้ติดตามข้อมูลทางการแพทย์และผลการชันสูตรสาเหตุการเสียชีวิตจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมเกียรติ เพื่อเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ต่อไป สำหรับประวัติการรักษาพยาบาลของ น.ส.เนติพร ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ได้เตรียมพร้อมให้ญาติหรือทนายความที่ได้รับมอบอำนาจมารับเอกสารในวันเปิดทำการ"

9 พ.ค. 2567  ทีมข่าวอาชญากรรม
https://mgronline.com/crime/detail/9670000043070

6
ทนายกฤษฎางค์ แถลงชี้แจงสาเหตุ “บุ้ง ทะลุวัง” เสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เพราะมีการใส่ท่อช่วยหายใจในหลอดอาหาร แทนที่จะใส่หลอดลม

จากกรณีการเสียชีวิตของ น.ส.เนติพร หรือบุ้ง ทะลุวัง ผู้ต้องหาคดีทางการเมือง ซึ่งอดอาหารประท้วง หลังถูกคุมขังในทัณฑสถานหญิงกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา กระทั่งมีอาการวิกฤตหัวใจหยุดเต้น จึงต้องส่งตัวไปรักษาที่ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จ.ปทุมธานี โดยแพทย์ได้ปั๊มหัวใจยื้อชีวิต (CPR) แต่ไม่เป็นผลก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา

ความคืบหน้าล่าสุดวันนี้ (18 พ.ค.) ที่ วัดสุทธาโภชน์ ลาดกระบัง นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน แถลงข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวว่า สาเหตุที่ น.ส.เนติพรเสียชีวิตก่อนถึงมือแพทย์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โดยหลังการเสียชีวิต ญาติไม่ได้รับรายงานการรักษา แต่เท่าที่ดูอาการของ น.ส.เนติพร 5 วันย้อนหลัง พอบ่งชี้ได้ถึงมาตรฐานการรักษาพยาบาล รวมทั้งได้ขอภาพเคลื่อนไหวกล้องวงจรปิด ซึ่ง รมว.และอธิบดี ยืนยันว่า มี และได้ตรวจสอบภาพแล้ว ก่อนนำไปแถลงให้สื่อมวลชนรับทราบ แต่กลับไม่ได้มอบให้กับทนายความ โดยอ้างกฎกระทรวง แม้พี่สาวของน.ส.เนติพร จะมอบให้ทนายความไปขอวงจรปิด ก็ไม่สามารถทำได้ ต้องให้คุณพ่อ หรือคุณแม่ ไปรับเอง ซึ่งเรื่องนี้ย้อนแย้งกับการนำข้อมูลภาพวงจรปิดไปแถลงให้สื่อฟังหลายครั้ง โดยไม่ได้ขออนุญาตครอบครัวผู้ตายด้วยซ้ำ

ทนายกฤษฎางค์ กล่าวอีกว่า ประเด็นหลักคือรายงานการรักษาจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติที่ส่งมาให้ ระบุว่า น.ส.เนติพร มาถึงโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เวลา 09.30 น. ซึ่งไม่หายใจและไม่มีสัญญาณชีพ วัดค่าลมหายใจเป็นศูนย์ และที่สําคัญมีการตรวจพบว่า การรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลราชทัณฑ์ก่อนมาถึงโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ นั้น มีการทําที่ผิดพลาด คือใส่ท่อช่วยหายใจผิดตําแหน่ง โดยใส่ในหลอดอาหารแทนที่จะใส่ในหลอดลม เพื่อนําออกซิเจนเข้าไปช่วยในการหายใจ ซึ่งแพทย์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ยืนยันว่านี่คือหนึ่งในสาเหตุใหญ่ที่ทําให้บุ้งเสียชีวิต และมีเรื่องที่น่าตกใจไปกว่านั้นคือแพทย์พบสารบางอย่าง ซึ่งตนยังไม่ขอเปิดเผยตอนนี้ รอผลวิเคราะห์แยกแยะอย่างเอียดก่อน และเพราะเหตุนี้หรือไม่ทางราชทัณฑ์จึงไม่ยอมส่งรายการการรักษาของ น.ส.เนติพร

ทั้งนี้ตนไม่อยากบอกว่าโรงพยาบาลราชทัณฑ์ห่วย แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทําให้เกิดข้อกังขาหลายอย่างและถือเป็นเรื่องที่ใหญ่ เพราะ น.ส.เนติพรเสียชีวิตภายใต้การควบคุมของราชทัณฑ์ ส่วนใครจะเป็นผู้รับผิดชอบนั้นตนไม่ทราบ นอกจากนี้แพทย์ตรวจพบว่า มีค่าบางอย่างที่พุ่งสูงผิดปกติ แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ขอให้แพทย์ตรวจสอบอย่างละเอียด เพราะตนไม่ต้องการใส่ร้ายใคร แต่อยากบอกว่าเป็นสิ่งที่น่าตกใจว่า ทํากันถึงขนาดนี้เลยหรือ

ทนายกฤษฎางค์ กล่าวทิ้งท้ายถึงเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ว่า อย่าหลอกลวงให้ “ตะวัน”เซ็นเอกสารใดๆ หรือให้การใดๆ เพราะเด็กยังอยู่ในอาการเสียใจและอาการอ่อนแรงเป็นอย่างมาก และที่สําคัญ “ตะวัน” ถือเป็นพยาน ดังนั้นอยากให้ครอบครัวและเพื่อนช่วยกันดูแลความปลอดภัยให้ดี เพราะไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้นกับตะวันหรือไม่ แต่เชื่อว่าตอนนี้อยู่ในการดูแลของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ปลอดภัยแน่นอน

18 พ.ค. 2567  ทีมข่าวอาชญากรรม
https://mgronline.com/crime/detail/9670000042991
7
ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายที่จะนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดนั้น ได้ก่อกระแสทำให้เกิดความเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยจากหลายภาคส่วน ซึ่งเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องพิเคราะห์สถานการณ์ที่แท้จริงนี้ให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ได้มีการปลดล็อกกัญชาออกจากยาเสพติดมา 2 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติเพื่อออกมา  “ควบคุมกัญชาทั้งระบบอย่างเข้มข้น” เพราะด้วยปัญหาทางการเมืองมากกว่าปัญหาข้อเท็จจริง

 การปลดล็อกกัญชาได้ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย หรือแพทย์แผนไทยประยุกต์สามารถจ่ายยากัญชาได้สะดวกขึ้น ในขณะที่ผู้ป่วยก็สามารถจะปลูกกัญชาเพื่อการพึ่งพาตัวเองได้

 อีกทั้งยังมีคนสุจริตซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการกัญชาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีผลิตภัณฑ์กัญชาที่ได้ขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยาจำนวนมาก เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มผสมกัญชาหรือกัญชง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เวชสำอาง ยาที่ทำจากน้ำมันหรือสารสกัดกัญชาและกัญชง ตำรับยาไทยที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม ฯลฯ

นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการบางรายสามารถส่งออกช่อดอกกัญชงหรือสารสกัดจากกัญชงไปยังต่างประเทศเพื่อทำไปผสมเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกด้วย

แต่ก็ยังมีผู้ที่ดำเนินธุรกิจกัญชาอย่าง  “ผิดกฎหมาย” เช่น การเปิดร้านกัญชาอย่างผิดกฎหมายโดยไม่ได้รับอนุญาต การจำหน่ายกัญชาให้เด็กและเยาวชน การลักลอบการนำเข้ากัญชาจากต่างประเทศ การเปิดให้มีการสูบกัญชาในร้านเพื่อนันทนาการ ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะปัญหา 2 ปัจจัยสำคัญคือ

1.มีกฎหมายหลายฉบับที่ใช้สำหรับการควบคุม “ชั่วคราว” นานเกินไป โดยในระหว่างการรอกฎหมายกัญชา กัญชงทั้งระบบ ได้มีการควบคุมกัญชาอยู่แล้วหลายฉบับ เช่น การประกาศให้ช่อดอกกัญชาเป็นสมุนไพรควบคุม โดยอาศัย พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542, พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ. 2518, พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ. 2507 ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม กฎหมายควบคุมกัญชา  “ชั่วคราว” เพื่อเอามาใช้ไปพลางๆ ก่อนนั้น แต่เนื่องจากมีบทลงโทษทางกฎหมายที่ไม่รุนแรงเพียงพอและกลไกที่แยกหลายส่วนงาน จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายควบคุมกัญชาอย่างเป็นระบบและมีบทลงโทษที่รุนแรงในการกระทำความผิดทั้งหมดด้วย การใช้กฎหมายชั่วคราวในการควบคุมกัญชานานเกินไป ทำให้ผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายมีวิวัฒนาการ เห็นช่องว่างและจุดอ่อน ตลอดจนอัตราโทษทางกฎหมายที่ไม่รุนแรง จึงหาช่องทางในการกระทำความผิดมากขึ้น

 2.ถึงแม้จะมีการใช้กฎหมายชั่วคราวในการควบคุมกัญชา แต่หากมีการ “บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง” ปัญหาก็อาจจะไม่ได้เป็นอย่างทุกวันนี้   โดยเฉพาะผู้ที่จำหน่ายให้เด็กและเยาวชน ผู้ที่ลักลอบนำเข้ากัญชาจากต่างประเทศ ชาวต่างชาติที่มาเปิดร้านขายกัญชาอย่างผิดกฎหมาย หรือมีผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดกัญชา(ซึ่งเป็นยาเสพติด) เปิดขายอย่างผิดกฎหมาย ย่อมต้องถูกปิดกิจการ หรือมีบทลงโทษทางกฎหมายไปแล้วทั้งสิ้น

 แต่ “การปล่อยปละละเลย” ให้มีการกระทำผิดจำนวนมากนั้น ได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์กัญชาอย่างใหญ่หลวง ก็เพื่อจะหวังความชอบธรรมทางการเมืองในการ “นำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติด” มากกว่าหรือไม่?

แต่คำถามข้างต้นคงยังไม่สำคัญกับปัญหาในประเด็นที่ว่า หาก  “เปลี่ยนแนวทาง” จากการทำกฎหมายกัญชา กัญชงออกมาต่างหากมาเป็น  “การนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติด” เราจะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาอะไรบ้าง?
 หลายคนยังเข้าใจผิดคิดว่า หากนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดแล้ว แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้าน จะสามารถใช้กัญชาจ่ายให้กับคนไข้ได้เหมือนเดิม เพราะคิดว่ารัฐบาลแม้จะเอากัญชากลับไปเป็นยาเสพติดแต่ยังให้ใช้ทางการแพทย์ได้

  หลายคนฝันหวานไปว่าหากนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดแล้ว ฟาร์มกัญชาของตัวเองจะขายดีขึ้น เพราะไม่ให้ชาวบ้านปลูกแล้ว ต้องซื้อกัญชาจากผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น
ทั้ง 2 ประเด็นข้างต้นเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะในที่สุดแล้วการนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติด จะทำให้แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ หมอพื้นบ้านจะไม่สามารถจำหน่ายกัญชาให้กับคนไข้ได้เหมือนเดิม คงเหลือแต่  “ยากัญชานำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาแพงเพราะได้จดสิทธิบัตรแล้ว” และแพทย์แผนปัจจุบันพร้อมจะจ่ายกัญชาเหล่านี้ด้วย

 หรือจะเหลือแต่กัญชาของฟาร์มผู้ที่มีเส้นสายของกลุ่มทุนใหญ่พวกพ้องนักการเมืองไม่กี่รายเท่านั้นที่จะได้รับสิทธิผูกขาดการค้าขายกัญชาให้กับประชาชน

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ได้โปรดติดตามเนื้อหาดังนี้

ในวงการกัญชาทางการแพทย์นั้น แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ หมอพื้นบ้าน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพหลัก ที่มีโอกาสจะ “จำหน่าย” กัญชาหรือน้ำมันกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ให้กับคนไข้ได้มากที่สุด

เพราะสามารถก้าวข้ามการผูกขาดยากัญชาของชาติที่มีสิทธิบัตรที่ต้องซื้อมาในราคาแพง ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายในรูปแบบของตำรับยาแพทย์แผนไทย หรือ การปรุงยาเฉพาะรายให้กับคนไข้แต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน ตามพระราชบัญญัติ วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 ซึ่งทำให้เป็นวิชาชีพที่สำคัญเพราะสามารถจำหน่ายกัญชาให้คนไข้ได้ตามลักษณะความสมดุลของธาตุของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกันได้ด้วย
หากพิจารณาจากประกาศของสภาการแพทย์แผนไทย ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานและกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2563 ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 ได้ครอบคลุมทุกวิธีการใช้กัญชาในหลายรูปแบบที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอน ซึ่งรวมถึง การสกัดด้วยเหล้าหรือแอลกอฮอล์แล้วรับประทาน, การตำเป็นผงบดละเอียดละลายน้ำกระสายยาให้กิน, การบดเป็นผงอัดเม็ด, การทำเป็นเม็ดแคปซูล, ยาประสมแล้วเผาไฟใช้ควันรม, ยาประสมแล้วมวนบุหรี่สูบเอาควัน ฯลฯ[1]
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกัญชามีสารที่ออกฤทธิ์ทางจิตประสาทด้วยแล้ว จึงต้องมีความระมัดระวังด้วยการ ค่อยๆ ให้จากน้อยที่สุดและเพิ่มปริมาณไปเรื่อยๆ ด้วยเพราะตัวรับสารกัญชาของแต่ละคนไม่เท่ากัน และไม่ว่าจะเป็นแพทย์แผนอะไรในโลกนี้ ก็ต้องมีวิธีการไปในทิศทางเดียวกัน

ตัวอย่างยากัญชาสกัดที่ทำโดยหมอพื้นบ้านหรือแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกก่อนการแพทย์แผนปัจจุบัน เช่น น้ำมันเดชา น้ำมันกัญชาตำรับเมตตาโอสถ น้ำมันกัญชาตำรับการุณย์โอสถ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เรียนรู้มาจากการใช้น้ำมันกัญชาจริงจากชาวบ้านทั้งนั้น
อย่างไรก็ตาม ด้วยการแพทย์แผนไทยที่มีลักษณะยืดหยุ่นปรับได้ตามลักษณะของคนไข้แต่ละคนที่ไม่เหมือนกันสอดคล้องไปกับวิถีของการใช้กัญชาอย่างลงตัวที่สุด แต่เนื่องด้วยเพราะกัญชาหากปลูกในประเทศย่อมมีราคาที่ไม่แพงเท่ากับยากัญชาต่างชาติ วิถีของการแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ และหมอพื้นบ้าน จึงกลายเป็นคู่แข่งตามธรรมชาติของบริษัทยากัญชาของต่างชาติที่หวังจะนำมาขายในประเทศไทยในราคาแพงๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ยากัญชาที่มีสิทธิบัตรของต่างชาตินั้น ต่างปลูกในเรือนปิดเกือบทั้งหมดทำให้มีการลงทุนอย่างมหาศาลที่คนไทยหรือวิสาหกิจชุมชนทั่วไปไม่สามารถจะไปลงทุนได้ หรือหากมีผู้ลงทุนในประเทศได้ก็จะเป็นกลุ่มทุนใหญ่ในประเทศไทยไม่กี่รายที่จะมีศักยภาพเป็นผู้ผลิตให้ยากัญชาที่มีสิทธิบัตรกัญชาของต่างชาติได้เท่านั้น

นอกจากนั้นในวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ก็มีการควบคุมมาตรฐานเรื่องกัญชากันเองเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ป่วยและประชาชน โดยสภาการแพทย์แผนไทยได้ควบคุมมาตรฐานโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 ด้วย

โดยสภาการแพทย์แผนไทยได้มีการออกประกาศสภาการแพทย์แผนไทยหลายฉบับในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของการดำเนินกิจการเกี่ยวกับกัญชาในทางการแพทย์แผนไทยด้วยความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมถึง ผู้ปลูกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย[2], ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์แผนไทย[3], สถานบริการกัญชาทางการแพทย์แผนไทย[4], ผู้ให้บริการกัญชาทางการแพทย์แผนไทย[5], ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์แผนไทย[6], มาตรการและบทลงโทษผู้กระทำความผิดในการใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต[7]

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2567 ได้มีราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลงนามโดย นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มิใช่สารสกัดจากกัญชาหรือกัญชง ที่ให้เสพเพื่อการรักษาโรคหรือเสพเพื่อการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ. 2567 โดยมีสาระสำคัญปรากฏอยู่ในข้อ 3 และ ข้อ 4 ความว่า

 “ข้อ 3 ให้ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ซึ่งมีลักษณะเป็นตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ผสมอยู่ และได้รับอนุญาตให้ผลิตเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่ให้เสพเพื่อการรักษาโรคได้

 ข้อ 4 ให้ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ซึ่งมีลักษณะเป็นตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ผสมอยู่ และได้รับอนุญาตให้ผลิตเพื่อการศึกษาวิจัย เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เพื่อการเสพเพื่อการศึกษาวิจัยได้”[6]

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขมีความหมายซ่อนปมเอาไว้ 2 ประการ

ประการแรก ห้าม “สกัดยาที่มาจากกัญชาหรือกัญชง” ทั้งสิ้นในการใช้ทางการแแพทย์ ให้ใช้ได้ในรูปอื่นที่เป็นตำรับยาที่ห้ามสกัด ไม่ว่าจะมีสารเมา (THC)อยู่หรือไม่ก็ตาม หรือปริมาณเท่าใดก็ตาม ซึ่งจากเดิมแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ สามารถสกัดและใช้ได้ตามกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย และประกาศของสภาการแพทย์แผนไทย รวมถึงการปรุงยาเฉพาะรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสารสกัดกัญชามีปริมาณ THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 ของน้ำหนัก

สำหรับประเด็นนี้อาจจะอ้างว่า ปัจจุบันนี้ตำรับยาที่เป็นน้ำมันกัญชาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่กระทรวงสาธารณสุขยอมรับนั้น ไม่นับเป็นยาเสพติดแล้วแพทย์แผนไทยจะสามารถจ่ายได้ แต่ในความเป็นจริงเมื่อเป็นยาเสพติด ก็ไม่สามารถผลิตหรือสกัดเองได้ ต้องรอภาครัฐอนุมัติเท่านั้น และไม่สามารถปรุงยาเฉพาะรายได้ด้วย

ประการที่สอง ปัจจุบันยาเสพติดให้โทษประเภท 5 มีพืชเหลือเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ พืชฝิ่น และเห็ดขี้ควาย หากแต่การเขียนเช่นนี้เป็นการรองรับ พืชกัญชาที่กำลังจะเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ตามมาใช่หรือไม่

  ผลคือ…จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายยาเสพติดเท่านั้น ไม่สามารถจำหน่ายยากัญชาตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแบบดั้งเดิมได้ ไม่สามารถสกัดเองได้ แม้จะไม่มีสารเมา THC หลงเหลือก็ตาม และไม่สามารถทำการปรุงยาเฉพาะรายด้วยการสกัดยาจากกัญชา หรือกัญชงได้ด้วย

 เพราะหากกัญชากลับไปเป็นยาเสพติด ประมวลกฎหมายยาเสพติดไม่ได้อนุญาตให้แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านจ่ายยาเองได้ตามอำเภอใจ

 หากแต่กัญชาเมื่อเป็นยาเสพติดแล้ว จะต้องผ่านเภสัชกรแผนปัจจุบัน และจะต้องมีเภสัชกรแผนปัจจุบันอยู่ในสถานบริการนั้นตลอด 24 ชั่วโมงด้วย ทั้งๆ ที่เภสัชกรแผนปัจจุบัน ไม่ได้วินิจฉัยและมีลักษณะการจ่ายยาสกัดสมุนไพรเหมือนกับรูปแบบของการแพทย์แผนไทยเลย

 นี่คือการกีดกั้นทางวิชาชีพแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ และหมอพื้นบ้านในการ “จำหน่ายกัญชา” หรือไม่
ดังปรากฏตามมาตราประมวลกฎหมายยาเสพติดดังนี้

“มาตรา 40 ให้ผู้รับอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 5 หรือผู้รับอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ประเภท 3 หรือประเภท 4 ต้องจัดให้มี “เภสัชกรอยู่ประจำ” ควบคุมกิจการตลอดเวลาทำการซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาต พร้อมทั้งต้องดูแลให้เภสัชกรได้ปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนดในกฎกระทรวง“[9]

ดังนั้นถ้ากัญชากลับไปเป็นยาเสพติด ก็เตรียมปิดฉากการใช้กัญชาในการแพทย์แผนไทยได้เลย นอกจากไม่สามารถสกัดยากัญชาหรือกัญชงหรือปรุงยาเฉพาะรายตามแนวทางของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยได้แล้ว ยาที่มีกัญชาตามตำรับในแนวทางการแพทย์แผนไทยยังต้องจ่ายโดยเภสัชกรแผนปัจจุบันเท่านั้นอีกด้วย

  นี่คือการตัดตอนและทำลายการจ่ายยากัญชาด้วยการพึ่งพาตัวเองของการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ และหมอพื้นบ้านใช่หรือไม่ และการจ่ายโดยเภสัชกรแผนปัจจุบันนั้นก็เพื่อปูทางไปสู่ยาสิทธิบัตรกัญชาของต่างชาติใช่หรือไม่

 ด้วยเหตุผลนี้ใช่หรือไม่ จึงมีการวางแผนกันที่จะเอากัญชาเป็นยาเสพติด แทนที่จะออกกฎหมายควบคุมกัญชากัญชงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา?

ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

อ้างอิง

[1] ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภาการแพทย์แผนไทย เรื่องเกณฑ์มาตรฐานและกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556, เล่ม 137 ตอนพิเศษ ง 162 ง, 15 กรกฎาคม 2563 หน้า 27
https://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/20.500.13072/565896/630715_27_162งพิเศษ.pdf?sequence=1

[2] ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภาการแพทย์แผนไทย เรื่อง ข้อกำหนดการขึ้นทะเบียนและให้การรับรองมาตรฐานผู้ปลูกกัญชาให้แพทย์แผนไทยใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2566, เล่ม 140 ตอนพิเศษ ง 231 ง, 19 กันยายน 2566 หน้า 9
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140D231S0000000000900.pdf

[3] ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภาการแพทย์แผนไทย เรื่อง ข้อกำหนดการขึ้นทะเบียนและให้การรับรองมาตรฐานผู้ผลิตผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ พ.ศ. 2566, เล่ม 140 ตอนพิเศษ ง 231 ง, 19 กันยายน 2566 หน้า 8
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140D231S0000000000800.pdf

[4] ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภาการแพทย์แผนไทย เรื่องข้อกำหนดการขึ้นทะเบียนและให้การรับรองมาตรฐานสถานบริการกัญชาทางการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2566 เล่ม 140 ตอนพิเศษ ง 231 ง, 19 กันยายน 2566 หน้า 7
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140D231S0000000000700.pdf

[5] ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภาการแพทย์แผนไทย เรื่อง ข้อกำหนดการขึ้นทะเบียนและให้การรับรองมาตรฐานผู้ให้บริการกัญชาทางการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2566 เล่ม 140 ตอนพิเศษ ง 231 ง, 19 กันยายน 2566 หน้า 6
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140D231S0000000000600.pdf

[6] ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภาการแพทย์แผนไทย เรื่อง ข้อกำหนดทะเบียนรายชื่อและหลักเกณฑ์คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์แผนไทย สำหรับการให้บริการกัญชาทางการแพทย์แผนไทยโดยผู้ที่ขึ้นทะเบียนและรับอนุญาต พ.ศ. 2566, เล่ม 140 ตอนพิเศษ 231 ง, 19กันยายน 2566 หน้า 5
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140D231S0000000000500.pdf

[7] ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภาการแพทย์แผนไทย เรื่อง ข้อกำหนดการควบคุม การให้บริการกัญชาทางการแพทย์แผนไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต พ.ศ. 2566, เล่ม 140 ตอนพิเศษ 231 ง, 19 กันยายน 2566 หน้า 4
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140D231S0000000000400.pdf

[8] ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มิใช่สารสกัดจากัญชาหรือกัญชง ที่ให้เสพเพื่อการรักษาโรคหรือเสพเพื่อการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ. 2567, เล่ม 141 ตอนพิเศษ 110 ง, 22 เมษายน 2567 หน้า 14
https://narcotic.fda.moph.go.th/media.php?id=623323537364623360&name=NC_035%20ประกาศ%20สธ%20ยส.5ที่มิใช่สารสกัดกัญชาหรือกัญชง%20ที่ให้เสพเพื่อการรักษาโรคหรือเสพเพื่อการวิจัยได้.pdf

[9] ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564, เล่ม 138 ตอนที่ 73 ก, วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564, หน้า 31
https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/073/T_0001.PDF

17 พ.ค. 2567 ผู้จัดการออนไลน์
8
“หมอธีระวัฒน์” ตอกย้ำโควิดเกิดจากแล็บที่สหรัฐฯ หนุนหลัง เผย “อีลอน มัสก์” ร้องเอาผิดหมอใหญ่ “เฟาซี” ฐานโกหกสภาคองเกรส หลังสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ยอมรับให้ทุนสถาบันวิจัยอู่ฮั่น สร้างไวรัสชนิดใหม่ที่แพร่เชื้อได้ง่ายขึ้น ก่อนโควิดแพร่ระบาดปลายปี 2562

ในขณะเดียวกัน Elon Musk ประกาศ ต้องเอาโทษ Anthony Fauci ตัวการใหญ่ในเรื่องนี้ให้ได้

อีลอน มัสก์ เรียกร้องให้จับกุมและดำเนินคดีกับนายแพทย์ แอนโธนี เฟาซี เมื่อวันศุกร์ หลังจากที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติ NIH เข้ามาเคลียร์กับสภาคองเกรส และยอมรับว่าให้ทุนสนับสนุนการวิจัย แก่สถาบันวิจัยไวรัสอู่ฮั่น

ขณะเดียวกัน องค์กร EcoHealth alliance มีความผิด และพยายามจะกลบเกลื่อนปิดบังหลักฐานในการส่งผ่านทุนให้สถาบันวิจัยไวรัสอู่ฮั่น และ รัฐบาลสหรัฐ department of Health and Services ตัดสินให้ยุติทุนใดๆให้องค์กรนี้ รวมทั้งให้ถอดถอนสิทธิ์ขององค์การนี้ (disbarment)

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตามรายงานข่าวของนิวยอร์กโพสต์ ดังกล่าว ได้อ้างถึงคำให้การของนายแพทย์แอนโทนี่ เฟาซี่ ต่อสภาคองเกรส เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งนายเฟาซี่ได้ให้การว่า NIH ไม่ได้ให้ทุนสนับสนุนแก่สถาบันวิจัยที่อู่ฮั่นในการวิจัยไวรัส gain of function แต่อย่างใด

ทั้งนี้ การเรียกร้องของนายอีลอน มัสก์ ให้ดำเนินคดีนายเฟาซี่นั้น ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นข้อหาใด แต่ข้อหาที่ชัดเจนที่สุดคือข้อหาให้การเท็จและโกหกต่อสภาคองเกรส ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี

18 พ.ค. 2567  ผู้จัดการออนไลน์
9
“หมอธีระวัฒน์” เผยโควิดหลุดมาจากห้องแล็บเป็นเรื่องจริง โดยฝีมือของอดีต ผอ.สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ ร่วมกับ “หมอใหญ่เฟาซี” และอีกหลายคน ผ่านเงินทุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ที่มี Eco Health Alliance ซึ่งได้พัฒนาเชื้อไวรัสร่วมกับสถาบันวิจัยอู่ฮั่น เป็นตัวกลาง ล่าสุดถูกรัฐสภาสหรัฐสอบสวนและสั่งยุติการให้เงินสนับสนุนแล้ว

วันนี้(18 พ.ค.) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์พิเศษสาขาประสาทวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ว่า ความชั่วปรากฏ พฤษภาคม 2024 ความจริงปรากฏชัดจากที่ถูกป้ายสี “โควิดมาจากห้องแล็บ (lab leak)” ว่าเป็นทฤษฎีสมคบคิด แท้ที่จริงแล้วเป็นเรื่องจริง

และเปิดเผยการปฏิบัติอย่างโหดเหี้ยม ของผู้ที่เป็นหัวหน้าองค์กร เช่น NIH Francis Collins (นายฟรานซิส คอลลินส์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) ของสหรัฐอเมริกา) ที่ abuse ใช้อำนาจในทางที่ผิดในสหรัฐ ทำลายนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอหลักฐานของกำเนิดโควิดจริงๆ

และทั้งนี้ยังมีโขลงของผู้มีอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้ง Fauci (นายแอนโทนี เฟาซี อดีตหัวหน้าคณะที่ปรึกษาด้านการสาธารณสุข ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19) และกลุ่มที่บิดเบือน รวมไปถึงหัวหน้า CDC ซึ่งหน่วยงานของสหรัฐ NIH CDC USAID DARPA ผ่านเงินทุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ลงมาที่ตัวกลาง Eco Health Alliance ของ Peter Daszak และทำการวิจัยและพัฒนาไวรัสโควิดกับสถาบันวิจัยไวรัสอู่ฮั่น จนสำเร็จก่อนที่จะเกิดระบาดโควิดในปลายปี 2019 รวมทั้ง NIH ถือสิทธิบัตรครอบครองวัคซีนโควิดก่อนหน้าปี 2018 ด้วยซ้ำ

15 พฤษภาคม 2024 องค์กร Eco Health Alliance ถูกตัดสินจากหลักฐานที่รัฐสภาสืบสวนสอบสวนมาตลอด ยุติเงินทุนที่ได้รับที่นำไปใช้สำหรับตัวเองและส่งผ่านไปให้องค์กรอื่นและประเทศอื่นเก็บไวรัสจากสัตว์ป่าและรายงานข้อมูลมาเพื่อสร้างไวรัสใหม่ และอยู่ในกระบวนการที่องค์กรนี้จะถูกเพิกถอนสิทธิ์ (disbarment)

คนอื่นๆ ที่เป็นตัวการในเรื่องนี้กำลังถูกทยอยจัดการตามลำดับ และใครที่รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตหลาย 10 ล้านคนทั่วโลก และยังเกี่ยวโยงไปถึงวัคซีนโควิดและการปกปิดผลกระทบผลข้างเคียงของวัคซีน

จับตาดูองค์กรใหญ่และหน่วยงานโรงเรียนแพทย์สถาบันในประเทศไทยที่รับเงินทำธุรกิจข้ามชาติจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ทั้งๆ ที่รู้ถึงเรื่องเหล่านี้และอันตรายที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังจะขึ้นถ้ายังคงทำต่อ แต่เห็นแก่เงินเป็นสรณะ

องค์กรและบุคคลต่างๆ เหล่านี้จะเป็นกลุ่มเดียวกันที่พยายามปิดบังผลกระทบของวัคซีนที่ทำให้ตายและพิการและมีผลในระยะยาว

หลักฐานที่นำมากล่าวนี้มีมากมายและเป็นบันทึกของรัฐสภาสหรัฐจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้

18 พ.ค. 2567  ผู้จัดการออนไลน์
10
หมอเรวัต ชี้ เคสบุ้ง ใส่ท่อช่วยหายใจผิดช่องคือหายนะ ยัน เป็นมาตรฐาน ต้องสอบให้ผ่านก่อน ถ้าไม่ผ่านคือการทำลายชีวิต

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม นพ.เรวัต วิศรุตเวช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย (สร.) กล่าวถึงกรณีการเสียชีวิตของบุ้ง เนิตพร ว่า หากการชันสูตรพลิกศพที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ตรวจพบว่า มีการใส่ท่อช่วยหายใจผิดช่องทางคือไม่ผ่านเข้าทางหลอดลม แต่เป็นทางหลอดอาหารซึ่งในหลายกรณีก็อาจใส่ให้ถูกต้องได้ยาก แต่ประเด็นสำคัญต้องพิสูจน์ให้รู้ว่า ใส่ผิดหรือถูก ซึ่งตรวจสอบได้ไม่ยาก เพราะถ้าใส่ถูกช่องทาง ต้องได้ยินเสียงลมเข้าไปในปอดเมื่อบีบลมผ่านท่อด้วยการใช้หูฟัง ( Stethoscope) ซึ่งถือเป็นมาตรฐานการใส่ท่อช่วยหายใจ หากมีการใส่ผิดก็ต้องรีบดึงออกแล้วใส่ใหม่ทันที  เพราะฉะนั้นถ้าใส่ผิดช่องทางแล้วผู้ปฏิบัติยังไม่รู้ และไม่พิสูจน์ให้แน่ใจมันคือหายนะ เป็นวิกฤตที่ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายอย่างแน่นอน เพราะปอดจะไม่ได้รับอ๊อกซิเจนเลย

ในประเด็นนี้กรมราชทัณฑ์อาจต้องตรวจสอบ ทั้งมาตรฐานของระบบ และมาตรฐานของบุคลากร การใส่ท่อช่วยหายใจให้ถูกช่องทางคือมาตรฐานที่ต้องสอบให้ผ่านก่อน  ถ้าไม่ผ่านคือการทำลายชีวิต แพทยสภาในฐานะสภาวิชาชีพควรต้องใช้สถานการณ์นี้ร่วมแสดงบทบาทตรวจสอบมาตรฐานวิชาชีพเพื่อให้ประชาชนมั่นใจ

มติชน
19พค2567
หน้า: [1] 2 3 ... 10