แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 559 560 [561] 562 563 ... 652
8401
สั่งจำคุก 4 ปี "ดร. คอนราด เมอร์เรย์" แพทย์ประจำตัวนักร้องราชาเพลงป็อป "ไมเคิล แจ็คสัน" ในความผิดในคดีฆ่าคนตายโดยประมาท ด้านเจ้าตัวบอกไม่รู้สึกผิดเพราะไม่ได้ทำอะไรผิด
       
       หลังใช้เวลาการตัดสินมายาวนานร่วม 2 ปี วันวานที่ผ่านมาศาลสูงลอสแอนเจลิส ก็ได้ตัดสินจำคุกเป็นเวลา 4 ปี แก่ "ดร. คอนราด เมอร์เรย์" ในความผิดในคดีฆ่าคนตายโดยประมาท หลังให้ยานอนหลับ ที่มีฤทธิ์กล่อมประสาทชนิดรุนแรง กับราชาเพลงป๊อป "ไมเคิล แจ็คสัน" จนถึงแก่ความตายเมื่อปี 2009 ที่ผ่านมา
       
       โดยในช่วงหนึ่งผู้พิพากษาแห่งศาลสูงลอสแอนเจลิส ไมเคิล พาสเตอร์ ได้กล่าวถึงความผิดของ ดร. คอนราด เมอร์เรย์ ว่า "เขาละเมิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ของทั้งประชาคมแพทย์, เพื่อนร่วมอาชีพ รวมถึงคนไข้ของตัวเอง และยังไร้ซึ่งการสำนึกผิด, ไม่สำนึกถึงความบกพร่องของตนเอง ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายร้ายแรงอย่างยิ่ง"
       
       ทั้งนี้นายแพทย์คอนราด เมอร์เรย์ ถูกตั้งข้อหาฆ่าคนตายโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ในเหตุการณ์เมื่อเดือน มิ.ย. 2009 ที่คร่าชีวิตของซูเปอร์สตาร์วัย 50 ปี ไมเคิล แจ็คสัน ไประหว่างที่เขากำลังเตรียมตัวเปิดการแสดงคอนเสิร์ตที่ประเทศอังกฤษ
       
       ในการตัดสินโทษครั้งนี้ครอบครัวแจ็คสันได้มอบหมายให้ทนายความ ไบรอัน เพนิช เป็นตัวแทนในการอ่านแถลงการณ์ซึ่งมีใจความส่วนหนึ่งว่า "พวกเราไม่ได้แสวงหาการแก้แค้น ไม่มีอะไรที่จะสามารถพา ไมเคิล กลับมาหาเราได้อีกแล้ว" โดยครอบครัวและพนักงานอัยการได้เห็นพ้องในการเรียกร้องให้ศาลลงโทษในอัตราสูงสุดกับ หมอเมอร์เรย์
       
       ฝ่าย เอ็ด เชอร์นอฟฟ์ ทนายความของ หมอเมอร์เรย์ ยังคงโต้เถียงในประเด็นเดิมที่ว่า ไมเคิล แจ็คสัน เป็นผู้ทำให้ตนเองเสียชีวิต ด้วยการให้ยาตัวเองโดยที่ หมอเมอร์เรย์ ไม่รู้เห็น "ไมเคิล แจ็คสัน คือคนที่ต้องการใช้ยาเหล่านั้นเอง และถามหายาจาก ดร. เมอร์เรย์ ซึ่งเขาก็มีส่วนผิดที่เป็นผู้จัดหายามาให้" ทนายความจำเลย กล่าวอธิบายต่อไปว่า "เขา (แจ็คสัน) หายาพวกนี้จากหมอคนอื่นด้วย เขาทรงอิทธิพล, โด่งดัง เป็นผู้ร่ำรวย มีทนายความ, หน่วยรักษาความปลอดภัย, ทีมงาน และที่ปรึกษามากมาย"
       
       เชอร์นอฟฟ์ พยายามร้องขอเพียงโทษทัณฑ์บน แทนที่จะเป็นการคุมขัง พร้อมอธิบายว่าหมอเมอร์เรย์มีประวัติที่ดีมาตลอด ก่อนที่จะมีปัญหาทางกฎหมายครั้งนี้ นอกจากนั้นยังอ้างว่านายแพทย์ผู้นี้ได้รับความอับอาย, ถูกทำลายความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะมีผลกับเขาไปทั้งชีวิตอยู่แล้ว และเขาน่าจะทำประโยชน์ให้กับสังคมได้มากกว่าหากอยู่นอกคุก
       
       อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษา พาสเตอร์ ไม่รับฟังและโต้ว่า เมอร์เรย์ มีความผิดหลายอย่างทั้ง "เกี่ยวข้องกับวงจรของการใช้ยาที่น่าสะพรึงกลัว" และยัง "แสดงพฤติกรรม โกหก, หลอกลวง อย่างเป็นขั้นเป็นตอนซ้ำแล้วซ้ำเล่า"
       
       หลังมีการตัดสินลงโทษ เมอร์เรย์ ถูกนำตัวออกจากห้องพิจารณาคดีไป พร้อมกับถูกใส่กุญแจมือ อย่างไรก็ตาม Radaronline ให้ข้อมูลว่าสุดท้ายแล้ว โทษจำคุก 4 ปีน่าจะถูกลดลงเหลือกึ่งหนึ่ง เพราะคดีความผิดของเขาไม่ได้เป็นคดีประเภทเกี่ยวข้องกับความรุนแรง ซึ่งเขาอาจจะถูกกักบริเวณในบ้านหลังจากนั้นต่อไป

ASTVผู้จัดการรายวัน    30 พฤศจิกายน 2554

8402
หลักการผมอยากให้อยู่ได้ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อให้เกิดความสมดุล (ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ)

ผมว่าเทรนด์ต่อไปของผู้ใช้บริการคือความเท่าเทียม เรื่องสิทธิมนุษยชน เป็นวัฒนธรรมตะวันตก มีทั้งข้อดีไม่ดี แต่ในเชิงปฎิสัมพันธ์ หากคนเราถ้าจะทำงานด้วยกัน ท่าทีต้องดีต่อกัน หากท่าทีไม่ศรัทธา ยังต้องมาใช้ระบบสปสช.อีก เดี๋ยวก็อาจจะทะเลาะกัน อีกฝ่ายหนึ่ง(ประชาชน)จะกลายว่าเป็นว่านี่คือสิทธินะ จะมาหาหมอเวลาไหนก็ได้ หมอปฏิเสธไม่ได้ สิทธิของเขา เมื่อหมอถาม เป็นอะไรมา ปวดหลัง เป็นมากี่วันแล้ว 2 วัน ถามว่าทำไมเพิ่งมาหาหมอตอนห้าทุ่ม ตีหนึ่ง ตีสอง นี่คือตัวอย่าง เพราะเขาคิดว่าระบบต้องให้บริการเขา เพราะฉะนั้นระบบต้องกำหนดเงื่อนไขการใช้บริการ ไม่ใช่อยากจะมาเมื่อไหร่ก็ได้

หากจะปรับระบบใหม่ อันนี้ต้องอาศัยหลายๆอย่าง ต้องคุยกัน คนเราต้องมีวินัยพอสมควร จะออกกฎได้ไหม หากคนเป็นโรคธรรมดา ที่ไม่ใช่เลือดตกยางออก คลอดลูก ผ่าตัด ช่วยกันหน่อยไหม กำหนดเวลาในการให้บริการ ให้ระบบนี้มันเดินไปได้ ไม่ใช่จะมาเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ใช่ผมเพิ่งขายปลาเสร็จ ตลาดเพิ่งปิด เพิ่งขายข้าวต้มเสร็จ มาห้าทุ่มเที่ยงคืน นี่คือสิทธิที่ยิ่งใหญ่ แต่คนทำงานไม่มีสิทธิอะไร เป็นหน้าที่อย่างเดียว หากเราปล่อยไปอย่างนี้มันเสี่ยงที่ระบบจะล่มสลาย

ที่ผมพูด ยังไม่มีตัวเลข ต้องไปจับดูว่าคนไข้ที่มาโรงพยาบาล เป็นโรคที่ไม่ควรจะมา มีจำนวนเท่าไหร่ อย่าง ญี่ปุ่น กลางคืนมันเหงานะ ไม่ใช่ป่วยฉุกเฉิน เขาก็ไม่มา หมอนอนสบาย เขาลดอัตรากำลังได้ แต่ของเรากลางวันใส่กำลังเต็มที่ แต่กลางคืนลดกำลังลง คาดเดาไม่ได้ ว่าฉุกเฉินจะมาเท่าไหร่ แต่ก็ไม่น้อยกว่ากลางวันนัก ตัวเลขเหล่านี้ต้องเอามากางดูกันว่าเป็นอย่างไร แล้วสร้างโมเดลออกมาว่าจะแก้ปัญหากันอย่างไร

กระทรวงสารณสุขไม่มีอะไรเลย โล่งโจ้ง อำนาจอยู่ที่เงิน จะให้ไม่ให้อยู่ที่สปสช. ขณะนี้ สส.รู้แล้วว่าผลของนโยบายสปสช. ทำให้โรงพยาบาลขาดทุนจำนวนมาก

ความหมายของคำว่าขาดทุน หมายถึงว่าโรงพยาบาลขาดทุน ควักเงินบำรุงของเขาจากที่เขามีอยู่ เช่น เงินบำรุง เงินบริการของเขามาใช้ ถามว่าไม่มีเงินจะบริหารอย่างไรให้ได้มาตรฐาน ประเด็นที่เราเป็นห่วงคือภาคประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ด้อยโอกาส ขณะที่คนพอช่วยตัวเองได้ ไปใช้บริการเอกชนแทน เราจะเห็นว่างบดุลโรงพยาบาลเอกชนเขาอยู่ได้ ไม่ต้องห่วงเขา

โรงพยาบาลเอกชนที่เป็นเครือข่ายสปสช. เขาเจ๊งเขาออกได้ แต่โรงพยาบาลเอกชนที่ทำ 30 บาทโดยเฉพาะก็มี แต่เขาก็มีวิธีการที่จะทำให้เขาอยู่ได้ เท่าที่ฟังมาคนไหนโรคไหนเยอะให้พรรคพวกไปแนะนำว่าคนนี้ทีหลังอย่ามาเลย หรือถ้าถูกบังคับต้องมาที่โรงพยาบาลนี้ก็ให้บอกว่าที่นี่..หมอไม่เก่งอย่ามาเลย

วงการแพทย์บางอย่างอธิบายยาก เวลาเปรียบเทียบคน เห็นดีๆ ว่าแต่ละคนเหมือนกัน แต่ข้างในไม่รู้ว่ามีอะไรต่างขนาดไหน ความทนต่อความเจ็บป่วยไม่เท่ากัน บางคนนิดเดียวก็มาหาหมอ บางคนจะตายแล้วจึงมา ทั้งๆที่เป็นโรคเดียวกัน หรือใครบอกว่าผ่าตัดไส้ติ่ง ไม่ตาย มี.. ตายก็มี เพราะความรุนแรงมันมาก แล้วบอกว่าเป็นการบกพร่องว่ามาโรคนี้ไม่ควรจะตาย คุณก็ต้องมาไล่ดูว่าเจอตอนแรกเป็นอย่างไร

ผมถึงบอกว่าเวลาเอาเรื่องการรักษาพยาบาลมาผูกโยงกับเงิน มันทำให้ขาดความเป็นอิสระในด้านหนึ่ง เมื่อก่อนหมอโรงพยาบาลรัฐ หมอเขาอยากอยู่ เขามีอิสระ มีแรงยืดหยุ่น แต่ตอนนี้ มีแต่…ต้องๆๆ .. ถ้าไม่อย่างนี้ไม่ต้อง ถ้าไม่ทำแบบนี้ก็ไม่ได้ ก็กลายเป็นการทำงานที่เครียด คนทำงานต้องมีความสุขก่อน ไม่ใช่คิดว่าเมื่อไหร่จะวันศุกร์เสียที โล่งอก แสดงว่าระบบภายในไม่จูงใจ และเจ้าหน้าที่ภายในก็มีระบบกำกับดูแลอีกชั้น เวลาเครียดก็ทะเลาะกันอีกเพราะเรื่องเงิน ขณะที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะมีผลงานก็ต้องมีเปเปอร์มาส่งถึงจะได้เงินจากสปสช.

เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วคุณคิดว่าหมอจะมาจับตัวคนไข้ถามว่าคุณลุงเป็นอย่างไร ดีขึ้นไหม.. ไปถึงแล้ว ประโยคพวกนี้ไม่มีออกมา มีแต่เป็นไง อึๆๆๆ จบๆไป

ไทยพับลิก้า : เทคนิคการบริหารโรงพยาบาลไม่ให้ขาดทุน จะเอาตัวรอดอย่างไร

ผมคงไม่ก้าวล่วง ต้องถามคงทำงานจริงๆ แต่ละที่ทำอย่างไร แต่มันมีที่ผมเห็นประชาชนมาขอเงินให้ช่วย ผมถามว่าทำอะไร เขาบอกว่าหมอส่งเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ แต่ไม่มีเงิน แม้รัฐจ่ายด้วย แต่เขาต้องจ่ายด้วย หรือคนฟอกเลือดด้วยไตเทียมคนไข้ต้องจ่ายด้วยส่วนหนึ่ง (ข้อเท็จจริงแต่ละบางรพ.ไม่เหมือนกัน) หรือคนที่ล้างไตผ่านช่องท้อง สปสช.ให้คนไตวายให้เขาล้างไตผ่าช่องท้องเป็นอันดับแรก

ดังนั้นถ้าเก็บ 30 บาทพอไหม คุณวิเคราะห์หรือยังว่าพอไหม และ 30 บาท ไม่ได้เก็บทุกครั้งที่มาหาหมอ สมมติวันแรกสั่งยา และนัดมาเอ็กซเรย์ วันที่มาเอ็กซเรย์ถ้าไม่ได้พบหมอก็ไม่เก็บ 30 บาท



ไทยพับลิก้า : ทำไมนำนโยบาย 30 บาทกลับมาใช้ใหม่

อันนี้เป็นนโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อสภาที่ผ่านมา จะนำนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคกลับมาใช้ใหม่ นโยบาย 30 บาทที่ไม่มี(ไม่เก็บเงินหรือรักษาฟรี)คือรัฐบาลคุณสุรยุทธ์ จุลานนท์ การเลือกตั้งถัดมารัฐบาลเพื่อไทยได้เขาก็ไม่เก็บ และปชป.มาบริหาร ก็ต่อปอีก 2 ปี ที่ผ่านมาก็ไม่มีการเก็บเงิน ไม่มีใครกล้า เพราะเป็นเรื่องการเมือง เซ้นซิทีพไม่มีใครอยากทำ แต่พอเพื่อไทยกลับมาก็ประกาศว่าจะนำมาใช้ใหม่ พิสูจน์แล้วว่าระบบนี้มันอยู่ไม่ได้

เท่าที่สอบถามมีการร่วมจ่าย(co payment) จะดีกว่าไม่มี เพราะทางการแพทย์มีความยุ่งยาก และระบบสปสช.เขามีความยุ่งยากต้องยาจ่ายตามบัญชียาหลัก

ไทยพับลิก้า : ระบบสุขภาพถ้วนหน้า คุณภาพยาไม่ดี

ที่บอกว่ายาไม่ดี สปสช.เขาอธิบายว่ามีมาตรฐานรับรอง แต่ในโลกความเป็นจริงเป็นอย่างที่ว่า เพราะคนที่คิดรีเสิร์ชได้คนแรก วัตถุดิบยา บอกสูตรหมด ตั้งแต่กรรมวิธีทางเทคนิค ทางวิทยาศาสตร์ แต่หลัง 5 ปี เมื่อหมดสิทธิบัตรแล้ว คนอื่นทำได้ วัตถุดิบ กรรมวิธีการทำ ความบริสุทธิ์เนื้อยา เครื่องมือแพกกิ้ง มันมีขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่ เพราะฉะนั้นการผลิตที่อินเดีย ยุโรป มาตรฐานจะต่างกัน แต่เราก็ต้องระวังว่าที่ผลิตที่ยุโรปมันก็อาจจะหลอกเราได้ อะไรก็ดีหมด แต่ในที่สุดก็ต้องดูมาตรฐานยา โดยดูคุณภาพในเชิงฤทธิ์ยาอยู่ในขอบเขตมาตรฐานหรือไม่ ถ้าได้ก็โอเค ซึ่งคณะเภสัชเขาทำวิจัยจะมีการตรวจสอบอยู่

เพราะฉะนั้นยาบัญชียาหลักที่สปสช.ยืนยันว่ายาทุกตัวมีมาตรฐานในระดับเขาว่า แต่มาตรฐานไทย ยุโรป ญี่ปุ่น ไม่เท่ากันหรอก(หัวเราะ) คำว่ามาตรฐานคือสิ่งที่เรายอมรับว่าใช้ทั่วๆไป ได้ ถามว่ามาตรฐานไทยเทียบกับญี่ปุ่น ยุโรปได้ไหม ไม่เท่ากันหรอกคนละมาตรฐานกัน แต่โดยทั่วไปเขาถือว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ส่วนการรักษาจะได้ผลไม่ได้ผลมีปัจจัยเยอะแยะ มันอยู่ที่การวินิจฉัยโรคถูกต้องไหม คนไข้กินยาตรงตามเวลาไหม เป็นต้น

ไทยพับลิก้า : อนาคตแพทย์ไทยจะเป็นอย่างไร

อนาคตแพทย์ แบ่งตามสังกัด กระทรวงสาธารณสุข ทหาร โรงเรียนแพทย์(กระทรวงศึกษา) กระทรวงมหาดไทย กทม.หน่วยงานอิสระเช่นกาชาด มันหลายกระทรวง หรือถ้ามองในภาครัฐ ภาคเอกชน ก็แบ่งโดยเศรษฐฐานะในการแบ่ง คนที่มีฐานะก็ไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน แต่คนที่ไปไหนไม่ได้ใช้ระบบสปสช. แต่จะทำอย่างไรให้สปสช.บริการจะดีขึ้นหรือดีตามที่พูดไว้ ซึ่งงานบริการเหล่านี้การจะดีได้ต้องอาศัยหมอ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล เป็นองค์รวม เป็นทีมใหญ่ไม่ใช่หมอเก่งคนเดียว ต้องช่วยกัน หากกลุ่มคนเหล่านี้ท้อใจ กำลังคนไม่มี มีแต่งานๆๆ เขาก็ไม่ไหว ลาออกกัน

ไทยพับลิก้า : แต่สปสช.ก็มีระบบการป้องกันไม่ให้งานมาหาหมอ

ระบบสปสช. ซ่อมนำสร้าง หากดูสถิติค่อนข้างบอกยาก เพราะระบบสปสช.เปิดกว้างให้เขามาใช้บริการกี่ครั้งก็ได้ ผมเลยไม่ทราบว่าตัวเลขที่คนมาโรงพยาบาลถี่ เพราะโรคมากจริงๆ หรือเพราะเปิดทางให้เขามากี่ครั้งก็ได้ตามสิทธิของเขา ดังนั้นนโยบายสร้างนำซ่อม ก็ไม่จริง สร้างคือป้องกันไม่ให้เป็นโรค หลักการต้องการซ่อมต้องน้อยลง ถ้าหมวดส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคทำได้ดีจริง การมาหาหมอต้องน้อยลง โรงพยาบาลว่าง เตียงว่าง ร่างกายคนแข็งแรง แต่นี่ไปโรงพยาบาลมีเตียงไหม ไม่มี คนแน่นไปหมด

ไทยพับลิก้า : ดูแล้วมืดมน แก้ไม่ได้

หากเป็นระบบสปสช.ต่อไป ต้องมานั่งดูว่าหากจะให้สปสช.เดินไปข้างหน้าจะต้องปรับอะไรบ้าง ความจริงระบบสปสช.โดยหลักเกณฑ์ก็ดี แต่ปัญหาทำอย่างไรให้ฝ่ายทำงาน ฝ่ายบริการเขาอยู่ได้ ไม่ใช่เขามาร้องว่าขาดทุน อยู่ไม่ไหวแล้ว ซึ่งเขาขาดทุนจริงๆ ทั้งๆที่สปสช.มีเงินค้างท่อ จ่ายช้าเพราะอะไร และสปสช.มักอ้างว่าเอกสารไม่ครบ ดังนั้นระบบทำงานอย่าพยายามทำให้ยุ่งยากซับซ้อน ควรตรวจสอบได้ด้วยระบบไหนก็ว่ามา แต่อย่าให้ยุ่งยาก ต้องทำให้ง่าย

ระบบนี้งบประมาณส่งสปสช. สปสช.ยิงตามรพ. ตรงนี้หากไม่ผ่านสปสช. ยิงไปที่จังหวัดเลยไหม จะแก้อย่างไร ต้องถามผู้อำนวยการโรงพยาบาลว่าจะแก้อย่างไร เพราะเขารู้ดี เราติดแทนเขาไม่ได้

ไทยพับลิก้า : เคยมีไหมที่หนึ่งกระทรวง มี 2 ระบบ

ไม่มี มีแต่กระทรวงสาธารณสุข รมต.นั่งเป็นประธานสปสช.และสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข การนั่งเป็นประธานสปสช.เขามีคณะกรรมการของเขา 30 กว่าคน ประธานแค่รับทราบ รับรู้ เท่านั้น

ไทยพับลิก้า : สปสช.ทำหน้าที่จัดซื้อยาเอง

ผมว่าโครงสร้างมันเสีย ทำไมสปสช.ต้องถือเงิน ทำไมไม่ให้กระทรวงสาธารสุขซึ่งเขามีองค์การเภสัชกรรมอยู่แล้ว เป็นแม่ข่ายใหญ่ ซื้อกันในกลุ่มของเขา เงินย้ายซ้าย-ขวา ก็ว่ากันไป แต่สปสช.เขาก็ซื้อผ่านองค์การเภสัช แต่เขาอ้างว่าซื้อได้ถูก เช่น สเตนท์หัวใจ

ไทยพับลิก้า : แต่คนใช้บอกไม่ได้คุณภาพ

มองมุมสปสช.เขาบอกว่าได้ผลดี เขาซื้อของตามมาตรฐานทุกอย่าง เรื่องทางการแพทย์อธิบายได้หลายมิติ หมอคนที่ใช้ บอกว่าคนซื้อไม่ได้ใช้คนใช้ไม่ได้ซื้อ ถ้าผม(หมอ)ใส่แบบนี้ไป ฝ่ายจัดซื้อรับผิดชอบไหม เรื่องนี้ต้องถามหมอหัวใจ เป็นความยุ่งยากในการรักษา หลักการถือเงินใครจะถือ

จริงๆ ก็เหมือนกับโรงพยาบาลเอกชน ที่ต้องรับผิดชอบกับบริษัทประกัน เพื่อรักษาลูกค้าที่ซื้อประกันสุขภาพ บริษัทประกันไม่ได้ซื้อยา ซื้อเครื่องมือให้โรงพยาบาล โรงพยาบาลไปบริหารจัดการเอง ให้ลูกค้าได้รับสิทธิตามนั้น บริษัทประกันก็อยู่ได้ เพราะมีปลายปิด มีข้อจำกัดในการรักษาโอพีดีกี่ครั้งต่อปี วงเงินเท่าไหร่ หากมากกว่านั้นก็ต้องจ่ายเอง คุ้มครองโรคไหนบ้าง แล้วแต่เงื่อนไข และโรงพยาบาลที่รับเงื่อนไขต้องมีการต่อรอง

อย่างของสภาผู้แทนราษฏร ที่ทำประกันสุขภาพ ก็ยังมีการจำกัดการใช้ว่ากี่ครั้งต่อปี วงเงินเท่าไหร่ สส.จะใช้โอพีดี ใช้ครั้งละไม่เกิน 3,300 บาทต่อครั้ง มีอั้นทุกอย่าง ค่าห้องใช้ได้ไม่เกินเท่านี้ ค่าธรรมเนียมแพทย์ ค่าผ่าตัดไม่เกินเท่าไหร่ เป็นปลายปิดหมด

สส.ไม่ต้องการแบบนี้ต้องการเบิกแบบราชการ ตามอายุสภาฯ แต่สภาฯอยากได้ใช้โรงพยาบาลรัฐและจ่ายตรงจากกรมบัญชีกลาง อันนี้ไม่ดี

ของสส.ไม่รวมครอบครัว หลักการก็ถูกต้อง ไม่ควรให้ครอบครัว เพราะคุณอาสามาทำงาน วิธีคิดแบบเศรษฐพอเพียง ดูแบบแฟร์ๆกัน อย่ามากไปน้อยไป มีเหตุผล

สาเหตุที่สปสช.อยู่ไม่ได้เพราะปลายเปิดมากเกินไป ที่ให้แบบไม่อั้น ไม่มีการจำกัด ระยะแรกระบบมันอยู่ได้ แต่พอปีที่ 8 ปีที่ 9 ก็เริ่มอยู่ไม่ได้แล้ว คนทำงาน หมอ พยาบาล ลาออก โรงพยาบาลขาดทุน ลองไปดูว่าหมอลาออกไปทำอะไร อย่างพยาบาลเลิกทำไปเลย ปัญหาตอนนี้พยาบาลขาดแคลนอย่างรุนแรง

ตอนนี้มีการปรับอัตรากำลังพล ที่ต้องจ่ายปริญญาตรี 15,000 บาท ตรงนี้โรงพยาบาลจะแก้อย่างไร จะต้องไปหักจากค่าใช้จ่ายต่อหัว หรือว่าจะเอาเงินที่ไปเสริมให้โรงพยาบาล ไม่งั้นรายจ่ายต่อหัวของประชาชนลดลงอีก

ค่าใช้จ่ายต่อหัว 2,700 – 2,800 บาท จริงๆเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่ารักษาพยาบาล เฉลี่ยนิดเดียว ไม่ใช่ 2,700 – 2,800 บาท เพราะในนี้รวมค่าเงินเดือน ค่าจ้างด้วย

เวลาที่เราพูดในสภาฯ ทุกคนคิด ได้ต่อหัวเฉลี่ย 2,700 – 2,800 คูณ 48 ล้านคน โอ้ เงินเยอะมาก แต่จริงๆไม่ใช่ เพราะระบบสปสช.วางมาอย่างนั้น จะแก้ก็ลำบาก มีพลังมวลชน ถูกด่าแน่ ว่าทอดทิ้งประชาชน นักการเมืองไม่กล้าทำ

ไทยพับลิก้า : จะให้ใครพูดว่าระบบมันอยู่ไม่ได้แล้ว

ต้องให้หน่วยบริการ ออกมาพูดให้สังคมได้รับรู้เรื่อยๆ ตัวแทนแพทย์ กลุ่มวิชาชีพ ตัวแทนแพทยสภา ว่าระบบนี้ไปไม่ได้ ผู้ให้บริการทั้งหลายต้องออกมาพูด นักการเมืองที่คิดโครงการนี้เอาเปรียบมาก นั่งกระดิกเท้า มีคนมาขอบคุณ เพราะประชาชนชอบ รวมทั้งพรรคผมอาจจะมีปนด้วย เพราะกระแสไปอย่างนั้น หากเราไม่ทำก็แพ้เขา ขนาดทำก็แพ้ นี่คือการต่อสู้ แต่ต้องมีอะไรมากำกับ เช่น มีกฎหมายมากำหนดเรื่องงบประมาณ ต้องมีงบลงทุนว่าเป็นเท่าไหร่ ปัจจุบันงบลงทุนเราน้อยลงเรื่อยๆจาก 30 % ลดลงเรื่อยๆตั้งแต่มีนโยบายประชานิยม เหลือ 16 – 17 % นี่คืออันตรายของประเทศ ที่งบลงทุนเราไม่โต

ดังนั้นเรื่องค่ารักษาพยาบาลขนาดประเทศมหาอำนาจยังอยู่ไม่ได้ ประเทศที่พัฒนาแล้วยังเอาไม่อยู่ ประเทศเหล่านั้นภาษีมูลค่าเพิ่มเขาแพงมาก อย่างสแกนดิเนเวีย 24 – 25 % แต่ของเราเก็บแค่ 7 % เราจะไปเอาอย่างเขาคงไม่ได้ เป็นลัทธิเอาอย่างไม่ได้ ต้องดูฐานะของเราก่อน จะให้บริการเขาได้อย่างไร ต้องเปิดใจคุยกัน

พอออกมาเป็นกฏหมาย ต้องไปแก้ ใครจะเป็นหัวหอกแก้ ต้องให้คนที่ได้รับผลกระทบเป็นคนแก้ เสนอผ่านนักการเมือง การให้นักการเมืองเป็นโต้โผเอง ยาก..ในแง่การเมือง เดี๋ยวก็เถียงกันในพรรคเละ ถ้าเทียบกับอัตรากำลังคน ระหว่างคนใช้บริการ 48 ล้านคน ขณะที่คนให้บริการทั้งหมด รวมครอบครัวหมอและอื่นๆประมาณ 1 ล้านคน จะชนะได้อย่างไร แพ้อยู่แล้ว เวลาเลือกตั้งก็โฆษณาชวนเชื่อ ก็แพ้อยู่แล้วหากจะแก้กฏหมายรื้อระบบบริการสาธารณสุขใหม่

ไทยพับลิก้า : ถ้าปล่อยไปมันล่มสลายแน่นอน

ใช่ ระบบสาธารณสุขล่มสลายแน่ ต้องช่วยกันเพราะว่าโรงพยาบาลรัฐมีคุณค่ามาก จะทำอย่างไรให้ทุกคนอยู่ได้ คนป่วยเนี่ยะ ช่วยตัวเองไม่ได้นะ ต้องวิ่งไปหาคนที่คิดว่าช่วยเขาได้ แต่คนที่จะช่วยก็ป้อแป้ๆ โรงพยาบาลยังไม่รู้จะรอดหรือเปล่า มันจะช่วยได้ดีได้อย่างไร นี่คือภาพ…มันจะช่วยกันอย่างไร ปกติเวลาที่เราเดือดร้อนก็ต้องไปหาคนที่ช่วยเราได้ มั่นคงกว่าเรา แต่นี่กลับไปหาคนที่เดือดร้อนไปด้วย

ไทยพับลิก้า : คุยกับหมอหลายคนถอดใจ ลาออกกันเยอะ

ถอดใจๆ กลายเป็น เข้าทางโรงพยาบาลเอกชน นโยบายนี้นายกฯทักษิณ ชินวัตร เขาจึงทำนโยบายแบบคู่ขนาน ในตลาดหลักทรัพย์มีใครขายโรงพยาบาลบ้าง เพราะรู้แล้วว่าโรงพยาบาลเอกชนหากินกับคนข้างบน คนชั้นกลางที่ขี้เบื่อ หรือกินกรุ๊ปบริษัทประกันสุขภาพ คนไปหาโรงพยาบาลเอกชนไม่ได้จ่ายเงินเอง ส่วนใหญ่ซื้อประกัน คุ้มครองดีกว่าเป็นโคเปเมนท์ และตัวเองก็ต้องรักษาตัวเองให้ดีพอสมควร แต่ถ้าระบบเปิดสปสช.ไม่ต้องดูแลตัวเอง เพราะการรักษาฟรี สำมะเลเทเมา ไปเที่ยวผู้หญิง มาเป็นโรคหนองใน ไม่ต้องกลัว ฟรี เป็นวัณโรค ไม่ต้องกลัว ฟรี

ไทยพับลิก้า : ตกลงระบบรักษาพยาบาลควรจะฟรีหรือจะแชร์

สังคมต้องตอบเรื่องนี้ ถ้าจะฟรี อย่าให้เงินเขาแค่นี้ ก็ต้องให้เขาอีก ก็สะท้อนมาที่งบลงทุน คุณจะทำประชานิยมอย่างไรก็ตาม สำนักงบประมาณต้องมีกฏหมายกำหนดว่าต้องมีงบลงทุนเท่าไหร่ คุณจะทำประชานิยมอย่างไรก็ตาม หากมีอย่างนี้ก็จะต้องกันงบลงทุนไว้ก่อน ประเทศจึงจะเจริญ แต่หากไม่มีกฏหมาย งบประมาณก็จะถูกเฉือนไปอย่างนี้

ไทยพับลิก้า : โรงพยาบาลเตียงคนไข้ไม่พอ ตึกไม่มี โรงพยาบาลต้องหาเงินเอง

ช่วง 7-8 ปี ที่ผ่านมางบลงทุนลดลงไปเรื่อยๆ งบสร้างตึกไม่มี รัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีงบไทยเข้มแข็ง หวังให้มีการลงทุน โรงพยาบาลจะได้สร้างตึก

โรงพยาบาลรัฐอยู่ไม่ได้ วิธีหาเงินคือไซ่ฟ่อนเงินจากการรักษาข้าราชการ ใส่เต็มที่กับค่ายาจากข้าราชการ งบค่ารักษาพยาบาลจึงสูงมากเกือบ 7 หมื่นล้านบาท ไซ่ฟ่อนเงินจากกรมบัญชีกลางไปใช้ โรงพยาบาลไหนเล็กๆที่ข้าราชการไม่ค่อยใช้ ก็เจ๊ง โรงพยาบาลแพทย์มักอยู่ได้เพราะความน่าเชื่อถือ

ด้วยเหตุนี้เมื่อระบบข้าราชการเสีย มีการควบคุมการใช้ยาของข้าราชการ นี่เป็นเพราะโรงพยาบาลไม่มีรายได้ก็ต้องเอาจากการให้บริการข้าราชการ ดังนั้นปัญหาพันกันไปหมด

การเมืองสบาย ทำแล้วได้บุญคุณ แต่หมอ พยาบาลหัวหงอกไปหมด ทำไม่ไหว เท่ากับคุณทำลายระบบ แทนที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงต้องสร้างความเข้มแข็ง สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้เขา แต่ระบบสปสช.กลับทำให้ระบบแย่ลง สังคมต้องรับรู้ จะแก้ไขอย่างไรก็ว่ามา ซึ่งไม่มีสูตรสำเร็จว่าจะแป็นอย่างไร

ระบบมีเงินแค่นี้ สปสช.ได้เงินมาแสนกว่าล้านบาท ให้แค่ซอฟแวร์ ไม่ใช่ฮาร์ดแวร์ ในการสร้างตึก ซื้อครุภัณฑ์ ติดแอร์ ทาสี โรงพยาบาลไปหาเอง ไปทำเอง

หมอที่ริเริ่มโครงการนี้เชื่อตัวเองมากเกินไป เป็นหมอกลุ่มเดียวที่ไปผลักดันนโยบายกับพรรคไทยรักไทย(ตอนนั้น) ไม่ได้ถามคนที่ทำงาน พอนำร่องดี ก็ขยายเต็มพื้นที่ ผมว่าการมีส่วนร่วมให้คน 48 ล้านคน รับรู้ความจริง เป็นเรื่องสำคัญ คุณโปร่งใสคุณต้องเปิดข้อมูลว่าระบบมันไม่สมบูรณ์

ระบบให้บริการสาธารณสุขมีทางแก้ไขได้ อย่างอุปกรณ์เครื่องมือที่ซับซ้อน เครื่องที่ซับซ้อนที่ยากๆ มาแชร์กัน ทำเป็นศูนย์กลางแต่ละภาคเพื่อให้บริการ เป็นต้น

นี่เป็นอีกมุมมองต่อระบบสาธารณสุขไทย
....................................................
http://thaipublica.org
16 พฤศจิกายน 2011

8403

กระแสของผู้ให้บริการสาธารณสุขที่เรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนนโยบายประกันสุขภาพถ้วนเริ่มเสียงดังมากขึ้น โดยเชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะทำให้ระบบสาธารณสุขไทยล่มสลายได้ในอนาคตอันใกล้ เพราะคนทำงานไม่ว่าแพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ เภสัชกร และเจ้าหน้าที่อื่นๆในโรงพยาบาลรัฐซึ่งมีประมาณ 1 ล้านคน ไม่สามารถรองรับการใช้บริการของคนจำนวน 48 ล้านคนได้ หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบให้เหมาะสมระหว่างผู้ให้บริการกับผู้มารับบริการ

ต่อเรื่องนี้ นพ.เธียรชัย สุวรรณเพ็ญ สส.เขต 1 จังหวัดตาก พรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวอภิปรายงบประมาณประจำปี 2555 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 ว่า

หลังจากที่ได้ศึกษางบประมาณปี 2555 ผมมีความเห็นดังต่อไปนี้ โดยเฉพาะในสิ่งที่รัฐบาลท่าน(พรรคเพื่อไทย)ได้เริ่มในอดีต หลายเรื่องเป็นเรื่องประชานิยม และเป็นเรื่องที่พี่น้องเข้าใจว่าจะได้รับสิ่งที่ท่านทำนโยบายนั้น ผมจำเป็นต้องพูดถึง นโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เริ่มมาในปี 2545 เป็นเรื่องที่อธิบายได้ยาก แต่อยากจะเรียนว่าในนโยบายที่พวกเราสร้างขึ้นมา ในระยะแรกอาจจะไม่เห็นผลชัดเจนในเรื่องความเสียหาย เราอาจจะชนะบนซากปรักหักพังของสังคม ที่ผมพูดคือสังคมของกระทรวงสาธารณสุข ที่ผมกล้าพูดเช่นนี้ เพราะหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเริ่มออกฤทธิ์ ไม่ว่ารัฐบาลใดที่ขึ้นมาบริหาร เพราะไม่สามารถจัดสรรงบประมาณ ได้อย่างมากเพียงพอ เพื่อสนองตอบต่อการรักษาของพี่น้องประชาชน ซึ่งอยู่ในภาคส่วนที่ไม่ใช่ข้าราชการและประกันสังคม คือจำนวน 48 ล้านคนที่อยู่ในกองทุนนี้



ทุกยุคทุกสมัยวงเงินกองทุนเพิ่มแต่ไม่พอ เพราะเราไปตั้งหลักการที่ผิดธรรมชาติ ทำไม.. เพราะว่าเราส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ารับบริการโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง กี่ครั้งต่อปีก็ได้ เป็นโรคอะไรเราไปโฆษณาชวนเชื่อเกินความเป็นจริงว่ารักษาได้ทุกโรค มีมาตรฐานกำกับ สิ่งต่างๆเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ทำให้พี่น้องเกิดความชะล่าใจ ตกอยู่ในความประมาทอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน การดูแลรักษาสุขภาพซึ่งควรเป็นความรับผิดชอบส่วนตัว ถูกละเลยอย่างน่าเสียดาย เพราะไปหาหมอได้ตลอด 24 ชั่วโมง ต้องมีคนให้บริการ เพราะนี่คือสิทธิของพี่น้องประชาชน เราค่อนข้างจะเข้าใจสิทธิมากเกินไปหรือไม่ เมื่อระบบสาธารณสุขในสภาพความเป็นจริงรองรับไม่ได้

ขณะนี้ยอดผู้มาใช้บริการโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขประมาณ 200 ล้านครั้งต่อปี เมื่อเทียบกับจำนวนแพทย์ พยาบาล บุคลากรด้านอื่นๆ ในหน่วยบริการคือโรงพยาบาล มีแพทย์ประมาณ 10,000 คน พยาบาล 100,000 คนเศษ ต้องให้บริการ 24 ชั่วโมง รองรับไม่ไหว ทำให้ผู้ทำงานเกิดความทุกข์กาย ด้วยความเหน็ดเหนื่อย ซึ่งไม่เท่าไหร่ แต่ทุกข์ใจด้วย เพราะความผิดพลาดจากจำนวนที่มากครั้งที่รักษา เฉลี่ยประมาณ 500,000 ครั้งต่อวันทั่วประเทศ

นี่คือสิ่งที่บั่นทอนความเข้มแข็งและแข็งแรงของโรงพยาบาล ไม่ว่าโรงพยาบาลศูนย์,ทั่วไป หรือ ชุมชน ทั่วประเทศ ทำให้เกิดสภาพขาดทุนอย่างรุนแรง

งบประมาณแต่ละปีที่ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อพี่น้องประชาชนเพิ่มขึ้นทุกปี คนตายก็เพิ่มขึ้น จำนวนผู้ป่วยนอกมาใช้มากขึ้น ผู้ป่วยในก็เพิ่มขึ้นไม่หยุดยั้ง ทำให้โรงพยาบาลรัฐขาดทุนทุกระดับ มีหลายสาเหตุ ต้องฝากรมต.สาธารณสุขและนายกรัฐมนตรี ว่าภาคการบริการสาธารณสุข มี 2 ระบบ ทำให้เกิดปัญหาที่เกิดวิกฤตอย่างรุนแรง ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ ผู้ป่วย ผู้ให้บริการในโรงพยาบาล มีปัญหาความขัดแย้ง

และเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไปพูดให้เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด บอกว่าอย่าสุรุ่ยสุร่าย อย่าใช้เงินให้มีปัญหาการเงินการคลัง จะกระทบต่อการให้บริการต่อพี่น้องประชาชน ผมอยากจะเรียนว่าพี่น้องแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ให้บริการใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ แต่เงินที่ได้รับการอุดหนุนจำกัดในการให้บริการ มีการควบคุมค่าใช้จ่ายตลอดเวลา แต่ไม่จำกัดการมาใช้บริการของพี่น้องประชาชน

นี่คือการอภิปรายในประเด็นงบประมาณด้านสาธารณสุข โดยชี้ให้เห็นถึงปัญหาของระบบของนพ.เธียรชัย สุวรรณเพ็ญ สำนักข่าวไทยพับลิก้าได้สัมภาษณ์ในประเด็นนี้เพิ่มเติมดังต่อไปนี้



ไทยพับลิก้า : นโยบายสาธารณสุขที่ใช้ระบบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติควรต้องปรับปรุงอย่างไร

ระบบสาธารณสุขที่ได้รับการปฏิรูปมาตั้งแต่ปี 2545 โดยพรรคไทยรักไทย(ขณะนั้น) เขาได้ทำนโยบายให้สิทธิแก่พี่น้องประชาชนเต็มขั้นตามรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ที่ไม่ได้อยู่ในภาคราชการ ประกันสังคม ปรากฏว่าผลการประกาศนโยบายนี้ประชาชนลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ถือเป็นสิทธิให้การรักษา มีการร่างกฎหมาย ได้ออกเป็นพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

แนวปฏิบัติของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้งบประมาณผ่านมาทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ผลจากการปรับเปลี่ยนนโยบาย ทำให้ระบบบริหารในกระทรวงสาธารณสุขมี 2 ขา มี 2 ระบบ คือ 1.ระบบควบคุมบุคลากร เรื่องตำแหน่ง โยกย้าย ขึ้นเงินเดือน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขดูแล แต่ 2.สปสช.เป็นตัวแทนของภาคประชาชน 48 ล้านคน ซึ่งการเป็นตัวแทนมีทั้งข้อดีข้อเสีย โดยสปสช.เป็นตัวแทนผู้ซื้อที่มีความรู้ทางการแพทย์ ทำทุกอย่างที่คิดว่าประชาชนควรได้สิทธิ ออกแบบเป็นรายจ่ายต่อหัว ซึ่งได้เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ สปสช.จึงเป็นกองทุนที่ใหญ่ที่สุด 108,000 ล้านบาท (ปี 2554)

สปสช.ถือเงินตัวนี้ จ่ายเงินให้กับหน่วยบริการ คือโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า การให้สิทธิของประชาชนเป็นการให้สิทธิเต็มที่ สามารถไปใช้กี่ครั้งก็ได้ ขณะที่สปสช.เป็นตัวแทนผู้ซื้อ มาซื้อหน่วยบริการ เป็นการซื้อโดยมีข้อจำกัด ที่เรียกว่าปลายปิด หรือ เหมาจ่าย เช่น หมวดผู้ป่วยนอกหรือโอพีดี จ่ายให้กว่า 700 บาทต่อคน หรือหมวดคนไข้ใน ให้ 900 กว่าบาทต่อคน ถ้าเกินกว่านั้นไม่รับผิดชอบนะ

เมื่อสปสช.ตั้งเกณฑ์แบบนี้ ทำให้หน่วยบริการรองรับไม่ไหว พฤติกรรมผู้ใช้บริการเปลี่ยนไป จากที่คนมาใช้บริการเฉลี่ย 1.8 ครั้งต่อปีต่อคน ตอนนี้เป็นกว่า 3 ครั้งต่อคนต่อปี หรือ 200 กว่าล้านครั้งต่อปี จาก 48 ล้านคน ทำให้ หมอ เภสัชกร พยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล จำนวนคนเหล่านี้มีจำกัด หากเปรียบเทียบแล้วเหมือนระบบอินเทอร์เน็ตล่ม คนแออัดยัดเยียด ขณะที่กลุ่มข้าราชการมาใช้บริการด้วย เนื่องจากมีโรงพยาบาลแห่งเดียวในจังหวัด หรือประกันสังคมก็มาใช้บริการด้วย ก็ยิ่งแน่นเข้าไปอีก เพราะฉะนั้นโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งเริ่มแน่น

ในทางปฏิบัติเมื่อจำนวนผู้มาใช้บริการจำนวนมาก บางคนบอกว่าไปทั้งวันได้บริการแค่นี้จะคุ้มไหม เพราะต้องรอหมอนาน ขณะที่คนให้บริการเริ่มหน้าหงิกหน้างอ ธรรมชาติมันเสียไป เพราะฉะนั้นนโยบายนี้ผลกระทบต่อคนที่ทำงาน คือเจ้าหน้าที่ด่านต่อด่าน ผมเป็นหมอ คุณเป็นผู้ป่วย ผมเดินผ่านมาโฮ…คนไข้รออยู่ 40-50 คน ตอนนี้ 9 โมงแล้ว ตรวจยังไงให้ทัน ซึ่งหมอต้องทำอย่างนี้ทุกวัน ก็เกิดการเผชิญหน้า คนไข้ก็บอกหมอขอเอ็กซเรย์ ขอเจาะเลือด ขณะที่หมอประชุมกับผผู้อำนวยการโรงพยาบาลมาบอกว่าโรงพยาบาลต้องประหยัด สภาพการเงินมันตึงมากแล้วนะ ช่วยๆกันหน่อย กลายเป็นเรื่องเขียมในการรักษาไป แทนที่จะทำได้อย่างอิสระ ตามหลักการทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์ ความเป็นอิสระสำคัญ ให้แพทย์วินิจฉัยเองว่าควรจะเปิดอันไหน ควรเจาะ ไม่เจาะ หรือจะทำอะไร ไม่ใช่เกิดลำเอียง ว่าลึกๆ มีเรื่องเงินๆ คำว่ามาตรฐานเริ่มหย่อน โรงพยาบาลไหนไม่มีปัญหาการเงิน ก็ไม่เป็นไร จึงทำให้การให้บริการมาตรฐานไม่เท่ากัน ดังนั้นที่เขียนว่าประชาชนได้สิทธิเท่าเทียมกันเริ่มไม่จริง เริ่มแปรปรวน นี่คือประเด็น

แล้วถามว่าพรรคเพื่อไทย ที่เป็นคนออกนโยบายนี้มา ได้ดูแลนโยบายนี้ไหม เขาดูแลไม่ได้ดี ไม่เข้าใจ การจัดตั้งมันง่าย แต่การดูแลให้ให้คงอยู่ในสภาพ และพัฒนาให้ก้าวหน้ามันยาก 8-9 ปีที่ผ่านมา วงเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพิ่มขึ้น แต่คนยังแออัดยัดเยียด หน่วยบริการไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลไม่มีใครอยากอยู่ ขอลาออกหรือไม่ขอย้ายไปอยู่หน่วยงานอื่น อาทิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล หรือหน่วยปฐมภูมิบ้าง

นั่นแสดงว่าระบบนี้ไม่ถูกแล้ว แต่เป็นระบบที่ประชาชนชอบ พูดเรื่องนี้ที่ไหนประชาชนไม่เอากับเรา แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำแล้ว เพราะต่อไปหากหมอ พยาบาลหรือคนลาออก ถ้าคุณผลิตไม่ทัน เรื่องเหล่านี้ต้องใช้เวลา กว่าจะได้คนมีประสบการณ์ มีความรู้ ความสามารถและคนที่รักองค์กร หากเขาค่อยๆหายไปทีละกลุ่ม มันกระทบยิ่งหนักขึ้น ขณะที่โรงพยาบาลเอกชนให้ค่าตอบแทนมากกว่า งานน้อยกว่า ความเสี่ยงน้อยกว่าเพราะได้ดูแลคนไข้ดีกว่า

ขณะที่โรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข หมอจะได้อะไรที ต้องมีเปเปอร์เวิร์ค ต้องผ่านขบวนการและทำเอกสารหลายอย่าง ทำให้ยุ่งยาก เช่น จะล้างไตเทียมต้องทำเอกสาร แค่จะดูคนไข้ก็ยุ่งพอแล้ว ต้องเขียนใบรับรองแพทย์ เขียนโอพีดีการ์ดก็ยุ่งแล้ว นี่คือปัญหา ทำให้คนให้บริการท้อแท้ กว่าจะขยายงาน กว่าเงินจะเบิกได้ ยังมีการค้างจ่ายอีก

นี่คือระบบสปสช.ที่วางไว้ไม่ยืดหยุ่นให้คนทำงาน ไม่ให้ความเป็นธรรมคนทำงาน

“ระบบสปสช.เป็นการสร้างขึ้นมาเหมือนให้คนใช้บริการ 48 ล้านคน ไปถล่มคนให้บริการ ที่มีอยู่ 1 ล้านคน ในหน่วยบริการรักษาที่ไม่ให้คุณป่วย ไม่ให้คุณพิการ นี่ยังไม่นับรวมผลกระทบของหน่วยงานเชิงป้องกัน งานส่งเสริมสุขภาพ ดังนั้นระบบสปสช.เหมือนเป็นการเอาใจภาคประชาชนฝ่ายเดียว เพราะฉะนั้นหากเราปล่อยทิ้งไว้ คนในระบบสาธารณสุขจะออกมากขึ้น ขณะที่คนไข้จะยิ่งทวงถาม ทำไมนานนัก ในที่สุดระบบนี้ก็จะตายซาก”



เวลาผมรักษาคนไข้ ค่อนข้างคุยกับคนไข้นาน ทั้งนี้แล้วแต่เคส แต่ตอนหลังหมอ คนไข้แทบจะไม่มองหน้ากันแล้ว เกิดผลกระทบความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้หายไป ของดีๆหายไป เพราะสู้ไม่ไหว อย่างหมอทำงานหนัก เมื่อคืนเพิ่งผ่าตัดมา หรือหมออีกคนไปประชุมวิชาการ เหลือ 2 คน ต้องรีบตรวจ ถ้าทำวันสองวันไม่เป็นไร แต่ถ้าทำอย่างนี้ทุกวันไม่ไหว ชีวิตต้องถามหาว่าตัวเองทำไปเพื่ออะไร หมอ พยาบาล อายุสั้นกว่าเกณฑ์กำหนด แก่เร็ว เครียดทางอารมณ์

“ผมจึงคิดว่าระบบต้องสมดุล ระหว่างผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้ได้สิทธิในการรักษาฟรี เป็นเรื่องที่ดี แต่ทำอย่างไรที่จะเหมาะสม จุดที่เหมาะสมอยู่ที่ไหน ผมบอกไม่ได้ ต้องเอาฝ่ายให้บริการมาคุย ว่าเขามีกำลังขนาดนี้ที่จะให้บริการคุณ คุณจะจัดการอย่างไรให้เหมาะสม ต้องคุยในรายละเอียด หากปล่อยไว้ระบบมันล่ม กว่าจะฟื้นคืน มันยากนะ เราคิดว่าป้องกันไว้ดีกว่า พรรคเพื่อไทยเป็นคนทำให้เกิดนโยบายนี้ จะต้องดูแล รับรู้ปัญหานี้ อย่าให้เกิดการล่าช้าในการจ่ายเงิน เพราะเงินนี้เป็นเงินเดือนด้วย ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายรายหัวคนไข้อย่างเดียว อย่างพยาบาลขาดไป ต้องรับใหม่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมักจะรับเด็กๆ เพราะเงินเดือนน้อย ไม่ใช่พยาบาลที่มีประสบการณ์ อย่างอายุ 40 – 45 ปี มีประสบการณ์ดีมาก”

ไทยพับลิก้า : การดูแลระบบสาธารณสุข เป็นหน้าที่กระทรวงสาธารสุขหรือสปสช.

ระบบกฎหมายเขียนไว้หน่วยบริการสาธารณสุข(โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข)ต้องรับ ไม่รับไม่ได้ แต่สปสช.ออกกฏมาที่ขัดแย้งกับนโยบายกระทรวงสาธารณสุข คนปฏิบัติจะทำอย่างไร ผมไม่รู้ว่ามีหรือเปล่า เพราะที่นี่(กระทรวงสาธารณสุข)หนึ่งกระทรวง 2 ระบบ .. ยาก โดยความเห็นผมคิดว่า “เงิน” ถ้าจะให้สปสช. ผมว่าเอาไปให้กระทวงสาธารณสุขบริหารจัดการไปเลยดีกว่า ส่วนสปสช.บทบาทควรเปลี่ยนเป็นคนกำกับดูแลจะดีกว่า มาอยู่ฟากประชาชนที่มีความรู้ มีโนฮาว แต่อย่าไปถือเงิน

แต่นี่สปสช.ไปสร้างว่าเขาเป็นผู้ซื้อแทนภาคประชาชน เป็นผู้ถือเงิน มาต่อรองกับกระทวงสาธารณสุขว่าต้องรักษาทุกโรค กี่ครั้งก็ได้ แล้วจะให้เงินต่อหัวแก่คุณ(หน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุข) นี่คือกฏเกณฑ์ที่สปสช.ตั้งเอาไว้ ผมไม่รู้ว่ากฎเกณฑ์ซื้อขายแบบนี้ มีที่ไหนในโลก แม้แต่เราทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพยังมีเงื่อนไขในการใช้ บอกว่าผู้ป่วยนอกสามารถใช้ได้กี่ครั้ง รวมวงเงินต้องไม่เกินเท่าไหร่ จะเป็นปลายปิดหมด แต่ระบบสปสช.เป็นปลายเปิดหมด ประชาชนใช้ได้ไม่อั้น

คนที่ออกกฎหมายเป็นปลายเปิดหมด ใช้ได้ไม่อั้น ทั้งๆ ที่คนที่ริเริ่มโครงการนี้วัตถุประสงค์ดี หมอที่ทำ แต่ไอดีลไม่อยู่ในโลกความเป็นจริง แต่นี่เรากำลังทวงถามความเป็นจริง โลกของความเป็นจริง เพราะประเทศไทยยังไม่ใช่เศรษฐี จะโปรภาคประชาชนอย่างไรก็ได้ สมมติเรามีบ้านหลังหนึ่ง เราคงไม่ลงทุนการรักษาดูแลสุขภาพเต็มที่ โดยปล่อยให้บ้านผุพัง ห้องน้ำเละเทะ ถนนเข้าบ้าน ไฟฟ้า โทรศัพท์ก็ไม่มี ไม่ใช่ใส่ให้สุขภาพซะเต็มที่

ต้องเปรียบเทียบกับประเทศอื่นที่มีฐานะใกล้เคียงกัน เขาบริหารจัดการเรื่องนี้อย่างไร หากจับเอามิติปรัชญาพอเพียง สิ่งที่สปสช.ทำ มิตินี้ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง ดูเหมือนดี เพราะช่วยคนยากคนจน แต่จริงๆ ไม่ใช่ เพราะระบบมันรองรับไม่ได้ เพราะให้มากเกินไป

ควรให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)ทำงานวิจัยระบบสาธารณสุข ออกมาให้ชัดเจน อย่างบ้านผมที่จ.ตาก มีต่างชาติอยู่ด้วย โรงพยาบาลต้องให้บริการ เอาเงินภาษีมาให้บริการเขาด้วย โดยหลักการรัฐบาลต้องไปประสาน UNSCR การเอาเงินงบประมาณไปให้ต่อหัวไม่ถูก เช่นที่ อุ้งผาง ท่าสองยาง มีโรคติดต่อมากมายของพม่า ข้ามมารักษาฝั่งนี้ เจ้าหน้าที่ไม่ให้หรือ ไม่ได้ หมออุ้งผางเขารักษาให้ ยิ่งทำให้โรงพยาบาลรับไม่ไหว

ไทยพับลิก้า : จะแก้ไขอย่างไร

ต้องเอาตัวเลขสปสช. 9 ปีที่ผ่านมา มาดู หากจะเอาระบบนี้ต่อไป ตอนนี้เขาก็เริ่มรู้แล้วว่าไปไม่ได้ ทางรัฐมนตรีจะเก็บ 30 บาท เดิมจะเก็บตั้งแต่เดือนนี้(พฤศจิกายน 2554) แต่บังเอิญอยู่ในช่วงน้ำท่วมพอดี ก็กลัวคนด่า คนการเมือง หากมันเสียเขาก็ไม่ทำ เขาก็รอ การเก็บ 30 บาท ก็ไม่ตอบโจทย์ แต่บรรเทาปัญหาลง ที่ต้องตอบโจทย์คือจำนวนครั้งมันหนักเกินไป และ 30 บาท ปรับได้ไหม ซึ่งเรื่องนี้ต้องถามเจ้าหน้าที่ เพราะแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน มีความหลากหลาย

ความเห็นส่วนตัวผม ผมอยากใช้ระบบอิสระ โรงพยาบาลในพื้นที่ แต่ละจังหวัดควรได้รับเงินโดยตรง ยิงมาจากกรมบัญชีกลาง ให้จังหวัดบริการจัดการกันเอง สมมติ จ.ตากมีประชากร 5 แสนคนที่อยู่ในข่ายได้รับสิทธิ ให้เงินจังหวัดไปเลย ให้เขาบริหารจัดการ และเขาอาจจะมีการจับกลุ่มกับเครือข่าย เพราะทุกโรงพยาบาล ต้องมีโรงพยาบาลศูนย์เป็นพี่เลี้ยง จังหวัดต้องบูรณาการให้เป็นแบบเดียวกัน เหมือนเป็นบริษัทรับประกันรักษาสุขภาพของคนทั้งจังหวัด หากมีคนไข้ข้ามเขต จะคิดอย่างไรก็ว่าไป รายละเอียดมันเยอะทางการแพทย์ บริหารแบบมีโครงข่ายเช่นว่า คนนี้ทำกายภาพที่นี่ ไปเที่ยวหัวหิน อยากทำที่รพ.หัวหินจะตามจ่ายกันอย่างไร

นี่เป็นความเห็นส่วนตัวของผม ไม่รู้เป็นไปได้ไหม ยังไม่ได้ศึกษา ประเด็นคือให้เขาเป็นอิสระในการวินิจฉัยรักษา

ส่วนสปสช.ต้องช่วยในเรื่องมาตรฐาน ตรวจสอบ ประชาชนคนไหนที่ได้รับผลกระทบจากการรักษา ในการช่วยเหลือเบื้องต้น ตายได้ 200,000 บาท ซึ่งมาตรานี้คุ้มครองแค่นี้ ส่วนจะปรับใหม่อย่างไรให้ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเป็นความผิดในระบบ ซึ่งปัญหานี้ยังพอพูดคุยกันได้


8404
 สธ.ทุ่มงบ 290 ล้านบาท สร้างอาคารกระตุ้นพัฒนาการเด็กครบสูตรที่สุดในเอเชีย เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาในหลวง ทั้งพัฒนาการทางสมอง ร่างกายและพฤติกรรมของเด็กด้อยโอกาส ที่สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่ เป็นอาคารประหยัดพลังงาน และมีอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบถ้วนที่สุดในเอเชีย คาดแล้วเสร็จภายในปี 2555
       
       วันนี้ (30 พ.ย.) นายต่อพงษ์  ไชยสาส์น  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจเยี่ยมติดตามการก่อสร้างอาคารพัฒนาการทางสมอง ร่างกาย และพฤติกรรม ของเด็กด้อยโอกาส ที่สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการพัฒนาเด็กวัยก่อนเรียนให้มีพัฒนาการสมวัย และเด็กวัยเรียนมีระดับสติปัญญาหรือไอคิวเกิน 100 จุด โดยผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2550 พบเด็กไทยที่มีอายุน้อยกว่า 19 ปี จำนวนเกือบ 20 ล้านคน  มีเด็กที่มีความพิการร้อยละ 2.2 และจากการสำรวจระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย ในปี 2553 ของกรมสุขภาพจิต พบว่า เด็กไทยมีระดับสติปัญญาบกพร่องถึงร้อยละ 6.5 อีกทั้งพบว่ามีเด็กพัฒนาการล่าช้าเข้ารับการรักษาที่สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์เพิ่มขึ้น โรคที่พบมากที่สุด ได้แก่ ออทิซึม สมาธิสั้น เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ และสมองพิการ จึงมีนโยบายให้กรมสุขภาพจิต จัดสร้างอาคารพัฒนาการทางสมอง ร่างกายและพฤติกรรมของเด็กด้อยโอกาส ที่สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางด้านการกระตุ้นพัฒนาเด็กด้านนี้โดยเฉพาะ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ซึ่งจะทำให้เด็กพิเศษกลุ่มนี้ได้รับการส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสม
       
       อาคารดังกล่าวใช้งบก่อสร้างทั้งหมด 290 ล้านบาท เป็นอาคารรูปเปียโน ทันสมัย เป็นอาคารต้นแบบใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนไฟฟ้าทั้งอาคาร สามารถให้บริการเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการและสุขภาพจิตอย่างครบวงจรแห่งแรกในเอเชีย บริการทั้งผู้ป่วยในและต่างประเทศ ประกอบด้วย ห้องกระตุ้นการเคลื่อนไหว ห้องกิจกรรมบำบัด ห้องกายภาพบำบัด ห้องอรรถบำบัดฝึกพูด ศูนย์วิจัยเด็กออทิสติก ห้องฝึกการใช้ประสาทสัมผัส โรงเรียนศึกษาพิเศษ ห้องดนตรีบำบัด ห้องละครบำบัดห้องสมุด ศูนย์ฝึกอาชีพสำหรับผู้ปกครองและเด็ก ห้องนวดบำบัด และห้องธาราบำบัด ขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้าประมาณร้อยละ 50 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2555
       
       ด้านนายแพทย์สมัย ศิริทองถาวร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กล่าวว่า ขณะนี้สถาบันฯได้ทำโครงการศึกษา 654พฤติกรรมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนอายุต่ำกว่า 5 ปี  เพื่อหาค่าปกติพัฒนาการของเด็กไทยวัยแรกเกิดถึง 5 ปี โดยใช้ของเล่นกระตุ้นพัฒนาการ ขณะนี้อยู่ระหว่างการวิพากษ์ของนักวิชาการคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2555หลังจากนั้นจะมีการแถลงผลการวิจัยอย่างเป้นทางการ เพื่อนำไปใช้กระตุ้นพัฒนาการเด็กไทยให้ได้อย่างสมวัย  ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียน สติปัญญาของเด็กไทยรุ่นใหม่ด้วย
       
       ทั้งนี้ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดหาและมอบอุปกรณ์การแพทย์พระราชทานในพระนามาภิไธยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เช่น รถนั่งไฟฟ้า หูฟัง ให้แก่เด็กพิการและผู้พิการทั่วประเทศ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2543  ถึงปัจจุบัน  โดยได้รับการบริจาคอุปกรณ์ฯ จากองค์กรการกุศล ได้แก่ องค์กรวีลส์ ออฟ โฮป สหรัฐอเมริกา (Wheels of Hope, USA) โจนิและเพื่อน สหรัฐอเมริกา(Joni and Friends, USA) วีลแชร์ ออฟ โฮป ประเทศญี่ปุ่น (Wheelchairs of Hope, Japan) และเฮลปิง แฮนส์ ประเทศนอร์เวย์    (Helping Hands, Norway) หากท่านใดมีความต้องการอุปกรณ์การแพทย์ฯ สามารถติดต่อขอรับได้ทางหมายเลข  0-5389-0238-44 หรือ www.ricd.go.th 

ASTVผู้จัดการออนไลน์    30 พฤศจิกายน 2554

8405
* นักกีฏวิทยา​เตือน 'ยุงรำคาญนาข้าว' ระบาดหนัก​ในพื้นที่น้ำท่วมขังนาน ​เผยบิน​ไกล 3 กิ​โล​เมตร ​เปลี่ยนพฤติกรรมกัดคน​แทนสัตว์ หวั่นก่อ​โรค​ไข้สมองอัก​เสบ

รศ.ชำนาญ อภิวัฒนศร หัวหน้าภาควิชากีฏวิทยา​การ​แพทย์ คณะ​เวชศาสตร์​เขตร้อน มหา วิทยาลัยมหิดล ​เปิด​เผยว่า จากปัญหาน้ำท่วมขังนาน​ในพื้นที่กรุง​เทพมหานคร​และหลายพื้นที่​ทำ​ให้​เริ่มประสบปัญหายุงระบาด ​แม้ว่าสถาน​การณ์​ไข้​เลือดออก​ในช่วงนี้​ไม่น่า​เป็นห่วง ​เนื่องจากพาหะนำ​โรคอย่างยุงลายมี​การ​แพร่ขยายพันธุ์ลดลงมากกว่าช่วงฤดูฝน ​และ​ไม่​ใช่กลุ่มยุงที่มากับน้ำท่วม ​แต่ที่พบมากคือ กลุ่มยุงรำคาญนาข้าว ​หรือที่​เรียกทางวิชา​การว่ายุงพาหะรำคาญ  Culex  tritaeniorhynchus ​เป็นพาหะนำ​โรค​ไข้สมองอัก​เสบ ก่อ​ให้​เกิดจาก​เชื้อ​ไวรัส​เจ​แปนีส ​เอ็น​เซฟา​ไลติส ​หรือ​เจอี ที่ผ่านมาพบมาก​ในพื้นที่​ทำนา​และ​เลี้ยงสัตว์

"ยุงชนิดนี้สามารถ​แพร่ขยายพันธุ์​ได้ดี​ในน้ำที่ท่วมขัง​และน้ำ​เน่า​เสีย ​โดย​เฉพาะบริ​เวณนาข้าวที่​เกิด​การหมัก​เน่าจาก​การจมน้ำ จาก​เหตุ ​การณ์น้ำท่วมภาค​เหนือตอนล่าง​และภาคกลางที่มีพื้นที่นาข้าวจำนวนมาก ​ทำ​ให้ยุง​แพร่พันธุ์​ได้ดี ​และบางส่วน​เริ่ม​เข้ามา​ในพื้นที่ กทม." หัวหน้าภาควิชากีฏวิทยา​การ​แพทย์ คณะ​เวชศาสตร์​เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว

รศ.ชำนาญกล่าวอีกว่า ที่น่าห่วงคือ ยุงรำคาญมีพฤติกรรม​การออกหากิน​ในช่วงกลางคืน สามารถบิน​ไป​ได้​ไกลมาก​ถึง 3 กิ​โล​เมตร ​และมีวงจรชีวิตที่นานกว่ายุงชนิดอื่นๆ ​ซึ่งจากภาวะน้ำท่วมครั้งนี้อาจส่งผล​ให้ยุงชนิดนี้​แพร่กระจาย​เข้าสู่​เขตชุมชน ​เขต​เมืองต่างๆ ​ได้มากขึ้น

นอกจากนี้ ยุงชนิดนี้​ได้​เปลี่ยนพฤติกรรมจาก​เดิมที่กิน​เลือดสัตว์ ​เช่น วัว ควาย ​และหมู ที่​เกษตรกร​เลี้ยง​ไว้​เป็นอาหารตามวงจรชีวิต ​แต่​เมื่อ​เกิด​เหตุ​การณ์น้ำท่วม มี​การอพยพสัตว์ต่างๆ ​ไปอยู่​ในที่​แห้ง​และห่าง​ไกล ​ทำ​ให้ยุงชนิดนี้ต้องปรับ​เปลี่ยนพฤติกรรมมากิน​เลือดคน​แทน ดังนั้น​โอกาสที่ประชาชนจะ​เสี่ยงต่อ​การติด​เชื้อ​โรค​ไข้สมองอัก​เสบจะมีมากขึ้น ​โดย​เฉพาะ​ใน​ผู้ที่ยัง​ไม่มีวัคซีนป้องกัน​โรคนี้ ​ซึ่งตามปกติ​ในพื้นที่​เสี่ยง​หรือ​ในพื้นที่ที่มี​การ​ทำ​การ​เกษตรมาก กระทรวงสาธารณสุข​ได้กำหนด​ให้​เด็ก​แรก​เกิด​ได้รับวัคซีนป้องกัน​โรค​ไข้สมองอัก​เสบตามมาตรฐาน​การป้องกัน​โรคอยู่​แล้ว ​และอัตรา​การ​เป็น​โรคนี้น้อย ​จึง​ไม่น่า​เป็นห่วงมาก

"ตอนนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข​ได้​ทำ​การควบคุม​การ​แพร่พันธุ์ยุงทุกชนิดที่​เกิดขึ้นจำนวนมาก​ในช่วงน้ำท่วมอยู่​แล้ว ​เพียง​แต่​ไม่สามารถ​เข้า​ไปฉีดพ่นควันกำจัดยุง​ได้ตามช่วง​เวลาที่ยุงรำคาญออกหากิน ​โดย​เฉพาะช่วงกลางคืน ​ซึ่งชาวบ้านส่วน​ใหญ่​ไม่​เข้า​ใจ ​และ​ไม่สะดวกที่จะ​ให้​เจ้าหน้าที่​เข้า​ไปกำจัด ​จึงอยาก​ให้ประชาชน​เข้า​ใจข้อมูล ข้อ​เท็จจริง ​และ​เข้า​ใจสิ่งที่​เกิดขึ้น ​เพื่อช่วยกันตัดวงจรชีวิตยุงรำคาญนาข้าวที่อาจจะส่งผลกระทบยาวนานข้ามปี" รศ.ชำนาญกล่าว.

ไทย​โพสต์ 30 พฤศจิกายน 2554

8406
รมช.สาธารณสุขลงพื้นที่ล้างตลาดสดยิ่งเจริญ มอบอุปกรณ์และชุดสาธิตล้างตลาดมอบผู้ประกอบการ เร่งล้างตลาดสดจมน้ำทั่วประเทศ เหลือ 68 แห่งรอดำเนินการ...

เมื่อวันที่ 29 พ.ย. นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รมช.สาธารณสุข เปิดเผยว่า เนื่องจากสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ “รวมพลังคืนสุขภาพดี สู่ประชาชน” และจากสถานการณ์น้ำท่วมมีตลาดได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ซึ่งต้องเร่งดำเนินการฟื้นฟูหลังน้ำลด เพื่อเปิดให้บริการแก่ประชาชน และป้องกันไม่ให้ตลาดเป็นแหล่งสะสม แพร่กระจายของเชื้อโรค ซึ่งจากการสำรวจของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ตลาดถูกน้ำท่วม 14 จังหวัด รวมจำนวน 95 แห่ง ยังคงจมน้ำ 68 แห่ง กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 27 แห่ง และดำเนินการฟื้นฟูโดยการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล 22 แห่ง และยังมีตลาดที่ปิดกิจการชั่วคราวเพื่อปรับปรุงตลาดให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อของกรมอนามัย จำนวน 2 แห่ง         

"วันนี้ได้เริ่มล้างตลาดยิ่งเจริญ ย่านสะพานใหม่ ซึ่งเป็นตลาดสดที่ได้รับรองมาตรฐานตลาดสดน่าซื้อระดับดีมาก และเป็นตลาดขนาดใหญ่ลำดับต้นๆ ของกรุงเทพมหานคร มีแผงค้าขายกว่า 1,500 แผง ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2554 ขณะนี้ระดับน้ำได้ลดลง กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ร่วมกับกรุงเทพมหานครและผู้ประกอบการค้า รณรงค์ล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาล พร้อมทั้งมอบอุปกรณ์ ชุดสาธิตการล้างตลาดให้กับผู้ประกอบการค้า เพื่อทำความสะอาดร้านค้า แผงจำหน่ายอาหาร และมอบถุงยังชีพ จำนวน 500 ชุด แก่ผู้ประกอบการค้าและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ใกล้เคียง" นายต่อพงษ์ กล่าว.

ไทยรัฐออนไลน์ 30 พย 2554

8407


เพลง  ผู้ปิดทองหลังพระ
ศิลปิน  คาราบาว

คำร้อง / ทำนอง : ยืนยง โอภากุล

เมื่อมายุ 19 พรรษา    ทวยไทยทั่วหล้ากราบบังคมทูล
โดยบุญญาบารมีเป็นที่ตั้ง   ถึงกระนั้นยังไม่พอ
พระราชกรณียกิจ    หนักหน่วงเหน็ดเหนื่อยปานใดไม่ท้อ
ประเทศไทยมีวันนี้หนอ   ก็ใครเล่าพระเจ้าแผ่นดิน

พระองค์ทรงเสียสละเพียงไหน  มีใครได้เห็นได้ยิน
ก็ใครหนอใครดวงใจใฝ่ถวิล   เป็นผู้ปิดทองหลังพระ
ผู้ปิดทองหลังพระ    ผู้ปิดทองหลังพระ

65 ปี ทำเพื่อราษฏร์    ทวยไทยทั้งชาติสมควรภาคภูมิ
มีพระมหากษัตริย์เฝ้าคอยห่วงใย  ทุ่มเทพระวรกายเพื่อเรา
ค้นคิดแนวทางพระราชดำริ   ตลอดการครองราชย์อันยืนยาว
ในน้ำมีปลาในนามีข้าว    ล้นเกล้าชาวไทยมีพระองค์ท่าน

พระองค์ทรงเสียสละเพียงไหน  มีใครเห็นใจสงสาร
ก็ใครหนอใครค่ำเช้าเฝ้าทรงงาน  เป็นผู้ปิดทองหลังพระ
ผู้ปิดทองหลังพระ    ผู้ปิดทองหลังพระ

* พระบาทสมเด็จพระปรมินทร   มหาภูมิพล อดุลยเดช
   มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
   ทรงสถิตย์เหนือเกล้าชาวไทย  เป็นดวงใจของแผ่นดิน
   ทรงสถิตย์เหนือเกล้าชาวไทย  ศูนย์รวมใจแผ่นดิน

(ซ้ำ *)
ศูนย์ดวงใจแผ่นดิน

(ซ้ำ *)
ศูนย์รวมพลังแห่งแผ่นดิน

ลิงค์ MV
http://www.youtube.com/watch?v=gsKCFpOICqM

8408
“เผดิมชัย” สั่งการบ้าน สปส.ศึกษาตั้ง “กองทุนช่วยเหลือสังคม” เล็งผนึกโรงเรียนแพทย์ ผลิตแพทย์-พยาบาล พร้อมขอเป็นหุ้นส่วน รพ. จัดมุมบริการรักษาพยาบาลโรคที่เกิดจากการทำงานโดยเฉพาะ เล็งเจรจา รพ.ในระบบประกันสังคมขอลดค่ารักษา
       
       วันนี้ (28 พ.ย.) นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวว่า ภายหลังการหารือกับนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานและประธานคณะกรรมการประกันสังคม (สปส.) และนายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เกี่ยวกับเรื่องระบบการจ่ายเงินค่ารักษา พยาบาลโรงพยาบาลที่อยู่ในระบบประกันสังคม ว่า ได้มอบให้สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ ไปรวบรวมข้อมูลความรุนแรงหนักเบาในแต่ละโรค และความยากง่ายในการรักษา เพื่อนำมาคำนวณอัตราค่ารักษาพยาบาลของโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคไต โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับระบบกล่องเสียง ฯลฯ และนำไปหารือกับโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคเหล่านี้ ซึ่งอยู่ในระบบประกันสังคม เพื่อเจรจาขอลดหย่อนเงินค่ารักษาพยาบาลด้วย

       รมว.แรงงาน กล่าวอีกว่า ตนยังมีแนวคิดที่จะให้ สปส.จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือสังคม โดยจัดโครงการความร่วมมือกับโรงเรียนแพทย์ต่างๆ เพื่อให้ทุนเด็กเรียนเก่งมาเรียนด้านแพทย์และพยาบาล ประเดิมปีแรก 100 ทุน โดยการให้ทุนเป็นไปได้ 2 แนวทาง คือ 1.การให้เด็ก ม.ปลาย มาเรียนต่อด้านแพทย์และพยาบาล จนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และ 2.การให้ทุนบัณฑิตแพทย์ไปเรียนต่อเฉพาะทาง ทั้งนี้ เมื่อเรียนจบแล้วก็จะประสานไปยังโรงพยาบาลในระบบประกันสังคม เพื่อจัดตั้งมุมรักษาโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น โรคหูตาคอจมูก โรคระบบทางเดินหายใจ โรคไต ฯลฯ และ สปส.จะเข้าไปร่วมหุ้นกับโรงพยาบาลในระบบประกันสังคม 5-10% รวมถึงซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เช่น เครื่องฟอกไต เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับการบริการอย่างเต็มที่ โดยมีแพทย์เฉพาะทางซึ่งเป็นนักเรียนทุนของ สปส.คอยดูแล อย่างไรก็ตาม ไม่เห็นด้วยกับการสร้างโรงพยาบาลต้นแบบของประกันสังคม เนื่องจากการบริหารงานยุ่งยาก และต้องใช้งบประมาณเยอะ

 “แต่ละปี สปส.เหมาจ่ายค่ารักษาให้แก่โรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก แต่ผมยังคิดว่า สปส.น่าจะสร้างคุณค่าให้แก่สังคมบ้าง ซึ่งการสร้างโรงพยาบาลของ สปส.ขึ้นมาใหม่ ต้องใช้งบประมาณมาก แถมยุ่งยากในการบริหารงาน ทั้งงบประมาณและบุคลากร ขณะที่แพทย์และพยาบาลยังมีปัญหาขาดแคลนอยู่ ถ้าให้ทุนผลิตแพทย์และพยาบาลจะเป็นประโยชน์มากกว่า อย่างไรก็ตาม ได้ให้ สปส.ไปศึกษาความเป็นไปได้ รวมถึงเรื่องของกฎหมาย และเสนอกลับมาเร็วที่สุด” รมว.แรงงาน กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554

8409
ครม.อนุมัติแต่งตั้งข้าราชการ-คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจหลายตำแหน่ง “พระนาย” นั่งประธานบอร์ดไฟฟ้านครหลวง “วัลลภ พลอยทับทิม” อดีตปลัด พม.ที่เคยโดนร้องเรียนเรื่องทุจริตและชู้สาว นั่งประธาน กพท.ในสังกัดกระทรวงท่องเที่ยว
       
       วันที่ 29 พ.ย.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงมติเกี่ยวกับการแต่งตั้งข้าราชการ ดังนี้ ครม.อนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย ประกอบด้วย 1.นายวิจารย์ สิมาฉายา ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ 2.นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ รองอธิบดีกรมป่าไม้ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 3.นายนิทัศน์ ภู่วัฒนกุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
       
       แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ก.ต่างประเทศ
       
       ครม.อนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 7 รายในจำนวนนี้เป็นการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศจำนวน 5 ราย ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับแล้ว ประกอบด้วย 1.นายปสันน์ เทพรักษ์ อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เครือรัฐออสเตรเลีย ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 2.นายจักริน ฉายะพงศ์ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพิธีการทูต 3.นายบรรสาน บุนนาค อธิบดีกรมพิธีการทูต ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์ 4.นายธฤต จรุงวัฒน์ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล 5.นางสาวทัศนาวดี เมี้ยนเจริญ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบูคาเรสต์ โรมาเนีย 6.นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกาฐมาณฑุ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เครือรัฐออสเตรเลีย และ 7.นายมารุต จิตรปฏิมา เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
       
       ตั้ง กก.ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค-กก.การประปานครหลวง
       
       ครม.อนุมัติแต่งตั้งตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอแต่งตั้งรองศาสตราจารย์ ประภาษ ไพรสุวรรณา รองศาสตราจารย์ระดับ 9 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แทน นายสุกิจ เจริญรัตนกุล ที่ลาออก
       
       นอกจากนี้ ครม.ได้อนุมัติแต่งตั้งตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอแต่งตั้ง นางวิภารัตน์ อัศววิรุฬหการ เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการการประปานครหลวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นไป
       
       ตั้ง คณะ กก.การไฟฟ้านครหลวง
       
       ครม.อนุมัติแต่งตั้งตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงชุดใหม่ จำนวน 14 คน ประกอบ 1.นายพระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย 2.นายวีระยุทธ เอี่ยมอำภา ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 3.นายถวัลย์วงศ์ ธีระวิทยภิญโญ กรรมการผู้จัดการ โรงแรม ซีนิท (อยู่ในบัญชีรายชื่อฯ) 4.นายขวัญชัย วงศ์นิติกร อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (อยู่ในบัญชีรายชื่อฯ) 5.นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี (อยู่ในบัญชีรายชื่อฯ) 6.นายภาณุ อุทัยรัตน์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (อยู่ในบัญชีรายชื่อฯ) 7.ศาสตราจารย์ ธีรวุฒิ บุณยโสภณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (อยู่ในบัญชีรายชื่อฯ) 8.นายจุมพล สำเภาพล รองปลัดกรุงเทพมหานคร 9.พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (อยู่ในบัญชีรายชื่อฯ) 10.นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ อัยการพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด 11.นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) (อยู่ในบัญชีรายชื่อฯ) 12.เรืออากาศเอก ศิริเดช จุลเปมะ อดีตกัปตัน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) (อยู่ในบัญชีรายชื่อฯ) 13.นายเถลิง อยู่บำรุง กรรมการผู้จัดการ บริษัท บอสส์บ๊อกซิ่ง 2000 จำกัด และ 14.นายเดชบุญ มาประเสริฐ ประธานกรรมการ บริษัท ดูอิ้งเวล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นไป ส่วนกรณีนายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะกรรมการอัยการอนุมัติเป็นต้นไป ซึ่งต้องไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
       
       ตั้ง กก.ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
       
       ครม.อนุมัติแต่งตั้ง ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งนายยงยุทธ กปิลกาญจน์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (กขร.) แทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นไป
       
       แต่งตั้ง กก.บริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
       
       ครม.อนุมัติแต่งตั้งตามที่ นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (กพท.) เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมได้ลาออก ประกอบด้วย นายวัลลภ พลอยทับทิม เป็นประธานกรรมการ นายเฉลิมพร พิรุณสาร นายสมชัย เพียรสถาพร นายสุรินทร์ ประสิทธิ์หิรัญ นายพลทิตย์ ภุกพิบูลย์ และ รองศาสตราจารย์ วินัย ล้ำเลิศ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้เริ่มวาระการดำรงตำแหน่งใหม่ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นไป
       
       ตั้งผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
       
       ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้ง นายชัยภัฎ สมบูรณ์ดำรงกุล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป ทั้งนี้ นายชัยภัฎ จะต้องลาออกจากการเป็นพนักงานขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ก่อนวันที่ลงนามในสัญญาจ้าง
       
       ตั้งกรรมการผู้แทน ก.เกษตรและสหกรณ์
       
       ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้ง นายชวลิต ชูขจร ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ แทน นายเฉลิมพร พิรุณสาร ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นไป
       
       ตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
       
       ครม.อนุมัติตามที่ นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 8 ราย ประกอบด้วย 1.นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี 2.นายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ 3.นายชาญวิทย์ เอนกสัมพันธ์ 4.นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง 5.นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล 6.นายโฆสิต สุวินิจจิต 7.พลตำรวจโท รชต เย็นทรวง และ 8.นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นไป
       
       เปลี่ยนรายชื่อประธานกรรมการและกรรมการองค์การอิสระฯ
       
       ครม.รับทราบตามที่คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (กอสส.) เสนอการเปลี่ยนแปลงประธานกรรมการและกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ผู้แทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการด้านสถาบันอุดมศึกษาด้านทรัพยากรธรรมชาติ เป็นประธานกรรมการโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป
       
       นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พยอม รอตมงคลดี ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นกรรมการสถาบันอุดมศึกษาด้านทรัพยากรธรรมชาติ พลตำรวจตรี ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์ ผู้แทนจากแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการด้านองค์การเอกชนด้านสุขภาพ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไป และ นายกฤษฎา ให้วัฒนานุกูล ผู้แทนจากมูลนิธิประชาคมราชบุรี เป็นกรรมการด้านองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไป และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อทราบทั่วกันต่อไป
       
       ตั้งข้าราชการ ก.แรงงาน
       
       ครม.อนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงแรงงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ประกอบด้วย นายปกรณ์ อมรชีวิน รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง นายพานิช จิตร์แจ้ง รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง และ นายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

ASTVผู้จัดการออนไลน์    29 พฤศจิกายน 2554

8410
รัฐสภาทิ้งทวนมีมติเอกฉันท์ 511 เสียง ให้ความเห็นชอบพ.ร.บ. 24 ฉบับ เปิดทางครม.ดำเนินการต่อไป พร้อมผ่านกรอบเจรจาเศรษฐกิจ 3 ฉบับรวด
 
 วันนี้ (28 พ.ย.) ตั้งแต่เวลา 11.30 น. ได้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา โดยมี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งที่ประชุมได้มีวาระการพิจารณาให้ความเห็นชอบพิจารณาร่างพระราชบัญญติ (พ.ร.บ.) ที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบ และยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จตามรัฐธรรมนูญมาตรา 153 วรรคสอง ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอยืนยันจำนวน 24 ฉบับ อาทิ ร่าง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ... ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ... ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่..) พ.ศ... ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ... และ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ... เป็นต้น หลังการอภิปรายอย่างกว้างที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ 511 เสียง ให้ความเห็นชอบทั้ง 24 ฉบับ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไป
   
  หลังจากนั้นที่ประชุมยังได้ให้ความเห็นชอบพิธีสารฉบับที่ 2 เพื่อแก้ไขกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย พิธีสารเร่งเปิดเสรีทางการค้าและอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างไทย-เปรู และกรอบการเจรจาต่อเนื่องภายใต้ความตกลงระหว่างไทย-ญี่ปุ่น สำหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
   
  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้รับทราบพระบรมราชโองการปิดสมัยประชุมสามัญทั่วไป จากนั้น พล.อ.ธีรเดช มีเพียร รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ได้สั่งปิดประชุมเมื่อเวลา 17.20 น.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤศจิกายน 2554
...........................................................

28 พ.ย. 54 - ที่ประชุมร่วมรัฐสภา มีมติเป็นเอกฉันท์ให้รัฐสภาดำเนินการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ค้างอยู่จากสภาชุดที่แล้ว ทั้ง 24 ฉบับ โดยจะมีการพิจารณาต่อในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ ที่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 21 ธ.ค. นี้

ที่ประชุมร่วมรัฐสภา มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้รัฐสภาดำเนินการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ค้างอยู่จากสภาชุดที่แล้ว ซึ่งเป็นไปตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 153 วรรคสอง จำนวน 24 ฉบับ โดยจะมีการพิจารณาต่อในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ ที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 21 ธ.ค.54 - 18 เม.ย.55   ประกอบด้วย
1.ร่าง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ...,
2.ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ...,
3.ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่..) พ.ศ...,
4.ร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค (ฉบับที่..) พ.ศ...,
5.ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองภูเก็ต พ.ศ...,
6.ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองเพชรบุรี พ.ศ...,
7.ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองนครสวรรค์ พ.ศ...,
8.ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (ฉบับที่..) พ.ศ...,
9.ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาศาลแขวง (ฉบับที่..) พ.ศ...,
10.ร่าง พ.ร.บ.ความร่วมือระหว่างประเทศในทางแพ่งเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิควบคุมดูแลเด็ก พ.ศ...,
11.ร่าง พ.ร.บ.เงินเดือน เงินประจำ ตำแหน่ง และประโยชน์แทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจกาแผ่นดิน ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (ฉบับที่..) พ.ศ...,
12.ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ...,
13.ร่าง พ.ร.บ.สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ...,
14. ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ...,
15.ร่าง พ.ร.บ.สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ...,
16.ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ...,
17.ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ...,
18.ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ...,
19.ร่าง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ..,
20.ร่าง พ.ร.บ.ตั้งจังหวัดฝาง พ.ศ. ..,
21.ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ...,
22.ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ...,
23.ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ... และ
24.ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ...

เรณู เขมาปัญญา / ข่าว / เรียบเรียง
radioparliament.net
.................................................

8411
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ห้องพิจารณาคดี 10 ศาลจังหวัดพระโขนง ถนนสรรพาวุธ ศาลพิพากษายกฟ้องคดีที่ นายธวัชสิทธิ์ และนางธัญญพัฒน์ ตวงสินกุลบดี สามีภรรยา และเป็นบิดามารดา นายพีรวีร์ ตวงสินกุลบดี ผู้ตาย เป็นโจทก์ฟ้องบริษัทโรงพยาบาล (รพ.) ศิครินทร์ ที่ 1 บริษัทโรงพยาบาลไทยนครินทร์ ที่ 2 นพ.ดำรงค์ ประกายทิพย์ นพ.สุทธิศักดิ์ ไชยอัชนรัตน์ และ นพ.หิรัญย์ ศรีจินไตย แพทย์ รพ.ไทยนครินทร์ เป็นจำเลยที่ 1-5 เรื่องทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายในฐานะผู้บริโภค เรียกค่าเสียหาย 31.2 ล้านบาท

คดีนี้โจทก์ฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2552 ด.ญ.ชญาณ์พิศา โฆษิตเบ็ญจพล ป่วยเป็นไข้หวัด 2009 และเข้ารักษาโรงพยาบาลศิครินทร์ โดยนายพีรวีร์ ลูกพี่ลูกน้องกับ ด.ญ.ชญาณ์พิศา ได้แวะไปเยี่ยมดูแลเป็นประจำ จนนายพีรวีร์ต้องเข้ารักษาตัวในวันที่ 24 มิถุนายน 2552 เนื่องจากมีอาการตัวร้อนและไอ โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้รักษา และให้กลับบ้าน ทั้งๆ ที่อาการยังไม่ดีขึ้น จนญาติต้องส่งโรงพยาบาลศิครินทร์ อีกครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ญาติขอให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้รักษาแทนพบว่าเป็นปอดบวม เมื่อเอกซเรย์ปอดเป็นฝ้าขาว แล้วอุทานว่าอาจารย์ (จำเลยที่ 3) ปล่อยกลับไปได้ยังไง จากนั้นจำเลยที่ 4 จึงเดินมาแจ้งญาติว่าจะส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลไทยนครินทร์ เนื่องจากมีแพทย์เฉพาะทางโดยไม่ได้ให้ยาต้านไวรัสหวัด 2009 ต่อมาจำเลยที่ 5 ได้วินิจฉัยว่านายพีรวีร์เป็นโรคปอดบวมและไม่ได้ซักประวัติโรคหวัด 2009 เมื่ออาการไม่ดีขึ้นญาติขอย้ายไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จนนายพีรวีร์ ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงฟ้องเรียกค่าเสียหายรวม 31.2 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5

โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานนำสืบทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่า พยานโจทก์ที่เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเบิกความขัดแย้งกันในหลายประเด็น โดยเฉพาะพยานโจทก์ปาก นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 ของกระทรวงสาธารณสุข ที่เบิกความรับว่า จำเลยที่ 3-5 ซึ่งเป็นแพทย์ของโรงพยาบาล จำเลยที่ 1 และ 2 ได้ทำการตรวจรักษาผู้ตายตามหลักการแพทย์และได้นำน้ำมูกซึ่งเป็นสารคัดหลั่งของผู้ตายส่งไปตรวจพิสูจน์เพื่อหาเชื้อเอช 5 เอ็น 1 ซึ่งผลออกมาเป็นลบ อีกทั้งแพทย์ รพ.บำรุงราษฎร์ ก็ระบุสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ตายว่าเนื่องจากปอดวายเฉียบพลัน ไม่ใช่เสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้ตายไม่ได้เสียชีวิตเพราะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จำเลยทั้งห้าจึงไม่จำต้องรับโทษฐานกระทำการประมาทในการตรวจรักษา พิพากษายกฟ้องและให้โจทก์ทั้งสองร่วมกันจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแก่จำเลยทั้งห้ารวมเป็นเงิน 1 แสนบาท ภายใน 30 วันหลังจากศาลมีคำพิพากษา

ภายหลัง นางธัญญพัฒน์  มารดาผู้ตาย กล่าวว่า ตนเองและครอบครัวน้อมรับผลคำพิพากษาของศาล และยืนยันจะขอต่อสู้คดีต่อไปให้ถึงที่สุดเพื่อทวงความยุติธรรมเพราะยังเชื่อว่าต้องสูญเสียลูกชายไปเพราะการตรวจรักษาที่ขาดความรอบคอบของแพทย์ 

มติชนออนไลน์ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

8412
 พบยารักษามะเร็งเม็ดเลือด Gilvec ขอรับสิทธิบัตรที่มีลักษณะไม่มีวันสิ้นสุด ถึง 6 คำขอ หวังสิทธิบัตรผูกขาดยาวถึงปี 69
       
       ภญ.ดร.อุษาวดี มาลีวงศ์ ทีมวิจัย “สิทธิบัตรยาที่จัดเป็น evergreening patent ในประเทศไทย และการคาดประมาณผลกระทบที่เกิดขึ้น” ได้เปิดเผยความคืบหน้าของการวิจัย พบว่า ยาตัวสำคัญๆหลายตัวที่จำเป็นต่อการรักษาโรค มีคำขอสิทธิบัตรที่เข้าข่ายการขอรับสิทธิบัตรที่มีลักษณะ evergreening หรือเรียกว่า สิทธิบัตรที่มีลักษณะแบบไม่มีที่สิ้นสุด เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากได้รับสิทธิบัตรไป อุตสาหกรรมยาข้ามชาติจะได้สิทธิผูกขาดมากไปกว่าที่ควรได้ โดยในยาบางตัวพบว่าจะมีระยะเวลาการผูกขาดในตลาดยานานขึ้นถึง 10 ปี
       
       “เราพบว่า ยา Imatinib หรือชื่อทางการค้าคือ ยา Glivec ซึ่งเป็นยารักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว ที่ก่อนหน้านี้ อยู่ในกลุ่มการประกาศบังคับใช้สิทธิ (CL) มีคำขอรับสิทธิบัตรของยาตัวนี้ในประเทศไทยถึง 6 คำขอ ทั้งการใช้, การขอในรูป salt form และการขอในรูปของ polymorph ซึ่งอยู่ในข่ายที่เป็น evergreening ชัดเจน หากเทียบกับสิทธิบัตรตัวตั้งต้นของสหรัฐอเมริกา ยาตัวนี้น่าจะหมดสิทธิบัตรในไทยในปี 2559 แต่หากคำขอสิทธิบัตรแบบ evergreening เหล่านี้ได้รับการอนุมัติ ผู้ขอจะได้สิทธิผูกขาดทำให้ไม่มีใครสามารถผลิตยาชื่อสามัญเข้ามาแข่งได้จนถึงปี 2569 ซึ่งมากกว่าสิทธิที่พึงจะได้ถึง 10 ปี อย่างไรก็ตาม คำขอเหล่านี้พ้นระยะเวลาที่จะนักวิจัยและภาคประชาชนจะสามารถทำคำคัดค้านได้ เพราะตามกฎหมายในบ้านเรานั้นกำหนดระยะเวลาในการคัดค้านก่อนการได้รับสิทธิบัตรไว้เพียง 90 วัน ซึ่งถือว่าน้อยมาก หากเปรียบเทียบกับกฎหมายสิทธิบัตรในต่างประเทศ เราจึงทำได้เพียงนำส่งข้อมูลให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาและแจ้งต่อสาธารณชน”
       
       ด้าน นส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ทีมวิจัยฯ กล่าวว่า ยากลีเวคกำลังกลับมาเป็นที่สนใจของสาธารณะอีกครั้ง เพราะในวันพรุ่งนี้ (29) ศาลสูงสุดของอินเดียจะเริ่มการไต่สวนคดีที่ บ.โนวาร์ติส กล่าวหารัฐบาลอินเดียทำผิดรัฐธรรมนูญ ไม่แก้กฎหมายสิทธิบัตรให้เป็นไปตามองค์การการค้าโลก หลังจากที่สำนักงานสิทธิบัตรอินเดียปฏิเสธที่จะให้สิทธิบัตรกับคำขอที่เป็น evergreening ในยาตัวนี้ โดยให้เหตุผลว่า ไม่มีนวัตกรรมที่สูงขึ้น
       
       “คดีนี้มีความสำคัญต่อการเข้าถึงยาของประชาชนทั่วโลก เพราะการยอมให้จดสิทธิบัตรในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย จะส่งผลกระทบมหาศาล โดยไปขัดขวางยาชื่อสามัญเข้าสู่ตลาด และนำไปสู่การเข้าไม่ถึงยาของประชาชนในที่สุด ไม่เพียงเท่านั้น ยังจำกัดการวิจัยเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าด้านเภสัชศาสตร์ซึ่งเป็นผลกระทบตั้งแต่ต้นน้ำด้วย ซึ่งนี้เป็นข้อสรุปที่สะท้อนในงานวิจัยเรื่องสิทธิบัตรที่ไม่มีวันสิ้นสุดที่ทำใน 5 ประเทศ คือ อาร์เจนตินา บราซิล โคลอมเบีย อินเดีย และ แอฟริกาใต้ ของสถาบันเซาท์เซ็นเตอร์ สถาบันวิชาการด้านการค้าระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ซึ่งเพิ่งเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้”
       
       ทีมวิจัยฯกล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ได้มีการแถลงผลการวิจัยเบื้องต้นในคำขอสิทธิบัตรทางยาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เข้าข่าย evergreening ถึงร้อยละ 96 นั้น ทางเครือข่ายผู้ป่วยและทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เชิญทีมวิจัยไปให้ข้อมูลเพื่อทำความรู้ความเข้าใจกับเรื่องนี้มากขึ้น
       
       “ทราบมาว่า ขณะนี้ทางสมาคมบริษัทยาข้ามชาติ หรือ พรีม่า ก็พยายามที่จะขอเข้าไปให้ข้อมูลกับกรมทรัพย์สินฯ ว่า สิ่งที่เขาขอนั้น เป็นนวัตกรรมที่เพิ่มขึ้นจากสิ่งที่มีอยู่เดิม (Incremental Innovation) ซึ่งก็เป็นสิทธิของทางพรีม่าในการให้ข้อมูล แต่เราเชื่อว่าขณะนี้หน่วยราชการและผู้กำกับนโยบายมีความตระหนักถึงปัญหาการผูกขาดทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินเลย ก็ต้องฝากทั้งผู้กำกับนโยบายและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ เนื่องจากจะมีผลกระทบที่เกิดกับการเข้าไม่ถึงยาของประชาชนทั้งประเทศ”

ASTVผู้จัดการออนไลน์    29 พฤศจิกายน 2554

8413
 สบส.ประเมินโรงพยาบาลที่เสียหาย เซ่นมหาอุทกภัย 561 แห่ง เบื้องต้นพบมูลค่าเสียหาย 340 ล้าน รพ.อยุธยา หนักสุดพุ่ง 160 ล้าน ห่วงห้องผ่าตัด ห้องคลอด ไอซียู เปื้อนเชื้อรา กำชับทุกแห่งเร่งดูแล
       
       นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวถึงแผนการฟื้นฟูสถานบริการสาธารณสุขหลังน้ำลด ว่า ปัญหาน้ำท่วมครั้งนี้ ถือเป็นมหาอุทกภัยที่ถือว่ารุนแรงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา และส่งผลกระทบต่อสถานบริการสาธารณสุข (สธ.) ขนาดใหญ่ถึงขั้นปิดบริการหลายแห่ง โดยมีโรงพยาบาล (รพ.)ได้รับความเสียหายทั้งหมด 561 แห่ง เป็นโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ. รพท.) 16 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) 70 แห่ง และที่เหลืออีก 468 แห่ง เป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) โรงพยาบาลสังกัดกรมต่างๆ และสังกัด กทม.โดยเบื้องต้นได้สำรวจความเสียหายใน รพ.11 แห่ง มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 340 ล้านบาท แค่ รพ.พระนครศรีอยุธยา แห่งเดียวเสียหายราว 160 ล้านบาท และยังมี รพช.ที่ประเมินเบื้องต้นในพื้นที่เสียหาย 70 แห่ง ประมาณ 50 ล้านบาท
       
       นพ.สมชัย กล่าวอีกว่า ในการซ่อมแซมสถานพยาบาลที่ได้รับความเสียหายนั้น เมื่อประเมินมูลค่าความเสียหายทั้งหมดเสร็จสิ้น จะเสนอของบประมาณตามแผนปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ จากอุทกภัยของรัฐบาล และในส่วนของสถานพยาบาลที่มีความเสียหายต่ำกว่า 2 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็น รพ.สต.ประมาณ 400 แห่ง จะประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในแต่ละพื้นที่เพื่อขอให้ประสานความร่วมมือไปยังสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด วิทยาลัยอาชีวศึกษา หรือมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ในการเข้าไปประเมินความเสียหายและรายงานกลับมายังกรม ซึ่งหากต้องการความช่วยเหลือด้านใดสารมารถประสานยังกรมได้
       
       อธิบดีกรม สบส.กล่าวด้วยว่า ในระหว่างการซ่อมแซม ฟื้นฟูสถานพยาบาลที่ได้รับความเสียหาย สิ่งที่ยังน่าเป็นห่วงอยู่ในขณะนี้ คือ ระบบปลอดการติดเชื้อ ซึ่ง รพ.จะต้องมีการดูแลความสะอาดและการป้องกันการติดเชื้อ ในการฟื้นฟูจึงทำได้ยากกว่าการฟื้นฟูบ้านทั่วไป โดยเฉพาะในห้องไอซียู ห้องคลอดและห้องผ่าตัด ซึ่งความชื้นจากน้ำที่ท่วมขัง ทำให้มีเชื้อรา อาจเป็นอันตรายได้
       
       สำหรับ รพ.ที่เสียหาย 11 แห่ง ได้แก่
รพ.พระนครศรีอยุธยา, รพ.สวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์, สสจ.ปทุมธานี, สสจ.พระนครศรีอยุธยา, วิทยาลัยพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์, รพ.นพรัตน์ราชธานี กรมการแพทย์, สถาบันธัญยารักษ์ กรมการแพทย์, สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต, รพ.ปทุมธานี, รพ.พระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี และ รพ.สระบุรี

ASTVผู้จัดการออนไลน์    29 พฤศจิกายน 2554

8414
 วิกฤตของมหาอุทกภัยในประเทศครั้งนี้ จะส่งผลให้เกิดวิกฤตต่างๆ ตามมาอีกหลายประการ หนึ่งในวิกฤตที่จะกระทบกับผู้คนส่วนใหญ่ก็คือเรื่องอาหาร ที่นาแหล่งผลิตข้าวหลายแสนไร่ สัตว์เลี้ยง พืชสวนผักผลไม้ที่จมอยู่ใต้น้ำล้มตาย กว่าจะฟื้นตัว กว่าผลผลิตจะผลิดอกออกผลให้เป็นอาหารของผู้คนในสังคม จะต้องใช้ระยะเวลาอีกนาน แต่สังคมไทยยังมีความโชคดีที่เรามีแหล่งอาหารโปรตีนตามธรรมชาติอยู่อีกมากโดยเฉพาะกุ้ง หอย ปู ปลา จากแหล่งน้ำ โดยเฉพาะจากทะเล การเร่งกู้วิกฤตของทะเลไทยจึงเป็นหนึ่งในการกู้วิกฤตแหล่งอาหารที่สำคัญ โดยเฉพาะแหล่งอาหารโปรตีนของสังคมจากทะเล
       
        โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญของร่างกาย ปกติร่างกายของคนเรา จะต้องการโปรตีนแตกต่างกันไปแล้วแต่ช่วงวัย เช่น ในวัยเด็กจะต้องการโปรตีนสูง 1.2 - 1.5 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในผู้ใหญ่ 0.8-1 กรัม /กิโลกรัม/วัน  มีการศึกษาจากการเปรียบเทียบเกี่ยวกับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ในชาวเอสกิโม เมื่อเปรียบเทียบกับคนทั่วไป พบว่าชาวเอสกิโมมีอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่าคนทั่วไปเพราะว่าชาวเอสกิโมรับประทานปลามากกว่าคนทั่วๆ ไป จึงทำให้ได้รับสารอาหารจากปลามากกว่า ซึ่งปลามีสารอาหารที่จะมีฤทธิ์ลดกรดของเกร็ดเลือด และลดไตรกลีเซอไรด์ได้ดี ทำให้คนมีความสนใจแหล่งโปรตีนที่ได้จากสัตว์น้ำโดยเฉพาะกุ้ง หอย ปู ปลา ในทะเลมากขึ้น
       
        นักวิชาการได้ศึกษาและให้น้ำหนักแหล่งอาหารโปรตีนที่จำเป็นและสำคัญต่อร่างกายเอาไว้คร่าวๆ ว่า โปรตีนที่ร่างกายของคนเราได้จากไข่ 94 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 100) จากนม/ผลิตภัณฑ์นม 82 คะแนน จากปลา 80 คะแนน เนื้อสัตว์ 68 คะแนน ถั่วเหลือง 61 คะแนนและจากเมล็ดพืชต่างๆ 37-58 คะแนน ซึ่งเมื่อเรามาพิจารณาโปรตีนที่สังคมไทยบริโภคหลักๆ ในปัจจุบันเราจะพบว่ามีปัญหาตามมาจากการผลิตโปรตีนไม่ว่า เนื้อหมู ที่มีสารเร่งเนื้อแดง ที่เรียกว่า “แรนดอน” ซึ่งพบว่า เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งในหนูทดลอง เนื้อไก่  มีฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ยาฆ่าเชื้อ หรือเชื้อโรคไข้หวัดนกที่ระบาดเป็นช่วงๆ เนื้อวัว บางครั้งก็มีปัญหาเรื่องเชื้อวัวบ้า   
       
       “ถั่ว” แม้จะเป็นแหล่งของโปรตีนที่มีคุณภาพในกลุ่มของพืชก็จริง แต่การเพาะปลูกก็มีการปนเปื้อน สารเคมีและยาฆ่าแมลง รวมถึง สารอัลฟาทอกซิน ซึ่งมักจะพบในถั่วลิสง เนื่องจากมีความชื้นสูง สารตัวนี้มักก่อให้เกิดมะเร็งในตับ นมแม้จะเป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูงในกลุ่มของโปรตีนจากสัตว์ แต่โปรตีนคุณภาพสูงเหล่านั้น มีปริมาณเพียงแค่ 4% เพราะส่วนใหญ่นมจะมีองค์ประกอบของ “หางนม” ซึ่งมีสารอาหารหลักคือ “ไขมัน” นอกจากนี้นมหรือผลิตภัณฑ์นมยังต้องเสี่ยงกับ ยาและฮอร์โมน ที่ใช้เลี้ยงวัวปนเปื้อนมาอีกด้วย
       
        ปลาจึงเป็นคำตอบสุดท้ายที่ดีที่สุด เพราะปลาแม้จะมีโปรตีน 80 คะแนน ซึ่งต่ำกว่าน้ำนมเพียงเล็กน้อย ถ้าจะว่าไปแล้วเนื้อปลายังเป็นสารอาหารที่มีไขมันต่ำยกเว้นปลาดุก และปลาทุกชนิดที่ทำให้สุกโดยการทอด นอกจากเนื้อปลาจะมีสารอาหารโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตทางร่างกายแล้ว ในเนื้อปลายังมีสารอาหารชนิดหนึ่งมีชื่อว่า omega - 3 fatty acids ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันโรคหัวใจ ปลาจึงเป็นโปรตีนที่จะเป็นทางออกของวิกฤตในเรื่องอาหารที่จะเกิดตามมาหลังมหาอุทกภัยในครั้งนี้อย่างมีนัยที่สำคัญ
       
        ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่มีความโชคดีในแง่ของการตั้งอยู่ในเขตภูมิประเทศ ที่สองฟากฝั่งอยู่ติดกับทะเลมหาสมุทร คือ ฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน มีจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลถึง 22 จังหวัด ประเทศของเรามีพื้นที่ชายฝั่งรวมกันทั้งสองฝั่งกว่า 2,600 กิโลเมตร และที่สำคัญประเทศของเราตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร ทำให้ท้องทะเลไทยเต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ มีพันธุ์สัตว์น้ำหลากหลายชนิดและสามารถเจริญเติบโตในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่เราขาดการบริหารจัดการทะเลที่ผิดพลาดและเปิดโอกาสสร้างเงื่อนไขให้มีการทำลายแหล่งอาหารโปรตีนของสังคมลงอย่างรวดเร็ว
       
        วันนี้เราปล่อยให้ทะเลไทยอยู่ในขั้นวิกฤต มีสภาพที่เสื่อมโทรมลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับในอดีต จนอาจกล่าวได้ว่าวิกฤตที่จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อกู้วิกฤตของทะเลที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญแก่สังคมเราในอนาคต ดังจะเห็นได้จากอัตราการจับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมืออวนลากของเรือสำรวจกรมประมงในอ่าวไทย ที่พบว่าในปี 2504  มีค่าเท่ากับ 297.8 กิโลกรัม/ชั่วโมง ลดลงเหลือ 62.11 กิโลกรัม/ชั่วโมง ในปี 2520 และลดลงเหลือ 40.59 และ 17.8 กิโลกรัม/ชั่วโมง ในปี 2530 และ 2552 ตามลำดับ
       
        เรืออวนลาก เรืออวนรุน เรือปั่นไฟ เป็นเครื่องมือทำการประมงแบบทำลายล้าง ที่อารยประเทศทั่วโลกเขายกเลิกกันเกือบหมดแล้ว เพราะเป็นเครื่องมือที่ทำลายพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อน และเป็นตัวทำลายสัตว์น้ำให้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ร้อยละ 60 ของปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ทั้งหมดจากเรืออวนลาก เรืออวนรุน และเรือปั่นไฟประกอบด้วยลูกปลาทางเศรษฐกิจ เช่น ลูกปลาหลังเขียว ลูกปูม้า ลูกปลาจวด ร้อยละ 65 – 70 ของปริมาณปลาเป็ดที่จับได้ ในปีหนึ่งๆ สัตว์น้ำที่จับได้จากอวนรุนทุกขนาดมีประมาณ 26,289 ตัน ประกอบด้วยกุ้งใหญ่ ร้อยละ 15-16 ปูม้าร้อยละ 8-9 ปลาร้อยละ 7 ปลาหมึกร้อยละ 4-5 นอกนั้นเป็นสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ
       
        ซึ่งพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจดังกล่าวควรจะได้เติบโตมาเป็นอาหารให้กับผู้คน แต่ต้องถูกจับขึ้นมาในเวลาไม่อันควร สาเหตุหนึ่งที่สำคัญก็เพราะว่าการกวาดจับพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนด้วยเครื่องมือทำลายล้างอย่างอวนลาก อวนรุน เรือปั่นไฟ ที่ไม่สามารถขจัดออกไปได้จากท้องทะเลไทยก็เพราะว่าไปตอบสนองบริษัทผลิตอาหารสัตว์หรือนายทุนนักธุรกิจที่ส่งออกปลาป่นที่มักมีอำนาจเหนือข้าราชการหรือนักการเมืองในบ้านเรามาทุกยุคทุกสมัย เราจะพบว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาป่นไทยมีอัตราสูงขึ้น โดยในปี 2551 ประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกปลาป่น 2.4 หมื่นตัน ปี 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 2.6 หมื่นตัน และเฉพาะช่วงครึ่งแรกปี 2553 สามารถส่งออกสูงขึ้นถึง 8 หมื่นตัน นี่คือสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของวิกฤตสัตว์น้ำในทะเลของเรา
       
        วิกฤตทะเลไทยที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่ เราสามารถที่จะกู้มันกลับขึ้นมาได้ หากเราต่างตระหนักว่า ทะเลคือแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญของสังคม เป็นแหล่งประกอบอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับพี่น้องที่เป็นชาวประมงและอาชีพต่อเนื่องจากอาชีพประมงอีกมากมาย มีผู้คนที่ได้รับผลประโยชน์ทั้งโดยตรงและอ้อมจำนวนมาก ที่สำคัญทะเลเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมไทย ไม่ควรปล่อยปละละเลยให้ผู้คนที่มีฐานทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ต้องรับประทานแต่โปรตีนจากไก่เนื้อ วัวเนื้อ ปลานิลเลี้ยงกลายพันธุ์ที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่ควบคุมเบ็ดเสร็จ ทั้งพันธุ์ อาหารและยารักษาโรค จนทำให้เราลืมแหล่งอาหารโปรตีนธรรมชาติที่สังคมไทยเรามีอย่างเหลือเฟือ.

โดย บรรจง นะแส    28 พฤศจิกายน 2554
manager.co.th

8415
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า นางวิไลวรรณ สมความคิด มารดา นายวีระ สมความคิด ที่ถูกคุมขังที่เรือนจำเพรย์ซอว์ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ให้ประสานไปยังกระทรวงมหาดไทยกัมพูชา ขอนำแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากไทย เข้าไปรักษาโรครูมะตอย หรือโรคเก๊าท์ เนื่องจากเมื่อ 3 สัปดาหห์ที่ผ่านมานายวีระ มีอาการอ่อนเพลีย ปวดตามข้ออย่างหนัก ซึ่งตนเองได้ประสานไปยังสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ให้ประสานกระทรวงมหาดไทยกัมพูชา ขอให้นำแพทย์เข้าไปรักษา หรือนำตัวนายวีระ ออกมารักษาชั่วคราว ซึ่งล่าสุดได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ว่า ทางกระทรวงมหาดไทยกัมพูชา อนุญาตให้นำแพทย์จากไทย ทำการรักษาได้ทันที โดยกระทรวงการต่างประเทศจะประสานไปยังแพทย์ให้เดินทางไปรักษาโดยเร็วที่สุด
        ส่วนความคืบหน้าการขอพระราชทารอภัยโทษ นายวีระ และนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ หลังสถานการณ์น้ำคลี่คลายจะนัดหารือกับ นายฮอร์ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ภายในปีนี้ นอกจากนี้จะหารือ ถึงมาตรการชั่วคราวตามคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่รัฐสภาได้ผ่านความเห็นชอบแล้ว เนื่องจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศยังรอความชัดเจน เรื่องดังกล่าว
        นอกจากนี้จะหารือในกรอบคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา หรือ จีบีซี การประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือ เจบีซี และ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา หรือ เจซี ซึ่งจะนัดประชุมกับนายฮอร์ นัม ฮง ใกล้กับชายแดนไทยกัมพูชา ทั้งนี้มอบหมายให้ นายธีรกุล นิยม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ไปหารือกับ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในวันพรุ่งนี้ (29 พ.ย.) ว่าจะสามารถประชุมจีบีซีได้เมื่อไหร่

ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 พฤศจิกายน 2554

หน้า: 1 ... 559 560 [561] 562 563 ... 652