แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 556 557 [558] 559 560 ... 652
8356
ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์กของสหรัฐฯศึกษาพบว่า เพียงแค่เปลี่ยนมากินปลาปิ้งหรือเผา ชั่วอาทิตย์ละมื้อจะช่วยบำรุงสุขภาพสมอง ลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการหลงลืม ความจำถดถอย และเป็นโรคสมองเสื่อมให้น้อยลงได้

นักวิจัยได้พบจากการวิจัยโดยการตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ว่า การกินปลาปิ้งหรือเผา จะช่วยอภิบาลเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์บริเวณสมอง ที่ถือว่าสำคัญกับความจำและสติปัญญามีความแข็งแรง

ดร.ไซรัส ราชิ ระบุว่า “ผู้ที่กินปลาปิ้งหรือเผาจะมีสมองที่โตกว่าคนอื่น จะมีเซลล์สมองในบริเวณที่เกี่ยวข้องกับความจำและเรียนรู้โตกว่า เหตุผลที่สำคัญก็คือ สมองส่วนนี้มีความเสี่ยงสูงกับโรคสมองเสื่อมด้วย” เขายังเสริมอีกว่า “ทั้งยังพบว่าความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อม และสติปัญญาเสื่อมจะถดถอยลงภายในระยะเวลา 5 ปี ลงถึง 5 เท่า”.

ไทยรัฐออนไลน์ 9 ธค 2554

8357
วารสารของวิทยาลัย “หทัยวิทยา” สหรัฐฯ รายงานว่า ทีมนักวิจัยอังกฤษ และอิตาลี ศึกษาพบว่าหากกินกล้วยหอมวันละ 3 ลูก จะสามารถลดความเสี่ยงการเป็นลมอัมพาตลงได้

พวกเขาแนะว่า ให้กินกล้วยหอมมื้อละหนึ่งลูก จะทำให้ได้โปแตสเซียม ป้องกันการเกิดก้อนเลือดอุดตันในสมอง ได้ถึงร้อยละ 21 หากจะกินอาหารที่มีโปแตสเซียมอย่างอื่น เช่น ผักโขม ถั่ว ปลา ถั่วแขกชนิดเม็ดแดงและเหลืองแทน ก็ได้เช่นกัน

กล้วยหอมแต่ละลูกจะมีโปแตสเซียมอยู่ประมาณ 1,600 มิลลิกรัม แร่ธาตุนี้ มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตและควบคุมปริมาณของเหลวในร่างกาย หากขาดมันจะทำให้หัวใจเต้นไม่ปกติ มีอารมณ์ฉุนเฉียว  คลื่นเหียนวิงเวียน และท้องร่วง

พวกเขาได้ประมาณว่า หากชักชวนให้ประชาชนบริโภคอาหารที่อุดมด้วยโปแตสเซียม และลดเกลือให้น้อยลง จะช่วยลดยอดผู้เสียชีวิตจากโรคลมอัมพาตปีหนึ่งๆ ลงได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านราย.

ไทยรัฐออนไลน์ 9 ธค 25554

8358
นายกแพทยสภาเผย มติเอกฉันท์ตั้ง "พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา" เป็นกรรมการแพทยสภาคนใหม่แทน "นพ.สุรินทร์ ทองมา" มีผลทันที รับมีความขัดแย้ง แต่ไม่ส่งผลการทำหน้าที่...

เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการแพทยสภา ว่า ได้เสนอชื่อ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ต่อที่ประชุม เพื่อให้เป็นกรรมการแพทยสภาคนใหม่แทน นพ.สุรินทร์ ทองมา เนื่องจาก พญ.เชิดชู เป็นบุคคลที่ได้รับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นลำดับถัดไปในการเลือกตั้ง กรรมการแพทยสภา วาระ พ.ศ.2554-2556 เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2554 จึงสมควรที่จะเข้ามาทำหน้าที่กรรมการแพทยสภาคนใหม่ตามธรรมเนียมปฏิบัติที่เคยกระทำมา เมื่อมีกรรมการแพทยสภาคนใดคนหนึ่งลาออก ซึ่งคณะกรรมการได้ลงคะแนนเสียงรับรองเป็นเอกฉันท์ ส่งผลให้ พญ.เชิดชู สามารถปฏิบัติงานในฐานะกรรมการแพทยสภาได้ทันที และแพทยสภาจะเชิญเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการครั้งแรกในวันที่ 12 ม.ค. 2555

“ขณะนี้ถือว่า พญ.เชิดชู ได้เป็นกรรมการแพทยสภาคนใหม่แล้ว เพราะมีผลทันทีนับตั้งแต่ที่คณะกรรมการรับรอง จากนี้จะเดินหน้าทำงานร่วมกัน เนื่องจากการเป็นกรรมการแพทยสภาจะต้องทำหน้าที่ด้วยความเสียสละเพื่อประชาชน ขอยืนยัน พญ.เชิดชู ไม่ได้มีปัญหาหรือความขัดแย้งในการทำงานร่วมกับกรรมการ แพทยสภาบางคน แม้ พญ.เชิดชู จะมีความเห็นบางเรื่องไม่ตรงกับกรรมการแพทยสภาบางคน แต่ถือเป็นเรื่องปกติ และสามารถทำงานร่วมกันได้” ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กล่าว

นายกแพทยสภา กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการแพทยสภาครั้งนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบผลการดำเนินการของแพทย์อาสา แพทยสภาที่ร่วมออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในการให้บริการประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยมีสมาชิกจากคณะแพทยศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัย สังกัดกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สมัครเข้าร่วมกว่า 500 คน และมีการออกหน่วยทุกวัน วันละ 4 คน ทั้งนี้ ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าการรวมตัวของแพทย์เพื่อช่วยเหลือประชาชนครั้งนี้ เป็นพลังที่ทำให้แพทย์ใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น จะส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และประชาชนค่อยๆ ดีขึ้น และกลับมาสู่ความผูกพันกันเช่นในอดีต.

ไทยรัฐออนไลน์
โดย ทีมข่าวการศึกษา
8 ธันวาคม 2554


8359
ประเด็นที่ 5    ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และการบรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (Job Specification)

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งหน่วยงานในกำกับของรัฐถือเป็นองค์การมหาชนประเภทหนึ่ง แต่มีความแตกต่างจากองค์การมหาชนในเรื่องกฎหมายจัดตั้ง ความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ และลักษณะของภารกิจ แต่หลักเกณฑ์พื้นฐานในการจัดตั้งองค์กรยังมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับองค์การมหาชน คือ เมื่อรัฐบาลมีนโยบายด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ หากการจัดทำบริการสาธารณะนั้นมีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งหน่วยงานบริหารขึ้นใหม่ที่แตกต่างไปจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานบริหารที่จัดตั้งขึ้นใหม่นั้นมีความมุ่งหมายให้มีการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรและบุคลากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จากหลักเกณฑ์พื้นฐานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การมหาชนมีความสำคัญอย่างมาก จากการตรวจสอบการบริหารทรัพยากรบุคคลของ สปสช. พบว่าค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสูงกว่าเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และการบรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

5.1   สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสูงเกินกว่าหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

จากการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนบุคลากรและค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรตั้งแต่เริ่มจัดตั้งในปีงบประมาณ 2546 - 2552 พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 และวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 เรื่องการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินเดือน หลักเกณฑ์การกำหนดเบี้ยประชุม และการพัฒนาการดำเนินงานและการประเมินผลองค์การมหาชน โดยกำหนดกรอบวงเงินรวมสำหรับค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสำหรับองค์การมหาชน เช่น เงินเดือน ค่าตอบแทน และเบี้ยประชุม เป็นต้น ไว้ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินอุดหนุนประจำปี และหากองค์การมหาชนใดไม่สามารถดำเนินการให้อยู่ในกรอบวงเงินดังกล่าวได้ให้นำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อพิจารณาเป็นรายกรณี โดยให้ขอความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณเพื่อประกอบการพิจารณา แต่จากการตรวจสอบข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรของ สปสช. พบว่าตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 เป็นต้นมา สปสช. มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสูงกว่าอัตราที่คณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ข้างต้นทุกปี โดยไม่ได้เสนอไปยัง ก.พ.ร. เพื่อพิจารณาแต่อย่างใด ปรากฏดังตาราง


ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์การจ้างเจ้าหน้าที่และบุคลากรประเภทอื่น ๆ ของ สปสช. จะเห็นได้ว่ามีการจ้างเกินกว่ากรอบอัตรากำลังที่คณะกรรมการกำหนด โดยมีรายละเอียดปรากฏตามตาราง

ที่มา : สำนักบริหารทรัพยากรบุคคลและการเปลี่ยนแปลง สปสช.

หมายเหตุ :

1. ปีงบประมาณ 2548 - 2551 สปสช. มีการจ้างพนักงานตามข้อบังคับฯ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2546 ข้อ 15 ซึ่งกำหนดว่า “ในกรณีที่จำเป็นโดยสภาพของงานที่มีลักษณะเฉพาะ หรืองานที่มีลักษณะหรือเวลาของการปฏิบัติงานเป็นพิเศษ หรืองานที่มุ่งหมายความสำเร็จของงานเป็นหลัก เลขาธิการอาจจ้างบุคคลที่เห็นสมควรให้ปฏิบัติงานดังกล่าวเป็นการเฉพาะก็ได้ โดยทำเป็นสัญญาจ้าง บุคคลดังกล่าวมิให้ถือว่าเป็นลูกจ้างตามข้อบังคับนี้”

2. ปีงบประมาณ 2552 สปสช. มีการจ้างลูกจ้างตามข้อบังคับฯ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2546 ข้อ 8(2) ซึ่งกำหนดว่า ผู้ปฏิบัติงาน มี 3 ประเภท ดังนี้ ...(2) ลูกจ้าง ได้แก่ บุคคลผู้ซึ่งสำนักงานจ้างให้ทำงานโดยมีการกำหนดระยะเวลาจ้างไว้ในสัญญาจ้าง...”

5.2 มีการบรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งงาน (Job Specification)

คำอธิบายลักษณะงาน (Job description) ของ สปสช. ได้กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งงาน (Job Specification) ของเจ้าหน้าที่ไว้ 4 ด้าน คือ ด้านคุณวุฒิการศึกษา ด้านประสบการณ์ ด้านความรู้และทักษะ และด้านสมรรถนะ จากการตรวจสอบคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งงานด้านคุณวุฒิการศึกษาของเจ้าหน้าที่ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 ในสำนักนโยบายและแผน สำนักบริหารสารสนเทศการประกัน และสำนักงานสาขาเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้นจำนวน 111 อัตรา ปรากฏดังตาราง


จากตาราง พบว่าการบรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งงานรวมทั้ง 3 สำนักมีเพียงร้อยละ 8.11 ของจำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมด แต่หากพิจารณาเป็นรายสำนักแล้วพบว่าสำนักบริหารสารสนเทศการประกันมีการบรรจุเจ้าหน้าที่ไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งงานในอัตราที่ค่อนข้างสูงคือร้อยละ 19.44 ของจำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดในสำนัก โดยตำแหน่งที่มีการบรรจุแต่งตั้งไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งงานได้แก่ ผู้อำนวยการสำนัก ผู้เชี่ยวชาญ และหัวหน้ากลุ่มงาน ตำแหน่งละ 1 คน และเจ้าหน้าที่อาวุโสและหัวหน้างานตำแหน่งละ 2 คน ถึงแม้ว่า สปสช. จะได้กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งงานไว้ 4 ด้านดังกล่าว แต่เนื่องจากคุณสมบัติด้านคุณวุฒิการศึกษาของเจ้าหน้าที่เป็นคุณสมบัติเบื้องต้นที่จำเป็นและสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดได้อย่างชัดเจนในเรื่องความรู้ความสามารถ ดังนั้นการบรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไม่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งงานด้านคุณวุฒิการศึกษาที่กำหนดไว้ย่อมส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานของ สปสช. เนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอาจมีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอ และเป็นการบั่นทอนขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่มีความสามารถมากกว่าแต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง

ข้อเสนอแนะ ประเด็นที่ 5 ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และการบรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง (Job Specification)

เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีข้อเสนอแนะให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาดำเนินการ ดังนี้

 1. ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 และวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 เกี่ยวกับการกำหนดกรอบวงเงินรวมสำหรับค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรอย่างเคร่งครัด

 2. ให้มีการบรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ให้ตรงตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งงาน (Job Specification) อย่างเคร่งครัด
...


8360
ปีพุทธศักราช 2507 เป็นปีแรกที่ผมต้องจากบ้านสามชุก สุพรรณบุรี มาอยู่กรุงเทพมหานคร ในช่วงชีวิตที่ยังไม่พ้นวัยรุ่น ผมเข้ามาเรียนต่อที่วิทยาลัยครูจันทรเกษม ซอยสังขะวัฒนะ 2 ถนนลาดพร้าว

ครั้งหนึ่ง วิทยาลัยครูจันทรเกษมเคยให้พวกเราเดินทางไปโบกธงชาติรอรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่ริมทางถนนพหลโยธิน ครั้งนั้นขบวนเสด็จผ่านไปเร็วเกินกว่าที่ผมจะมองเห็นพระองค์และสมเด็จพระราชินีในรถยนต์พระที่นั่งได้ชัดเจน แต่ก็ถือเป็นบุญแห่งชีวิตเด็กหนุ่มลูกแม่ค้าขนมถ้วยคนทำไร่ทำนาธรรมดาอย่างผมเป็นล้นพ้น บันทึกได้ว่าเป็นช่วงเวลาของชีวิตที่ผมรู้สึกตื่นเต้นตรึงใจเป็นที่สุด ไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าจะมีโอกาสใกล้ชิดพระเจ้าอยู่หัวของแผ่นดินที่พ่อผมใช้ปลูกข้าวและทำนาแห้วมานานปี ผมทราบดีว่าไร่นาที่บ้านผมใช้พักพิงและทำกินอยู่นั้น แม้เป็นทางการจะมีหลักฐานเอกสารบ่งบอกว่าเป็นของครอบครัวพ่อแม่ผม แต่โดยทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแล้ว แผ่นดินที่ผมอยู่อาศัยและใช้ทำกินนั้น โดย “ทางกาล” แล้ว เป็นของพระเจ้าอยู่หัวทุกตารางนิ้ว

เพราะผมเป็นพสกนิกรแห่ง “ราชอาณาจักรไทย” ผมจึงสำนึกเสมอว่าพื้นที่ทุกส่วนของแผ่นดินไทยล้วนเป็นแผ่นดินของพระราชาทั้งสิ้น ตำราประวัติศาสตร์ไทยที่ผมเล่าเรียนเขียนอ่านมาแต่วัยเด็กบ่งบอกถึงพระราชวิริยะอุตสาหะของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ที่ทรงสร้างบ้านแปงเมือง ปกป้องแว่นแคว้น ขยายดินแดน เพื่อสถาปนาความมั่นคงยั่งยืนให้กับราชอาณาจักรและพสกนิกรพลเมืองสยามประเทศของพระองค์

ทรงทำเช่นนี้ต่อเนื่องมา ทุกราชวงศ์ ทุกช่วงสมัยในกาลอดีต
ตั้งแต่ก่อนเริ่มสมัยราชอาณาจักรสุโขทัย
มาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ปัจจุบัน

ผมจึงไม่เคยมีคำถามให้กังวลสงสัยถึงความยิ่งใหญ่ของของชนชาติไทยว่ามีความเป็นมาอย่างไร
และใครคือผู้สร้างแผ่นดินไทยให้เราได้อยู่และเติบโตร่มเย็นเป็นสุขมาจนทุกวันนี้

ยิ่งด้วยเหตุที่ว่าผมเป็นชาวสุพรรณฯ ผมจึงรู้เรื่องดอนเจดีย์ แดนยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงชนช้างชนะพระมหาอุปราชาแห่งพม่า ทำให้ชนชาติไทยได้คืนเอกราชและความยิ่งใหญ่ของแผ่นดินไทยกลับคืนมา ประวัติศาสตร์ไทยทุกช่วงเวลาบอกย้ำกับผมทุกนาทีว่าแผ่นดินไทยทุกถิ่นฐานเป็นแผ่นดินของพระเจ้าอยู่หัว เป็นดินแดนของพระราชา เป็นราชอาณาจักรที่ยืนยงคงอยู่อย่างยิ่งใหญ่มาจนทุกวันนี้ก็เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยความยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ เป็นเวลายาวนานเกือบพันปีแล้ว

ปีแรกที่ผมมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ผมคอยโอกาสที่จะไปชมพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ ท้องสนามหลวง เพราะเหตุที่ใครต่อใครก็บอกกับพ่อผมมานานหลายปีแล้วว่าในพระราชพิธีนี้หากใครได้ไปร่วมชมแล้วอาจโชคดีได้รับข้าวเปลือกที่หว่านในพระราชพิธีมาผสมกับข้าวปลูกในนาก็จะเป็นศิริมงคลอย่างที่สุด ผมจึงไปยืนชมพระราชพิธีแรกนาฯกับเขาด้วย แม้จะอยู่ไกลจากบริเวณงาน แต่พอถึงเวลางานเลิกแล้วผมก็วิ่งแหวกฝูงชนเข้าไปกวาดเก็บเศษข้าวเปลือกมาได้หนึ่งกำมือใส่กระเป๋ากางเกง ทั้งเศษดินฝุ่นทั้งข้าวเปลือก นำกลับไปสุพรรณฯให้พ่อวางขึ้นหิ้งบูชาที่บ้านสามชุก รอเวลาที่จะไปผสมกับพันธุ์ข้าวปลูกในหน้าทำนาต่อไป

เป็นพระมหากรุณาธิคุณที่นาข้าวของพ่อได้พันธุ์ข้าวเปลือกมหามงคลจากท้องสนามหลวงในปีนั้น

บ้านผมมีที่ดินเพียง10 ไร่ แบ่งทำนาราว 6 ไร่ ที่เหลือเป็นสระน้ำ ปลูกไม้ยืนต้นและส้มสุกลูกไม้ผลไม้พื้นบ้านตลอดจนแปลงผักสวนครัว ทำลานตากข้าว และแบ่งที่สำหรับปลูกบ้านอยู่อาศัย ในสมัยนั้นยังไม่มีคำว่า “ไร่นาสวนผสม” ยังไม่เกิด “ทฤษฎีใหม่” ยังไม่มีใครรู้จัก “เศรษฐกิจพอเพียง” แต่สิ่งที่พ่ออุยและแม่แม้นของผมทำก็มีคุณค่าใกล้เคียงกับ “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ทฤษฎีใหม่” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพร่ำสอนพสกนิกรของพระองค์ในยุคปัจจุบัน

ปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเสด็จเยือนโครงการชลประทานอำเภอสามชุกของผม ซึ่งเป็นช่วงชีวิตที่ผมเป็นเด็กเกินกว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับเสด็จแบบใดๆได้ แต่กระนั้นครอบครัวของผมก็ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงตามปรัชญาเศรษฐกิจของพระเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่ผมจำความได้แล้วนานหลายปีก่อนที่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะได้รับการประกาศโดยพระราชดำรัสอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517

พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานน้ำให้ชาวสุพรรณได้ทำนาอย่างอุดมสมบูรณ์ตั้งแต่ก่อนผมเกิดแล้ว

ในวัยแรกเริ่มต้นชีวิต ถึงผมจะไม่เคยมีโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวอย่างใกล้ชิดเลย แต่ผมก็ถือเอาเองว่าผมและพ่อแม่พี่น้องผมทุกคนได้ใช้ชีวิตในแนวทางที่ใกล้ชิดกับปรัชญาของพระองค์อย่างแนบแน่นที่สุดมาโดยตลอด

อาจจะด้วยผลแห่งบุญกรรมที่ทำไว้แต่ใดมาก็เกินกว่าที่ผมจะอธิบายได้ ในที่สุดผมก็ได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทอย่างที่ไม่เคยนึกว่าจะมีโอกาสเช่นว่านี้มาก่อนเลย ในฐานะอาจารย์บรรจุใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2516 ข้ามมาถึงปีพระราชทานปริญญาบัตรถัดมา ผมได้รับหน้าที่เป็นผู้ถือพานถวายใบปริญญาบัตรในพิธี ณ หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยหัวใจอันระทึก ผมนั่งพับเพียบ ทางเบื้องขวาล่างของพระเก้าอ้ีประทับ ผมทำหน้าที่ขยับเล่มปริญญาบัตรให้ได้เหลี่ยมมุมเพื่อพระองค์จะได้ทรงหยิบไปพระราชทานให้บัณฑิตต่อไปโดยสะดวก ผมได้เข้าเฝ้าใกล้ชิดพระหัตถ์ขวาของพระเจ้าอยู่หัวอย่างที่ไม่เคยมีใครในจังหวัดสุพรรณบุรีได้โอกาสใกล้ชิดเช่นนั้นเลย ผมแอบเงยขึ้นมองพระหัตถ์ที่ทรงเอื้อมลงมาที่พานวางใบปริญญาบัตร และแอบมองเลยขึ้นไปถึงพระพักตร์ด้วยสองสามครั้ง เป็นความใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทและพระหัตถ์โดยตรงเป็นครั้งแรกในชีวิตของผม

กาลผ่านไป ผมผันแปรชีวิตจากนักวิชาการไปเป็นสื่อสารมวลชนนักจัดรายการวิทยุ เป็นนักข่าวและผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ จากการจัดรายการวิทยุ “โลกยามเช้า” ของผมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ทำให้ผมมีโอกาสถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงของผมเองได้โดยตรงทุกปี ยิ่งเมื่อทราบในเวลาต่อมาว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงงานไปจนถึงเช้ามืดแล้วทรงฟังรายการวิทยุ “โลกยามเช้า” ของผมด้วยก่อนเข้าพระบรรทม ก็ยิ่งทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นและทราบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นที่สุดแห่งชีวิต  ณ เย็นวันที่ 4 ธันวาคม ปีหนึ่ง ระหว่างมีพระราชดำรัสเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ถ่ายทอดสดเสียงออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยในเวลาประมาณ 16:00 น. และบันทึกเทปออกอากาศโดยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยในเวลาค่ำหลัง 20:00 น. ปรากฏว่ามีเสียงโทรศัพท์มือถือดังแทรกขึ้นมาระหว่างมีพระราชดำรัสและออกอากาศอยู่ พอถึงในเช้าวันรุ่งขึ้นผมก็วิจารณ์เรื่องนี้ในรายการวิทยุ “โลกยามเช้า” ของผมทันทีอย่างไม่ยั้งคิดว่า “ยุคที่โทรศัพท์มือถือกำลังเป็นของใหม่นี้นั้นทุกคนควรระมัดระวัง โดยเฉพาะในงานพิธีสำคัญๆก็ไม่ควรเปิดโทรศัพท์ทิ้งไว้เพราะอาจเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ดังที่เกิดในระหว่างมีพระราชดำรัสเมื่อวานนี้ได้”...

“ใครหนอช่างไม่ระมัดระวังเอาเสียเลย ทำไมไม่รู้จักปิดโทรศัพท์เสียก่อนจะเข้าร่วมงานพิธีสำคัญเช่นนี้”, ผมบ่นดังๆในรายการวิทยุของผมที่ FM 90 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์

เนื่องจากรายการ “โลกยามเช้า” ของผมมีผู้ฟังมาก ผู้ฟังผู้ใกล้ชิดในพระองค์ก็แจ้งให้ผมทราบทันทีหลังคำวิจารณ์ตอนเช้าว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี คือเจ้าของโทรศัพท์มือถือเครื่องที่เป็นปัญหาเครื่องนั้น!

ทราบแล้วหัวใจผมแทบหยุดเต้น
หากเป็นสมัยโบราณหัวผมคงหลุดจากบ่าไปแล้ว
คำวิจารณ์โดยขาดการยั้งคิดของกระผมกลายเป็นการวิจารณ์อันมิบังควร
ไม่สมควรจะได้รับพระราชทานอภัยโทษใดๆเลย

คุณปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา เจ้านายของผมและเจ้าของกิจการธุรกิจสื่อสารมวลชนที่ผมเป็นลูกจ้างในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ได้ก่อตั้งสถานีวิทยุ จ.ส.100 วิทยุข่าวสารและการจรจรในปี พ.ศ. 2534 โดยทราบกันดีเป็นการภายในว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในงานของ จส.100 มาก และทรงสนพระทัยอย่างใกล้ชิดในแทบทุกเรื่องที่ จส.100 ทำและเป็นประโยชน์ต่อพสกนิกรของพระองค์ จนอยู่มาวันหนึ่งพระองค์ทรงพระราชทานพระราชวโรกาสให้คุณปีย์ นำผมและคณะผู้ประกาศของ จส.100 ราว 30 คนเข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ทรงให้เวลาเข้าเฝ้านานถึงกว่าสองชั่วโมง ทรงมีพระราชปรารภเรื่องต่างๆเกี่ยวกับการทำงานของ จส.100 โดยเฉพาะการทำงานแปลกๆใหม่ของพวกเราที่สังคมไทยไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน ส่วนความผิดพลาดล่วงเกินของผมในรายการวิทยุ “โลกยามเช้า” ของผม ตอนที่วิจารณ์เรื่องโทรศัพท์มือถือดังผิดกาละเทศะในวันเฉลิมพระชนมพรรษานั้น ตลอดจนการวิจารณ์ข่าวสารการเมืองต่างๆของผมนั้น พระองค์ทรงบอกว่า :

“ยกให้คุณสมเกียรติเขาไปคนหนึ่งก็แล้วกัน”

เป็นอันว่าข้าพระพุทธเจ้าได้รับพระราชทานอภัยโทษจากพระเจ้าอยู่หัวแล้ว จะเรียกว่าอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ตาม!

นั่นเป็นความใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทอีกครั้งหนึ่งในชีวิต ใกล้ชิดในระดับเกือบพระอาญามิพ้นเกล้า
ดุจเป็นพระราชกระแสรับสั่งชุบชีวิตให้กับผม จากวันนั้นถึงวันนี้ ผมมีโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวอีกในสถานภาพเป็นทางการตามตำแหน่งหน้าที่ในชีวิตที่ผันแปรไป ในฐานะ :

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540
สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2550

มาวันนี้ วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2554 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุ ครบ 7 รอบ 84 พรรษา พอดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของผมและของประชาชนชาวไทยทั้งมวลทรงเข้าสู่ช่วงพระชนม์ชีพที่จะต้องทรงพักผ่อนพระวรกายให้มากหลังทรงตรากตรำพระราชภารกิจมายาวนานมากที่สุดกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในพระราชอาณาจักรใดบนโลกมนุษย์นี้

พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสสั้นๆถึงความห่วงใยต่อพสกนิกรของพระองค์ โดยเฉพาะในภาวะวิกฤติจากน้ำท่วมใหญ่ในปีนี้ พระองค์ทรงเตือนให้พวกเราเร่งช่วยกันแก้ปัญหาให้กับประชาชน พระองค์ทรงย้ำตอนหนึ่งว่า

“โดยเฉพาะขณะนี้ ประชาชนกำลังเดือดร้อนลำบากจากน้ำท่วม จึงชอบที่จะร่วมมือกัน ปัดเป่าแก้ไขให้ผ่านพ้นไปโดยเร็ว และจัดทำโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อย่างเช่น โครงการต่างๆ ที่เคยพูดไปนั้นเป็นการแนะนำ ไม่ได้สั่งการ แต่ถ้าเป็นการปรึกษากันแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ คุ้มค่า และทำได้ก็ทำ ข้อสำคัญจะต้องไม่ขัดแย้งแตกแยกกัน หากจะต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกันเพื่อให้งานที่ทำบรรลุผลที่มีประโยชน์ เพื่อความผาสุกของประชาชน และความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติ”

พระราชดำรัสของพระองค์ในปีนี้สะท้อนความเป็นนักประชาธิปไตยของพระองค์อย่างสูงสุดยอด สะท้อนความเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้กฎเกณฑ์ใหม่ของราชอาณาจักรที่พระองค์ทรงมอบอำนาจการปกครองโดยตรงไปให้ประชาชนจนหมดสิ้นแล้ว ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นกรอบประชาธิปไตยตามแบบตะวันตก ซึ่งเราเริ่มใช้กันมาได้เพียง 79 ปี ต่างไปจากศิลาจารึกหลักที่ 1 สมัยพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเป็นเสมือนรัฐธรรมนูญฉบับ (หรือหลัก) แรกของไทยที่บัญญัติขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ไทยในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อกว่า 700 ปีที่แล้ว

พระองค์ทรงทราบดีว่าไม่มีพระราชอำนาจจะสั่งการใดให้รัฐบาลทำสิ่งใดได้ ไม่ว่าจะรัฐบาลไหน แต่พระองค์ก็ทรงหวังว่าแนวพระราชดำริของพระองค์จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนของพระองค์ หากรัฐบาลเห็นพ้องด้วยว่าควรปฏิบัติตามเพราะเป็นประโยชน์

“ทำได้ก็ทำ”
เท่านั้นเอง ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงคาดหวังจากรัฐบาลและพสกนิกรของพระองค์

สำหรับผม พระราชดำรัสทุกกระแส ผมไม่ต้องปรึกษาใครให้ขัดแย้งกับใคร
ผมปฏิบัติตามได้เสมอทุกเรื่อง
ผมเองทำตามพระราชดำริมาตลอดชีวิต
และจะทำต่อไปจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต
เพราะพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช…
คือ...พระเจ้าอยู่หัวแห่งชีวิต...ของผม.

สมเกียรติ อ่อนวิมล
เดลินิวส์ 7 ธันวาคม 2554

8361
"ธงไตรรงค์" ธงชาติไทยจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของชาติที่สำคัญสูงสุดและเป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นชาติไทยที่ทั่วโลกรู้จักมากที่สุด

นับตั้งแต่การยกเลิกใช้ "ธงช้างเผือก" เป็นธงชาติสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ซึ่งตรงกับ พ.ศ.2459 และได้เปลี่ยนเป็นธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นเป็นธงชาติสยามสำหรับหน่วยงานราชการแทน พร้อมกันนั้นรัชกาลที่ 6 พระองค์ท่านยังทรงออกแบบธงแดงขาวห้าริ้ว ซึ่งมีที่มาจากการที่พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นชาวสยามไม่สามารถหาธงช้างเผือกมารับเสด็จได้ จึงมีการจัดหาผ้าสองสีเพื่อให้สีตรงกับธงช้างเผือก นั่นก็คือ สีแดงซึ่งเป็นพื้นของธงช้างเผือก และสีขาวคือตัวช้างเผือกมาใช้รับเสด็จแทน หลังจากที่พระองค์ท่านได้ทอดพระเนตรผ้าสองสีแล้ว จึงทำให้พระองค์ท่านมีพระราชดำริให้ประชาชนนำผ้าสองสีคือสีแดงและสีขาวมาตัดเย็บเองทำเป็นธงประดับและรับเสด็จอย่างง่าย ทั้งยังสะดวก ไม่สิ้นเปลือง จึงถือเป็นพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านที่ทรงมีสายพระเนตรอันกว้างไกลต่อประชาชนชาวสยาม โดยธงแบบนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ธงค้าขาย"

 หลายท่านอาจสงสัยว่ารูปร่างและแบบธงค้าขายนี้เป็นอย่างไร ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ต่างจากธงไตรรงค์เลย เพียงแต่แถบกลางที่เป็นสีน้ำเงินเข้มแต่เดิมเป็นสีแดงเท่านั้น และธงค้าขายนี้เองถือเป็นต้นแบบของธงไตรรงค์ และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงออกแบบด้วยพระองค์เองอีกเช่นกัน มีการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2460

 สาเหตุที่รัชกาลที่ 6 ทรงเปลี่ยนแถบกลางจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินเข้มเนื่องจากในขณะนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 สยามอยู่ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งธงของประเทศมหาอำนาจได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และอเมริกา ต่างเป็นธงชาติที่มีสีสามสีประกอบด้วยสีแดง สีขาว สีน้ำเงิน จึงเป็นเหตุทำให้พระองค์ท่านมีพระราชประสงค์ให้สยามได้ปรับเปลี่ยนสีธงให้เป็นไปตามสีของประเทศสัมพันธมิตร และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือสีน้ำเงินเข้มบนแถบกลางธงไตรรงค์ยังถือว่าเป็นสีประจำพระชนมวารหรือสีทรงโปรดของรัชกาลที่ 6 อีกด้วย และที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นคือที่มาของสีธงไตรรงค์ ซึ่งเป็นสีของธงชาติไทย

 ส่วนความหมายนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า

 ขอร่ำรำพรรณบรรยาย   ความคิดเครื่องหมาย แห่งสีทั้งสามงามถนัด
 ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์  หมายพระไตรรัตน์ และธรรมะคุ้มจิตไทย
 แดงคือโลหิตเราไซร้   ซึ่งยอมสละได้  เพื่อรักษาชาติศาสนา
 น้ำเงินคือสีโสภา   อันจอมประชา   ธ โปรดเป็นของส่วนองค์
 จัดริ้วเข้าเป็นไตรรงค์    จึ่งเป็นสีธง   ที่รักแห่งเราชาวไทย
 ทหารอวตารนำไป    ยงยุทธ์วิชัย   วิชิตก็ชูเกียรติสยามฯ

 ดังนั้นความหมายของธงชาติไทย ในพระราชนิพนธ์ “เครื่องหมายแห่งไตรรงค์” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อพ.ศ.2460 ได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ไว้ว่า สีแดง หมายถึง เลือดของเราที่สามารถยอมพลีเพื่อรักษาเอกราชของชาติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งคำสอนตามหลักพุทธศาสนาและการมีธรรมะประจำใจคนไทย สีน้ำเงิน หมายถึง สีทรงโปรดของพระองค์และเป็นสีประจำพระชนมวารของพระองค์ท่านด้วย ดังนั้นจึงเป็นสีประจำสถาบันพระมหากษัตริย์นั่นเอง

 "ธงไตรรงค์" ธงชาติไทยจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของชาติที่สำคัญสูงสุดและเป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นชาติไทยที่ทั่วโลกรู้จักมากที่สุด แต่การประดับธงไตรรงค์ ธงชาติไทย ร่วมกับธงสำคัญอื่นๆ มักมีการประดับที่ผิดระเบียบหรือผิดด้านอยู่เสมอ อาจเนื่องด้วยเพราะความไม่รู้หรือไม่เข้าใจในหลักการที่ถูกต้อง กล่าวคือการประดับธงไตรรงค์ ธงชาติไทย เราจะใช้ตัวเราเป็นหลัก โดยให้ตัวเราอยู่ในเคหะสถานหรือสถานที่ที่จะประดับธงชาติแล้วหันหน้าออกไปทางด้านหน้าของเคหะสถานหรือสถานที่นั้นๆ ตัวอย่างเช่นมองไปที่ประตูทางเข้าหรือบันไดทางขึ้นสู่อาคาร ส่วนด้านขวามือของเราจะเป็นการประดับธงชาติไทย ส่วนด้านซ้ายมือของเราจะเป็นการประดับธงสำคัญอื่นๆ อาทิเช่น ธงตราสัญลักษณ์ 84 พรรษา ซึ่งหลักการนี้สามารถใช้ได้กับการประดับธงชาติที่ยานพาหนะด้วย นั่นก็คือธงชาติไทยจะประดับทางด้านคนขับซึ่งเป็นด้านขวาเสมอ

 นอกจากนี้การประดับธงชาติไทยร่วมกับธงตราสัญลักษณ์ 84 พรรษา เคียงคู่กับพระบรมฉายาลักษณ์หรือบนเวทีนั้นมีหลักการและวิธีจำง่ายๆ ดังนี้ ให้ตัวเราหันหน้าไปในทิศทางเดียวกับพระบรมฉายาลักษณ์ โดยด้านขวามือของเราให้ประดับธงชาติไทย ส่วนบนเวทีก็เช่นเดียวกันคือให้เรายืนอยู่บนเวทีแล้วหันหน้าออกสู่ผู้ชม ด้านขวามือของตัวเราคือด้านที่ประดับธงชาติไทย

 แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่หลายท่านมักจะละเลยและไม่ปฎิบัติเกี่ยวกับการประดับธงไตรรงค์ที่ถูกต้องนั่นก็คือ การประดับธงไตรรงค์ร่วมกับธงสำคัญอื่นๆ โดยธงไตรรงค์นั้นต้องไม่อยู่ต่ำกว่าธงอื่นๆ และสภาพของผืนธงต้องไม่เก่ากว่าสีต้องไม่ซีดและขนาดผืนธงต้องไม่เล็กกว่าธงสำคัญอื่นๆ

 ส่วนเรื่องขนาดของผืนธงไตรรงค์ ธงชาติไทย ยังเป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกว่าท่านประดับด้วยธงชาติไทยหรือประดับเพียงแค่แถบผ้าสีธงชาติเท่านั้น กล่าวคือธงไตรรงค์ ธงชาติไทยต้องมีอัตราส่วนความกว้างต่อความยาว หกส่วนต่อเก้าส่วน (6 : 9) ตามที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนในพระราชบัญญัติธงนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2460 ตรงกับในสมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงพระราชบัญญัติธงที่มีการประกาศใช้ล่าสุดคือปีพ.ศ.2522 ตรงกับในสมัยรัชกาลที่ 9 โดยถ้าผืนธงชาติไทยที่ท่านประดับมีอัตราส่วนที่ผิดเพี้ยนไปจากนี้ ในทางกฏหมายจะไม่ถือเป็นธงชาติไทย แต่จะถือเป็นเพียงแถบสีธงชาติ แม้ว่าวัสดุที่ใช้จะเป็นผ้าและสามารถใช้ชักหรือประดับบนเสาได้ก็ตาม

 ตัวอย่างเช่น ผ้าชิ้นหนึ่งที่มีแถบสีแดงหนึ่งส่วน ขาวหนึ่งส่วน น้ำเงินเข้มสองส่วน ขาวหนึ่งส่วน แดงหนึ่งส่วน และมีขนาดความกว้าง 60 เซนติเมตร ความยาว 90 เซนติเมตร ผ้าผืนนี้ตามกฏหมายสามารถเรียกได้ว่าเป็นผืนธงไตรรงค์ ธงชาติไทย แต่ถ้าผ้าผืนดังกล่าวเปลี่ยนขนาดเป็นความกว้าง 60 เซนติเมตร ความยาว 100 เซนติเมตร หรือความยาวเพียง 80 เซนติเมตร ในทางกฏหมายจะไม่เรียกผ้าผืนนี้ว่าธงชาติไทย แต่จะเรียกว่า "ผ้าแถบสีธงชาติไทย"

 ดังนั้น การประดับธงไตรรงค์ ธงชาติไทย ร่วมกับธงสำคัญอื่นๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราคนไทยควรจะกระทำอย่างถูกต้อง ตามระเบียบแบบแผน เพื่อความสง่างาม ความพร้อมเพรียง และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชาติ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของแถบสี ขนาดผืนธง และวิธีการประดับที่ถูกต้อง

โดย : พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย
กรุงเทพธุรกิจ 8 ธันวาคม 2554

8362
ในมหาภัยพิบัติน้ำท่วมกรุง 2554 ​ผู้คนจำนวนมากดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหารจากถุงยังชีพ ​หรืออาหารปรุงสำ​เร็จที่มัก​เน้น​เรื่อง​การอิ่มท้อง ​และ​การ​เ​ก็บรักษา​ให้​ได้นาน​เป็นสำคัญ ​เนื่องจาก​ไม่สามารถหุงหาอาหาร​ได้ตามปกติ ​ซึ่งส่วนมากจะ​ทำ​ให้​เกิด​การขาดสารอาหารจำพวกวิตามิน​และ​เกลือ​แร่ต่างๆ ​ซึ่งมีรายงาน​การศึกษาวิจัยทาง​การ​แพทย์พบว่า ​การขาดวิตามินบี วิตามินซี ​แมกนี​เซียม ​เหล็ก กรดอะมิ​โนทริป​โท​เฟน ​การบริ​โภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง ​เป็นสา​เหตุที่สำคัญของพฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์​แปรปรวน

คำตอบสำหรับ​โภชนา​การที่ดี​ในภาวะภัยพิบัติ​เช่นนี้คือ กล้วย พืชสารพัดประ​โยชน์ที่หา​ได้ทั่วทุกพื้นที่​ในประ​เทศ​ไทย ​ซึ่งคน​ไทย​เรารู้จัก​ใช้ประ​โยชน์จากทุกส่วนของต้นกล้วย ​ทั้งลำต้น ​ใบ ปลีกล้วย มาตั้ง​แต่สมัย​โบราณ ​ถึงช่วงฤดูน้ำหลาก​ก็มี​การ​ใช้ต้นกล้วย​ทำ​แพลอยน้ำ มี​การ​แปรรูปกล้วย ​และถนอมอาหาร​เพื่อ​ให้​เ​ก็บ​ได้นาน​ไว้​เป็น​เสบียง ​เช่น กล้วยตาก กล้วยฉาบ กล้วยกวน ​เป็นต้น สิ่ง​เหล่านี้คือภูมิปัญญา ที่มูลนิธิ​เจ้าพระยาอภัยภู​เบศรหยิบยก ​เรื่องกล้วย กล้วย ขึ้นมา​ในช่วงนี้ ​โดย​เฉพาะสรรพคุณที่ช่วยคลาย​เครียด ลดอา​การซึม​เศร้า​ได้ ​เหมาะสำหรับ​แนะนำ​ผู้ประสบภัยหลังน้ำลด ที่ยังคงมีภาวะ​ความ​เครียดจากวิกฤติอยู่

ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร จากมูลนิธิ​เจ้าพระยาอภัยภู​เบศร กล่าวว่า "​ในกล้วยสุกมีกรดอะมิ​โนทริป​โท​เฟน​ในปริมาณสูงกว่าอาหาร​โปรตีนอื่นๆ กรดอะมิ​โนทริป​โท​เฟน​ในผลกล้วยถูก​เปลี่ยน​เป็น สารซี​โร​โทนิน ที่ช่วย​ให้​เกิดอา​การผ่อนคลาย ​ทำ​ให้มีอารมณ์ผ่อง​ใส มี​ความสุข ​และ​ทำ​ให้​เกิดอา​การง่วงนอน ดังนั้น​การกินกล้วยน้ำว้าสุก​เป็นของว่างหลังอาหาร​เย็น ​ก็อาจช่วย​ให้บางคน​เอาชนะอา​การนอน​ไม่หลับ​ได้

นอกจากนี้ กล้วยยังมีสรรพคุณ​ใน​การช่วยรักษา​โรคกระ​เพาะอาหาร ป้องกัน​การ​เกิด​แผล​ในกระ​เพาะอาหาร ​และอา​การกรดสะสม​ในร่างกาย รักษาอา​การท้อง​เสีย ท้อง​เดิน ด้วย​การนำกล้วยดิบมาหั่นบางๆ ตาก​แดด​ให้​แห้ง ​แล้วบด​ให้ละ​เอียด​เป็นผง​แป้ง ปั้นกับน้ำผึ้ง​เป็นลูกกลอน กิน 3 ​เม็ดก่อนอาหาร​และก่อนนอน ​หรือ​ใช้กล้วยดิบ​ทั้ง​เปลือก ฝานบางๆ ผึ่งลม​ให้​แห้ง ​ใช้กินครั้งละครึ่ง​ถึง 1 ผล ​เมื่อกินยานี้​แล้วอาจมีอา​การท้องครึ่ง​ถึง 1 ผล ​เมื่อกินยานี้​แล้วอาจมีอา​การท้องอืดท้อง​เฟ้อ ​ซึ่ง​แก้​ได้​โดย​การดื่มน้ำขิง​หรือรับประทานสมุน​ไพรขับลมอื่นๆ ควบคู่กัน ​การรับประทานกล้วยดิบ​หรือกล้วยห่าม สาร​ในกล้วยที่ชื่อว่า ​แทนนิน จะช่วยยับยั้ง​การ​เจริญ​เติบ​โตของ​เชื้อ​โรค ​ในขณะ​เดียวกัน​ก็ช่วยป้องกันผนังลำ​ไส้จาก​เชื้อ​โรค ​และป้องกันสารที่มีรสจัด ​เช่น พริก ​เข้า​ไป​ทำลายลำ​ไส้ด้วย

​ในสภาวะน้ำท่วมนี้ ​เรา​ก็สามารถ​ใช้กล้วยที่​เป็น​ได้​ทั้งยา​และอาหารที่ดี​และหา​ได้ง่าย สำหรับคนที่มีอา​การท้อง​เสีย ​เพราะยังช่วยหล่อลื่นลำ​ไส้ ​เพิ่มกาก​ใย​ใน​การขับถ่ายอีกด้วย กล้วยยังมี ธาตุ​โป​แตส​เซียมสูง ​ซึ่งตามธรรมดาคน​ไข้​เวลาท้อง​เสีย​หรือท้องร่วง มักสูญ​เสียธาตุ​โป​แตส ​เซียม กล้วย​จึงสามารถชด​เชยธาตุ​โป​แตส​เซียมที่​เสีย​ไป ​ซึ่งถ้าร่างกายสูญ​เสียธาตุ​โป​แตส​เซียม​ไปมากๆ ขณะท้องร่วง จะ​ทำ​ให้​การ​เต้นของหัว​ใจผิดปกติ หาก​เกิด​ในคนชราอาจ​ทำ​ให้​เกิดอา​การหัว​ใจวาย ​เป็นอันตราย​ถึงชีวิต​ได้ ​ซึ่งธาตุ​โป​แตส​เซียมนี้​เอง ยังสามารถ​ใช้​เป็นอาหารสำหรับ​ผู้ป่วย​ความดัน​โลหิตสูง​ได้ดีอีกด้วย

สำหรับ​ผู้มีอา​การท้องผูก ควรรับประทานกล้วยสุกงอมประมาณ 1-6 ลูกต่อวัน ขึ้นอยู่กับอา​การว่าท้องผูกมาก​หรือน้อย สาร​เพ็กตินที่มีมาก​ในกล้วยสุกงอมจะช่วย​เพิ่มกากอาหาร​ในลำ​ไส้ กากอาหาร​เมื่อมีมากขึ้น จะ​ไปดันผนังลำ​ไส้ ​เพื่อ​ให้ผนังลำ​ไส้บีบตัว​ไล่กากอาหารออกมา ​เราจะรู้สึกปวดถ่าย ผลสุกของกล้วยยัง​ใช้รักษาสมดุลของระบบทาง​เดินอาหาร ​และ​เป็นยาระบายอย่างอ่อน ​ใช้รักษาอา​การของลำ​ไส้​ใหญ่​และ​โรคทางทวาร

นอกจากประ​โยชน์จาก​การรับประทานผลของกล้วย​แล้ว ยางกล้วย ยัง​ใช้ช่วยรักษา​แผล ห้าม​เลือด ​และฆ่า​เชื้อ ​ทำ​ให้​ไม่​เป็น​แผล​เป็น ​เปลือกด้าน​ในของกล้วยน้ำว้าสุก ​ใช้ทา ถู บริ​เวณยุงกัด ​หรือมดกัด ​หรือ​เป็นผื่นคัน​เนื่องจากลมพิษ​ได้ กาบกล้วย ​ใช้คั้น​เอาน้ำรักษา​แผล​ไฟ​ไหม้น้ำร้อนลวก ​หรือนำรากกล้วยมาฝาน​เป็นชิ้น ​โขลก​ให้ละ​เอียด ​แล้วนำมาพอก สามารถ​ใช้รักษาผิวหนังที่​แดงปวด​เนื่องจากถูก​แดด​เผา​ได้อีกด้วย ปลีกล้วย ​ผู้หญิงคลอดลูก​ใหม่ สามารถนำปลีกล้วยมาต้มกินจะช่วย​ให้มีน้ำนม

หน้าหนาวนี้ ศูนย์​การ​เรียนรู้​การดู​แลสุขภาพภาคประชาชนด้าน​การ​แพทย์​แผน​ไทย อภัยภู​เบศร ​ได้นำ​ความรู้ด้าน​การ​แพทย์​แผน​ไทย ​การสาธิต​การ​ใช้ "​เปลือกกล้วย" ที่อุดม​ไปด้วยสาร​แทนนิน มีสรรพคุณช่วยสมานผิว นำมา​ทำ​เป็นน้ำมันบำรุงผิว​ให้สวย พร้อม​เพิ่ม​ความชุ่มชื้น​ให้​แก่ผิว ด้วยวิธี​การง่ายๆ ​โดย​การนำ​เปลือกกล้วยน้ำว้า 1 หวี มาปั่น​หรือคั้น​เอา​แต่น้ำ มา​เคี่ยวกับน้ำมันรำข้าวด้วย​ไฟ​หรือคั้น​เอา​แต่น้ำ มา​เคี่ยวกับน้ำมันรำข้าวด้วย​ไฟปานกลาง จนน้ำมัน​ไม่มี​การกระ​เด็น​แล้ว นำมาทาผิวบริ​เวณที่​แห้งกร้าน ​หรือบริ​เวณที่ต้อง​การ​ความชุ่มชื้น ​และสำหรับท่านที่​ไม่มี​เวลา สามารถนำ​เปลือกกล้วยมาขัดถูบริ​เวณที่​แห้งกร้าน ​เช่น บริ​เวณส้น​เท้า ข้อศอก​ได้ทันที นอกจากนี้ทางศูนย์​การ​เรียนรู้ฯ ยัง​ได้​เตรียมน้ำสมุน​ไพรอุ่นๆ ต้อนรับลมหนาว​ให้​ได้ชิมหมุน​เวียนผลัด​เปลี่ยนกัน​ไปทุกสัปดาห์ อาทิ น้ำขิง-​ใบกะ​เพรา ที่ช่วย​เพิ่ม​ความอบอุ่น​ให้​แก่ร่างกาย​และช่วย​แก้​ไอ น้ำขิง-กระ​เจี๊ยบ ที่ช่วย​เพิ่ม​ความอบอุ่น​ให้​แก่ร่างกาย​และช่วยบำรุง​เลือด

ถ้าท่าน​ใดสน​ใจ​เยี่ยมชมศูนย์​การ​เรียนรู้​การดู​แลสุขภาพภาคประชาชนด้าน​การ​แพทย์​แผน​ไทย อภัยภู​เบศร ​ได้ทุกวัน​เสาร์-อาทิตย์ ​และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ​หรือติดต่อสอบถามข้อมูล​ความรู้​เรื่องสมุน​ไพร ​และ​การ​แพทย์​แผน​ไทย​ได้ที่ มูลนิธิ​เจ้าพระยาอภัยภู​เบศร จ.ปราจีนบุรี หมาย​เลข​โทรศัพท์ 0-3721-1289 ทุกวัน​เวลาราช​การ.

ไทย​โพสต์  8 ธันวาคม 2554

8363

ภาพอธิบายการเกิดจันทรุปราคาที่เกิดจากการโคจรของดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดของโลก (สดร.)


ภาพอธิบายการเกิดคราสในวันที่ 10 ธ.ค. ซึ่งดวงจันทร์จะเข้าไปด้านใต้ของเงามืด (สดร.)

 10 ธ.ค.นี้ชมปรากฏการณ์ “จันทรุปราคา” ที่เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งบนโลกและดาวพฤหัสส่งท้ายปลายปี ด้าน สดร.ประสานงานเครือข่ายจัดกิจกรรม 10 แห่งทั่วประเทศ พร้อมถ่ายทอดสัญญาณทั้งสองปรากฏการณ์ผ่านอินเทอร์เน็ต ชี้เป็นปรากฏการณ์ธรรมดาที่เกิดได้บ่อยและคำนวณได้ล่วงหน้านับพันปี
       
       ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร.กล่าวว่า ในวันที่ 10 ธ.ค.54 จะเกิดปรากฏการณ์อุปราคาส่งท้ายปี 2554 โดยเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 2 ที่คนไทยจะได้เห็นในปีนี้ โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ 16 มิ.ย.54 ซึ่งในครั้งนั้นหลายคนพลาดโอกาสชมเพราะมีเมฆเยอะ ทาง สดร.เองได้ถ่ายทอดปรากฏการณ์ ซึ่งมีหลายช่วงที่ฟ้าเปิดและสามารถบันทึกภาพปรากฏการณ์ไว้ได้
       
       “จันทรุปราคามีความถี่ในการเกิดน้อยกว่าสุริยุปราคา แต่เราเห็นการเกิดจันทรุปราคาพร้อมกันทั่วโลกได้ง่ายกว่า และจะเกิดได้ในช่วงที่จันทร์เต็มดวงเท่านั้น โดยโลก ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ต้องอยู่ตรงกัน ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นทุกเดือน จันทรุปราคาเต็มดวงเกิดการที่ดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามืดของโลก ซึ่งมีลักษณะเป็นกรวยสามเหลี่ยมทอดออกไปในอวกาศ” ดร.ศรัณย์อธิบาย
       
       สำหรับปรากฏการณ์ในวันที่ 10 ธ.ค.นี้ รอง ผอ.สดร.แจงว่าดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกเวลา 18.33 น.แต่เราจะสังเกตการเปลี่ยนแปลงได้ยาก ยกเว้นคนที่สังเกตดวงจันทร์บ่อยๆ จะเห็นว่าดวงจันทร์หมองลง จากนั้นเวลา 19.46 น.ดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามืด ซึ่งเราจะได้เห็นการเกิดจันทรุปราคาบางส่วน และจะจันทรุปราคาเต็มดวงเวลา 21.06 น.และสิ้นสุดที่เวลา 21.57 น. จากนั้นจะเหมือนการฉายภาพย้อนกลับ คือจันทร์จะเริ่มออกจากคราสและสิ้นสุดปรากฏการณ์ทั้งหมดที่เวลา 00.30 น.ของวันที่ 11 ธ.ค.54 รวมเวลาทั้งหมดประมาณ 6 ชั่วโมง
       
       “ครั้งนี้มีระยะเวลาการเกิดคราสเต็มดวงนาน 51 นาที ส่วนเมื่อวันที่ 16 มิ.ย.เกิดคราสเต็มดวงนาน 100 กว่านาที แต่ครั้งนั้นหลายคนไม่ได้เห็นเพราะฟ้าปิด สำหรับครั้งล่าสุดดวงจันทร์จะเข้าทางด้านใต้ของเงามืด ซึ่งจะทำให้เราเห็นด้านใต้ของดวงจันทร์ค่อนข้างสว่าง เมื่อเกิดคราสเต็มดวงดวงจันทร์ไม่ได้มืดแต่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง เนื่องจากแสงสีแดงของดวงอาทิตย์ผ่านชั้นบรรยากาศโลกแล้วตกกระทบบนดวงจันทร์ ซึ่งนักดาราศาสตร์พบว่าสีแดงนี้ยังเชื่อมโยงกับสภาพอากาศและฝุ่นละอองบนโลก” ดร.ศรัณย์
       
       นอกจากนี้ในช่วงเวลาเกิดจันทรุปราคาบนโลกยังเกิดจันทรุปราคาบนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี คือ ดวงจันทร์ไอโอ (Io) ดร.ศรณย์เผยกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า ส่วนตัวแล้วเขาเคยเห็นปรากฏการณ์นี้ค่อนข้างบ่อย และมากกว่าจันทรุปราคาบนโลก เพราะดาวพฤหัสมีดวงจันทร์หลายดวงและมีขนาดใหญ่มาก จึงทำให้เกิดจันทรุปราคาหลายสิบครั้ง แต่ไม่เป็นข่าวดังเท่านั้นเอง
       

       จันทรุปราคาที่จะเกิดบนดวงจันทร์ไอโอของดาวพฤหัสบดีนั้นจะเกิดในช่วงที่กำลังมีปรากฏการณ์จันทรุปราคาบนโลกพอดี ซึ่งถือเป็นความพิเศษอย่างหนึ่ง โดยดวงจันทร์จะเข้าไปด้านหลังดาวก๊าซยักษ์ในเวลา 18.22 น. ซึ่งในช่วงนี้ยังไม่เห็นอะไรเนื่องจากเงาดาวพฤหัสบังไว้หมด จะเริ่มเห็นปรากฏการณ์เมื่อไอโอเริ่มออกจากเงามืดแล้วในเวลา 21.22 น. ซึ่งระหว่างการสังเกตนั้นจะเห็นจุดสว่างค่อยๆ โผล่ออกจากความมืด ทั้งนี้ เราไม่สามารถเห็นปรากฏการณ์อุปราคาของดาวเพื่อนบ้านได้ด้วยตาเปล่า แต่สังเกตได้ด้วยอุปกรณ์กล้องส่องทางไกลหรืออุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ที่มีกำลังขยาย 80 เท่าขึ้นไป
       
       ทั้งนี้ ทาง สดร.ได้เตรียมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์จันทรุปราคาทั้งดวงจันทรืของโลกและที่เกิดขึ้นบนดวงจันทร์ไอโอผ่านทางเว็บไซต์ของสถาบัน ซึ่งได้ปรับปรุงให้สามารถรองรับการเข้าชมจำนวนมากๆ ได้ หลังจากมีประสบการณ์เซิร์ฟเวอร์ล่มเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนั้นผู้คนจำนวนมากเข้าชมการถ่ายทอดสด เนื่องจากหลายพื้นมีเมฆบดบังจนไม่สามารถสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาได้ ในส่วนของจันทรุปราคาบนโลกนั้นจะถ่ายทอดสัญญาณการเกิดปรากฏการณ์จากเชียงใหม่และยังได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฏิ์ ร่วมถ่ายทอดสัญญาณปรากฏการณ์จาก จ.ฉะเชิงเทราด้วย
       
       พร้อมกันนี้ สดร.ได้ร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรมสังเกตจันทรุปราคาทั่วประเทศจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ ฉะเชิงเทรา, เพชรบูรณ์, พิษณุโลก, น่าน, ลพบุรี, อุบลราชธานี, อุดรธานี, นครราชสีมา,ขอนแก่น, ภูเก็ต และ สงขลา ซึ่งทางสถาบันได้จักิจกรรมที่บริเวณลานกิจกรรมหน้าอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่ พร้อมตั้งกล้องโทรทรรศน์กว่า 10 ตัวไว้ให้บริการ รวมถึงฉายภาพยนตร์ 3 มิติภายในโดมดิจิทัลจากรัสเซียด้วย (ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมที่ จ.เชียงใหม่ แจ้งความจำนงได้ที่ 0-5322-5569 ต่อ 305) ซึ่งสามารถร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
       
       “เราชวนให้ดูปรากฏการณ์นี้เพราะอยากให้เห็นว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สามารถคำนวณได้แม่นยำนระดับวินาที คำนวณได้ล่วงหน้าเป็นพันๆ ปี และไม่ได้เกิดขึ้นแค่บนโลก แต่ยังเกิดขึ้นที่ดาวเพื่อนบ้านของเราด้วย” ดร.ศรัณย์กล่าว
       
       ทั้งนี้จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงให้คนไทยได้ชมอีกครั้ง ในวันที่ 8 ต.ค.57

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 ธันวาคม 2554

8364
เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ - ไห่หนานหรือไหหลำเกาะใต้สุดแดนมังกร กำลังตั้งเป้าว่าจะกลายเป็น “ฮาวายแห่งตะวันออก” โดยกำหนดแผนพัฒนาเกาะให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ รัฐบาลมณฑลจะร่วมมือกับโรงพยาบาลชั้นนำของกองทัพปลดแอกประชาชนดำริโครงการขึ้น
       
       หลัว เป่าหมิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลไห่หนาน แถลงในฮ่องกง (5 ธ.ค.) ว่า โรงพยาบาลกองทัพปลดแอกประชาชน หมายเลข 301 (ที่บรรดาผู้นำแนวหน้าของพรรคฯ นิยมใช้บริการ) กำลังจะเปิดสาขาแห่งแรกบนเกาะไห่หนานในปลายเดือนหน้า ซึ่งจะช่วยดึงดูดผู้ป่วยให้เข้ามารับการรักษา ทั้งชาวต่างชาติและประชาชนในท้องที่
       
       “พวกเรามีเป้าหมายให้เกาะไห่หนานกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ภายในปี 2558” หลัวกล่าว
       
       โรงพยาบาลกองทัพฯ หมายเลข 301 ซึ่งอยู่แถบตะวันตกของกรุงปักกิ่งนั้น เป็นโรงพยาบาลสำหรับผู้นำระดับสูง โดยส่วนใหญ่ผู้นำแนวหน้าของพรรคคอมมิวนิสต์เจ็บป่วยก็จะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งนี้ อาทิ ผู้นำเติ้ง เสี่ยวผิง อดีตประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน ตลอดจนคณะกรรมาธิการพรรคฯ ระดับสูงอีกหลายคน
       
       รัฐบาลมณฑลไห่หนาน เผยว่า ศูนย์กลางทางการแพทย์ของไห่หนาน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองซานย่า จะเปิดให้บริการด้านการแพทย์และฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับคนในท้องที่และนักท่องเที่ยวที่ต้องการได้รับการรักษาแบบ “คุณภาพเลิศ บรรยากาศเยี่ยม”
       
       ทั้งหลัวและ เจี่ยง ติ้งจื่อ รักษาการผู้ว่าการมณฑลฯ ได้ออกนำเสนอผลงานในฮ่องกง เพื่อสนับสนุนการค้าและการท่องเที่ยว (5 ธ.ค.) ของไห่หนาน
       
       เว็บไซต์ไห่หนานเดลี รายงานเมื่อปีที่แล้วว่า ศูนย์กลางทางการแพทย์อาจจะก่อสร้างบนพื้นที่ 186,000 ตร.ม. และมีเตียงผู้ป่วยจำนวน 675 เตียง
       
       จัง ฮุ่ย หัวหน้าภาควิชาการท่องเที่ยวแห่งมหาวิทยาลัยเป่ยจิงเจียวทง เผยว่า โรงพยาบาลสาขาของกองทัพฯ หมายเลข 301 นั้น น่าจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ อาจจะมีการเสนอให้บริการแบบอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย เช่น การรักษาสุขภาพของบุคคลทั่วไป ตลอดจนการดูแลผู้สูงอายุ

       คณะมุขมนตรีจีนได้เคยเผยแผนแปลงเมืองไห่หนานให้กลายเป็น “ศูนย์กลางการท่องเที่ยวสากล” ในปลายปี 2552 และออกแบบมณฑลให้กลายเป็นแหล่งปฏิรูปการท่องเที่ยวด้วย เมื่อปีที่ผ่านมารัฐบาลกลางเสนอคืนภาษี 11 เปอร์เซ็นต์ให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติในเกาะไห่หนาน รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่มาจากฮ่องกง เพื่อสนับสนุนให้ไห่หนานมีชื่อเสียงระดับโลก
       
       อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมาก็ยังคงเป็นคนแผ่นดินใหญ่ ขณะเดียวกันแผนการท่องเที่ยวได้เล็งขยายเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจากภายในจีนมณฑลอื่น ๆ เข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้นด้วย
       
       ผลที่ตามมาจากวิกฤติการเงินโลก ทำให้ไห่หนานมีนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างแดนน้อยลงกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ในปี 2552 แต่หลัวเผยว่า วิกฤติหนี้ในยุโรปดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยมีผลกระทบกับจำนวนนักท่องเที่ยวเท่าใดนัก
       
       “ผมไม่ค่อยเห็นผลกระทบเท่าใดนัก เพราะนักท่องเที่ยวหลักของเรามาจากแผ่นดินใหญ่ และบรรดานักลงทุนส่วนใหญ่ก็มาจากเอเชีย แค่มีคนจีนจากแผ่นดินใหญ่จำนวน 1,300 ล้านเดินทางท่องเที่ยวไปมา แค่นี้ก็ทำให้ตลาดเราบูมไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว”
       
       ใน 10เดือนแรกของปีนี้ เกาะไห่หนานรับนักท่องเที่ยวจำนวน 23.7 ล้านคน ซึ่งร้อยละ 97 เป็นนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อปีที่ผ่านมาทั้งปีมีนักท่องเที่ยวจำนวน 25.9 ล้านคน เป็นนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพียง 2.5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
       
       หลัวเผยว่า ร้านปลอดภาษีในสนามบิน หรือดิวตี้ฟรี จะเปิดใหม่ในเดือนนี้ในเมืองไหโข่ว เมืองเอกของมณฑลไห่หนาน และในปีหน้าจะมีการสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงแห่งใหม่เพิ่มอีก
       
       ขณะที่ศาสตราจารย์ซ่ง ไห่เอี๋ยน ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวจากมหาวิทยาลัยฮ่องกงโพลีเทคนิค เผยว่า ไห่หนานยังคงต้องพยายามให้มากกว่านี้
       
       “ยังมีอีกหลายอย่างที่รัฐบาลฯ ต้องเข้าไปยกระดับ ตั้งแต่คุณภาพการให้บริการ ไปจนถึงความหลากหลายของสินค้า จากยุทธศาสตร์การตลาดไปจนถึงการสร้างแบรนด์.. มันคงต้องกินเวลานานโขกว่าจะทำให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวไฮคลาส มิใช่ทำได้กันแค่ข้ามคืน” ซ่ง ทิ้งท้าย.

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 ธันวาคม 2554   

8365
“หมอวิสุทธิ์-ผู้พันตึ๋ง” ผู้ต้องขังโทษคดีสังหารได้รับพระราชทานอภัยโทษลดวันต้องโทษในปีนี้เหลือคนละ 13 ปี ด้าน “ชลอ เกิดเทศ” ได้รับการอภัยโทษจำคุกตลอดชีวิตเหลือ 50 ปี ส่วน “เสริม สาครราษฎร์” พ้นคุก 18 ธ.ค.
       
       วันนี้ (7 ธ.ค.) รายงานข่าวแจ้งว่า การปล่อยผู้ต้องขังภายหลังมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2554 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โดย พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า กรมราชทัณฑ์ได้ประชุมคณะกรรมการเตรียมความพร้อมการปล่อยตัวผู้ต้องขังทั่วประเทศ และในกรุงเทพฯ จะจัดงานวันที่ 8 ธันวาคมนี้ เวลา 09.00 น. ซึ่งมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ณ ลานสนามหญ้าหน้าเรือนจำกลางคลองเปรม โดยเบื้องต้นมีผู้ต้องขังที่พร้อมปล่อยตัวจากเรือนจำเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 4,500 คน
       
       รายงานข่าวระบุว่า จากพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2554 ส่งผลให้นักโทษเด็ดขาดในคดีสำคัญหลายคดีได้รับพระมหากรุณาธิคุณอภัยโทษโดยการลดวันต้องโทษครั้งนี้ เช่น นพ.วิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ อดีตสูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ต้องโทษคดีฆาตกรรม พญ.ผัสพร บุญเกษมสันติ แพทย์โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร เหลือโทษจำคุก 21 ปี และ พ.ต.เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ หรือผู้พันตึ๋ง ต้องโทษคดีสังหารนายปรีณะ ลีพัฒนะพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ทั้ง 2 คนได้รับพระราชทานอภัยโทษลดวันต้องโทษ เมื่อปี 2550 ได้ลดโทษจากโทษประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต, ปี 2553 ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดวันต้องอีกครั้ง จากจำคุกตลอดชีวิต เหลือจำคุก 50 ปี และปีนี้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดวันต้องโทษเช่นเดียวกัน จากจำคุก 50 ปี ตามพระราชกฤษฎีกาจะได้ลดวันต้องโทษ ตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์คนละ 13 ปี
       
       ส่วน พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ อดีตผู้บัญชาการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องโทษคดีอุ้มฆ่าสองแม่ลูกตระกูลศรีธนะขันธ์ เพิ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษครั้งแรก ปี 2553 จากโทษประหารชีวิตเหลือจำคุกตลอดชีวิต และปีนี้ได้อภัยโทษให้ลดโทษจากจำคุกตลอดชีวิตเหลือ 50 ปี ส่วนนายเสริม สาครราษฎร์ ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตในคดีฆ่าหั่นศพแฟนสาว ได้รับการลดโทษ 5 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2547 และล่าสุดปี 2554 ได้รับพระราชทานอภัยโทษอีก 1 ใน 3 เหลือโทษ 8 ปี แต่จำคุกมาจะครบ 8 ปี วันที่ 18 ธันวาคมนี้

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 ธันวาคม 2554   

8366
 สพศท.จี้ “วิทยา” แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความผิด กรณี สปสช.มีมูลความผิดปกติในการบริหารงบฯ ด้านเจ้าตัวเผยแต่งตั้ง 7 ธ.ค.นี้
       
       วานนี้ (6 ธ.ค.) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) เดินทางเข้ายื่นหนังสือ เรื่อง ขอให้พิจารณาความผิดและลงโทษเลขาธิการ สปสช.และคณะกรรมการ สปสช.ที่ดำรงตำแหน่งระหว่างปีงบประมาณ 2546-2553 ที่ได้ร่วมกระทำความผิด 7 ประเด็น ตามที่ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบและประเมินผล และยับยั้งการปฏิบัติหน้าที่ของเลขาธิการ สปสช.และยกเลิกคณะอนุกรรมการทุกชุดที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการชุดเดิม ต่อ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยมี นายสง่า จงเพิ่มดำรงชัย เลขานุการส่วนตัว นายวิทยา รับหนังสือแทน
       
       พญ.ประชุมพร กล่าวว่า เมื่อ สตง.ได้ตรวสอบและประเมินผลการดำเนินงานของสปสช.ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546-2553 พบว่า การบริหารจัดการงบฯบริหารสำนักงานและงบฯกองทุน สปสช.ไม่ถูกต้องใน 7 ประเด็น จึงขอให้นายวิทยา ดำเนินการใน 5 เรื่องอย่างเร่งด่วน คือ 1.แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความผิดและลงโทษ เลขาธิการ สปสช.และคณะกรรมการชุดเดิมและผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ร่วมกันกระทำความผิด 7 ประเด็น 2.ให้ส่งผลตรวจไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)เพื่อดำเนินการทางอาญาแผ่นดินต่อไป 3.ยกเลิกคณะอนุกรรมการทุกชุดที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการชุดเดิม 4.ยับยั้งการปฏิบัติหน้าที่ของเลขาธิการ สปสช.และ 5.เรียกคืนเงินงบประมาณที่เสียหายตามที่
สตง.ตรวจพบ ทั้ง 7 ประเด็น ทั้งนี้ หาก รมว.สธ.ไม่ดำเนินการจะมีความผิดตามมาตรา 157 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
       
       พญ.ประชุมพร กล่าวอีกว่า สำหรับรายละเอียดผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะของสตง. เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2554 มีประเด็นหลัก ประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 การใช้จ่ายงบบริหารไม่ถูกต้องและไม่ประหยัด พบว่า มีการจ่ายเงินไม่ถูกต้องและไม่ประหยัด คือ การปรับอัตราเงินเดือนให้เลขาธิการ สปสช.ไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่กำหนดให้การปรับเงินเดือนเป็นไปตามผลงานเป็นระยะตลอดอายุสัญญา แต่ในการปฏิบัติงาน 1 ปี เลขาธิการ สปสช.คนปัจจุบันได้รับการปรับอัตราเงินเดือนจาก 171,600 บาท และเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 42,900 บาท เป็น 200,000 บาท และเงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดทันที จึงถือว่าไม่ปฏิบัติตามมติ ครม.รวมถึงการจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการ ตรวจสอบสูงเกินกว่าที่มติครม.กำหนด โดยในปีงบประมาณ 2548-2553 ประธานอนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุม อัตรา 20,000 บาทต่อคนต่อเดือน ขณะที่อัตราเบี้ยประชุมที่ควรได้รับ คือ 7,500 บาทต่อคนต่อเดือน อนุกรรมการชุดที่ 1 ได้รับ 16,000 บาทต่อคนต่อเดือน อัตราที่ควรได้รับ คือ 6,000 บาทต่อคนต่อเดือน และอนุกรรมการชุดที่ 2 ได้รับ 16,000 บาทต่อคนต่อเดือน อัตราที่ควรได้รับ 6,000 บาทต่อคนต่อเดือน รวมค่าเบี้ยประชุมอนุกรรมการตรวจสอบที่สูงเกินไป 3,105,000 บาท อีกทั้งการจ้างที่ปรึกษาไม่เหมาะสม โดยมีการจ้างที่ปรึกษาในลักษณะต่อเนื่องและใช้สัญญาฉบับเดียวแล้วต่อสัญญาไปเรื่อยๆ และบางปีไม่มีการทำสัญญาจ้างแต่มีการจ่ายเงินค่าจ้าง
       
       นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า เมื่อสตง.มีข้อท้วงติงการดำเนินการของ สปสช.มาเช่นนี้ก็พร้อมน้อมรับ แต่ในบางเรื่องเป็นการตรวจสอบในปี 2546 ซึ่งบางเรื่องสปสช.ได้มีการแก้ไขปรับปรุงไปแล้ว และบางเรื่องเป็นการเรื่องของการตีความข้อกฎหมายที่แตกต่างกัน เช่น ระเบียบบางอย่าง สตง.ตีความตามระเบียบสำนักนายกฯ แต่สปสช.มี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ จึงปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จึงเป็นเรื่องของการตีความเท่านั้น ซึ่ง สปสช.ยินดีปฏิบัติตามที่ สตง.ทักท้วง แต่การท้วงติงทั้งหมดไม่มีเรื่องการทุจริต เพียงแต่เป็นเรื่องระเบียบปฏิบัติ และไม่มีการสั่งให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบการทุจริตแต่อย่างใด หากมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบตนก็พร้อมชี้แจงในทุกประเด็น
       
       ขณะที่ นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สธ. กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีคำสั่งให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวตามที่ สตง.ตรวจสอบ แล้ว โดยจะมีการเชิญตัวแทนอัยการมาร่วมในคณะกรรมการดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับรายชื่อคาดว่าจะได้ในวันที่ 7 ธ.ค.ซึ่งตนจะลงนามตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการตรวจสอบให้เร็วที่สุด ก่อนที่จะมีการใช้งบประมาณปี 2555

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 ธันวาคม 2554

8367
รพ.จุฬาฯ ​เร่งรณรงค์​ให้กลุ่มชาย​ไทยวัย 50ปีขึ้น​ไป ​เข้ารับ​การตรวจ​โรคต่อมลูกหมาก ​เผย​ความชุกของ​การ​เป็น​โรค​ในอนาคตมี​แนว​โน้ม​เพิ่มสูงขึ้น จากวิถีชีวิต อาหาร​การกิน ​และสิ่ง​แวดล้อมที่​เปลี่ยน​ไป ระบุ​ผู้ป่วยที่​เป็น​โรคมะ​เร็งต่อมลูกหมาก หากพบอา​การ​ในระยะ​เริ่มต้น สามารถรักษา​ให้หายขาด​ได้ ด้วยวิทยา​การที่ก้าวหน้าของ​เครื่องมือทาง​การ​แพทย์ ​โดย​เฉพาะหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดที่สามารถ​เคลื่อน​ไหว​ในที่คับ​แคบด้วยประสิทธิภาพสูง

นาย​แพทย์จุลินทร์ ​โอภานุรักษ์ อาจารย์ประจำคณะ​แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว​ถึง​โรคต่อมลูกหมาก​โตว่า ​โรคต่อมลูกหมาก​แบ่งออกมา​เป็น 3 ชนิด​ใหญ่ๆ คือ 1.ต่อมลูกหมากติด​เชื้อ พบ​ในกลุ่ม​ผู้ชายวัย 30-40 ปี กลุ่มนี้พบ​ไม่บ่อยมากนัก 2.ต่อมลูกหมาก​โต​เนื้อธรรมดา พบ​ในชายวัยตั้ง​แต่ 50 ปีขึ้น​ไป ส่วน​ใหญ่​เกิดจากสา​เหตุฮอร์​โมนชายถูกกระตุ้นซ้ำ​ในวัยหนุ่ม ​โดยกลุ่มชายวัย 50 ปีขึ้น​ไป ​และ3.ต่อมลูกหมาก​โตชนิดที่​เป็นมะ​เร็ง

​ทั้งนี้ปัจจัยที่​ทำ​ให้​เป็นมะ​เร็งต่อมลูกหมาก คุณหมอกล่าวว่า มีหลายประ​การ​ได้​แก่ อายุที่​เพิ่มขึ้น กรรมพันธุ์ ถ้าหากพ่อ​หรือพี่ชาย​เป็นมะ​เร็ง ​ทำ​ให้มี​ความ​เสี่ยงสูงกว่าครอบครัวที่​ไม่​เป็นมะ​เร็ง ​และ ​เชื้อชาติ จาก​การศึกษาพบว่า​ผู้คน​ในชาติ​แถบตะวันตก​เป็นมะ​เร็งต่อมลูกหมากมากกว่าคน​ในภูมิภาค​เอ​เชีย ​โดย​โรคมะ​เร็งที่​ผู้ชายตะวันตก​เป็นมากอันดับ 1 คือ​โรคมะ​เร็งต่อมลูกหมาก

สำหรับ อา​การของมะ​เร็งต่อมลูกหมากคือ ปัสสาวะพุ่ง​ไม่​แรง ต้อง​เบ่ง ปัสสาวะบ่อยขึ้น กลางคืนจะลุกขึ้นมาปัสสาวะบ่อยครั้ง บางรายพบปัสสาวะ​เป็น​เลือด ​ไตอาจจะวาย ถ้ามี​การกระจาย​ไปยังกระดูก ​ทำ​ให้ปวดบริ​เวณกระดูก​ได้ ​แต่​ในบางรายอาจจะ​ไม่มีอา​การ​แสดง​เลย​ก็​ได้

​โรคนี้ยัง​ไม่มีวิธีป้องกัน ​เพราะ​โดยธรรมชาติร่างกาย​ผู้ชายจะผลิตฮอร์​โมนตั้ง​แต่วัยหนุ่ม ​แต่สามารถลด​ความ​เสี่ยงภายนอก​ได้บ้าง ​โดย​การหันมารับประทานอาหารตามวิถี​ไทย ​เลือก​แต่อาหาร​เพื่อสุขภาพ ​เน้นผักผล​ไม้ ดำรงชีวิต​แบบ​ไทย ​เน้น​การอยู่​แบบพอ​เพียง ​และ​ใช้ชีวิต​ในสิ่ง​แวดล้อมที่ดี

ส่วน​แนว​โน้มของชาย​ไทยที่ป็น​โรคมะ​เร็งต่อมลูกหมาก คาดว่าจะ​เพิ่มมากขึ้น​เรื่อยๆ ​เนื่องจากวิถี​การดำรงชีวิตที่​เปลี่ยน​แปลง​ไป คน​ไทยหัน​ไปกินอาหาร​และ​ใช้ชีวิต​แบบวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น รวม​ถึงสิ่ง​แวดล้อมที่​เปลี่ยน​ไป

​ทั้งนี้ วิธี​การรักษา นาย​แพทย์จุลินทร์ ​โอภานุรักษ์ กล่าวว่า ​ในกลุ่ม​ผู้ป่วยที่​เป็น​โรคมะ​เร็งต่อมลูกหมาก มีวิธีรักษาหลากหลายรูป​แบบ ​ทั้ง​การผ่าตัด, ฉาย​แสง, ฝัง​แร่ ​และ ​การ​ให้ฮอร์​โมนขึ้นอยู่กับระยะของ​โรคที่​เป็น ถ้า​เป็นระยะ​เริ่มต้น มะ​เร็งยังคงอยู่​ในต่อมลูกหมาก สามารถรักษา​ได้ด้วยวิธีผ่าตัด​หรือฝัง​แร่ ​ผู้ป่วยมี​โอกาสหายขาดสูง ส่วน​ในรายที่​เป็นออกมา นอกต่อมลูกหมาก​แล้ว ​การรักษาจะ​เป็น​การฉาย​แสง​หรือ​ให้ฮอร์​โมน

“วิธี​การผ่าตัด​แพทย์จะ​ทำ​การ​เจาะรู วิธีนี้ขนาดของ​แผลจะ​เล็กลง ​เสีย​เลือดน้อย ​ผู้ป่วยสามารถกลับพักฟื้นที่บ้าน​ได้​เร็ว ปัจจุบันวิทยา​การ​ใน​การรักษา​โรคมะ​เร็งต่อมลูกหมากมี​ความก้าวหน้าอย่างมาก มี​การผลิตหุ่นยนต์​เพื่อ​ใช้​เป็น​เครื่องมือช่วยผ่าตัด​ในที่คับ​แคบ​ได้อย่างสะดวก ​ทำ​ให้​ผู้ป่วยมีภาวะ​แทรกซ้อนน้อยมาก”

อย่าง​ไร​ก็ตาม ชาย​ไทยวัยตั้ง​แต่ 50 ปีขึ้น​ไปควร​เข้ารับ​การตรวจสุขภาพอย่างต่อ​เนื่อง ​เพื่อ​การรักษาที่ทันท่วงที ​และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แนวหน้า  7 ธันวาคม 2554

8368
ประเด็นที่ 4    การจัดส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งงานไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กำหนดอำนาจในการออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และข้อกำหนดต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล โดยเฉพาะโครงสร้างองค์กรหรือการจัดแบ่งส่วนงานเป็นอำนาจของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 19 ที่ระบุว่า “ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลสำนักงานให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
(1) กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงาน
(2) อนุมัติแผนการเงินของสำนักงาน
(3) ควบคุมดูแลการดำเนินงานและบริหารงานทั่วไปตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และข้อกำหนดเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน การติดตามประเมินผลและการดำเนินการอื่นของสำนักงาน”

จากการตรวจสอบการออกประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการจัดส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งงาน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันพบว่าไม่ถูกต้อง คือ

4.1 ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการแบ่งส่วนงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกาศ ณ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2546 ลงนามโดยเลขาธิการ สปสช. (ภาคผนวกที่ 2) โดยประกาศฉบับนี้อาศัยอำนาจในการออกประกาศตามความในมาตรา 31 และมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งอำนาจทั้งหมดเป็นอำนาจของเลขาธิการ พร้อมทั้งอ้างมติจากการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2545 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2545 ภายหลังมีการแบ่งส่วนงานใหม่และมีการออกประกาศโดยอาศัยอำนาจ
ในการออกประกาศเหมือนข้างต้น

4.2 ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการจัดส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งงาน ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน 2551 (ภาคผนวกที่ 3) ลงนามโดยเลขาธิการ สปสช. โดยประกาศฉบับนี้อาศัยอำนาจในการออกประกาศตามความในมาตรา 31 และมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และข้อ 10 แห่งข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่มีการกล่าวถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากไม่ได้นำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต่อมาได้มีการแก้ไขอีก 3 ครั้ง ได้แก่ แก้ไขฉบับที่ 2 วันที่ 23 กรกฎาคม 2552 แก้ไขฉบับที่ 3 วันที่ 30 กันยายน 2552 และแก้ไขฉบับที่ 4 วันที่ 28 มกราคม 2553 ซึ่งประกาศฯ ทั้งหมดลงนามโดยเลขาธิการ สปสช. และอาศัยอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับประกาศข้างต้น

จากการสอบถามเลขาธิการและเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของ สปสช. ชี้แจงว่าไม่มีการนำเรื่องเกี่ยวกับการจัดส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งงานเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงไม่มีการกล่าวอ้างมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในประกาศ เนื่องจากถือว่าข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) ซึ่งลงนามโดยประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ข้อ 10 ที่ว่า “สำนักงานจะมีผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งใด ประเภทใด ระดับใด อยู่ในส่วนงานใด จำนวนเท่าใด ให้เลขาธิการเป็นผู้กำหนด โดยคำนึงถึงความจำเป็น ลักษณะหน้าที่ ความรับผิดชอบ ปริมาณและคุณภาพของงาน ภายใต้กรอบนโยบาย เป้าหมาย แผนงานและวงเงินงบประมาณรวมทุกด้านเกี่ยวกับบุคคล ที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ” เป็นการมอบอำนาจเรื่องการจัดแบ่งส่วนงานให้เป็นอำนาจของเลขาธิการ และในทางปฏิบัติก็มิได้นำโครงสร้างองค์กรหรือการจัดแบ่งส่วนงานใหม่เสนอเพื่อให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทราบหรือเห็นชอบ

จากข้อบังคับฯ ข้างต้นไม่ถือเป็นการมอบอำนาจให้เลขาธิการประกาศการจัดส่วนงานหรือโครงสร้างองค์กร แต่ให้อำนาจในการจัดคนลงในส่วนงานต่าง ๆ นอกจากนั้นรายงานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 12/2550 วันที่ 28 ธันวาคม 2550 วาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา หัวข้อ 4.1 เรื่องระบบการบริหารบุคลากรของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีมติที่ประชุม 2 ข้อ คือ

(1) อนุมัติการปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคลากรของ สปสช. ตามที่ผ่านความเห็นชอบเบื้องต้นจากคณะอนุกรรมการประสานยุทธศาสตร์และให้ สปสช. จัดทำคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งงาน (Job Specification) ของบุคลากร และ

(2) มอบคณะอนุกรรมการประสานยุทธศาสตร์ติดตามผลการบริหารงานบุคลากรของ สปสช. เสนอคณะกรรมการเพื่อทราบในอีก 4 เดือนข้างหน้า แต่จากข้อเท็จจริงพบว่าภายหลังจากมีมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดังกล่าวในปีงบประมาณ 2551 จนถึงปัจจุบันปีงบประมาณ 2553 สปสช. ไม่เคยมีการนำเสนอเรื่องบุคลากรให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อทราบหรือเพื่อพิจารณาใด ๆ และภายหลังจากการประชุมดังกล่าวมีการปรับและแก้ไขโครงสร้างองค์กรหลายครั้งที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ตามประกาศวันที่ 3 มิถุนายน 2551 วันที่ 23 กรกฎาคม 2552 วันที่ 30 กันยายน 2552 และวันที่ 28 มกราคม 2553 ก็ไม่มีการนำเสนอให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อทราบหรือเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเช่นกัน

ข้อเสนอแนะ ประเด็นที่ 4    การจัดส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งงานไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

เพื่อให้การดำเนินการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นไปโดยถูกต้องสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีข้อเสนอแนะให้ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาสั่งการให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินำเสนอการจัดแบ่งส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงต่อคณะกรรมการก่อนการประกาศใช้
...

8369
ประเด็นที่ 3    การนำเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจากการซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมโดยใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปใช้เป็นเงินสวัสดิการเป็นการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม

การจัดซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมจะได้รับเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับองค์การเภสัชกรรมว่าด้วยเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ พ.ศ. 2546 ที่กำหนดให้ภาครัฐที่มีสิทธิจะได้รับเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจะต้องจัดทำโครงการเสนอให้องค์การเภสัชกรรมพิจารณาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 สปสช. ใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจัดซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมเพื่อแจกจ่ายให้แก่หน่วยบริการต่าง ๆ การจัดซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมในปีงบประมาณ 2551 และ 2552 มีจำนวน 2,307,195,769.54 บาท และ 3,330,137,933.50 บาทตามลำดับ ทำให้ สปสช. มีสิทธิได้รับเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจากการจัดซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมเป็นจำนวนเงินรวม 189,339,067.38 บาท ปรากฏดังตาราง

ที่มา : Commission summary report (only customer 2551 – 2552) องค์การเภสัชกรรม
หมายเหตุ :
1. ในปีงบประมาณ 2546 - 2550 สปสช. ไม่ได้จัดซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรม เนื่องจากงบประมาณทั้งหมดจัดสรรให้หน่วยบริการ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้จัดซื้อ ต่อมาผลการประเมินการดำเนินงานของหน่วยบริการพบว่า ประชาชนมีปัญหาในการเข้าถึงยาบางชนิด บางแห่งจัดซื้อในราคาแพงมาก ดังนั้นยาบางชนิด สปสช. จึงดำเนินการจัดซื้อเอง เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ยาต้านวัณโรค ยาต้านไวรัสเอดส์ และน้ำยาล้างไต เป็นต้น
2. ในปีงบประมาณ 2552 มีการจัดซื้อยาจำนวนมากแต่ได้รับเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐไม่แตกต่างจากปีงบประมาณ 2551 เนื่องจากยาบางชนิดไม่ได้รับเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ เช่น กลุ่มยาฉีด เป็นต้น

ในปีงบประมาณ 2551 และ 2552 สปสช. ได้จัดทำโครงการเพื่อขอรับเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐเป็นจำนวนเงิน 165,564,740.00 บาท เงินจำนวนดังกล่าว สปสช. ได้รับเป็นเงินบริจาคเข้ากองทุนสวัสดิการตามระเบียบ สปสช. ว่าด้วยการจัดสวัสดิการของสำนักงาน พ.ศ. 2550 และ สปสช. ได้เบิกจ่ายเงินจากกองทุนสวัสดิการไปจัดทำโครงการเพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 เป็นเงิน 90,435,151.82 บาท ทำให้ สปสช. มีเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐคงเหลือในกองทุนสวัสดิการ จำนวน 75,129,588.18 บาท ปรากฏดังตาราง


จากการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจากกองทุนสวัสดิการพบว่า สปสช. เบิกจ่ายเงินไปจัดสวัสดิการในหลาย ๆ ด้าน เช่น การจัดทำโครงการศึกษาดูงานต่างประเทศ การจ่ายเพื่อการช่วยเหลือแก่ผู้ทำประโยชน์แก่สำนักงาน และการจ่ายเพื่อประโยชน์แก่การสนับสนุน
การปฏิบัติงาน

จากข้อมูลข้างต้นแม้ว่าทั้งองค์การเภสัชกรรมและ สปสช. จะมีการกำหนดข้อบังคับและระเบียบเพื่อให้มีการเบิกจ่ายและใช้จ่ายเงินดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้อง มีกฎ ระเบียบรองรับ แต่เงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐที่ สปสช. ได้รับจากองค์การเภสัชกรรมเป็นผลมาจากการใช้เงินจากกองทุน

หลักประกันสุขภาพแห่งชาติจัดซื้อ ควรนำเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาบุคลากรในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดังนั้นการนำเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐไปใช้จ่ายเพื่อสวัสดิการของเจ้าหน้าที่ ลูกจ้างและพนักงานของ สปสช. จึงไม่เหมาะสม

ข้อเสนอแนะ ประเด็นที่ 3   การนำเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจากการซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมโดยใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปใช้เป็นเงินสวัสดิการเป็นการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม

เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีข้อเสนอแนะให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาดำเนินการ ดังนี้

1. กำหนดหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐที่ได้รับจากองค์การเภสัชกรรมให้เป็นการนำไปใช้เพื่อประโยชน์โดยตรงต่อหน่วยบริการ

2. กรณีเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐที่ได้จากองค์การเภสัชกรรมมาแล้ว แต่ปัจจุบันยังไม่ได้ดำเนินการให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปรับเป็นการดำเนินการโครงการที่ให้ประโยชน์กับหน่วยบริการโดยตรง
...

8370
2.2 การคัดเลือกผู้ขาย/ผู้รับจ้างในการจัดหาโดยวิธีเปรียบเทียบราคาด้วยการเปิดประมูลทั่วไปไม่เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม การต่อรองราคาในการประกวดราคาจะกระทำได้ต่อเมื่อมีกรณีราคาที่เสนอของรายที่สมควรซื้อจ้างนั้นเสนอราคาสูงกว่าวงเงินงบประมาณ

จากการตรวจสอบวิธีการพิจารณาผลการคัดเลือกผู้ขาย/ผู้รับจ้างโดยวิธีเปรียบเทียบราคาด้วยการเปิดประมูลทั่วไป พบว่า สปสช. ไม่ได้พิจารณาคัดเลือกพัสดุหรืองานจ้างของผู้เสนอราคาที่ตรวจสอบแล้วมีคุณภาพและคุณสมบัติถูกต้องตามเงื่อนไขในขั้นตอนการยื่นซองเสนอราคา แต่พิจารณาคัดเลือกตามเงื่อนไขเพิ่มเติมที่ปรากฏในประกาศการจัดหาพัสดุโดยวิธีเปรียบเทียบราคา เงื่อนไขเพิ่มเติมดังกล่าว คือ “สปสช. โดยคณะกรรมการดำเนินการจัดหาพัสดุจะดำเนินการเรียกผู้เสนอราคาต่ำมากกว่าหนึ่งรายมาต่อรองราคาทีละราย ทั้งนี้การดำเนินการต่อรองราคาแต่ละราย คณะกรรมการฯ จะไม่เปิดเผยราคาให้ผู้เสนอราคารายอื่น ๆ ทราบ เมื่อทำการต่อรองราคาทุกรายแล้ว คณะกรรมการฯ อาจเรียกผู้เสนอราคาเฉพาะรายต่ำสุดครั้งหลังสุดมาต่อรองราคาอีกครั้งก็ได้ และการต่อรองราคานี้ถือว่าสิ้นสุด”

ขั้นตอนการต่อรองราคาที่ สปสช. กำหนดขึ้นเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการพิจารณาคัดเลือกคู่สัญญาดำเนินการจัดหาพัสดุนี้ไม่ได้ปรากฏอยู่ในข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2546 และประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องแนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุ ลงวันที่ 23 มกราคม 2547 แต่อย่างใด ทำให้บางกรณีผู้ยื่นซองเสนอราคาต่ำสุดในชั้นต้นไม่ได้รับเลือกให้เป็นคู่สัญญา รายละเอียดปรากฏดังตาราง
ตัวอย่างการจัดหาพัสดุโดยวิธีเปรียบเทียบราคาที่ผู้ยื่นซองเสนอราคาต่ำสุดไม่ได้รับคัดเลือกให้เป็นคู่สัญญา




ที่มา : สำนักบริหารการเงิน สปสช. / จากการรวบรวมข้อมูลโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

โดยหลักการต่อรองราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 43 ได้กำหนดไว้ว่า การต่อรองราคาจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อกรณีราคาที่เสนอของรายที่เห็นสมควรซื้อหรือจ้างนั้นสูงกว่าวงเงินงบประมาณ ให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา/พิจารณาผลการประกวดราคาเรียกผู้เสนอราคารายนั้นมาต่อรองราคาให้ต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ก่อน แต่หากดำเนินการแล้วไม่ได้ผลให้เรียกผู้เสนอราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างทุกรายมาต่อรองราคาใหม่พร้อมกันด้วยวิธียื่นซองเสนอราคา และคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ได้ยืนยันหลักการต่อรองราคาดังกล่าวตามหนังสือหารือของ กวพ. ที่ นร (กวพ) 1204/8049 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2540 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเงื่อนไขที่จะต่อรองราคาได้นั้น จะต้องเกิดจากราคาของผู้เสนอราคาต่ำสุดเกินกว่าวงเงินงบประมาณ และหากต่อรองไม่ได้ผลจึงให้เรียกทุกรายมาต่อรองใหม่ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคาพร้อมกัน

ดังนั้นการที่ สปสช. กำหนดเงื่อนไขการพิจารณาคัดเลือกผู้ขาย/ผู้รับจ้างเพิ่มเติมในประกาศนอกจากจะขัดกับหลักการต่อรองราคาตามระเบียบพัสดุที่มุ่งเน้นให้เกิดการแข่งขันที่โปร่งใสและเป็นธรรมกับผู้เสนอราคาแล้ว การเรียกผู้เสนอราคามาต่อรองราคาทีละรายตามที่ สปสช. กำหนดเงื่อนไขขึ้นมาเองยังอาจขัดต่อหลักการจัดหาที่โปร่งใส เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบและให้ความเชื่อมั่นได้ว่าข้อมูลราคาเป็นความลับระหว่างผู้เสนอแต่ละราย รวมทั้งการเจรจาต่อรองไม่มีข้อเสนอเรื่องผลประโยชน์อื่นใดอันจะทำให้ผู้เสนอรายอื่นเสียเปรียบ ตลอดจนไม่สามารถยืนยันได้ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการพิจารณาผลในกระบวนการต่อรองราคานั้นมีความโปร่งใสและเป็นธรรมหรือไม่อย่างไร กรณีเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการจัดหาพัสดุของ สปสช. นั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักการจัดหาพัสดุที่ดี ที่เน้นให้ทุกกระบวนการมีความโปร่งใสและเป็นธรรมกับผู้เสนอทุกราย นอกจากนี้ในอนาคตเงื่อนไขดังกล่าวอาจเกิดปัญหาร้องเรียนเรื่องความเป็นธรรมในการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอได้

ข้อเสนอแนะ ประเด็นที่ 2 การบริหารพัสดุไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

เพื่อให้การบริหารพัสดุของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีความถูกต้องเหมาะสม สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมีข้อเสนอแนะให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาดำเนินการ ดังนี้

1. ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2546 โดยเคร่งครัดโดยเฉพาะการจัดทำแผนการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภายในระยะเวลาที่กำหนด และแผนการจัดซื้อจัดจ้างต้องจัดทำรายละเอียดรายการให้ครบถ้วน ทั้งกรณีทำเป็นสัญญาและใบสั่งซื้อสั่งจ้าง

2. สั่งการให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2546 ข้อ 8 และคู่มือการจัดหาพัสดุข้อ (1) (ค) อย่างเคร่งครัด

3. สั่งการให้เจ้าหน้าที่ให้เลขที่ใบสั่งซื้อหรือจ้างที่ทำด้วยมือให้ครบถ้วนโดยจัดเรียง
ไปตามลำดับก่อนหลัง โดยไม่ว่างหมายเลขไว้

4. แก้ไขระเบียบการจัดหาพัสดุของ สปสช. ให้สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเฉพาะหลักการและวิธีการจัดหาพัสดุ และหากเนื้อความในประกาศการจัดหาพัสดุใดจำเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากที่คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) กำหนดหรือแบบที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้วโดยข้อความดังกล่าวมีสาระสำคัญตามที่กำหนดไว้ในตัวอย่างหรือแบบของ กวพ. และไม่ทำให้ทางราชการเสียเปรียบให้สามารถกระทำได้ เว้นแต่พิจารณาแล้วเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอให้ส่งร่างประกาศการจัดหาพัสดุไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน
...

หน้า: 1 ... 556 557 [558] 559 560 ... 652