แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 585 586 [587] 588 589 ... 651
8791
คลังดีเดย์ 1 เม.ย.55 ปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบใช้งบ 2.5 หมื่นล้านบาทต่อปี “วิรุฬ” เผยปรับทุกวุฒิการศึกษาให้เท่าเทียมกันทุกคน ส่วนรากหญ้าไม่น้อยหน้า “ธีระชัย” สั่งออมสิน - ธ.ก.ส.อัดฉีดอีก 7 หมื่นล้านบาทเข้ากองทุนหมู่บ้านพร้อมประสานงานแก้ปัญหาหนี้นอกระบบให้กับประชาชนต่อไป
       
       นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังยืนยันจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ภายในสัปดาห์หน้าเพื่อปรับรายได้ให้แก่บุคลากรภาครัฐ ได้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย และทหารกองประจำการ โดยในระยะสั้นจะจ่ายเป็นเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว (พ.ช.ค.) ก่อน โดยจะสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 สำหรับการปรับโครงสร้างฐานเงินเดือนทั้งระบบมอบหมายให้กรมบัญชีกลางร่วมกับสำนักงาน ก.พ. พิจารณาดำเนินการต่อไป โดยในวันที่ 1เมษายน 2555 จะสามารถดำเนินการครอบคลุมได้ทั้งระบบ
       
       นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า กรมบัญชีกลางได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) โดยมีข้อสรุปว่าการปรับขึ้นเงินเดือนจะมีประโยชน์ต่อข้าราชการมากกว่าการเพิ่มค่าครองชีพแต่ปัญหาในการดำเนินการในแนวทางปรับขึ้นเงินเดือนนั้นจะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) เงินเดือนข้าราชการพลเรือน ซึ่งต้องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ดังนั้นจึงอาจจะล่าช้าและไม่สามารถดำเนินการได้ทันวันที่ 1 มกราคม 2555 ตามที่รัฐบาลสัญญาไว้ได้
       แนวทางที่จะหาทางออกได้ดีที่สุดที่ทั้งกรมบัญชีกลางและก.พ,เห็นตรงกัน คือ การดำเนินการสองแนวทางควบคู่ โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมเป็นต้นไป กรมบัญชีกลางจะจัดสรรเงินเพิ่มค่าครองชีพให้แก่ ข้าราชการวุฒิปริญญาตรี ให้มีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาท และข้าราชการวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีให้มีรายได้ 9,000 บาทต่อเดือนไปก่อน ซึ่งจะใช้งบประมาณในปีงบประมาณรายจ่าย 2555 ประมาณ 24,533 ล้านบาทตามเดิม
       
       ขณะเดียวกัน สำนักงานก.พ. ก็จะทำเรื่องเสนอรัฐบาลแก้ไขกฎหมายปรับฐานเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบ โดยผ่านกระบวนการรัฐสภา ซึ่งคาดว่าอาจจะใช้เวลาพอสมควร โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ในวันที่ 1 เมษายน 2555 ซึ่งเมื่อกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ การจ่ายเงินค่าครองชีพก็จะทยอยลดลง และกลับมาเป็นการจ่ายเงินเดือนแทน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้าราชการจะไม่ได้รับผลกระทบเรื่องรายได้ต่อเดือน
       
       อย่างไรก็ตาม ตามที่ ก.พ.ได้นำเสนอในที่ประชุมเรื่องการปรับฐานเงินเดือนนั้น จะไม่ใช่การปรับเงินเดือนขึ้นในคราวเดียวเป็น 15,000 บาท แต่จะเป็นการทยอยปรับฐานเงินเดือนจาก 9,140 บาท เป็น 12,000 บาทในปี 2555 และ 13,000 บาทในปี 2556 และ 14,000 บาท ในปี 2557 และ 15,000 บาทในปี 2558 ซึ่งในระหว่างที่การปรับฐานเงินเดือนยังทำให้รายได้ของข้าราชการไม่ถึง 15,000 บาทนั้นจะใช้การจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพร่วมไปก่อนเพื่อให้มีรายได้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งในแง่งบประมาณ ถือว่าใช้เงินที่ไม่ต่างกันมากนัก แต่ในแง่ของภาพรวมของระบบจะมีความยุติธรรมต่อผู้ที่เข้ามาก่อน และจะมีการทยอยปรับเงินเดือนของวุฒิปริญญาโท และเอกตามไปด้วย
       
       นายวิรุฬกล่าวว่า กระทรวงการคลังได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้ 1. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปที่มีอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ถึง เดือนละ 15,000 บาท ให้รับ พ.ช.ค. เพิ่มอีก เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้วเท่ากับ 15,000 บาท
       
       2. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ที่มีอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ถึง เดือนละ 9,000 บาท ให้รับ พ.ช.ค. เพิ่มอีก เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้วเท่ากับ 9,000 บาท 3. ทหารกองประจำการซึ่ง เดิม เงินเดือนในระดับ พ.1 รวมกับเบี้ยเลี้ยงประจำตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม และ พ.ช.ค. อัตราขั้นต่ำเดือนละ 8,610 บาท ให้เพิ่มเป็น 9,000 บาท ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป
       
       จากนโยบายดังกล่าวมีบุคลากรภาครัฐได้ประโยชน์เป็นจำนวนทั้งสิ้น 649,323 คน คิดเป็นเงินงบประมาณปี 2555 จำนวน 18,396 ล้านบาท และใช้เงินต่อปีเป็นเงิน 24,533 ล้านบาท
       
       ***รากหญ้าไม่น้อยหน้าอัดฉีด 7 หมื่นล.
       
       นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง กล่าวว่า ได้มอบนโยบายให้ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ่ายเงินกองทุนหมู่บ้านเพิ่มแห่งละ 1 ล้านบาท ทั้ง 7 หมื่นหมู่บ้าน รวมเป็นเงิน 7 หมื่นล้านบาท เพื่อนำไปแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งเบื้องต้นให้ใช้เงินทุนของธนาคารจ่ายไปก่อน เนื่องจากรัฐบาลยังไม่มีงบประมาณ แต่ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กองทุนหมู่บ้านนั้น ให้ทั้ง 2 ธนาคารจัดทำกระบวนการจ่ายเงิน โดยให้กองทุนหมู่บ้านต้องมีระบบการจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือชุมชนในหมู่บ้านตามหลักการพี่ช่วยน้อง
       
       รัฐบาลที่ผ่านมาได้ดำเนินโครงการหนี้นอกระบบไว้แล้ว โดยได้เปิดให้ประชาชนมาลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบถึง 1.1 ล้านราย รวมเป็นมูลหนี้ 1.2 แสนล้านบาท ทั้งนี้มีประชาชนถอนตัวยออกไปบ้าง 4.6 แสนราย ส่วนที่เหลือเข้าร่วมโครงการ 5.8 แสนราย รวมมูลหนี้ 6.7 หมื่นล้านาท ซึ่งธนาคารเฉพาะกิจของรัฐเข้าไปแก้ไขและปล่อยสินเชื่อแล้วรวมเป็นเงิน 4.4 หมื่นล้านบาท ดังนั้นจึงเห็นว่าการให้เงิน 1 ล้านบาทแก่กองทุนหมู่บ้านไปดำเนินโครงการดังกล่าวต่อนั้น น่าจะเพียงพอ
       
       “โดยหลักการแล้ว จะใช้ลักษณะของพี่ช่วยน้อง เพื่อให้คนในชุมชนนั้นชักจูงประชาชนที่เป็นหนี้ให้เข้ามาสู่การเป็นหนี้ในระบบ มีวินัยทางการเงินมากขึ้น ซึ่งมั่นใจว่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ทั้งนี้จะให้ธนาคารทั้ง 2 แห่งดังกล่าวจัดตั้งเคาน์เตอร์รับเรื่องเฉพาะหนี้นอกระบบขึ้นมา โดยประสานงานต่อไปยังสำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน (สพช.) หรือสำนักปากท้อง ของกระทรวงการคลังให้พิจารณาอนุมัติ” นายธีระชัยกล่าว.

ASTVผู้จัดการรายวัน    9 กันยายน 2554

8792
แพทย์หญิงมาลินี สุข​เวชชวรกิจ รอง​ผู้ว่าราช​การกรุง​เทพมหานคร กล่าวว่า กรุง​เทพมหานครจัด “​โครง​การตลาดนัดมูลฝอยอันตราย” ​โดยสำนัก​การ​แพทย์ ร่วมกับสำนักสิ่ง​แวดล้อม ​และบริษัทสยามฟาร์มาซูติคอล จำกัด จัดกิจกรรมรณรงค์คัด​แยกขยะอันตรายมุ่ง​เน้น​ให้ประชาชนทั่ว​ไป ตลอดจน​เจ้าหน้าที่ ​และ​ผู้​ใช้บริ​การของ​โรงพยาบาลสังกัดกรุง​เทพมหานคร มีส่วนร่วม​ใน​การคัด​แยกขยะอันตรายจากมูลฝอยทั่ว​ไป​ซึ่งจะส่งผล​ให้​การจัด​เ​ก็บขยะอันตราย​เป็น​ไปอย่างถูกต้อง​และนำ​ไปกำจัดอย่างถูกวิธี ​ไม่​เป็นอันตรายกับสุขภาพประชาชน​และสิ่ง​แวดล้อม

​ทั้งนี้ ​ใน​การจัด​เ​ก็บขยะ​ในกรุง​เทพมหานครจะ​แยก​เป็น 3 ประ​เภท คือ
1.ขยะทั่ว​ไป สำนักสิ่ง​แวดล้อมจัด​การด้วยวิธีฝังกลบ รี​ไช​เคิล ​หรือ​เปลี่ยน​เป็นพลังงาน
2.ขยะติด​เชื้อ บริษัทกรุง​เทพธนาคม จำกัด จัด​การ​โดยวิธี​เผาด้วย​เตา​เผา​แรงดันสูง ​และ
3.ขยะอันตราย ​หรือ มูลฝอยอันตราย (Hazardous waste) ​ซึ่งจากรายงาน​การจัด​เ​ก็บปัจจุบันพบว่าจัด​เ​ก็บ​ได้​เพียง 0.60 ตัน/วัน ​ซึ่ง​เป็นปริมาณที่น้อยมาก​เมื่อ​เทียบกับปริมาณมูลฝอยอันตรายที่คาด​การณ์​เฉลี่ย 24 ตัน/วัน ​เนื่องจากประชาชนขาด​ความรู้​ความ​เข้า​ใจ​และ​แรงจูง​ใจ​ใน​การคัด​แยก

​โดยมูลฝอยอันตราย อาทิ ​แบต​เตอร์รี่ ถ่าน​ไฟฉาย ​ไส้ปากกา กระดาษคาร์บอน กระป๋องสาร​เคมีกำจัด​แมลง​หรือยุง กระป๋องส​เปรย์ กระป๋องสีทาบ้าน ขวดยาหมดอายุ หลอด​ไฟ หมึกพิมพ์ ​เป็นต้น ​ซึ่ง​แต่ละประ​เภทจะมีสารพิษที่​ทำลายสุขภาพ ​เช่น สารหนู(ก่อมะ​เร็ง), ​แคด​เมียม(พิษต่อระบบหาย​ใจ), ตะกั่ว(พิษต่อระบบย่อยอาหาร​และระบบหาย​ใจ ระยะยาวมีผลต่อสมอง​และระบบประสาท), ปรอท(พิษต่อระบบประสาท​ทำ​ให้พิ​การ) ​และ​แมงกานีส(ประสาทหลอนสมองอัก​เสบ) ​จึงจำ​เป็นต้องกำจัดอย่างถูกวิธี ​จึง​เกิด​โครง​การดังกล่าวขึ้น

สำหรับกิจกรรมนอกจากรณรงค์​ให้​ความรู้​และสร้าง​ความ​เข้า​ใจ​ในวิธี​การคัด​แยกขยะอย่างถูกวิธี​แล้วจะสร้าง​แรงจูง​ใจ​ให้ประชาชนร่วมกัน​การคัดขยะอันตรายจากมูลฝอยทั่ว​ไป​โดย​ให้นำขยะอันตราย​ไป​แลกยาสามัญประจำบ้าน​ได้ที่​โรงพยาบาลสังกัดกรุง​เทพมหานคร 8 ​แห่ง ​ได้​แก่ ​โรงพยาบาลกลาง, ​โรงพยาบาลตากสิน, ​โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธ​โร อุทิศ, ​โรงพยาบาล​เวช​การุณย์รัศมิ์, ​โรงพยาบาลราชพิพัฒน์, ​โรงพยาบาลลาดกระบังกรุง​เทพมหานคร, ​โรงพยาบาล​เจริญกรุงประชารักษ์ ​และ​โรงพยาบาลสิรินธร ​ซึ่งอาจประสาน​เพิ่มจุดรับ​แลกที่วชิรพยาบาล​และศูนย์บริ​การสาธารณสุข​เพื่อ​ให้ครอบคลุมประชาชนทุกพื้นที่ ​โดยกทม.จะ​เปิดรับ​แลกมูลฝอยอันตราย ตั้ง​แต่วันที่ 15 กันยายน — 31 ธันวาคม 2554 ​โดยตั้งจุดรับ​แลก​เฉพาะมีถังขยะสำหรับบรรจุขยะอันตรายที่ประชาชนนำ​ไป​แลก​เพื่อขนย้าย​ไป​ทำลายอย่างถูกวิธีต่อ​ไป

แนวหน้า 9 กันยายน 2554

8793
ที่โรงพยาบาลอินทร์บุรีจังหวัดสิงห์บุรีน้ำเจ้าพระยาไหลเอ่อท่วมทางเข้า ออกของรพ.อินทร์บุรีมีระดับสูง 1 เมตร เจ้าหน้าที่จึงเร่งการสร้างสะพานเหล็กยาวประมาณ 700 เมตรจากรพ.ถึงถนนสายสิงห์บุรี ชัยนาทเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเจ้าหน้าที่ หมอ พยาบาล พร้อมตั้งศูนย์บริการชั่วคราวให้กับประชาชนและนำรถอีนแต๋นรับส่ง และแจ้งเตือนประชาชน ผู้เข้ารับรับการรักษาติดตามสถานการณ์อย่างใก้ลชิดในระยะ2- 3 วันนี้

รพ.อินทร์บุรีจัดชุดแพทย์เคลื่อนที่ช่วยน้ำท่วม

พญ.วนิดา สาดตระกูลวัฒนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เปิดเผยว่า ภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ สำหรับโรงพยาบาลอินทร์บุรีแล้ว ประสบปัญหาบริเวณรอบนอกของโรงพยาบาล เท่านั้น เนื่องจากที่ตั้งของโรงพยาบาลอินทร์บุรีมีสันเขื่อนล้อมรอบ จึงไม่ทำให้ไม่มีน้ำเข้าท่วมขังบริเวณภายในโรงพยาบาล ดังนั้นทางโรงพยาบาลจึงให้ความสำคัญต่อการที่จะดูแลประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม จึงได้จัดทีมแพทย์เคลื่อน ออกหน่วยบริการ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนที่จะได้รับบริการทางการแพทย์ ทั้งนี้เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางและเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนในพื้นที่ สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังที่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิด หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองเองได้และผู้สูงอายุในช่วงที่น้ำท่วมขังอาจต้องเป็นภาระให้กับบุคคลในครอบครัวมากขึ้น ก็ได้จัดเตรียมหอผู้ป่วยบางส่วนไว้สำหรับรองรับ

เนชั่นทันข่าว 9 กย. 2554

8794
    เมื่อเวลา 18.30 น. วันที่ 10 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากฝนตกตลอดทั้งวัน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากท่วมริมถนนมิตรภาพ ระหว่าง กม.ที่ 22-23 หมู่ 5 และ 9 ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี รถยังสามารถวิ่งผ่านได้อย่างช้าๆ

    หน่วยกู้ภัยสว่างรัตนตรัยธรรมสถาน จุด อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ร่วมกับ กู้ภัยร่วมกตัญญู สระบุรี พร้อมอาสาของอำเภอมวกเหล็ก เจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลมวกเหล็ก ช่วยกันบรรจุทรายใส่ถุงปุ๋ย นำไปวางกั้นกันน้ำป่าที่เริ่มไหลทะลักเข้ามาล้นคลองน้ำที่ไหลผ่านกลางโรงพยาบาล

    โดยทางพยาบาล เจ้าหน้าที่ ที่เข้าเวร ของโรงพยาบาล อ.มวกเหล็ก ต่างเตรียมพร้อมเฝ้าระวังนำท่วมตลอด 24 ชั่วโมง หากมีปัญหาเกิดขึ้น ได้เตรียมแผนการย้ายผู้ป่วย จำนวน 30 เตียง ไปยังโรงพยาบาล อ.แก่งคอย และโรงพยาบาลสระบุรี ไว้แล้ว หากถึงเวลานั้นจริงๆ จะไปปลุกเจ้าหน้าที่ที่ออกเวรมาช่วยกันขนย้ายผู้ป่วยด้วย

    ต่อมาเมื่อเวลา 19.30 น. อ่างเก็บน้ำเขารวก ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกสามกลั่น ต.หนองปลาไหล อ. เมือง จ.สระบุรี ขนาดบรรจุน้ำประมาณ 7,500 ลูกบาศก์ เป็นอ่างดิน เกิดแตกทำให้น้ำไหลทะลักลงสู่เบื้องล่าง เบื้องต้นทราบว่า มีบ้านถูกน้ำพัดสูญหายไป 1 หลังคาเรือน มีอีกหลังคาเรือนหนึ่งยังไม่ทราบชะตากรรม กำลังตรวจสอบ เพราะได้แจ้งปิดกระแสไฟฟ้าทั้งหมดในบริเวณน้ำตกสามกลั่นหมดแล้ว ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

เนชั่นทันข่าว 10 กย. 2554

8795
เสียงรถมอเตอร์ไซค์ ต่อที่นั่งด้านข้างแบบพ่วง ออกเดินทางทั้งที่ฟ้ายังไม่เริ่มสาง พร้อมผู้โดยสารขาประจำ และเสียงรถมอเตอร์ไซค์คันเดิมก็วิ่งกลับมาบนเส้นทางเดิมในยามเย็น พร้อมกับผู้โดยสารคนเดิม ถือภาพประทับใจของใครหลายคน ที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่ามานานแรมปี หลายคนเห็นความหวัง ความรัก และการต่อสู้ในแววตาคู่นั้น ที่กว่าจะมีวันนี้ได้ ต้องต่อสู้กับความสิ้นหวังและเจ็บปวด จากอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงของชีวิตที่พลิกผันจากคนปกติกลายเป็นคนพิการ มานานกว่า 9 ปี
   
       ด้วยอุบัติเหตุ ถูกแผงเหล็กขนาดใหญ่ทับแผ่นหลัง ทำให้ "ดำรงค์ กลีบแก้ว" กลายเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหว ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ใครๆ ก็บอกว่ารอดยาก แต่ด้วยความรักและจิตใจที่มุ่งมั่นของน้อย-บุญไทย กลีบแก้ว แกนนำเครือข่ายจิตอาสา ผู้เป็นภรรยาที่ยืนหยัดต่อสู้กับอาการพิการทางการเคลื่อนไหวของสามีอย่างไม่ย่อท้อ จึงทำให้พี่ดำรงค์อาการดีขึ้นเรื่อยๆ
       
       “เมื่อเขาป่วย เราก็ต้องลาออกจากงานมาดูแล ต้องพลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ ตอนนั้นหมอก็บอกว่าอาการ รอด 50 ต่อ 50 แต่ก็ไม่คิดจะทิ้งเขาไปไหน เพราะเรายึดมั่นในการมีสามีเดียว ภรรยาเดียว แล้วเราก็มีลูกด้วยกัน 2 คน ที่ต้องช่วยกันดูแล ” น้อย เล่าพร้อมกับยิ้มกว้าง
       
       หลังดูแลสามีด้วยตัวเองเป็นระยะนานหลายปี ในปี 2553 พื้นที่ อ.นายายอาม จ.จันทบุรี ได้เกิดโครงการพัฒนาระบบการดูแลคนพิการโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการสร้างจิตอาสาดูแลคนพิการ โดยมีอาสาสมัครในชุมชน ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นทั้งอำเภอและตำบล และนักวิจัยด้านการดูแลคนพิการและพัฒนาร่วมมือกัน โดยมีสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) ให้การสนับสนุน ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญเพื่อดูแลสุขภาพคนพิการที่บ้านให้คนพิการได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม มีชุมชนเป็นแนวร่วมภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้ ตามที่คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2550 กำหนด พี่น้อยจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าวและทำงานเป็นเครือข่ายจิตอาสาดูแลคนพิการนับแต่นั้นเป็นต้นมา
       
       น้อย เล่าถึงการทำงานในฐานะอาสาสมัครจิตอาสาดูแลคนพิการ ว่า เมื่อดูแลสามีได้ก็ต้องดูแลคนอื่นได้ ดังนั้น เมื่อเข้าร่วมโครงการ เป็นอาสาสมัครจิตอาสาแล้วก็ได้เข้าอบรมการดูแลผู้พิการ จากนักวิชาการ และแพทย์ ได้ออกไปเยี่ยมคนพิการในพื้นที่ในความรับผิดชอบ คือหมู่บ้านคลองชาก โดยสิ่งสำคัญของการเป็นอาสาสมัคร คือ ใจมาก่อนเป็นอันดับแรก
       
       สอดคล้องกับปัทมา รัตนาธรรม หรือปู พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลนายายอาม ในฐานะผู้ร่วมวิจัยโครงการฯ เล่าถึงที่มาโครงการฯว่า สืบเนื่องจากปี 2549 ที่โรงพยาบาลนายายอาม จัดอบรมกายภาพบำบัดให้กับคนในชุมชน ซึ่งภายหลังจากอบรมแล้วพบว่าชาวบ้านที่เข้าอบรมไม่ได้นำความรู้ไปใช้ต่อ จึงคิดหาวิธีว่าจะทำแบบไหนให้ความรู้ไม่หายไป โดยในปี 2551 จึงเกิดโครงการพัฒนาอาสาสมัครดูแลคนพิการ ขึ้นในพื้นที่ ต.นายายอาม ซึ่งเกิดผลดีกับคนในชุมชนที่ช่วยกันดูแลคนพิการ จากนั้นเมื่อปี 2553 ได้มีการขยายพื้นที่ทำงานออกไปเป็นครอบคลุม 6 ตำบลใน อ.นายายอาม โดยมี สสพ.และ สปสช.เป็นผู้สนับสนุนโครงการ
   
       “หลักการทำงานที่ผ่านมา จะเอาข้อมูลในชุมชนมาวิเคราะห์ว่าเกิดปัญหาอะไรบ้าง จากนั้นก็หาวิธีในการแก้ไข ซึ่งพบว่าคนพิการไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร เราจึงแก้ปัญหาด้วยการอบรมจิตอาสาให้คนในชุมชนและครอบครัวซึ่งเป็นฐานสำคัญช่วยดูแลคนพิการ และถือว่ามีความใกล้ชิดกับคนพิการมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นกำลังใจที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้อาการของคนพิการดีขึ้น” ปู กล่าว
       
       ปู สะท้อนต่อว่า การทำงานที่ผ่านมาเริ่มเห็นผลมากขึ้นเรื่อยๆ และยังแนะหลักการเบื้องต้นในการดูแลคนพิการในครอบครัวว่า ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่า คนในครอบครัวมีความพิการทางด้านใด เช่น พิการทางกาย ต้องดูแลโดยการให้ทานยา ทำกายภาพบำบัด หรือถ้ามีความพิการทางสติปัญหา ก็ต้องดูแลโดยให้ความรู้ที่เหมาะกับเขา ต่อมาก็ต้องให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิทางสังคมว่าสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานอะไรบ้าง ซึ่งทุกอย่างที่ว่ามานั้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่คนในครอบครัวจะต้องช่วยดูแล เช่นเดียวกับที่พี่น้อยดูแลพี่ดำรงค์ ผู้เป็นสามีอย่างดี
       
       หลัง ดำรงค์ ออกจากโรงพยาบาล พี่น้อย บอกว่า พี่ดำรงค์ นั่งไม่ได้ จึงพาไปรักษาที่วัด ก็ฝึกให้นั่งพิงเสาทุกๆ วัน เราก็ทำงานที่วัด ล้างถ้วย ชาม กวาดลานวัด ทำความสะอาดห้องน้ำ และดูแลสามีไปด้วย ส่วนลูกอีก 2 คนฝากให้ญาติช่วยดูแล หลังอยู่ที่วัดมานานกว่า 8 เดือน ก็รู้สึกเกรงใจที่วัด จึงพาสามีกลับมาอยู่ที่บ้าน และตอนที่ออกจากวัดพี่ดำรงค์ก็นั่งได้แล้ว เมื่อมาอยู่บ้านพี่น้อยได้ดัดแปลงอุปกรณ์ในบ้าน โดยเอาเชือกพาดไว้กับขื่อที่อยู่ใกล้ๆ กับเตียง เพื่อเอาไว้ให้พี่ดำรงค์จับเชือกพยุงตัวเมื่อต้องการลุกจากเตียง จากนั้นก็ลากวีลแชร์ไปวางไว้ด้านหลังเพื่อให้นั่งได้พอดี
       
       “เชื่อว่า ที่เขาแข็งแรงขึ้น เพราะเขาก็มีกำลังใจ กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญมาก ยาอะไรก็ไม่ดีเท่ายาใจ และควรมองโลกในแง่ดี คิดบวกเข้าไว้ และสุดท้ายต้องมีความหวัง พี่ดำรงเขาวางเป้าหมายว่าต้องเดินให้ได้” น้อยพูด พร้อมกับนัยน์ตาที่เป็นประกาย
       
       ด้าน ดำรงค์ ร่วมเล่าว่า ถ้าวันนั้น ไม่มีภรรยา เขาคงตายไปแล้ว ตลอดเวลา 9 ปีที่ผ่านมาภรรยาดูแลเขาดีมาก เหมือนภรรยาเป็นผู้ให้ชีวิตใหม่ แต่ก็ยอมรับว่าเคยคิดฆ่าตัวตาย
       “ผมเคยท้อแท้ สิ้นหวังในชีวิต จนถึงขั้นอยากตาย เพราะว่าไม่รู้จะอยู่ไปทำไม เดินก็ไม่ได้ ไม่มีประโยชน์ ทำงานไม่ได้ เป็นภาระให้ครอบครัว แต่เมื่อเห็นหน้าภรรยา เห็นหน้าลูก ก็ทำให้ผมฮึดสู้ขึ้นมาอีกครั้ง ประกอบกับบางครั้งก็มีทีมอาสาสมัครที่เป็นจิตอาสาเข้ามาเยี่ยม ถามสารทุกข์สุขดิบ ให้การรักษาร่วมพูดคุย จนทำให้ผมรู้ว่า ชีวิตของเรายังมีค่านะ เรายังมีลมหายใจ ยังทำอะไรที่เป็นประโยชน์ได้มากมาย ตอนนี้ผมจึงตั้งเป้าในชีวิตว่า ผมต้องเดินให้ได้” ดำรงค์พูดด้วยเสียงหนักแน่น
       
       ดำรงค์ เล่าต่อว่า หลังอาการดีขึ้นตามลำดับ จึงหันมาทำอาชีพขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รายได้ไม่มาก 200-300 ต่อวัน ช่วยแบ่งเบาภาระของภรรยาได้ เป็นชีวิตที่เรียบง่ายแต่เต็มปี่ยมไปด้วยความสุข

อบรมจิตอาสา
       เรื่องราวความผูกพันระหว่างคนในครอบครัวยังไม่จบเพียงเท่านี้ ขวัญ-จิรพรรณ โพธิ์ทอง ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาระบบการดูแลคนพิการโดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน ร่วมสะท้อนว่า แม่ได้ป่วยเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหว จากบทบาทผู้ประสานงาน เมื่อกลับบ้านที่ จ.สุพรรณบุรี พี่ขวัญสวมบทเป็นพยาบาลดูแลแม่ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เช่นเดียวที่แม่เคยดูแลตอนยังเด็ก
       
       “ไม่ใช่ว่าไม่เสียใจนะที่แม่ป่วย แต่ในความเสียใจตรงนี้ เราก็ดีใจที่มีโอกาสได้ดูแลแม่ ตอนที่แม่ป่วย แม่บอกว่าจะเอาเขาไว้ทำไม ในเมื่อแม่ไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว เราก็เดินเข้าไปกอดแม่ และบอกว่า แม่ไม่ต้องทำอะไร แค่แม่นั่งอยู่เฉยๆ แบบนี้ แค่เห็นหน้าแม่ เราก็มีความสุขแล้ว เพราะแม่คือกำลังใจ คือทุกอย่างของลูก พอแม่เขาฟังเขาก็ถามว่า จริงเหรอ เราก็บอกว่าจริงสิแม่” ขวัญ เล่าพร้อมกับน้ำตาคลอ
       
       พอแม่ป่วย ขวัญ บอกว่า ต้องปรับบ้านใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเตียงนอนก็ปรับให้เท่าขนาดวีลแชร์ที่แม่จะขึ้นไปนอนได้อย่างไม่ลำบาก ห้องน้ำก็ปรับให้เท่ากับแม่ ทั้งกระจก และฝักบัว ต้องทำให้ง่ายต่อการทำธุระของแม่ ถ้วย จาน ชาม แก้วน้ำ ก็เปลี่ยนเป็นพลาสติกหมด เพื่อปรับให้เข้ากับแม่
       
       ทุกคนบนโลกใบนี้ ล้วนต้องการกำลังใจในการดำเนินชีวิต ดังนั้นไม่ว่าเราจะเป็นคนพิการ หรือคนทั่วไป สิ่งสำคัญที่เราไม่ควรลืมเติมเต็มให้ชีวิตก็คือ กำลังใจ รวมถึงความมีค่าในความเป็นคน คนทุกคนมีจุดนี้เท่าเทียมกัน ดังนั้น อย่าลืมให้กำลังใจกับคนที่อยู่รอบข้างและคนที่คุณรัก


ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 กันยายน 2554

8796
กรมอนามัย-สสส. ค้นพบ 5 นวัตกรรมโภชนาการสมวัยช่วยเด็กไทยพ้นภัย ผอม-เตี้ย-อ้วน-โง่ หลังพบเด็กไทยในวัยเรียนเกินครึ่ง หรือ 1 ใน 5 กินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ แถมกินอาหารว่างให้พลังงานเกินความจำเป็นเกือบ 3 เท่า เตรียมนำ 5 นวัตกรรมไปใช้ 300 กว่าโรงเรียน ใน 9 จังหวัดนำร่อง พร้อมชงเป็นนโยบายพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการเด็กวัยเรียนในปี 55
       
       
       วันนี้ (10 ก.ย.) ที่โรงแรมริชมอนด์ โครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย ดำเนินการโดยกรมอนามัย และสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้การสนับสนุน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการประชุมและเปิดตัวนวัตกรรมโรงเรียนโภชนาการสมวัย มีการนำเสนอนวัตกรรมโรงเรียนโภชนาการสมวัยของสถานศึกษา และพิธีมอบโล่เกียรติคุณแก่ภาคีเครือข่ายโภชนาการสมวัย และเกียรติบัตรให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิในกรพัฒนานวัตกรรมโภชนาการสมวัยและโรงเรียนโภชนาการสมวัย
       ศ.เกียรติคุณ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ นกยกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ประธานเปิดโครงการการประชุม กล่าวว่า โครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัยของกรมอนามัยได้ดำเนินการมาถูกทางแล้วและเป็นงานที่สำคัญ เพราะโภชนาการสมวัยนั้นจะต้องสมวัยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดาเกิดมาจะต้องมีน้ำหนักมาตรฐาน 3 กิโลกรัม และเมื่อเข้าสู่ระบบโรงเรียนต้องมีน้ำหนัก ส่วนสูงเหมาะสมตามวัย และเป้าหมายสำคัญที่สุดคือมีสุขภาพที่ดี โดยโภชนาการที่ดีสมวัยนั้นต้องเกิดการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ดี ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากและท้าทาย ดังนั้น โครงการนี้จึงมีจุดเด่นมากเพราะเป็นโครงการที่ลงสู่ชุมชน และผู้ที่รับผิดชอบหลักคือองค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภายในชุมชนก็มีโรงเรียน ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญของชุมชนที่จะร่วมมือกันขยายผลต่อไป จุดเด่นสำคัญอีกประการคือการนำวิชาการมาใช้ในการพัฒนา เพราะทำให้เกิดนวัตกรรม เกิดความคิดใหม่ น่าเชื่อถือมีหลักฐานทางวิชาการที่หนักแน่น จุดเด่นที่สามคือเนื้อหาหลักๆ ในด้านโภชนาการ ผัก ผลไม้ ลดความหวาน มัน เค็ม โรคอ้วน ทั้งหมดนี้อยากให้เรียนรู้โดยการการปฏิบัติ เพื่อให้นำไปสู่พฤติกรรมทางด้านโภชนาการและสุขภาพที่ดีและยั่งยืน และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นจะต้องนำสู่การประเมินพฤติกรรม ผลที่พึงเกิดขึ้นด้วย
       
       นพ.ณรงค์ สายวงศ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ และผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กล่าวว่า ในปีที่สามนี้จะดำเนินการใน 4 กลยุทธ์ คือ สร้างระบบเตือนภัยและการจัดการด้านอาหารและโภชนาการ การผลักดันให้เกิดแผนชุมชนเพื่อพัฒนาเด็กไทยให้มีโภชนาการสมวัย การพัฒนาสู่องค์กรที่พึงประสงค์ด้านโภชนาการ และการสื่อสารสาธารณะและการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะด้านโภชนาการสมวัย และรวมถึงการจัดเวทีถอดบทเรียนและกำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อขับเคลื่อนงานโภชนาการในระดับพื้นที่และระดับชาติ ที่จะส่งผลให้เด็กไทยซึ่งเป็นอนาคตของชาติมีโภชนาการสมวัยต่อไป
       
       นายสง่า ดามาพงษ์ ผู้จัดการโครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย เปิดเผยว่า จากการศึกษาและการสำรวจโรงเรียนหลายแห่ง พบ 1 ใน 5 ของเด็กไทยวัยเรียนระดับประถมศึกษา กินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ โดยเด็กนักเรียน ร้อยละ 60 ไม่ได้กินอาหารเช้า, ร้อยละ 68 กินผัก และ ร้อยละ 55 กินผลไม้น้อยกว่า 1 ส่วนต่อวันตามลำดับ ขณะเดียวกันเด็กนักเรียน 1 ใน 3 กินอาหารประเภทแป้ง ไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูงเป็นประจำ และกินอาหารว่างที่ให้พลังงานเกินกว่ามาตรฐานเกือบ 3 เท่า ที่น่าตกใจคือ ร้อยละ 49.6 กินขนมกรุบกรอบเป็นประจำ และในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา เด็กไทยกินขนมกรุบกรอบเพิ่มเป็น 2 เท่า จะเห็นได้ว่า เด็กไทยวัยเรียนมีพฤติกรรมทางอาหารและโภชนาการที่ไม่พึงประสงค์จำนวนสูงมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยผอม เตี้ย อ้วน และไอคิวต่ำ ด้วยเหตุนี้ โครงการโภชนาการสมวัยฯ จึงได้พัฒนานวัตกรรมทางอาหารและโภชนาการขึ้นมา 5 ชิ้น เพื่อใช้เป็นกลไกหรือเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโภชนาการในเด็กไทยวัยเรียนระดับประถมศึกษาให้พึงประสงค์ เพื่อเด็กจะได้มีโภชนาการสมวัยต่อไป
       
       นายสง่า กล่าวต่อว่า โครงการโภชนาการสมวัยฯ พัฒนารูปแบบสื่อและเครื่องมือการดำเนินงานโภชนาการในโรงเรียนนำร่อง 4 สังกัด คือ สพฐ. กทม. เทศบาล และเอกชน จำนวน 33 แห่ง ใช้เวลาในการพัฒนา 3 ปี จนเกิดนวัตกรรมโภชนาการสมวัย จำนวน 5 ชุด ดังนี้

ชุดที่ 1 ชุดเรียนรู้กลางเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัยใช้เป็นคู่มือครูในการเรียนการสอนโภชนาการแบบมีส่วนร่วมจำนวน 4 เรื่อง คือ ธงโภชนาการ, ผักผลไม้, ลดหวาน มัน เค็ม และโรคอ้วน โดยบูรณาการทั้ง 4 เรื่องเข้าไว้ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้

ชุดที่ 2 คู่มือปฏิบัติการมาตรฐานอาหารในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ใช้เป็นแนวปฏิบัติการกำหนดและการให้บริการอาหารกลางวัน อาหารว่าง และเครื่องดื่มในโรงเรียนให้ได้มาตรฐานโภชนาการ

ชุดที่ 3 โปรแกรมสำเร็จรูปอาหารกลางวันและการเฝ้าระวังการเจริญเติบโตเพื่อให้โรงเรียนได้นำไปกำหนดชนิดและปริมาณอาหารที่จะนำมารปรุงประกอบอาหารกลางวันให้ได้กินครบคุณค่าทางโภชนาการตลอดจน บอกภาวะโภชนาการเด็กและแนวทางส่งเสริมป้องกันในโปรแกรมสำเร็จรูป

ชุดที่ 4 คู่มือประเมินตนเองของโรงเรียนโภชนาการสมวัยใช้สำหรับโรงเรียนประเมินตนเองเพื่อหาจุดแข็ง-จุดอ่อนของโรงเรียนในการส่งเสริมโภชนาการในโรงเรียน และ

ชุดที่ 5 โปรแกรมประเมินตนเองด้านอาหารและโภชนาการนำเอาข้อมูลจากการประเมินตนเองป้อนเข้าโปรแกรมก็จะทำให้โรงเรียนได้รู้สถานการณ์โภชนาการของตนเอง
       
       “นวัตกรรมโภชนาการสมวัยทั้ง 5 ชุด ได้นำไปทดลองใช้ในโรงเรียนนำร่อง จนเกิดผลดีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาหารและโภชนาการของเด็กวัยประถมศึกษาและมีการนำไปใช้ในการขยายสู่โรงเรียนอื่น ดังนั้นโครงการโภชนาการสมวัยจึงได้เปิดตัวนวัตกรรมโภชนาการสมวัย 5 ชุด และขยายพื้นที่การทดลองได้ในอีก 300 กว่าโรงเรียน ใน 9 จังหวัดนำร่อง โดยจะเริ่มทดลองใช้ในปีการศึกษาปีที่ 2 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 - มีนาคม 2555 หลังจากนั้นจะนำผลการดำเนินงานมาถอดบทเรียนและสรุปจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการเด็กวัยเรียนในกลางปี 2555 ต่อกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุขเพื่อกำหนดให้เป็นนโยบายของชาติต่อไป” นายสง่า กล่าว


ASTVผู้จัดการออนไลน์    10 กันยายน 2554

8797
จี้ สธ.ท้วงร่างประกาศยูเอ็น ข้อตกลงโรคไม่ติดต่อ หลังพบสหรัฐฯยุโรป สอดไส้ไม่ให้ซีแอลกลุ่มยาโรคไม่ติดต่อ

น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล  เจ้าหน้าที่องค์การหมอไร้พรมแดน เปิดเผยว่า ในการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศสมาชิกสหประชาชาติในวาระการประชุมเพื่อหารือในประเด็นการป้องกันโรคไม่ติดต่อ (UN High Level Meeting on Non Communicable Diseases) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 17-22 กันยายน นี้ ที่รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยในวันดังกล่าวจะมีการประกาศข้อตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาตกลงเพื่อจัดทำร่างคำประกาศดังกล่าว โดยในประเด็นเรื่องการเข้าถึงยา ปรากฎว่าทางประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศใหญ่ๆ กลับพยายามขัดขวางไม่ให้มีการระบุถึงกลไกยืดหยุ่นในข้อตกลงทริปส์ (TRIPS' Flexibilities) ในการประกาศบังคับสิทธิ์ ที่มีไว้เพื่อให้ประเทศต่างๆ สามารถใช้ในยามจำเป็น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาและ แก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศ 

ทั้งนี้ข่าวล่าสุดแจ้งว่า ในข้อความของร่างประกาศที่จัดทำนี้ ทางสหรัฐและสหภาพยุโรป ไม่ยอมให้มีการระบุถึงข้อตกลงทริปส์เลย โดยพยายามบ่ายเบี่ยงว่า กลไกยืดหยุ่นต่างๆมีไว้สำหรับการแก้ปัญหาโรคติดต่อเท่านั้น คือ โรคเอดส์ มาลาเรีย และวัณโรคเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นความจริง แถมยังพยายามโกหกในประเด็นนี้ทุกเวที

น.ส.กรรณิการ์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เราเริ่มวิตกกังวล เพราะหากมีการประกาศข้อตกลงดังกล่าวจริง จะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยาของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อในหลายประเทศได้ ซึ่งโรคไม่ติดต่อเหล่านี้กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขของโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา และกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา และเท่าที่ทราบ ขณะนี้ทางตัวแทนไทยที่เข้าร่วมจัดทำร่างประกาศนี้ ทำท่าที่จะยอมในประเด็นดังกล่าวนี้ เนื่องจากเห็นว่า ข้อตกลงภาพรวมที่ไทยได้มาอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ทั้งที่เรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่ที่สุด

“ประเด็นนี้ ดิฉันคิดว่า เจ้าหน้าที่ไทยที่เข้าร่วมเจรจาที่นิวยอร์คอาจจะยังไม่ทราบถึงความสำคัญของ Doha Declaration ว่าสำคัญมากขนาดไหน เพราะในความตกลงทริปส์นั้น มีกลไกยืดหยุ่นการเข้าถึงยา มาตั้งแต่ปี 1994 แต่ไม่มีประเทศกำลังพัฒนาไหนกล้าใช้ จนกระทั่งประเทศกำลังพัฒนาต้องผลักดันให้มีคำประกาศโดฮาในปี 2001 เพื่อรับรองสิทธินี้ของประเทศสมาชิก หลายๆ ประเทศกำลังพัฒนาจึงเริ่มกล้าใช้เมื่อถึงคราวจำเป้นในการแก้ปัญหา สาธารณสุขในประเทศ ซึ่งรวมทั้งการประกาศบังคับใช้สิทธิของประเทศไทยด้วย ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ที่ต้องระบุในคำประกาศนี้” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว และว่า จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างยิ่ง หากผู้แทนไทยที่ทำหน้าที่เจรจาจะมองข้ามสาระสำคัญนี้ อันเป็นหัวใจหลักของการแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อ และเชื่อว่าทางกระทรวงสาธารณสุขเอง คงยังไม่ทราบในประเด็นนี้

น.ส.กรรณิการ์ กล่าววต่อว่า สำหรับสิ่งที่ผู้แทนไทยในสหประชาชาติที่นิวยอร์คควรทำขณะนี้ คือการขอสงวนความเห็นในสาระที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในร่างเอกสารก่อน แล้วรอให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุขไปเจรจาเอง ซึ่งครั้งนี้ทราบว่า ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนใหม่ จะร่วมเดินทางไปด้วยตัวเอง พร้อมกับเจ้าหน้าที่กระทรวงที่เข้าใจประเด็นเหล่านี้ อย่างลึกซึ้งไปเจรจาต่อเองในปลายสัปดาห์หน้า แทนที่จะยอมตามสหรัฐและสหภาพยุโรปเช่นนี้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  8 กันยายน 2554

8798
"ต่อพงษ์" อ้าง​เ​ก็บ 30 บาทบัตรทอง ​เพื่อ​ให้ประชาชนตระหนัก​ใน​การมีส่วนร่วม ยืนยัน "รัฐบาล​เพื่อ​ไทย" ​เตรียม​เพิ่มค่า​ใช้จ่ายต่อหัว​ให้อีก

นายต่อพงษ์ ​ไชยสาส์น รัฐ มนตรีช่วยว่า​การกระทรวงสาธารณ สุข กล่าวว่า ศักยภาพของรัฐบาล​ในขณะนี้สามารถ​ให้บริ​การรักษาพยาบาลฟรี​แก่ประชาชน​ได้ ​แต่จุด ยืน​การนำน​โยบาย 30 บาทรักษาทุก​โรคกลับมา​ใช้อีกครั้ง ​เนื่องจาก ต้อง​การสอน​ให้พล​เมืองตระหนัก​ถึง​การมีส่วนร่วม ​โดย​การร่วมจ่าย ร่วม​ทำ ร่วมกันดู​แล รักษา​เป็นหน้า ที่ของทุกคน ​ไม่​ใช่​ใครคน​ใดคนหนึ่ง

"​การบริ​โภคต้องคำนึง​ถึง หลัก​การ​และ​เหตุผล ถ้า​ให้บริ​โภคอย่างสุรุ่ยสุร่าย​โดย​ไม่คำนึง​ถึง​ความพอดี ท้ายที่สุดมัน​ก็จะสำรอก ออกมา" นายต่อพงษ์กล่าว

รมช.สธ.กล่าวอีกว่า ยืนยันว่ารัฐบาล​เพื่อ​ไทยพร้อมจะ​เพิ่มงบประมาณ​ให้กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ (สปสช.) ​และหน่วยบริ​การจะ​ได้งบ​เหมาจ่ายรายหัว​เพิ่มขึ้น อย่าง​ไร​ก็ตาม ต้องศึกษาต่อ​ไปว่าหาก​เพิ่มงบ​แล้ว​โรงพยาบาลยัง​เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องอีก นั่น​แสดง​ถึง​การบริหารจัด ​การที่​ไม่ดี​หรือ​ไม่

​ทั้งนี้ ​ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ จะมี​การประชุมคณะกรรม​การ สปสช. ​เพื่อคัด​เลือกกรรม​การ​ผู้ทรงคุณวุฒิ ​โดยมีนายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณ สุข ​และนายต่อพงษ์​เข้าร่วมด้วย คาดว่าจะมี​การหารือ​ถึง​แนวทาง​การ ​เ​ก็บ 30 บาท​ให้ชัด​เจนขึ้น.

​ไทย​โพสต์  9 กันยายน 2554

8800
ลอรีอัลมอบทุน “สตรีในงานวิทยาศาสตร์” ปีที่ 9 แก่ 4 นักวิจัยหญิงในสาขาวัสดุศาสตร์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แพทย์รามาผู้ริเริ่มวิจัยความเกี่ยวข้องปริมาณสารพันธุกรรมบนโครโมโซมกับโรคทางพันธุกรรม นักวิจัยไบโอเทคผู้ศึกษาความสัมพันธ์ระบบโปรตีนกุ้งและไวรัส นักวัสดุศาสตร์ผู้วิจัยสารเติมแต่งเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ฉลาด และนักวิจัยนาโนเทคผู้พัฒนาอนุภาคนาโนเพื่อใช้ห่อหุ้มสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ
       
       บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด มอบทุนโครงการทุนวิจัยลอรีอัลประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Woman in Science) ด้วยความร่วมมือกับสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ครั้งที่ 9 แก่ 4 นักวิจัยหญิงไทยในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Science) และสาขาวัสดุศาสตร์ (Material Science) โดยทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ได้ร่วมงานเปิดตัวผู้ได้รับรางวัลเมื่อวันที่ 7 ก.ย.54 ณ โรงแรมแกรนด์ มิลเลนเนียม
       
       ผู้ได้รับรางวัลในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ได้แก่ ดร.พญ.ณฐินี จินาวัฒน์ จากสำนักงานวิจัยวิชาการและนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และดร.แสงจันทร์ เสนาปิน จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ส่วนผู้ได้รับรางวัลในสาขาวัสดุศาสตร์ ได้แก่ ผศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ จากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค)
       
       ผลงานของ ดร.พญ.ณฐินี คืองานวิจัยในการศึกษาความเกี่ยวข้องของปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ (DNA) บนโครโมโซมกับโรคทางพันธุกรรม โดยใช้เทคนิคใหม่ในการตรวจดีเอ็นเอทั้งหมดที่เรียกว่า “จีโนม-ไวด์ เอสเอ็นพี อาร์เรย์” (Genome-wide SNP array) ซึ่งเธอบอกทีมข่าววิทยาศาสตร์ฯ ว่าเทคนิคนี้ต่างจากเทคนิคเดิมที่แยกโครโมโซมออกมาแล้วดูด้วยตาเปล่าผ่านกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งใช้กันมากว่า 50 ปีแล้ว แต่เทคนิคใหม่นั้นจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ ซึ่งจะให้ผลที่ละเอียดอีกกว่า และทราบความผิดปกติเพียงเล็กน้อยที่เกิดขึ้นบนตำแหน่งโครโมโซมได้
       
       “เดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยีใหม่ที่เราจะหั่นดีเอ็นเอเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่เข้าไปในแผ่นสไลด์ จากนั้นนำไปวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะวิเคราะห์ออกมาได้อย่างละเอียด แม้มีปริมาณดีเอ็นเอขาดหรือเกินเพียงเล็กน้อย ซึ่งต่างประเทศเริ่มนำมาใช้ตรวจคนไข้เมื่อประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว และเริ่มแพร่หลายเมื่อปี 2551 โดยในสหรัฐฯ ถือว่าวิธีนี้เป็นตัวชี้นำในการตรวจวัดคนไข้ที่เป็นโรคทางพันธุกรรมแต่ไม่มีอาการชี้ชัด” ดร.พญ.ณฐินีกล่าว
       
       ทั้งนี้ ดร.พญ.ณฐินี กล่าวว่าได้เริ่มงานวิจัยนี้มา 2-3 เดือนแล้ว โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่พบว่าคนในครอบครัวมีอาการปัญญาอ่อนหรือดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) อย่างน้อย 1-2 คนหลายชั่วรุ่น แต่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่ายีนตัวใดเป็นสาเหตุของโรค ซึ่งหากการศึกษาครั้งนี้สำเร็จอาจได้พบยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคเหล่านี้ ผลที่ได้จะนำไปสู่การวินิจฉัยโรคและให้คำปรึกษาเรื่องพันธุกรรม รวมถึงกรณีที่ผู้เข้ารับการปรึกษาต้องการมีทายาทต่อไป
       
       ทางด้าน ดร.อุรชา เน้นงานวิจัยด้านการออกแบบการกักเก็บสาร (encapsulation) ในรูปอนุภาคนาโนเพื่อรักษาฤทธิ์ทางชีวภาพและควบคุมการปลดปล่อยสาร จากเดิมที่สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจะเสื่อมสลายและไม่คงตัว หากไม่มีสารอื่นมาห่อหุ้ม โดยสารที่นำใช้ห่อหุ้มที่เพื่อกักเก็บสารนั้นจะเน้นการใช้ไขมันและน้ำมัน ซึ่งตัวอย่างผลงานที่จะนำไปใช้จริงแล้วคือครีมและแผ่นแปะที่มีสารสกัดจากพริก ซึ่งปัจจุบันมีนำสารแคปไซซิน (Capsaicin) ในพริกที่ทำให้รู้สึกแสบร้อนไปใช้เป็นยาบรรเทาโรคข้ออักเสบ แต่เดิมไม่สามารถควบคุมการปลดปล่อยปริมาณยาได้ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแสบร้อนและทรมาน แต่เมื่อนำอนุภาคนาโนไปกักเก็บได้ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องแปะหรือทายาบ่อยๆ
       
       ส่วน ผศ.ดร.หทัยกานต์ ทำงานวิจัยด้านการคิดค้นวัสดุเติมแต่งชนิดใหม่เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ฉลาด (smart packaging) โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติในประเทศ เช่น แร่ดินเหนียวหรือนาโนเคลย์ (nano clay) เป็นต้น และได้พัฒนาวัสดุต้นแบบเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุผักและผลไม้ ตลอดจนใช้เป็นเซนเซอร์วัดความสดของพืชผลทางการเกษตร แต่ยังมีคำถามว่าวัสดุที่พัฒนาขึ้นนั้นมีความปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งต้องส่งทดสอบและทำการศึกษาต่อไป โดยคาดว่าจะได้พบประโยชน์จากวัสดุเหล่านี้มากขึ้นไปอีก
       
       สำหรับผลงาน ดร.แสงจันทร์นั้นเป็นงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งจากการระบาดของไวรัส โดยศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีน (Protein-protein interaction) ของกุ้ง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีนของไวรัส และปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีนของไวรัสและกุ้ง ด้วยวิธีที่เรียกว่า “ยีสต์ทูไฮบริด (Yeast to Hybrid assay) ซึ่งเมื่อมีการจับกันของโปรตีนที่ทดสอบในเซลล์ยีสต์จะพบการเปลี่ยนแปลงที่สามารถบอกปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีนได้ และความรู้ที่ได้นี้จะนำไปสู่วิธีในการกำจัดหรือยับยั้งไวรัสที่ระบาดในกุ้งได้
       
       ทั้งนี้ ลอรีอัลได้มอบทุนแก่นักวิจัยสตรีไทยภายใต้โครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2545 และได้มอบทุนอย่างต่อเนื่องทุกปีแก่นักวิจัยทั้งหมด 35 คน ด้วยทุนวิจัยละ 200,000 บาท โดยนักวิจัยสตรีที่มีสิทธิรับทุนต้องมีอายุระหว่าง 25-40 ปี และผู้ได้รับรางวัลประจำปี 2554 นี้จะได้รับรางวัลจาก ศ.ดร.อาดา โยนาธ (Dr.Ada Yonath) นักวิจัยสตรีชาวอิสราเอล ผู้ได้รับรางวัลทุนวิจัยลอรีอัล-ยูเนสโก “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2551 และได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ในปี 2552 และเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลครั้งนี้
       
       นอกจากนี้ยังมีทุนวิจัยระดับสากลคือ โครงการทุนวิจัยลอรีอัล-ยูเนสโก “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (L’Oreal-UNESCO Award for Women in Science) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ทุนสำหรับนักวิจัยสตรีรุ่นใหม่ โดยคัดเลือกตัวแทนจาก 5 ทวีปๆ ละ 3 คนทั่วโลก และทุนวิจัยสำหรับนักวิจัยสตรีที่มีผลงานเด่นชัดยาวนานอีกทวีปละ 1 คน และได้ดำเนินการมอบทุนมาเป้นปีที่ 13 แล้ว และมีนักวิจัยสตรีที่ได้รับการสนับสนุนทุนดังกล่าวทั้งหมด 1,086 คน ใน 103 ประเทศ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กันยายน 2554

8801
เมื่อ​เวลา16.00 น.ที่รัฐสภา นายอร่าม  อามระดิษ นายกสมาคม​แพทย์​แผน​ไทย​แห่งประ​เทศ​ไทย ​ในฐานะ​ผู้​แทน​เสนอกฎหมาย พร้อมกับประชาชนที่มีสิทธิ​เลือกตั้ง ​ได้นำรายชื่อประชาชนจำนวน 15,000 คน ยื่น​เสนอร่าง พ.ร.บ.สมุน​ไพร​แห่งชาติ พ.ศ.. ต่อนายสมศักดิ์  ​เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ​เพื่อ​ให้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 163

​โดยร่าง พ.ร.บ.สมุน​ไพร​แห่งชาติ พ.ศ...มีสาระสำคัญ​ให้มีกฎหมายว่าด้วยสมุน​ไพร​แห่งชาติ ​โดยที่ประ​เทศ​ไทยมี​ความหลากหลายทางชีวภาพ พืชสมุน​ไพร ​และองค์​ความรู้ดั้ง​เดิมของบรรพบุรุษ ​ใน​การนำสมุน​ไพร​ไป​ใช้​เพื่อประ​โยชน์​ใน​การรักษา​โรค ​การบรร​เทาอา​การ ​การส่ง​เสริมดู​แลสุขภาพ ​และยังสามารถนำมาต่อยอดสร้างมูลค่า​เพิ่มทาง​เศรษฐกิจ ​จึงควรมี​การสนับสนุน พัฒนา ด้านองค์​ความรู้​และบุคลากร ​ให้มีศักยภาพ​ใน​การผลิตยาสมุน​ไพร ​โดยกำหนด​ให้มีคณะกรรม​การสมุน​ไพร​แห่งชาติ ​เพื่อกำหนดน​โยบาย ​การพัฒนา ​การสนับสนุน ส่ง​เสริมตลอด​ถึงหลัก​เกณฑ์​การดำ​เนิน​การ​เกี่ยวกับสมุน​ไพรอย่างครบวงจร​และ​เป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ ​ให้มีสถาบันสมุน​ไพร​แห่งชาติ ​และกองทุสมุน​ไพร​แห่งชาติ​เพื่อ​เป็นหน่วยงานรับสนับสนุน​และผิดชอบ​ใน​การดำ​เนิน​การพัฒนาสมุน​ไพร​ไทย​ให้มีประสิทธิภาพ​และมาตรฐาน​เป็นที่ยอมรับ​ในระดับสากล

แนวหน้า 8 กันยายน 2554

8802
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ​โพสต์​ใน​เฟซบุ๊ค ระบุว่า กระทรวงสาธารณสุข​เดินหน้ารื้อน​โยบาย​เ​ก็บ 30 บาทรักษาทุก​โรคของ​ผู้​ใช้บริ​การสุขภาพถ้วนหน้าของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ(สปสช.)กลับมา​ใช้ ​เล็ง​เ​ก็บ​เงิน​เฉพาะกลุ่มคนอายุ 12-59 ปี ส่วน​ผู้ยาก​ไร้ ​ผู้พิ​การ​และ​ผู้สูงอายุบริ​การฟรี​เหมือน​เดิม

อิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2554

8803
สธ.จัดประชุมวิชาการประจำปี 2554 เปิดเวทีเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาวิจัยในพื้นที่ พัฒนาศักยภาพบุคลากร หวังยกระดับการบริการด้านสุขภาพไทยให้เป็นผู้นำเมดิคัลฮับในเอเชีย
   
       วันนี้ (8 ก.ย.) ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2554 “เทิดพระเกียรติ 84 พรรษา สุขภาพดีถ้วนหน้า ด้วยสาธารณสุขไทย” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2554 มีแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ พยาบาล นักวิชาการและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วประเทศร่วมประชุมกว่า 4,000 คน
       
       นายวิทยา กล่าวว่า ปัจจุบันการแพทย์มีความก้าวหน้าและขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในอุตสาหกรรมภาคบริการ ซึ่งรวมถึงบริการทางการแพทย์ด้วย เพื่อแข่งขันกับต่างประเทศ ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยการศึกษาวิจัย เพื่อนำนวตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการตรวจ วินิจฉัยโรค และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ ให้มากขึ้น เพื่อลดปัญหาการเจ็บป่วย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง รวมถึงพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการรักษาพยาบาล
       
       นายวิทยา กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลสุขภาพประชาชนทั้งประเทศ จะต้องพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง การประชุมวิชาการในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสดีในการเผยแพร่วิชาการ การศึกษาวิจัยพัฒนาจากพื้นที่ต่างๆ สู่กลุ่มบุคลากรด้วยกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา พัฒนาระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ เป็นการยกระดับการบริการด้านสุขภาพของไทย ให้เป็นเมดิคัลฮับ (Medical Hub) ในเอเชียด้วย และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ขอให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พร้อมใจสนองพระปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพดี แข็งแรง และพระราชกรณียกิจของพระองค์มาเป็นหลักในการทำบทบาทภารกิจหน้าที่รับผิดชอบให้ดีที่สุด เพื่อถวายเป็นเบื้องพระยุคลบาท
       
       ด้าน นพ.ไพจิตร กล่าวว่า การประชุมวิชาการครั้งนี้ มีการนำเสนอและประกวดผลงานศึกษาวิจัย 7 สาขา ได้แก่ การแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ การสาธารณสุข และการบริหารจัดการ รวม 507 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ 205 เรื่อง
       
       นอกจากนี้ ยังมีการมอบรางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยมประจำปี 2553 ทั้งหมด 5 รางวัล

รางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยม 1 รางวัล ได้แก่ เรื่อง “ฝ่าวิกฤตตาติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลขอนแก่น” ของ นางพิมพ์วรา อัครเธียรสิน โรงพยาบาลขอนแก่น ได้รับโล่และเงินรางวัล 30,000 บาท

รางวัลวิชาการดีเด่น 3 รางวัล ได้รับโล่และเงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่
1.เรื่องปริมาณไวรัสและระยะเวลาในการขับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอช1เอ็น1 หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 ในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ขณะเกิดโรคระบาดในสถาบัน จังหวัดนครราชสีมา 2552 ของนพ.วิชัย ขัตติยวิทยากุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
2.เรื่องการพัฒนาการผลิตกุ้งจ่อม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ของนางขวัญเนตร ศรีเสมอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์
3.เรื่องการประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยขึ้น - ลงรถเข็นคนพิการ ของนางทัศวรรณ กันทาทอง โรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และ

รางวัลชมเชย 1 รางวัล ได้แก่ เรื่อง “ผลการลดระยะเวลาภายหลังการใช้ระบบทางด่วนสำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงในโรงพยาบาลกำแพงเพชร”ของนพ.สมเพ็ง โชคเฉลิมวงศ์ โรงพยาบาลกำแพงเพชร ได้รับโล่และเงินรางวัล 10,000 บาท
       
       นอกจากนี้กลุ่มสภาอุตสาหกรรมมาบตาพุต ยังขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหารือแก้ไขปัญหามาตาพุต โดยได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข หารือแทน ซึ่งทางผู้ประกอบการเรียกร้องขอให้กระทรวงสาธารณสุขรับเป็นกลางในการแก้ไข ปัญหา หลังจากที่ผ่านมาปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง และในพื้นที่มีปัญหาเรื่องความหวาดระแวงของชาวบ้าน โดยคาดว่าจะมีหน่วยกลาง 4 ฝ่าย เข้ามาร่วมแก้ไข ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการ ชาวบ้าน และนักวิชาการ เพื่อหารือร่วมกัน โดยในอนาคตอาจเป็นโมเดลในการใช้แก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ในนิคมอุสาหกรรมหลายพื้นที่
       
       สำหรับสถานการณ์สุขภาพในปัจจุบัน ยังคงมีการติดตามปัญหาผลกระทบจากโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน และได้มีการยกระดับรพ.มาบตาพุต ให้เป็นรพ.ขนาดใหญ่ 200 เตียงแล้ว


ASTVผู้จัดการออนไลน์    8 กันยายน 2554

8804
องคมนตรี แนะเจ้าหน้าที่สาธารณสุข นำพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปรับใช้ในการดูแลสุขภาพประชาชน
       
       วันนี้ (7 ก.ย.) ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “พระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่มีต่อการสาธารณสุขไทย” ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2554 ว่า งานสาธารณสุขเป็นงานที่ท้าทาย มีเป้าหมายในการดูแลสุขภาพของประชาชน ต้องทำให้เกิดประโยชน์และความสุขแก่ประชาชน โดยนำนวัตกรรมที่เป็นความรู้ใหม่ๆมาใช้และพัฒนาให้ดีขึ้น
       
       ศ.นพ.เกษม กล่าวต่อว่า งานสาธารณสุขได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา มีการตั้งโรงพยาบาลหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลพระมงกุฎ มีการรวบรวมคัมภีร์แพทย์รักษาโรค รวบรวมตำรายา ทั้งแผนตะวันตก และแผนไทย จากนั้นได้มีพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ และใน พ.ศ.2485 ได้ตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้น ในรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งหน่วยแพทย์ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนในถิ่นทุรกันดาร เช่น แพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน หน่วยแพทย์พระราชทาน หน่วยจักษุแพทย์พระราชทาน หน่วยแขน-ขา เทียมพระราชทาน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่ผู้ประสบสาธารณภัย ให้มีการตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ รวมถึงให้มีการพัฒนาการรักษา ควบคุมป้องกันโรคต่างๆ เช่น วัณโรค โรคเรื้อน อหิวาตกโรค นอกจากนี้ ยังมีการแพทย์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น สาธารณสุขมูลฐาน การขาดสารไอโอดีน เป็นต้น
   
       ทั้งนี้ ศ.นพ.เกษมได้ยกตัวอย่างพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2511 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ใจความว่า “ในการที่ท่านทั้งหลายออกไปประกอบการงานในการแพทย์ต่อไปนั้น ให้ถือว่างานของท่านมีส่วนผูกพัน รับผิดชอบต่อประชาชนส่วนรวม และต่อความเจริญของการแพทย์ไทยอย่างแน่นแฟ้น ท่านจะต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่โดยเต็มความสามารถด้วยความเสียสละ และด้วยอุดมคติ พร้อมกับพยายามศึกษาหาความรู้และความเจริญก้าวหน้า ขอระลึกไว้เป็นนิจว่าจรรยาแพทย์เป็นวินัยที่มิได้มีการบังคับให้ทำตาม แต่ท่านต้องบังคับตัวของท่านเองให้ปฏิบัติตามให้ได้ และหากเมื่อใดท่านละเมิดจรรยาแพทย์เมื่อนั้นจะเกิดความเสื่อมเสียแก่ตัว แก่การแพทย์และแก่ประเทศชาติในที่สุด” ซึ่งพระราชดำรินี้สามารถที่จะปรับใช้กับการทำงานของชาวสาธารณสุขได้
       
       นอกจากนี้ ยังมีการอภิปราย เรื่อง “ความต้องการครั้งสุดท้ายของชีวิต สิทธิปฏิเสธการรักษา” โดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง “ภาคีร่วมใจปกป้องเด็กไทย ไม่ท้องก่อนวัย” โดยกรมอนามัย เรื่อง “ความพร้อมรับสถานการณ์โรคอุบัติใหม่” โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง “จังหวัดใดสุขกว่าใคร” และ “ไอคิวทำอย่างไรให้ได้เกิน 100” โดยกรมสุขภาพจิต เรื่อง “อำเภอควบคุมโรค”โดยกรมควบคุมโรค และเรื่อง “การพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่เหมาะสมและเท่าเทียม” โดยกรมการแพทย์


ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กันยายน 2554

8805
เรื่องความขัดแย้ง ความแตกแยกในกระทรวงสาธารณสุข เกิดจากหลายเหตุ หนึ่ง คือ แต่ละคน แต่ละฝ่ายไม่ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้อง จึงมีความคิดเห็นต่างกันไป และอีกเหตุหนึ่งที่สำคัญคือ กระทรวงฯไม่เคยสนใจรับฟังความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานอย่างจริงจัง ผู้บริหารระดับกระทรวงก็เล่นกันไป ผู้บริหารระดับโรงพยาบาลก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ ทุกอย่างจึงเป็นแบบ Top down โดยผู้ปฏิบัติงานถูกบังคับให้ทำ ก็เลยสักแต่ว่าทำ และไม่ค่อยพอใจผู้บริหาร สภาพปัจจุบันและอดีตก็เป็นแบบนี้ ไม่มีใครสนใจใคร ข้างบนก็ไม่สนใจข้างล่าง ข้างล่างก็ไม่สนใจข้างบนเหมือนกัน

พอมีประเด็นอะไรขึ้นมาความขัดแย้งก็ปะทุขึ้น

หน้า: 1 ... 585 586 [587] 588 589 ... 651