แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 451 452 [453] 454 455 ... 651
6782
ปรากฏตามรายงานขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยความปลอดภัยทางถนนปี ๒๕๕๖ ว่า จำนวนผู้เสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย มีจำนวนสูงถึง ๑๓,๗๖๖ คน คิดเป็นชาย ร้อยละ ๗๙  หญิงร้อยละ ๒๑  จัดเป็นอันดับที่ ๓ ของโลก รองจากนิอูเอและสาธารณรัฐโดมินิกัน

          ควรทราบด้วยว่าตัวเลขขององค์การอนามัยโลก ซึ่งคงได้จากทางราชการไทย แสดงด้วยว่า ประเทศไทยมียานพาหนะที่จดทะเบียนเป็นรถยนต์ ๔ ล้อประมาณกว่า ๙ ล้าน ๘ แสนคัน รถ ๒ ล้อและ ๓ ล้อประมาณ ๑ ล้าน ๓ แสนคัน รถบรรทุกหนักประมาณ ๘ แสน ๑ หมื่นคัน รถยนต์ โดยสารประมาณ ๑ แสน ๓ หมื่น ๗ พันคัน และรถอื่น ๆ อีกประมาณ ๓ หมื่น ๑ พันคัน             ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่ได้มาก่อนรัฐบาลใช้นโยบายคืนภาษีให้ผู้ซื้อรถยนต์คันแรก เพราะ ฉะนั้นในปัจจุบันจำนวนรถยนต์ ๔ ล้อในเมืองไทยคงจะเกิน ๑๐ ล้านคันไปแล้ว

          รายงานขององค์การอนามัยโลกที่ว่าด้วยความปลอดภัยทางถนนฉบับนี้ (ซึ่งทำให้ประเทศ ไทยได้ตำแหน่งรองชนะเลิศอันดับที่ ๒) คงต้องมีผู้เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และผมอยาก รู้ว่าเมื่อถึงมือคณะรัฐมนตรีแล้ว คณะรัฐมนตรีจะมีปฏิริยาอย่างไร

          ผมไม่หวังนักว่าจะได้เห็นปฏิกิริยาที่น่าตื่นเต้นจากคณะรัฐมนตรี เพราะเรื่องอุบัติเหตุไม่ทำ ให้หิวกระหายเหมือนเรื่องรับจำนำข้าว และผมขอทำนายว่า ถ้าใครไปขอสัมภาษณ์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คงจะได้รับคำตอบว่า เพิ่งได้รับรายงาน และจะสั่งการให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบดำเนินการแก้ไข

          และถ้าผู้ขอสัมภาษณ์ถามต่อไปว่า หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องคือหน่วยไหน นายกรัฐมนตรีก็ คงเดินหนี เพราะตอบไม่ได้

          ถ้าเป็นโรค อุบัติเหตุทางถนนก็เป็นโรคร้ายแรงและเรื้อรังของเมืองไทยมานานแรมปี  และ ถ้าเป็นหมอ รัฐบาลชุดต่าง ๆ ของไทยก็เป็นหมอที่ไม่มีหรือไม่ใช้ความรู้ในการป้องกันโรค แต่ใช้วิธี รักษาโรคตามอาการเมื่อเกิดขึ้น และน่าสงสัยว่าหมอจะวางยาไม่ถูกกับโรคเสียด้วย

          ตามตำราที่ผมเคยเรียนมานั้น อุบัติเหตุทางถนนจะป้องกันระงับได้ด้วยปัจจัย ๓ คือ การ ศึกษา วิศวกรรม และการบังคับใช้กฎหมาย

          การศึกษาในที่นี้หมายถึงการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ทั้งผู้ใช้รถและผู้ใช้ถนน  วิศวกรรมหมาย ถึงการออกแบบและสร้างถนนท่ีไม่แต่กว้างและแข็งแรงพอเท่านั้น แต่ยังจะต้องปลอดภัยแก่ผู้ขับรถ และคนเดินถนนด้วย  ส่วนปัจจัยที่ ๓ คือการบังคับใช้กฎหมายนั้น ก็หมายถึงมาตรการที่เจ้าหน้าที่ ใช้เมื่อมีการละเมิดกฎข้อบังคับในการจราจร

          พิจารณาจากปัจจัย ๓ ดังกล่าวแล้วจะเห็นว่า ถ้าเป็นการสอบไล่ เมืองไทยก็สอบตกทุกวิชา

          ดูการขับรถในท้องถนนทุกวันนี้จะเห็นว่าคนขับรถขับตามยถากรรม โดยไม่มีความรู้ในการ ใช้รถใช้ถนน  เรื่องความเร็วนั้นไม่ต้องพูดถึง  คนขับรถในเมืองไทยไม่สนใจว่าความเร็วจำกัดตาม กฎหมายเป็นอย่างไร  เวลาขับรถแม้บนพื้นถนนจะมีเส้นตีแบ่งช่องเอาไว้ แต่ผู้ขับรถส่วนใหญ่ก็ไม่ สนใจ ขับรถคร่อมเส้นเพื่อแซงแม้ในที่จำกัด ขอให้ตนได้ไปก่อนเป็นใช้ได้

          การออกแบบและสร้างถนนนั้น จะเป็นเพราะต่างบริษัท (รับเหมา) ต่างทำก็ไม่รู้ ถนนใน เมืองไทยจึงมีหลายแบบหลายลักษณะ  ทางโค้งหลายแห่งเป็นวงแคบมาก และทำให้รถที่แล่นเข้า โค้งไปโดยเร็วประสบอุบัติเหตุ  อีกอย่างหนึ่งก็คือป้ายบอกทางแยกหรือทางร่วม ที่แลไม่เห็นชัดหรือ ใกล้ทางแยกทางร่วมเกินไป ทำให้ผู้ขับต้องเปลี่ยนช่องทางอย่างกระทันหัน จนเกิดอุบัติเหตุ

          ส่วนการบังคับใช้กฎหมายซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น ก็หละหลวมหย่อนยาน  เราจะ ไม่เห็นรถตำรวจทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์ที่แล่นตรวจและจับกุมผู้ทำผิดกฎจราจรเลย  ตำรวจใช้ วิธีตั้งด่านตรวจอยู่กับที่ จึงจับกุมได้แต่เฉพาะรถที่บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา และรถที่มีสภาพผิด กฎหมายเท่านั้น  ส่วนที่แล่นเร็วเกินอัตรากำหนดนั้น แม้จะมีเครื่องมือตรวจรับความเร็ว แต่ก็มี น้อยและแทบไม่เห็นกันเลย

          สมัยนี้มีการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของถนน ซึ่งช่วยให้จับกุมผู้ฝ่า ฝืนสัญญาณไฟจราจรได้บ้าง แต่ไม่ช่วยให้คนขับรถช้าลง

          ปัญหาอุบัติเหตุในท้องถนน ที่ไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาลนี้ เป็นภัยเงียบที่ทำลายทรัพย์ สินและชีวิตของประชาชนจำนวนมหาศาล และทำลายเศรษฐกิจของประเทศด้วย แต่เราก็ไม่เคยได้ ยินว่ารัฐบาลมีแผนระยะสั้นหรือระยะยาวที่จะแก้ปัญหานี้อย่างไร  พอถึงวันหยุดราชการหรือเทศ กาลประจำปี เช่นวันขึ้นปีใหม่ เมื่อรถยนต์จำนวนมากจะแย่งกันออกไปใช้ถนนและเกิดอุบัติเหตุ เป็นจำนวนมาก เราก็จะเห็นแต่การรณรงค์ที่จะลดจำนวนอุบัติเหตุในกรณีนั้น และคำโฆษณาโอ้ อวดว่าลดจำนวนคนตายเพราะอุบัติเหตุลงได้เท่านั้นเท่านี้  ครั้นเมื่อพ้นช่วงวันหยุดราชการหรือ เทศกาลไปแล้ว ก็ไม่มีใครสนใจว่าคนจะตายมากขึ้นหรือน้อยลงเท่าใดและอย่างไร

          ตราบใดที่ท่าทีของรัฐบาลยังเป็นเช่นนี้อยู่ ตราบนั้นจำนวนคนไทยที่ตายเพราะอุบัติเหตุ ในท้องถนนก็คงจะไม่น้อยลง และอาจจะมากขึ้น จนทำให้ประเทศไทยได้ตำแหน่งชนะเลิศในการ แข่งขันกันตายระหว่างประเทศ

          หรือว่านี่คือนโยบายอีกข้อหนึ่งของรัฐบาล ?

วสิษฐ เดชกุญชร (Vasit Dejkunjorn) (Notes) on Monday, March 25,

6783
จดหมายเปิดผนึกจาก นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ แกนนำแพทย์ชนบท ถึงรัฐมนตรีคลัง เรียกร้องให้ทบทวนและคิดให้ดีหากจะเรื่องการจ่ายตาม P4P เข้า ครมวันที่ 31 มีนาคมนี้ เตือนก่อนเดี๋ยวจะหาว่าไม่มีการทัดทานอย่างเป็นทางการ

เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ตามที่กระทรวงสาธารณสุขโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการจ่ายค่าตอบแทนของแพทย์, ทันตแพทย์, เภสัชกรและเจ้าหน้าที่อื่นๆในกระทรวงสาธารณสุขจากระบบเหมาจ่ายเป็นระบบตามภาระงาน(P4P) โดยจะเริ่มตั้งแต่1เมย. นี้เป็นต้นไป ชมรมแพทย์ชนบท, ชมรมทันตภูธรและเครือข่ายพันธมิตรอื่นๆ ได้มีมติคัดค้านแนวทางดังกล่าว โดยได้มีการรวมตัวกันครั้งใหญ่ที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อ 26 มีนาคม 25 56 และยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลทั้งนี้เนื่องจากแนวทางP4P ไม่ใช่แนวทางที่จะสร้างแรงจูงใจที่เพียงพอให้บุคลากรไปทำงานในเขตชนบท(เขตระดับอำเภอลงไปทั้งที่ทุรกันดารเสี่ยงภัยและไม่ทุรกันดาร) ปัจจุบันมีแพทย์ที่ทำงานอยู่ในชนบทเพียง 3,400 คนแต่ต้องรับภาระดูแลประชากร 46 ล้านคน ในขณะที่มีแพทย์ใน รพ. ศูนย์-รพ. ทั่วไป กว่า 9,000 คน แตกต่างกันถึง 3 เท่า มาตรการทางการเงินที่ใช้ในระบบเหมาจ่ายตามระดับของรพ. ตามจำนวนปีที่ทำงาน ตามพื้นที่ทุรกันดารเสี่ยงภัย ได้ส่งผลให้มีการคงอยู่ของบุคลากรในชนบทเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเพียง5ปีที่ใช้มาตรการดังกล่าวมีแพทย์เพิ่ม 48เปอร์เซ็นต์ ไม่เคยมีมาก่อน แม้กระทั่งในเขต 3 จังหวัดชายแดนใต้ ชมรมแพทย์ชนบทจึงมีข้อเสนอมายังท่านเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทบทวนดังนี้คือ

1) ระบบการบริการในโรงพยาบาลประกอบไปด้วยบุคลากรหลายกลุ่มวิชาชีพ หลายระดับ หลายลักษณะงาน การวัดค่างานของแต่ละกลุ่มแต่ละวิชาชีพเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากจะดำเนินการต้องเตรียมความพร้อมมาก มิเช่นนั้นจะเกิดความแตกแยกขัดแย้งสูง ทั้งภายในโรงพยาบาล ระหว่างโรงพยาบาล ระหว่างจังหวัด การทำงานในลักษณะสหวิชาชีพที่ทำงานโดยยึดเป้าหมายของผู้ป่วยจะถูกสั่นคลอน มองการดูผู้ป่วยเป็นชิ้นงาน เป็นเครื่องจักรที่ผลิตงานให้มีแต้ม ไม่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

2) การปรับเปลี่ยนแนวทางดังกล่าวไม่มีความแตกต่างระหว่างพื้นที่เขตเมืองและเขตชนบท จะทำลายแรงจูงใจที่จะไปทำงานในเขตชนบท เพราะต้องทำงานภายใต้ความขาดแคลนและเสียโอกาสต่างๆ ที่มีในเขตเมืองแล้วยังต้องมีแรงกดดันในการเก็บข้อมูลภาระงานส่วนบุคคลในทุกๆการปฏิบัติงาน บุคลากรเดิมที่ปฏิบัติงานนานๆ ประสบการณ์เชี่ยวชาญสูง จะตัดสินใจย้ายเข้าสู่พื้นที่ๆเจริญกว่า

3) ประสบการณ์จากการดำเนินการในพื้นที่บางรพ. ที่กระทรวงสาธารณสุขกล่าวอ้างว่าศึกษาวิจัยนั้น มิใช่เป็นการศึกษาวิจัย แต่เป็นการทดลองจ่ายเพิ่มเติม(Top up) จากระบบเหมาจ่ายเดิมที่ใช้อยู่แล้ว มิใช่เป็นการจ่ายทดแทน

4) แนวทางดังกล่าวสร้างความขัดแย้งระหว่างบุคลากรที่ทำงานในเขตชนบทดูแลประชาชนด้อยโอกาสกับรัฐบาลจนมีการระดมพลออกมาชุมนุมกันอย่างมากมายอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์กระทรวงสาธารณสุขหน้าทำเนียบรัฐบาลเมื่อ 26 มีนาคม 2556 จนถึงขณะนี้ยังไม่มีแนวทางที่จะคลี่คลายแต่อย่างใด
จึงเรียนมายังท่านเพื่อพิจารณาไตร่ตรองทบทวนอย่างรอบคอบก่อนนำเข้าสู่คณะรัฐมนตรีสัญจรในวันที่31 มีนาคม 2556 หากดำเนินการแล้วจะเกิดความผิดพลาดเสียหายใหญ่หลวงต่อนโยบายการสร้างความมั่นคงของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนยากจนในชนบทอย่างร้ายแรง

นายแพทย์อารักษ์ วงศ์วรชาติ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล

จาก facebook วงการแพทย์ และสาธารณสุขไทย

6784
 ยุคนี้สมัยนี้เริ่มดูไม่ออกแล้วว่า “หมอ” กับ “นักการเมือง” สองอาชีพนี้ใครมีดีกรีความเลวร้ายมากกว่ากัน เพราะในอดีตหากประเมินเฉพาะ “ต้นทุนทางสังคม” แพทย์ย่อมที่จะมี “ภาษี” ดีกว่านักการเมืองแน่นอน แต่ด้วยพฤติกรรมของ “นายแพทย์” ที่ใช้การเมืองเพื่อผลประโยชน์ตัวเอง
       
       ร่ายมาขนาดนี้คงจะหนีไม่พ้นปัญหาวุ่นๆใน “กระทรวงหมอ” กระทรวงสาธารณสุข ที่มะรุมมะตุ้มยุ่งเหยิงมาแทบทุกยุคทุกสมัย เปลี่ยนรัฐมนตรีมากี่หนก็ยังเข้าอีหรอบ ล่าสุดไม่กี่วันก่อนก็มี “ม็อบหมอชนบท” ที่ประกอบด้วยกลุ่มแพทย์ชนบท โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ชมรมทันตสาธารณสุขภูธร และเครือข่ายทันตแพทย์โรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ ก็นัดกันแต่งดำรวมตัวชุมนุมประชิดถึงรั้วทำเนียบรัฐบาล ศูนย์กลางอำนาจของประเทศ
       
       เรื่องของเรื่องก็จะมากดดันให้ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี ตะเพิด “ประดิษฐ สินธวณรงค์” รมว.สาธารณสุข พ่วงด้วย “ณรงค์ สหเมธาพัฒน์” ปลัดกระทรวงสาธารณสุขออกจากตำแหน่ง จากเหตุที่ไม่พอใจแนวนโยบายที่จะมีการปรับเปลี่ยนจากการจ่ายเงินแบบเหมาจ่าย “เบี้ยทุรกันดาร” สำหรับแพทย์ที่ทำปฏิบัติงานอยู่ในชนบท มาเป็นการจ่าย “เบี้ยขยัน” ตามภาระงาน หรือที่เรียกโก้ๆ ตามภาษาฝรั่งว่า “Pay for Performance” ย่อๆ ก็ “P4P” ไปได้
       
       หากติดตามข่าวก็จะรู้ว่า ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่กลุ่มแพทย์ชนบทรวมตัวกันเรียกร้องหรือคัดค้านฝ่ายการเมือง ด้วยอาศัยภาพพจน์บุคลากรส่วนใหญ่ที่มีความรู้ สังคมให้การยอมรับ จึงชอบทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่อยู่เสมอ และเมื่อเป็นเรื่องแล้วก็มักจะจบไม่ง่าย อย่างสมัยรัฐมนตรีคนเก่าก็ออกมาแต่งดำร่วมกันจุดเทียนประท้วงกันถึงกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเรียกร้องของบประมาณจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ตั้ง 4 พันล้านบาท จนฝ่ายการเมืองเอือมระอากันมาแล้ว
       
       กรณีล่าสุดเรียกว่า “ม็อบหมอชนบท” ที่นำมาโดย “ขาประจำ” ทั้ง “อารักษ์ วงศ์วรชาติ” ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช และอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท พร้อม “เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ” ประธานชมรมแพทย์ชนบทคนปัจจุบัน เดือดดาลหนัก เพราะนอกจากป้ายประท้วงขับไล่ธรรมดาแล้ว ยังขนพร็อพจัดเต็มทั้งพวงหรีด โลงศพ หุ่นฟางติดชื่อรัฐมนตรีกับปลัด พร้อมจัดวางดอกไม้จันจุดธูปเทียนเพื่อเผาขับไล่ด้วย
       
       แต่ทว่าฝ่าย “หมอประดิษฐ” ที่กลัดกลุ้มใจมากังวลมาทั้งสัปดาห์ ก็กัดฟันเลือกใช้ “ไม้แข็ง” ที่นอกจากจะไม่ออกมารับหน้าเจรจาด้วยแล้ว ยังเสนอหลักการจ่ายเบี้ยตามภาระงานเข้าสู่ที่ประชุม ครม.อีกต่างหาก
       
       ดัดหลังกันแบบไม่ไว้หน้า ทำเอา “ม็อบหมอชนบท” ไปไม่เป็นเหมือนกัน
       
       ยิ่งมาดูเรื่องพลังมวลชนที่คุยว่าจะขนกันมาเรือนหมื่น แต่ถึงวันจริงกลับมีแค่หลักไม่กี่ร้อยคน และถ้าสแกนดูกันจริงๆ ก็เห็นว่ามี หมอหรือคนในวิชาชีพสาธารณสุขไม่กี่คน ที่เหลือก็ครอบครัวญาติสนิทมิตรสหาย หรือหนักข้ออย่างที่ถูกซุบซิบนินทาก็จ้างกันมาก็มี
       
       ยังดีที่ในวันนั้นมีมหกรรมม็อบมาพร้อมกัน 5-6 คณะ ทำให้บรรยากาศรอบทำเนียบดูคึกคักขึ้นมาบ้าง แต่ด้วยอุณหภูมิที่ร้อนเหยียบ 40 องศา ต้องทยอยกันกลับแบบไม่มีอะไรติดไม้ติดมือกลับไป
       
       ไม่วายประกาศว่า จะขับไล่ “หมอประดิษฐ” ออกจากตำแหน่ง หากไม่สำเร็จจะไม่ยอมหยุด
       
       คำถามมีว่า เหตุอันใดทำให้ “ม็อบหมอชนบท” ต้องปลุกมวลชนออกมาอีกครั้ง เพราะหากหยิบยกเรื่องการจ่ายอัตราค่าตอบแทนตามภาระงานขึ้นมาเอ่ยอ้าง ก็ดูจะฟังไม่ขึ้น และคงไม่ต้องถึงขนาดคาดคั้นเอาให้รัฐมนตรีออกจากตำแหน่งให้ได้ เพราะว่ากันตามเนื้อผ้าหลักการของระบบการจ่ายค่าเหนื่อยที่ว่า บุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ให้การยอมรับ
       
        ว่ากันง่ายๆ ใครทำมากได้มาก ใครทำน้อยได้น้อย ก็เป็นตรรกะที่ถูกต้อง
       
       เพราะต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา การจ่ายเงินพิเศษหรือเบี้ยกันดารแก่แพทย์ ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แพทย์ รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุขทั้งหลาย ทำงานอยู่ในชนบทมากกว่าเลือกขอย้ายมาในเมืองหรือโดนเอกชนซื้อตัวไป แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปหลายแห่งหลุดพ้นกับคำว่าชนบท กลายไปชุมชนเมือง ก็ควรมีการทบทวน
       
       การมาตั้งข้อห่วงใยว่า หากปรับระบบจ่ายเงินใหม่จะทำให้ “คนไข้” จะได้รับผลกระทบมากกว่า “หมอ” ก็ดูจะไม่ค่อยมีน้ำหนัก เพราะปัจจุบันพฤติกรรมมักง่ายเล่นมุกเดิมๆ “ส่งต่อ” คนไข้ไปให้โรงพยาบาลใหญ่แบบไม่จำเป็นก็ยังมีให้เห็นกลาดเกลื่อน หรือบรรดาคุณหมอเอาเวลาไปทุ่มเทกับคลินิคตัวเองมากกว่าโรงพยาบาลก็มีให้เห็นดาดดื่น
       
        ก็สมเหตุสมผลที่จะมีการรื้อระบบจ่ายเงินตอบแทนกันอีกสักครั้ง
       
       ในความเป็นจริงเรื่องการออกระเบียบการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงานของกระทรวงสาธารณสุขนั้นเป็นเพียง “ข้ออ้าง” ในการออกมาเคลื่อนไหวครั้งนี้ เพราะเหตุผลที่แท้จริงไม่น่าจะใช่เรื่องเบี้ยเลี้ยงเบี้ยหวัดที่ว่า
       
       เพราะเมื่อถอดรหัสคำพูดของ “หมอเกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ” แกนนำแพทย์ชนบทที่ไล่เรียงว่า ที่ผ่านมาการทำงานของ “หมอประดิษฐ” มีปัญหา เริ่มมีการ“รวบอำนาจ” ไว้ที่ตนเอง จนมาถึง “ฟางเส้นสุดท้าย” ในการปรับการจ่ายเงินแบบเหมาจ่ายเบี้ยทุรกันดารเป็นเบี้ยขยันดังกล่าว
       
       คำว่า “รวบอำนาจ” ที่ว่าก็คงมาจากแนวนโยบายที่ “หมอประดิษฐ” เคยประกาศเมื่อครั้งรับตำแหน่งเมื่อ 5 เดือนก่อนว่าจะ “ปฏิรูป” กระทรวงสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้ง “จัดระเบียบ” องค์กรในสังกัดทั้งหลาย ซึ่งแน่นอนย่อมกระทบไปถึง “งบประมาณ” ที่ฝังอยู่อื้อซ่าให้หน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงหมอเรือนแสนล้าน โดยเฉพาะในคณะกรรมการหรือ “บอร์ดอิสระ” หลายชุด
       
       เรื่องนี้ทำให้หมอทั้งหลายในกระทรวงสาธารณสุขเริ่มหวั่นไหวในอนาคตของตัวเอง จำเป็นต้องรับ “ตัดไฟแต่ต้นลม” จึงไม่แปลกที่จู่ๆ “หมอชนบท” ออกมายื่นคำขาดขอให้ปลด “หมอประดิษฐ” ทันที
       
       สรุปเบื้องหน้าเบื้องหลังก็แค่ออกมาปั่นราคาเรียกมวลชน เตรียมพร้อมปกป้อง “ชามข้าว” ของตัวเองมากกว่า หาใช่ประโยชน์ส่วนรวมไม่

ASTVผู้จัดการออนไลน์    29 มีนาคม 2556

6785
การที่ชมรมแพทย์ชนบทและเครือข่ายแพทย์ใน ภูมิภาค แต่งชุดดำออกมาชุมนุมเคลื่อนไหวเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเปลี่ยนตัว นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข และนพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวง ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เหตุเพราะจะทบทวนการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข โดยจัดแบ่งพื้นที่โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ใหม่ และปรับอัตราการจ่ายค่าตอบแทนเป็นอัตราเดียวทุกพื้นที่ทุกหน่วยบริการ เป็นการจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน หรือพีฟอร์พี (Pay for Performance) ส่งผลให้เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย (เบี้ยกันดารหรือเงินกินเปล่า) ของ รพช.ที่ความเจริญเข้าถึงแล้ว กลับหดหายไป ซึ่งแพทย์ชนบทระบุว่า พีฟอร์พีจะทำให้แพทย์ชนบทลาออกไปอยู่ภาคเอกชนมากขึ้น เพราะขาดแรงจูงใจการทำงาน
   
ขณะที่ กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า วงเงินค่าตอบแทนในภาพรวมไม่ได้ลดลง แต่ปรับวิธีการจ่ายเป็น 2 ระบบคู่ขนานกัน คือ 1) จ่ายแบบเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในบางพื้นที่ที่มีความยากลำบากในการดำรงชีวิต พื้นที่ที่มีเงื่อนไขพิเศษมีลักษณะเฉพาะ พื้นที่ห่างไกล หรือพื้นที่ชายแดน เพื่อเป็นการชดเชยและค่าเสียโอกาส 2) จ่ายตามผลการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนทุกฝ่าย ทั้งยังเป็นการจ่ายให้เหมาะสมกับภาระงานที่แต่ละวิชาชีพได้ให้บริการ ช่วยสร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรที่ทำงาน เอื้อให้อยู่ในพื้นที่มากขึ้น
   
น่าเห็นใจ คนเคยได้ มาวันหนึ่งกลับไม่ได้ ย่อมรู้สึกไม่เป็นธรรม เพราะคนเราอาจเสพติดกับสิ่งเคยรับมานานปี แต่ขึ้นชื่อว่า “แพทย์” ผู้ประกอบวิชาชีพนี้ล้วนมีหน้ามีตา เป็นที่ยอมรับ เคารพและนับถือของผู้คนในสังคม จึงควรพูดจากันด้วยเหตุผลและความจำเป็นของการปรับเปลี่ยน มิควรทำให้ผู้ป่วยขวัญผวา สูญเสียประโยชน์ เนื่องเพราะกรมบัญชีกลางได้ชี้ว่า เบี้ยกันดารนี้ไม่ถูกต้อง มีความลักลั่น ไม่เป็นธรรมกับอาชีพอื่น ๆ อีกทั้งพื้นที่ทุรกันดารในอดีต แต่ปัจจุบันหลายแห่งความเจริญเข้าถึง จึงควรปรับเปลี่ยน และยังทำให้ รพช.สามารถยกฐานะเป็นโรงพยาบาลทั่วไป ไม่ใช่ส่งต่อ (Refer) ผู้ป่วยอาการไม่หนักหนาไปโรงพยาบาลศูนย์ ถ่ายเดียว เพื่อลดภาระของตัวเอง
   
ในอดีต “แพทย์ชนบท” เคลื่อนไหวครั้งใดล้วนมีพลัง และประสบความสำเร็จ ต่างกับกรณีนี้ที่แม้แต่ “แพทย์ในเมือง” และอีกหลายฝ่ายกลับเห็นต่าง ไม่เข้าใจเจตนาที่แท้จริง เห็นได้จากฝ่ายการเมืองตั้งคำถามกลับว่า มีอะไรแอบแฝงหรือไม่ หากยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี แพทย์ชนบทก็ยังต้องการไล่ รมว.พ้นจากตำแหน่งอยู่ดี แม้แพทย์ชนบท ยืนยันไม่มีเจตนาแอบแฝง แต่ก็จะเคลื่อนไหวต่อไป ทั้งหมดนี้ต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ใครผิด-ใครถูก ใครยืนอยู่บนผลประโยชน์ส่วนรวมหรือผลประโยชน์ส่วนตนกันแน่.

เดลินิวส์ 28 มีนาคม 2556

6786
วันนี้ (28 มีนาคม 2556) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมคณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ              โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง กระทรวงกลาโหม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรมการแพทย์กรมสุขภาพจิต ชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป

นายแพทย์ประดิษฐ ให้สัมภาษณ์ว่า ตามที่มติ ครม. เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2556 อนุมัติในหลักการทบทวนการจ่ายค่าตอบแทนตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยให้ดำเนินการเป็นระยะ ซึ่งให้คงมีเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล และเป็นพื้นที่เฉพาะ และให้ผสมผสานกับการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ส่วนอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ให้พิจารณาร่วมกันแบบมีส่วนร่วม ก่อนเสนอคณะกรรมการกลั่นกรอง และเสนอเข้าที่ประชุมครม.ในวันที่ 31 มีนาคม 2556 นั้น

ในวันนี้ คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบในหลักการ ในการผสมผสานระหว่างเงินเหมาจ่ายกับเงินตอบแทนตามภารกิจตามภาระงาน  ขอยืนยันว่าการเหมาจ่ายก็ยังคงมีอยู่ ในพื้นที่ที่จำเป็นต่างๆ เช่น พื้นที่ทุรกันดาร หรือพื้นที่เสี่ยงภัยยังมีอยู่  ส่วนเงินตอบแทนตามภารกิจและตามภาระงาน  ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ตรวจคนไข้ และก็ไม่ได้ดูในเชิงปริมาณ แต่ดูเชิงคุณภาพด้วย  ภารกิจก็มีหลายอย่าง  ครอบคลุมทั้งการรักษาพยาบาล การออกไปส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค  ส่วนขั้นตอนการดำเนินงานเสนอให้ทำเป็น 2 เฟส  เฟสแรก 1 เมษายน 2556- 31 มีนาคม 2557  โดยจะมีการประเมินผล ก่อนที่จะนำเฟสที่ 2 มาใช้  ซึ่งเฟส 2 ที่ร่างไว้เป็นทิศทางการดำเนินงาน  แต่ในรายละเอียดก็ให้มีการปรับปรุงได้ ตามผลงานที่ประเมิน

สำหรับตัวเลขอัตราการจ่ายต่าง ๆ ยังคงเดิมตามที่เสนอ   โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความเห็นว่า ควรขอเป็นงบประมาณ   เพราะกลัวความไม่แน่นอน  อีกทั้งกลัวว่าจะมีเงินมาจ่ายหรือไม่ถ้าเป็นเงินบำรุง    ซึ่งได้ชี้แจงว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ทำตามนโยบายรัฐบาล  เพื่อสร้างความมั่นคงของเงิน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับตัวก่อน โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานควบคู่ไปกับงบประมาณที่ได้จากรัฐบาล  เพื่อให้มีเงินเหลืออยู่  ส่วนจะพอหรือไม่นั้น ต้องรอผลการทำงาน   ซึ่งทุกหน่วยงานควรจะมีการปรับตัวในเชิงระบบการทำงานควบคู่ไปกับการของบประมาณ  จะได้ไม่เป็นภาระของรัฐบาล  แต่ยืนยันว่ารัฐบาลมีการจ่ายค่าตอบแทนแน่นอน

********************************  28 มีนาคม 2556
แหล่งข่าวโดย » สำนักสารนิเทศ

6787
 1. รัฐบาลจับมือ ส.ว.เลือกตั้ง เสนอร่างแก้ รธน.รายมาตราเข้าสภา ด้านกลุ่ม 40 ส.ว.ซัด ผลประโยชน์ขัดกัน เตรียมยื่นศาล รธน. ตีความ!

       สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลและ ส.ว.เลือกตั้งประมาณ 60 คน ได้ผนึกกำลังกันเดินหน้าให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา โดยเมื่อวันที่ 18 มี.ค. นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี แถลงว่า รัฐบาลและ ส.ว.60 คน ได้ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราใน 3 ประเด็น โดยจะยื่นร่างแก้ไขแยกเป็น 3 ร่าง ร่างละ 1 ประเด็น คือ 1.แก้ไขมาตรา 237 (ให้ยกเลิกการยุบพรรคและการตัดสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี) รวมทั้งจะแก้ไขมาตรา 68 (ประชาชนที่พบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ให้ยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุดได้เพียงหน่วยงานเดียว ไม่สามารถยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป) 2.แก้ไขมาตรา 190 (สัญญาระหว่างประเทศที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา จะแก้ไขให้ผ่อนคลายมากขึ้น) 3.แก้ไขมาตรา 117 เรื่องที่มาของ ส.ว.โดยจะให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่ต้องมี ส.ว.สรรหา
       
       ทั้งนี้ ส.ส.พรรคเพื่อไทย-พรรคชาติไทยพัฒนา-พรรคพลังชล และ ส.ว.60 คนดังกล่าว ได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาเมื่อวันที่ 20 มี.ค. ซึ่งนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี กล่าวหลังยื่นว่า คาดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราจะแล้วเสร็จภายในเดือน ส.ค.นี้ ส่วนกรณีที่มีการแยกกันยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดย ส.ว.ยื่นในสิ่งที่ ส.ส.ต้องการ เช่น มาตรา 68 และมาตรา 237 ขณะที่ ส.ส.ก็ยื่นในสิ่งที่ ส.ว.ต้องการ คือเรื่องที่มาของ ส.ว.นั้น นายดิเรก บอกว่า เพื่อป้องกันการถูกตีความเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน
       
       ด้านนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ในฐานะวิปรัฐบาล ยอมรับว่า หากสามารถแก้ไขมาตรา 68 ได้สำเร็จ จะทำให้โอกาสในการพิจารณาการแก้ไขมาตรา 291 ซึ่งอยู่ระหว่างรอโหวตในวาระ 3 สามารถดำเนินการได้ด้วยความชอบธรรม
       
       ขณะที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ซึ่งอยู่ในกลุ่ม 40 ส.ว. ชี้ว่า การยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราของกลุ่ม ส.ส.และ ส.ว.ดังกล่าว อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 ว่าด้วยการทำหน้าที่ที่ต้องปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยเฉพาะมาตรา 68 ที่แก้เพื่อเปิดช่องให้มีการเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อเปิดทางให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) เข้ามายกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับได้ โดยการลดอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ขณะที่การแก้ไขให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด จะส่งผลให้ ส.ว.ที่ได้ เป็น ส.ว.ของพรรครัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ เท่ากับเปิดทางให้มีการถอดถอนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระได้ โดยเฉพาะ ป.ป.ช.ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล ดังนั้นการแก้รัฐธรรมนูญ 2 มาตราดังกล่าว จึงสร้างประโยชน์ให้กับรัฐบาล ทั้งนี้ กลุ่ม 40 ส.ว.ยืนยันว่า จะคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราครั้งนี้ และหากผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาเมื่อใด จะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยทันที
       
       เป็นที่น่าสังเกตว่า เริ่มมี ส.ว.บางคนขอถอนชื่อจากการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราแล้ว เช่น นายนิรันดร์ ประดิษฐกุล ,นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ,นายจารุพงศ์ จีนาพันธ์ ส.ว.สรรหา ฯลฯ โดยให้เหตุผลว่า ไม่ทราบมาก่อนว่ามีการเสนอแก้ไขมาตรา 68 ด้วย และคิดว่าการแก้ไขให้ประชาชนยื่นเรื่องที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองต่ออัยการสูงสุดแค่ช่องทางเดียว ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะอัยการสูงสุดมีแค่คนเดียว แต่ศาลรัฐธรรมนูญมี 9 คน จึงเห็นว่าการยื่นได้ 2 ทาง ดีอยู่แล้ว
       
       ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงท่าทีคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราครั้งนี้เช่นกัน โดยเฉพาะมาตรา 68 และมาตรา 190 อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้บรรจุเรื่องการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ร่างที่ ส.ส.พรรครัฐบาล และ ส.ว.ร่วมกันยื่น เข้าสู่วาระการประชุมแล้วในวันที่ 1-2 เม.ย.นี้
       
       2. สะพัด พท.ผวาปมปล่อยกู้ 30 ล้าน ทำ “ยิ่งลักษณ์” หลุดเก้าอี้นายกฯ - บีบ “เกษม” ลาออก ส.ส.เชียงใหม่ ดัน “เยาวภา” เสียบแทน ปูทางนายกฯ สำรอง!

       สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวแพร่สะพัดว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) กรณีระบุว่าให้บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด ของนายอนุสรณ์ อมรฉัตร สามีนอกสมรส กู้ยืมเงิน 30 ล้านบาท โดยให้กู้ 3 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 6 ต.ค.2549 จำนวน 20 ล้านบาท ครั้งที่สอง วันที่ 9 มี.ค.2550 จำนวน 5 ล้านบาท และครั้งที่สาม วันที่ 13 มี.ค.2550 อีก 5 ล้านบาท แต่จากการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของนายอนุสรณ์ ไม่ได้แจ้งต่อ ป.ป.ช.ว่า ได้กู้ยืมเงิน 30 ล้านบาทจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่แจ้งว่า ได้กู้ยืมเงินจากบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด โดยทำสัญญาเมื่อวันที่ 25 มี.ค.2551 เป็นเงินกว่า 369 ล้านบาท
       
       ด้านนายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษก ป.ป.ช.ได้ออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 มี.ค.ว่า เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ยังไม่ได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 9 คนพิจารณา พร้อมย้ำว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงการตรวจสอบตามขั้นตอนปกติ ไม่ใช่การตรวจสอบเชิงลึกที่ต้องใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ดำเนินการแต่อย่างใด “กรณีนี้เป็นการตรวจสอบเพื่อยืนยันข้อมูล เพราะนายกรัฐมนตรีได้ยื่นเอกสารมาทั้งหมด ซึ่งมีประเด็นที่ต้องตรวจสอบอยู่ 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่ยื่นมาแล้วและมีการให้กู้กัน 3 ครั้ง ต้องดูว่ารอบระยะบัญชีของบริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ นั้นได้กำหนดเอาไว้ตั้งแต่เมื่อไรถึงเมื่อไร และรอบระยะบัญชีดังกล่าวนั้น อยู่ในช่วงที่มีการให้กู้ยืมเงินหรือไม่ ถ้าอยู่ ได้มีการไว้ในบัญชีงบดุลของบริษัทหรือไม่”
       
       ส่วนอีกประเด็น คือ เรื่องดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่นายกฯ และบริษัทแจ้ง ไม่เท่ากัน โดยนายกฯ แจ้งว่า คิดอัตราดอกเบี้ยตามเงินฝากประจำของธนาคารกรุงไทยที่ 1% ขณะที่งบดุลของบริษัทฯ แจ้งว่า คิดอัตราดอกเบี้ยที่ 2.50-3.75% ต่อปี ซึ่งเจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างตรวจสอบเรื่องนี้ หากพบว่ามีความผิดปกติ จะเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช.ต่อไป นายกล้านรงค์ บอกด้วยว่า “ในขั้นตอนนี้ ยังไม่จำเป็นต้องเรียกนายกฯ มาชี้แจง เพราะอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลเท่านั้น เว้นเสียแต่ว่าหากในอนาคต เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า มีความผิดปกติ คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะนำมาพิจารณาต่อไป ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะเกินภายใน 2 สัปดาห์”
       
       เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังมีข่าว ป.ป.ช.กำลังสอบเรื่องการปล่อยกู้ 30 ล้านบาทของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่าเข้าข่ายแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเท็จหรือไม่ ปรากฏว่ามีข่าวแพร่สะพัดว่า พรรคเพื่อไทยได้ตั้งรับด้วยการวางตัวนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ พี่สาว น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นนายกฯ สำรอง หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง ซึ่งข่าววางตัวนางเยาวภาเป็นนายกฯ สำรอง ก็สอดรับกับที่นายเกษม นิมมลรัตน์ ส.ส.เชียงใหม่ เขต 3 พรรคเพื่อไทย ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส.โดยอ้างว่าสุขภาพไม่ดี และต้องการทำงานท้องถิ่น ถนัดงานท้องถิ่นมากกว่า ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า การลาออกของนายเกษมเพื่อเปิดทางให้นางเยาวภา ลงสมัคร ส.ส.แทน และแม้พรรคเพื่อไทยจะพยายามปฏิเสธว่าการลาออกของนายเกษมไม่ใช่เพื่อเปิดทางให้นางเยาวภา แต่พรรคเพื่อไทยก็มีมติส่งนางเยาวภาลงสมัคร ส.ส.เชียงใหม่แทนนายเกษม
       
       ด้านนายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ด้านบริหารงานเลือกตั้ง พูดถึงกรณีที่หลายฝ่ายมองว่า ผู้ที่ลาออกจาก ส.ส.ควรจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งซ่อมว่า ได้เสนอ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ต่อสภาไปแล้วเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา โดยแก้ไขเพิ่มเติมว่า ผู้ที่ต้องการลาออกไปลงสมัครในตำแหน่งอื่นจะต้องออกค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งซ่อมด้วย ไม่ทราบว่าจะได้ผลตอบรับจากผู้ที่อยู่ในสภาหรือไม่ ทั้งนี้ กกต.กำหนดให้วันที่ 21 เม.ย.เป็นวันเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เชียงใหม่ เขต 3 และเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 12 เม.ย.
       
       ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พูดถึงกรณี ป.ป.ช.กำลังตรวจสอบการปล่อยกู้ 30 ล้านขอบตนว่า ได้ส่งข้อมูลให้แก่ ป.ป.ช.ตามข้อเท็จจริงตามขั้นตอนทั้งหมดแล้ว ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นห่วงว่าจะเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกว่า หวังว่า ป.ป.ช.จะให้ความยุติธรรมและเป็นธรรมแก่ตน
       
       3. ประธาน กกต.กทม. เฉลยข่าวใหญ่ รับสอบ “ยิ่งลักษณ์” ช่วย “พงศพัศ” หาเสียงเขตทหาร ชี้ โทษถึงขั้นหลุดนายกฯ ขณะที่ “สุขุมพันธุ์-แกนนำ ปชป.” โทษถึงขั้นยุบพรรค!

       ตามที่ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธาน กกต.กทม.ได้บอกกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 14 มี.ค.ว่า ให้มาทำข่าวการประชุม กกต.กทม.ในวันที่ 20 มี.ค. กันให้มากๆ เพราะจะมีข่าวพาดหัวหน้า 1 นั้น ปรากฏว่า เมื่อถึงกำหนด พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ได้แถลงหลังประชุม กกต.กทม.ว่า ขณะนี้มีเรื่องร้องคัดค้านการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ทั้งหมด 24 คำร้อง ไม่รับคำร้อง 12 คำร้อง ,เสนอให้ กกต.กลางพิจารณาแล้ว 2 คำร้อง อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาว่าจะรับคำร้องหรือไม่ 7 คำร้อง ส่วนที่เหลืออีก 2 คำร้อง ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์รับเป็นคำร้องคัดค้าน โดยเป็นคำร้องของนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ร้องขอให้ตรวจสอบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบช่วย พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย หาเสียงที่กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
       
       ส่วนอีกคำร้องเป็นของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา และนายวิญญัติ ชาติมนตรี ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย ซึ่งยื่นคำร้องประเด็นใกล้เคียงกัน กรณี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พร้อมด้วยแกนนำพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) เช่น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ,นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ,นายกรณ์ จาติกวณิช ,นายอิสสระ สมชัย ทำผิด พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นฯ และปราศรัยจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าใจผิดในคะแนนนิยมต่อผู้สมัครอื่น
       
       ทั้งนี้ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ เผยว่า กกต.กทม.ยังมีเวลาสืบสวนทั้ง 2 คำร้อง ก่อนจะเสนอไปยัง กกต.กลางภายในวันที่ 2 เม.ย.นี้ และว่า หากตรวจสอบแล้วพบว่า ทั้ง 2 กรณีผิดจริง จะมีโทษตามมาตรา 118 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นฯ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี ดังนั้น หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์มีความผิดและถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง จะพ้นจากสมาชิกภาพ ส.ส.และส่งผลต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย ส่วน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ หากผิดจริง จะเข้าข่ายความผิดฐานยุบพรรคและอาจถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี ตามมาตรา 104 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมืองด้วย
       
       ส่วนที่มีข่าวว่า พล.ต.ท.ทวีศักดิ์จะลาออกจากตำแหน่งประธาน กกต.กทม.นั้น พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ยืนยันว่า ไม่มีคำว่าลาออก เพราะ กกต.กทม.มีการตกลงกันภายในว่าจะสลับกันขึ้นทำหน้าที่ประธาน โดยเดือน เม.ย.นี้ นายสุพจน์ ไพบูลย์ กกต.กทม.จะขึ้นมารับหน้าที่ประธาน กกต.กทม.แทน
       
       4. “ตอบโจทย์ฯ” พ่นพิษ “ประยุทธ์” ไล่คนอึดอัดสถาบันฯ ไปอยู่ที่อื่น ด้าน ตร.ชี้ เนื้อหารายการส่อผิด กม.อาญา!

       หลังจากสถานีโทรทัศน์องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(ไทยพีบีเอส) ได้ชะลอการออกอากาศเทปรายการ “ตอบโจทย์ประเทศไทย” ตอน “สถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ” ตอนที่ 5 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายที่มีกำหนดอากาศเมื่อวันที่ 15 มี.ค. โดยตอนดังกล่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นต่อเนื่องจากวันที่ 14 มี.ค. ระหว่างนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็น 1 ในนักวิชาการที่เคลื่อนไหวให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ นักคิดนักเขียนชื่อดัง ซึ่งนายสมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการไทยพีบีเอส ได้ออกแถลงการณ์ถึงเหตุผลที่ต้องชะลอการออกอากาศว่า เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดจากกรณีที่มีประชาชนกลุ่มหนึ่งเดินทางมาเรียกร้องให้ยุติการออกอากาศรายการดังกล่าว ดังนั้นจึงต้องชะลอออกอากาศเพื่อความปลอดภัยของพนักงานและผู้บริหาร จากนั้นวันที่ 16 มี.ค. นายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ผู้ดำเนินรายการตอบโจทย์ฯ ได้แสดงความไม่พอใจด้วยการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ประกาศยุติการทำรายการตอบโจทย์ตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป โดยอ้างว่า มีการข่มขู่ คุกคาม และแทรกแซงการทำงานจากภายใน และเพื่อแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยกับการที่สถานียุติการออกอากาศตอบโจทย์ฯ ตอน 5
       
       อย่างไรก็ตาม 3 วันให้หลัง(18 มี.ค.) คณะกรรมการนโยบายของไทยพีบีเอส ได้ออกแถลงการณ์ว่า คณะอนุกรรมการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากประชาชนได้วินิจฉัยแล้วว่า การชะลอการออกอากาศรายการดังกล่าว ถือว่าผิดข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมของวิชาชีพเกี่ยวกับการผลิตและเผยแพร่รายการ พ.ศ.2552 ที่กำหนดว่า “ผู้บริหารและพนักงานต้องเป็นอิสระอย่างแท้จริงจากรัฐบาล กลุ่มและพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มเคลื่อนไหวกดดัน...” ดังนั้นคณะอนุกรรมการฯ จึงเห็นสมควรให้มีการเยียวยาผู้ชมรายการ ด้วยการออกอากาศรายการดังกล่าวโดยเร็ว จากนั้นทางสถานีได้นำเทปรายการตอบโจทย์ฯ ตอน 5 มาออกอากาศทันที
       
       ทั้งนี้ ก่อนจะออกอากาศ นายสมชัย สุวรรณบรรณ ผอ.ไทยพีบีเอส ได้ชี้แจงเหตุผลที่ต้องนำประเด็น “สถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ” มานำเสนอว่า เนื่องด้วยขณะนี้ประเด็นมาตรา 112 เป็นที่ถกเถียงกันมากในโซเชียลเน็ตเวิร์ก หากไม่พูดให้กระจ่างและตรวจสอบได้จะเป็นอันตราย การนำผู้ที่เห็นว่าจะต้องแก้ไขเรื่องนี้มาเสนอในที่สว่าง และเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นโต้แย้งกัน จะทำให้สังคมเกิดความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งเหตุผลของนายสมชัย สอดคล้องกับที่นายภิญโญ ไตรสุริยธรรมดา ผู้ดำเนินรายการตอบโจทย์ฯ ได้ประกาศก่อนหน้านี้
       
       แต่ดูเหมือนสถานการณ์จะไม่เป็นอย่างที่นายสมชัยและนายภิญโญคาด เพราะได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไทยพีบีเอสอย่างมากที่นำเทปรายการตอบโจทย์ฯ ตอน 5 มาออกอากาศ นอกจากนี้ยังมีประชาชนหลายกลุ่มที่ไม่พอใจ เดินทางไปยื่นหนังสือให้ไทยพีบีเอสแสดงความรับผิดชอบด้วย เช่น กลุ่มประชาชนทนไม่ไหว และกลุ่มเสื้อหลากสี ด้านผู้บริหารไทยพีบีเอส ได้ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมรับปากจะนำข้อร้องเรียนทุกข้อเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการที่มีอำนาจตรวจสอบต่อไป
       
       ขณะที่การประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 19 มี.ค. ก็ได้มีการหารือเกี่ยวกับรายการตอบโจทย์ฯ โดยกลุ่ม 40 ส.ว.ระบุว่า เนื้อหารายการดังกล่าวเข้าข่ายผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
       
       ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ก็ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหารายการตอบโจทย์ฯ เช่นกัน ถึงกับประกาศว่า ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เมื่อคนส่วนใหญ่รักสถาบันพระมหากษัตริย์ คนส่วนน้อยก็ต้องยอมรับ หากคิดว่าอยู่เมืองไทยแล้วอึดอัดที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์และมีกฎหมายคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ขอให้ไปอยู่ที่อื่น
       
       ขณะที่นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกอาการร้อนตัวและไม่พอใจคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จึงได้โพสต์บทกลอนภาษาอังกฤษลงในเฟซบุ๊กในลักษณะเหน็บแนม พล.อ.ประยุทธ์และกระทบชิ่งสถาบัน โดยใช้ชื่อว่า “I AM UD-AD MAN” (ฉันเป็นมนุษย์อึดอัด) ซึ่งต่อมานายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้แปลบทกลอนดังกล่าวเป็นภาษาไทย พร้อมชมว่านายเกษียรเขียนได้ดีและมันส์มาก ตัวอย่างเช่น “...ฉันเป็นมนุษย์อึดอัด ท่านนายพลหวังจะเตะฉันออกไปจากแผ่นดินนี้ เพียงเพราะฉันคิดต่างออกไป... ฉันเป็นมนุษย์อึดอัด เกิดและโตในประเทศไทยแลนด์ ดินแดนอึดอัด นี่เป็นดินแดนเสรีชน ตราบเท่าทีทุกคน ปิดปาก ปิดหู ปิดตา นี่คือแดนอึดอัด ทนไปเหอะถ้าทนได้ ที่นี่ความรักเป็นเรื่องบังคับ และความเกลียดชังมีไว้แจกกันง่ายๆ เหลือเฟือ ความอึดอัดจงเจริญ คิดต่างออกไป คุณอาจม่องเท่ง อึดอัดเป็นเอกลักษณ์ชาติไทย เสรีภาพเป็นความชั่วของฝรั่ง”
       
       เป็นที่น่าสังเกตว่า หลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ออกมาแสดงท่าทีต่อรายการตอบโจทย์ฯ ปรากฏว่า ทาง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก็มีท่าทีต่อเรื่องนี้เช่นกัน โดยบอกว่า ได้ให้ตำรวจสันติบาลและฝ่ายกฎหมายไปถอดเทปเนื้อหารายการทั้งหมดเพื่อพิจารณาว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลา 2-3 วัน
       
       ซึ่งต่อมา พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยว่า จากการตรวจสอบเทปรายการตอบโจทย์ฯ ตอนที่ 4 และ 5 พบว่า ถ้อยคำบางช่วงบางตอนของผู้เข้าร่วมรายการเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญา “พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.จึงมีคำสั่งตั้งพนักงานสืบสวนสอบสวน มี พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร ที่ปรึกษา (สบ.10) ฝ่ายกฎหมาย เป็นหัวหน้า พร้อมกำชับทุกสถานีตำรวจทั่วประเทศรับแจ้งความ หากมีผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ก็ให้ดำเนินการสอบสวน”
       
       ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเห็นด้วยกับคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ออกมาปกป้องสถาบันและไล่คนที่รู้สึกอึดอัดกับการมีสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ไปอยู่ที่อื่น “ผมเห็นด้วยที่ พล.อ.ประยุทธ์ออกมาให้สัมภาษณ์ จะไปทำให้บ้านเมืองวุ่นวายทำไม อยู่มากี่ร้อยกี่พันปี...ถ้าอยู่ไม่ได้ก็ไปอยู่ที่อื่น มันจะคิดเรื่องนี้ทำไม บ้านเมืองมันต้องปรองดอง ต้องอยู่กันอย่างสงบสุข...”
       
       ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ได้แสดงท่าทีใดใดต่อรายการตอบโจทย์ฯ โดยบอกเพียงว่า ให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องนี้นำข้อมูลต่างๆ ไปพิจารณาก่อน
       
       5. ครม.ไฟเขียว พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านแล้ว ด้านสภาเตรียมพิจารณา 28-29 มี.ค. ขณะที่ 40 ส.ว.ชี้ ส่อขัด รธน. เล็งยื่นศาลฯ ตีความ!

       เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ โดยกฎหมายฉบับนี้ให้กระทรวงการคลังสามารถกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศมาลงทุนในโครงการต่างๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์และแผนงานที่กำหนดไว้ในบัญชีท้าย พ.ร.บ.ในวงเงินไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ภายในวันที่ 31 ธ.ค.2563
       
        นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยหลังประชุม ครม. โดยยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนี้ เป็นกฎหมายที่ช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจและสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน พร้อมย้ำ จะไม่ทำให้ระดับหนี้สาธารณะของประเทศในอนาคตเกินกว่า 50% ของจีดีพี “จะจัดหาแหล่งเงินทุนภายในประเทศ โดยรัฐบาลสามารถชำระหนี้เงินกู้ได้ตามแผนที่กำหนดไว้ภายใน 50 ปี หรือภายในครึ่งศตวรรษ”
       
        นายกิตติรัตน์ ยังพูดถึงโครงการที่จะดำเนินการตามร่าง พ.ร.บ.กู้เงินฉบับนี้ด้วยว่า แบ่งเป็น 3 กลุ่มยุทธศาสตร์หลัก คือ 1.ยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า วงเงินกว่า 3.5 แสนล้านบาท 2.ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน วงเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท 3.ยุทธศาสตร์พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว วงเงิน 5.9 แสนล้านบาท
       
        ทั้งนี้ หลังรัฐบาลเสนอร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านให้ประธานสภาฯ บรรจุเข้าวาระการประชุม ปรากฏว่า ได้ข้อยุติแล้วว่า จะมีการประชุมสภานัดพิเศษเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กู้เงินในวันที่ 28-29 มี.ค. ตั้งแต่เวลา 09.30น.-22.00น. โดยให้ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านอภิปรายฝ่ายละ 12 ชั่วโมง และจะถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ด้วย
       
        ด้านนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชี้ว่า ร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านอาจขัดรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญระบุชัดเจนว่า รายจ่ายของรัฐต้องออกเป็น พ.ร.บ.งบประมาณ ซึ่งเงินกู้ 2 ล้านล้านเป็นรายจ่ายที่ชัดเจน แต่รัฐบาลกลับไม่นำเข้าเป็นระบบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 หากกู้มาจริง 2 ล้านล้านบาท คาดว่าจะต้องใช้หนี้หมดภายใน 50 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่ยาวนาน เป็นการทิ้งภาระหนี้สินไว้ให้กับลูกหลานและรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารงานต่อ
       
        ขณะที่กลุ่ม 40 ส.ว.ก็เห็นว่าร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านน่าจะขัดรัฐธรรมนูญเช่นกัน ดังนั้นจะมีการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าร่างดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 วรรค 1 หรือไม่ หลังร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านผ่านสภาแล้ว
       
        ทั้งนี้ ได้มีกลุ่มชาวไทยหัวใจรักสงบ นำโดยนางกาญจนี วัลยะเสวี เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้สอบสวนกรณี ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทแล้ว เนื่องจากเห็นว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน ที่ต้องทำในรูป พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี การปฏิบัติหน้าที่ของ ครม. และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง จึงเข้าข่ายไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ พร้อมขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป หากพบว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    24 มีนาคม 2556

6788
 1. กกต.กทม. มีมติ 3 ต่อ 2 ส่ง 2 คำร้องให้ กกต.กลางชี้ขาดประกาศรับรอง “สุขุมพันธุ์” หรือไม่ พร้อมส่งซิก 20 มี.ค. มีข่าวใหญ่!

       ความคืบหน้ากรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) มีมติ 3 ต่อ 1 ยังไม่ประกาศรับรองผลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้รับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่า ต้องสืบสวนสอบสวนเรื่องร้องเรียน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ให้แล้วเสร็จก่อน หากแล้วเสร็จก่อน 30 วัน กกต.สามารถประกาศรับรองผลก่อนได้ ขณะที่พรรคเพื่อไทย-คนเสื้อแดง และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ยังคงทยอยยื่นร้องคัดค้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เป็นระยะๆ
       
       โดยเมื่อวันที่ 11 มี.ค.นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยและทนาย นปช. ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนให้ กกต.กทม.ตรวจสอบคำปราศรัยของแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ 4 คน ประกอบด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ,นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ,นายอิสสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยกล่าวหาว่าแกนนำทั้งสี่ปราศรัยหาเสียงในช่วงโค้งสุดท้ายอาจจะเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้ง วันเดียวกัน(11 มี.ค.) นายเรืองไกร ก็ได้ยื่นหนังสือให้ กกต.กทม.ตรวจสอบคำปราศรัยของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และนายจุรินทร์ โดยอ้างว่า อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายเลือกตั้งเช่นกัน
       
       วันต่อมา(12 มี.ค.) พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธาน กกต.กทม.เผยหลังประชุม กกต.กทม.ว่า ขณะนี้ได้รับเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 20 คำร้อง พิจารณาไปแล้ว 9 คำร้อง โดยรับคำร้อง 3 เรื่อง ไม่รับ 4 เรื่อง และมี 2 เรื่องที่ กกต.กทม.มีมติเสียงข้างมากให้เสนอความเห็นไปยัง กกต.กลาง โดยจะถึง กกต.กลางในวันที่ 14 มี.ค. และว่า 2 เรื่องที่มีมติไป คือกรณีที่นายเรืองไกรขอให้ตรวจสอบการโพสต์ภาพเผาบ้านเผาเมืองของนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ และการโพสต์ข้อความของ ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการ ที่ระบุว่า “ไม่เลือกเราเขามาแน่”
       
       ทั้งนี้ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ยอมรับว่า มติที่เสนอไปยัง กกต.กลางนั้น ความผิดที่มีการกล่าวหาโยงไม่ถึงตัว ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เป็นเพียงความผิดของผู้สนับสนุน ซึ่ง กกต.กทม.เสนอให้ กกต.กลางพิจารณาสั่งดำเนินคดี แต่จะมีการประกาศรับรองผลหรือสั่งเลือกตั้งใหม่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ กกต.กลางจะพิจารณา
       
       ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี หลังจากเคยหน้าแตกกรณีแสดงความมั่นใจว่า พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ของพรรค จะชนะเลือกตั้ง จนต้องหยุดให้สัมภาษณ์ไป 7 วัน ล่าสุด ได้ออกมาแสดงความมั่นใจอีกว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ หากไม่ได้ใบเหลืองก็ใบแดง พร้อมท้าทาย กกต.ว่า หากกล้ายกคำร้องก็ยกไปเลย
       
       ขณะที่นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ เชื่อมั่นว่า ภาพเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองที่โพสต์บนเฟซบุ๊กไม่ผิดกฎหมาย เพราะไม่ได้มีการระบุข้อความว่า พล.ต.อ.พงศพัศมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผาบ้านเผาเมือง
       
       ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความมั่นใจว่า ข้อร้องเรียนต่างๆ ที่มีถึง กกต. ไม่มีอะไรผิดกฎหมาย ไม่มีส่วนใดที่เข้าข่ายมาตรา 57(5) ว่ามีใครไปขู่เข็ญ บังคับหลอกลวง “อยากฝากไปยัง กกต.ว่าไปตามข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย รวมทั้งต้องอธิบายคำตัดสินของตัวเองด้วยว่า เหตุผลคืออะไร”
       
       ขณะที่นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง เผย(13 มี.ค.)ว่า หาก กกต.ได้รับเรื่องจาก กกต.กทม.เมื่อใด ต้องดูว่าพยานหลักฐานครบถ้วนหรือไม่ ต้องสอบเพิ่มหรือไม่ ถ้า กกต.กทม.สอบถ้อยคำฝ่ายผู้ร้องและผู้ถูกร้องครบถ้วนแล้ว ที่ประชุม กกต.กลางก็จะพิจารณาเพื่อมีมติต่อไป คาดว่าคงพิจารณาในสัปดาห์หน้า นางสดศรี ยังบอกด้วยว่า กกต.ค่อนข้างหนักใจหากต้องมีการพิจารณาให้ใบเหลืองใบแดงว่าที่ผู้ว่าฯ กทม.ก่อนการประกาศรับรองผล เพราะถ้าจะทำเช่นนั้น ต้องมีหลักฐานชัดเจน
       
       ด้าน พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ ตู้จินดา ประธาน กกต.กทม.ได้ออกมาเผยหลังประชุมพิจารณาคำร้องคัดต้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เมื่อวันที่ 14 มี.ค.ว่า ที่ประชุมได้ลงนามคำร้องคัดค้าน 2 เรื่อง กรณีนายศิริโชคและ ดร.เสรี ที่มีมติส่งให้ กกต.กลางวินิจฉัย แต่ไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างพิจารณาคำร้องคัดค้านอีก 3 เรื่อง ซึ่งเจ้าหน้าที่ยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จ โดยจะเข้าที่ประชุมอีกครั้งในวันที่ 20 มี.ค.
       
       เป็นที่น่าสังเกตว่า พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ พูดเป็นนัยว่า ขอให้สื่อมวลชนมาทำข่าวการประชุม กกต.กทม.วันที่ 20 มี.ค.เวลา 13.00น.กันให้มากๆ เพราะจะมีข่าวพาดหัวหน้า 1 ผู้สื่อข่าวถามว่า จะแถลงข่าวลาออกหรือ? พล.ต.ท.ทวีศักดิ์หัวเราะ เมื่อถามต่อว่า หรือจะมีการเชิญผู้สมัครมาชี้แจง พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ บอกว่า อาจจะมีการเชิญผู้สมัครมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน เมื่อถามว่า จะเชิญ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ใช่หรือไม่ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์หัวเราะและขอตัว โดยอ้างว่าต้องรีบไปบรรยายต่อ
       
       ทั้งนี้ มีรายงานแจ้งว่า ที่ประชุม กกต.กทม.เมื่อวันที่ 14 มี.ค.ไม่ได้มีมติว่าจะเชิญใครมาให้ถ้อยคำแต่อย่างใด การที่ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์ บอกว่าจะมีข่าวใหญ่พาดหัวหน้า 1 ในวันที่ 20 มี.ค. น่าจะเป็นกรณีที่ พล.ต.ท.ทวีศักดิ์จะลาออกจากตำแหน่งประธาน กกต.กทม.มากกว่า เนื่องจาก กกต.กทม.ทั้ง 5 คนมีข้อตกลงกันเรื่องการดำรงตำแหน่งประธานคนละ 1 ปี ซึ่ง พล.ต.ท.ทวีศักดิ์จะดำรงตำแหน่งประธานครบ 1 ปี ในวันที่ 30 มี.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ได้โพสต์ผ่านทวิตเตอร์(16 มี.ค.)ว่า สำนักข่าวทีนิวส์ รายงานว่า ประธาน กกต.กทม.เฉลยข่าวใหญ่คดีนายกฯ ช่วยพงศพัศ แต่โดนห้ามแถลงแล้ว
       
       2. “เจริญ” เดินหน้าถกนิรโทษฯ แม้มีผู้เข้าร่วมแค่ 5 จาก 11 กลุ่ม ด้าน “พันธมิตรฯ” ไม่ร่วมสังฆกรรม ประกาศ พร้อมต้านนอกสภา!

       ความคืบหน้ากรณีนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 จากพรรคเพื่อไทย ได้เชิญกลุ่มต่างๆ 11 กลุ่มเข้าร่วมหารือเกี่ยวกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมในวันที่ 11 มี.ค. ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย-ประชาธิปัตย์-พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย-กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) -องค์การพิทักษ์สยาม -กลุ่มเสื้อหลากสี-นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม -ฝ่ายทหาร- ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ-คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.)
       
       ปรากฏว่า เมื่อถึงกำหนด มีผู้มาร่วมหารือแค่ 5 กลุ่ม คือ ตัวแทนพรรคเพื่อไทย ได้แก่ นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย และนายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี ,ตัวแทน นปช.นายก่อแก้ว พิกุลทอง ,ตัวแทนฝ่ายทหาร ได้แก่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสวุวรรณ รองผู้บัญชาการทหารบก และ พล.อ.ม.ล.ประสบชัย เกษมสันต์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ,ตัวแทนสมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจย่านราชประสงค์ พ.ต.อ.เสรี ไขรัศมี และตัวแทนจากพรรคภูมิใจไทย นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ กลุ่มมัชณิมา
       
       ขณะที่นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ แกนนำพันธมิตรฯ รุ่น 2 และโฆษกพันธมิตรฯ เผยเหตุที่พันธมิตรฯ ไม่เข้าร่วมหารือว่า แม้รองประธานสภาฯ จะตอบสนองข้อเสนอของพันธมิตรฯ ด้วยการเชิญคนทุกกลุ่มเข้าหารือ แต่พันธมิตรฯ ได้เคยแสดงจุดยืนไปแล้วว่า ไม่เห็นด้วยและจะคัดค้านอย่างถึงที่สุดหากมีการตรากฎหมายเพื่อนิรโทษกรรมผู้ที่กระทำผิดทางอาญาและคดีทุจริต ซึ่งการประชุมดังกล่าวชัดเจนว่า ไม่ได้จำกัดหัวข้อแค่การฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินและ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เท่านั้น เพราะใช้คำว่า “การแสวงหาแนวทางบรรเทาความขัดแย้ง” นอกจากนี้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายขึ้น เมื่อ ส.ส.พรรคเพื่อไทยได้เข้าชื่อ 42 คนเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมต่อประธานสภาฯ เมื่อวันที่ 7 มี.ค.เพื่อให้บรรจุเข้าวาระการประชุมสภา โดยให้การนิรโทษกรรมรวมถึงผู้กระทำผิดทางอาญาร้ายแรง ซึ่งรวมถึงหลายคนที่ขึ้นเวทีปราศรัยหรือสั่งการที่อาจได้รับประโยชน์ โดยอ้างว่าตนไม่ใช่ผู้มีอำนาจในการสั่งการ พันธมิตรฯ จึงขอไม่เข้าร่วมหารือ พร้อมประกาศว่า หาก ส.ส.ยังคงใช้อำนาจเสียงข้างมากในสภาต่อไปโดยไม่ฟังเสียงคนกลุ่มอื่น พันธมิตรฯ ก็ขอใช้สิทธิในการคัดค้านและต่อต้าน “นอกสภา” อย่างถึงที่สุดต่อไป
       
       ทั้งนี้ หลังที่ประชุม 5 ฝ่ายใช้เวลาหารือกว่า 2 ชั่วโมง นายเจริญ ได้แถลงผลประชุมว่า ทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกัน 4 ข้อ คือ 1.ต้องการบรรเทาความขัดแย้งร่วมกัน 2.ต้องให้อภัยกัน ส่วนรายละเอียดของกฎหมายนิรโทษกรรม ทุกฝ่ายต้องออกแบบร่วมกัน 3.บรรเทาความขัดแย้งให้เกิดทัศนคติที่ดีในการออกกฎหมายนิรโทษกรรม อยากให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวนักโทษการเมืองที่ยังถูกคุมขังอยู่ และ 4.การวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อและพรรคการเมือง ขอให้ยึดประชาชนเป็นหลัก ไม่ใช่เพื่อคนใดคนหนึ่ง
       
       ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เข้าร่วมหารือ เพราะต้องการให้ถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ ทั้ง 4 ฉบับออกจากสภาฯ ก่อนนั้น นายเจริญ บอกว่า จะเชิญนายอภิสิทธิ์มาหารือนอกรอบกับคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) เพื่อพูดคุยให้ประเทศเดินหน้าต่อไป ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาย้ำว่า ต้องถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ ทั้ง 4 ฉบับก่อนถึงจะมีการคุย
       
       ส่วนกรณีที่นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และ ส.ส.ของพรรครวม 42 คน ยื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ แล้วนั้น ปรากฏว่า ที่ประชุมวิปรัฐบาลมีมติว่าไม่จำเป็นต้องเลื่อนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วน เนื่องจากยังมีกฎหมายค้างการพิจารณาในสภาอยู่หลายฉบับ รวมทั้งเห็นว่า เรื่องการนิรโทษกรรมต้องให้หลายๆ ฝ่ายพิจารณาอย่างที่นายเจริญดำเนินการอยู่
       
       ด้านนายวรชัย ไม่สนมติวิปรัฐบาล โดยยืนยันว่า หากร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ได้รับการบรรจุเข้าวาระการประชุมสภาเมื่อใด ตนจะใช้เอกสิทธิ์ ส.ส.เสนอต่อที่ประชุมสภาให้เลื่อนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ฉบับนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ
       
       เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อผู้สื่อข่าวไปถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถึงเรื่องที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย 42 คนยื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เข้าสภา ปรากฏว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังคงตอบเหมือนที่เคยตอบก่อนหน้านี้ว่า การออก พ.ร.บ.เป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ส่วนฝ่ายบริหารมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน
       
       3. “ผบ.ตร.” แถลงยกเลิกสัญญาสร้างโรงพัก 396 แห่งกับ “พีซีซีฯ” แล้ว แต่ให้เวลาส่งมอบงานอีก 30 วัน หวั่นเสียค่าโง่ซ้ำรอย “โฮปเวลล์-คลองด่าน”!

       เมื่อวันที่ 14 มี.ค. ซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามสัญญาจ้างบริษัท พีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ที่รับจ้างก่อสร้างที่ทำการสถานีตำรวจ(ทดแทน) 396 แห่ง มูลค่า 5,848 ล้านบาท พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) ได้นำทีมตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างโรงพัก เปิดแถลงข่าวบอกเลิกสัญญากับบริษัท พีซีซีฯ แต่ไม่ใช่การบอกเลิกในทันที โดยชี้แจงว่า เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการใหญ่มาก ใช้งบประมาณกว่า 5 พันล้านบาท ซึ่งตามกฎหมายทางแพ่งกำหนดว่า ต้องให้โอกาสผู้ประกอบการได้แก้ตัวระยะหนึ่ง จึงเห็นควรให้เวลาผู้ประกอบการอีก 30 วันในการส่งมอบงาน หรือภายในวันที่ 17 เม.ย. หากไม่สามารถปฏิบัติตามที่กำหนด สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะบอกเลิกสัญญาอย่างเป็นทางการต่อไป
       
       พล.ต.อ.อดุลย์ บอกด้วยว่า ได้เตรียมแผนประกวดราคาก่อสร้างโรงพักทั้ง 396 แห่งใหม่ ซึ่งจากการตรวจสอบมีประมาณ 60 แห่งที่ยังไม่มีการก่อสร้างเลย ดังนั้น จากนี้ไปจะดำเนินการตามขั้นตอนพัสดุในการประกวดราคา และขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เพื่อกระจายอำนาจการจัดจ้างไปยังแต่ละกองบังคับการจังหวัด ซึ่งขั้นตอนนี้คาดว่าจะใช้เวลา 30 วัน โดยจะทำคู่ขนานกันไป คาดว่าปลายเดือน เม.ย.น่าจะดำเนินการจัดจ้างใหม่ได้
       
       พล.ต.อ.อดุลย์ ยืนยันด้วยว่า วิธีนี้ถือว่าไวที่สุดและปลอดภัยที่สุดแล้ว “เรื่องความผิดฐานฉ้อโกง ได้ประสานดีเอสไอให้ดำเนินการไป ส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะดำเนินการบังคับการปฏิบัติตามสัญญาทางแพ่ง โดยเคยมีกรณีโฮปเวลล์ คลองด่าน มาแล้ว และหลายกรณีที่บอกเลิกสัญญาแล้วมีการคุ้มครอง นำมาสู่การก่อสร้างไม่ได้ อย่างนั้นจะเสียหายมากกว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงใช้กระบวนการนี้ เพื่อให้การจัดจ้างใหม่เกิดขึ้นได้ภายใน 30 วัน และฟ้องค่าเสียหายเอาเงินค้ำประกันกว่าพันล้านมาใช้ได้”
       
       ด้าน พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ชี้แจงเหตุที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษว่า “ขณะนี้เรากำลังเดือดร้อนมากจากการไม่มีที่ทำการ ประชาชนไม่ได้รับความสะดวก ดังนั้นเราต้องการอาคารเร็วที่สุด เราจึงคิดจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ กระจายการจัดจ้างไปยังกองบังคับการจังหวัดต่างๆ หากใช้วิธีอีออคชั่น จะใช้เวลาทางธุรการ 85 วัน เกือบ 3 เดือน ถ้าใช้วิธีพิเศษใช้เวลาเพียง 10 วัน”
       
       ส่วนกรณีที่นายพิบูลย์ อุดมสิทธิกุล ผู้บริหารบริษัท พีซีซีฯ ยื่นคำร้องต่อนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ขอให้ถอนการอายัดเงินในบัญชีธนาคารออมสิน สาขาประตูช้างเผือก จ.เชียงใหม่ 438 ล้านบาทนั้น นายธาริต ยืนยันไม่ถอนอายัด โดยอ้างว่า เป็นการอายัดเพื่อตรวจสอบและป้องกันการโยกย้าย ไม่ใช่การยึดหรือริบทรัพย์ตามคำสั่งศาล ดังนั้นจึงยังไม่ถือว่ากระทบกับบริษัท พีซีซีฯ
       
       นายธาริต ยังบอกด้วยว่า หากสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่มาแจ้งความคดีฉ้อโกงกับบริษัท พีซีซีฯ ดีเอสไอก็สามารถดำเนินคดีเองได้ตามมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว พร้อมย้ำ เรื่องนี้ไม่สามารถยอมความได้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะมาร้องทุกข์กับดีเอสไอหรือไม่
       
       4. ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนยกฟ้อง “สนธิ” คดี “ทักษิณ-ทรท.” ฟ้องหมิ่นแฉปฏิญญาฟินแลนด์ ชี้ เป็นการติชมโดยสุจริต!

       เมื่อวันที่ 12 มี.ค. ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีที่พรรคไทยรักไทย(ทรท.) และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กับพวกรวม 11 คน เช่น นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ,นายชัยอนันต์ สมุทวณิช ,นายปราโมทย์ นาครทรรพ ฯลฯ เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นด้วยการโฆษณา
       
        คดีนี้ โจท์ทั้งสองนำสืบว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2549 จำเลยได้จัดเสวนาวิชาการ ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง “ปฏิญญาฟินแลนด์ ยุทธศาสตร์การเมืองของไทยรักไทย?” โดยกล่าวว่าโจทก์ทั้งสองวางแผนยุทธศาสตร์ 5 ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ การเป็นพรรคการเมืองใหญ่พรรคเดียวจัดตั้งรัฐบาลและมีผู้นำคนเดียว ,การเปลี่ยนแปลงระบบราชการเป็นแบบซีอีโอ ,การแทรกแซงโยกย้ายข้าราชการ ,การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน และการทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเพียงสัญลักษณ์
       
        ทั้งนี้ โจทก์ทั้งสอง ชี้ว่า การเสวนาของพวกจำเลยมีวัตถุประสงค์ต้องการให้เกิดการแบ่งฝ่ายในสังคม โดยกล่าวหาว่าโจทก์คือกลุ่มที่คัดค้านการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งที่ในการประชุมพรรคของโจทก์ ไม่มีการกล่าวถึงข้อตกลงปฏิญญาฟินแลนด์ และไม่เคยมีนโยบายตามข้อตกลงดังกล่าว แต่การเป็นพรรคการเมืองเดียวจัดตั้งรัฐบาล เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ต้องการให้ฝ่ายบริหารมีความเข้มแข็ง เนื่องจากที่ผ่านมามีการยุบสภาบ่อย
       
        สำหรับประเด็นการเปลี่ยนแปลงระบบราชการนั้น โจทก์อ้างว่า เพื่อให้ระบบราชการที่เคยมีขนาดใหญ่ มีขนาดเล็กลง จะได้บริการประชาชนอย่างรวดเร็ว ส่วนการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ก็เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน ขณะที่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โจทก์อ้างว่า ต่างประเทศก็ทำ เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี พร้อมยืนยันว่า โจทก์ทั้งสองไม่เคยมีเจตนาคัดค้านสถาบันกษัตริย์
       
        คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่า การจัดเสวนาของจำเลยไม่ได้ยืนยันว่า ข้อตกลงปฏิญญาฟินแลนด์มีจริงหรือไม่ เพียงแต่กล่าวถึงการบริหารราชการแผ่นดินของโจทก์เท่านั้น จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งต่อมาโจทก์อุทธรณ์
       
        ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์ พิจารณาแล้วเห็นว่า การเสวนาของจำเลยไม่ได้ให้ความสำคัญหรือยืนยันว่า ข้อตกลงปฏิญญาฟินแลนด์มีจริงหรือไม่ แต่มุ่งวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของโจทก์ในฐานะนายกรัฐมนตรีและพรรคการเมืองที่มีอำนาจในการบริหารประเทศ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประชาชนและประเทศชาติ นอกจากนี้ ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ โจทก์ที่สอง ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถือเป็นบุคคลสาธารณะที่ประชาชนทั่วไปสามารถแสดงความคิดเห็นและติชมโดยสุจริตได้ ขณะเดียวกัน โจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า ข้อตกลงปฏิญญาฟินแลนด์นั้นไม่มีอยู่จริง
       
        ส่วนการเผยแพร่บทความเกี่ยวกับปฏิญญาฟินแลนด์ก่อนหน้านั้น ศาลเห็นว่า เป็นเพียงการนำเสนอเพื่อให้การเสวนาน่าสนใจเท่านั้น ไม่อาจฟังได้ว่าเป็นการทำลายล้างทางการเมืองหรือมุ่งโจมตีโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายกฟ้อง

ASTVผู้จัดการออนไลน์    17 มีนาคม 2556

6789
 Hotels.com จัดทำแบบสำรวจจำนวนวันหยุดต่างๆ ในแต่ละประเทศทั่วโลก โดยรวมวันหยุดช่วงเทศกาลประจำปี (วันหยุดนักขัตฤกษ์) และวันหยุดแบบลาพักร้อน ผลการสำรวจพบว่า รัสเซียเป็นประเทศที่มีวันหยุดรวมกันแล้วมากที่สุดซึ่งมีมากถึง 40 วัน ส่วนเม็กซิโกรั้งท้ายด้วยจำนวนวันหยุดรวมทั้งหมดเพียง 13 วันต่อปี
       
       ผลสำรวจจากประเทศต่างๆ กว่า 30 ประเทศทั่วโลก พบว่าจำนวนเฉลี่ยของวันหยุดรวมกันคือ 28 วันต่อปี โดยรัสเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีวันหยุดมากที่สุดนั้น แบ่งเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ 12 วัน และวันลาพักร้อน 28 วัน ส่วนอันดับ 2 คือประเทศอิตาลีและสวีเดน มีวันหยุดรวม 36 วัน แบ่งเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ 24/25 วัน และวันลาพักร้อน 12/11 วัน
       
       ส่วนประเทศแคนาดาและเม็กซิโกเป็น 2 ประเทศที่มีจำนวนวันหยุดน้อยที่สุด แคนาดามีจำนวนวันหยุด 15 วัน แบ่งเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ 5 วัน วันลาพักร้อน 10 วัน ส่วนเม็กซิโกมีจำนวนวันหยุดเพียง 13 วัน แบ่งเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ 6 วัน และวันลาพักร้อน 7 วัน ด้านประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 24 มีวันหยุดรวม 21 วัน แบ่งเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ 15 วัน และวันลาพักร้อน 6 วัน
       
       หากดูเฉพาะจำนวนวันหยุดนักขัตฤกษ์พบว่าอาร์เจนติน่าเป็นอันดับ 1 โดยมีจำนวนวันหยุดนักขัตฤกษ์ถึง 19 วันต่อปี ซึ่งรวมถึงเทศกาลงานคาร์นิวัลอันโด่งดังของอาร์เจนติน่าที่มีขึ้นระหว่างวันที่ 11 ถึง 12 กุมภาพันธ์ ตามมาด้วยประเทศโคลัมเบีย ที่มีจำนวนวันหยุดนักขัตฤกษ์ 18 วันต่อปี ซึ่งรวมถึงวัน 'Dia de San Jose' ที่จะมีขึ้นในวันที่ 19 มีนาคม ส่วนบราซิล แคนาดาและอินเดีย นั้นเป็นสามประเทศที่มีจำนวนวันหยุดนักขัตฤกษ์น้อยที่สุด ซึ่งมีเพียง 5 วันต่อปีเท่านั้น


ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 มีนาคม 2556

6790
เรื่องนี้ถึงดีเอสไอแน่! “หมอประดิษฐ” สั่งสอนองค์การเภสัชฯ เหตุสั่งการบ้านตรวจสอบการสร้างโรงงานวัคซีนล่าช้า และวัตถุดิบยาพาราฯมีปัญหาแล้ว แต่ไม่รายงาน ไม่มีคำตอบให้ ส่งเลขาฯร้องดีเอสไอใช้กระบวนการตามกฎหมายตรวจสอบแทน เพื่อชี้แจงต่อสาธารณชน ยันยังไม่ย้าย ผอ.
   
       วันนี้ (28 มี.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีมอบหมายให้ นายกมล บันไดเพ็ชร เลขานุการ รมว.สาธารณสุข ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อให้ตรวจสอบองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เรื่องการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนวงเงิน 1.4 พันล้านบาท ซึ่งนานกว่า 5 ปี แต่ยังไม่แล้วเสร็จ และการสั่งซื้อวัตถุดิบผลิตยาพาราเซตามอลที่มีความผิดปกติ ว่า สาเหตุที่ต้องยื่นเรื่องให้ดีเอสไอตรวจสอบ เพราะตนได้ให้ อภ.เข้าชี้แจงปัญหาการสร้างโรงงานวัคซีนล่าช้าแล้วหลายครั้ง แต่ไม่มีการตอบรับ ส่วนกรณีโรงงานเภสัชกรรมทหารสั่งซื้อวัตถุดิบผลิตยาพาราฯ ผ่าน อภ.แล้วพบการปนเปื้อนนั้น พบว่าวัตถุดิบหลายล็อตมีปัญหา แต่ยังมีการสั่งซื้อต่อ มีการเปลี่ยนวัตถุดิบจากสารเคมีที่ต้องนำมาผสมเองเป็นแบบพร้อมตอกเม็ดได้ทันที และมีการสั่งวัตถุดิบมาเก็บไว้เป็นเวลานาน ซึ่งตนได้สั่งการให้คืนวัตถุดิบดังกล่าวแล้ว เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน และไม่ควรใช้วัตถุดิบที่พบครั้งแล้วครั้งเล่าว่าคุณภาพมีปัญหา โดยตั้งแต่สั่งการไปยังไม่ได้รับรายงาน จึงตั้งสมมติฐานว่าคงไม่มีปัญหาในการคืนดังกล่าว
       
       “ที่ผ่านมาได้สั่งให้คณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) อภ.ดำเนินการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว เพื่อพิจารณาว่าทำงานอย่างจริงจังหรือไม่ ส่วนการร้องขอให้ดีเอสไอตรวจสอบก็เพื่อชี้แจงต่อสาธารณชนว่า ปัญหาเกิดจากอะไร มีการจัดการอย่างถูกต้องหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมามีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนภายในแล้ว แต่ก็ไม่ได้รับผลการสอบสวนที่ชัดเจน ถามหาหลักฐานบางอย่างก็ไม่มีให้” รมว.สาธารณสุข กล่าวและว่า การสอบสวนของดีเอสไอจะมีผู้เชี่ยวชาญดำเนินการหาคำตอบว่า กระบวนการก่อสร้างนั้นผิดปกติจริงหรือไม่ เพราะตนไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ไม่สามารถตอบได้ว่าการเปลี่ยนแบบก่อสร้างกลางคันส่งผลกระทบอย่างไร หรือ การใช้เวลาก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนดเดิมผิดปกติหรือไม่ รวมทั้งเรื่องงบประมาณ ซึ่งดีเอสไอมีอำนาจตามกฎหมาย สามารถเรียกผู้เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อมูลหรือค้นหาขอเอกสารเพิ่มเติมได้ เพราะที่ผ่านมาตนพยายามขอข้อมูลไปแต่ไม่ได้รับข้อมูล เมื่อถามไปก็ไม่มีคำตอบ จึงต้องใช้อำนาจตามกฎหมายทำให้ได้ข้อมูลชัดเจนที่สุด และเพื่อให้โปร่งใสว่า ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
       
       เมื่อถามถึงการทำหน้าที่ของ นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผอ.อภ.นั้น นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ต้องดูก่อนว่าเรื่องทั้งหมดเป็นอย่างไรแล้วใครต้องรับผิดชอบ ซึ่งขณะนี้ นพ.วิทิต ยังคงทำงานตามปกติ เพราะหลักฐานตอนนี้ไม่มีอะไรเกี่ยวข้อง แต่เมื่อเรื่องสอบสวนไปถึงขั้นตอนว่าใครบ้างที่เกี่ยวข้อง แน่นอนว่าผู้อำนวยการถือเป็นผู้บริหารสูงสุดในฝ่ายปฏิบัติการ คงต้องมาดูในสุดท้ายว่า ทราบหรือไม่ เรื่องเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีการแก้ปัญหาอย่างไร เพราะทุกอย่างต้องมาจบที่ผู้อำนวยการ จำเป็นต้องมีคำอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น หากดำเนินการแก้ไขปัญหามาโดยตลอดก็ต้องสามารถอธิบายได้ และถือว่าไม่มีปัญหาอะไร

ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 มีนาคม 2556

6791
วงถกค่าตอบแทนมีมติเปลี่ยนอัตราเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายระยะ 2 ให้เป็นตัวเลขลอย สามารถเปลี่ยนได้หลังพ้นระยะ 1 ที่เหลือเห็นชอบทั้งหมด! ด้าน “หมอประดิษฐ” ไม่แคร์! แพทย์ชนบทฟ้องศาลปกครองหากเดินหน้าจ่าย P4P บอกเป็นสิทธิ์ที่ทำได้ แต่ย้อนถามหากวิชาชีพอื่นฟ้องกลับจะว่าอย่างไร สพศท.ชี้ฟ้องจริงเตรียมถูกสอบวินัย

วันนี้ (28 มี.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการพิจารณาทบทวนค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข ว่า ที่ประชุมเห็นด้วยกับหลักการจ่ายค่าตอบแทนแบบผสมผสานคือ ยังคงมีทั้งเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายและตามภาระงาน (P4P : Pay for Performance) โดยพื้นที่เสี่ยงภัย ทุรกันดารยังคงมีเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายในอัตราเดิม ส่วนการจ่ายแบบ P4P จะมีการพิจารณาทั้งจากภาระงานและภารกิจ ไม่ใช่แค่การตรวจคนไข้อย่างเดียว แต่รวมงานส่งเสริมป้องกันโรคด้วย เป็นต้น ที่สำคัญยังพิจารณาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยกับการจัดแบ่งพื้นที่โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ใหม่ และตัวเลขอัตราเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ซึ่งแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกเริ่ม 1 เม.ย. 2556 และระยะ 2 เริ่ม 1 เม.ย. 2557 ซึ่งระยะที่ 2 สามารถดำเนินการปรับปรุงรายละเอียดได้ตามผลการประเมินของการใช้ในระยะที่ 1
       
       “กรณีเชิญกลุ่มแพทย์ชนบทประชุมแล้วแต่ไม่มา ทราบว่าจะไปชี้แจงกับคณะกรรมการกลั่นกรองเลย ก็เสียใจที่ว่าทำไมไม่มาหารือในรายละเอียดร่วมกันก่อน แล้วเข้าไปให้ข้อมูลกับคณะกรรมการกลั่นกรองเลยนั้นจะได้รายละเอียดไม่ครบ เพราะมีเวลาจำกัด ส่วนการจะฟ้องศาลปกครองหากรัฐบาลเดินหน้าปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนเพราะถือว่าทำให้เสียสิทธิ์นั้น สามารถทำได้ตามสิทธิ์ที่มี แต่ขอถามว่าถ้าวิชาชีพอื่นไปฟ้องศาลเช่นกันว่า การไม่ดำเนินการเรื่องนี้ทำให้เสียสิทธิ์บ้างจะเป็นอย่างไร” รมว.สาธารณสุข กล่าว
       
       นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดสธ. กล่าวว่า สธ.ได้ดำเนินการประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตามที่ ครม.มอบหมาย เมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม อาทิ ผู้แทนจากกรมต่างๆที่มีหน่วยบริการในสังกัด ชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เภสัชกร ทันตแพทย์ พยาบาลจาก รพศ./รพท.และโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) สภาการพยาบาล ทันตแพทยสภา ชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และสหวิชาชีพต่างๆ ส่วนแพทย์จาก รพช.ไม่เข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบ 3 เรื่องหลัก คือ 1.การแบ่ง รพช.ออกเป็น 4 พื้นที่คือ พื้นที่ชุมชนเมือง พื้นที่ปกติ พื้นทีเฉพาะระดับ 1 และพื้นที่เฉพาะระดับ 2 เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน โดยจะแจ้งให้พื้นที่ทราบและเปิดให้มีการเสนอความเห็นเพิ่มเติมสำหรับการทบทวนภายใน 19 เม.ย.นี้ 2.การกำหนดอัตราเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เห็นด้วยตามที่ สธ.กำหนด แต่เภสัชกรขอให้มีการพิจารณา เนื่องจากได้รับเพียง 3,000 บาท ส่วนในระยะที่ 2 มีการเสนอให้เป็นตัวเลขอ้างอิง สามารถปรับได้หลังประเมินผลการดำเนินการพ้นระยะที่ 1 และ 3.หลักการจ่ายแบบ P4P ซึ่งขณะนี้ทุกวิชาชีพพร้อมที่จะดำเนินการเก็บข้อมูล ส่วนพื้นที่ที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่ดี สธ.และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) จะเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือ
       
       “จากนี้ สธ.จะต้องไปพิจารณาในการออกระเบียบ 2 ฉบับ คือ ระเบียบเรื่องเงินบำรุงโรงพยาบาล ว่าด้วยอัตราค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ให้เป็นไปตามที่มีการกำหนดใหม่ที่จะใช้ในระยะที่ 1 และระเบียบเรื่องเงินบำรุงโรงพยาบาล ว่าด้วยการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างระเบียบทั้ง 2 ฉบับ” ปลัด สธ.กล่าว
       
       พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.) กล่าวว่า หากกลุ่มแพทย์ชนบทจะยื่นฟ้องศาลปกครองจริงก็ขอให้คิดทบทวนก่อน เนื่องจากหากยืนยันที่จะฟ้องก็จะต้องเตรียมถูกสอบวินัยจาก 2 สาเหตุ คือ 1.สร้างความแตกแยกให้กับ สธ.โดยการให้ข้อมูลเท็จและกล่าวหาผู้บังคับบัญชา และ 2.ไม่ให้ความร่วมมือกับ สธ.เพราะในการประชุมเรื่องค่าตอบแทนในวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา ทุกฝ่ายทุกกลุ่มวิชาชีพเข้าร่วมประชุมหมด ยกเว้นกลุ่มแพทย์ชนบทเท่านั้น ซึ่งในการประชุมทุกฝ่ายก็เห็นด้วยกับหลักการ และจะเริ่มดำเนินการไปก่อน 1 ปี หากมีปัญหาในเรื่องใดก็ค่อยปรับปรุงและแก้ไขต่อไป
       
       ล้อมกรอบ
       
       สำหรับ รพช.มีจำนวนทั้งสิ้น 738 แห่ง การจัดพื้นที่ใหม่ แบ่งเป็นพื้นที่ชุมชนเมือง 33 แห่ง ได้แก่ รพช.เขตเมือง 13 แห่ง รพ.บางกรวย รพ.บางบัวทอง รพ.บางใหญ่ รพ.ปากเกร็ด รพ.พนัสนิคม รพ.บ้านบึง รพ.อ่าวอุดม รพ.บางบ่อ รพ.บางจาก รพ.สามพราน รพ.ป่าตอง รพ.ถลาง และ รพ.หางดง
       
       ส่วน รพช.เตรียมยกเป็น รพท.20 แห่ง ได้แก่ รพ.บางละมุง รพ.กบินทร์บุรี รพ.บางพลี รพ.แกลง รพ.อรัญประเทศ รพ.มาบตาพุด รพ.ชุมแพ รพ.กุมภวาปี รพ.เดชอุดม รพ.50 พรรษาฯ รพ.วารินชำราบ รพ.ปากช่องนานา รพ.เทพรัตน์นครราชสีมา รพ.สว่างแดนดิน รพ.นางรอง รพ.ปราสาท รพ.ฝาง รพ.จอมทอง รพ.สิชล และ รพ.ทุ่งสง
       
       รพช.พื้นที่เฉพาะระดับ 1 จำนวน 66 แห่ง ประกอบด้วย รพ.เซกา รพ.ทองผาภูมิ รพ.ปาย รพ.แม่สะเรียง รพ.ลี้ รพ.เชียงของ รพ.ด่านซ้าย รพ.นครไทย รพ.กงหรา รพ.เกาะช้าง รพ.เกาะพะงัน รพ.คุระบุรีชัยพัฒน์ รพ.ชัยบุรี รพ.ชาติตระการ รพ.ชานุมาร รพ.เชียงม่วน รพ.ดงหลวง รพ.ดอยเต่า รพ.ตาพระยา รพ.ถ้ำพรรณรา
       
       รพ.ท่าคันโท รพ.ทุ่งช้าง รพ.ทุ่งหว้า รพ.ทุ่งหัวช้าง รพ.เทพา รพ.นาจะหลวย รพ.นาทม รพ.นาน้อย รพ.นายูง รพ.นาหมื่น รพ.น้ำเกลี้ยง รพ.น้ำยืน รพ.น้ำโสม รพ.น้ำหนาว รพ.นิคมน้ำอูน รพ.โนนคูณ รพ.บางขัน รพ.บ้านหลวง รพ.บึงโขงหลง รพ.บุ่งคล้า
       
       รพ.ปากชม รพ.ปางศิลาทอง รพ.พนมดงรักฯ รพ.พบพระ รพ.พะโต๊ะ รพ.ฟากท่า รพ.ภักดีชุมพล รพ.ภูสิงห์ รพ.ภูหลวง รพ.เมยวดี รพ.เมืองจันทร์ รพ.แม่แจ่ม รพ.แม่พริก รพ.แม่ระมาด รพ.แม่วงก์ รพ.แม่อาย รพ.ยางสีสุหราช รพ.ละอุ่น รพ.ศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์ รพ.พยาบาลสถานพระบารมี รพ.สมเด็นพระปิยฯ รพ.สองแคว รพ.สังคม รพ.สันติสุข รพ.สุขสำราญ และ รพ.จะนะ
       
       รพช.พื้นที่เฉพาะระดับ 2 จำนวน 48 แห่ง ได้แก่ รพ.โคกโพธิ์ รพ.ท่าสองยาง รพ.ระแงะ รพ.รามัน รพ.รือเสาะ รพ.อุ้มผาง รพ.ยะหา รพ.สายบุรี รพ.ยี่งอฯ รพ.กรงปีนัง รพ.กะพ้อ รพ.กาบัง รพ.เกาะกูด รพ.เกาะยาวชัยพัฒน์ รพ.เกาะลันตา
       
       รพ.ขุนยวม รพ.จะแนะ รพ.เจาะไอร้อง รพ.เฉลิมพระเกียรติ รพ.ตากใบ รพ.ทุ่งยางแดง รพ.ธารโต รพ.นาแห้ว รพ.บ่อเกลือ รพ.บันนังสตา รพ.บาเจาะ รพ.บ้านโคก รพ.ปะนาเระ รพ.ปางมะผ้า รพ.มายอ
       
       รพ.แม่ฟ้าหลวง ระ.แม่ลาน รพ.แม่ลาน้อย รพ.ไม้แก่น รพ.ยะรัง รพ.ยะหริ่ง รพ.เวียงแก่น รพ.เวียงแหง รพ.แว้ง รพ.ศรีสาคร รพ.สบเมย รพ.สะบ้าย้อย รพ.สังขละบุรี รพ.สุคิริน รพ.สุไหงปาดี รพ.หนองจิก รพ.อมก๋อย และรพ.วัดจันทร์ฯ นอกเหนือจากนี้จัดเป็น รพช.พื้นที่ปกติ จำนวน 591 แห่ง
       
       ส่วน รพท./รพศ.แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ พื้นที่ปกติ 87 แห่ง พื้นที่เฉพาะ กลุ่ม ก จำนวน 7 แห่ง คือ รพ.เกาะสมุย รพ.ตะกั่วป่า รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ รพ.ปัตตานี รพ.ยะลา รพ.บึงกาฬ และ รพ.สุไหงโก-ลก ส่วนพื้นที่เฉพาะ กลุ่ม ข จำนวน 2 แห่ง คือ รพ.เบตง จ.ยะลา และ รพ.ศรีสังวาล จ.แม่ฮ่องสอน

ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 มีนาคม 2556

6792
เมื่อวันที่ 27 มี.ค. ที่ห้องประชุมฝ่ายอำนวยการศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร  (บก 02)  พล.ต.ต.วรศักดิ์ นพสิทธิพร รอง ผบช.น. เป็นประธานการประชุมหารือการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุจราจร โดยในที่ประชุมมีการเสนอสถิติผลการจับกุมผู้ขับขี่ที่ดื่มสุรา ของกองบัญชาการตำรวจนครบาล  ปรากฏว่า 

เดือน  ม.ค.2556  เรียกตรวจวัด  1,756  ราย  พบแอลกอฮอล์เกินกว่ากฎหมาย 2,065 ราย
เดือน ก.พ. เรียกตรวจ 4,606  ราย  พบแอลกอฮอล์เกินกว่ากฎหมาย  828  ราย 

ขณะที่สถิติผลการตรวจจับผู้ขับขี่รถเร็วเกินกว่ากฎหมาย เดือน  ม.ค.2556  ตั้งจุดตรวจ  120  ครั้ง 
พบความเร็วเกิน  9,428  ราย 
เป็นรถยนต์  8,671  คัน  ความเร็วสูงสุดที่พบ  180  กม./ชม. 
เป็นรถบรรทุก  757  คัน ความเร็วสูงสุดที่พบ 121 กม.

เดือน ก.พ. ตั้งจุดตรวจ 85 ครั้ง
พบความเร็วเกิน 8,393 ราย เป็นรถยนต์  7,984  คัน  ความเร็วสูงสุดที่พบ 224 กม./ชม.
เป็นรถบรรทุก 409 คัน ความเร็วสูงสุดที่พบ 126 กม.

ด้านสถิติอุบัติเหตุจราจรทางบกในเขตกรุงเทพฯ
เดือน ม.ค.2556 รับแจ้ง 2,543 ครั้ง ตาย 31 ราย บาดเจ็บสาหัส 28 ราย บาดเจ็บเล็กน้อย 987 ราย มูลค่าทรัพย์สินเสียหาย 25.5 ล้านบาท
เดือน ก.พ.รับแจ้ง 2,264 ครั้ง ลดลง 279 ครั้ง ตาย 24 ราย ลดลง 7 ราย บาดเจ็บสาหัสเพิ่ม 3 ราย บาดเจ็บเล็กน้อยลดลง 47 ราย มูลค่าทรัพย์สินเสียหาย 30 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.4 ล้านบาท

แต่เมื่อเทียบกับสถิติของเดือน ม.ค.-ก.พ.2555 ที่มีการแจ้งเหตุ  5,248 ครั้ง ลดลง 441 ครั้ง ตาย 42 ราย ปีนี้เพิ่มขึ้นอีก 13 ราย บาดเจ็บสาหัส  81  ราย ลดลง 22 ราย บาดเจ็บเล็กน้อย 2,380 ราย ลดลง 453 ราย มูลค่าทรัพย์สินเสียหาย 48.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.2 ล้านบาท

พล.ต.ต.วรศักดิ์กล่าวว่า ได้ให้เจ้าหน้าที่ไปจัดเก็บข้อมูลประวัติผู้กระทำความผิดเรื่องเมาแล้วขับเข้าเป็นข้อมูลกลาง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ตรวจจับเมามีข้อมูลในการพิจารณาโทษ โดยสามารถเรียกดูข้อมูลประกอบการพิจารณาได้อย่างรวดเร็ว ว่าเคยทำผิดเมื่อใด มีโทษอย่างไร ให้ทันส่งฟ้องศาลในวันรุ่งขึ้น หากพบผู้ที่กระทำความผิดเป็นครั้งที่ 2 ให้มีบทลงโทษที่หนักขึ้น เพื่อให้เกิดความหลาบจำ.

ไทยรัฐออนไลน์ 29มีค2556

6793
ประเด็นที่ห้า พื้นที่พิเศษ
หลักเกณฑ์ที่อ้างว่าใช้แบ่งพื้นที่ดูมีหลักการหลากหลาย  อ้างว่าผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว มีการวิจัยสนับสนุน

การแบ่งพื้นที่ครั้งแรก เป็นดังนี้
รพท.พื้นที่ขาดแคลนบุคลากร
รพท.ระดับ ๒.๑-พื้นที่ขาดแคลนบุคลากร
๑.รพ.เกาะสมุย ๒.รพ.ตะกั่วป่า ๓.รพ.นราธิวาส ๔.รพ.ปัตตานี ๕.รพ.ยะลา ๖.รพ.บึงกาฬ ๗.รพ.กระทุ่มแบน

รพท.ระดับ ๒.๒-พื้นที่ขาดแคลนบุคลากรอย่างมาก
๑.รพ.สุไหงโก-ลก ๒.รพ.เบตง ๓.รพ.ศรีสังวาลย์

รพช.ในพื้นที่ชุมชนเมือง ๕๐ โรงพยาบาล

ต่อมามีการแก้ไข ดังนี้

๒.รพศ/รพท ยากลำบากในการบริหารบุคลากร
รพ.เกาะสมุย รพ.ตะกั่วป่า รพ.นราธิวาส รพ.ปัตตานี รพ.ยะลา รพ.บึงกาฬ รพ.สุไหงโก-ลก

๓.รพศ/รพท ยากลำบากในการบริหารบุคลากร มาก
รพ.เบตง รพ.ศรีสังวาลย์

รพช.พื้นที่ชุมชนเมือง  ๓๓ โรงพยาบาล (เขตเมือง ๑๓ แห่ง และรพช.ที่จะยกระดับเป็น รพท. ๒๐ แห่ง)

ประเด็นความไม่โปร่งใสเรื่องการจัดพื้นที่มีมานานแล้ว (ประกาศพื้นที่ทุรกันดาร ฉบับปัจจุบันที่ใช้อยู่) คำถามคือทำไมมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องพื้นที่ ทั้งๆที่ในที่ประชุมครั้งแรกก็มีการถามเรื่องความโปร่งใส แล้วคณะกรรมการก็ยืนยันว่าพิจารณาดีแล้ว
ทำไมรพท.เล็กๆบางแห่งที่อยู่ชายแดนไม่ถูกจัดเข้า ทำไมกระทุ่มแบน หายไป สุไหง-โกลกถูกเปลี่ยนพื้นที่(ไหนว่าพิจารณาถี่ถ้วนแล้วไง)
ทำไม รพช.พื้นที่ชุมชนเมือง ลดจาก ๕๐ เหลือ ๓๓ โรง (ไหนว่ามีการวิจัยรองรับ ถูกต้องแน่นอน)
บวกลบเลขผิด หรือพิมพ์ผิด หรือเป็นเพราะเหตุผลอื่น

ความเชื่อถือในความโปร่งใสของคณะกรรมการเป็นที่น่ากังขา ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าจะขอแก้ไขให้เหมาะสม แต่อยู่ที่ว่าต้องมีการเปิดเผยข้อมูลดิบในการให้คะแนน(ที่ใช้ในการตัดสินว่าโรงพยาบาลใดอยู่ในพื้นที่แบบไหน)
๑.คะแนนความยากลำบากในการเดินทาง
๒.คะแนน city-life effect
๓.คะแนนความเจริญของพื้นที่ 
ของแต่ละโรงพยาบาลว่าได้คะแนนแต่ละหมวด หมวดละเท่าไหร่ และรวมแล้วลำดับของโรงพยาบาลทั้งหมดเป็น ranking อย่างไร นี่คือ ความโปร่งใสที่แท้จริง ความโปร่งใสที่ผู้บริหารจะต้องแสดงให้เห็น

6794

ประเด็นที่หนึ่ง หลักการและวัตถุประสงค์
หลักการ p4p ที่ยอมรับได้ คือ
1. more work, more pay
2. hard work, more pay
3. equal work, equal pay
เห็นด้วยกับวัตถุประสงค์ของ p4p ที่จะสร้างแรงจูงใจ และเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
แต่หลักเกณฑ์ที่กระทรวงฯนำเสนอออกมาตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน ผิดกับหลักการ และจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์

ประเด็นที่สอง วงเงิน และสัดส่วน
การกำหนดกรอบวงเงินให้แต่ละโรงพยาบาลโดยพยายามอิงกับระเบียบฉบับเก่า(4-6-7)เป็นการง่ายที่จะบริหารแต่เป็นการสร้างปัญหาที่ยากที่จะคลี่คลาย และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หลักการและวัตถุประสงค์ของ p4p ผิดเป้าไป เป็นการติดกระดุมเม็ดแรกผิด
เมื่อมีกรอบวงเงิน ก็เลยต้องมีการแบ่งสัดส่วนระหว่างวิชาชีพ ซึ่งกลายเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องติดกระดุมเม็ดที่สอง(ผิดตามเม็ดแรกไป) เป็นการสร้างความขัดแย้งเป็นลูกโซ่ลงไปทุกวิชาชีพ จึงมีการต่อรองเพื่อให้เพิ่มสัดส่วนของวิชาชีพของตัวเอง แต่ละวิชาชีพมุ่งผลประโยชน์ของวิชาชีพของตัวเป็นหลัก

ประเด็นที่สาม ช่างตัดเสื้อ
การให้แต่ละโรงพยาบาลและแต่ละวิชาชีพไปกำหนด หรือปรับเปลี่ยนวิธีการคิดคำนวณเองแล้วแต่บริบทของตัวเอง(ให้ไปตัดเสื้อผ้าเอง) ฟังแล้วก็ดูดี แต่ยิ่งทำให้ความขัดแย้งลุกลามไปในทุกสาขาวิชาชีพ จะเกิดความไม่เป็นธรรมภายใน และระหว่างโรงพยาบาล วิชาชีพใดหรือแพทย์สาขาใดมีเสียงดัง หรือมีกำลังภายในมากกว่าก็ดึงผลประโยชน์เข้าหาตัว มือใครยาวก็สาวเอาไป

ประเด็นที่สี่  ทำไปก่อน แล้วค่อยแก้
การปรับเปลี่ยนเรื่องใดๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของหลายๆฝ่ายที่ยังมีความเห็นต่าง ไม่ใช่เรื่องง่าย ระเบียบที่ประกาศใช้ไปแล้ว จะแก้ไข เชื่อเถอะยากเย็นจริงๆ ดูการจะเปลี่ยนระเบียบในตอนนี้ดูซิ เจออะไรกันบ้าง

ข้อเสนอแนะ

1.กระทรวงฯ มีโรงพยาบาลในสังกัดโรงพยาบาลเดียว
2.กระทรวงฯเป็นผู้ตัดเสื้อ(ไม่มีกระดุม)เอง
3.เอาระเบียบ p4p ฉบับแรกของกระทรวงฯ(ฉบับ5)เป็นแบบอย่าง

6795
ชื่นชมนักศึกษาแพทย์ มช. ช่วยหญิงท้อง 5 เดือน ประสบอุบัติเหตุรถ จยย. เสียหลักชนเสาหลักข้างทางพร้อมสามี ท้องได้รับการกระทบกระเทือน เลือดไหลทางช่องคลอด จนปลอดภัยทั้งแม่ทั้งลูก...

เมื่อเวลา 12.10 น. วันที่ 24 มี.ค. ร.ต.ท.สุรศักดิ์ สุวรรณศักด์ พนักงานสอบสวน สภ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ได้รับแจ้งมีอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์แฉลบล้มข้างทาง มีหญิงท้องได้รับบาดเจ็บ บริเวณถนนสายเชียงใหม่-ฝาง ช่วงผ่านหมู่บ้านห้วยลึก ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จึงได้ประสานไปยังรถกู้ภัยเอื้ออาทร อปพร.เชียงดาว ไปที่เกิดเหตุ เมื่อทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและกู้ภัยไปถึง พบว่าในที่เกิดเหตุมีรถจักรยานยนต์ฮอนด้าสีฟ้า ชนกับหลักข้างถนน มีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นชายและหญิงสาวท้อง 5 เดือน สภาพขาข้างซ้ายหัก ท้องกระทบกระเทือนจนมีเลือดไหลออกทางช่องคลอด ร้องครวญครางอย่างทรมาน ซึ่งในเวลานั้นเองได้มีรถของอาจารย์แพทย์และนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผ่านมาถึงที่ประสบเหตุ ทางนักศึกษาแพทย์ได้ลงมาช่วยเหลือรักษาเบื้องต้น และเคลื่อนย้ายคนเจ็บอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะหญิงสาวท้อง 5 เดือน จนสามารถเคลื่อนย้ายขึ้นรถกู้ภัย นำส่งโรงพยาบาลเชียงดาว จนอาการปลอดภัยทั้งแม่ทั้งลูก

จากการตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ทราบชื่อผู้บาดเจ็บคือ นายอุดม จะสี อายุ 23 ปี บ้านเลขที่ 189 หมู่ 8 ต.เวียง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย และภรรยา ซึ่งตั้งท้อง 5 เดือน ชื่อนางนาหา จะสี อายุ 27 ปี บ้านเลขที่ 27 หมู่ 9 ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว ทั้งคู่ได้ขี่รถซ้อนท้ายกันเข้ามาทำธุระที่ตัวอำเภอเชียงดาว แต่เมื่อมาถึงเป็นทางโค้ง รถจักรยานยนต์เสียหลักชนเข้ากับเสาซีเมนต์ข้างทาง ล้มคว่ำลง ทั้งคู่ได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะนางนาหา ท้องได้รับการกระทบกระเทือนจนเลือดไหลออกมา ถือว่าเป็นโชคดีอย่างมากที่รถของนักศึกษาแพทย์ มช. มาพบ จึงช่วยเหลือไว้ได้จนปลอดภัยทั้งแม่ทั้งลูก.

ไทยรัฐออนไลน์ 25 มี 2556

หน้า: 1 ... 451 452 [453] 454 455 ... 651