ผู้เขียน หัวข้อ: ครม.รับหลักการปรับระเบียบจ่ายค่าตอบแทนหมอ-พยาบาล ลดปมเหลื่อมล้ำ  (อ่าน 1058 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   26 มีนาคม 2556 14:17 น.   

   


       
ครม.รับหลักการปรับปรุงระเบียบจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์เป็นแบบผสมผสาน ยันมีทั้งเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายและ P4P ชี้แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างวิชาชีพและในวิชาชีพ ระหว่างเมืองหลวงและชนบท ไม่ได้ยกเลิกตามที่แพทย์ชนบทอ้าง

       
       

       
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการการปรับปรุงวิธีการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์แนวทางใหม่เป็นแบบผสมผสานคือ ยังคงมีการจ่ายแบบเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามเดิมและเพิ่มการจ่ายตามภาระงาน (P4P : Pay foe Performance) โดยเฉพาะพื้นที่เฉพาะระดับ 1 (โรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ห่างไกล พื้นที่ทุรกันดาร หรือตามหมู่เกาะต่างๆ) และพื้นที่เฉพาะระดับ 2 (โรงพยาบาลอำเภอทุกแห่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) ยังคงได้เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเช่นเดิม และจ่ายเพิ่มแบบ P4P ด้วย ซึ่งการปรับปรุงระเบียบก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดความเหลื่อมล่ำระหว่างวิชาชีพและในวิชาชีพ รวมไปถึงช่วยให้ระบบเกิดความยั่งยืน


   

       
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สธ.จะหารือกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมไปถึงกลุ่มแพทย์ชนบทที่คัดค้านในเรื่องดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันว่า รัฐบาลไม่ได้ยกเลิกเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแต่อย่างใด จนกระทบค่าตอบแทน แต่เป็นการปรับให้สอดคล้องกับภาระงาน จากนั้นจะเสนอต่อคณะกรรมการการกลั่นกรองวาระ ครม.ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 29 มี.ค.นี้ และเสนอต่อที่ประชุม ครม.สัญจร ในวันที่ 31 มี.ค. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย. 2556 ต่อไป

       
 

       
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า สำหรับการปรับพื้นที่ รพช.ออกเป็น 4 กลุ่มนั้น เพราะเห็นว่าบางพื้นที่ เช่น  อ.บางใหญ่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี มิได้เป็นพื้นที่ถิ่นทุรกันดารแล้ว จึงควรมีการปรับปรุงระเบียบค่าตอบแทน ซึ่งงบประมาณที่จัดสรรให้โรงพยาบาลแต่ละแห่งไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด ยังคงได้เท่าเดิม แต่เปลี่ยวิธีการจ่ายมาเป็นแบบ P4P เท่านั้น ไม่ใช่ยกเลิกหรือตัดงบทิ้งไปตามที่กลุ่มแพทย์ชนบทกล่าวอ้างมาเป็นเงื่อนไขในการชุมนุมขับไล่ตนออกจากตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข รวมไปถึงอ้างว่าตนเดินหน้านโยบายเมดิคัล ฮับ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล แล้วเป็นการสนับสนุนโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งตนไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวดังกล่าว เพราะไม่มีเหตุผล เนื่องจากตนในฐานะรัฐมนตรี ได้ทำตามนโยบายของรัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีสั่งการ