ผู้เขียน หัวข้อ: ขรก.ผ่าตัด32รพ.เอกชนเบิกจ่ายตรงได้แล้ว  (อ่าน 2305 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9760
    • ดูรายละเอียด
คลังจับมือ 32 โรงพยาบาลเอกชน รักษาข้าราชการที่ป่วยต้องผ่าตัด 77 โรค เบิกจ่ายได้ตรง เริ่มรักษาได้เดือนหน้า

วันนี้ (29เม.ย.) นายมั่น พัธโนทัย รมช.คลัง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ลงนามกับโรงพยาบาลเอกชน 32 แห่งในโครงการเบิกจ่ายตรงประเภทผู้ป่วยในตามเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม แก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญและบุคคลในครอบครัว ให้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนและเบิกจ่ายตรงกับกรมบัญชีกลางได้ โดยโรคที่เข้าการรักษาต้องเป็นการผ่าตัด 77 โรค เช่น การผ่าตัดกระดูก การผ่าตัดเส้นเลือดหรือลิ้นหัวใจ การผ่าตัดเส้นเลือดในสอง ผ่าคลอด โดยข้าราชกาเริ่มรักษากับโรงพยาบาลเอกชนได้แต่วันที่ 1 พ.ค. นี้เป็นต้นไป

“สำหรับค่ารักษาจะเป็นการจ่ายแบบเหมาโรค ซึ่งตอนที่ข้าราชการนัดหมายเข้ารักษานั้น โรงพยาบาลจะแจ้งให้ทราบ และแจ้งส่วนต่าง ๆ ที่ข้าราชการต้องจ่ายเพิ่ม รวมทั้งต้องเซ็นยินยอมจ่ายค่ารักษาส่วนเกิน โดยที่ไม่สามารถมาเบิกจ่ายกับกรมบัญชีกลางได้อีก ทั้งนี้ การให้ข้าราชการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน จะทำให้การได้รับบริการที่ดีขึ้น ไม่ต้องรอการรักษาเป็นเวลานาน และลดความหนาแน่นของการรักษาในโรงพยาบาลรัฐให้น้อยลง”

สถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการจะเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน กับกรมบัญชีกลาง ตามสิทธิของผู้ป่วยที่จะได้รับตาม พ.ร.ก. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 และส่งข้อมูลการรักษาพยาบาลของผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน เพื่อเป็นฐานข้อมูลตามกลุ่มโรค ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ ใช้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบการจัดสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลของรัฐ และสอดคล้องกับภารกิจของกระทรวงการคลังในการกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินงบ ประมาณของประเทศ และเป็นประโยชน์โดยตรงต่อประชาชน ที่จะมีทางเลือกในการเข้ารับบริการด้านสุขภาพ รวมทั้งมีความสะดวกคล่องตัวมากขึ้น

นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า โครงการนี้ ให้ทั้ง ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และบุคคลในครอบครัว เข้ารักษาในโรงพยาลเอกชนได้ โดยโรคที่จะเบิกจ่ายได้ต้องเป็น โรคที่ต้องนัดผ่าตัดล่วงหน้า สำหรับค่าใช้จ่ายบางส่วนที่ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบจ่ายเอง ประกอบด้วย ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ ส่วนเกินอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนด ค่าธรรมเนียมแพทย์พิเศษ และค่าธรรมเนียมพิเศษ

“กรมฯมีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการเป็น 50-70 แห่งภายในสิ้นปี 54 นี้ และอยากจะขยายไปในพื้นที่ต่างจังหวัดให้มากขึ้น ส่วนงบประมาณในการรักษานั้น เชื่อว่าจะไม่บานปลายมากขึ้น เพราะจำกัดเพดานไว้ที่ 30,000 บาทอยู่แล้วแต่โรค จากทั้งปี 54 มีงบประมาณด้านการรักษาพยาบาลที่ 62,000 ล้านบาท และคาดว่าในปีงบประมาณ 54 จะเพิ่มขึ้นอีก 10%”

เดลินิวส์
29 เมษายน 2554