ผู้เขียน หัวข้อ: ปุจฉาวิสัชนา ของพ.ร.บ.คุ้มครองฯ-บทความที่ไม่อ่านไม่ได้  (อ่าน 4936 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด

ปุจฉา วิสัชนา ของพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข
นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ (พบ., ประสาทศัลยศาสตร์, นิติศาสตร์บัณฑิต)
๑ สิงหาคม ๒๕๕๓

๑) ชื่อกฎหมาย
ใช้คำว่าผู้เสียหาย แสดงว่าต้องมีผู้ทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งในภาษากฎหมายก็คือผู้กระทำละเมิด (tort) ซึ่ง เป็นใครไปไม่ได้นอกจาก การกล่าวหาว่า ผู้ให้การรักษาพยาบาล (Care provider) เป็นผู้กระทำให้เกิดความ เสียหาย ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง ผู้ให้การรักษามิได้ต้องการกระทำให้เกิดความเสียหาย และ มิได้เป็นฝ่ายบุกรุก หรือ ตั้งใจไปกระทำละเมิด (มิได้เมาสุราแล้วไปขับรถชนคน มิได้มีเงินมากมายไปบรรเทาเยียวยา เพื่อให้ศาลลดโทษ) แต่เป็น ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยเข้ามาขอร้องให้ทำการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย และก็ให้การรักษาไปทั้งตามหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ และ นอกเหนือหน้าที่ตามจรรยาบรรณ ในทางปฏิบัติ หลายกรณี ผู้ให้การรักษา เองก็เป็นฝ่ายได้รับความเสียหาย จากการต้อง
เข้าไปรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงติดตัวมาด้วย เช่น โรคติดต่อ พฤติกรรมอารมณ์ก้าวร้าวของผู้ป่วย การติดเชื้อ การบาดเจ็บเช่นมีดบาด เข็มตำ หรือ การถูผู้ป่วยทำร้าย การถูกหมิ่นประมาท ซึ่งแทบจะไม่เป็นข่าว

ชื่อนี้เป็นคำที่บ่งบอกถึง อคติ ของผู้จงใจให้มีกฎหมายนี้ ทั้ง ๆ ที่หากต้องการดูแลเยียวยาโดยไม่พิสูจน์ผิดถูก ก็ ต้องใช้คำที่เป็นกลาง เพราะกรณีเกือบทั้งหมดเป็นกรณีที่ไม่ได้เจตนา แต่เป็นเหตุสุดวิสัยทางการแพทย์ มีข้อจำกัดในการ ปฏิบัติงาน (กรณีคิดว่าเจตนา ก็ไม่สมควรตรากฎหมายใหม่ แต่ให้ไปฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง ได้ ทันที ไม่ต้องตรากฎหมายมากมาย) ดังนั้นชื่อกฎหมายควรsoftกว่านี้เพื่อมิให้ผู้ให้การรักษาพยาบาลมีความรู้สึกเป็น ผู้ถูกกระทำและถูกกล่าวหาเหมือนเป็นโจรผู้ร้าย คำที่ดูน่าจะsoftกว่าคือ “ผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการ สาธารณสุข” หรือชื่อที่ถูกเสนอโดยคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีอดีตประธานศาลฎีกา อดีตอัยการสูงสุด ผู้พิพากษา อาวุโสศาลสูง อยู่ร่วมเป็นองค์คณะ ว่า “พรบ.สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข” ซึ่งเป็นชื่อที่มิได้ กล่าวถึงการกระทำความเสียหายและเน้นให้มีการปรองดอง โดยกระบวนการไกล่เกลี่ย เมื่อรับเงินเยียวยาแล้วควรจะจบ โดยเหตุผลที่คณะกรรมการเสนอให้ใช้ชื่อนี้ก็เพราะต้องการให้มี “กระบวนการไกล่เกลี่ย” ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรเอกชนค้าน อย่างรุนแรงว่าไม่จำต้องมีในชั้นกฤษฎีกา ถึงขนาดประธานองค์คณะต้องพูดจากหนักแน่น ว่าไม่ได้บังคบัให้ไกล่เกลี่ย หากไม่ถูกใจก็ไม่จำต้องไกล่เกลี่ย แต่ต้องมีในกฎหมาย เพื่อให้ยุติการฟ้องร้องได้จริง และ ให้ทั้งสองฝ่ายได้ปรับความ เข้าใจ ทำความเข้าใจปัญหาในการรักษาพยาบาล และ ผลที่เกิดขึ้น โดยเหตุผลขององค์กรเอกชนคือ ตั้งพระราชบัญญัตินี้ มาเพื่อให้มีการจ่ายเงินง่าย ๆ รวดเร็ว และมากๆ แต่เหตุผลของคณะกรรมการกฤษฎีกาคือ การจ่ายเงินง่าย ๆ จะทำให้เรื่อง ไม่จบจริง ก่อนรับเงินต้องมีกระบวนการพูดคุย ไกล่เกลี่ย ชี้แจงทำความเข้าใจถึงเหตุผล เหตุการณ์ที่เกิดปัญหาขึ้นเป็น กรณี ๆ ไป เพื่อทำให้ทั้งสองฝ่ายมีการประนีประนอมและยอมรับข้อจำกัดที่เกิดขึ้น ซึ่งที่สุดแล้วคณะกรรมการกฤษฎีกามี มติให้เปลี่ยนชื่อเป็น “พรบ.สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข” แต่ในที่สุดแล้วองค์กรเอกชนกลับ เป็นฝ่ายออกมากดดันให้เปลี่ยนเป็นชื่อ “พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข” ซึ่งชื่อนี้ทำเป็นเกิดปัญหาโต้แย้งจนทุกวันนี้ หากยังไม่แก้ไขชื่อให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกากำหนด ปัญหานี้คงจบยาก เพราะ ผู้ให้การรักษามี Negative attitudeกับชื่อนี้ เช่นเดียวกับที่คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็น

๒) หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผลของกฎหมายนี้ดีมาก มากที่สุด เรียกได้ว่าใครก็ตามที่อ่าน เฉพาะ หลักการและเหตุผลแล้ว พูดว่าไม่ดี คนนั้นคงมีปัญหาในระดับสามัญสำนึก หรือจริยธรรม อย่างมาก อาจเรียกว่า เสียสติ ก็ว่าได้ สรุปหลักการและ เหตุผลคือ

๒.๑.ปุจฉา) “ผู้เสียหาย”ตามคำเรียกขานที่องค์กรเอกชนต้องการให้เรียก ได้รับเงิน เยียวยา ไม่จำต้องไป พิสูจน์ผิดถูกบนศาลกับบุคลากรทางการแพทย์ (ไม่ต้องฟ้อง)

๒.๒.ปุจฉา) แก้ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียกตนว่า “ผู้เสียหาย” กับ “ผู้ ให้บริการ” ซึ่งก็คือ ผู้ให้ การรักษา

๒.๓.ปุจฉา) เยียวยาความเสียหายอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม แบบ One stop และ แบบ Quick cash

๒.๔.ปุจฉา) ส่งเสริมให้มีการไกล่เกลี่ย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

๒.๕.ปุจฉา) พัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย

๒.๖.ปุจฉา) ศาลอาจไม่ลงโทษในคดีอาญากับบุคลากรที่ถูกฟ้อง ปัญหาคือทำไมบุคลากรส่วนใหญ่ (แต่องค์กรเอกชนหรือแพทย์ระดับบริหารที่ไม่ได้มีส่วนลงมาให้การรักษา สภาพการณ์ปัจจุบัน บอกว่า ส่วนน้อย) ถึงบอกว่าเป็นเรื่องไม่จริงเมื่ออ่านในสาระทุกมาตราของกฎหมายทั้งหมด สภาพ ปัจจุบันนี้คือต่างคนต่างพูด แต่ไม่ได้ลงลึกในประเด็นทั้งหกข้อว่าทำไมบุคลการจึงเห็นต่าง ขอสรุปคร่าว ๆ ถึงปัญหาดังนี้

๒.๑.วิสัชนา) ผู้ให้การรักษารับไม่ได้กับคำพูดทางอ้อมว่าตนเป็น “ผู้กระทำให้เกิดความเสียหาย” เพราะมองว่า สิ่งที่องค์กรเอกชนพยายามสื่อออกไปในสาธารณะนั้น มีเจตนาทำให้เกิดความรุนแรงและเผชิญหน้าด้วยการใช้คำว่า “ผู้ได้รับ ความเสียหาย” ในขณะที่บุคลากรมองว่า บางกรณีเท่านั้นที่เป็นเช่นนั้น เป็นต้นว่าแพทย์กระทำทุรเวชปฏิบัติโดยเจตนา เช่น

การดูดไขมันผู้เยาว์โดยปราศจากความยินยอมของผู้ปกครองแล้วถึงแก่ความตาย กรณีทำแท้งเถื่อน ซึ่งกรณีแบบนี้ไม่เคยได้ ยินแพทย์ท่านไหนออกมากล่าวเห็นใจหรือเห็นด้วยกับแพทย์ท่านนั้นเพราะมองว่าผิดจริง ๆ กรณีแบบนี้ควรให้การเยียวยา โดยเร็ว แต่สิ่งที่องค์กรเอกชนต้องการให้เหมารวมว่าเป็นผู้เสียหายด้วย คือ เหตุสุดวิสัยทางการแพทย์ เช่น แพ้ยาโดยที่ผู้ป่วย ไม่เคยมีประวัติ คลอดลูกแล้วน้ำคร่ำหลุดเข้ากระแสเลือดพิสูจน์ไม่ได้เกิดขึ้นขั้นตอนไหนจากใคร เกิดจากกรรมบันดาล หรือไม่ โรงพยาบาลไม่มีความพร้อม(ขาดผู้เชี่ยวชาญ ไม่มีแพทย์ดมยา ขาดเครื่องมือ อยู่เวรมากเกินไป)ทำให้ผู้ป่วยได้รับการ รักษาช้า แพทย์มองว่าเหล่านี้เป็นข้อจำกัดที่มิได้เกิดจากตัวแพทย์หรือบุคลากรเอง แต่เป็นปัญหาระดับนโยบายที่ยังไม่ได้รับ การแก้ไขให้เรียบร้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องแก้ไข มิใช่มาลงผิดที่ผู้ปฏิบัติงาน (คล้ายกรณีตำรวจในสถานการณ์ม็อบ) กรณีปัญหาเช่นนี้ต้องแก้ที่คำเรียกขาน “ผู้เสียหาย” และให้คำนิยามของคำนี้ให้ถูกต้องก่อน

ปัญหาต่อมาคือซึ่งเป็นสิ่งที่เกือบร้อยละร้อย หลงประเด็นไปตามคำพูดที่พยายามโน้มน้าวผ่านสื่อมวลชนคือ “การไม่พิสูจน์ผิดถูก” หรือ “No fault” คำว่าไม่พิสูจน์ผิดถูกนั้น ไม่ได้หมายความว่าไม่ สนใจผิดถูกใด ๆ เลย ขอเพียงแค่เกิดเหตุการณ์ไม่ชอบใจเมื่อเข้ารับการรักษาก็มาเรียกร้องเงินได้ หากเป็นเช่นนี้ กฎหมายนี้ สมควรเรียก “กฎหมายซานตาครอส” เพราะเป็นการแจกเงินโดยไร้หลักเกณฑ์ ในความเป็นจริงประเทศในโลกที่ใช้หลักนี้มี เพียง สองกลุ่มใหญ่เท่านั้นคือ “นิวซีแลนด์” และ “กลุ่มสแกนดีเนเวียสองสามประเทศ” และทั้งสองกลุ่มนี้เป็น “ประเทศที่ พัฒนาแล้ว...ผู้คนได้รับการศึกษาดีมาก ถึงมากที่สุด รู้สิทธิและหน้าที่ของตนดี ระบบบริการสาธารณสุขดีมากและมากกว่า ร้อยละเก้าสิบเป็นของรัฐ เพราะรัฐสร้างระบบไว้ดีจนไม่จำต้องมีคลินิก หรือ รพ.เอกชนมาช่วยรองรับ” และทั้งสองกลุ่มนี้ก็ ยังต้องมีการพิสูจน์ผิดถูกอยู่ คือพิสูจน์ว่า “อย่างไรจึงจะให้การเยียวยา” ซึ่งทำโดยการสร้างกลไกการพิสูจน์ว่าการรักษาที่ ให้ไปนั้นถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ พูดง่าย ๆ คือ “พิสูจน์ว่าการรักษานั้นเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานการแพทย์ของประเทศ หรือไม่” แต่ไม่ไปมองหาว่า “ใครเป็นผู้กระทำผิดถูก” ดังนั้นการกล่าวว่าไม่พิสูจน์ผิดถูก ที่ถูกต้องต้องกล่าวว่า “ไม่สนใจว่า ใครทำผิดถูก แต่ต้องสนใจว่าการรักษาถูกต้องเหมาะสมหรือไม่” (มาตรา ๕ และ ๖ ไม่จำต้องมี หากยืนยันว่าไม่ต้องพิสูจน์ผิด ถูก แต่ในร่างยังมีมาตรานี้อยู่เพราะต้องพิสูจน์ผิดถูก อยู่ด)ี หากถูกต้องเหมาะสมจะไม่เยียวยาโดยเด็ดขาด หากไม่ถูกต้อง เหมาะสมต้องรีบเยียวยา ดังนั้นใครก็ตามที่ยังพูดว่าไม่ต้องพิสูจน์ผิดถูก ต้องระวังจะหลงประเด็นไปตามที่มีบุคคลพยายามใช้ คำพูดนี้บ่อย ๆ จนเกิดความสับสน

ข้อน่าสังเกตคือ ทำไมอีกหลายประเทศที่มีความพร้อมด้านการเงิน การคลัง การจัดเก็บภาษีในอัตราสูง ระบบการศึกษา ความรู้ของประชากรดีกว่าประเทศไทย น่าจะเกิด ๙๐% ของโลกใบนี้ยังไม่ยอมใช้กฎหมายนี้เช่นเดียวกับประเทศสองกลุ่ม ข้างต้น เมื่อปลายปีที่แล้ว โอบามา ได้ใช้นโยบายหาเสียงที่สำคัญอันหนึ่งคือ การออกกฎหมายพัฒนาระบบประกันสุขภาพ แห่งชาติ ทำให้ได้รับคะแนนเสียงถล่มถลาย และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก็ออกเป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้ว โดยกฎหมายนี้ ประธานธิบดี ต้องล็อบบี้อย่างหนักเพื่อให้ผ่านสภาเพราะมีแรงต้านมาก โดยหลักการของกฎหมายไปแก้ที่เหตุแห่งปัญหา ทั้ง เรื่องของส่งเสริมแกมบังคับให้มีการทำประกันสุขภาพแบบร่วมจ่าย (Copayment) การบังคับบริษัทประกันเอกชนให้ รับผิดชอบกับเงินเบี้ยประกันที่ได้ไป ขยายความครอบคลุมการรักษา ห้ามปฏิเสธการรับทำประกันและจ่ายเงินในหลายกรณี (เช่น โรคเรื้อรัง ) ขยายสิทธิให้บุคคลในครอบครัวได้รักษาในกรณีหัวหน้าครอบครัวส่งเบี้ยประกัน การบังคับให้เปิดเผย ข้อมูลโภชนาการ อาหาร ที่มีส่วนทำให้สุขภาพแย่ลง การให้บริษัทเหล่านี้ร่วมรับผิดชอบ เป็นต้น ซึ่งได้รับการสรรเสริญ อย่างมากมายจากหลายประเทศ และมีแนวโน้มนำไปใช้เป็นแบบอย่างในอีกหลายประเทศ

๒.๒.วิสัชนา) การแก้ไขความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่าย ในปัจจุบันคงเห็นชัดแล้วว่าความสัมพันธ์เมื่อทราบว่าจะออก กฎหมายในลักษณะนี้แบบที่องค์กรเอกชนต้องการ ทำให้ความสัมพันธ์เลวร้ายลงอย่างมาก รุนแรงและทันที เกิดการประท้วง (ปกติการรวมตัวกันของบุคลากรสาธารณสุขไทยเป็นเรื่องยากเพราะ อีโก้ สูง งานยุ่ง ทิ้งงานไม่ได้เพราะหมายถึงความเป็น ความตาย ซึ่งองค์กรเอกชนทราบจุดอ่อนนี้ดี ถึงได้ออกมากล่าวว่าเป็น เพียงส่วนน้อยที่ไม่เห็นด้วย โดยอ้างจำนวนคนที่ ออกมา) ซึ่งเคยกล่าวไว้แล้วตั้งแต่การประชุมร่วมกันในระยะแรก ๆ เมื่อสามสี่ปีที่ผ่านมา ใครก็ตามที่มีสามัญสำนึกในระดับ ปกติชน คงไม่จำต้องบอกให้รู้ว่า จุดประสงค์ของกฎหมายในประเด็นนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงตั้งแต่ระยะตั้งไข่ หากยังคงยืน
กรานเหมือนเดิม คงเลวร้ายกว่านี้มาก ประเด็นคือ ผู้พิจารณากฎหมายจะเลือกใครระหว่าง บุคลากรผู้ทนลำบากทำงานจริง ๆ ในโรงพยาบาล กับคนที่มิได้ให้การรักษาพยาบาล หากคิดว่าจะเลือกบนพื้นฐานว่าใครสามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ได้ มากกว่าก็เลือกกลุ่มนั้น เห็นทีบุคลากรต้องทำใจ

๒.๓.วิสัชนา) การเยียวยาโดยการให้เงินแบบรวดเร็ว One stop ที่กองทุนนี้ และแบบ Quick cash คือ เงินด่วน (เยียวยาเบื้องต้น และ เยียวยารอบสอง รายละเอียดตามหมวด ๔ มาตรา ๒๕ - ๓๗) ฟังดูดี หากเราเป็นผู้ได้รับ ผลกระทบอันไม่ควรเกิดจริง แต่ปัญหาที่เี้กิดต่อเนื่องมาตั้งแต่การตั้งชื่อว่า “ผู้เสียหาย” และ “นิยามของคำว่า ผู้เสียหาย”

หากปล่อยให้คนที่ไม่สมควรเป็นผู้เสียหายมารับเงิน เช่น กรณีรู้ทั้งรู้ว่าการรักษามีความเสี่ยง แพทย์ก็อธิบายแล้ว แต่ทำได้ เต็มที่แค่นี้ รักษาไปก็ยังคงเกิดผลเช่นนี้ แต่ผู้ป่วยกลับมาเข้าคิวขอรับเงิน จะให้คนรักษาทำใจได้อย่างไร เปรียบง่าย ๆ ว่า

.....หากศาลชั้นต้นตัดสินคดีแล้วศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง จำเลยที่ถูกตัดสินให้แพ้คดีในศาลชั้นต้น ย่อมเป็นผู้เสียหายโดยนัยยะเช่นเดียวกับกฎหมายนี้ ดังนั้นจึงมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาสองก้อนทันที ไม่ทราบว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้นจะรู้สึกเช่นไรหาก มีกฎหมายนี้ออกมา หรือ

.....ครูสอนนักเรียนแล้วเอนทรานซ์ไม่ติด จึงออกกฎหมายให้เงินเยียวยานักเรียนว่าเป็นผู้เสียหายจากการรับบริการ การศึกษาโดยกระทรวงศึกษาธิการ โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าครูสอนดีหรือไม่ดี ระบบดีหรือไม่ดีโรงเรยีนมีอุปกรณ์การสอนพอ หรือไม่พอ ไม่ทราบว่า ครูและผู้บริหารกระทรวงจะว่าเช่นไร

....กรณีนักข่าวอ่านข่าวหรือลงข่าวไปแล้วพบว่าข่าวนั้นไม่เป็นความจริง ทำให้มีผู้เสียหาย จึงตั้งกองทุนคุ้มครองผู้เสียหาย จากสื่อสารมวลชน โดยให้เงินในลักษณะQuick cash โดยใช้คำพูดดูดีวา่ ไม่ต้องพิสูจน์ผิดถูก โดยเรี่ยไรมาจากผู้ ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน นักข่าว หรือ ผู้เขียนข่าวจะรู้สึกเช่นไร
การออกมาต่อต้านของนักข่าว ครู ผู้พิพากษา (หากมี และน่าจะต้องมี) ในกรณีเช่นนี้ จะเรียกว่า “ใจดำ” หรือ “แล้ง น้ำใจ” หรือไม่

ประเด็นถัดมาในกรณีนี้คือ One stop นั้น ก็ไม่เป็นจริง เพราะเมื่อรับเงินแล้วยังคงสิทธิในการฟ้องร้องทั้ง “อาญา” และ “แพ่ง” แล้วจะเรียกว่าสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีได้อย่างไร จะจบที่กองทุนนี้ได้อย่างไร (นี่เป็นเหตุที่ องค์กรเอกชนต่อต้านกระบวนการประนีประนอม การไกล่เกลี่ย และการเปลยี่ นชื่อตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาลง ความเห็น) ซึ่งทางองค์กรเอกชนก็ออกมายอมรับ (เคยไม่ยอมรับ)แล้วว่าจริง ที่มีการใช้การฟ้องร้องอาญาว่าจะเอาแพทย์เข้า คุก หากไม่รีบนำเงินมาจ่าย เพราะอายุความทางแพ่งสั้นกว่าอาญา (ฟ้องอาญาเพื่อบีบแพ่ง เพื่อให้เป็น “คดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง คดีอาญา”) แน่นอนว่าสิทธิ์การฟ้องเป็นสิทธิพื้นฐานที่ทุกคนมีห้ามไปตัดสิทธิ์ แต่เวลาแพทย์ฟ้องกลับเมื่อชนะคดี กลับถูก ตำหนิว่า “ใจดำ” ไม่เห็นใจผู้ป่วย ซึ่งสิทธิ์การฟ้องก็เป็นสิทธิของแพทย์เช่นกันมิใช่หรือ ทำไมจึงออกมาตำหนิเชิงห้ามปราม ประเด็นการฟ้องทางแพ่งก็ไม่จบเมื่อรับเงิน ทั้ง ๆ ที่บนโต๊ะเจรจาก่อนเสนอกฎหมาย หนึ่งในตัวแทนองค์กรเอกชนก็ยอมรับ ว่าควรจะจบลงเมื่อรับเงิน โดยใช้หลักการเดียวกับ “การประนีประนอมยอมความในศาล” ที่เมื่อรับเงินแล้วต้องยุติสิทธิ ฟ้องร้องทั้งหมดโดยการทำสัญญาทันที แต่ในที่สุดกลับเปลี่ยนใจอ้างว่าคนส่วนใหญ่ในองค์กรไม่เห็นด้วย กลับทั้ง ยังออก มาตรามาขยายอายุความทางอ้อม คือ มาตรา ๒๗ ที่ให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ และมาตรา ๓๗ ที่กล่าวว่าหากพบความเสียหาย
ให้หลังไปแล้วสิบปี ก็ยังมาขอรับเงิน quick cash นี้ได้อีก ซึ่งน่าจะเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าพิสูจน์ไม่ได้เมื่อผ่านไปนานเป็นสิบปี ดังนั้นจะจ่ายเงินหรือไม(่ไม่มีบัญญัติกรณีพิสูจน์ไม่ได). ยิ่งไปกว่านั้น ยังล็อกด้วยมาตรา ๒๗ ว่าหากพิสูจน์ไม่ได้ ให้ถือว่าเป็นผู้เสียหายและให้รีบจ่ายเงิน แบบนี้ก็เข้าทางผู้ผลักดัน เพราะไม่ต้องการให้มีการพิสูจน์อยู่แล้ว

หากอนุโลม เอามาตรา ๒๗ นี้มาใช้ในกรณีนี้ กฎหมายนี้จะเป็นยิ่งกว่า “กฎหมายซานตาครอส” และไม่ใช่ one stop จริง เพราะ สามารถไปต่อยอดฟ้องร้องทั้งอาญาและแพ่งได้อีก เมื่อไรก็ได้ภายในสิบปี (กรณีอาญา) หรือเกินสิบปี (กรณีใช้มาตราขยายอายุความทางอ้อม) กฎหมายนี้จะเป็นยิ่งกว่า “กฎหมายประชานิยม” หรือเรียกว่า “กฎหมายอัครอภิมหาประชานิยม” ผู้ผลักดันคงภูมิใจเป็นแน่ที่มีผลงานให้ต่างชาติได้เห็น หากคนต่างชาติได้ยิน ทั้งในฝั่งสแกนดิเนเวียทราบ คงต้องรีบย้ายฐานการรักษามาใช้กฎหมายนี้ทันที เพราะให้มากกว่าของเขาเยอะ(เมื่อเทียบกับฐานเงินเดือน ฐานการจ่ายภาษี) ให้มาก ให้นาน ไม่จำกัดอายุความ ส่งเสริม Medical hub ทางอ้อมแน่นอน (กฎหมายนี้ไม่จำกัดสัญชาติ ผู้รับบริการ) อีกประเด็นการกล่าวว่าการรับเงินแล้วยุติการฟ้องร้องทางแพ่ง เป็นการตัดสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ แต่ทำไมคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการถึงมีบัญญัติเรื่องนี้ ทำไมมีการประนีประนอมยอมความในศาล ทำไมถึงมีสำนักงานระงับข้อ พิพาทของกระทรวงยุติธรรม การสร้างกลไกกองทุนเป็นเพียงทางเลือกให้ผู้ป่วยเลือก แทนการฟ้องร้อง หากเลือกกองทุนก็ ไม่ควรจับปลาสองมือไปฟ้องร้องได้อีก หากเลือกฟ้องร้องแล้วแพ้ก็ห้ามเข้ากองทุน เพราะไม่เป็นธรรม กฎหมายนี้ไม่มีมาตรา
ไหนที่ระบุให้ยกเลิกหรือห้ามการฟ้องร้องทางแพ่งแต่อย่างใด แต่ควรเป็นการให้เลือกตั้งแต่ต้นว่าจะใช้ช่องทางไหน ตัดสินใจได้อย่างอิสระบนพื้นฐานความคิดของแต่ละคน คล้ายกับ การเข้าคิวซื้อตั๋วหนัง เมื่อเลือกช่องนี้แล้วเห็นว่ามีปัญหา ไม่สะดวก ก็ข้ามช่องกั้นไปเข้าอีกช่อง เข้าอีกช่องแล้วไม่พอใจ ก็กระโดดกลับมาอีก โดยหลักการแล้วกฎหมายฉบับนี้ต้องคง สิทธิการฟ้องร้องทางแพ่งไว้ แต่ต้องห้ามการจับปลาสองมือ กรณีการจ่ายเงินสมทบ นอกเหนือภาษีที่นำมาใช้ในกรณีสถานพยาบาลรัฐ ที่ให้ข่าวว่าโรงพยาบาลรัฐไม่ เดือดร้อน ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง ทุกวันนี้เดินไปสอบถามบุคลากรในโรงพยาบาลว่ารู้สึกเช่นไร ที่ถูกบังคับจากสปสช.ให้ เข้าร่วมโครงการโดยเป็นสถานบริการในสังกัดสปสช. ทางอ้อม งบที่ให้มารักษาคนไข้เป็นอันเดียวกับเงินเดือน และยังบังคับ ให้เอางบนี้ไปร่วมจ่ายเป็นค่าเสียหายที่ตั้งคำนี้มาในร่างกฎหมาย แล้วงบรักษาพยาบาลจะเหลือเท่าไร

กรณีสถานพยาบาลเอกชน ที่มีระบบรองรับในกรณีมีความไม่พอใจ ไม่เข้าใจ เกือบทุกแห่งมีระบบนี้อยู่ และ ส่วนใหญ่จ่ายง่ายและเร็วกว่าร่างนี้ เพียงแต่จำนวนมากน้อยต่างกัน หากผู้บริหารคิดว่าตนผิด มักจะยอมโดยดีแต่ทำแบบเงียบ ๆ (เพราะไม่อยากเสียชื่อเสียง ทำให้ไม่สื่อออกไปในวงกว้าง และสื่อสารมวลชนจึงเข้าใจว่าไม่มีการจ่าย ไม่มีระบบรองรับใน ภาคเอกชน) และมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอยู่แล้ว กรณีที่เป็นข่าวส่วนใหญ่น่าจะมาจากการที่สถานพยาบาล มั่นใจว่าตนไม่ผิดแน่ ๆ แต่ถูกข่มขู่ให้จา่ยเงิน หากผ่านร่างนี้แล้วไม่มีมาตรามารองรับในประเด็นนี้ จะเกิดปัญหาประทุขึ้นใน
สถานพยาบาลเอกชน คงไม่มีใครยอมจ่ายสามต่อ ต่อแรกคือส่งเบี้ย ต่อสองคือจ่ายเองในสถานพยาบาล ต่อสุดท้ายต้องจ่าย หากผู้ป่วยไปฟ้องต่อยอดอีกเพราะคงสิทธิ์การฟ้องทางแพ่งไว้ดังเดิม กรณีคลินิก ไม่พ้นต้องบวกในค่ารักษา เหมือนเบี้ยประกัน ซึ่งที่สุดคนไข้ต้องรู้ว่าทุกครั้งที่ไปคลินิกต้องเสียค่า เบี้ยประกันให้ตนเองทางอ้อม เมื่อทราบแล้ว ย่อมเห็นช่องทางในการได้เงิน โดยการไปร้องเรียนไม่พอใจและกล่าวว่าเกิดความเสียหาย ซึ่งการพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดจากคลินิกเล็ก ๆ (ไม่ต้องไปพูดถึงคลินิกเสริมสวยใหญ่ ๆ ) แทบเป็นไปไม่ได้ เพราะระบบการจัดเก็บข้อมูลไม่ดีพอเหมือนในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เมื่อพิสูจน์ไม่ได้ ตามที่บัญญัติไว้ในร่างกฎหมายนี้ คลินิกย่อมดูเหมือนเป็นฝ่ายผิด ผู้กล่าวอ้างว่าเสียหายย่อมได้รับเงินเพราะพิสูจน์ไม่ได้ กลายเป็นว่าคลินิกที่ถูกต้องตามระบบ อยู่ไม่ได้ แต่คลินิกประเภทเถื่อน ที่ไม่อยู่ในคำนิยาม ไม่ต้องส่งเบี้ย ไม่ต้องรับผิดชอบ ไม่พอใจก็ไปฟอ้ งศาล เผลอ ๆ จับไม่ได้ เพราะปิดแล้วไปเปิดใหม่ที่อื่นใช้ชื่อใหม่ สถานพยาบาลสีเทาประเภททางเลือก holistic จับเส้นเอ็น พลังครอบจักรวาล เคลื่อนย้ายกระดูกเหมือนสำนักเส้าหลิน ก็ไม่อยู่ในพรบ.นี้ เพราะไม่ได้นิยามไว้ และนิยามไม่ได้เพราะไม่ใช่วิชาชีพ ไม่ต้องมี องค์กรตามกฎหมายควบคุม ค่ารักษาทำ chelation ค่าทำdetoxสวนทวาร ค่าวิชาย้ายกระดูก หรือแม้แต่เปิดสปา เก็บ เหมือนพวก fitness ครั้งละหลายหมื่นบาทหรือเป็นแสนบาท ห้าครั้งสิบครั้ง ไม่พอใจเลิกกลางคันก็ไม่คืนเงิน กลับไม่ต้อง
รับผิดชอบใด ๆ ในขณะที่แพทย์ทำหัตถการรักษาคนไข้กรีดฝี ถอดเล็บ pumpหัวใจ แต่คิดเงินได้น้อยกว่านี้มากไม่กี่ร้อย บาท และหากไม่พอใจก็ต้องคืนเงินเพราะไม่อยากมีเรื่องให้เสียชื่อ คงเห็นสถานพยาบาลสีเทาพวกนี้เปิดมากขึ้นเมื่อผ่านร่าง กม.นี้ ทำไมต้องไปเสี่ยงเปิดคลินิกเล็ก ๆ แพทย์เตรียมลงเรียนcourseสั้น ๆ สองสามเดือนหรืออย่างเก่งก็หนึ่งปี พวกนี้ เช่น ผิวหนัง chelate detox ย้ายกระดูก จับเส้นเอ็น หรือไปเป็นลูกจ้าง นิติพล ดร.สมชาย ดีกว่าอย่างน้อยก็รายได้ดี หลายแสนบาทต่อเดือน งานสบาย มีแต่สิ่งแวดล้อมน่ารื่นรมย์ พนักงานสวย ๆ เต็มร้าน ลูกค้าหน้าตาสดใส เสี่ยงน้อยกว่ามาก ไม่ค่อยมีพิการหรือตาย อย่างมากก็รักษาไม่หายหรือแพ้ยา หรือหากอยากให้ภาพลักษณ์ดูดีก็ไปเอาใบ certificate จาก เมืองนอกมาแปะไว้หน้าร้านก็เพิ่มราคาได้โดยไม่ต้องไปร่วมจ่ายเบี้ยให้กองทุนนี้ ไม่ต้องไปเรียนวิชาผ่าตัดนาน ห้าปีสิบปี หาเรื่องติดคุกติดตาราง ล้มละลายเมื่อโดนฟ้อง อดหลับอดนอน ลูกเมียไม่พอใจเพราะไม่มีเวลา อายุสั้นตายก่อนอาชีพอื่น ไม่พ้นหายนะในระบบสาธารณสุขที่พระราชบิดาวางรากฐานไว้มานาน

.........ติดตามตอนต่อไป

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
.....อ่านต่อ

๒.๔.วิสัชนา) ประเด็นส่งเสริมให้มีการไกล่เกลี่ย (หมวด ๕ มาตรา ๓๘-๔๑)ประเด็นนี้ชัดเจนว่าผู้แทน
กระทรวง ผู้บริหารกระทรวง ผู้ปฏิบัติงานให้การรักษา และ คณะกรรมการกฤษฎีกา ต้องการให้มี และชัดเจนว่าองค์กร เอกชนยืนยันอย่างหนักแน่นในชั้นกฤษฎีกาว่าไม่ต้องการให้มี ให้ตัดทิ้งไปทั้งหมวด เพราะต้องการกฎหมายที่เป็น Quick cash โดยไม่สนใจผิดถูก ไม่ต้องพิสูจน์มากมาย ต้องการเงินก็เดินไปที่สำนักงาน (ที่องค์กรเอกชนพยายามผลักดันให้อยู่ นอกเหนือการควบคุมจากคนที่มีความรู้ความเข้าใจในปัญหาของระบบบริการสาธารณสุข) โดยต้องการให้ขั้นตอนเป็นดังนี้

ไปยังสถานบริการสาธารณสุข .... เกิดปัญหาข้อสงสัยว่าเสียหาย ..... ยื่นเรื่องต่อสำนักงาน (ที่ต้องมีคนนอกมามี
อำนาจ อยู่นอกอำนาจกระทรวงสาธารณสุข ห้ามมิให้คนที่มีความรู้ทางการแพทย์มาอยู่สำนักงานมากมาย ).... ไม่ต้องมี ทนายมารับส่วนแบ่ง ไม่ต้องวางเงิน ...... ไม่ต้องพิสูจน์มากมาย ...... จ่ายก้อนแรกเร็ว ๆ ........ หากพิสูจน์ไม่ได้ว่า เสียหายก็ให้จ่ายทันทีเบื้องต้นเป็นประเดิม ...... ส่งเรื่องให้อนุกรรมการที่มีความรู้ทางแพทย์ไม่ต้องดีมาก ไม่จำต้องมี ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ให้เป็นคนนอกที่แสดงความเห็นอกเห็นใจโดยต้องพิสูจน์ผิดถูก .......... อนุกรรมการ และ กรรมการต้อง มีสัดส่วนคนที่ไม่มีความรู้ทางกาแพทย์ หรือ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ให้น้อยที่สุด อย่างน้อยต้องน้อยกว่าครึ่ง เพราะมติ ใช้เสียงข้างมาก ....... อนุกรรมการต้องตัดสินโดยเร็วห้ามชักช้า (บีบเวลา) .... ไม่ต้องมีบทผูกพันหากอนุกรรมการตัดสินจ่ายเงินโดยไม่สมควร อนุกรรมการ กรรมการไม่ต้องรับผิดกับการใช้เงินในกองทุนใด ๆ (เป็น ปัญหาที่เกิดในระบบ ม. ๔๑ ของพ.ร.บ.สปสช. ทุกวันนี้ที่มีการจ่ายเงินเบื้องต้นโดยหละหลวมแต่ไม่เป็นที่เปิดเผย) ซึ่งการบีบ เวลาตัดสิน ก็ผ่อนคลายด้วยการไม่มีบทลงโทษใด ๆ ต่ออนุกรรมการหรือกรรมการหากจ่ายเงินโดยไม่สมควร .... เป็นเงิน นอกเหนือการควบคุมของผู้มีความรู้ทางการแพทย์ว่าเหตุกรณีใด ๆ สมควรเป็นผู้เสียหายหรือไม่ โดยเอาองค์ภายนอกที่ มิได้มีความรู้ทางการแพทย์มาตรวจสอบเพื่อรับรองความถูกต้องให้ ...... หากเป็นไปได้ ไม่ต้องมาไกล่ เกลี่ย ไม่ต้องมาอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ต้องมาทำความเข้าใจใด ๆ ให้รีบจ่ายเงินโดยเร็ว มิชักช้า

......... ห้ามตัดสิทธิ์การฟ้องใด ๆ ..........หากให้มากพอ ก็จะไม่ฟ้องเอง ไม่ต้องกังวล ....... หากพบว่ามีความเสียหาย ภายหลังเป็นสิบ ๆ ปี ก็ยื่นเรื่องใหม่ เพื่อขอรับเงิน “ก้อนที่สาม” (สาธารณชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับ ทราบประเด็นนี้) .... จ่ายเงินมาก ๆ คาดว่าหลักล้าน ขอเป็นเงินสดเท่านั้น ไม่ต้องการระบบเยียวยาอื่น ๆ ที่ มิใช่ตัวเงิน (Quick cash) ที่ต่างประเทศมีให้ เช่น การให้การรักษาพิเศษ การให้เลือกสถานพยาบาล ........ ไม่ สนใจคำว่า “ภาระงบประมาณ”ขาดความรับผิดชอบต่องเงินภาษีอากรของรัฐ โดยอ้างแต่ว่าเป็นเงินภาษี เป็นหน้าที่รัฐ โดย สส. สว. รัฐบาลมีหน้าที่หามาเติมให้(เป็นคำที่กล่าวในห้องประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา) ไม่ต้องไปสนใจความรู้สึกของผู้ เสียภาษี .... ขยายอายุความโดยอิงเอาพรบ.วิธีพิจารณาผู้บริโภคที่มีการผลักดันนำร่องออกไปก่อนหน้านี้แล้ว มาใช้เป็น เกณฑ์ ...... หากหมดสิทธิ์รับเงินกองทุน ยังมีสิทธิ์การฟ้องทางแพ่ง และฟ้องอาญาเพื่อบังคับทางแพ่ง ไปฟ้องร้องต่อได้ ค่า ทนายผู้ฟ้องไม่ต้องเสีย แต่บุคลากรต้องจ้างทนาย ค่าจ้างร้อยละ ๗- ๑๐ ของทุนทรัพย์ คิดคร่าว ๆ หากฟ้องสิบล้าน ค่าทนาย ศาลชั้นต้น หนี่งล้านบาท สามศาลก็สามล้านบาท บุคลากรรับผิดชอบเอง (กรณีมิใช่เจ้าหน้าที่รัฐ) (กรณีเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ให้ ฟ้องกระทรวงสาธารณสุข เพื่อบังคับเอาเงินกับกรมบัญชีกลาง ซึ่งกรมบัญชีกลางไม่เต็มใจจ่าย จึงต้องกระตุ้นให้มีการไล่เบี้ย ทางอ้อมเอากับบุคลากรในที่สุด) ....หากฟ้องอาญา บุคลากรทั้งรัฐและเอกชนต้องจ้างทนายเอง ค่าตัวทนายแพงกว่าคดีแพ่ง เดิมพันคือติดคุก ดังนั้นแนวโน้มคือ บุคลากรตอ้งหาเงินมาจ่ายเพื่อยอมความ หรือยอมรับกลางศาลว่าตนผิดทั้ง ๆ ที่ไม่ผิด มิฉะนั้นมาตรา ๔๕ ก็จะใช้บังคับไม่ได้เพื่อคว้าไม้ใกล้ตัวไว้เกาะก่อนจะจมน้ำ

๒.๕.วิสัชนา) พัฒนาระบบความปลอดภัย (หมวด ๖ มาตรา ๔๒-๔๔) ทุกวันนี้ไม่ต้องไปสำรวจ ไม่ต้องตั้งคณะกรรมการอื่นใดมาเพิ่มเติม บุคลากรรวมทั้งผู้บริหารทราบดีว่าปัญหาความผิดพลาดเกิดจากอะไร ไม่ต้องมี ส... ส.... ส... สารพัด ส... แพทย์ พยาบาล ผู้ปฏิบัติงานทราบดีว่าปัญหาเกิดจาก Overload เกิดจากภาระงานมากเกินคนปกติจะทำได้ โดยไม่มีข้อผิดพลาด ความไม่พร้อมในเรื่องเครื่องมือการรักษา ความไม่พร้อมเรื่องเตียงผู้ป่วย ความไม่พร้อมเพราะกลัว รักษาแล้วโดนฟ้องเป็นคดีหากผู้ป่วยยอมรับผลการรักษาไม่ได้ แต่ขาดระบบที่จะมาแก้ปัญหานี้แบบจริงจังและไม่มีคน รับผิดชอบเป็นตัวเป็นตน ให้แต่กำลังใจ อ้างแต่คำว่า “เสียสละ” แทนที่จะเอาเงินไปไล่แจกปลายเหตุ น่าจะเอาเงินมาแก้ที่ ต้นเหตุ งบประมาณที่ได้มาพัฒนาบุคลากร เครื่องมือ กลับถูกร้องเรียนให้ดองเอาไว้ ให้สอบผู้บริหาร ซึ่งปัจจุบันเป็นเรื่องฟ้องร้องกันอยู่ ไม่รู้ใครผิด ใครถูก แต่สถานพยาบาลทั่วประเทศก็ยังคงขาดแคลนงบพัฒนาเหมือนเดิม เพราะงบส่วนใหญ่ถูก ดึงออกนอกกระทรวงสาธารณสุข ไปให้องค์กรภายนอกดูแลแทน

การกล่าวอ้างว่ากฎหมายนี้ดี มีการพัฒนาระบบ แต่หลักการว่า ไม่ต้องพิสูจน์ผิดถูก หากไม่พิสูจน์ทราบ
เรื่องว่าเกิดอะไร อะไรผิดอะไรถูก อะไรสมควรไม่สมควร จะเอาอะไรไปพัฒนาระบบที่เขียนมาให้ดู
ดีเพื่อให้ผ่านสภา เพื่อให้สภาผู้แทนลงคะแนนให้ผ่านเพราะเห็นว่ามีการเขียนมาตรานี้มาพัฒนาแก้ไข แท้จริงแล้ว ไม่ สามารถพัฒนาได้ เพราะตัดคนที่เป็นวิชาชีพออกไปจากการตรวจสอบระบบ ตรวจสอบความผิดถูก เรียกง่าย ๆ ว่า “ข้าง นอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง” “สวยแต่รูป จูบไม่หอม” ไม่มีบุคลากรคนใดที่ไม่อยากให้มีการพัฒนาระบบความปลอดภัย ทุก วันนี้ก็มีการพัฒนาอยู่แล้ว ทั้ง TQM, HA, JCI, ISO สารพัดจะพัฒนา เผลอสถานพยาบาลภายใต้กระทรวง สาธารณสุขน่าจะได้รางวัลแห่งการพัฒนาด้วยซ้ำไป เพราะมีแต่องค์กรระดับชาติแห่มาให้รางวัล มาให้เครดิต JCI, ISO มาให้รางวัลดีเด่นสารพัด แต่ยังขาดสิ่งสำคัญคือการแก้ที่ต้นเหตุ เหตุแห่งอริยสัจ เรารู้ทุกข์แล้ว แต่เราทำไม่รู้ไม่ ชี้กับ “สมุทัย” ที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ และกลับไปพยายามหา “นิโรธ” คือเหตุให้พ้นทุกข์จอมปลอมโดยเอาเงินมาเป็นตัวล่อ มายัดเยียดในกระเป๋าแบบประชานิยม ปล่อยให้เกิดความเสียหายเพราะบุคลากรอดหลับอดนอน ทำงานเกินขีดความสามารถ ปกติ เตียงล้น เครื่องมือไม่พัฒนา แทนที่จะเอาเงินมาแก้ไขปัญหา เพิ่มบุคลากร ส่งเสริมความรู้ การศึกษา กลับปล่อยให้เกิด ปัญหาแล้วเอาเงินไปอุดปลายเหตุ แบบนี้ไม่มีทางไปถึง “มรรค” คือ นิพพานที่แท้จริงได้ เพราะมันเป็นนิพพานจอมปลอม คือเอาเงินอุดปากผู้ป่วย แต่ไม่ได้ไปพัฒนาระบบใด ๆ เลย หากออกกฎหมายที่เนื้อหาแบบนี้โดยไม่แก้ไข ก็เท่ากับยอมรับว่าแก้
ระบบที่ต้นเหตุไม่ได้ จึงเอาเงินมาอุดปากปลายเหตุ แบบนี้ไม่น่าจะเรียกว่าสร้างสรรค์ แต่เป็นการทำลายขวัญกำลังใจ คนทำงาน เหมือนส่งทหารไปดูแลความสงบที่สี่แยกคอกวัว แต่ไม่ให้ติดอาวุธ ใช้มือเปล่า เมื่อเกิดการล้มตายก็เอาเงินไป ปลอบขวัญผู้ปฏิบัติงานและครอบครัวผู้สูญเสียทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน เงินดังกล่าวน่าจะเป็น “เงินร้อน เงินบาป” ที่ได้ไป ก็ทุกข์ทรมานจิตใจครอบครัวผู้ตั้งใจปฏิบัติงาน

๒.๖.วิสัชนา) ประเด็นให้อำนาจศาลอาจไม่ลงโทษในคดีอาญา (มาตรา ๔๕)ฟังยังไงก็ดูดี แต่หากถามครู สื่อสารมวลชน ผู้พิพากษา ในทำนองที่มีกฎหมายลักษณะนี้ เช่น “กฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายการเรียนการสอน” “กฎหมาย คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการรายงานข่าว” “กฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากกระบวนการพิจารณาคดี” ไม่ทราบว่าจะคิดเช่นไร สื่อสารมวลชนเองก็มีกฎบัญญัติห้ามละเมิดเสรีภาพในการทำงานตามสมควร ผู้พิพากษาไดรั้บการ คุ้มครองหากพิจารณาคดีโดยชอบตามสถานการณ์(ตามคำให้การ) ครูไม่ปรากฏว่ามีใครฟ้องร้องกระทรวงศึกษาธิการ หรือครู โทษฐานนักเรียนสอบไม่ติดโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยดี ๆ หรือ สอนเด็กให้เป็นคนดีได้ องค์กรเอกชนไม่มีบทลงโทษหาก การคัดค้านใด ๆ ทำแล้วเกิดความเสียหายภายหลังต่อประเทศชาติ หนำซ้ำยังมีเงินอุดหนุนพิเศษสารพัดช่องทาง

มาตรา ๔๕ เป็นมาตราที่แทบไม่มีผลใด ๆ เลยในทางปฏิบัติ เพราะเท่ากับบีบบังคับให้แพทย์ต้องนำเงินไปจ่ายให้ ผู้ป่วย ไปกราบขอโทษที่รักษาแล้วได้ผลไม่เป็นที่พอใจ (ไม่ว่าจะผิดหรือถูก เพราะไม่สนผิดถูกตามหลักการที่พยายามกล่าว อ้าง) เพราะหากไม่ทำ สิทธิการฟ้องอาญายังมี เมื่อรับฟ้อง ก็ต้องไปประกันตัว ต้องเสียเงินค่าทนาย ทั้ง ๆ ที่เงินเดือนรัฐก็น้อยมาก แม้ผู้ฟ้องจะไม่อยากฟ้อง (เชื่อแน่ว่าไม่มีใครอยากฟ้อง ยกเว้น...) แต่ถ้ามีเงินเป็นเดิมพัน ... “มีเงินก็จ้างผีโม่แป้งได้” สำนวนนี้ยังเป็นจริงในสังคมส่วนใหญ่ยุคทุนนิยม + ประชานิยม + อภิมหาอัครประชานิยม ทุกวันนี้แม้ไม่มีบัญญัติมาตรานี้ศาลโดยผู้พิพากษาเองก็ลดโทษได้โดยใช้วิจารณญาณตามกฎหมายอาญาที่มีอยู่ แล้ว เช่น ม. ๖๔ ความไม่รู้กฎหมาย ม.๖๙ มีความจำเป็น หรือม.๗๘ มีคุณความดีมาก่อน รู้สำนึกความผิด พยายามบรรเทา ผลร้าย ให้ข้อมูลแก่ศาลอันเป็นประโยชน์แห่งการพิจารณา ที่แย่กว่าเดิมคือในมาตรา ๔๕ กลับระบุ เรื่อง “ผู้เสียหายไม่ติดใจ” เท่ากับบังคับให้ บุคลากรต้องป้องกันตัวโดย การไปขอโทษ ไปจ่ายเงิน หากไม่แน่ใจว่าจะชนะคดี มาตรานี้เป็นการทำลายน้ำใจบุคลากรทั้งแพทย์ และนกไนติงเกลชุดขาว อย่างรุนแรง มิใช่ดีอย่างคนที่กล่าวอ้างโดยไม่ลงลึกในรายละเอียด หรืออยู่ในเหตุการณ์ร่วมพิจารณากฎหมายฉบับนี้
คนที่บอกว่ากฎหมายนี้มีมาตรา ๔๕ เป็นคุณกับบุคลากร อาจคิดเพียงแต่วัตถุนิยมคือเงิน แต่ลืมนึกถึงจิตใจ บุคลากรผู้ทำงานอย่างหนัก บังคับให้เอาเงินเดือนที่น้อยนิดอยู่แ ล้วไปควักจ่ายเสริมเงินกองทุนเพื่อให้มาตรา ๔๕ มีผลบังคับ ใช้ ทั้ง ๆ ที่ถูกบังคับให้ทำงานหนัก พยาบาลถูกบังคับให้ขึ้นเวรติดต่อกันโดยกรมแรงงานไม่เคยออก กฎหมายมาควบคุมจำกัดชั่วโมงการทำงานเพื่อความปลอดภัยต่อผู้ป่วยและต่อบุคลากรสายงานนี้ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินยังมีเกียรติมากกว่าพยาบาลชุดขาว พยาบาลต้องเช็ด..ขี้ เช็ด..เยี่ยว (ขออภัยในคำไม่สุภาพแต่ เป็นความจริง) ผู้ป่วยซึ่งเป็นญาติของท่านไม่วันใดก็วันหนึ่ง และแม้แต่อาจเป็นตัวท่านที่ผลักดันออกกฎหมายหรือให้ความ เห็นชอบหรือตัวผู้เขียนที่ต้องไปนอนใช้วาระสุดท้ายบนเตียงผู้ป่วยให้พยาบาลชุดขาวล้วงควักอุจจาระ เช็ดถูก้นในวาระ สุดท้ายแห่งชีวิต แต่พนักงานบนเครื่องบนหรือกัปตันไม่ต้องทำเช่นนี้ ยังมีกฎหมายการบินระหว่างประเทศคุ้มครองห้ามดูถูก ห้ามล่วงเกิน ห้ามขัดคำสั่งกัปตัน คุ้มครองชั่วโมงการทำงาน และ การปฏิบัติงานภายใต้กฎหมายการบินระหว่างชาติ แต่ บุคลากรการแพทย์ไม่มีทั้งที่ ๆ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๘๐(๒) บัญญัติให้ ออกฎหมาย คุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพที่ทำงานได้มาตรฐานและจริยธรรม แต่ไม่มีท่านผู้ทรงเกียรติใด ๆ ออกมา กระตือรือร้นออกกฎหมายฉบับนี้ แถมต้องเตรียมตัวไปกราบขอโทษ เตรียมเงินไปให้ หากไม่พอใจ และต้องการมิให้ติดใจ เอาความตามมาตรา ๔๕ ... เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทยภายใต้การชี้นำแบบนี้

ในฐานะหนึ่งในแพทย์ผู้ยังปฏิบัติงานและเคยผ่าตัดผู้ป่วยมากกว่าปีละ๔๐๐-๕๐๐ คน เคยไปฝึกงานในชนบท เคยทำงาน ในต่างจังหวัดแม้จะไม่ใช่ชนบท และไม่ได้เป็นสมาชิกชมรมแต่อย่างใด มานับสิบปี
ในฐานะแพทย์ที่เริ่มรับราชการปี ๒๕๓๔ ด้วยเงินเดือน ๔,๔๐๐ บาท และให้พ่อแม่หมดตั้งแต่วันแรกที่เงินเดือนออก ในฐานะที่เคยช่วยชีวิตผู้ป่วยมากกว่าหมื่นราย หากนับอานิสงค์ถึงญาติพี่น้องของเขาเหล่านั้นในครอบครัว ก็หลายหมื่น คนอยู่ (ยังไม่นับรวมแพทย์อีกหลายท่านที่ออกมาให้ความเห็นต่อกฎหมายนี้ซึ่งรวมแล้วท่านเหล่านี้ช่วยชีวิตผู้คนไว้นับล้าน ๆ ต่อปี มากกว่าที่องค์กรใด ๆ ช่วยไว้)
ในฐานะที่จบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคมายี่สิบปี เห็นปัญหาในภาคปฏิบัติในปัจจุบันกาลอย่างแท้จริง มีตั้งแต่ผู้ป่วยนำพระ (ที่ทุกวันนี้ตั้งเป็นพระประธานให้ห้องพระสำหรับนั่งสมาธิ) นำเงิน นำของสารพัดมาให้ มีทั้งผู้ป่วยมายืนชี้หน้าด่าขู่ว่าจะฟ้องเพราะไม่พอใจ มีทั้งโดนเพื่อนแพทย์ด้วยกันยุให้คนไข้มาฟ้อง มีทั้งโดนกล่าวหาว่าทำทุรเวชปฏิบัติ มีทั้งทนายขู่จะมา ยื่นโนติสหากไม่นำเงินมาให้ จนต้องไปเรียนกฎหมายมสธ.ให้รู้แล้วรู้รอดว่าจะฟ้องด้วยข้อหาอะไร

ในฐานะที่จบนิติศาสตร์ มีความรู้กฎหมายพอสมควร แม้ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างเอกอุ แต่อย่างน้อยก็เป็น หนึ่งในแพทย์ที่รู้ทั้งเรื่องการแพทย์ในทางปฏิบัติ (มิใช่แพทย์นักบริหาร มิใช่แพทย์ที่เลิกทำเวชปฏิบัติ มิใช่แพทย์ที่เป็นนัก กฎหมายเต็มตัว) และรู้เรื่องกฎหมาย พอจะเขียนตำราและบทความได้มามากพอสมควร ในฐานะที่เคยเป็นผู้แทน ปลัดกระทรวงไปชี้แจงเรื่องกฎหมายการแพทย์ในสถาบันพัฒนาข้าราชการตุลาการ

ในฐานะที่เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง กฎหมายการแพทย์มาหลายแห่ง
ในฐานะที่มีส่วนร่วมในกฎหมายนี้มาตั้งแต่ยังเป็นชื่อ “ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการรับบริการ สาธารณสุข” ซึ่งมุ่งหวังคุ้มครองผู้ป่วยและบุคลากรอย่างแท้จริง มุ่งหวังให้ได้เงินมาเป็นกองทุนเยียวยาผู้ป่วยที่ไม่สมควร ได้รับเหตุการณ์เลวร้ายในทางการแพทย์อย่างแท้จริง มุ่งหวังมิให้ใครมาใช้กองทุนนี้เป็นฐานเสียงหรือเครื่องมือโดยมิชอบ มิได้อาสาเป็นผู้ร่าง มิได้หวังเป็นกรรมการในกองทุน มิได้หวังเป็นแพทย์นักบริหาร นอกจากเป็นแพทย์ผ่าตัดจนกว่าจะผ่าไม่ ไหว หรือถูกฟ้องจนเลิกผ่าตัดไปเหมือนแพทย์หลายคน

ในฐานะที่มีส่วนไปชี้แจงทั้งใน คณะกรรมการกฤษฎีกามาตลอดสามปี ทั้งใน สวรส. สช. สารพัดองค์กรที่มีการสัมมนา ในฐานะที่มีเพื่อนเป็นทั้งผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ หรือแม้แต่บุคลากรขององค์กรเอกชนที่ให้ความเห็นหรือแนวทางร่าง กฎหมาย ได้เห็นความเป็นไปที่ชื่อถูกเปลี่ยนเป็น “พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข” และถูกเปลี่ยน เพื่อสร้างสรรค์โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็น “พรบ.สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข” และกลับถูก เปลี่ยนโดยการผลักดันขององค์กรเอกชนทั้ง ๆ ที่ผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกาให้มาเป็น “ผู้เสียหาย” อีกคำรบ

ในฐานะที่เป็นทั้งผู้ให้การรักษา และ ผู้ถูกรักษา ซึ่งอาจะเป็นผู้เสียหายตามคำนิยามขององค์กรเอกชน ในฐานที่มีญาติพี่น้องที่อาจเป็น ผู้เสียหายได้เหมือนกัน จึงมิได้มีอคติใด ๆ ที่จะต่อต้านกฎหมายนี้ แต่ต้องการให้กฎหมายสมบูรณ์ที่สุด ก่อนจะผ่านออกมาใช้ มิได้ต้องการให้เป็นกฎหมายที่มีปัญหาที่อ้างแต่ว่า ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา แล้ว ดังนั้นแก้ยาก อย่าไปยุ่งจะดีกว่า เพราะเหนื่อยเปล่า เหมือนที่กฎหมายหลายฉบับผ่านออกมาสามวาระรวด แถมองค์ประชุมไม่ครบในยุค ปล่อยผี รสช. สนับสนุนให้มีกฎหมายนี้เหมือนที่แพทย์หลายคนต้องการ เหมือนที่องค์กรเอกชนต้องการ เหมือนที่ ผู้บริหารหรือ นักการเมืองต้องการ แต่มิได้สนับสนุนเพียงเพราะชื่อกฎหมาย หลักการและเหตุผลดูดี เหมือนที่พยายามจะสื่อให้สังคมเข้าใจ เช่นนั้น (มีกี่คนที่อ่านกฎหมายทั้งฉบับ ๕๐ มาตรา และอ่านหลายรอบ และมีความรู้ทั้งเรื่องการแพทย์และกฎหมายดีพอ มีกี่ คนที่อ่านทุกฉบับทั้งของกระทรวง ขององค์กรเอกชน ของสส.ที่แก้ไขแล้วเสนอร่างมา อีก ๔-๕ ฉบับ รวมแล้วนับได้ ๗-๘ ฉบับ ต้องอ่านไม่น้อยกว่า สามรอบต่อฉบับ อ่านแล้วต้องทำความเข้าใจในแต่ละมาตราอย่างละเอียด ต้องใช้ทั้งความรู้เรื่อง
ปัญหาทางการแพทย์ และ ประเด็นข้อกฎหมายหลายอย่าง เพราะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพรบ.นี้หลายฉบับเช่น กฎหมาย อาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค กฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ กฎหมาย รัฐธรรมนูญ รวมแล้วนับสิบกฎหมาย หลายร้อยมาตรา ที่ผูกโยงกับร่างนี้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม) เชื่อว่าส่วนใหญ่อ่านเพียง หลักการและเหตุผลและสแกนทั้งห้าสิบมาตราในเวลาไม่กี่นาที ส่วนใหญ่ไม่รู้รายละเอียดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นที่มา ของการเห็นแต่ข้อดี โดยไม่เห็นจุดบอดของกฎหมายฉบับนี้ เหมือนกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ที่ทุกวันนี้ ลายเป็นบริษัทห้างร้านใหญ่ ๆ กลับมาใช้ฟ้องร้องผู้บริโภคแทนที่ผู้บริโภคเป็นฝ่ายฟ้องร้อง นี่ยังไม่นับรวมกฎหมายอีกหลายฉบับ ด้านสาธารณสุขที่แห่กันออกมาก่อนหน้านี้ไม่กี่ปีติด ๆ กันแล้วก่อปัญหาความไม่สบายใจกับบุคลากรอย่างต่อเนื่องแต่ไม่เป็น ข่าวดังเหมือนร่างกฎหมายนี้

ข้อเท็จจริงที่สื่อมวลชนและประชาชนต้องรับทราบคือ แพทย์ พยาบาล บุคลากรผู้ปฏิบัติงานจริง ส่วน ใหญ่สนันสนุนหลักการและเหตุผลดังกล่าวทั้งหมด แต่เนื้อในไม่เป็นไปตามหลักการและเหตุผล มีhidden agenda เต็มไปหมด แพทย์ไม่ได้เสียเงินให้กับกองทุนนี้เพราะไม่ได้ระบุให้มาเรียกเก็บกับแพทย์ แพทย์ไม่ได้เงินจากกองทุนนี้เพราะ ไม่มีบทบัญญัติว่าแพทย์ก็เป็นผู้เสียหายได้เหมือนกัน ดังนั้นแพทย์ พยาบาล บุคลากรไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกฎหมายนี้ แต่องค์กรอื่น ไม่ทราบ คนอื่นที่ไม่ได้เป็นฝ่ายปฏิบัติงาน ไม่ทราบ ดังนั้นบุคลากรไม่ได้คัดค้านเพราะอิจฉา หรือริษยาเรื่อง เงิน ๆ ทอง ๆ ไม่ได้ใจร้ายไส้ระกำ แต่คัดค้านเพื่อส่วนรวมจริง ๆ และต้องการกฎหมายที่แก้ปัญหาให้ตรงจุด บุคลากร สาธารณสุขอาจถูกหลอกเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ได้ง่าย แต่เรื่องการรักษาพยาบาล ปมปัญหา และรายละเอียดเรื่องกฎหมายนี้ ไม่ใช่ง่ายที่จะหลอกให้บุคลากรการแพทย์ออกมารวมตัวมากขนาดนี้ ใครหลอกได้น่าจะส่งไปเจรจาเรื่องปราสาทเขาพระ วิหาร

หลายเรื่องบุคลากรในองค์กรเอกชนบางท่านก็ยอมรับว่าไม่ยุติธรรมต่อแพทย์ พยาบาล หลายเรื่องคณะกรรมการ กฤษฎีกาก็ไม่เห็นด้วยกับฝ่ายแพทย์ กับฝ่ายองค์กรเอกชน แต่เมื่อสื่อออกมาผ่านสื่อมวลชน กลับพูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ต่อตนเอง เจตนาละเลยข้อเท็จจริงที่สำคัญไป ทำนองพูดความจริงครึ่งเดียว การบอกกล่าวยืนยันให้ไปแก้ในชั้น กรรมาธิการทั้ง ๆ ที่มีข้อโต้แย้งจากหลายภาคส่วนมากมายเช่นนี้ ถึงขนาดมีการประท้วงโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่เคยมี มาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย ยังไม่ต้องพูดว่าใครผิดใครถูก แต่การโต้แย้งแบบนี้ก็เหมือนกับกรณีมรดกโลกและยูเนสโก ที่ฝั่งหนึ่งยืนยันให้คณะกรรมการรับร่าง ในขณะที่อีกฝั่งยืนยันให้ถอนออกมาพูดคุยกันก่อนเพราะข้อโต้แย้งมีมากและรุนแรง เกินกว่าที่จะเดินหน้าเข้าไปในชั้นคณะกรรมการหรือกรรมาธิการ ถึงขนาดฝ่ายหนึ่งออกมาโต้แย้งว่าจะวอล์คเอาท์และถอนตัว จากการเป็นสมาชิก กรณีนี้ก็เช่นกันการถอนออกมาแล้วพิจารณาใหม่อย่างรอบคอบน่าจะเป็นกรณีที่ใช้ได้เปรียบเทียบกับ กรณีมรดกโลกยูเนสโกที่สุดท้ายเจ้าภาพยอมถอนและให้ออกมาคุยกันให้ลงตัวก่อน แทนที่จะผลักดันกฎหมายที่มีปัญหา ความไม่เข้าใจอย่างรุนแรงเข้าไปในสภา
...................