ผู้เขียน หัวข้อ: ประชาคม สธ.- หมออนามัยเสนอ รมว.สธ.แก้ปัญหาสาธารณสุข “เขตสุขภาพ-เงินรายหัว-ทำงาน  (อ่าน 845 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9779
    • ดูรายละเอียด
ประชาคม สธ. เข้าพบ “ปิยะสกล” ขอผลักดัน 3 เรื่อง ออกกฎกระทรวงรองรับสถานภาพเขตสุขภาพ เดินหน้ามติบอร์ด สปสช. จัดสรรงบรายหัวให้ รพ. ให้ได้ 80% โดยไม่เรียกงบคืน ยุบกองทุนโรคเฉพาะ พร้อมเรื่องธรรมาภิบาล ด้านหมออนามัยขออย่าเอาเงินมานำบริการ กลายเป็นหมอหน้าจอแลกเงิน รมว.สธ. พร้อมหารือแก้ปัญหา
       
       วันนี้ (28 ส.ค.) เมื่อเวลา 09.30 น. ประชาคมสาธารรสุข นำโดย นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และประธานประชาคม สธ. นพ.ธานินทร์ สีวราภรณ์สกุล ผอ.รพ.พระนครศรีอยุธยา และประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป ได้เข้าพบ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมคณะที่ปรึกษา เพื่อหารือถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาในระบบสาธารณสุข
       
       นพ.ธานินทร์ กล่าวว่า ประชาคม สธ. มีข้อเสนอ 3 เรื่องที่อยากให้ รมว.สธ. พิจารณาคือ
1. ขอให้เดินหน้าพัฒนาเรื่องเขตสุขภาพอย่างจริงจัง โดยระยะสั้นให้ออกกฎกระทรวงเพื่อรองรับสถานภาพของเขตสุขภาพ เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการทั้งคน และงบประมาณ จากเดิมที่ก็ทำกันอยู่ แต่ไม่มีสถานภาพที่ชัดเจน
2. การปฏิรูประบบการเงินการคลัง โดยขอให้เร่งดำเนินการตามมติคณะกรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2558 ใน 2 เรื่องคือ การจัดสรรงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวร้อยละ 80 ของตัวเลขประมาณการให้กับสถานพยาบาลโดยไม่เรียกกลับคืน ซึ่งขณะนี้ในภาพรวมมีการจัดสรรได้ครบแล้ว แต่เมื่อแยกเป็นราย รพ. แล้วยังมีบางแห่งที่ได้ยังไม่ครบ และอีกเรื่องคือ การยุบ 2 กองทุนโรคเฉพาะมาใช้ระบบงบรายหัว คือ กองทุนต้อกระจก และกองทุนโรคหอบหืด ปอดเรื้อรัง ซึ่งขณะนี้ สปสช. ยังไม่ได้ดำเนินการตามมติบอร์ด เนื่องจากการมีกองทุนโรคเฉพาะจำนวนมากทำให้งบประมาณไปอยู่ตรงนั้นเยอะ กลายเป็นการเอาเงินเป็นตัวตั้งให้ทาง รพ. ต้องทำงานแลกเงิน ถ้าไม่ทำก็ไม่ได้เงิน ดังนั้น เราอยากให้ลดกองทุนลง แล้วเอาเคพีไอมาเป็นตัวกำหนดการทำงานของเราแทนดีกว่าหรือไม่ และ
3. เรื่องธรรมาภิบาล ในกระทรวง
       
       นายสาคร นาต๊ะ ประธานชมรมหมออนามัย กล่าวว่า อยากให้ปรับเปลี่ยนระบบที่เอาเงินมานำการให้บริการจริง ๆ เพราะทุกวันนี้ทำให้หมอนามัยต้องอยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อทำรายงานส่งเพื่อแลกเงิน อีกทั้งยังมีการเปิดอบรมวิชาการต่าง ๆ จากหลายหน่วยงาน หลายภาระงานแต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ทำให้เสียเวลาแทนที่จะเอาเวลาไปทำเปิดประชาคมหมู่บ้านให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนตรงนี้อยากให้มีการปรับแก้
       
       ด้าน นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า เบื้องต้นก็เป็นไปตามนโยบายที่ตนประกาศเอาไว้อยู่แล้ว อย่างเรื่องเขตสุขภาพที่ต้องมีการบูรณาการให้สามารถทำงานร่วมกันได้ทั้งกระทรวง และ สปสช. ส่วนเรื่องมติเมื่อวันที่ 9 ก.พ. นั้น เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งตนจะได้นำไปหารือร่วมกับ สปสช. อีกครั้งนอกรอบก่อนการประชุมบอร์ด สปสช. ครั้งแรก ถือว่าไปให้การบ้าน ส่วนข้อเสนอการทำงานของ รพ.สต. นั้น ตนเห็นด้วย ถือว่าเป็นหัวใจของกระทรวง เพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพดี ถ้าประชาชนสุขภาพดีก็จะลดภารค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพลง เป็นเรื่องดีที่เราได้มาหารือร่วมกัน และอยากให้มีการประชุมร่วมกันเช่นนี้อย่างน้อย 1 - 2 เดือนครั้ง แต่ในระยะแรก ๆ นั้น ขอให้เป็นเดือนละครั้ง
       

ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 สิงหาคม 2558