ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.เสนอแนวทางการใช้ Rapid Antigen Test สำหรับสถานการณ์ที่มีการติดเชื้อโควิด-19  (อ่าน 361 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยได้มีมติการกำหนดแนวทางการใช้การตรวจหาแอนติเจนโดยใช้ชุดตรวจ Rapid Antigen Test สำหรับสถานการณ์ที่มีการติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชนวงกว้าง

วันนี้ (8 ก.ค.) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อด้วยวิธีมาตรฐาน คือวิธี RT-PCR (Real – time Reverse Transcription Polymerase Chain Reaction) แต่ละรอบใช้เวลา 3-5 ชั่วโมง โดยทั่วไปสามารถออกผลได้ภายใน 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณจำนวนสิ่งส่งตรวจ จำนวนบุคลากรและเครื่องตรวจ ขณะนี้มีเครือข่ายห้องปฏิบัติการ 335 แห่งที่ได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่ในบางพื้นที่ บางช่วงเวลา ยังพบว่ามีผู้รอคิวเข้ารับการตรวจจำนวนมาก หรือไม่สามารถเข้าถึงบริการการตรวจด้วยวิธี RT-PCR ได้ ดังนั้นคณะกรรมการตามระบบบัญชาการเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Emergency Operation Center: EOC) กระทรวงสาธารณสุขได้มีมติให้มีการกำหนดแนวทางการใช้การตรวจหาแอนติเจนโดยใช้ชุดตรวจ Rapid Antigen Test ดังนี้

1. ชุดตรวจที่ใช้ต้องผ่านการประเมินและขึ้นทะเบียนแล้วกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
2. ชุดตรวจ Rapid Antigen Test ใช้โดยสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนที่ผ่านการรับรองทางห้องปฏิบัติการเครือข่ายตรวจ SARS-CoV-2 โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
3. ตัวอย่างที่ใช้ตรวจเก็บจากการแหย่จมูกตามที่ชุดตรวจกำหนด
4. ผู้ป่วยที่มีอาการให้มีการพิจารณาการตรวจด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR ก่อน
5. กรณีที่มีผู้ป่วยจำนวนมากให้ใช้ชุดตรวจ Rapid Antigen Test ถ้าให้ผลบวกให้ตรวจยืนยันด้วย RT-PCR
6. ผู้สงสัยแต่ไม่มีอาการให้ตรวจคัดกรองด้วยชุดตรวจ Rapid Antigen Test

นพ.ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแนวทางการใช้ชุดตรวจ Antigen test แบบ Home use หรือชุดทดสอบด้วยตนเอง (Self test) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำลังพิจารณาแนวทางการดำเนินการโดยเร็ว เพื่อให้การดำเนินการ มีความเหมาะสม ปฏิบัติได้จริง เกิดประโยชน์ และมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด นอกจากนี้กำลังพิจารณาการเพิ่มการเข้าถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ร่วมกับการใช้วิธีอื่นๆ เช่น การตรวจน้ำลาย, การตรวจแบบรวมตัวอย่าง (Pooled Samples) เป็นต้น

8 ก.ค. 2564  ผู้จัดการออนไลน์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 วันนี้พบการติดเชื้อสูงถึงระดับ 7,058 ราย สะสมเกือบ 2.8 แสนราย เสียชีวิต 75 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และมีการแพร่ระบาดในต่างจังหวัดตามลำดับ เป็นตัวเลขที่ค่อยๆ สะสมและเพิ่มแสดงถึงการติดเชื้อที่มากขึ้น มีประชาชนรอตรวจหาเชื้อโควิดจำนวนมาก ที่โรงพยาบาลบุษราคัม มีผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลในรอบสองวันนี้กว่า 1,000 คน ถือว่าจำนวนค่อนข้างมาก เตียง ICU ก็มีแนวโน้มจะใช้มากขึ้น รวมถึงสีเขียวต้องใช้มากขึ้น ผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขประสบภาวะเหนื่อยล้า จึงต้องพยายามหามาตรการในการทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปกป้องกันโรค

ดังนั้น ที่ประชุม EOC จึงมีมติให้ใช้ชุดตรวจ Rapid Antigen Test ซึ่งเป็นชุดตรวจอย่างง่าย มีหลายการตรวจ ซึ่งมาตรการนี้ให้ทำทันที แต่ให้ทำในสถานพยาบาลที่ขึ้นไว้เท่านั้น และมีเตียงรองรับ หากให้ผลเป็นลบก็กลับบ้าน แต่หากให้ผลบวก หรือแพทย์มีความสงสัย ก็จะมีการตรวจซ้ำ RT-PCR เมื่อยืนยันผลเป็นบวกให้เข้าสู่ระบบการดูแลรักษาต่อไป สำหรับในอนาคตอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ใช้ชุดตรวจ rapid antigen test ที่บ้านได้ แต่ย้ำว่าตอนนี้ยังไม่ได้ดำเนินการในส่วนนี้

ทั้งนี้ มาตรการในข้อ 1 ต้องทำร่วมกับมาตรการดูแลตัวเองที่บ้าน (Home Isolation) และการดูแลตัวเองในชุมชน (Community Isolation) โดยมีการจัดระบบการแพทย์เข้าไปดูแล มีการส่งเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และปรอทวัดไข้ และมีระบบการติดตามอาการ หากอาการสีเหลืองให้เข้ารักษาในโรงพยาบาลต่อไป ในส่วนของผู้ป่วยอาการสีเขียวก็จะมีการปรับลดเกณฑ์การดูแลตัวเองที่บ้านจากเดิมที่ต้องอยู่บ้านคนเดียว ก็ให้อยู่เป็นครอบครัวได้ เป็นต้น นอกจากนี้ จะใช้กับผู้ป่วยที่แอดมิทในโรงพยาบาลตั้งแต่ 10 วันแล้ว หรือสั้นกว่านั้น ให้กับมาทำมาตรการดูแลตัวเองที่บ้านและชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อไป

นอกจากนี้ มาตรการส่วนบุคคล ทั้งสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง ต้องทำอย่างเข้มข้น เรียกว่าบับเบิลแอนด์ซีลตัวเอง ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ขอให้งดรับประทานอาหารร่วมกัน เพราะสามารถแพร่ะระบาดได้ ขอให้ต่างคนต่างรับประทานสักระยะหนึ่งและอยากให้มีการเน้นการทำงานที่บ้าน (Work from home) ให้มากขึ้นเพื่อลดการแพร่ระบาดเชื้อต่อไป

การฉีดวัคซีนในพื้นที่เสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงคือผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 7 กลุ่มโรค ต้องใช้วัคซีน 80% ของที่มีฉีดให้กลุ่มนี้เพื่อลดอัตราการป่วยหนักและเสียชีวิต โดย 1–2 สัปดาห์ต้องฉีดให้ได้มากกว่า 1 ล้านโดส โดยกระทรวงจะระดมบุคลากรมาช่วยฉีด

ทั้งนี้ การดำเนินการมาตรการดังกล่าว 2 สัปดาห์ หรือ 14 วันในระยะฟักตัวของโรค ร่วมกับมาตรการฉีดวัคซีน และความร่วมมือของพี่น้องประชาชนก็จะลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงได้

8 ก.ค. 2564  ผู้จัดการออนไลน์