ผู้เขียน หัวข้อ: ชนชั้นสูงสุดปวดใจ พบดิกชันเนรีแปล Siameseว่าคนจำพวกหนึ่งมีสีเนื้อดำคล้ำขี้เกียจ  (อ่าน 302 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9779
    • ดูรายละเอียด
ที่มา   สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น
ผู้เขียน   หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล
เผยแพร่   วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2564

การดูนิสัยแม้เพียงบุคคลเดียวก็จะต้องเสียเวลาดูให้เที่ยงธรรมอยู่นาน ฉะนั้นยิ่งเราดูนิสัยของคนชาติหนึ่งหรือหมู่หนึ่งแล้ว เราก็จะต้องดูให้ทั่วถึงจากคนทุกพวกทุกชั้น ก่อนที่จะตัดสินชี้ขาดว่าคนชาตินั้น ๆ เป็นคนชนิดไร เพราะถ้าเราจะตัดสินด้วยใจเราชอบเราเกลียดเพียงจำนวน 2-3 คนที่เราได้พบเห็นนั้น ไม่ยุติธรรมเลย

อีกประการหนึ่ง เราจะต้องเข้าใจว่าความคุ้นเคยเกี่ยวข้องจนชินไปขณะหนึ่งก็ดี การฟุ้งไปตามสมัยนิยมชั่วครูชั่วยามก็ดี ไม่ควรเรียกว่านิสัยของชาติ เพราะเป็นไปตามเหตุการณ์ หาใช่เกิดขึ้นในเลือดเนื้อเองไม่

ในดิกชันเนรีเล่มหนึ่งแปลคำ Siamese ไว้ว่า “คนจำพวกหนึ่งที่มีสีเนื้อดำคล้ำและขี้เกียจ”

ในเรื่องสีสันวรรณะนั้นย่อมเป็นไปตามดินฟ้าอากาศ สีที่จริงของไทยคือ สีนวล เพราะบ้านเดิมอยู่ทางเหนือ พวกเชียงใหม่เขาล้อพวกใต้เสมอว่าสีของเขาไทยแท้ พวกชาวใต้เช่น กรุงเทพฯ ปะปนกับแขกและมอญจนคล้ำไปเสียแล้ว

ส่วนคำว่าขี้เกียจนั้นน่าเจ็บใจว่าเป็นความจริงดังนั้น เพราะแม้จะมีคนขยันอยู่ไม่น้อย แต่ส่วนมากก็ขี้เกียจ ทั้งนี้เป็นเพราะเรามีคนน้อยกว่าพื้นที่ดินอันอุดม

ราชทูตคนหนึ่งที่เข้ามาอยู่เมืองไทยได้ใหม่ ๆ และวันหนึ่งขึ้นไปเที่ยว picnic ที่อยุธยา เมื่อดูพระนครเก่าทั่วแล้วก็ล่องเรือไฟกลับมาพระนครกรุงเทพฯ ทางลำแม่น้ำ รุ่งขึ้นก็มาแสดงความขอบใจในการรับรองที่กระทรวงมหาดไทย เสด็จพ่อจึงตรัสปฏิสันถารด้วยว่า “ท่านเห็นเมืองไทยเป็นอย่างไรบ้าง?” ราชทูตผู้นั้นตอบว่า “ข้าพเจ้าเสียใจมากที่จะต้องทูลตอบว่า เมืองไทยจะเจริญได้อีกไม่นาน”

เสด็จพ่อตกพระทัยตรัสถามว่า “ทำไมเล่าท่าน?” ราชทูตนั้นตอบว่า “เมื่อข้าพเจ้าล่องเรือผ่านมาตามลำน้ำ ได้เห็นคนนุ่งผ้าข้าวม้าผืนเล็กนิดเดียว นอนหลับสบายท่าทางเป็นสุขอยู่บนท่าน้ำของวัด บางคนก็กำลังจับปลาแล้วอาบน้ำเป็นสุข มองไปดูทางไร่นาก็เขียวชอุ่มด้วยดินอุดม ใครเล่าท่านจะยินดีทำงานเมื่อเขาสบายพอแล้ว” เสด็จพ่อตรัสว่า ทำเอาเราไม่มีคำจะตอบ

อ้างอิง

“นิสัยของคนไทย”. จากหนังสือ “สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น”. โดย หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล. สำนักพิมพ์มติชน. 2551

เผยแพร่เนื้อหาในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2561
https://www.silpa-mag.com/history/article_20429