ผู้เขียน หัวข้อ: ความไม่เข้าใจในระบบการแพทย์ปัจจุบันของคนไทยยุคใหม่ จะนำความหายนะมาสู่สังคมไทย  (อ่าน 1709 ครั้ง)

knife05

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 60
    • ดูรายละเอียด
        ในอดีตอันยาวนานคนไทยรักษาตนเองด้วย สมุนไพรและแพทย์แผนไทยที่สืบทอดมานับพันปี ระบบการแพทย์ปัจจุบันได้เกิดขึ้นในประเทศไทยพร้อม กับการตั้งโรงพยาบาลศิริราช หลังการสิ้นพระชนม์ของ สมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ฯ ตั้งแต่ พ.ศ.2431 ต่อมา จึงเกิดโรงเรียนแพทย์ที่เรียกว่า “ราชแพทยาลัย” ผลิต แพทย์ตามวิชาการแพทย์สมัยใหม่และมีแพทย์จบ  ประกาศนียบัตรรุ่นแรกเมื่อ พ.ศ.2436 ต่อมาจนถึงปี 2470 จึงเปลี่ยนเป็นผลิตแพทย์ปริญญาเป็นรุ่น 34  โดยได้รับความสนับสนุนจาก มูลนิธิรอคกี้เฟลเลอร์ ถือ ได้ว่าการแพทย์สมัยใหม่มีอายุเพียง 100 ปี แต่การ  แพทย์ปัจจุบันของเมืองไทยได้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพราะได้ส่งอาจารย์แพทย์สาขาต่างๆไปศึกษาเพิ่มเติม ต่างประเทศทั้งที่อังกฤษ เยอรมัน อเมริกา แคนาดา  จนถึงญี่ปุ่น ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อเมริกา ขาดแคลนแพทย์มาก แพทย์ไทยได้รับทุนหรือไปโดยทุน ส่วนตัวไปใช้เวลาประมาณ 5 ปี จบการศึกษาระดับ สูงเป็นจำนวนมากและได้ไปศึกษาต่างประเทศกลับมา ปฏิบัติงานในเมืองไทยทั้งในโรงเรียนแพทย์ต่างๆที่ เพิ่มขึ้นหลายแห่ง เช่น จุฬา เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น ได้นำเครื่องมือแพทย์ วิธีการตรวจรักษาใหม่ๆจากต่าง ประเทศมาใช้โดยแพร่หลาย มีการศึกษาวิจัยโรคต่างๆ มากมาย

        ระบบการให้การรักษาพยาบาลเริ่มด้วยการ ให้การรักษาฟรีทั้งหมด เพราะในระยะต้น คนไทยยัง ไม่แน่ใจในระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน จนต่อมาผู้มีการศึกษาและมีฐานะเริ่มเข้ามารักษามากขึ้น เริ่มจัด เป็นผู้ป่วยพิเศษมีห้องอยู่ ชำระเงินบางส่วน ต่อไป  จึงแบ่งเป็นคนไข้อนาถาไม่ต้องจ่าย คนไข้พิเศษจ่ายเงิน นอกจากนี้ คนไทยทั่วไปรู้จักการแพทย์ปัจจุบันผ่านแพทย์เชลยศักดิ์ที่ออกไปตั้งคลินิคต่างๆทั่วประเทศ คนไทยนิยมและเชื่อถือในระบบการแพทย์ปัจจุบันมากขึ้น มีโรงพยาบาลของรัฐเพิ่มมากขึ้น ต่อมามีโรงพยาบาล เอกชนที่รักษาทุกโรคที่เป็นขององค์กรศาสนาต่าง  ประเทศ เช่น กรุงเทพคริสเตียน เซนต์หลุยส์ Nursing Home และมิชชั่น และมีในต่างจังหวัดบางแห่งด้วย เช่น เชียงใหม่ แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของคนไข้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีเศรษฐฐานะ จึงเริ่มมี โรงพยาบาลเอกชนที่รักษาเฉพาะโรคใดโรคหนึ่งขึ้น ในกรุงเทพฯ เช่น รับคลอดบุตรและโรคเฉพาะสตรี โรงพยาบาลโรคตา หู คอ จมูก บางโรงพยาบาลรับ เฉพาะศัลยกรรม และในต่างจังหวัดบางแห่งมี โรงพยาบาลเอกชนรักษาทุกโรค เมื่อความต้องการ มีมากขึ้น โรงพยาบาลรัฐไม่เพียงพอและให้ความ สะดวกแก่ผู้มีฐานะดีพอสมควรไม่ได้โดยเฉพาะ ในกรุงเทพฯ จึงเกิดโรงพยาบาลเอกชนรักษาทุกโรค (General Hospital) ขึ้นเป็นครั้งแรกคือ โรงพยาบาล วิชัยยุทธ เมื่อ พ.ศ.2512 และติดตามมาอีกหลายแห่ง จนบัดนี้มีโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพฯและเกือบทุก จังหวัดทั่วประเทศ ทำให้มีการกระจายของแพทย์เฉพาะ ทางต่างๆออกไปและดึงแพทย์ที่ไปอบรมต่างประเทศ แล้วกลับมาทำงานในประเทศไทยมากขึ้น คนไทยได้รับการรักษาทางแพทย์ที่มีมาตรฐานสูงขึ้นมากอย่างรวดเร็ว ทำให้มาตรฐานของการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลขนาด ใหญ่ทั้งของทางราชการและเอกชนจำนวนหนึ่งอยู่ใน ระดับเดียวกับต่างประเทศ จนถึงขนาดที่โรงพยาบาล เอกชนหลายแห่งมุ่งไปให้บริการคนไข้ที่มาจาก ต่างประเทศที่เรียกว่า มุ่งสร้าง Medical Hub แต่ในช่วง นี้นอกจากการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแล้ว ปีที่ผ่านไปยังได้นำเข้าระบบโลกาภิวัตน์ทางการแพทย์ คือ ระบบการฟ้องร้องโรงพยาบาลและฟ้องแพทย์จากการปฏิบัติ ของสังคมต่างประเทศ โดยเฉพาะในอเมริกาเข้ามาสู่สังคม ไทยด้วย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการนำเอาความสิ้นเปลือง ความย่อยยับมาสู่ระบบการแพทย์ไทยด้วย โดยคนไทย ยุคใหม่หาได้ตระหนักถึงผลเสียที่รุนแรงนี้ มุ่งแต่การทำ ตามสังคมอื่นและตามใจตัวเองตามที่ลักษณะคนไทย ในสังคมยุคใหม่ที่มองตัวเองเป็นใหญ่ ผลประโยชน์ของ คนอื่นไม่สนใจ ขอให้ตัวเองได้ประโยชน์  ไม่มีการให้ อภัย ไม่มีความเอื้ออารี ไม่มีเมตตา ไม่รู้จักธรรมะของ “อนิจจัง” ของ “กรรม” ทำตนเป็นผู้สร้างกรรมแบบ “ตัวกูของกู” หารู้ไม่ว่าสิ่งนี้จะมีผลร้ายสะท้อนกลับมาถึง ตนเองและลูกหลานของตนเองในอนาคตอันใกล้
.............................................................

 สิ่งที่คนไทยยุคใหม่ไม่เข้าใจหรือจะเรียกว่าเข้าใจ ผิดในระบบการแพทย์ยุคใหม่มีอยู่หลายประการ

         ประการแรก คนไทยยุคใหม่เข้าใจว่า ตามระบบ การแพทย์สมัยใหม่แพทย์จะสามารถวินิจฉัยและรักษาโรคได้ ถูกต้องเสมอไม่มีความผิดพลาดเลย ไม่ว่าจะมีเวลาพบ คนไข้เพียง 1-3 นาที ซักประวัติได้ไม่กี่ประโยคและ ตรวจร่างกายได้เพียงบางส่วนก็ต้องให้การรักษาแล้ว อย่างที่แพทย์ตามโรงพยาบาลต่างจังหวัดและโรงพยาบาล ในระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคทำกันอยู่ ซึ่งไม่มีแพทย์ที่ ใดในโลกนี้จะทำได้ แต่เหตุการณ์บังคับให้ต้องทำเช่นนี้ คนก็คาดหวังให้เป็นหมอเทวดา วินิจฉัยโรคได้ถูก รักษาได้ถูก ซึ่งแม้แพทย์ที่เคยมีประสบการณ์ดูแลคนไข้ มาหลายๆปีแล้วก็ตาม ถ้าพบคนไข้ใหม่ที่ไม่เคยตรวจ รักษามาก่อนจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมงต่อ 1 ราย ในการซักถามอาการของโรคที่ผู้ป่วยเป็น ตรวจ  ร่างกายโดยละเอียด แพทย์ที่ได้รักษาคนไข้มานาน เคยพบโรคต่างๆโดยตนเองย่อมมีความชำนาญในการวินิจฉัยมากกว่าแพทย์ที่เพิ่งจบไม่กี่ปี แต่แพทย์จบใหม่ เหล่านี้ต้องไปทำงานในสถานการณ์ที่ไม่อำนวย ต้องดู คนไข้ที่มาหาให้หมดทุกคนจึงต้องเฉลี่ยให้คนละ 2-3 นาที เพราะบางแห่งมีแพทย์เพียง  2-3 คนเท่านั้น จึงไม่มีทางที่จะทำให้คนไข้พอใจได้

         ประการที่สอง หลังจากการซักประวัติตรวจ ร่างกายแล้วคนไข้ส่วนใหญ่ยังอาจต้องได้รับการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ เช่น
ตรวจเลือดหลายอย่าง ตรวจปัสสาวะ หรืออุจจาระไปจนถึงการเพาะเชื้อถ้าสามารถหาได้ รวม ทั้งการตรวจทางเอกซเรย์ที่จำเป็นก่อนจึงจะสามารถ ให้การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง หรือเพียงใกล้เคียงได้เท่านั้น อาจต้องตรวจสอบเพิ่มเติม ซึ่งการตรวจต่อไปๆมักจะ มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น เสียเวลามากขึ้น ยิ่งทำความไม่พอใจ ให้แก่คนไข้ยุคใหม่มากขึ้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้แพทย์ ต้องทำงานในระบบ 30 บาทที่ใช้เวลาคนไข้คนละไม่เกิน 3 นาทีและขาดห้องปฏิบัติการที่ดีหรือเอกซเรย์ที่ดีเช่น ที่เป็นอยู่ในโรงพยาบาลเล็กๆทั่วประเทศที่จะวินิจฉัย และรักษาโรคใดถูกต้องตามความต้องการของสังคม

        ประการที่สาม บ่อยครั้งการตรวจทางห้องปฏิบัติ การแล้วก็ยังไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ จำเป็นต้อง ติดตามอาการของคนไข้ต่อไปสักระยะ โดยอาจใช้ยาเพื่อตัดโรคบางอย่างออก เช่น ไอมา 1 เดือนเอกซเรย์มี ปอดอักเสบหย่อมเล็กๆ อาจเป็นโรคติดเชื้อได้ตั้งหลาย อย่าง เช่น เชื้อมัยโคพลาสมา เชื้อสเตรพโตคอคคัส เชื้อไวรัสบางชนิด เชื้อราบางตัวที่ขณะนี้กำลังพบมาก    ได้แก่ คริพโตคอคคัส ไปจนถึงเชื้อที่พบบ่อย เช่น วัณโรค หรือเชื้อจากดินเมลิออยโดซิส แม้จนกระทั่งเป็นโรค เอดส์ที่มีโรคแทรกที่ปอด ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการตรวจสอบ บอกตัวใดตัวหนึ่งได้เลย ต้องเลือกรักษา เลือกตรวจหา ตัวที่สงสัย เป็นต้น กว่าจะรู้ผลใช้เวลาเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน แพทย์ต้องเลือกรักษาไปก่อน โชคดีอาจ  ถูกเชื้อก็หาย ถ้าไม่หายก็เปลี่ยนยา ชาวบ้านมักเรียกว่า “เป็นหนูลองยา” ถ้าไม่รักษาเลยรอให้รู้เชื้อ คนไข้ไม่ดีขึ้น หมอก็ถูกว่า “รักษาไม่เป็น” ถ้าโรคเป็นหนักๆหมออาจ ต้องใช้ยาหลายตัวพร้อมกัน เสียค่ายามาก หมอถูกว่า “มั่ว” โรคหนักอาจถึงคนไข้เสียชีวิตหมอถูกฟ้องอีกว่า “รักษา ผิดคนไข้ตาย” ทั้งนี้เป็นเพราะคนในสังคมไม่เข้าใจเรื่อง ของโรคการวินิจฉัยและการรักษาโรค

        ประการที่สี่ ในการวินิจฉัยโรคมีหลายอย่าง อัน แรกเรียกว่าการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น (Presumptive Diagnosis) ซึ่งได้จากข้อมูลทุกอย่างในขณะนั้น ต่อมา เมื่อสามารถตรวจพบโรคหรือพยาธิสภาพหรือเชื้อโรค ที่ชัดเจนแล้วจึงเป็นการวินิจฉัยแน่นอน (Definitive Diagnosis) ส่วนมากต้องทดสอบเพิ่มเติม เช่น กลืนหรือ สวนแป้งเอกซเรย์ ตรวจถุงน้ำดีโดยการเอกซเรย์หรือทำ โซโนแกรม (อุลตร้าซาวด์) ดูอวัยวะในช่องท้องไปจน  ถึงการตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์สแกน ซึ่งอาจต้อง ฉีดสารไอโอไดด์ที่เราเรียกว่า “ฉีดสี”  เพื่อให้เห็นการ เปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่างๆรวมทั้งเส้นเลือดต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น  ไปจนถึงการทำคลื่นแม่เหล็กตรวจซึ่ง ต้องใช้สารฉีดเช่นเดียวกัน และพัฒนาการที่ใหม่ที่สุด ใช้ในการตรวจมะเร็งระยะต้นหรืออวัยวะที่แพร่กระจาย โดยการฉีดสารไอโซโทปให้ไปจับทั่วร่างกายและตรวจ สอบเรียกว่า Pet scan ซึ่งภาษาไทยคงเป็น “เพชร ล้ำค่าจริงๆ” เพราะค่าตรวจครั้งหนึ่งประมาณแปดหมื่น ถึงหนึ่งแสนบาท และการตรวจทุกชนิดผลการตรวจต้อง อาศัยความชำนาญของแพทย์ผู้อ่านแปลผลเป็นสำคัญ ซึ่งก็อาจไม่ตรงต่อโรคที่เป็น สรุปได้ว่าการทดสอบต่างๆไม่ว่าจะมีค่าใช้จ่ายสูงเพียงใดก็ไม่แน่นอนทั้งหมด จำเป็นที่แพทย์ต้องนำไปพิจารณาร่วมกับข้อมูลอื่นๆ
................................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2013, 22:40:26 โดย knife05 »

knife05

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 60
    • ดูรายละเอียด
          ประการที่ห้า ระบบการรักษาโรคที่คนไข้และ ญาติมิตรจะต้องปรับความเข้าใจหลายอย่าง ได้แก่ ทางการแพทย์แบ่งวิธีการรักษาเป็น การรักษาเบื้องต้น (Presumptive Treatment) ซึ่งอาจเป็นการรักษาตาม อาการ (Symptomatic Treatment) เช่น ปวดหัวเป็นไข้ให้ ยาลดไข้ก่อน ปวดท้องให้ยาลดการปวดท้อง เพราะเรา วินิจฉัยโรคแน่นอนยังไม่ได้หรือเป็นโรคที่ไม่มียารักษา จึงต้องรักษาตามอาการ เช่น ไข้เลือดออก หรือโรคจาก ไวรัสบางตัว แต่เมื่อรู้สาเหตุแน่นอนแล้วจึงให้ การรักษา เด็ดขาด (Definitive Treatment) เช่น เป็นไข้ไทฟอยด์ ให้ยาปฏิชีวนะที่ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ได้ดี การรักษาบางครั้ง เป็นการรักษารีบด่วน (Emergency Treatment) สุดแต่ อาการคนไข้ที่มาหา ถ้าอาการหนักมาก เช่น หายใจ ไม่ทันต้องให้ออกซิเจนหรือใส่ท่อหายใจ หัวใจหยุด ใช้เครื่องนวดหัวใจร่วมกับการนวดหัวใจด้วยมือ เพื่อช่วยชีวิต ช็อคความดันตกต่ำกว่าปกติต้องฉีดยากระตุ้นหัวใจเพิ่มความดัน ให้น้ำเกลือหรือสารละลาย อื่นๆเข้าเส้น เมื่อสภาพคนไข้ดีขึ้นจึงพยายามหาต้น เหตุและให้การรักษาต่อไป ซึ่งการรักษาอาจไม่ได้ ผลเพราะโรคเป็นมากเกินแก้หรือคนไข้มาสายเกินไป พบแพทย์ในระยะสุดท้ายแล้วหรือโรคบางอย่างรักษา อย่างใดก็ช่วยไม่ได้ โรคบางชนิดมีอัตราตาย (Fatality หรือ Mortality Rate) เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ บางโรค 10-50 เปอร์เซ็นต์ บางโรคไม่มีอัตราเสียชีวิตเลย บางโรค หายแล้วหายเด็ดขาด (Cure) บางโรคหายแล้วกลับ เป็นได้ใหม่ (Recurring หรือ Relapsing) บางโรคหาย แล้วยังมีภาวะผิดปกติเหลืออยู่ เช่น เส้นเลือดสมองแตก ถ้าไม่ตายอาจเป็นอัมพฤกษ์หรือเคลื่อนไหวได้บ้าง หรืออัมพาตคืออวัยวะนั้นๆเคลื่อนไหวไม่ได้เลย ไวรัส  ?”เริม” เข้าเส้นประสาทที่หน้าทำให้หน้าซีกหนึ่งเบี้ยว บางโรคหายแล้วเหลือแผลเป็นอยู่ เช่น วัณโรคปอด หรือแผลในปอด โรคผิวหนังหลายอย่างเช่น คุดทะราด หรือแผลเป็นหรือนิ้วกุด หูแหว่งจมูกโหว่ นอกจากนี้ วิธีรักษาโรคแต่ละโรคมีหลายวิธี ยาที่ใช้มีหลายตัว สุดแต่สภาพของคนไข้ เศรษฐฐานะของคนไข้ และความ ชำนาญของแพทย์ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าถ้าไม่ได้รักษา ตามวิธีที่คนไข้รู้หรือต้องการแล้วจะผิด นอกจากนี้ เราควรจะเข้าใจถึงธรรมชาติของการเจ็บป่วย ที่ท่าน บอกว่า “โรคบางชนิดรักษาก็ตายไม่รักษาก็ตาย บาง ชนิดรักษาก็หายไม่รักษาก็หาย บางชนิดไม่รักษาก็ตาย รักษาก็หาย” จึงเป็นธรรมชาติหรือสัจธรรมของความ ป่วยเจ็บที่สังคมใหม่ต้องเข้าใจ วิทยาศาสตร์ไม่สามารถ แก้ไขควบคุมทุกอย่างที่เป็นธรรมชาติได้

        โรคบางอย่างคนทั่วไปเข้าใจผิดคิดว่าเป็น โรคง่ายๆ วินิจฉัยง่าย รักษาง่าย ที่เป็นปัญหาบ่อยๆคือ “ไส้ติ่งอักเสบ” เป็นความจริงที่ว่าในบางรายโรคไส้ติ่ง วินิจฉัยง่ายเพราะอาการปวดท้องด้านขวาล่างชัดเจน มีไข้ คนไข้ยังรู้เองว่าน่าจะเป็นไส้ติ่ง แต่ไม่เสมอไป ความจริงศัลยแพทย์และแพทย์ทางระบบโรคทางเดิน อาหารกลับคิดว่า โรคไส้ติ่งอักเสบเป็นโรคที่วินิจฉัยยากที่สุด โรคหนึ่งในช่องท้อง จากสถิติในต่างประเทศผ่าตัดโดย ไส้ติ่งไม่อักเสบจำนวนมาก คนไข้อาจมาหาแพทย์ด้วย อาการท้องเสียอาเจียนก็ได้ มาด้วยปวดท้องท้องเสียก็ได้ ปวดท้องท้องผูกก็ได้ มาด้วยอาการไข้ท้องอืดก็ได้ การตรวจบางครั้งกดท้องด้านขวาล่างไม่เจ็บเลย บางคน ต้องใช้นิ้วใส่ถุงมือล้วงทางทวารหนักอาจเจ็บบ้าง เพราะ ไส้ติ่งบางรายชี้ไปด้านล่างหรืออยู่หลังลำไส้ใหญ่ทำ ให้กดไม่เจ็บ ส่วนใหญ่ตรวจเม็ดเลือดขาวขึ้นสูงเกินหมื่น แต่บางรายได้ไม่กี่พันตัวทั้งๆที่จะแตกแล้ว จนในปัจจุบัน นี้ก่อนจะวินิจฉัยการผ่าตัดไส้ติ่งถ้าทำได้อย่างน้อยจะต้อง ทำอุลตร้าซาวด์ดูก่อน ถ้าผลไม่ชัดอาจต้องทำคอม- พิวเตอร์สแกน เพราะถ้าเป็นโรคอื่นแพทย์ผ่าตัดเข้าไป ไส้ติ่งปกติก็จะถูกตำหนิจนถึงถูกฟ้องร้อง และทุกราย ต้องส่งตรวจพยาธิสภาพว่าอักเสบจริงเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก บางรายผ่าไปเป็นโรคของลำไส้เล็กต้องตัดลำไส้ขยาย แผลผ่าตัด บางรายเป็นโรคลำไส้ใหญ่ตอนต้นต้อง ผ่าตัดใหญ่ บางรายไม่พบอะไรต้องเย็บปิด กลายเป็น นิ่วของสายไตไป ถ้าในสตรีอาจเป็นปีกมดลูกอักเสบ เพราะอยู่ใกล้กัน บางรายท้องนอกมดลูก บางรายผ่า  เข้าไปปรากฏว่าไส้ติ่งแตกแล้วทั้งๆที่เพิ่งวินิจฉัยได้แน่ และเป็นเพียง 2-3 วัน ทำให้ต้องรักษาใช้ยาฆ่าเชื้อมาก และอยู่โรงพยาบาลนาน และอาจมีภาวะแทรกซ้อน ต่างๆจนถึงชีวิตได้ ก็ถูกฟ้องอีกว่าละเลยจนไส้ติ่งแตก เท่าที่ทราบคำฟ้องร้องที่ถูกส่งไปยังราชวิทยาลัยศัลย- แพทย์ช่วยพิจารณามีถึงปีละ 19 ราย เรื่องนี้จึงเป็นเพียง เรื่องตัวอย่างให้ผู้อ่านเข้าใจว่าโรคที่คนทั่วไปคิดว่าง่ายมัน ไม่ได้ง่ายอย่างที่คนคิด
..............................................................................

          ประการที่หก วิธีการตรวจสอบทางการแพทย์และ การรักษาไม่ได้มีความปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างที่คน ทั่วไปคิด เพราะการตรวจทุกชนิดนับตั้งแต่การเจาะน้ำ จากปอด อาจเลือดออกหรือมีลมรั่ว เจาะหนองจากตับ อาจเลือดออกมาก มาส่องกล้องกระเพาะอาหารหรือ ลำไส้มีโอกาสทะลุได้ เพราะลักษณะกระเพาะลำไส้ ที่ไม่ปกติอาจเคยอักเสบมีพังผืดยึดทำให้เวลาเป่าลม ไม่ขยาย เช่นเดียวกับการเจาะรูส่องกล้องช่องท้อง เพื่อตัดไส้ติ่งหรือถุงน้ำดีก็เช่นกัน มีประโยชน์ที่แผล เล็กหายเร็วอยู่โรงพยาบาลน้อยวัน แต่ก็อาจเกิดภาวะ แทรกซ้อนได้ แต่ก็มีความจำเป็นต้องทำเพื่อการ วินิจฉัยรักษาให้ถูกต้องเพื่อประโยชน์ของคนไข้เอง แม้การให้การรักษาด้วยยาธรรมดาใช่ว่าจะไม่เกิดภาวะ แทรกซ้อน คนใดคนหนึ่งอาจแพ้ยาได้ทุกตัว แต่เราต้องให้ เพราะหวังประโยชน์ ในอดีตที่เพิ่งมียาเพนิซิลลินเข้ามากับสเตรพโตมัยซิน มีคนไข้ที่ฉีดเพนิซิลลินแล้วเกิด อาการแพ้รุนแรงที่เรียกว่า Anaphylactic shock หลังฉีดเพียงไม่กี่นาทีอาจมีอาการช็อค ความดันตก หายใจหอบ ผื่นขึ้น และเสียชีวิตได้ในเวลาอันสั้น ถ้า ให้การรักษาได้ทันการก็อาจช่วยชีวิตได้ เมื่อสมัยอดีต เคยมีแพทย์ถูกฟ้องร้องเพราะคนไข้เสียชีวิต แต่ทาง ผู้พิพากษาตัดสินว่าไม่ใช่ความผิดของแพทย์เป็นความ ผิดปกติของคนไข้เองที่แพ้ยารุนแรง ถ้าแพทย์จะได้ สอบถามประวัติก่อนว่า แพ้ยาตัวนี้หรือไม่ ถ้าไม่มีประวัติ ฉีดแล้วแพ้ยาแพทย์ไม่ผิด นอกจากนี้แพทย์ต้องมีเครื่อง ช่วยชีวิตพร้อม เช่น ยาฉีดแอดรีนาลิน ออกซิเจนช่วย การหายใจ เป็นต้น แต่ในปัจจุบันแม้แพ้ยารุนแรงเป็น สตีเวน จอห์นสัน ซินโดรมก็มี ถึงไม่ตายก็มีการฟ้องร้อง กันเป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งถ้าคนยุคใหม่ต้องการเช่นนี้ แพทย์จะทำได้อย่างเดียวคือ ไม่ว่าจะใช้ยาอะไรต้อง ให้คนไข้เซ็นอนุญาตให้แพทย์ใช้ได้

        ภาวะแทรกซ้อนในการตรวจและการรักษา อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ทางแพทย์มีมาตรฐานการยอมรับว่า มีประมาณกี่เปอร์เซ็นต์เป็นค่าปกติ ถ้าใครทำแล้วพบอัตรา สูงกว่านั้นต้องมีการปรับปรุงแก้ไข อย่างการตรวจ คอมพิวเตอร์เอกซเรย์ของอวัยวะภายในจำเป็นต้องฉีด สีพวกไอโอไดด์เข้าเส้นด้วยจึงจะ เห็นอวัยวะภายในและ ระบบเส้นเลือด ซึ่งมีอัตราการแพ้สีในประชากรทั่วไป ประมาณ 2 รายต่อหมื่นครั้ง ในคนที่ไม่เคยแพ้ซึ่ง การแพ้อาจรุนแรงถึงชีวิตได้ในเวลาอันสั้น แต่ถ้าได้ ตรวจก็ไม่รู้โรค ไม่รู้วิธีรักษา นอกจากการซักประวัติ เรื่องการแพ้อาหารทะเล ถ้าแพ้ไม่จำเป็นจริงๆเราไม่ทำ หรือต้องให้ยาป้องกันการแพ้ไว้ก่อนและเตรียมการ ช่วยเหลือทันทีที่เกิดอาการแพ้ขึ้น และการแพ้มักรุนแรง เพราะต้องฉีดสารเข้าเส้น  นานๆครั้งเราอาจช่วยชีวิตเขาไม่ได้ ส่วนหนึ่งเพราะสภาพโรคของคนไข้ ร้ายแรงอยู่แล้ว

        การตรวจรักษาสมัยใหม่ที่สะดวกแก่คนไข้ ใช้เวลาอยู่โรงพยาบาลน้อยลง เช่น การผ่าถุงน้ำดีโดย ใช้วิธีส่องกล้อง การส่องกล้องตรวจหลอดลม ปอด กระเพาะลำไส้ใหญ่ กระเพาะปัสสาวะ ล้วนแต่อาจเกิด ภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งนั้น คนไข้และญาติมิตรจึงควร  เข้าใจและร่วมมือในการตรวจรักษาเพื่อประโยชน์ของทุกคนเอง สรุปคือคนไข้และญาติต้องเข้าใจว่าการ ตรวจการรักษาทุกอย่างอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งสิ้น มีอัตราเสี่ยงเท่ากับเราเดินข้ามถนนที่มีรถมาก บาง ครั้งเกิดเหตุสุดวิสัยที่ไม่มีฝ่ายใดอยากให้เกิด แต่ต้อง ทำเพื่อประโยชน์ของคนไข้ทุกคนเอง

        ประการที่เจ็ด สิ่งที่เหมือนการราดน้ำมันลงใน กองเพลิง คือ “ระบบการคิดค่ารักษาของแพทย์” ซึ่งแต่ เดิมเมื่อเป็นแพทย์แผนไทยมีแต่ค่า “ยกครู” และ ค่าสมุนไพร ต่อมาแพทย์ยุคต้นๆไปเยี่ยมรักษาคนไข้ ถึงบ้านมี “ค่าเปิดกระเป๋า” บ้าง ต่อมาเป็นคลินิคแพทย์ ที่ตั้งคลินิคจะไม่คิดค่ารักษา แต่จะรวมอยู่ในค่าฉีดยา (ซึ่งทำให้คนไข้ยุคก่อนถูกฉีดยาตามคลินิคเกือบทุกราย) และค่ายาที่แพทย์คิดกับคนไข้จะสูงกว่าราคายาที่ซื้อมา จากร้านขายยาเล็กน้อย แพทย์ที่ตั้งคลินิคหรือ โรงพยาบาลเอกชนจึงสามารถตั้งอยู่ได้

        ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แพทย์จบจาก ต่างประเทศมากขึ้น ได้นำเอาระบบ “ค่ารักษาของ แพทย์” (Professional Fee) เข้ามาใช้โดยคิดค่าแพทย์ แยกออกไปชัดเจนโดยมีอัตราแตกต่างกันตามแต่ แพทย์และตามแต่บริการที่แพทย์ให้ เช่น ทำคลอด ผ่าตัดฯ แรกๆอยู่ในอัตราอันควร แต่ต่อมาเมื่อระบบ นี้แพร่หลาย แพทย์บางคนหยิ่งในความรู้ความชำนาญ ของตน จึงขึ้นราคาสูงกว่าคนอื่น แพทย์คนอื่นๆกลัวว่า จะกลายเป็นแพทย์ชั้นสองร่วมกับกิเลสที่มีสูงอยาก รวยเร็วก็คิดตาม บางคนเอาอัตรารักษาของอเมริกา มาใช้โดยเปลี่ยนอัตราเป็นเงินบาท ซึ่งลืมนึกถึงความ แตกต่างของระบบว่าคนอเมริกันมีบริษัทอินชัวรันส์หรือ หน่วยของรัฐต่างๆเป็นผู้จ่าย แต่คนไทยเงินมาจาก กระเป๋าและเงินออมของคนไข้เองจึงมีความเดือดร้อน ทางแพทยสภาได้รู้เห็นปัญหานี้ พยายามจัดทำอัตราค่า รักษาพยาบาลที่เหมาะสมออกมา สิ่งนี้คือปัจจัยสำคัญอัน หนึ่งที่ทำให้สัมพันธภาพระหว่างคนไข้ไทยกับแพทย์เปลี่ยน ไปจนมีความรู้สึกเป็นอริกัน ใครพลาดจะเอาเป็นเอาตาย เรื่องนึ้จึงอยู่ที่วงการแพทย์ยุคใหม่จะพิจารณาแก้ไข กันเองว่าจะปล่อยไปตามสังคมอเมริกัน หรือแก้ไข ให้อยู่ใน “ความพอเพียง”
....................................................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มีนาคม 2013, 22:41:39 โดย knife05 »

knife05

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 60
    • ดูรายละเอียด
       ประการที่แปด คนไทยไม่เข้าใจระบบการทำงาน ของแพทย์ของโรงพยาบาล ทำให้เกิดความไม่พอใจเพราะไม่ตรงกับสิ่งที่ตนคิด เริ่มตั้งแต่เข้าไปเป็นคนไข้ ครั้งแรก ต้องทำบัตรของโรงพยาบาล ต้องถูกถาม เรื่องอาชีพ เรื่องรายละเอียดบางอย่าง ต้องขอดูบัตร ประจำตัวประชาชน ใครเป็นคนจ่ายเงินประกันฯ บริษัทฯ หรือตนเองก็หงุดหงิดแล้ว จะรู้ไปทำไม? ไม่มีบัตร? แต่โรงพยาบาลจำเป็นต้องรู้เพราะในบาง ครั้งเกิดปัญหาทางกฎหมาย เช่น คนไข้ถึงแก่กรรม หรือเกิดคดี ข้อมูลไม่เที่ยง บางคนมีการฟ้องร้องกันเอง มาขอหลักฐานจากโรงพยาบาลไม่ตรงความจริง เป็นต้น บางคนปลอมชื่อมาลงทะเบียน บางคนเขียนชื่อผิด พอต้องการหลักฐานเกิดปัญหา วิธีการรักษาต่างๆ ก็ไม่ เข้าใจ เช่น ญาติคนไข้ฟ้องว่าคนไข้ไส้ติ่งแตก ช็อค ทำไมไม่รีบผ่าตัด แพทย์ไม่ได้อธิบายว่าต้องแก้สภาพ ช็อคให้ดีก่อนจึงจะผ่าได้ มิฉะนั้น คนไข้อาจไม่รอด จากการผ่าตัดก็จะถูกฟ้องอีก เป็นต้น มีความจำเป็นที่ ทุกโรงพยาบาลต้องมีระบบข้อมูลที่จะสื่อให้ญาติคนไข้ ได้เข้าใจลักษณะการทำงานของโรงพยาบาล ซึ่งขณะ นี้โรงพยาบาลส่วนใหญ่ยังไม่มี เพราะจัดหาคนที่จะ ทำหน้าที่รอบรู้ทุกอย่างได้ยาก

        ประการที่เก้า สื่อต่างๆเป็นเสมือนพัดที่ทำให้ไฟของความไม่พอใจโรงพยาบาลลุกโพลงขึ้นอย่างมาก ถ้ามองใน มุมหนึ่งก็มีส่วนดีที่นำความยุติธรรมมาสู่สังคม เพราะ บางกรณีโรงพยาบาลและแพทย์ก็ทำสิ่งไม่ถูกต้อง แต่ถ้า สื่อต้องการขายข่าวอย่างเดียว อยากให้ดัง ซึ่งคนฟัง คนอ่านจะมีความสงสารเห็นใจผู้เคราะห์ร้ายสูญเสีย คนในครอบครัวอยู่แล้ว แต่สิ่งที่คนไข้หรือญาติเสนอ อาจไม่เที่ยงไม่ถูกต้อง เพราะความไม่เข้าใจในระบบ การรักษาพยาบาล เช่น คดีไส้ติ่งแตกไปรักษาที่ศิริราช ไม่ได้รับการดูแลที่ดี และมารดาจะขายไตเพื่อเอา ไปฟ้องแพทย์ มารดาคนไข้ร้องไห้บรรยายเป็นชั่วโมง ผู้คนสงสารเห็นใจ ตอนจบจึงโทรถามนายกแพทยสภา ชี้แจงบอกว่าปิดคดีเรื่องนี้นานแล้ว คดีไม่มีมูล เพราะ ไส้ติ่งแตกก่อนมาโรงพยาบาลแล้วและคนไข้ช็อคมีภาวะ เป็นกรดในเลือด ไตไม่ค่อยทำงาน ถ้าไปผ่าเลยคงไม่ รอดชีวิต ต้องแก้ไขให้ดีขึ้นก่อนจึงไปผ่าตัด จะมีผู้ฟังสัก กี่คนฟังจนจบและรู้เหตุผล ลักษณะเช่นนี้ไม่ควรทำ ควรให้โอกาสแก่แพทย์เท่าๆกันในการให้ข้อมูลฟังทั้งสองฝ่าย อย่าลำเอียง จะทำลายสังคม ทำลายวงการแพทย์ ของไทย

        ประการสุดท้าย ทุกคนต้องเข้าใจว่า แพทย์เป็น มนุษย์อย่างทุกคน มีดีมีเลวมีถูกมีผิด แต่ต้องทำงาน เกี่ยวกับความรอด ความตาย การดีขึ้น เลวลง ซึ่งไม่ได้ อยู่ที่แพทย์คนเดียว โรคเดียวกันแต่คนไข้แต่ละคน แพทย์ต้องพิจารณาให้การรักษาแตกต่างกัน ตำรา แพทย์ที่เรียนกันมาไม่มีอะไรถูก-ผิดเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ แพทย์จึงต้องเล่าเรียนศึกษาจดจำและนำมาใช้ให้ถูก   กาลถูกเวลา แต่ความสามารถของแพทย์แต่ละคน ต่างกัน ความคิดความอ่านต่างกัน และที่สำคัญ ประสบการณ์ในการดูแลคนไข้ต่างกัน ผลการรักษาจึง แตกต่างกัน จะหวังให้เป็นมาตรฐานเดียวกันไม่ได้ นอกจาก นี้จิตใจ อารมณ์ของแพทย์ที่เป็นมนุษย์แตกต่างกัน เมื่อ พบปัญหาการตอบสนองย่อมต่างกัน การพูดจาโต้ตอบ ต่างกัน บางครั้งทำให้คนไข้หรือญาติไม่พอใจ แพทย์จึง ต้องมีกติกาของวิชาชีพที่เรียก “จริยธรรมของการแพทย์” ที่เป็นมาตรฐานกลางที่ทุกคนต้องรักษา ซึ่งมีมาตั้งแต่ อดีตสมัยฮิปโปเครตีส แต่ที่สำคัญกว่าคือ จิตใจหรือ สันดานแพทย์แต่ละคนย่อมต่างกัน ตามการอบรมของ ครอบครัว ตามสิ่งแวดล้อมของชีวิตไปจนถึงตามหลัก ศาสนาของคนนั้นๆ ในระบบปัจจุบันคนไข้สามารถ เลือกแพทย์ได้ แต่แพทย์ไม่อาจเลือกคนไข้ได้ เราต้อง ทำตามหน้าที่และความรับผิดชอบ นอกจากนานๆครั้ง ที่แพทย์อาจทนคนไข้หรือญาติไม่ได้ หรือไม่มีความ ชำนาญในโรคที่คนไข้เป็นอาจขอให้แพทย์อื่นตรวจ แทนได้ ยกเว้นในกรณีฉุกเฉิน แพทย์ปฏิเสธไม่รักษา ไม่ได้ ที่น่าเห็นใจคือ แพทย์ที่เพิ่งจบถูกส่งไปอยู่ในอำเภอ ที่ต่างจังหวัดมีแพทย์เพียง 2-3 คน ต้องผลัดกันอยู่เวร ต้องให้การรักษาคนไข้ทุกประเภท รวมถึงต้องผ่าตัด คนไข้ด่วนโดยไม่มีแพทย์ดมยา ต้องใช้ยาชาฉีดสันหลัง ซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ แต่จะทำอย่างไรได้ คนไข้ นอนรอความตายอยู่ตรงหน้า ไม่ทำก็ไม่ได้ถูกฟ้องว่าปล่อย คนไข้ตาย ทำไปถ้าคนไข้เสียชีวิตจะถูกญาติคนไข้โจมตี ฟ้องร้องว่าทำให้คนไข้ตาย เรียกค่าเสียหายอีก ตราบใด ระบบการแพทย์ยังคงใช้ระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค และยึดตัวเลขของจำนวนคนไข้เป็นหลักมากกว่าคุณภาพ ของการรักษาปัญหานี้คงแก้ไม่ได้ น่าสงสารแพทย์จบใหม่ที่ต้องไปพบสถานการณ์เช่นนี้ ถ้าไม่มีการแก้ไข คงจะหาคนเรียนแพทย์น้อยลงทุกที ตามระบบการแพทย์ ปัจจุบันแพทย์จบใหม่ควรได้ปฏิบัติงานเฉพาะระบบ โรคภายใต้ความควบคุมช่วยเหลือของแพทย์อาวุโส  อย่างน้อย 1-2 ปี จึงจะพอปล่อยเดี่ยวไปอยู่ตาม โรงพยาบาลเล็กๆ หรือสถานีอนามัยเหล่านั้นได้ มิฉะนั้น การฟ้องร้องคงจะมีต่อไปไม่รู้จบและทำความเสียหายให้แก่ ความสัมพันธ์ของคนไข้และแพทย์อย่างร้ายแรงมากขึ้น ผู้ที่จะมาเรียนแพทย์คงหายากมากอาจได้คนที่คุณภาพ ไม่ดี คนที่มีใจรักจะช่วยเหลือคนไข้จะหลบหนีไป เรียนอย่างอื่นหมด เพราะเขาเรียนเก่งเลือกเรียนอะไร ก็ได้ ในฐานะแพทย์รักษาคนไข้มา 50 ปีได้รู้ได้เห็นการ ปฏิบัติตนของแพทย์ ซึ่งย่อมมีกิเลสต่างๆกัน บางครั้ง ดูแต่ผลประโยชน์ตนเอง ทำทุกอย่างเพื่อตนเอง แม้แต่ ในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร ผิดจรรยาแพทย์ ไม่คำนึงถึงความ ถูกผิด เอาแต่ได้ ซึ่งต้องยอมรับว่า “มี” โดยเฉพาะใน บางแห่งที่สิ่งแวดล้อมเกื้อหนุนให้เป็นเช่นนั้น เขาดู คนไข้เป็น “ลูกค้า” หรือ “ผู้รับบริการ” เขาต้องตักตวง ผลประโยชน์ให้มากมาย แต่ผู้เขียนเชื่อว่าวิธีการนี้ ไม่น่าจะยั่งยืนในเมืองพุทธอย่างไทยเรา ในการแก้ ปัญหาการฟ้องร้องนี้ ทางแพทย์ต้องมีการปรับปรุง  หลายอย่าง แต่ที่สำคัญระบบการคิดค่ารักษาพยาบาล ของแพทย์จะต้องอยู่ในความ “พอเพียง” อย่าใช้กิเลส  ของตนเองไม่กี่คนทำให้วงการแพทย์ไทยทั้งหมด ต้องกระเทือนไปด้วยอย่างมาก

 เรื่องสุดท้ายที่อยากให้คนไทยในสังคมยุคใหม่ ตระหนักและเข้าใจ คือ ถ้ายังไม่พยายามทำความเข้าใจกับ ระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน และยึดเอาระบบของการ  ฟ้องร้องของประเทศอื่นโดยเฉพาะอเมริกา จะนำความ หายนะมาสู่สังคมไทยอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ เพราะจะต้อง มีการปรับปรุงป้องกันตัวเองจากแพทย์ โดยวิธีที่เรียกว่า “การแพทย์แบบตั้งรับ” (Defensive Medicine) เช่น ในต่างประเทศ คือ คนไข้ทุกคนจะได้รับการตรวจทุก ชนิดไม่ว่าจำเป็นหรือไม่ ถูกหรือแพง เพื่อช่วยในการ วินิจฉัยและป้องกันตัวเองในกรณีเกิดฟ้องร้องขึ้น ว่าได้ทำทุกอย่างแล้วใครเสียหาย? คนไข้ต้องจ่ายเงิน  มากขึ้นอย่างมากเพื่อการตรวจเหล่านั้น ในการรักษา  แพทย์จะพยายามปรึกษาแพทย์ในแขนงวิชาอื่นมาร่วมดูเพื่อป้องกันว่าไม่ดูแลรอบคอบ ใครเสียหาย? คนไข้ ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น และยิ่งกว่านั้น แพทย์ทุกคน โรงพยาบาลและสถาบันการแพทย์ทุกแห่งจะ ต้องซื้อประกันวิชาชีพ ซึ่งจะต้องเสียค่าประกันสูงขึ้นตาม อัตราการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ซึ่งตัวอย่างในอเมริกา สูงมาก จนบางวิชาชีพแพทย์เปลี่ยนงานไป เช่น สูติแพทย์จำนวนมากเลิกคลอดบุตร เพราะถ้าเด็กออก  มามีปัญหาพิการอะไรก็จะถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายสูง มาก ซึ่งแน่นอนผู้ที่ต้องแบกภาระนี้คือ คนไข้ต้องเสียค่า รักษาพยาบาลให้แพทย์และโรงพยาบาลต่างๆสูงมากขึ้น เพื่อชดเชยสิ่งที่ต้องเสียไป ยิ่งกว่านั้น เยาวชนรุ่นใหม่จะ ไม่สนใจที่จะมาเรียนแพทย์ เพราะรู้ว่าเรียนยาก งานหนัก เงินเดือนน้อย และทำงานไม่มีความสุข ต้องระวังตัว  ตลอดเวลา เด็กที่เก่งๆจะเปลี่ยนใจ คนเรียนแพทย์น้อย ลง เช่นที่เกิดขึ้นในอเมริกาขณะนี้

        สังคมไทยต้องการให้เป็นเช่นนี้หรือ?! ถ้าไม่ต้องการ ต้องเปลี่ยนความรู้สึก ท่าที และทำความเข้าใจกับระบบการแพทย์ปัจจุบันและยึดธรรมะของพระพุทธศาสนาแทน โดยเฉพาะในเรื่องของ “อนิจจัง” เรื่องของ “กรรม” ตัวอย่างเช่น คนแข็งแรงดีๆเดินอยู่อาจถูกรถวิ่งเข้ามาชน ตายก็ได้ ขับรถไปชนคนอื่นเขาตายหรือบาดเจ็บก็ได้ หรืออย่างที่ดาราดังนอนตายอยู่ในห้อง ถ้ารายนี้ถูก นำตัวไปโรงพยาบาลแล้วตายอาจเป็นข่าวครึกโครมแพทย์หรือโรงพยาบาลอาจถูกตำหนิว่าคนแข็งแรงมาดีๆตายได้ ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องจะทำให้ระบบการรักษาพยาบาล ของไทยเรากลับไปสู่สภาพที่เคยเป็นมาในอดีต แทนที่ จะมีสภาพอย่างปัจจุบัน เปรียบว่าคนไข้มาหาหมอ เหมือนเอามือไขว้มีดไว้ข้างหลัง ถือว่าหมอคือผู้ไม่หวังดี จะเอาประโยชน์จากตน แทนที่จะดูว่าหมอเป็นพระ เป็นครู เป็นญาติผู้ใหญ่ อย่างที่เราเคยเป็นมาในอดีต ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ กระแสจากสื่อ ทั้งหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ โดยเฉพาะรายการเสวนาต่างๆ และวงการ กฎหมายกลับกระพือซ้ำเติมให้สภาวะการณ์เลวร้าย ขึ้นเรื่อยๆ ถ้าหวังดีจริงๆจะต้องช่วยกันรักษาความ สัมพันธ์อันดีระห   ว่างหมอกับคนไข้ให้อยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความสงสาร ความเมตตา และความเข้าใจอันดี และ อโหสิกรรม ซึ่งต้องปรับปรุงแก้ไขตนเองทั้งคนไข้ แพทย์ และสื่อต่างๆ

        สังคมจะไปทางไหนจะลงสู่เหวหรือไม่ อยู่ที่ส่วนใหญ่ ของสังคมไทยจะเลือกเอาเอง ถ้าไม่ทำอะไรในวันนี้จะเป็น การสายเกินการที่จะดึงสังคมไทยขึ้นจากเหวลึก ซึ่งโอกาส จะสำเร็จน้อยมาก เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์ ได้แก่ บริษัทประกัน สื่อ และวงการกฎหมาย

        ทุกคนในสังคมไทยทั้งแพทย์และคนไข้ต้องตัดสิน ใจเองว่า จะเดินไปทางใด!?

นายแพทย์สมพนธ์ บุณยคุปต์
วิชัยยุทธจุลสาร  ฉบับที่ 36 ประจำเดือน มกราคม - เมษายน 2550