ผู้เขียน หัวข้อ: อัล​ตรา​ซาว​ด์”​หญิง​ตั้ง​ครรภ์​ ​ทำไม​?  (อ่าน 1240 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9787
    • ดูรายละเอียด
สัปดาห์​ก่อน​ “X-RAY ​สุข​ภาพ​” ​ได้​นำ​เสนอ​บท​ความ​เรื่อง​ “อัล​ตรา​ซาว​ด์” ​หญิง​ตั้ง​ครรภ์​ ​ทำไม​ ?”  ​เพื่อ​ให้​ความ​รู้​กับ​ผู้​อ่าน​ ​แต่​ทาง​ “​แพทยสภา​” ​มี​ข้อ​กังวล​ว่า​ ​อาจ​ส่ง​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​ผู้​ใช้​บริการ​ ​คือ​ ​หญิง​ตั้ง​ครรภ์​ที่​อยาก​ทำ​อัล​ตรา​ซาว​ด์​มาก​ขึ้น​ ​แต่​ผู้​ให้​บริการ​ ​คือ​ ​บุคลากร​ทาง​การ​แพทย์​ ​รวม​ทั้ง​เครื่อง​มือ​ ​มี​จำกัด​ ​คง​ไม่​สามารถ​ตอบ​สนอง​ความ​ต้องการ​ได้​ทั้ง​หมด​ ​จึง​ได้​สะท้อน​มุม​มอง​ผ่าน​ “​เด​ลิ​นิ​วส์”  ​อีก​ครั้ง​
   
​เริ่ม​จาก​ ศ.​นพ​.​สม​ศักดิ์​ ​โล่​ห์​เลขา​ ​นายก​แพทยสภา​ ​กล่าว​ว่า​ ​บ้าน​เรา​มี​การ​คลอด​ปี​ละ​ประมาณ​ 8 ​แสน​คน​ ​แต่​ข้อ​จำกัด​ ​คือ​ ​มิ​ใช่​ทุก​ ​รพ​. ​มี​เครื่อง​อัล​ตรา​ซาว​ด์ ​ราคา​ตั้ง​แต่​ 5 ​แสน​-4 ​ล้าน​บาท​ ​อีก​ทั้ง​ผู้​เชี่ยว​ชาญ​ใน​ ​การ​ทำ​อัล​ตรา​ซาว​ด์​จริง​ ๆ ​มี​เพียง​ 105 ​คน​จาก​สูติ​นรีแพทย์​ประมาณ​ 2,000 ​คน​ทั่ว​ประเทศ​ ​ที่​สำคัญ​ผู้​ทำ​ ​คลอด​ส่วน​ใหญ่​มิ​ใช่​แพทย์​ ​แต่​เป็น​พยาบาล​ผดุง​ครรภ์​ ​และ​อนามัย​ ​เมื่อ​มี​ปัญหา​แทรก​ซ้อน​ ​จึง​จะ​ตาม​แพทย์​มาด​ู​แล​ ​ดัง​นั้น​ถ้า​จะ​ทำ​ อัล​ตรา​ซาว​ด์​ให้​หญิง​ตั้ง​ครรภ์​ทุก​ราย​ ​ผู้​เชี่ยว​ชาญ​ 105 ​คน​คง​ทำไม​่​ได้​
   
ศ.​นพ​.​สมบูรณ์​ ​คุณ​า​ธ​ิ​คม​ ​ประธาน​ราช​วิทยา​ลัย​สูติ​นรีแพทย์​แห่ง​ประเทศไทย​ ​กล่าว​ว่า​ ​การ​ทำ​อัล​ตรา​ซาว​ด์ ​ไม่​ใช่​สิ่ง​ที่​จำ​เป็น​ 100% ​สำหรับ​สตรี​ตั้ง​ครรภ์​ ​เพราะ​ไม่​ได้​ช่วย​ลด​อัตรา​การ​ตาย​หรือ​อัตรา​การ​เกิด​ทุพพลภาพ​ของ​ ​ทารก​แรก​เกิด​ ​ดัง​นั้น​จึง​ทำ​เฉพาะ​ใน​สถาน​ที่​ที่​มี​ความ​พร้อม​ ​และ​ใน​กรณี​ที่​มี​ข้อ​บ่ง​ชี้​ ​ซึ่ง​ส่วน​ใหญ่​มัก​จะ​ตรวจ​เมื่อ​อายุ​ครรภ์​ 18-22 ​สัปดาห์​ ​ส่วน​ ​การ​ตรวจ​ครั้ง​ที่​ 2  ​จะ​ทำ​ใน​กรณี​ที่​มี​ ​ข้อ​สงสัย​ว่า​อาจ​จะ​ ​มี​ภาวะ​แทรก​ซ้อน​เกิด​ขึ้น​ ​เช่น​ ​มี​เลือด​ออก​ทาง​ช่อง​คลอด​ ​เด็ก​ใน​ครรภ์​โต​ไม่​ได้​สัด​ส่วน​กับ​อายุ​ครรภ์​ ​ครรภ์​เป็น​พิษ​ ​ใน​สถาน​ที่​ที่​ ​ไม่​มี​ความ​พร้อม​การ​ฝาก​และ​ตรวจ​ครรภ์​อย่าง​สม่ำเสมอ​ ​ก็​จะ​มี​ความ​ปลอด​ภัย​เพียง​พอ​ ​ถ้า​หาก​มี​ข้อ​บ่ง​ชี้​ที่​จำ​เป็น​ ​ก็​สามารถ​ส่ง​ต่อ​ไป​ยัง​สถาน​พยาบาล​ที่​มี​ความ​พร้อม​ได้​
   
​ตาม​สถิติ​โอกาส​เด็ก​เกิด​มา​พิการ​แต่​กำเนิด​ปี​ละ​ประมาณ​ 1-2% ​หรือ​ประมาณ​ 1 ​หมื่น​คน​ ​การ​ทำ​อัล​ตรา​ซาว​ด์ ​ไม่​สามารถ​ตรวจ​พบ​ได้​ทุก​ราย​ ​เพราะ​ส่วน​ใหญ่​จะ​ดู​พื้น​ฐาน​ ​คือ​ ​ความ​สมบูรณ์​ของ​อวัยวะ​ ​เช่น​ ​สมอง​ ​ท้อง​ ​หัว​ใจ​ ​ถ้า​ปาก​แหว่ง​ ​เพดาน​โหว่​ ​แขน​ขาด​ ​อาจ​จะ​ไม่​สามารถ​ตรวจ​พบ​ได้​ ​ถาม​ว่า​ตรวจ​พบ​ได้​หรือ​ไม่​ก็​ต้อง​บอก​ว่า​ได้​ ​แต่​จะ​ต้อง​อาศัย​เครื่อง​ที่​มี​ประสิทธิภาพ​สูง​ ​และ​แพทย์​ผู้​เชี่ยว​ชาญ​ ​ทั้ง​นี้​แม้​จะ​ตรวจ​พบ​ความ​พิการ​ ​แต่​เป็น​ความ​พิการ​ที่​สามารถ​มี​ชีวิต​อยู่​ได้​โดย​ที่​ ​ไม่​เป็น​ภาระ​ ​สังคม​ ​ทารก​ก็​มี​สิทธิ​ที่​จะ​เกิด​
   
ศ.​นพ​.​สมบูรณ์​ ​กล่าว​อีก​ว่า​ ​ใน​บ้าน​เรา​อาศัย​พยาบาล​ผดุง​ครรภ์​ใน​การ​ตรวจ​ครรภ์​และ​คลอด​เป็น​ หลัก​ ​แพทย์​จะเข้​า​ดู​แล​เมื่อ​ครรภ์​นั้น​เป็น​ครรภ์​เสี่ยง​ ​ซึ่ง​พบ​ได้​ประมาณ​ 30% ​หรือ​ประมาณ​ 2-2.5 ​แสน​คน​ต่อ​ปี​ ​ปัญหา​หนึ่ง​ที่​ต้อง​ยอม​รับ​คือ​หญิง​ตั้ง​ครรภ์​ใน​บ้าน​เรา​จำ​ประจำ​ เดือน​ครั้ง​สุด​ท้าย​ไม่​ได้​ ​เยอะ​มาก​ ​ถ้า​ไม่​มี​เครื่อง​อัล​ตรา​ซาว​ด์ ​การ​ประเมิน​อายุ​ครรภ์​จะ​ดู​จาก​ขนาด​มดลูก​ ​และ​การ​เจริญ​การเต​ิบ​โต​ของ​ทารก​ ​ดัง​นั้น​การ​ฝาก​ครรภ์​สม่ำเสมอ​มี​ความ​สำคัญ​กว่า​การ​ทำ​อัล​ตรา​ซาว​ ด์​ด้วย​ซ้ำ​
   
ศ.​คลินิก​ ​นพ​.​อำนาจ​ ​กุสล​านั​นท​์ ​อุปนายก​แพทยสภา​คนที​่ 1 ​กล่าว​ว่า​ ​ฝาก​เพื่อน​แพทย์​ที่​อยู่​ห่าง​ไกล​ ​ไม่​มี​เครื่อง​อัล​ตรา​ซาว​ด์ ​ขอ​ให้​ดู​แล​ผู้​ป่วย​อย่าง​ที่​  ​เคย​ทำ​ ​รับ​รอง​ว่า​จะ​สร้าง​ความ​ปลอด​ภัย​แก่​ผู้​ป่วย​และ​คง​ไม่​มี​ปัญหา​ ​ส่วน​ประชา​ชน​ที่​ไม่​ได้​รับ​การ​ทำ​อัล​ตรา​ซาว​ด์ ​อาจ​จะ​เป็น​เพราะ​ ​รพ​.​ไม่​มี​เครื่อง​ ​หรือ​แพทย์​คิด​ว่า​ไม่​จำ​เป็น​ ​ก็​ขอ​ให้​มั่น​ใจ​ว่า​จะ​ได้​รับ​ความ​ปลอด​ภัย​ตาม​มาตรฐาน​สากล​ ​ทั้ง​นี้​แม้​การ​ทำ​อัล​ตรา​ซาว​ด์​จะ​ตรวจ​พบ​ว่า​มี​ความ​พิการ​ ​แต่​ถ้า​เป็น​ความ​พิการ​ที่​สามารถ​มี​ชีวิต​รอด​อยู่​ได้​  ​ไม่​เป็น​ภาระ​ต่อ​สังคม​ตาม​กฎหมาย​ก็​ไม่​สามารถ​ทำ​แท้ง​ได้​
   
รศ.พญ.​ประสบ​ศรี​ ​อึ้ง​ถาวร​ ​อุปนายก​แพ​ทย ​สภาค​นที​่ 2 ​กล่าว​ว่า​ ​อยาก​พูด​ถึง​การ​ฝาก​ครรภ์​ของ​ประชา​ชน​ทั่ว​ไป​ ​เมื่อ​ตั้ง​ครรภ์​ ​ควร​มาตร​ว​จก​ับ​บุคลากร​ ​ทาง​การ​แพทย์​ให้​เร็ว​ที่​สุด​ ​เมื่อ​รู้​ว่า​ตั้ง​ครรภ์​ ​เพื่อ​หา​ความ​   ​ผิด​ปกติ​ ​โรค​ภัย​ไข้​เจ็บ​ทั้ง​ของ​มารดา​และ​ทารก​ใน​ครรภ์​ ​ตาม​มาตรฐาน​จะ​มี​การ​ฝาก​ครรภ์​ระดับ​ต่าง​ ๆ 4 ​ครั้ง​ต่อ​การ​ตั้ง​ครรภ์​ ​ใน​กรณี​ที่​ผู้​ป่วย​มี​ปัจจัย​เสี่ยง​จะ​ต้อง​ ​มา​ฝาก​ครรภ์​บ่อย​ขึ้น​ ​คุณ​หมอ​หรือ​พยาบาล​ที่​เป็น​คน​ดู​แล​จะ​นัด​เป็น​ช่วง​ ๆ ​ไป​ ​ใน​กลุ่ม​ที่​ไม่​มี​ความ​เสี่ยง​เลย​ ​หรือ​ความ​เสี่ยง​ต่ำ​ ​จะ​ได้​รับ​การ​ตรวจ​ครรภ์​น้อย​ครั้ง​ ​และ​ใช้​การ​ตรวจ​ทาง​คลินิก​เป็น​ส่วน​ใหญ่​ ​แต่​ถ้า​มี​ปัจจัย​เสี่ยง​ ​เช่น​ ​มารดา​อายุ​น้อย​ ​มี​โรค​ประจำ​ตัว​ ​จะ​นัด​มาตร​วจ​เพิ่ม​ขึ้น​ตาม​ความ​เหมาะ​สม​ ​แต่​บาง​ส่วน​อาจ​จะ​ไม่​เข้า​ใจ​ว่า​ ​ทำไม​ถูก​นัด​มาตร​ว​จน​้​อย​ครั้ง​ ​ใน​ขณะ​ที่​บาง​คน​ถูก​นัด​บ่อย​ครั้ง​ ​ก็​ขอ​เรียน​ว่า​ ​ขี้​นอ​ยู่​กับ​ปัจจัย​เสี่ยง​ที่​ไม่​เหมือน​กัน​ ​ซึ่ง​เมื่อ​ตรวจ​ครรภ์​ไป​เรื่อย​ ๆ ​คุณ​แม่​ที่​มี​ปัจจัย​เสี่ยง​ต่ำ​อาจ​จะ​มี​ความ​เสี่ยง​สูง​ได้​ ​ตรง​นี้​อย่า​นิ่ง​นอน​ใจ​ ​อย่า​รอ​เวลา​นัด​ ​ควร​จะ​ไป​พบ​แพทย์​ทัน​ที​ที่​รู้​สึก​ว่า​ ​มี​ความ​ผิด​ปกติ​
   
​สำหรับ​การ​ทำ​อัล​ตรา​ซาว​ด์ ​เป็น​เทคโนโลยี​หนึ่ง​ที่​จะ​ช่วย​เสริม​ใน​การ​ตรวจ​ครรร์​เท่า​นั้น​ ​เพราะ​ฉะนั้น​ ​การ​จะ​ทำ​หรือ​ไม่​ทำ​ ​มิ​ใช่​ข้อ​บ่ง​ชี้​ของ​มาตรฐาน​ใน​การ​ฝาก​ครรภ์​ ​เพราะ​การ​ฝาก​ครรภ์​ที่​ดี​ ​อยู่​ที่​การ​ตรวจ​ครรภ์​เหมาะ​สม​ถูก​ต้อง​ใน​ขั้น​ตอน​ต่าง​ ๆ ​ตาม​อายุ​ครรภ์​ ​ซึ่ง​ความ​ร่วม​มือ​ของ​คุณ​แม่​ก็​เป็น​สิ่ง​สำคัญ​
   
​ถ้า​หญิง​ตั้ง​ครรภ์​อยาก​ตรวจ​อัล​ตรา​ซาว​ด์​สัก​ครั้ง​ ​เพื่อ​ดู​ว่า​ลูก​อวัยวะ​ครบ​ 32 ​หรือ​ไม่​ ​แต่​ไป​ ​รพ​.​ที่​ทำ​อัล​ตรา​ซาว​ด์​ไม่​ได้​จะ​บอก​อย่าง​ไร​ ? รศ.พญ.​ประสบ​ศรี​ ​กล่าว​ว่า​ ​อัน​นี้​ขึ้น​อยู่​กับ​ระบบ​สาธารณสุข​ ​ต้อง​เข้า​ใจ​ว่า​ระบบ​สาธารณสุข​เรา​เป็น​แบบ​พีระมิด​ ​รพ​.​ชุม​ชน​ตรวจ​ครรภ์​ครั้ง​แรก​เมื่อ​พบ​ความ​เสี่ยง​จะ​ส่ง​มาตา​มร​ ะบบ​ส่ง​ต่อ​ ​มาท​ี่ ​รพ​.​ทั่ว​ไป​ ​ซึ่ง​จะ​มี​เครื่อง​อัล​ตรา​ซาว​ด์​และ​สูติ​นรีแพทย์​ ​ดัง​นั้น​ก็​อยาก​ส่ง​เสริม​ว่าง​บ​ไทย​เข้ม​แข็ง​ควร​ไป​ที่​ ​รพ​.​ศูนย์​ ​รพ​.​ทั่ว​ไป​ ​การ​จะ​ส่ง​เครื่อง​มือ​แพทย์​ไป​ระดับ​ ​ล่าง​ ๆ ​อย่าง​ ​รพ​.​ชุม​ชน​ไม่​เหมาะ​สม​ ​เพราะ​คน​ไข้​มี​ไม่​มาก​ ​เรา​ควร​รวม​ศูนย์​เทคโนโลยี​ชั้น​สูง​ไว้​ที่​เดียว​ ​แต่​ทำ​ระบบ​ส่ง​ต่อ​ให้​เหมาะ​สม​ ​งบ​ประมาณ​จะ​มี​ประโยชน์​สูง​สุด​
   
​นพ​.​สัมพันธ์​ ​คม​ฤทธิ์​ ​เลขาธิการ​แพทยสภา​ ​กล่าว​ว่า​ ​ความ​สูญ​เสีย​ที่​เกิด​จาก​การ​คลอด​ 8 ​แสน​ครั้ง​ ​ต่อ​ปี​ใน​บ้าน​เรา​ไม่​ได้​สูง​กว่า​ต่าง​ประเทศ​ ​มี​คำ​ถาม​ว่า​ ​ถ้า​อัล​ตรา​ซาว​ด์​มี​ประโยชน์​ ​ทำ​มาก​ ๆ ​ไม่​ดี​กว่า​หรือ​ ​ขอ​เรียน​ว่า​ ​ถ้า​ทำ​มาก​ ​โอกาส​จะ​ลด​ความ​เสี่ยง​ได้​บ้าง​ ​แต่​การ​จะ​ทำ​เช่น​นั้น​ได้​จะ​ต้อง​พัฒนา​ระบบ​การ​บริการ​สุข​ภาพ​ของ​ ประเทศ​ ​ซึ่ง​รัฐบาล​จะ​ต้อง​สนับสนุน​ทรัพยากร​และ​งบ​ประมาณ​ให้​กับ​กระทรวง​ สาธารณสุข​มาก​พอ​สม​ควร​.

นว​พรรษ​ ​บุญ​ชาญ​ : ​ราย​งาน​
เดลินิวส์  17 มกราคม 2553